วันเสาร์ที่ 6 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

3 July 2013 News from Kaohoon.com

TPOLY
TPOLY เร่งเครื่องขยายธุรกิจด้านพลังงาน มั่นใจอนาคตธุรกิจสดใส ล่าสุดบอร์ดไฟเขียวอนุมัติเพิ่มทุนในบริษัทย่อย ทีพีซี เพาเวอร์ โฮลดิ้ง” จากเดิม 210.55 ล้านบาท เป็น 310.55 ล้านบาท ขายผู้ถือหุ้นเดิมราคาไม่ต่ำกว่าหุ้นละ 33 บาท คาดได้เม็ดเงินกว่า 330 ล้านบาท นำไปพัฒนาโครงการโรงไฟฟ้าชีวมวลอีก โครงการตามแผนในเฟสแรก รวมทั้งเพิ่มสัดส่วนการถือหุ้นของทีพีซีฯ ใน ช้างแรก ไบโอเพาเวอร์” จากเดิม 65% เป็น 73.125% คาดการณ์รายได้จากโรงไฟฟ้าช้างแรกปีนี้ 160-170 ล้านบาท พร้อมเดินเครื่องนำ ทีพีซี เพาเวอร์ โฮลดิ้ง” เข้าจดทะเบียนในตลาด mai ปีหน้า วางเป้าเพิ่มกำลังการผลิตโรงไฟฟ้าชีวมวลเป็น 100-150 เมกะวัตต์ในปี 2560 คาดช่วยหนุนรายได้ TPOLY ปีนี้โตขึ้น 30%
TICON
TICON ตั้งกองทุน REIT มูลค่า 6,000 ล้านบาท คาดเสนอขายหน่วยลงทุนได้ภายในเดือนต.ค.56 พร้อมรับรู้รายได้ในไตรมาส 4/56 “วีรพันธ์” ย้ำปีนี้รายได้โต 30ที่ 7,550 ล้านบาท ดอดซื้อที่ดินเพิ่มขยายโรงงานให้เช่าอีก 1.2 แสนตารางเมตร
JMART
นายอดิศักดิ์ สุขุมวิทยา ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท เจมาร์ท จำกัด (มหาชน) หรือ JMART เปิดเผยว่าบริษัทมั่นใจว่าธุรกิจในอีก ปีข้างหน้าจะเติบโตไม่แตกต่างจาก ปีที่ผ่านมา และสำหรับปีนี้คาดว่ากำไรสุทธิจะเพิ่มขึ้นมากกว่า 40% จากปีก่อนหน้า โดยไตรมาสแรกกำไรสุทธิเพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อนประมาณ 50% และในไตรมาส คาดว่าจะมีแนวโน้มไม่ต่างไปจากไตรมาสแรก
โดยปีนี้จะถือเป็นปีแห่งการลงทุนของบริษัท โดยบริษัทลงทุน 250 ล้านบาทในการขยายสาขา และเตรียมเงินประมาณ 500 ล้านบาทสำหรับการซื้อหนี้ในส่วนของบริษัท เจ เอ็ม ที เน็ทเวอร์ค เซอร์วิสเซ็ส จำกัด (มหาชน) หรือ JMT ซึ่ง JMART ถือหุ้นประมาณ 75% และ 70-80 ล้านบาทสำหรับ JAS ASSET ซึ่งเป็นบริษัทย่อยที่ทำธุรกิจให้เช่าพื้นที่ นอกจากนี้ จะลงทุนคอมมูนิตี้มอลอีกประมาณ 300 ล้านบาทแถววังหิน เพื่อกระจายรายได้ออกไปในธุรกิจให้เช่าเพิ่มขึ้น และมีแผนนำ JAS ASSET เข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ต่อไป
ปัจจุบันสัดส่วนกำไรสุทธิของ JAMRT จะแบ่งเป็น ธุรกิจมือถือประมาณ 60% และธุรกิจบริหารหนี้ (JMT) ประมาณ 30% และอีก 10% เป็นธุรกิจให้เช่าพื้นที่ โดยคาดว่าสัดส่วนดังกล่าวจะเปลี่ยนแปลงไปเป็น 50% 35% และ 15% ตามลำดับ
สำหรับตลาดพม่าซึ่งบริษัทเข้าไปลงทุน คาดว่าจะได้รับผลตอบรับที่ดีในปีถัดไปหลังจากกลุ่มบริษัทมือถือที่เพิ่งได้ ไลเซนส์เริ่มวางระบบ โดยคาดว่าจะใช้เวลาประมาณ เดือน หลังจากนั้นบริษัทก็จะเริ่มขายโทรศัพท์มือถือได้ ซึ่งปัจจุบันสัดส่วนมือถือต่อจำนวนประชากรของพม่าอยู่ที่ประมาณ 5% เท่านั้น ถือเป็นโอกาสของบริษัทที่ได้เข้าไปทำการตลาด
สำหรับการเปิดตัวของโทรศัพท์เฮาส์แบรนด์ของค่ายมือถือต่างๆ นั้นไม่ได้ส่งผลกระทบต่อบริษัทแต่อย่างใด แต่กลับส่งผลดีต่อบริษัท ทำให้ยอดขายเพิ่มขึ้น เนื่องจากค่ายมือถือต้องการกระจายสินค้าดังกล่าวออกไปในวงกว้าง ทำให้ต้องนำสินค้าดังกล่าวมาจำหน่ายผ่านสาขาของ JMART อกจากนี้ การหมดสัญญาสัมปทาน 2G ในอนาคตจะเป็นตัวผลักดันยอดขายโทรศัพท์มือถือที่รองรับ 3G ได้ในอนาคต โดยคาดว่าปี 2015 นั้นตลาดมือถือจะอยู่ที่ประมาณ 40 ล้านเครื่อง จากปีนี้ที่คาดว่าจะอยู่ที่ 20 ล้านเครื่อง
BJC
ผู้บริหารบริษัท เบอร์ลี่ ยุคเกอร์ จำกัด (มหาชน) หรือ BJC เปิดเผยว่า บริษัทได้ขยายกลุ่มผลิตภัณฑ์สินค้าใหม่สู่ตลาดผลิตภัณฑ์กันยุงสำหรับผิว ภายใต้แบรนด์ "เบลล์" โดยตั้งเป้าขึ้นเป็นอันดับ ในตลาดผลิตภัณฑ์กันยุงซึ่งมีมูลค่ากว่า 500 ล้านบาท ภายใน ปี
CMO
ผู้บริหารบริษัท ซีเอ็มโอ จำกัด (มหาชน) หรือ CMO เปิดเผยถึงแผน ธุรกิจในปี 56 นอกจากการดำเนินธุรกิจอีเว้นต์ บริษัทได้ให้ความสำคัญกับธุรกิจบริการและออกแบบพิพิธภัณฑ์แบบครบวงจร ล่าสุดบริษัทเพิ่งรับรู้รายได้ประมาณ 20 ล้านบาท จากการส่งมอบงานออกแบบและจัดสร้างพิพิธภัณฑ์สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) และหอจดหมายเหตุ ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร นอกจากนี้ยังมีงานที่รอรับรู้รายได้อีกหลายโครงการ เช่น นิทรรศการถาวรเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว จ.อุบลราชธานี ภายใต้กองทัพภาคที่ 2
ทั้งนี้บริษัทตั้งเป้ารายได้จากการรับบริหารและออกแบบพิพิธภัณฑ์ศูนย์การเรียนรู้ในปี 56  ประมาณ 120 ล้านบาท ขณะที่ปัจจุบันรายได้อยู่ที่ประมาณ 75 ล้านบาท จึงมั่นใจว่าช่วงครึ่งปีหลังที่เหลือบริษัทจะสามารถทำผลงานได้ตามเป้าหมาย ที่วางไว้ ส่วนภาพรวมตลาดงานจัดแสดง-พิพิธภัณฑ์ของไทย ปัจจุบันมีมูลค่าประมาณ พันล้านบาท และเติบโตปีละ 10% เชื่อว่าจะขยายตัวสูงขึ้นหลังเปิดตลาด AEC
DEMCO
นายไพฑูรย์ กำชัย เลขานุการบริษัท เด็มโก้ จำกัด (มหาชน) หรือ DEMCO เปิดเผยถึงกรณีหุ้นสามัญเพิ่มทุนของบริษัทที่ยังเหลือ 64.92 ล้านหุ้น บริษัทจะดำเนินการ กรณี โดยในกรณีที่ บริษัทจะดำเนินการขอขยายเวลาการชำระเงินในการซื้อหุ้นสามัญเพิ่มทุนของ บริษัท วินด์ เอนเนอร์ยี่ โฮลดิ้ง จำกัด (WEH) จำนวน 5.26 ล้านหุ้น คิดเป็นสัดส่วน 5% ของจำนวนหุ้นที่ชำระแล้วหลังเพิ่มทุน ในราคาหุ้นละประมาณ 190 บาท รวมเป็นมูลค่า พันล้านบาท จากเดิมที่จะต้องชำระเงินในวันที่ 15 ก.ค.นี้ ออกไปก่อน
ทั้งนี้หากบริษัท วินด์ เอนเนอร์ยี่ โฮลดิ้ง จำกัด มีการขยายระยะเวลาการชำระเงินให้บริษัท ทางบริษัทจะดำเนินการเสนอขายหุ้นเพิ่มทุนส่วนที่เหลือแบบเฉพาะเจาะจง โดยราคาเสนอขายหุ้นไม่ต่ำกว่าหุ้นละ 10 บาท และไม่ต่ำกว่า 90% ของราคาตลาด ซึ่งคาดว่าภายในสัปดาห์หน้าจะมีความชัดเจน
ส่วนกรณีที่ หากบริษัท วินด์ เอนเนอร์ยี่ โฮลดิ้ง จำกัด ไม่ขยายระยะเวลาการชำระเงิน บริษัทจะเข้าซื้อหุ้นในสัดส่วน 4% ตามจำนวนเงินที่บริษัทมีอยู่รวม 800 ล้านบาท แบ่งเป็นเงินที่บริษัทได้รับเงินจากการขายหุ้นสามัญเพิ่มทุนครั้งนี้ประมาณ 600 ล้านบาท และเงินที่บริษัทได้ทำสัญญาจองซื้อหุ้นและจ่ายเงินมัดจำ 200 ล้านบาท หลังจากนั้นจะมีการประชุมคณะกรรมการ เพื่อพิจารณาดำเนินการกับจำนวนหุ้นในส่วนที่เหลือ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น