วันอังคารที่ 9 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

TMBฟันธง‘กนง.’

TMBฟันธง‘กนง.’

กองทุนรวม ประกัน วันพุธที่ 10 กรกฎาคม 2556 
ผู้เข้าชม : 0 คน 

รายงานข่าวจากศูนย์วิเคราะห์เศรษฐกิจทีเอ็มบี (TMB Analytics) ธนาคารทหารไทยระบุว่า การฟื้นตัวอย่างเปราะบางของเศรษฐกิจโลก โดยเฉพาะการหดตัวของเศรษฐกิจยุโรป และเศรษฐกิจจีนที่มีปัญหาเป็นปัจจัยเสี่ยงจากภายนอกที่มีผลต่อเศรษฐกิจไทยทั้ง การขยายตัวของเศรษฐกิจไทยในไตรมาสแรกที่ 7.7% ต่ำกว่าที่คาดการณ์ไว้ และการส่งออกในเดือน พ.ค.ที่ชะลอตัวลงเหลือเพียง 0.9% อาจส่งผลให้เศรษฐกิจไทยปีนี้
อย่างไรก็ตาม ขยายตัวเพียงเล็กน้อย แม้จะเห็นการฟื้นตัวของสหรัฐ และญี่ปุ่นชัดเจนขึ้น แต่เป็นการฟื้นตัวที่เปราะบาง โดยนักลงทุนยังกังวลกรณีธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ปรับลดวงเงินนโยบาย QE ลง หรือ ยกเลิกก่อนกำหนด ซึ่งมีความเป็นไปได้ว่าจะเกิดขึ้นภายในปีนี้ และเป็นความเสี่ยงต่อตลาดเงินของไทย
นอกจากนี้ ยังมีผลกระทบจากการจับจ่ายใช้สอยภาคเอกชนที่ลดลงตามราคาสินค้าเกษตร และมาตรการรถคันแรกสิ้นสุดลง ในขณะที่การลงทุนโครงการขนาดใหญ่ของภาครัฐมีแนวโน้มล่าช้าออกไปจากเดิม
ทั้งนี้ ที่ประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) จะนำประเด็นดังกล่าวข้างต้นเข้าสู่การพิจารณาในวันนี้ (10 ก.ค.) และ คาดว่า กนง.จะคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายในระดับเดิมในการประชุมครั้งหน้า โดยเชื่อว่า กนง.จะรอดูการประกาศตัวเลขเศรษฐกิจในไตรมาส 2 ที่จะประกาศอย่างเป็นทางการในเดือน ส.ค.ซึ่งเป็นปัจจัยประกอบการพิจารณากำหนดอัตราดอกเบี้ยนโยบายหลังจากปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายครั้งล่าสุดเมื่อเดือน พ.ค.ที่ผ่านมา และกนง.จะรอดูว่าการปรับลดดอกเบี้ยลง 0.25% มีประสิทธิภาพแค่ไหน
“อัตราแลกเปลี่ยนเงินบาทที่อ่อนค่าลงในขณะนี้ถือว่าอยู่ในระดับที่ผู้ส่งออกยอมรับได้ รวมทั้งสินเชื่อ และหนี้ครัวเรือนที่ขยายตัวในระดับสูงอาจส่งผลลบต่อการบริโภคในระยะต่อไป การตรึงดอกเบี้ยนโยบายจึงเป็นการลดความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นจากหนี้ภาคครัวเรือน ในขณะที่อัตราเงินเฟ้อทั่วไปเดือน มิ.ย.ชะลอตัวลงอยู่ที่ 2.3% ทำให้ช่วงครึ่งปีแรกเงินเฟ้ออยู่ที่ 2.7% ซึ่งถือว่าต่ำ”
นายชาติชาย พยุหนาวีชัย รองกรรมการผู้จัดการ KBANK กล่าวว่า กนง.จะคงดอกเบี้ยนโยบายไว้ตามเดิม ซึ่งภาวะเศรษฐกิจโดยรวมยังเดินหน้าต่อไปได้ และค่าเงินบาทยังมีความเสถียรภาพตามภูมิภาคอยู่ โดยแนวโน้มตลาดเงิน และตราสารหนี้ดอกเบี้ยยังสูงอยู่ ซึ่งธปท.จะคงดอกเบี้ยไปอีกสักระยะหนึ่ง
อย่างไรก็ตาม การใช้ดอกเบี้ยต่ำเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจธปท.ต้องมีความระมัดระวัง เพราะถ้าหากดอกเบี้ยต่ำเกินไปคนก็จะไม่ฝากเงิน ซึ่งการบริโภคจะลดน้อยลง โดยในเดือนพ.ค. และ มิ.ย. ครอบครัวมีความจำเป็นทางด้านค่าใช้จ่ายอาจจะเห็นยอดใช้จ่ายลดลง แต่ในไตรมาส 3/56 การใช้จ่ายจะกลับมาเป็นปกติ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น