วันศุกร์ที่ 27 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

ถอดรหัสหุ้น "MFC" กองทุนบิ๊กไซซ์

ถอดรหัสหุ้น "MFC" กองทุนบิ๊กไซซ์

ประชาชาติธุรกิจออนไลน์

หากจัดลำดับบริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน (บลจ.) ไซซ์ใหญ่ที่มีผู้ถือหุ้นแข็งแกร่งในประเทศเวลานี้ ก็มี บลจ. เอ็มเอฟซี จำกัด (มหาชน) หรือ MFC ติดโผแน่นอน แต่ในฐานะหุ้นตัวหนึ่งบนกระดานตลาดหลักทรัพย์ฯ (SET) กลับมีปริมาณการซื้อขายบางเบา คำถามคือ ความน่าสนใจของ MFC อยู่ตรงไหน
ชื่อ:  0.jpg
ครั้ง: 10980
ขนาด:  122.4 กิโลไบต์
เมื่อเจาะดูโครงสร้างธุรกิจของ MFC ในด้านต่าง ๆ จึงพบว่า ความแข็งแกร่งด้าน "ผู้ถือหุ้น" เป็นสิ่งที่โดดเด่น โดยมีผู้ถือหุ้นใหญ่ 5 อันดับแรก ได้แก่ บริษัทหลักทรัพย์ คันทรี่ กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) ในสัดส่วน 24.92% ตามมาด้วยธนาคารออมสิน กระทรวงการคลัง เสี่ยสอง วัชรศรีโรจน์ กองทุนเปิดอเบอร์ดีนโกรท ในสัดส่วน 24.50%, 16.67%, 3.59% และ 3.12% ตามลำดับ ซึ่งชื่อทั้งหมดนี้สะท้อนว่า MFC มีจุดเด่นทั้งในแง่ช่องทางจำหน่ายและเครือข่ายธุรกิจ

แม้ว่ารายได้และกำไรสุทธิในปีล่าสุด (ปี 2557) จะร่วงจากปีก่อนหน้ามาอยู่ที่ 942.37 ล้านบาท และ 236.42 ล้านบาท หรือลดลง 20.07% และ 30.63% ตามลำดับ ทั้งที่ 3 ปีก่อนหน้านั้น (ปี 2554-2556) รายได้และกำไรขยายตัวต่อเนื่อง 

ในจังหวะอย่างนี้ ถึงผู้ถือหุ้นรายย่อยตกใจกับ "ผลประกอบการ" ที่ออกมา แต่ถึงอยากขายออกก็ทำได้ยาก เพราะสภาพคล่องต่อปีของหุ้นตัวนี้น้อยมาก

แต่ในมุมมองของ "ทอมมี่ เตชะอุบล" ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัทหลักทรัพย์ คันทรี่ กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) ในฐานะผู้ถือหุ้นใหญ่ของ MFC มองว่า หุ้นตัวนี้เปรียบเหมือน "ไข่ทองคำ" ของกลุ่มเตชะอุบล เพราะมีผลตอบแทนจากเงินปันผลค่อนข้างสูงในระดับ 6-7% ขณะที่มีความสามารถสร้างรายได้และกำไรดีขึ้นต่อเนื่อง แม้จะปรับลดลงบ้างในบางปีก็ตาม

"ปี 2557 บ้านเรามีปัญหาในเรื่องของการลงทุน จนส่งผลให้การขายกองทุนไม่ดีนัก จึงสะท้อนมาถึงรายได้และกำไรสุทธิให้ปรับตัวลดลงในทิศทางเดียวกัน อย่างไรก็ตาม ในภาวการณ์แบบนั้น บริษัทยังคงสามารถสร้างผลตอบแทนจากปันผลได้น่าพอใจมาก ที่ระดับ 6-7% ดังนั้นแม้ราคาหุ้นจะไม่หวือหวา มีการซื้อขายน้อย เราก็ยังพอใจอยู่ เพราะธุรกิจนี้ยิ่งอยู่นานก็ยิ่งดีขึ้นเรื่อย ๆ" ทอมมี่กล่าว 

ส่วนในมุมมองของฝ่ายบริหาร "ประภา ปูรณโชติ" กรรมการผู้จัดการ MFC กล่าวว่า ในปี 2558 บริษัทมีเป้าหมายรักษาระดับรายได้ขั้นต่ำให้อยู่ที่ประมาณ 1,000 ล้านบาท และมีสินทรัพย์สุทธิภายใต้การบริหารจัดการ (AUM) ที่ระดับ 4.38 แสนล้านบาท เพิ่มขึ้นราว 5% จากปีก่อนหน้าที่อยู่ที่ 4.17 แสนล้านบาท 

โดยเป้าหมาย AUM ที่ตั้งไว้จะมาจากกองทุนวายุภักษ์ 1.86 แสนล้านบาท กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ (Provident Fund) 1.45 แสนล้านบาท กองทุนรวม (Mutual Fund) 5.4 หมื่นล้านบาท กองทุนส่วนบุคคล (Private Fund) 4.46 หมื่นล้านบาท กองทุนหุ้นนอกตลาด (Private Equity Fund) 1.3 พันล้านบาท และกองทุนอสังหาริมทรัพย์ 1.6 พันล้านบาท 

นอกจากนี้ยังมีแผนจะขยายสาขาเพิ่มอีก 3 แห่งภายในปีนี้ ด้วยงบฯลงทุนราว 50 ล้านบาท เพื่อรองรับการขายหน่วยลงทุนให้ครอบคลุม รวมถึงจะหาพันธมิตรทางธุรกิจรายใหม่เข้ามาเสริมกำลัง ทั้งในด้านกำหนดกลยุทธ์การลงทุน และด้านช่องทางขายหน่วยลงทุนในอาเซียน 

"การเติบโตของรายได้และ AUM ที่เราตั้งเป้าไว้ เป็นระดับปกติที่คาดว่าจะทำได้ แต่แน่นอนว่าปีนี้เราจะสร้างเซอร์ไพรส์ให้เกิดขึ้นได้แน่ โดยเฉพาะกองทุนสำรองเลี้ยงชีพซึ่งภายในเดือนมีนาคมนี้ เราน่าจะได้สินทรัพย์ขนาดใหญ่เข้ามาบริหาร มูลค่ากว่า 1 หมื่นล้านบาท ซึ่งจะช่วยทำให้เราขึ้นมาเป็นอันดับที่ 1 ของกองทุนประเภทนี้ได้" 

เหล่านี้จึงเป็นคำตอบว่าเหตุใด MFC จึงเป็นหุ้นที่ผู้ถือหุ้นรายใหญ่ยังมั่นใจลงทุนต่อ แม้ผลประกอบการบางปีจะสะดุดก็ตาม

วันพฤหัสบดีที่ 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

ประกาศแจ้งเตือน 20 บริษัทจดทะเบียนที่มีปัญหาฐานะการเงินเข้าข่ายอาจถูกเพิกถอนระยะที่ 3 เร่งแก้ไขเหตุเพิกถอน ภายในเดือนมีนาคม 2558

ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ระบุว่า ตลท.ประกาศแจ้งเตือน 20 บริษัทจดทะเบียนที่มีปัญหาฐานะการเงินเข้าข่ายอาจถูกเพิกถอนระยะที่ 3 เร่งแก้ไขเหตุเพิกถอน ภายในเดือนมีนาคม 2558

ตามที่ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยได้มีการปรับปรุงแนวทางดำเนินการต่อ บริษัทจดทะเบียนที่เข้าข่ายต้องปรับปรุงฐานะการเงินและการดำเนินงานตามข้อ 9(6) ของข้อบังคับตลาดหลักทรัพย์ฯ เรื่องการเพิกถอนหลักทรัพย์จดทะเบียน พ.ศ. 2542 ซึ่งเริ่มมีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 26 มกราคม 2554 เป็นต้นมา


โดยตลาดหลักทรัพย์ฯกำหนดให้บริษัทจดทะเบียนที่เข้าข่ายอาจถูกเพิกถอนอัน เนื่องมาจากปัญหาฐานะการเงินและการดำเนินงาน(NC&NPG) ต้องปรับปรุงฐานะการเงินและการดำเนินงานให้พ้นเหตุเพิกถอนภายใน 3 ปีหากบริษัทมีความคืบหน้าในแก้ไขเหตุเพิกถอนแต่ไม่สามารถดำเนินการให้แล้ว เสร็จภายในระยะเวลาดังกล่าวและบริษัทมีคุณสมบัติครบถ้วนตามเกณฑ์การขอขยาย ระยะเวลาฟื้นฟูกิจการ บริษัทก็อาจขอขยายเวลาได้ 1 ครั้งเป็นระยะเวลาไม่เกิน 1 ปี (รวมระยะเวลาสูงสุดไม่เกิน 4 ปี)


ในระหว่างปี 2554-2557 ตลาดหลักทรัพย์ฯได้ประกาศรายชื่อบริษัทจดทะเบียนที่เข้าข่ายต้องปรับปรุง ฐานะการเงินและการดำเนินงานระยะที่ 1 ระยะที่ 2 และระยะที่ 3 มาอย่างต่อเนื่อง


พร้อมทั้ง ตลาดหลักทรัพย์ฯได้มีหนังสือแจ้งบริษัทจดทะเบียนดังกล่าวและสำเนาเรียนคณะ กรรมการบริษัททุกท่านได้ทราบทุกระยะรวมทั้งหมด3 ครั้งด้วยเช่นกัน


บัดนี้ใกล้ครบกำหนดการแก้ไขเหตุเพิกถอนภายในเดือนมีนาคม 2558 ตลาดหลักทรัพย์ฯจึงขอแจ้งให้บริษัทจดทะเบียนที่เข้าข่ายอาจถูกเพิกถอน ระยะที่ 3 จำนวน 20 บริษัทเร่งดำเนินการดังต่อไปนี้ภายในวันที่ 31 มีนาคม 2558


กลุ่มที่ 1 : บริษัทที่เคยได้รับการขยายเวลาแก้ไขเหตุเพิกถอนออกไปอีก 1 ปี จนถึงวันที่ 31 มีนาคม 2558 จำนวน 17 บริษัท
หากบริษัทสามารถดำเนินการให้มีคุณสมบัติครบถ้วนตามหลักเกณฑ์ขอพ้นเหตุเพิก ถอนที่ตลาดหลักทรัพย์ฯกำหนดภายในวันที่ 31 มีนาคม 2558 บริษัทต้องยื่นคำขอพ้นเหตุเพิกถอนต่อตลาดหลักทรัพย์ฯโดยมีหนังสือชี้แจงและ แสดงเหตุผลหรือข้อมูลสนับสนุนที่แสดงให้เห็นว่าฐานะการเงินและผลการดำเนิน งานของบริษัทพ้นเหตุเพิกถอนตามหลักเกณฑ์ของตลาดหลักทรัพย์ฯ แล้ว



กลุ่มที่ 2 : บริษัทที่เข้าข่ายอาจถูกเพิกถอน ระยะที่ 3 ซึ่งจะต้องแก้ไขเหตุเพิกถอนภายในวันที่ 31
มีนาคม 2558 โดยอาจขอขยายเวลาฟื้นฟูกิจการอีก 1 ปี จำนวน 3 บริษัท


2.1)
ในกรณีที่บริษัทสามารถดำเนินการให้มีคุณสมบัติครบถ้วนตามหลักเกณฑ์ขอพ้น เหตุเพิกถอนที่ตลาดหลักทรัพย์ฯกำหนดภายในวันที่ 31 มีนาคม 2558 บริษัทสามารถยื่นคำขอพ้นเหตุเพิกถอนต่อตลาดหลักทรัพย์ฯโดยมีหนังสือชี้แจง และแสดงเหตุผลหรือข้อมูลสนับสนุนที่แสดงให้เห็นว่าฐานะการเงินและผลการ ดำเนินงานของบริษัทพ้นเหตุอาจถูกเพิกถอนตามหลักเกณฑ์ของตลาดหลักทรัพย์ฯ แล้ว


2.2) ในกรณีมีความคืบหน้าในการแก้ไขเหตุเพิกถอนแต่บริษัทยังไม่สามารถดำเนินการ ให้มีคุณสมบัติตามหลักเกณฑ์ขอพ้นเหตุเพิกถอนได้และบริษัทมีคุณสมบัติครบถ้วน ตามหลักเกณฑ์การขอขยายระยะเวลาการฟื้นฟูกิจการที่ตลาดหลักทรัพย์ฯ กำหนดบริษัทสามารถยื่นคำขอขยายระยะเวลาดังกล่าวต่อตลาดหลักทรัพย์ฯ
โดยบริษัทต้องยื่นคำขอพร้อมนำส่งหนังสือชี้แจงเหตุผลและข้อมูลสนับสนุน ที่แสดงให้เห็นว่าบริษัทมีคุณสมบัติครบถ้วนตามเกณฑ์ขอขยายระยะเวลาตามที่ ตลาดหลักทรัพย์ฯ กำหนด


บริษัทจดทะเบียนทั้ง 20 บริษัทดังกล่าวต้องยื่นคำขอพ้นเหตุเพิกถอนหรือคำขอขยายระยะเวลาในการฟื้นฟู กิจการเพื่อแก้ไขเหตุแห่งการเพิกถอนแล้วแต่กรณี พร้อมทั้งนำส่งงบการเงินประจำปี 2557 ฉบับที่ผ่านการตรวจสอบจากผู้สอบบัญชีรับอนุญาต


รวมทั้งคำชี้แจงหรือเอกสารข้อมูลที่สนับสนุนหรือเป็นประโยชน์ต่อการ พิจารณาคำขอดังกล่าวของบริษัทต่อตลาดหลักทรัพย์ฯ เพื่อประกอบการพิจารณาคำขอภายในวันที่ 31 มีนาคม 2558หากบริษัทจดทะเบียนไม่สามารถดำเนินการให้มีคุณสมบัติการขอพ้นเหตุเพิก ถอน หรือคุณสมบัติการขอขยายระยะเวลาฟื้นฟูกิจการได้ภายใน 31 มีนาคม 2558 ตลาดหลักทรัพย์ฯจะพิจารณาดำเนินการตามขั้นตอนการเพิกถอนหลักทรัพย์ของบริษัท จากการเป็นหลักทรัพย์จดทะเบียนต่อไป



รายชื่อบริษัทที่มีปัญหาฐานะการเงินและการดำเนินงานเข้าข่ายอาจถูกเพิกถอน ระยะที่ 3 จำนวน 20 บริษัท


กลุ่มที่ 1 : บริษัทที่เคยได้รับการขยายเวลาแก้ไขเหตุเพิกถอนจนถึงวันที่ 31 มีนาคม 2558 จำนวน 17 บริษัท


ที่ ชื่อย่อ ชื่อบริษัท
1 APX บริษัท เอเพ็กซ์ ดีเวลลอปเม้นท์ จำกัด (มหาชน)
2 BIG1/ บริษัท บิ๊ก คาเมร่า คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน)
3 BRC บริษัท บางกอกรับเบอร์ จำกัด (มหาชน)
4 CIRKIT บริษัท เซอร์คิทอีเลคโทรนิคส์อินดัสตรีส์ จำกัด (มหาชน)
5 CPICO บริษัท เซ็นทรัลอุตสาหกรรมกระดาษ จำกัด (มหาชน)
6 KTECH บริษัท เค-เทค คอนสตรัคชั่น จำกัด (มหาชน)
7 NFC บริษัท ปุ๋ยเอ็นเอฟซี จำกัด (มหาชน)
8 PK1/ บริษัท พัฒน์กล จำกัด (มหาชน)
9 POMPUI บริษัท ผลิตภัณฑ์อาหารกว้างไพศาล จำกัด (มหาชน)
10 SAFARI บริษัท ซาฟารีเวิลด์ จำกัด (มหาชน)
11 SGF บริษัท สยามเจเนอรัลแฟคตอริ่ง จำกัด (มหาชน)
12 TPROP บริษัท ไทย พร็อพเพอร์ตี้ จำกัด (มหาชน)
13 TRS บริษัท ตรังผลิตภัณฑ์อาหารทะเล จำกัด (มหาชน)
14 TT&T บริษัท ทีทีแอนด์ที จำกัด (มหาชน)
15 WORLD บริษัท เวิลด์ คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน)
16 WP บริษัท ดับบลิวพี เอ็นเนอร์ยี่ จำกัด (มหาชน)
17 WR บริษัท วีรีเทล จำกัด (มหาชน)
1/ BIG และ PK ได้ยื่นคำขอพ้นเหตุต่อตลาดหลักทรัพย์ฯ แล้วโดยตลาดหลักทรัพย์ฯ อยู่ระหว่างพิจารณาคำขอ
พ้นเหตุเพิกถอน


กลุ่มที่ 2 : บริษัทที่เข้าข่ายอาจถูกเพิกถอน ระยะที่ 3 ซึ่งจะต้องแก้ไขเหตุเพิกถอนภายในวันที่ 31 มีนาคม 2558 โดยอาจขอขยายเวลาฟื้นฟูกิจการอีก 1 ปี จำนวน 3 บริษัท


ที่ ชื่อย่อ ชื่อบริษัท
1 ASCON บริษัท แอสคอน คอนสตรัคชั่น จำกัด (มหาชน)
2 SINGHA บริษัท สิงห์ พาราเทค จำกัด (มหาชน)
3 THL บริษัท ทุ่งคาฮาเบอร์ จำกัด (มหาชน)



หลักเกณฑ์การขอพ้นเหตุเพิกถอน
บริษัทจดทะเบียนสามารถยื่นคำขอพ้นเหตุเพิกถอนเมื่อมีคุณสมบัติครบถ้วนทุกข้อ ดังนี้


(1) มีส่วนของผู้ถือหุ้น (ภายหลังปรับปรุงความเห็นผู้สอบบัญชี)
- ไม่ต่ำกว่า 20 ล้านบาท กรณีจะซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ เอ็ม เอ ไอ (mai) หรือ
- ไม่ต่ำกว่า 300 ล้านบาท กรณีจะซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (SET)


(2) มีกำไรสุทธิจากการดำเนินงานตามปกติที่เกิดจากธุรกิจหลักซึ่งจะดำเนินการต่อ ไปอย่างต่อเนื่องในอนาคตภายใต้การจัดการของผู้บริหารส่วนใหญ่กลุ่มเดียวกัน มาอย่างต่อเนื่องไม่น้อยกว่า 1 ปี ก่อนยื่นคำขอโดยตลาดหลักทรัพย์ฯ จะพิจารณาจากงบการเงินประจำปี หรืองบการเงิน 4
ไตรมาสที่ผ่านการตรวจสอบจากผู้สอบบัญชี ดังนี้


- มีกำไรสุทธิ และมีกำไรสุทธิในงวดสะสมก่อนยื่นคำขอ กรณีจะซื้อขายใน mai หรือ
- มีกำไรสุทธิไม่น้อยกว่า 30 ล้านบาท และมีกำไรสุทธิในงวดสะสมก่อนยื่นคำขอ กรณีจะซื้อขายใน SET


(3) ปรับโครงสร้างหนี้ได้มากกว่าร้อยละ 75 ของมูลหนี้ทั้งหมดของบริษัทจดทะเบียน


(4) แสดงได้ว่าบริษัทมีฐานะการเงินและผลการดำเนินงานที่มั่นคงตามสภาพธุรกิจของ บริษัทไปอย่างต่อเนื่องโดยพิจารณากระแสเงินสดของกิจการประกอบด้วย


(5) มีคุณสมบัติครบถ้วนตามหลักเกณฑ์การดำรงสถานะเป็นบริษัทจดทะเบียนก่อนขอพ้น เหตุเพิกถอนยกเว้นเรื่องการกระจายการถือหุ้นรายย่อยให้บริษัทดำเนินการตาม แนวทางการดำเนินการกับบริษัทจดทะเบียนที่มีการกระจายการถือหุ้นรายย่อยไม่ ครบถ้วน


(6) สำหรับบริษัทจดทะเบียนที่ฟื้นฟูกิจการตามกฎหมายว่าด้วยล้มละลายบริษัทต้องออกจากการฟื้นฟูกิจการผ่านศาลแล้ว

หลักเกณฑ์การขอขยายระยะเวลาการฟื้นฟูกิจการ
บริษัทจดทะเบียนสามารถยื่นคำขอขยายระยะเวลาการฟื้นฟูกิจการเพื่อแก้ไขเหตุเพิกถอนเมื่อมีคุณสมบัติครบถ้วน
ทุกข้อ ดังนี้


(1) มีส่วนของผู้ถือหุ้น (ภายหลังปรับปรุงความเห็นผู้สอบบัญชี) ไม่ต่ำกว่า 20 ล้านบาท หรือ มีกำไรสุทธิจากการดำเนินงานจากธุรกิจหลัก 1 ปี


(2) มีธุรกิจหลักที่จะดำเนินการอย่างต่อเนื่องชัดเจน โดยปัจจัยในการพิจารณา เช่น มีรายได้เชิงพาณิชย์มีทรัพย์สินที่ใช้ประกอบธุรกิจหลัก ใบอนุญาต/สัมปทานในการประกอบธุรกิจ เป็นต้น


(3) มีแนวทางแก้ไขเหตุเพิกถอนชัดเจน และมีการดำเนินการตามแผน


(4) ผู้บริหารไม่มีลักษณะต้องห้ามตามประกาศ ก.ล.ต. และปฏิบัติตามเกณฑ์เปิดเผยข้อมูลครบถ้วน

Good Morning News จาก กองทุนบัวหลวง ..27 กุมภาพันธ์ 2558

Good Morning News จาก กองทุนบัวหลวง ..
------------------------------------------

27 กุมภาพันธ์ 2558




ชื่อ:  001.PNG
ครั้ง: 8791
ขนาด:  703.7 กิโลไบต์




General News


• จำนวนผู้ว่างงานเยอรมันเดือน ก.พ. ลดลง 20,000 ตำแหน่ง มากกว่าตลาดที่คาดว่าจะลดลงเพียง 10,000 ตำแหน่ง ส่งผลให้อัตราว่างงานเยอรมันอยู่ที่ระดับ 6.5% ทั้งนี้อัตราว่างงานในยูโรโซนอยู่ที่ 11.4% ในเดือน ธ.ค. 57


• ชาวกรีซแห่ถอนเงินออกจากธนาคารสูงถึงเกือบ 1.3 หมื่นล้านยูโรในช่วงเดือนม.ค.ที่ผ่านมา เนื่องจากกังวลต่อสถานการณ์ที่ตึงเครียดด้านหนี้สินของประเทศ รวมถึงความไม่แน่นอนของประเทศภายใต้การบริการของรัฐบาลชุดใหม่ ส่งผลให้ธ.พาณิชย์ของกรีซหันไปกู้เงินฉุกเฉินจากธ.กลางกรีซแทน แม้อัตราดอกเบี้ยสูงขึ้นก็ตาม อย่างไรก็ดี ล่าสุดประชาชนได้เริ่มกลับมาฝากเงินกว่า 850 ล้านยูโรแล้ว หลังจากที่กรีซได้รับความเห็นชอบต่อการขยายมาตรการให้ความช่วยเหลือทางการ เงินออกไปอีก 4 เดือน 


• ธ.กลางจีนอัดฉีดเงินเพิ่มเติมจำนวน 3.8 หมื่นล้านหยวน (6.2 พันล้านดอลลาร์) เข้าสู่ตลาดการเงินเมื่อวานนี้ เพื่อเพิ่มสภาพคล่องหลังผ่านพ้นช่วงวันหยุดเทศกาลตรุษจีน โดยได้อัดฉีดผ่านการทำธุรกรรมการซื้อโดยมีสัญญาขายคืน (reverse repurchase agreement หรือ repo) ระยะ 14 วัน ซึ่งมีอัตราดอกเบี้ยอยู่ที่ระดับ 4.1%


• สศค.คาดเศรษฐกิจของจีนปี 2558 จะขยายตัวได้ที่ร้อยละ 7.2 ต่อปี ชะลอจาก 7.4% ในปีที่ผ่านมา จากปัจจัยกดดันต่างๆ เช่น ภาคอสังหาฯที่ซบเซาลง โดยดัชนีราคาบ้านใหม่ของจีนหดตัวต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 4 ติดต่อกัน 



• นักวิเคราะห์คาดอัตราเงินเฟ้อพื้นฐานของจีนมีแนวโน้มปรับตัวขึ้นในเดือน ก.พ. จากอานิสงค์ของราคาอาหารซึ่งคิดเป็นสัดส่วน 1 ใน 3 ของ CPI จีน ที่คาดว่าจะเพิ่มขึ้นประมาณ 2.2% ในช่วงวันหยุดตรุษจีนที่ผ่านมา 



• รัฐบาลอินเดียออกนโยบายเศรษฐกิจเพื่อมุ่งพัฒนาประเทศให้เติบโตในทุกมิติ ผ่านนโยบาย 3 อย่าง คือ Make in India, Smart Cities และ Clean India โดยมีเป้าหมายที่จะดึงดูดการลงทุนทั้งจากในและต่างประเทศ ให้อินเดียกลายเป็นศูนย์กลางการผลิตของโลก และส่งเสริมความสัมพันธ์กับประเทศในเอเชีย โดยเฉพาะเอเชียตะวันออกเฉียงใต้


• ธ.กลางเกาหลีใต้ (BOK) รายงานปริมาณหนี้สินภาคครัวเรือนของเกาหลีใต้ปรับตัวเพิ่มขึ้น 6.6% ในปี 2557 เป็นผลมาจากการปรับลดดอกเบี้ยและการผ่อนคลายข้อกำหนดด้านการจำนอง


• นายณรงค์ชัย อัครเศรณี รมว.พลังงาน ระบุว่าการประกาศเลื่อนเปิดสำรวจสัมปทานสิทธิการสำรวจและผลิตปิโตรเลียม อาจส่งผลกระทบต่อความเชื่อมั่นของนักลงทุน หลังจากเศรษฐกิจไทยปีนี้อาจโตได้ต่ำกว่า 4% ส่งผลให้ความต้องการใช้ไฟฟ้าลดลง และการเปิดสัมปทานต้องเลื่อนออกไป 



• ครม.เศรษฐกิจอนุมัติก.การคลังกู้เงิน 4 หมื่นล้านบาท เพื่อให้ก.คมนาคมนำไปสร้างและพัฒนาคุณภาพถนนของไทย ซึ่งปัจจุบันประเทศไทยมีการขนส่งสินค้าและบริการทางถนนถึงร้อยละ 82 ทว่าภายหลังการจัดอันดับคุณภาพทางถนนของ WEF ในปี 2557 ไทยอยู่อันดับที่ 50 จาก 144 ประเทศ ซึ่งถูกปรับอันดับลงจากปีก่อน โดยการลงทุนของรัฐบาลครั้งนี้นับว่ามีส่วนช่วยต่อการกระตุ้นเศรษฐกิจไทยใน ระยะสั้น 



• คปภ. คาดธุรกิจประกันภัยจะมีเบี้ยประกันภัยรับโดยตรงรวมในปีนี้ทั้งสิ้นกว่า 7.8 แสนล้านบาท เติบโตถึง 12% เมื่อเทียบกับปีก่อน จากแนวโน้มการฟื้นตัวของเศรษฐกิจไทยที่ดีขึ้นต่อเนื่อง แม้เศรษฐกิจไทยจะขยายตัวได้ไม่ถึง 1% ในปีที่แล้ว แต่เบี้ยประกันภัยรับมีถึง 7 แสนล้านบาท บ่งชี้ถึงพัฒนาการของธุรกิจประกันชีวิตซึ่งพัฒนาช่องทางการขายให้ประชาชน สามารถเข้าถึงการประกันภัยได้อย่างทั่วถึง เช่น การขายผ่านร้านสะดวกซื้อต่างๆ เป็นต้น


• พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกฯแสดงความตั้งใจที่จะให้เปิดประมูลคลื่น 4G ภายในปีนี้ หลังจากมีการเลื่อนการประมูลออกไปก่อนหน้า แต่ต้องรอดูข้อจำกัดทางกฎหมาย ควบคู่ไปกับการปรับกลไกของไอซีทีที่จะเปลี่ยนมาเป็นกระทรวงดิจิตอลเพื่อ เศรษฐกิจและสังคมที่ตั้งขึ้นใหม่ด้วย 



• สศค. ประเมินเศรษฐกิจไทยในไตรมาส 1/2558 จะขยายตัวสูงกว่าไตรมาสก่อนโดยอยู่ที่ระดับ 2.3% ขณะที่ทั้งปีนี้คาดว่าเศรษฐกิจไทยจะเติบโตได้ 3.9%


• ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคเกี่ยวกับภาวะเศรษฐกิจโดยรวมในเดือนม.ค.58 อยู่ที่ 69.7 ปรับตัวลดลงเล็กน้อยจากเดือนก่อนหน้า สาเหตุหนึ่งมาจากประชาชนยังมองว่าการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโดยรวมยังเชื่องช้า อีกทั้งราคาสินค้าเกษตรก็ปรับตัวลดลงอย่างต่อเนื่อง


Equity Market


สรุปยอดสุทธิการซื้อขายของแต่ละกลุ่ม
กลุ่มนักลงทุน ล้านบาท


นักลงทุนสถาบัน -1,590.39
บัญชีบริษัทหลักทรัพย์ +611.86
นักลงทุนต่างชาติ -2,860.77
นักลงทุนทั่วไป +3,839.30


• SET Index ปิดที่ 1,593.55 จุด เพิ่มขึ้น 4.22 จุด (+0.27%) มูลค่าการซื้อขาย 66,427.56 ล้านบาท ตลาดหุ้นไทยเคลื่อนไหวในแดนลบเป็นส่วนใหญ่ แต่สามารถรีบาวด์กลับมาปิดบวกได้ในช่วงท้ายของวันตามตลาดหุ้นอื่นในภูมิภาค นอกจากนี้ หุ้นกลุ่มสื่อสารที่มีแรงเทขายในวันก่อนหน้าสามารถกลับมาฟื้นตัวได้ หลังจากมีการผลักดันให้การประมูล 4G เกิดขึ้นภายใน ก.ย. 58 นี้


Fixed Income Market

• อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลเปลี่ยนแปลงอยู่ในช่วงระหว่าง -0.09% ถึง 0.00% ด้วยมูลค่าการซื้อขาย 82,122.41 ล้านบาท สำหรับวันนี้ไม่มีการประมูล

เผย ชาว Greece แห่ถอนเงินถึง 13,000 ล้านยูโร ในเดือนม.ค. ...เหตุวิตกวิกฤตหนี้

 เผย ชาว Greece แห่ถอนเงินถึง 13,000 ล้านยูโร ในเดือนม.ค. ...เหตุวิตกวิกฤตหนี้


ธนาคารกลางยุโรป (ECB) เปิดเผยว่า ชาวกรีซได้แห่ถอนเงินออกจากบัญชีธนาคารถึงเกือบ 1.3 หมื่นล้านยูโรในช่วงเดือนม.ค.ที่ผ่านมา เนื่องจากความกังวลเกี่ยวกับสถานการณ์ที่ตึงเครียดด้านหนี้สินของประเทศ รวมทั้งความหวั่นวิตกเกี่ยวกับอนาคตของประเทศภายใต้การนำของรัฐบาลชุดใหม่

ทั้งนี้ เงินฝากที่ถูกถอนออกไปนั้น เมื่อรวมกับการที่ ECB ได้ตัดสินใจระงับสิทธิพิเศษที่เคยให้แก่สถาบันการเงินต่างๆของกรีซในการใช้พันธบัตรรัฐบาลกรีซมาใช้เป็นหลักทรัพย์ค้ำประกันเพื่อขอเงินกู้จากธนาคารกลาง จึงส่งผลให้บรรดาธนาคารพาณิชย์ของกรีซต้องหันไปพึ่งพาโครงการเงินกู้ฉุกเฉินผ่านทางธนาคารกลางกรีซมากขึ้น แม้ถูกคิดอัตราดอกเบี้ยที่สูงขึ้นก็ตาม



Credit - Ryt9

เซียนหุ้น VI จากทุน 800,000 สู่หลัก ร้อยล้าน__ลูกอีสาน (ตอน 1)


เซียนหุ้น VI จากทุน 800,000 สู่หลัก ร้อยล้าน__ลูกอีสาน (ตอน 1)
ใครคนหนึ่งเอ่ยถาม อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์ ว่า

" ท่านครับ ! ท่านคิดว่าอะไรคือ ประดิษฐกรรมที่ยิ่งใหญ่ที่สุดของมนุษยชาติครับ "

อัจฉริยะผมยุ่ง ผู้มีชีวิตอยู่ในช่วงปี 1879-1955 ตอบว่า

" ก็ดอกเบี้ยทบต้นไง ! ! ! "

เจ้าของชื่อล็อกอิน " ลูกอีสาน " ในเว็บไซต์ Thaivi " โจ " อนุรักษ์ บุญแสวง วันนี้พอร์ตเขาแตะเลข 9 หลัก เพราะเดินตามทฤษฎี " กำไรทบต้น " สิ่งมหัศจรรย์อันดับ 8 ของไอน์สไตน์

" โจ " เป็นนักลงทุนวีไอที่ประสบความสำเร็จอย่างสูงในช่วงหลายปีที่ผ่านมา เขามีแฟนคลับคอยติดตามผลงาน การลงทุนอย่างใกล้ชิดและเป็นหนึ่งในกรรมการสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า ( ประเทศไทย )

โจและเพื่อน 2-3 คน ที่เป็นนักลงทุนแนว VI เหมือนกันลงทุนอยู่ที่ อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา ทุกไตรมาส พวกเขาจะจัดสัมมนาคุยกับแฟน ๆ ประมาณ 50 ที่นั่ง ที่ร้านอาหาร สมิหลาซีสปอร์ต ในอำเภอหาดใหญ่

ชื่อ "ลูกอีสาน" ที่โจใช้เป็น "นามแฝง" หาใช่ภูมิลำเนาที่แท้จริงไม่ ความจริงโจเกิดและใช้ชีวิตวัยเด็ก จนถึงชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นที่จังหวัดพังงา ก่อนจะเข้ามาอยู่กับญาติย่านลาดพร้าว เพื่อศึกษาต่อมัธยมศึกษาตอนปลาย

ส่วนชื่อ "ลูกอีสาน" เกิดขึ้นหลังอ่านนวนิยายเรื่อง "ลูกอีสาน" ของ คำพูน บุญทวีศิลปินแห่งชาติสาขาวรรณศิลป์ ประจำปี 2544 แล้วเกิดซาบซึ้งในชื่อนี้ขึ้นมา

เซียนหุ้นวีไอรายนี้ปัจจุบันอยู่ในวัย 38 ปี มีพี่น้อง 4 คน โจเป็นลูกชายคนรองคุณพ่อเสียชีวิตตั้งแต่ยังเรียนอยู่ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ส่วนคุณแม่เป็นชาวบ้านธรรมดาที่ยึดอาชีพขายของชำเลี้ยงดูลูกๆ ในวัยเด็กโจมีชีวิตค่อนข้างลำบาก ตัวเขา พี่ชายคนโตและแม่ ต้องแบกรับหน้าที่ทำงานหาเงินเลี้ยงดูครอบครัวทั้ง 5 ชีวิต

โจลงทุนในตลาดหุ้นมานาน 12 ปีครึ่ง (2543-2555) มีพอร์ตทะยานขึ้นมาเลข 9 หลัก โดยมูลค่าการลงทุนขยายตัวเพิ่มขึ้นทุกปี "เฉลี่ยปีละ 60%" มีผลตอบแทนในช่วง 12 ปี เพิ่มขึ้นเฉลี่ย 400 เท่า สมมติฐานทั้งหมดตั้งอยู่บนหลักการไม่นำเงินออกมาใช้ แต่ความจริงเขานำเงินมาใช้เฉลี่ย 5-10% ของพอร์ต

อนุรักษ์ บุญแสวง นั่งเครื่องบินจากอำเภอหาดใหญ่ เพื่อมาเล่าประวัติชีวิตและเส้นทางการลงทุนให้ กรุงเทพธุรกิจ BizWeek ฟัง โดยมี "ไก่" ธันวา เลาหศิริวงศ์ นายกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า (ประเทศไทย) เป็นผู้ประสานงานให้

ก่อนจะเล่าจุดเริ่มต้นในเส้นทางเซียนหุ้น โจระบายความใจว่า " พื้นฐานผมมาจากครอบครัวยากจน และเป็นคนบ้านนอก เมื่อก่อนจะมีประโยคฮิตว่า "คนจนเล่นหวย คนรวยเล่นหุ้น" ผมจึงอยากพิสูจน์ตัวเองว่า คนจนก็เล่นหุ้นได้เหมือนกัน ขอเพียงแค่มีใครสักคนมาคอยชี้แนวทางที่ถูกต้องให้เดินเท่านั้น "

จุดสนใจตลาดหุ้นเกิดขึ้นตอนเด็ก ๆ ช่วงนั้น โจย้ายไปอยู่บ้านญาติแถวลาดพร้าว วันหนึ่งก็แอบได้ยินลูกชาย ( คุณน้า ) ของคุณปู่ ซึ่งอายุห่างกันประมาณ 15 ปี บอกกับคุณปู่ว่าอยากลาออกจากงานประจำมาเล่นหุ้น ไม่ต้องทำอะไรเลยก็มีเงินใช้

ตอนนั้นโจคิดในใจว่า " อาชีพอะไรทำไมน่าสนใจแบบนี้ "

เขาเรียกน้าชาย คนนั้นว่า " คิ้ว " ซึ่งแปลว่า " พี่ชาย " เป็นภาษาจีนฮกเกี้ยน

" จากนั้นผมก็เริ่มหาหนังสือและพอคเก็ตบุ๊คที่เกี่ยวข้องกับภาวะเศรษฐกิจมาอ่าน เรียกว่าช่วงนั้นไม่อ่านหนังสือเรื่องอื่นเลย ยกเว้นหนังสือเรียน เมื่อเรียนจบ ม.ปลาย ผมก็ไปเรียนต่อในคณะอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ใจจริงอยากเรียนเศรษฐศาสตร์จุฬาฯ เพราะเลือกไว้เป็นอันดับหนึ่ง แต่สอบไม่ผ่าน (หัวเราะ) จากนั้นก็ไปเรียนต่อด้านการเงินการธนาคารที่รามคำแหง เพราะอยากมีความรู้เกี่ยวกับการลงทุน "

ช่วงที่เรียนปริญญาตรีอยู่สงขลานครินทร์ โจ จะใช้เวลาทุกเย็นอยู่ในห้องสมุดของมหาวิทยาลัย เพื่ออ่านหนังสือพิมพ์ และนิตยสารที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจทั้งในและต่างประเทศ เขาอ่านหนังสือลักษณะนี้ทุกวันเป็นระยะเวลา 4 ปี จนเรียนจบในเดือนมีนาคม 2539

หลังเรียนจบปริญญาตรีใบแรกถัดมาประมาณ 3 ปี เขาก็ตัดสินใจลงทุนในตลาดหุ้นเป็นครั้งแรก ตอนนั้นมีเงินประมาณ 50,000 บาท ซึ่งเป็นเงินเก็บจากการทำงานในช่วงที่เรียนมหาวิทยาลัย

ตอนนั้นทำงานในบริษัทขายเครื่องใช้สำนักงานและกล้องถ่ายรูป เงินเดือนน้อยประมาณ 10,000 บาท แต่ก็ต้องทำ

" ช่วงเปิดพอร์ต ผมเจ็บใจมาก (หัวเราะ) ตอนนั้นเพิ่งผ่านวิกฤติเศรษฐกิจต้มยำกุ้งมาใหม่ ๆ โบรกเกอร์แห่งหนึ่งจะให้ผมเปิดพอร์ต 5 ล้านบาท ตอนนั้นผมคิดในใจใครจะมีเงินมากขนาดนั้น สุดท้ายผมก็ไปเปิดพอร์ตที่ บล.เกียรตินาคินประมาณ 300,000 บาท "

ตอนนั้นเขาไปขอเงินแม่มา 100,000 บาท ทั้งครอบครัวคงมีเงินอยู่เท่านั้น แต่แม่ก็ให้เพราะรักลูก ส่วนที่เหลืออีก 150,000 บาท ไปชวนเพื่อนสนิทคนหนึ่ง ที่เรียนด้วยกันที่มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์มาร่วมลงทุน เพราะเขาอยากเล่นหุ้นอยู่แล้ว

" ผมซื้อหุ้น บล.เอกธำรง ( S-ONE ) เป็นตัวแรก ตอนนั้นปี 2541 ในราคา 11.30 บาท ถือมาประมาณ 1 ปี ก็ขายในราคา 5.80 บาท (หัวเราะ) เรียกได้ว่า "ขาดทุนยับเยิน" เหลือเงินติดพอร์ตเพียง 120,000 บาท สุดท้ายก็แบ่งคนละครึ่งกับเพื่อน "

นั่นคือความล้มเหลวแรกที่เจ้าตัวไม่เคยลืมเลือน


ช่วงนั้นเขายอมรับว่าในหัวสมองไม่มีวิชา การวิเคราะห์หุ้น วัน ๆ อ่านแต่บทวิเคราะห์อย่างเดียว แถมรู้จักธุรกิจที่ลงทุนเพียงผิวเผินเท่านั้น ผนวกกับตอนนั้นเพิ่งผ่านวิกฤติเศรษฐกิจมาใหม่ ๆ ทำให้รายได้ของโบรกเกอร์ไม่ดี

จำได้ช่วงซื้อหุ้น S-ONE ดัชนี หุ้นไทยหล่นจาก 600 จุด มายืน 200 จุด

หลังจากขาดทุนหนัก โจก็เดินทางไปสหรัฐอเมริกา ภรรยาที่เป็นอาจารย์สอนหนังสืออยู่มหาวิทยาลัย สงขลานครินทร์ ซึ่งคบกันมาตั้งแต่เรียนมหาวิทยาลัยได้ทุนไปเรียนต่อ

โจใช้เวลาช่วงนั้นศึกษาหาความรู้ เพิ่มเติมเกี่ยวกับงบการเงิน

วันหนึ่งไปอ่านเจอบทความของอาจารย์ ที่แนะนำการลงทุนเน้นคุณค่าทางอินเทอร์เน็ตคนหนึ่งชื่อว่า Paul A Renaud ซึ่งเป็นชาวต่างชาติ ที่อยู่ในเมืองไทย เขาเป็นเจ้าของ www.thaistocks.com เขาจะสอนให้ซื้อหุ้น ขนาดเล็กเน้นดูพื้นฐานของกิจการเป็นหลัก

แต่ตอนนั้น โจยังไม่รู้ว่าลงทุนแบบนี้เขาเรียกว่าแนว VI เพราะ ยังไม่มีการบัญญัติคำเหล่านั้นขึ้นมา


อีกคนชื่อ ปีเตอร์ อีริค เดนนิส นักลงทุน ชาวออสเตรีย คนนี้ก็อยู่เมืองไทยเหมือนกัน เขาเขียนบทความลงคอลัมน์ " ถนนนักลงทุน" ( ก่อนที่จะเป็นหนังสือกรุงเทพธุรกิจ BizWeek ในปัจจุบัน ) ความยาว 17 หน้า โจอ่านซ้ำแล้วซ้ำอีกจนจำขึ้นใจ บทความ ชิ้นนี้ทำให้รู้ว่า ชีวิตการลงทุนของคนที่จะประสบ ความสำเร็จได้

" คุณต้องเป็นมืออาชีพเท่านั้น "

ประโยคหนึ่งในบทความบอกว่า ทำไม ! คนไทยต้องไปต่อคิวซื้อธนบัตรที่ได้ดอกเบี้ยเพียง 6% ในขณะที่ เมืองไทยมีหุ้นดี ๆ ที่จ่ายเงินปันผลมากกว่า 10% ทุกปี ทำไม ! ถึงไม่ซื้อ เขาถึงขนาดทนไม่ได้ต้องเขียนเป็นบทความออกมาให้นักลงทุนอ่าน


ปีเตอร์ เดนนิส ( สมัยก่อนจะเห็นเขาอยู่ที่ห้องสมุด ตลาดหลักทรัพย์เป็นประจำ ) เขาบอกว่า หลักการนี้เหมือนของ วอร์เรน บัฟเฟตต์ นักลงทุนที่ประสบความสำเร็จมากที่สุดในโลก ขณะเดียวกันเขายังแนะนำวิธีการซื้อหุ้นเน้นดู อัตราส่วนทางการเงิน ( Financial ratio ) อัตราผลตอบแทนผู้ถือหุ้น ( ROE ) และ เงินปันผล รวมถึงคุณภาพบริษัท

" ผมใช้เวลาอ่านบทความต่าง ๆ ในช่วงที่อาศัยใน สหรัฐอเมริกาประมาณ 2-3 ปี หลังอ่านจบทำให้รู้ว่าแนว VI มันมีเหตุผลมากกว่า เส้นเทคนิค เพราะมีคนทำสำเร็จมาแล้วแถมมีความเป็นไปได้มากกว่า ในอดีตเคยศึกษาเส้นเทคนิคมาประมาณครึ่งปี แต่พอรู้ว่ามันไม่สามารถทำให้ "รวย" ได้ ผมก็เลยเลิก "

เจ้าของพอร์ตหุ้นหลักร้อยล้าน เล่าต่อว่า ในช่วงที่ศึกษาการลงทุนก็ลงทุนในตลาดหุ้นไทยไปด้วย ตอนนั้นเล่น "หนักมาก" โดยจะนำเงินที่ได้จากการทำงานเป็น ผู้ช่วยพ่อครัวในร้านอาหารเกาหลีประมาณ 1 ปีครึ่ง มาเป็นทุน

จำได้ตอนนั้นปี 2543 ซึ่งเป็นปีที่เริ่มลงทุนแนว VI ทุกเดือนจะโอนเงินกลับเมืองไทยประมาณ 1,000 เหรียญ เพื่อเข้าบัญชีน้องสาว ซึ่งน้องจะนำไปซื้อหุ้นผ่านโบรกเกอร์ แม้จะโดนหักค่าโอนครั้งละ 5% แต่ก็ต้องยอม เพราะตอนนั้นหุ้นเมืองไทยหลังวิกฤติเศรษฐกิจมัน "ถูกมาก"

ช่วงนั้นเขาซื้อหุ้น 2 ตัว มูลค่าลงทุน 800,000 บาท แบ่งเป็นเงินของภรรยา 50% และของตัวเอง 50% โดย 400,000 บาท นำไปซื้อหุ้น วนชัย กรุ๊ป ( VNG )

ตอนนั้น ลงทุนโทรไปหาโบรกเกอร์ เขาคิดว่า โจพูดชื่อหุ้นผิด เพราะเขาถามกลับว่าหุ้น เนชั่น มัลติมีเดีย กรุ๊ป ( NMG ) หรือเปล่ า!

โจบอกว่า "ไม่ใช่" (หัวเราะ) เหตุผลที่ซื้อหุ้น VNG เขาบอกว่า ตอนนั้นไม่มีใครสนใจหุ้น VNG ในหนึ่งสัปดาห์แทบไม่มีการซื้อขาย ที่กล้าซื้อ เพราะช่วงนั้นหุ้นมีค่า P/E ที่ 1.5 เท่า นั่นแปลว่า เราทำกำไรแค่ 1 ปีครึ่ง ก็คุ้มกับราคาที่ซื้อแล้ว สมมติราคาหุ้น 15 บาท ปีครึ่งบริษัททำกำไรได้ 15 บาท ถามว่า "ถูกมั้ย!..มันถูกมาก" (ลากเสียงยาว) ส่วนอีก 400,000 บาท นำไปลงทุนในหุ้น อาร์ ซี แอล (RCL) ตอนนั้นซื้อมา 28 บาท จำได้ค่า P/E อยู่ที่ 2.5 เท่า

เขาถือหุ้น 2 ตัวนี้ ( VNG, RCL ) เกือบปี แต่ราคาหุ้นแทบไม่ขยับตอนนั้นเริ่มสงสัย "เราคิดถูกหรือเปล่า!"

แต่สุดท้ายมาถึง "จุดเปลี่ยน" มีนักลงทุนกลุ่มหนึ่ง รวมถึง Paul A. Renaud เขาสนใจหุ้น VNG หลัง Paul A. Renaud ออกบทวิเคราะห์เกี่ยวกับหุ้น VNG ผ่านมาเพียง 1 สัปดาห์ ราคาหุ้น VNG ปรับตัวเพิ่มขึ้นกว่า 1 เท่าตัว หรือประมาณ 30 บาท

" ผมตัดสินใจเทขายหมดเกลี้ยง ทำให้ได้กำไรกลับมา 400,000 บาท ส่งผลให้พอร์ตเพิ่มขึ้นเป็น 1.2 ล้านบาท จากนั้นภายใน 1 ปี ราคาหุ้นปรับตัวเพิ่มขึ้นอีก 10 เท่า เพราะมันกลายเป็นหุ้นมวลชนหลายคนแห่เข้ามาเก็งกำไร ส่วนเงินที่ได้จากการขายหุ้น VNG ก็นำไปซื้อหุ้นตัวอื่น ๆ กระจายออกไป 2-3 ตัว เช่น หุ้น ฟินิคซ พัลพ แอนด์ เพเพอร์ ( PPPC ) เป็นต้น ปัจจุบันหุ้นตัวนี้ออกจากตลาดไปแล้ว ตอนนั้นแฮปปี้มากเพราะได้กำไรเกือบทุกตัว "

โจลูกอีสาน ทิ้งท้ายว่า อยากเป็นนักลงทุนแนว VI ต้องใช้หลัก "ยิ่งนานยิ่งดี"

โจใช้เวลา 7 ปี ในการทำ ผลตอบแทนให้ได้ 9 เท่า

แต่ใช้เวลา 5 ปีหลัง ทำผลตอบแทน ได้ 400 เท่า นั่นเป็นเพราะกลยุทธ์ "มหัศจรรย์การ ทบต้น"

อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์บอกไว้ว่า "ดอกเบี้ย" คือ สิ่งมหัศจรรย์อันดับแปดของโลก โจปักใจเชื่อสนิทขณะที่คนส่วนใหญ่รอไม่ได้ จึงหันไปเก็งกำไร ซื้อหวย และเล่นพนันบอล ส่วนใหญ่ก็เห็นเจ๊งเป็นแถว

เขาอธิบายมหัศจรรย์ของ "กำไรทบต้น" ว่า สมมติเรามีเงิน 100 บาท สิ้นปีสามารถทำผลตอบแทนได้ 20% เท่ากับว่าสิ้นปีเราจะมีเงิน 120 บาท แทนที่จะเอา 20 บาท ไปกินขนม เราก็เอา 20% มาทบเป็นเงินต้น ดังนั้นต้นปี ก็จะมีเงินต้น 120 บาท

สมมติปีที่ 2 เราสามารถทำ ผลตอบแทนได้เท่าเดิม กำไรก็จะเปลี่ยนเป็น 24 บาท เราก็เอา 24 บาท ไปทบต้นอีก

ทำแบบนี้ไปทุกปีภายใน 10 ปี มันจะเกิดสิ่งมหัศจรรย์ทะลุฟ้า ฉะนั้นใครคิด อยากรวยเร็ว อย่ามาลงทุนแบบ VI

เรื่องราวของเซียนหุ้นบ้านนอกยังไม่จบ โจใช้เทคนิคแบบไหนถึงทำให้มูลค่าการลงทุนภายใน 12 ปีครึ่ง ทะยานขึ้นเป็น 9 หลัก

ติดตามต่อไปในสัปดาห์หน้า..ห้ามพลาดเด็ดขาด ! !

ที่มา : หนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ

วันพุธที่ 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

Good Morning News จาก กองทุนบัวหลวง ..---- 25 กุมภาพันธ์ 2558

Good Morning News จาก กองทุนบัวหลวง ..
------------------------------------------

25 กุมภาพันธ์ 2558


ชื่อ:  001.PNG
ครั้ง: 13452
ขนาด:  764.8 กิโลไบต์








Guru Quotes


Joel Greenblatt - ตลาดจะหยิบยื่นโอกาสให้เราเสมอไม่ว่าจะเป็นตอนนี้หรือในอนาคต ความอดทนจึงเป็นสิ่งสำคัญมากโดยเฉพาะในตลาดที่มีโอกาสน้อย และในที่สุดโอกาสที่เหมาะสำหรับการลงทุนก็จะผ่านเข้ามา ซึ่งปกติแล้วจะเกิดขึ้นไม่เกินปีหรือสองปี


General News


• ดัชนีราคาผู้บริโภคในกลุ่มประเทศที่ใช้สกุลเงินยูโร ปรับตัวลง -0.6% ในเดือน ม.ค. ซึ่งปรับตัวลดลงมากที่สุดนับตั้งแต่ที่เริ่มมีการเก็บสถิติในปี 2540 ตอกย้ำถึงความเสี่ยงที่ว่าภูมิภาคกำลังจะเข้าสู่ภาวะเงินฝืด


• อิตาลีและสวิตเซอร์แลนด์ ร่วมลงนามในสนธิสัญญา เพื่อเปิดทางให้รัฐบาลอิตาลีสอบถามข้อมูลเกี่ยวกับสินทรัพย์ที่มีการซุกซ่อน ไว้ในสวิตเซอร์แลนด์ได้ ซึ่งสอดคล้องกับมาตรฐานขององค์การเพื่อความร่วมมือและพัฒนาเศรษฐกิจ (OECD) พร้อมเรียกร้องให้ส่งกลับประเทศโดยสมัครใจ ทั้งนี้ สวิตเซอร์แลนด์เป็นสถานที่เลี่ยงภาษีเพียงแห่งเดียวในโลกที่ผู้หลบเลี่ยง ภาษีสามารถปกปิดสินทรัพย์ได้ สนธิสัญญาดังกล่าวจึงนับเป็นมาตรการที่เป็นรูปธรรมในการช่วยจัดการกับการ เลี่ยงภาษี และนับเป็นเรื่องที่ดีสำหรับประชาชนที่จ่ายภาษีอย่างถูกต้องตามกฎหมาย


• สนง.สถิติแห่งชาติเยอรมนี รายงาน GDP ในไตรมาส 4 ปี 2557 ขยายตัว 0.7% สอดคล้องกับข้อมูลเบื้องต้นที่รายงานไปก่อนหน้านี้ เนื่องจากได้รับแรงหนุนจากการใช้จ่ายผู้บริโภคที่เพิ่มสูงขึ้น


• คณะกรรมการนโยบายการเงินของธ.กลางอังกฤษ เปิดเผยว่า การคงอัตราดอกเบี้ยไว้ที่ระดับต่ำเป็นประวัติการณ์นานเกินไปนั้นอาจก่อให้ เกิดภาวะไร้เสถียรภาพทางการเงินได้ ซึ่ง ธนาคารกลางอังกฤษอาจจะต้องปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเพื่อป้องกันความเสี่ยงดัง กล่าว


• กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) อนุมัติมาตรการให้ความช่วยเหลือด้านการเงินมูลค่า 82.1 ล้านดอลลาร์แก่ไลบีเรีย ซึ่งได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของไวรัสอีโบลา


• ยอดการใช้ที่ดินของจีนเพื่อนำไปพัฒนาโครงการอสังหาริมทรัพย์ลดลง 25.5% ในปี 2557 เนื่องจากได้รับผลกระทบจากอุปสงค์อ่อนแรง ประกอบกับจำนวนบ้านที่ยังขายไม่ได้ปรับตัวเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง ขณะที่ GDP ของจีนขยายตัว 7.4% ในปี 2557 ซึ่งเป็นอัตราการขยายตัวต่ำสุดในรอบ 24 ปี


• ยอดขาดดุลการค้าของฟิลิปปินส์เดือน ธ.ค. 2557 มีแนวโน้มที่ดีขึ้น โดยปรับตัวลดลงจากปีก่อนถึง 417 ล้านดอลลาร์มาอยู่ที่ 68 ล้านดอลลาร์ เป็นผลจากการลดลงของยอดนำเข้าโดยเฉพาะอุปกรณ์ด้านการขนส่ง ธัญพืช และเชื้อเพลิง รวมถึงราคาน้ำมันที่อ่อนตัวลง 



• สิงคโปร์ อาจปรับขึ้นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา สำหรับผู้ที่มีรายได้สูงกว่า 160,000 ดอลลาร์สิงคโปร์ต่อปี ซึ่งบุคคลกลุ่มนี้มีสัดส่วนราว 5% ของกลุ่มผู้ที่มีเงินได้ ส่วนผู้ที่มีรายได้สูงถึง 1.5 ล้านดอลลาร์สิงคโปร์ จะถูกเรียกเก็บภาษีเพิ่มขึ้นจาก 17.9% เป็น 19.5%


• สภาพัฒน์ เปิดเผยว่า ในปี 2557 หนี้ครัวเรือนแตะ 85% และอาจเพิ่มขึ้นเป็น 88% ต่อ GDPในปี ทั้งนี้ยังคงต้องเฝ้าระวังการผิดนัดชำระหนี้ โดยเฉพาะในกลุ่มผู้มีรายได้น้อยถึงปานกลาง


• สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย รายงาน ยอดส่งออกรถยนต์ ม.ค. 58 อยู่ที่ 92,440 คัน เพิ่มขึ้น 14.09% จาก ม.ค. 57 จากการส่งออกที่เพิ่มขึ้นในตลาดยุโรป อเมริกาเหนือ อเมริกากลาง อเมริกาใต้ และตลาดออสเตรเลีย โดยมีมูลค่าส่งออก 41,151.40 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 10% จาก ม.ค.57 ขณะที่ดัชนีความเชื่อมั่นของภาคอุตสาหกรรมไทยในเดือน ม.ค. 58 อยู่ที่ 91.1 ลดลงจาก 92.7 ในเดือน ธ.ค. 57 โดยค่าดัชนีที่ลดลงเกิดจากความกังวลต่อการชะลอตัวของกำลังซื้อในประเทศ โดยเฉพาะกำลังซื้อภาคเกษตร รวมทั้งความผันผวนของเศรษฐกิจประเทศคู่ค้าสำคัญ


• ธปท.ยืนยันแนวคิดเดิมที่จะสนับสนุนการขยายตัวทางเศรษฐกิจของประเทศให้เติบโต เต็มศักยภาพที่ระดับ 4% ในปีนี้ โดยไม่ได้ก่อให้เกิดผลกระทบด้านเสถียรภาพ พร้อมยืนยันว่านโยบายการเงินและอัตราดอกเบี้ยนโยบายในปัจจุบันที่ระดับ 2% ยังถือว่าช่วยสนับสนุนการฟื้นตัวของเศรษฐกิจไทยได้อย่างเต็มที่


• รมว.ท่องเที่ยวและกีฬา กล่าวถึงตัวเลขนักท่องเที่ยวในเดือน ม.ค. - ก.พ. ว่าจำนวนนักท่องเที่ยวเพิ่มขึ้นประมาณ 26% และคิดว่าในปีนี้จะถึงเป้าหมายที่ตั้งไว้ 28 ล้านคน 



• คสช. ตัดสินใจชะลอการเปิดสัมปทานปิโตรเลียมรอบที่ 21 ออกไปก่อน หลังจากได้ขยายเวลาเปิดรับซื้อข้อเสนอจากผู้สนใจไปถึง 16 มี.ค. แล้วก็ตาม เพราะเห็นว่าควรจะมีการแก้ไขกฎหมายที่เกี่ยวข้องเพื่อให้เกิดความรอบคอบ ซึ่งคาดว่าจะใช้เวลาประมาณ 3 เดือน


• ครม. เห็นชอบให้แก้ไขระเบียบกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ เพื่อส่งเสริมการออมทรัพย์ โดยให้พนักงาน ลูกจ้าง สามารถส่งเงินเข้ากองทุนฯ ได้มากกว่านายจ้าง และกรณีเกิดวิกฤตสามารถให้พนักงานงดส่งเงินเข้ากองทุนฯได้ชั่วคราว


Equity Market


สรุปยอดสุทธิการซื้อขายของแต่ละกลุ่ม
กลุ่มนักลงทุน ล้านบาท


นักลงทุนสถาบัน -75.98
บัญชีบริษัทหลักทรัพย์ -78.40
นักลงทุนต่างชาติ -546.38
นักลงทุนทั่วไป +700.76


• SET Index ปิดที่ 1,598.66 จุด เพิ่มขึ้น 4.77 จุด (+0.30%) มูลค่าซื้อขาย 58,009.82 ล้านบาท ตลาดหุ้นไทยปรับตัวขึ้นได้เช่นเดียวกับตลาดหุ้นอื่นในภูมิภาคเอเชียที่ส่วน ใหญ่อยู่ในแดนบวก แต่ดัชนีฯก็ยังขึ้นได้ไม่แข็งแกร่ง แต่เป็นลักษณะของการประคองตัวมากกว่า สำหรับช่วงนี้ตลาดเกาะติดการแถลงนโยบายธนาคารกลางสหรัฐฯรอบครึ่งปีต่อสภา คองเกรสในวันที่ 24-25 ก.พ.นี้ เพื่อจับตาทิศทางอัตราดอกเบี้ยของสหรัฐ


Fixed Income Market

• อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลเปลี่ยนแปลงเล็กน้อยอยู่ในช่วงระหว่าง -0.01% ถึง 0.00% ด้วยมูลค่าการซื้อขาย 91,563.38 ล้านบาท
--------------------------------------------------

ยูโรสแตทเผยเงินเฟ้อยูโรโซนเดือนม.ค.ร่วงลง 0.6% เท่ากับรายงานเบื้องต้น

EU เผย Inflation ร่วงต่อ -0.6% ...

ยูโรสแตทเผยเงินเฟ้อยูโรโซนเดือนม.ค.ร่วงลง 0.6% เท่ากับรายงานเบื้องต้น



สำนักงานสถิติแห่งสหภาพยุโรป หรือยูโรสแตท เปิดเผยว่า ดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) ในกลุ่มประเทศที่ใช้สกุลเงินยูโร ปรับตัวลงแตะระดับ -0.6% ในเดือนม.ค. ซึ่งไม่เปลี่ยนแปลงจากรายงานเบื้องต้นที่มีการเปิดเผยเมื่อวันที่ 30 ม.ค.ที่ผ่านมา

ราคาผู้บริโภคของยูโรโซนปรับตัวลดลงมากที่สุดนับตั้งแต่ที่เริ่มมีการเก็บสถิติในปี 2540 ตอกย้ำถึงความเสี่ยงที่ว่าภูมิภาคกำลังจะเข้าสู่ภาวะเงินฝืด

วันจันทร์ที่ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

ผมทำกำไรจาก AOT ตัวเดียวพันล้านได้อย่างไร ? นายแพทย์พงศ์ศักดิ์ ธรรมธัชอารี

  1. ผมทำกำไรจาก AOT ตัวเดียวพันล้านได้อย่างไร ? นายแพทย์พงศ์ศักดิ์ ธรรมธัชอารี


    ข้อเขียนต่อไปนี้ นำมาจาก facebook ของคุณหมอ ผู้ที่สนใจ สามารถเข้าไปอ่านเพิ่มเติมหัวข้ออื่นๆ ได้ SET Insight นำมาเผยแพร่ เพื่อให้ใช้ศึกษาอ้างอิงกันกว้างขวางได้ ขอขอบคุณคุณหมอพงศ์ศักดิ์ ธรรมธัชอารี ที่กรุณาเผยแพร่ขุมทรัพย์แห่งปัญญาให้พวกเราได้เรียนรู้ครับ

    วันนี้ผมจะเขียนเรื่อง ที่ผมเจอหุ้น AOT ได้อย่างไร ประมาณ q3 2011 มีข่าวลงในหนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ โดยรองกรรมการ ผจก ใหญ่ฝ่ายพัฒนาธุรกิจ AOT ชื่อคุณ นิตินัย ให้ข่าวว่า จะขอปรับค่า ธรรมเนียมการใช้สนามบิน กับ กบร โดยเพิ่ม ผู้โดยสาร ตปท จาก 700 เป็น 800 ผู้โดยสาร ในประเทศจาก 100 เป็น 250 เนื่องจากต้องมีการลงทุน สุวรรณภูมิเฟส 2

    ผมได้ลองประเมินว่าถ้า มีการปรับ psc จริงจะมีผลดีขนาดไหน ขณะนั้นค่า psc ประมาณ ปีละ 10000 ล้าน เป็นจาก ผู้โดยสาร ตปท 90% ในประเทศ 10% คำนวนแล้วพบจะเพิ่มกำไรก่อนภาษี 2800 ล้าน หลังภาษี 2000 ล้าน ขณะนั้นกำไรของ AOT ปีละ 2500 ล้าน หรือเพิ่ม 80% อละเป็นการเพิ่มตลอดไป ประเด็นนี้เป็นจุดเปลี่ยนหรือ value driver ให้ผมศึกษาบริษัทเพิ่ม

    ผมพบว่า AOT จะมี value driver อีกหลายอย่างมาก หนึ่งในนั้นคือ กรุงเทพ เป็นเมืองท่องเที่ยวติดอันดับโลก แต่กรุงเทพ เจอ perfect storm 3 ปีซ้อน คือ ไข้หวัด 2009 พอ 2010 2011 ก็เจอ เสื้อเหลือง เสื้อแดง เหตุการณ์ปิดยึดสนามบิน ปี 2011 ประเทศผ่านการเลือกตั้งโดยสงบ โดยธรรมชาติ การท่องเที่ยวจะกลับมาเร็ว และ ครั้งนี้ผมคาดว่าจะแรงด้วย จากการอั้นมา 3 ปี ปกติ องค์กรณ์การบินระหว่างประเทศ ประเมินกรุงเทพ มีอัตราการเพิ่มของ ผู้โดยสารทางการบินปีละ 7% ผมคิดว่าจากการอั้นมานาน การท่องเที่ยวปี 2011 มีโอกาสโตได้ 10% รายได้ปี 2010 ของ AOT ประมาณ 24000 ล้าน ถ้ารายได้ โต 10% คือ 2400 ล้าน ขณะทีค่าใช้จ่าย โตน้อยกว่ามาก เป็นลักษณะของธุรกิจ high leverage โดย fix cost เป็นค่าเสื่อม 40% ของค่าใช้จ่าย หรือประมาณ ปีละ 8000 ล้าน ผมประเมินรายได้ที่เพิ่ม โดยรายจ่ายเพิ่มน้อยกว่า น่าจะมีผลต่อกำไรประมาณ 1400 -1500 ล้าน

    Value driver ตัวต่อไป ของ AOT ที่ low cost airline boom ซึ่งช่วงนั้น เป็นช่วงเริ่มต้นระยะแรก ของ low cost airline ซึ่งแน้วโน้มเห็นชัดเจนว่า จะเกิดการเดินทางเพิ่มอย่างมาก จากคนชั้นกลางที่สามารถ afford ค่าโดยสารที่ถูกลง

    นอกจากนี้ ผมยังพบว่า การเปิด AEC ในระยะอันใกล้ จะเป็นตัวกระตุ้น การเดินทางให้เพิ่มขึ้นอีกมาก

    สิ่งหนึ่งที่ผมพบ แต่ยังมองไม่ออกในขณะนั้น คือ ดอนเมือง ซึ่งเป็น hidden asset ที่สำคัญ โดยไม่รู้นโยบาย ของรัฐว่าจะสนับสนุน double airport หรือไม่ ข่าวส่วนใหญ่ตอนนั้น มีแน้วโน้ม ให้ใช้เงินสร้าง สุวรรณภูมิเฟส 2

    ขณะนั้น market cap ของ aot แค่ 53000 ล้าน กำไร 2500 ล้าน ผู้โดยสารกำลังเต็ม capacity จองสนามบิน 45 ล้านคน โอกาสที่กำไรจะเพิ่มจาก value driver หลายตัวที่รออยู่ พร้อมความเสี่ยงที่ไม่มาก ผมจึงตัดสินใจลงทุน

    ภายหลังการวิเคราะห์ มีเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นจริง และ เหตุการณ์ที่ไม่เกิดขึ้น โชคดีของการมี value driver หลายอย่าง เหตุการณ์นี้ เป็นหนึ่งบทเรียนการลงทุน จองการมองหา value driver หลายๆตัว

    ผมจะสรุปเหตุการณ์ต่อมา การปรับ psc ไม่เกิดขึ้น การเพิ่มของ ผู้โดยสารดีกว่าคาด และ ทีคาดไม่ถึง คือ การเพิ่มของผู้โดยสารจีน และ รัสเซีย low cost airline boom เกิดขึ้นจริง การเกิด AEC ผมประเมินว่ายังไม่ significant ต่อจำนวน ผู้โดยสารมาก และ สิ่งที่ไม่ได้คาดหวังมาก แต่เกิดขึ้น คือการเกิด dual airport เนื่องจากเป็น fight บังคับที่รัฐ ไม่มีทางเลือกในขณะนั้น เนื่องจาก สุวรรณภูมิล้นจนเกือบแตก การเปิดดอนเมืองเป็นการเพิ่ม value ให้ aot อย่างน้อย 100000 ล้าน เพราะการสร้าง สนามบินเพื่อรองรับ ผู้โดยสาร 35 ล้านคน ต้องใช้งบ 100000 ล้าน แต่ดอนเมืองมีค่าเสื่อมเหลือแค่ 4500 ล้าน (ข้อสังเกตุของผมอีกอย่างคือ ผมไม่เคยได้ยินข่าวการซ่อมพื้นรันเวย์ของสนามบินดอนเมืองเลย ทั้งที่เปิดใช้มา 30 ปีแล้ว ขณะที่ สนามบินสุวรรณภูมิเปิดมา 5 ปี เริ่มมีข่มวการซ่อมพื้นรันเวย์เป็นระยะ ผมคิดว่าน่าจะเกิดจากการถมที่ ที่เป็นหนองน้ำที่สุวรรณภูมิส่วนหนึ่ง อีกส่วนที่อดคิดไม่ได้ ว่าการก่อสร้างพื้นรันเวย์ดอนเมืองมีประสิทธิภาพดีกว่า)

    ปล. ผมเห็นโอกาส ของธุรกิจ สนามบินดีๆ ใน ตปท ที่น่าจะปรับใช้ เพื่อเพิ่ม value ให้ AOT คือ เรื่อง airport city ทำให้รอบสนามบินเป็นแหล่งที่มีกิจกรรมการค้า เกิดขึ้น เนื่องจากรอบสนามบินมีพื้นที่เหลือมาก

    อีกประเด็นที่ผมอยากเห็น เมื่อหมดสัญญาสัมปทาน ร้าน duty free จะมีการเปิดประมูลเช่นเดียวกับ ดอนเมือง

    สุดท้ายที่ผมแชร์เรื่องนี้ เพื่อเป็นกรณีศึกษา ในอดีต ราคาหลักทรัพย์ในปัจจุบัน ขึ้นกับการคำนวนของแต่ละท่าน ผมไม่มีคำแนะนำใดๆทั้งสิ้นนะครับ 

วันจันทร์ที่ 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

ค่าเช่าตู้นิรภัย (ราคาแพง)

Monday, 9 February 2015

ค่าเช่าตู้นิรภัย (ราคาแพง)

« VI Summit 2015 ที่สิงคโปร์ | Main | ฟองสบู่ Nasdaq VS MAI »
  เมื่อเร็ว ๆ นี้ ผมคิดว่าผมควรมีตู้นิรภัยในธนาคารที่อยู่ใกล้บ้านเพื่อที่จะเก็บทรัพย์สินมีค่าบางอย่างที่ผมและครอบครัวไม่เคยมีแต่ตอนนี้เริ่มมีบ้าง  ผมจึงไปติดต่อสาขาธนาคารที่ผมใช้อยู่เป็นประจำซึ่งก็เป็นธนาคารที่ผมใช้เป็นหลักมาหลายสิบปีแล้ว  โชคดีที่ยังมีตู้เหลืออยู่บ้างผมตัดสินใจเช่าแต่ก็รู้สึกว่าค่าเช่าใช้นั้นไม่ถูกเลย  ตู้ขนาดกว้างยาวเท่า ๆ  กับซองน้ำตาลใส่เอกสารขนาดใหญ่และสูงซักสิบกว่าเซนติเมตรนั้น  ค่าเช่าตกปีละ 4-5,000 บาท และเราต้องจ่ายมัดจำค่าแรกเข้าอีกน่าจะเป็นหมื่นบาทขึ้นไปถ้าจำไม่ผิด  ผมนึกดูแล้ว  นี่ก็เป็นธุรกิจที่ไม่เลวนักสำหรับธนาคาร  เพราะมันเหมือนกับว่าคนเช่าเป็นคนจ่ายค่าก่อสร้างห้องและตู้นิรภัย  เสร็จแล้วก็จ่ายค่าเช่ารายปีให้กับธนาคาร  ห้องและตู้นิรภัยนี้  ผมดูแล้วแทบไม่ต้องดูแลรักษาอะไร  ต้นทุนในส่วนนี้แทบไม่มี  อย่างไรก็ตาม  สำหรับคนที่มีทรัพย์สินหรือของสำคัญที่ต้องการเก็บรักษาในที่ที่ปลอดภัยนั้น  เงินแค่นี้ก็มักไม่มีปัญหาอะไร  ดังนั้น  ผมจึงตัดสินใจเช่า
  ปัญหาเกิดขึ้นเมื่อเจ้าหน้าที่อาวุโสอีกคนหนึ่งเข้ามาบอกว่าผมต้อง ซื้อประกันชีวิต  ด้วยจึงจะมีสิทธิเช่าตู้นิรภัยเพราะนี่คือ นโยบาย” ของแบ็งค์ว่าจะเก็บตู้นิรภัยให้เช่าเฉพาะคนที่ซื้อประกันชีวิตเท่านั้น  ผมนั่งนิ่งด้วยความมึนงงไปชั่วขณะแต่แล้วก็เข้าใจว่าเกิดอะไรขึ้น   ผมไม่เชื่อหรอกว่านี่คือนโยบายของธนาคาร  การทำแบบนั้นน่าจะผิดกฎเกณฑ์ของทางการและการปฏิบัติที่ดีในแง่ของการทำธุรกิจของธนาคารซึ่งต้องมีมาตรฐานสูง  แต่ผมเชื่อว่าเป็นข้ออ้างของสาขาที่ต้องการบีบให้ผมต้องทำประกันชีวิตเพราะนี่คือผลิตภัณฑ์หรือธุรกิจที่ธนาคารต้องการขายมากและสั่งการให้แต่ละสาขาต้องทำยอดขายให้ได้เป้ามิฉะนั้นก็จะกระทบกับการประเมินผลงานของสาขาและพนักงานแต่ละคน  ดูเหมือนว่าการประกันชีวิตจะเป็นสิ่งที่ทำกำไรสูงมากสำหรับธนาคารเช่นเดียวกับที่มันเป็นสิ่งที่  ขายยาก มาก  ดังนั้นแม้ว่าผมจะพยายามขอร้องว่าผมจะช่วยซื้อผลิตภัณฑ์อย่างอื่น  เช่น  กองทุนรวมตราสารการเงินระยะสั้น  เขาก็ยังยืนกรานว่าผมต้องซื้อประกันชีวิตเท่านั้นจึงจะสามารถเช่าตู้นิรภัยได้
  ว่าที่จริง  ผมเองถูกขอร้องแกมบีบบังคับมาหลายครั้งแล้วให้ซื้อประกันชีวิต  เกือบทุกครั้งที่ผมเข้าไปใช้บริการ  ผมจะต้องเผชิญกับเหตุการณ์แบบนี้จนผมรู้สึกว่าการเข้าแบ็งค์นี้เป็นสิ่งที่ น่าอึดอัด แม้ว่าการต้อนรับและการใช้บริการอื่น ๆ  โดยทั่วไปนั้นค่อนข้างดีทีเดียว  คนในแบ็งค์เองก็รู้จักผมเป็นอย่างดีค่าที่ว่าผมใช้บริการมาหลายสิบปีและก็เข้าไปใช้บริการบ่อย ๆ  แทบทุกสัปดาห์  และประเด็นนี้เองก็อาจจะทำให้เขารู้ว่าผมนั้นพอมีเงินสดเหลือที่จะทำประกันชีวิตได้โดยไม่เดือดร้อน  นอกจากนั้น  เขาอาจจะคิดด้วยว่าการทำประกันชีวิตนั้น  ผม ไม่มีอะไรเสียเลย  เพราะดอกเบี้ยหรือผลตอบแทนที่จะได้รับจากการประกันชีวิตนั้น  ดีกว่าการฝากเงินออมทรัพย์ที่ผมมีเงินคงค้างอยู่มากตลอดเวลาด้วยซ้ำ  แต่ผมก็ไม่ยอมทำประกันซักที  ผมบอกเขาว่า  ผมไม่มีความจำเป็นต้องประกันชีวิต  เพราะเงินที่จะได้ถ้าผมตายนั้น  มันไม่ได้มีความหมายอะไรกับทายาทผมเลย  ผมมีเงินเป็นมรดกเพียงพออยู่แล้ว  เหนือสิ่งอื่นใด  กรมธรรม์ประกันชีวิตนั้น  ก็จะเป็น  เบี้ยหัวแตก  อีกอันหนึ่งที่อาจจะหายสาบสูญไปเมื่อเวลาผ่านไป เช่นเดียวกับทรัพย์สินอื่น ๆ  อีกหลายอย่างที่ผมคิดว่า  ไม่รู้อยู่ไหน” หรือผมลืมไปแล้วว่ามีอยู่
  พนักงานธนาคารยังไม่ยอมให้ผมเช่าตู้นิรภัยอยู่ดี  เขาคงรู้สึกว่าด้วยเงินเอาประกันที่เขายอมลดลงมาเหลือเพียง 500,000 บาท เวลารับประกัน 15 ปี  และจ่ายเบี้ยเพียง 6 ปี ปีละ 166,750 บาท แถมในแต่ละปีนั้น  เขายังคืนเงินผลประโยชน์ให้ปีละ  2.5%” ของเงินเอาประกันคิดเป็นเงินปีละ 12,500 ตลอดระยะเวลา 15 ปีด้วย  และเมื่อสิ้นสุดสัญญา 15 ปี ถ้าผมยังมีชีวิตอยู่ก็จะได้รับเงินเบี้ยประกัน 1,050,000 คืน ฟังดูแล้ว  ผมมีอะไรเสียหายหรือเสียเปรียบ?  วันนั้นผมต้องกลับบ้านไปคิด  พื้นฐานความคิดของผมก็คือ  การได้รับความ คุ้มครอง” ในกรณีที่ผมตายนั้น  ไม่มีประโยชน์สำหรับผม  ในแง่ของการ  ลงทุน  เองนั้น  ผมไม่คิดว่ามันเป็นการลงทุนอะไรเลย  เม็ดเงินลงทุนมันน้อยเกินไป  นอกจากนั้น  ผลตอบแทนที่จะได้รับจากการลงทุนในกรณีที่ผมไม่ตายใน 15 ปี ก็น่าจะต่ำมาก  เหนือสิ่งอื่นใดก็คือ  มันไม่คุ้มที่จะต้องใช้เวลาคอยส่งเบี้ยประกันหรืออื่นๆ  ข้อสรุปเบื้องต้นของผมก็คือ  ค่าเช่าใช้ตู้นิรภัย” ของผมครั้งนี้ก็คือ  ประมาณ 1 ล้านบาทใน 15 ปี  ผมคิดว่ามัน  แพงเกินไป
  ผมตัดสินใจหาทางใหม่  ผมลองติดต่อเจ้าหน้าที่ของสำนักงานใหญ่ที่ดูแลบัญชีผมในฐานะของลูกค้า  “High Net Worth” หรือลูกค้า รายใหญ่ ของธนาคารที่ผมบังเอิญเข้าข่ายเนื่องจากระยะหลังผมมีเงินสดเหลือหลังจากที่ได้รับเงินจากปันผลหรือขายหุ้นแล้วไม่ได้นำกลับไปลงทุนในหุ้นอย่างที่เคยทำมาหลายสิบปี  การเป็นลูกค้ารายใหญ่นั้นผมรู้ว่ามีสิทธิประโยชน์หลายอย่างแต่ผมก็ใช้น้อยมาก  เหตุผลก็เพราะสิ่งที่แบ็งค์ให้นั้นไม่ใช่สิ่งที่ผมต้องการเท่าไรนัก  ดังนั้น  แบ็งค์แทบจะไม่เคยต้องเสียอะไรให้ผมเลย  ผมเองก็ไม่รู้สึกอะไร  ผมไม่ใช่คนที่แสวงหาหรือใช้ในสิ่งที่ผมไม่ต้องการแม้ว่ามันจะ ฟรี” ผมคิดว่ามันไม่มีประโยชน์  มันเสียเวลา และต้นทุนในการเสียเวลาของผมนั้นผมคิดว่ามัน  สูงลิ่ว  มากกว่าประโยชน์ที่จะได้ใช้ของที่เราไม่ต้องการ   แต่เวลานี้ผมต้องการตู้นิรภัย  เขากลับบอกให้ไม่ได้!  ซึ่งผมคิดว่ามันเป็นเรื่อง  ตลก” มาก   โชคดี  หลังจากการติดต่อซึ่งใช้เวลา 2-3 วัน  ผ่านช่องทางที่ ไม่น่าเป็นไปได้  ผมก็ได้พบกับเจ้าหน้าที่ที่ดูแลบัญชีลูกค้ารายใหญ่  ซึ่งได้ช่วยให้ผมได้เช่าใช้ตู้นิรภัยของแบ็งค์ตามที่ต้องการโดยไม่ต้องจ่ายเงินที่แพงมาก  สำหรับผม
  เมื่อคิดดูให้ลึกซึ้งอีกทีหนึ่ง  กรณีนี้มันเป็นเรื่องเฉพาะตัวหรือไม่  สำหรับคนทั่วไปแล้ว  เขาจะเสียหายหนักหรือถ้าเขาต้องถูกขอร้องหรือบังคับให้ทำประกัน?  ถ้าผมไม่ได้มีเงินมาก   ข้อสรุปจะเป็นแบบนั้นหรือไม่?  คำตอบของผมในฐานะที่เป็น Value Investor ที่มุ่งมั่นก็อาจจะไม่แตกต่างกันมากนัก  ถ้าสมมุติว่าคุณเป็น VI ที่อาจจะมีความมั่งคั่งหรือมีเงินลงทุนในระดับเช่น 10 ล้านบาทและแน่นอนคุณรู้ถึงพลังของการเติบโตของการลงทุนแบบทบต้น  คุณก็จะรู้ว่าในระยะยาวเป็น 10 ปีขึ้นไปนั้น  ถ้าคุณลงทุนได้ผลตอบแทนที่ดีปีละ 20-30% อย่างที่อาจจะทำได้ในช่วงที่ผ่านมา  เงินค่าเบี้ยประกันที่ต้องจ่ายออกไปนั้น  ภายในเวลา 15 ปีจะมีมูลค่ามหาศาล  ดังนั้น  ถ้าคุณเอาเงินไป จม  อยู่ในการประกันชีวิต  คุณก็จะเสียโอกาสที่จะทำเงินไปมากมายโดยเฉพาะถ้าคุณคิดว่าคุณคงยังไม่ตายหรือถ้าตายทายาทก็ไม่เดือดร้อน  ลองมาดูกันว่าในกรณีกรมธรรม์ที่ผมถูกขอให้ซื้อนั้น  ถ้าคิดไปถึงวันสิ้นสุด 15 ปี เงินของคุณจะหายไปเท่าไรถ้าเราสามารถนำมันไปลงทุนในกองทุนรวมหุ้นตลอด 15 ปีและได้ผลตอบแทนเฉลี่ยปีละ 10แบบทบต้น   คำตอบที่ได้ก็คือ  ถ้าคุณเอาไปลงทุนเองเม็ดเงินจะกลายเป็นประมาณ 3.3 ล้านบาท ในขณะที่เงินที่คุณจะได้คืนจากการประกันเท่ากับประมาณ 1.3 ล้านบาท  ผลต่างก็คือ 2 ล้านบาท  แพงไหมครับสำหรับการใช้ตู้นิรภัย?
  ที่พูดมาทั้งหมดนั้นก็ไม่ได้ต้องการที่จะบอกให้คนเลิกซื้อประกันชีวิต  การประกันชีวิตนั้นเป็นเรื่องดีถ้าคุณต้องการประกันความมั่นคงทางการเงินให้กับทายาทในกรณีที่คุณตายก่อนเวลาอันควรและพวกเขายังช่วยตัวเองไม่ได้  ถ้าคุณไม่ได้มีปัญหาแบบนั้นแต่คุณคิดว่านี่เป็นการลงทุนอีกแบบหนึ่งที่ให้ผลตอบแทนที่ดีกว่าการฝากเงินธนาคาร  นี่ก็อาจจะยังมีเหตุผลอยู่ในกรณีที่คุณไม่มีความรู้ทางด้านการลงทุนหรือไม่กล้าที่จะ เสี่ยง  ในตลาดหุ้น  แต่ถ้าคุณเป็นคนที่รู้เรื่องการลงทุนดีและเข้าใจเรื่องของความเสี่ยงและคุณรับมันได้  การซื้อประกันชีวิตแบบออมทรัพย์นั้นก็อาจจะเป็นการตัดสินใจที่  แพงมาก ในกรณีที่ทายาทของคุณไม่ได้มีปัญหาทางการเงินถ้าคุณตาย  ดังนั้น  ก่อนที่จะตัดสินใจซื้อประกันชีวิตอาจจะเพราะด้วยทนแรง  บีบ อะไรไม่ไหวก็ตาม  คุณควรที่จะคิดให้หนักถึงผลทางการเงินของมัน

ฟองสบู่ Nasdaq VS MAI

Monday, 16 February 2015

ฟองสบู่ Nasdaq VS MAI

« ค่าเช่าตู้นิรภัย (ราคาแพง) | Main
  การปรับตัวขึ้นของราคาหรือดัชนีหุ้น MAI ในช่วง 3-4 ปีมานี้สูงมากจนทำให้ผมคิดว่ามันเป็น  ฟองสบู่ จากปลายปี 2554 ถึงปัจจุบัน ดัชนีปรับตัวขึ้นเป็นมากกว่า 3 เท่าในเวลา 3 ปี เศษ ๆ จากดัชนี 242 เป็นประมาณ 800 จุดในปัจจุบัน  ราคาหุ้นบางตัวปรับขึ้นมากกว่า 10 เท่าภายในช่วงเวลาดังกล่าว ดัชนีหุ้น MAI ปรับตัวขึ้นไปสูงลิ่วจนค่า PE สูงถึง 84 เท่า ค่า PB สูงถึง 7 เท่า และอัตราปันผลต่อราคาหุ้นเท่ากับ 0.6ต่อปี  นักลงทุนส่วนบุคคลจำนวนมากต่างก็เข้ามาเล่นหุ้นตัวเล็กที่มักจะอยู่ในตลาดหุ้น MAI ถ้าจะว่าไป  ไม่เคยมีครั้งไหนในประวัติศาสตร์ตลาดหุ้นไทยที่หุ้นจะ เวอร์ ขนาดนี้  ถ้าจะหาประวัติศาสตร์ของตลาดหุ้นที่จะมาเปรียบเทียบ  ผมคิดว่ากรณี ฟองสบู่หุ้น Nasdaq” หรือฟองสบู่หุ้น ไฮเท็คในช่วงต้นปี 2000 ในสหรัฐอเมริกาน่าจะนำมาเทียบเคียงและอาจจะเป็นบทเรียนให้เราได้
  ข้อแรกก็คือ  ฟองสบู่หุ้นไฮเท็คนั้นเริ่มต้นในช่วงประมาณต้นปี 1997 พอถึงเดือนมีนาคมปี 2000 ดัชนีได้ปรับตัวขึ้นไปกว่า 3 เท่าในเวลาเพียง 3 ปีเศษ  ดัชนีวิ่งขึ้นจาก 1000 ต้น ๆ  เป็นเกือบ 4000 จุด หุ้นหลายตัวที่โดดเด่นเช่นหุ้น Cisco Systems ที่ทำเกี่ยวกับระบบเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตที่ใหญ่ที่สุดนั้น  ผมจำได้ว่ากลายเป็นหุ้นที่มี Market Cap. หรือมูลค่าตลาดของหุ้นใหญ่ที่สุดในโลกตัวหนึ่งทั้ง ๆ  ที่มันจดทะเบียนในตลาด Nasdaq หรือ  ตลาดหุ้นตัวเล็ก คล้าย ๆ  ตลาด MAI ในบ้านเรา  เหตุผลก็เพราะว่าหุ้นไฮเท็คโดยเฉพาะที่ทำเกี่ยวกับอินเตอร์เน็ตนั้นมีราคาวิ่งขึ้นไปสูงมาก  หลาย ๆ  ตัวราคาปรับขึ้นไปเป็นกว่าสิบเท่าในเวลาอันสั้น  ค่า PE ของดัชนี Nasdaq นั้นสูงถึง 100 เท่า   ดังนั้น  มองในแง่ของความ เวอร์ ก็ต้องบอกว่าฟองสบู่หุ้นไฮเท็คดูเหมือนว่าจะสูงกว่าเล็กน้อยในนาทีนี้  แต่ก็ไม่แน่ว่าในที่สุดหุ้น MAIจะเหนือกว่าหรือไม่  เพราะฟองสบู่ไฮเท็คแตกไปนานแล้วในขณะที่หุ้น MAI ดูเหมือนว่าจะยังขึ้นอยู่
  ข้อสอง ฟองสบู่หุ้นไฮเท็คนั้นเกิดขึ้นเพราะ Story หรือเรื่องราวการพัฒนาทางเท็คโนโลยีโดยเฉพาะทางด้านอินเตอร์เน็ตที่กำลังกลายเป็นกระแสใหม่ของโลกที่คนธรรมดาทั้งโลกจะสามารถใช้มันได้ทุกวัน  กระแสนี้ทำให้คนคิดว่าบริษัทจดทะเบียนที่ทำเกี่ยวกับอินเตอร์เน็ตจะกลายเป็นบริษัทที่ยิ่งใหญ่และโดดเด่นในระบบ  เศรษฐกิจใหม่ ของโลก  มันจะทำรายได้และมีกำไรมหาศาลยิ่งกว่าบริษัทยักษ์ใหญ่เดิมที่มีอยู่ใน  โลกเก่า ในอนาคตอันใกล้แม้ว่าในขณะนั้นมันยังมีรายได้น้อยมากและจำนวนมากก็ยังไม่มีกำไรเลย  ตัวอย่างถ้าผมจำไม่ผิดก็เช่นบริษัทอเมซอนดอทคอมที่ขายหนังสือผ่านทางอินเตอร์เน็ตที่มีมูลค่าหุ้นใหญ่กว่าบริษัทบาร์นแอนด์โนเบิลซึ่งเป็นบริษัทขายหนังสือที่ใหญ่ที่สุดในโลกและอยู่มาน่าจะหลาย ๆ สิบปีแล้ว  ว่าที่จริงมูลค่าของอเมซอนในขณะนั้นใหญ่กว่าบริษัทขายหนังสือทั้งหมดในประเทศรวมกันด้วยซ้ำทั้ง ๆ  ที่ยังไม่มีกำไรเลย
  Story ของหุ้น MAI นั้นผมคิดว่าแตกต่างจากตลาด Nasdaq มาก  เนื่องจากนโยบายก็คือ  หุ้น MAI นั้นมีขึ้นเพื่อสนับสนุนบริษัทขนาดเล็กเพื่อให้มีช่องทางการระดมทุนเพื่อการเติบโตและบริษัทขนาดเล็กที่เข้ามาจดทะเบียนก็มีหุ้นไฮเท็คน้อยมาก  อย่างไรก็ตาม  ในช่วงเร็ว ๆ  นี้  เราก็ได้เห็น กระแส อย่างหนึ่งที่เกิดขึ้นนั่นก็คือเรื่องของพลังงานทดแทนซึ่งรัฐบาลมีนโยบายส่งเสริมให้เกิดขึ้นโดยการ  สนับสนุนด้านราคาขายให้แก่บริษัทที่ผลิตพลังงานไฟฟ้าเข้าสู่ระบบ  นี่ทำให้บริษัทที่ทำพลังงานทดแทนเกิดขึ้นและเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์และก็ได้รับการ ต้อนรับ  จากนักลงทุนจำนวนมากที่อาจจะมองว่ามันจะเป็นธุรกิจที่จะโตไปได้อีกมหาศาลพร้อม ๆ กับกำไรที่จะเติบโตขึ้นเนื่องจากเม็ดเงินที่จะได้รับการสนับสนุนจากรัฐไปอีกนาน    มองในแง่นี้ผมคิดว่า Story ของหุ้นไฮเท็คน่าจะเหนือกว่าหุ้น MAI มาก
เรื่องที่สามที่ผมคิดว่าคล้าย ๆ  กันระหว่าง Nasdaq กับ MAI ก็คือ  บริษัทจดทะเบียนหลายแห่งในตลาด MAI ต่างก็พยายามเข้ามาทำธุรกิจพลังงานทดแทนเพราะอาจจะเห็นว่ามันทำกำไรได้  แต่ที่สำคัญไม่ยิ่งหย่อนไปกว่ากันก็คือ  พวกเขาเปลี่ยนชื่อบริษัทเพื่อสะท้อน ให้เห็น ทิศทาง ที่บริษัทจะเดินไป  ประเด็นก็คือ  การเปลี่ยนชื่อนั้น  พวกเขาเชื่อว่าจะทำให้คนสนใจหุ้นมากขึ้นและเข้ามาซื้อทำให้ราคาปรับตัวสูงขึ้นไปอย่างรวดเร็วโดยที่ยังไม่ต้องลงมือทำอะไรเลย  ชื่อที่จะทำให้คนสนใจนั้นจะต้องมีอะไรที่เกี่ยวข้องกับพลังงานทดแทนโดยเฉพาะที่เกี่ยวกับแสงอาทิตย์เช่นคำว่า  โซลาร์” เป็นต้น  ในทำนองเดียวกัน  ในช่วงของฟองสบู่ไฮเท็คเองนั้น  บริษัทจำนวนมากต่างก็เปลี่ยนชื่อให้มีอะไรที่เกี่ยวข้องกับอินเตอร์เน็ตหรือไฮเท็ค เช่น  ต่อท้ายชื่อของบริษัทด้วยคำว่า  ดอทคอม  หรือ ดอทเน็ต  หรือ โทรนิค  อะไรทำนองนี้  มีการศึกษาพบว่าหุ้นของบริษัทที่มีการเปลี่ยนชื่อให้เข้ากับกระแสนั้น  ภายในเวลา 10 วันมีราคาเพิ่มสูงขึ้นถึง 125 เปอร์เซ็นต์เมื่อเทียบกับบริษัทที่ไม่ได้เปลี่ยนชื่อ ของเมืองไทยผมไม่รู้ว่าผลของการเปลี่ยนชื่อทำให้หุ้นขึ้นไปมากน้อยแค่ไหน  แต่คิดว่าน่าจะมีผลอยู่เหมือนกัน
ข้อสี่ที่ผมอยากเปรียบเทียบก็คือเรื่องของหุ้น IPO  ทั้งในตลาดหุ้น MAI และNasdaq ในช่วงฟองสบู่ก็คือ  มีการนำหุ้นเข้าตลาดจำนวนมากอย่างแทบไม่เคยปรากฏมาก่อน  หุ้นไฮเท็คจำนวนมากนั้น  เป็นเรื่องของ Concept หรือแนวความคิดใหม่หรือผลิตภัณฑ์ใหม่ที่อาจจะ ปฏิวัติ” แนวความคิดหรือผลิตภัณฑ์เดิม  หุ้นที่เข้าตลาดในวันแรก ๆ  นั้นต่างก็  วิ่งระเบิด หลายสิบเปอร์เซ็นต์หรืออาจจะเป็นเท่าตัว   แต่ข้อเท็จจริงที่พบในภายหลัง หลังจากที่ฟองสบู่แตกก็คือ  ผลิตภัณฑ์จำนวนมากนั้นเป็นเพียง ความฝัน ที่ไม่รู้ว่าคนที่ซื้อหุ้นคิดว่ามันจะเป็นจริงได้อย่างไร  ตัวอย่างเช่น  บริษัทที่อ้างว่าเมื่อเสียบปลั๊กเข้าเครื่องคอมแล้วสามารถส่งกลิ่นที่ต้องการออกมาได้  เป็นต้น  ก็อย่างที่เราเห็น  หุ้น IPO จำนวนมากกลายเป็นกระดาษที่ไม่มีค่าเพราะบริษัทล้มละลายไปเมื่อ  ฟองสบู่แตก
ในกรณีของหุ้น IPO ของตลาด MAI นั้น  ส่วนใหญ่หุ้นที่เข้าตลาดวันแรก ๆ  ก็มักจะวิ่งระเบิด  น่าจะปรับตัวสูงกว่าหุ้นไฮเท็คโดยเฉลี่ย  แต่ถ้ามองดูก็จะเห็นว่าหุ้นส่วนใหญ่ก็ไม่ได้มีอะไรโดดเด่นไม่ต้องพูดถึงว่ามันจะ ปฏิวัติ แนวความคิดอะไร   บางตัวอาจจะมีโมเดลธุรกิจที่น่าสนใจอยู่บ้างในแง่ที่มันยังไม่มีบริษัทในตลาดที่ทำแบบนั้น  ตัวที่โดดเด่นก็ดูเหมือนยังอยู่ที่ธุรกิจที่ดูเหมือนกำลังโตเช่น พลังงานทดแทน เป็นต้น  ดูเหมือนว่านักลงทุนจะดูแค่ว่ามันยังเป็นธุรกิจที่เล็กและจะโตได้เร็วเมื่อเข้ามาจดทะเบียนในตลาดแล้ว  ผมเองคิดว่าถ้า ฟองสบู่ แตกจริง  บริษัทก็คงไม่ล้มละลาย  มันคงไม่ได้กระทบอะไรกับบริษัทมากมายนักเพราะหุ้นที่เข้ามาจดทะเบียนนั้นไม่ได้อาศัยเงินจากตลาดในการอยู่รอดแบบหุ้นไฮเท็ค ตรงกันข้าม  บริษัทได้เงินจาก IPO และดังนั้นจึงน่าจะมีฐานะทางการเงินดีขึ้น  สิ่งที่บริษัททำเองก็ไม่ได้มีความเสี่ยงอะไรมากมายนัก  เป็นธุรกิจธรรมดา ๆ  ที่นักลงทุนอาจจะ ฝัน” ว่าจะโตเร็วเท่านั้น
บทสุดท้ายของตลาด Nasdaq ในปี 2000 ก็คือ  ฟองสบู่แตก  ดัชนี Nasdaqปรับตัวลงมาอย่างรุนแรง  ปีแรกตกลงมาเกือบ 50% และตกต่ออีก 2 ปี ปีละ20รวมแล้วตกลงมา ประมาณ 66%  หุ้นจำนวนมากล้มละลายกลายเป็น 0 แม้แต่หุ้น สุดยอด  และกลายมาเป็นหุ้นที่ ยิ่งใหญ่” ในปัจจุบันบางตัวอย่างหุ้นอเมซอนนั้น  ในช่วงที่ตกต่ำมาก ๆ ปี 2001-2002 ก็ตกลงมาเหลือเพียงไม่ถึง 10% จากราคาสูงสุดก่อนหน้านั้นเช่นเดียวกับหุ้นยาฮูและซิสโก้    ผมเองไม่แน่ใจว่าบทสุดท้ายของหุ้น MAI จะเป็นอย่างไร  เป็นไปได้ว่าฟองสบู่อาจจะไม่แตกและกำไรของบริษัทจดทะเบียนหุ้นตัวเล็กจะโตเร็วจนกระทั่งค่า PE ลดลงหรือราคาหุ้นก็ขึ้นไปอีกจน PEทะลุ 100 เท่าก็เป็นไปได้  อย่างไรก็ตาม  ประวัติศาสตร์ของตลาดหุ้น Nasdaq ก็น่าจะเป็นเครื่องเตือนใจว่า  มีโอกาสที่ฟองสบู่อาจจะแตก  และนั่นอาจจะหมายถึงความเสียหายที่รุนแรงสำหรับคนที่เข้าไป เล่น  ในยามนี้  เพราะประวัติศาสตร์นั้น  มีพลังที่ยิ่งใหญ่เสมอ