วันอาทิตย์ที่ 31 มกราคม พ.ศ. 2559

CPALL หุ้นกู้ล็อตใหม่ส่อมีปัญหา นักลงทุนสถาบันส่งสัญญาณชัดไม่ลงทุน หากเมินเฉยเรื่องธรรมาภิบาล

CPALL หุ้นกู้ล็อตใหม่ส่อมีปัญหา นักลงทุนสถาบันส่งสัญญาณชัดไม่ลงทุน หากเมินเฉยเรื่องธรรมาภิบาล กองทุนยืนยันการลงทุนทุกบริษัทเงื่อนไขหุ้นดีมีคุณธรรม สามาคมตราสารหนี้เผยหุ้นกู้ CPALL ครบกำหนดช่วงต.ค.58กว่า 10,000 ล้านบาท

แหล่งข่าวจากบริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน เปิดเผยว่า แนวโน้มการลงทุนหุ้นบริษัท ซีพี ออลล์ จำกัด (มหาชน) หรือ CPALL หลังจากมีประเด็นเรื่องของธรรมาภิบาลช่วงที่ผ่านมา บลจ.หลายแห่งได้มีการตอบกลับประเด็นดังกล่าว ด้วยการทยอยลดน้ำหนักหุ้น CPALL อย่างต่อเนื่อง แบบไม่กระทบตลาด เพื่อให้การลงทุนเป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่ทางกองทุนกำหนดเรื่องของการลงทุนในหุ้นที่มีธรรมาภิบาลที่ดี
ล่าสุดสมาคมบริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนได้มีการส่งหนังสือไปกลุ่ม CP เพื่อขอความชัดเจนกรณี CPALL ทั้งนี้ หากทางกลุ่ม CP ยังคงนิ่งกับประเด็นดังกล่าว ทางบลจ.ก็ยังคงลงทุนในหุ้นภายใต้หลักธรรมาภิบาลเช่นเดิม แม้ว่าการลดน้ำหนักในหุ้น CPALL อาจจะไม่ใช่ทางเลือกสุดท้ายของกองทุน แต่หุ้นกู้ CPALL ที่จะออกมารอบใหม่ปีนี้ นักลงทุนสถาบันจะเริ่มที่ต้องพิจารณาการลงทุนมากขึ้น เป็นไปได้ว่านักลงทุนสถาบันจะไม่เข้าลงทุนหุ้นกู้ของ CPALL เลยก็เป็นไปได้
ทั้งนี้เรื่องของการลดน้ำหนักหุ้น CPALL ของกองทุนนั้น อาจต้องกระทำอย่างระวัง เพราะกองทุนของไทยก็ไม่อยากที่จะให้ต่างชาติเข้ามาถือครองหลักทรัพย์ของไทยมากเกินไปในช่วงที่ราคาปรับตัวลงมามาก ดังนั้นการลดน้ำหนักดังกล่าว น่าจะเป็นลักษณะไม่มีผลเสียทั้งในฝั่งตลาดหุ้นไทย นักลงทุนทั้งรายใหญ่และรายย่อย  อย่างไรก็ตามไม่ว่าวิธีการลงทุนแบบใดใน CPALL ขึ้นอยู่กับการตอบกลับของกลุ่ม CP ที่มีต่อเรื่องธรรมาภิบาลเป็นหลัก
แหล่งข่าวจากสมาคมตราสารหนี้  กล่าวเพิ่มเติมว่า การออกตราสารหนี้ประเภทหุ้นกู้บริษัท ซีพี ออลล์ จำกัด (มหาชน) หรือ CPALL ช่วงปีนี้ยังมีต่อเนื่องจากช่วงปีที่ผ่านมา เนื่องจากปีนี้จะมีหุ้นกู้ CPALL ครบกำหนดประมาณ 11,800 ล้านบาท รวมถึงอีกหลายปีข้างหน้าที่มีหุ้นกู้ CPALL ครบกำหนด อาทิ ช่วงปีนี้มีหุ้นกู้ครบกำหนดวงเงิน 11,800 ล้านบาท ช่วงปี 2560 ครบกำหนดวงเงิน 25,900 ล้านบาท ช่วงปี 2561 ครบกำหนดวงเงิน 14,700 ล้านบาท ช่วงปี 2562 ครบกำหนดวงเงิน 25,000 ล้านบาท และช่วงปี 2563 ครบกำหนดวงเงิน 22,400 ล้านบาท
ดังนั้นนักลงทุนทั้งส่วนของนักลงทุนรายใหญ่ต่างๆ รวมถึงนักลงทุนรายย่อยจะเห็นการออกหุ้นกู้ CPALL สู่ท้องตลาดต่อเนื่อง อย่างไรก็ตาม ทาง CPALL ยังคงมีประเด็นในเรื่องของธรรมาภิบาลบริษัท ซึ่งอาจจะกระทบต่อการเข้าลงทุนของนักลงทุนสถาบันที่จะเข้ามาลงทุนในหุ้นหุ้นกู้ CPALL รอบใหม่ในปีนี้ แม้ว่าหุ้นกู้ที่ออกมาจะมีฐานนักลงทุนรายย่อยผสมอยู่ก็ตาม  ในแต่ละปีสัดส่วนการลงทุนระหว่างนักลงทุนรายใหญ่กับรายย่อยไมเท่ากัน
อย่างปี 2556 CPALL ออกหุ้นกู้วงเงิน 50,000  ล้านบาท แบ่งลงทุนในส่วนของนักลงทุนรายย่อยประมาณ 20,000 ล้านบาท นักลงทุนสถาบันประมาณ 29,000 ล้านบาท ปี 2557 CPALL ออกหุ้นกู้วงเงิน 90,000 ล้านบาท แบ่งลงทุนในส่วนของนักลงทุนรายย่อยประมาณ 32,700 ล้านบาท นักลงทุนสถาบันประมาณ 57,200 ล้านบาท ปี 58 CPALL ออกหุ้นกู้วงเงิน 33,000 ล้านบาท แบ่งเป็นนักลงทุนรายย่อย  20,000 ล้านบาท นักลงทุนรายใหญ่ 13,000 ล้านบาท
“ช่วงปี 2557CPALL ได้มีการออกหุ้นกู้วงเงินรวมประมาณ 90,000 ล้านบาท โดยแบ่งเป็นหลากหลายอายุลงทุน ทั้งอายุลงทุน 5 ปี 7 ปี และ 10 ปี การออกตราสารดังกล่าว CPALL ต้องการนำเงินไปใช้ในการควบรวมกิจการธุรกิจบริษัท สยามแม็คโคร จำกัด (มหาชน )หรือ MAKRO ทำให้ CPALL จำเป็นต้องมีการออกหุ้นกู้ต่อเนื่อง เพื่อรองรับหุ้นกู้ที่ออกไปก่อนหน้าและจะครบกำหนดช่วงปีนี้ที่มีมากกว่า 10,000 ล้านบาท” แหล่งข่าว กล่าว

ADVANCแรลลี่ยาว กำไรงาม-ปันผลสูง

ADVANCแรลลี่ยาว กำไรงาม-ปันผลสูง

2016-02-01 

หุ้น ADVANC เป็นหุ้นโดดเด่นสุดกลุ่มสื่อสาร เชียร์ “ซื้อ” ราคาเป้าหมาย 200 บาท หลังผลการดำเนินงานไตรมาส 4/58 ออกมาดีและปันผลแจ่ม มีปัจจัยบวกจากระยะเวลาโอนย้ายลูกค้า 2G หลัง JAS-TRUE ยังไม่จ่ายค่าประมูลคลื่น 900 งวดแรก
ผู้สื่อข่าวรายงานว่าเมื่อวันที่ 29 ม.ค. 2559 ที่ผ่านมา ราคาหุ้นกลุ่มสื่อสารมีแรงเก็งกำไรเข้ามา โดยบริษัท อินทัช โฮลดิ้งส์ จำกัด (มหาชน) หรือ INTUCH ปรับขึ้น 3.00 บาท หรือปรับขึ้น 5.63% ราคาปิดตลาด 56.25 บาท ด้วยมูลค่าซื้อขาย 2,720.44 ล้านบาท, บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) หรือ ADVANC ปรับขึ้น 8.50 บาท หรือปรับขึ้น 5.30% ราคาปิดตลาด 169.00 บาท ด้วยมูลค่าการซื้อขาย 4,794.87 ล้านบาท และบริษัท ไทยคม จำกัด (มหาชน) หรือ THCOM ปรับขึ้น 0.50 บาท หรือปรับขึ้น 1.90% ราคาปิดตลาด 26.75 บาท ด้วยมูลค่าการซื้อขาย 86.23 ล้านบาท
บริษัท จัสมิน อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด (มหาชน) หรือ JAS ปรับขึ้น 0.06 บาท หรือปรับขึ้น 1.96% ราคาปิดตลาด 3.12 บาท ด้วยมูลค่าการซื้อขาย 1,830.30 ล้านบาท, บริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ TRUE ปรับขึ้น 0.45 บาท หรือปรับขึ้น 6.77% ราคาปิดตลาด 7.10 บาท ด้วยมูลค่าการซื้อขาย 1,908.79 ล้านบาท และบริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ DTAC ปรับขึ้น 2.50 บาท หรือปรับขึ้น 8.06% ราคาปิดตลาด 33.50 บาท ด้วยมูลค่าการซื้อขาย 1,062.99 ล้านบาท              
ขณะที่นักวิเคราะห์บริษัทหลักทรัพย์ โนมูระ พัฒนสิน จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า ราคาหุ้นกลุ่มสื่อสารที่ปรับตัวเพิ่มขึ้นเมื่อวันที่ 29 ม.ค. 2559 ที่ผ่านมา เนื่องจากแรงเก็งกำไรจากผลการดำเนินงานในไตรมาส 4/58 ที่ออกมาดี และเงินปันผลที่มีอัตราผลตอบแทนจากเงินปันผลที่น่าสนใจ โดยเฉพาะ ADVANC และ DTAC  
สำหรับ ADVANC จะประกาศผลการดำเนินงานปี 2558 วันที่ 4 ก.พ. 2559 คาดกำไรสุทธิไตรมาส 4/58 อยู่ที่ 10,150 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 11% จากไตรมาสเดียวกันปีก่อน และเพิ่มขึ้น 18% จากไตรมาสก่อน เนื่องจากในไตรมาสนี้ ADVANC ไม่ต้องตัดค่าเสื่อมราคาโครงข่าย 2G ซึ่งสามารถประหยัดไปได้ 3,000 ล้านบาท/ไตรมาส และมาร์จิ้นจากการขายมือถือติดลบลดลงเหลือ 4.5% จากติดลบ 11% ในไตรมาสก่อน เป็นผลจาก Iphone 6s ที่มีมาร์จิ้นดี ทำให้ทั้งปี 2558 คาด ADVANC มีกำไรสุทธิอยู่ที่ 38,511 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปี 2557 ที่มีกำไรสุทธิอยู่ที่ 36,033 ล้านบาท และคาดจ่ายเงินปันผลในครึ่งปีหลังอยู่ที่ 6 บาท คิดเป็นอัตราผลตอบแทนจากเงินปันผล 4%
ขณะที่ปี 2559 คาด ADVANC มีกำไรสุทธิ 36,258 ล้านบาท ลดลง 6% จากปี 2558 ที่ 38,511 ล้านบาท เนื่องจากปรับสมมติฐานฐานลูกค้าลดลง ผลจากคาดว่า ADVANC จะเสียลูกค้า 2G ประมาณ 50% หรือ 6 ล้านราย ส่งผลให้ปรับรายได้จากการให้บริการลดลง 8% จากประมาณการเดิม ทำให้รายได้จากการให้บริการอยู่ที่ 122,834 ล้านบาท แต่ยังเติบโต 2% จากปี 2558 และจากโปรโมชั่นแจกเครื่อง ทำให้มาร์จิ้นจากการขายมือถือติดลบเพิ่มขึ้นเป็นประมาณ 20% จากประมาณการเดิมติดลบ 15% ขณะเดียวกันคาดปี 2559 จ่ายเงินปันผล 11.50 บาท คิดเป็นอัตราผลตอบแทนจากเงินปันผล 8% แนะนำ “ซื้อ” ราคาเป้าหมาย 200 บาท
“ADVANC ราคาหุ้นที่ปรับเพิ่มขึ้น นอกจากเรื่องของการเก็งกำไรผลการดำเนินงานไตรมาส 4/58 และการจ่ายเงินปันผลแล้ว ยังมีปัจจัยในเรื่องของการที่ JAS และ TRUE ที่เป็นผู้ชนะการประมูลคลื่น 900 MHz ยังไม่ได้เข้าจ่ายเงินค่าประมูลงวดแรก ส่งผลให้ ADVANC ยังมีระยะเวลาในการโอนย้ายลูกค้า 2G ที่มีกว่า 12 ล้านราย ซึ่งลดแรงกดดันลงไปได้” นักวิเคราะห์ กล่าว             
ส่วน DTAC จะมีการประกาศผลการดำเนินงานปี 2558 ในวันที่ 3 ก.พ. 2559 คาดกำไรสุทธิไตรมาส 4/58 อยู่ที่ 1,604 ล้านบาท ลดลง 15% จากไตรมาสเดียวกันปีก่อน และเพิ่มขึ้น 31% จากไตรมาสก่อน เนื่องจากมาร์จิ้นจากการขายมือถือติดลบลดลงเหลือ 3% จากติดลบ 19% ในไตรมาสก่อน และมีกำไรจากอัตราแลกเปลี่ยน 100 ล้านบาท ทำให้ทั้งปี 2558 คาด DTAC มีกำไรสุทธิอยู่ที่ 6,499 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปี 2557 ที่มีกำไรสุทธิอยู่ที่ 4,895 ล้านบาท และคาดจ่ายเงินปันผลไตรมาส 4/58 ที่ 1 บาท
โดยปี 2559 คาด DTAC มีกำไรสุทธิอยู่ที่ 4,547 ล้านบาท ลดลง 30% จากปี 2558 ที่มีกำไรสุทธิอยู่ที่ 6,499 ล้านบาท เนื่องจาก DTAC ไม่ได้รับผลประโยชน์จากปรับลงของ Regulatory Cost เนื่องจากยังอยู่ในระบบสัมปทาน ขณะที่รายอื่นอยู่ในระบบใบอนุญาต ประกอบกับคาดว่ารายได้จากดาต้าจะเติบโตน้อยกว่าเมื่อเทียบกับรายอื่น จากการแข่งขันที่รุนแรง ขณะเดียวกันคาดปี 2559 จ่ายเงินปันผล 2.40 บาท คิดเป็นอัตราผลตอบแทนจากเงินปันผล 8% แนะนำ “ถือ” ราคาเป้าหมาย 31 บาท                    
ส่วน JAS กับ TRUE ที่ปรับตัวเพิ่มขึ้น เนื่องจากมีแรงเก็งกำไรจากการที่ประสานเข้าไปชำระค่าประมูลงวดแรก พร้อมวางหนังสือค้ำประกันจากสถาบันการเงิน (แบงก์การันตี) เป็นระยะ แม้ขณะนี้จะยังไม่ได้เข้ามาชำระเงินค่าประมูลคลื่น 900 MHz ก็ตาม คาดทั้ง 2 รายเข้ามาชำระเงินค่าประมูลคลื่น 900 MHz งวดแรก ประมาณปลายเดือนก.พ. 2559 ทำให้ตลาดมีความมั่นใจในหุ้นดังกล่าว ส่วนผลการดำเนินงานในไตรมาส 4/58 ของ TRUE เบื้องต้น คาดกำไรจากการดำเนินงานปกติไม่ดีนัก แต่ในไตรมาส 4/58 TRUE มีรายการพิเศษ ส่งผลให้กำไรสุทธิในไตรมาส 4/58 เพิ่มขึ้น 
อย่างไรก็ตาม ให้น้ำหนักกลุ่มสื่อสาร “น้อยกว่าตลาด” เนื่องจากคาดผลการดำเนินงานในช่วงครึ่งแรกปี 2559 โดยเฉพาะไตรมาส 1/59 ยังไม่ดี ทำให้ยังไม่จำเป็นต้องลงทุนเท่าตลาด โดยเลือก ADVANC เป็น Top Pick จากพื้นฐานในเชิงความสามารถในการแข่งขันมีฐานลูกค้ามาก และฐานะการเงินที่แข็งแกร่งที่สามารถรองรับภาวะที่ตลาดโทรคมนาคมปีนี้มีการแข่งขันสูง รวมทั้งจ่ายเงินผลสูง

  • 2016-01-27 12:01:00 - AISโชว์เหนือบริการ4Gลั่นมีลูกค้าแล้ว4ล้านราย:อัดงบลงทุน 4 หมื่นล้านขยายโครงข่าย 3G-4G
  • วันศุกร์ที่ 29 มกราคม พ.ศ. 2559

    BOJ ประกาศอัตราดอกเบี้ยติดลบ กดดันเยนอ่อนค่า

    BOJ ประกาศอัตราดอกเบี้ยติดลบ กดดันเยนอ่อนค่า

    ธนาคารกลางญี่ปุ่น (Bank of Japan: BOJ) ประกาศดำเนินนโยบายทางการเงินแบบผ่อนคลายเพิ่มเติม โดยปรับอัตราดอกเบี้ยเงินฝากของเงินที่ธนาคารพาณิชย์ในญี่ปุ่นฝากไว้กับ BOJ จากเดิมที่ 0.1% มาเป็นการกำหนดอัตราดอกเบี้ย 3 ขั้นซึ่งมีอัตราดอกเบี้ยขั้นต่ำที่สุดอยู่ที่ -0.1% (อัตราดอกเบี้ย 3 ขั้น ได้แก่ 0.1%, 0% และ -0.1% ขึ้นอยู่กับปริมาณเงินที่ธนาคารพาณิชย์ในญี่ปุ่นฝากไว้กับ BOJ) ขณะที่วงเงินที่ธนาคารกลางญี่ปุ่นจะเข้าซื้อพันธบัตรรัฐบาลญี่ปุ่นยังคงเดิมที่ 80 ล้านล้านเยนต่อปี
    BOJ ดำเนินมาตรการดังกล่าวเพื่อกระตุ้นการขยายตัวทางเศรษฐกิจและอัตราเงินเฟ้อ โดยในเดือนธันวาคม อัตราเงินเฟ้อทั่วไปชะลออยู่ที่ 0.2% ซึ่งต่ำกว่าเป้าหมายของ BOJ ที่ 2% อยู่มาก อีกทั้งผลผลิตอุตสาหกรรมเดือนธันวาคม 2015 ที่ลดลงกว่าที่คาดการณ์ไว้ การดำเนินนโยบายของ BOJ จะเป็นการเพิ่มปริมาณเงินในระบบเศรษฐกิจซึ่งจะจูงให้เกิดการขยายตัวของการลงทุนและการบริโภค และส่งผลต่อการขยายตัวของเศรษฐกิจและการเร่งขึ้นของอัตราเงินเฟ้อต่อไป

    ธนาคารพาณิชย์ในญี่ปุ่นมีแนวโน้มลดการถือครองเงินสดส่วนเกินและปล่อยสินเชื่อมากขึ้น การที่ BOJ กำหนดอัตราดอกเบี้ยติดลบสำหรับเงินฝากของธนาคารพาณิชย์ในญี่ปุ่นที่ฝากไว้กับ BOJ ทำให้ธนาคารพาณิชย์ต่างๆ ในญี่ปุ่นมีแรงจูงใจในการเก็บเงินสดลดลง ซึ่งธนาคารพาณิชย์ญี่ปุ่นน่าจะมีการปล่อยสินเชื่อมากขึ้น หรืออาจปรับลดอัตราดอกเบี้ยเงินฝากไปพร้อมกันเพื่อให้ธนาคารพาณิชย์ในญี่ปุ่นมีเงินสดในมือน้อยลง

    อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลญี่ปุ่น (JapanGovernment Bond Yield : JGB Yield) มีแนวโน้มลดลง เนื่องจาก JGB Yield ในระยะสั้นมีความสัมพันธ์กับอัตราดอกเบี้ยที่ BOJ กำหนด การลดอัตราดอกเบี้ยของ BOJ จึงกดดันให้อัตราผลตอบแทนของ JGB ในระยะสั้นลดลง ในขณะที่ปริมาณเงินที่เพิ่มเข้ามาในระบบเศรษฐกิจก็จะกดดันต่อ JGB Yield ในระยะยาวให้มีแนวโน้มลดลงด้วย การปรับลดลงของ JGB Yield ในทุกช่วงอายุคงเหลือนี้น่าจะเป็นการกระตุ้นให้ราคาสินทรัพย์ทางการเงินประเภทอื่นๆ ปรับตัวสูงขึ้น

    BOJ อาจมีการผ่อนคลายนโยบายทางการเงินเพิ่มเติมอีกในอนาคตซึ่งอาจเป็นการลดอัตราดอกเบี้ยเพิ่มเติม หรือการเพิ่มวงเงินการเข้าซื้อ JGB โดย BOJ น่าจะประเมินประสิทธิผลของรูปแบบของการดำเนินนโยบายว่านโยบายแบบใดให้ผลในการสนับสนุนการฟื้นตัวของเศรษฐกิจญี่ปุ่นได้ดี และจะประกาศนโยบายการเงินผ่อนคลายเพิ่มเติมในลักษณะนั้นหรือทั้งสองแบบพร้อมๆ กันต่อไป

    อีไอซีคาดการณ์ว่าเงินเยนมีแนวโน้มอ่อนค่าในขณะที่ธนาคารกลางสหรัฐฯ (Fed) ยังมีแนวโน้มที่จะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายในปีนี้ BOJ อาจมีการออกมาตรการผ่อนคลายนโยบายทางเงินเพิ่มเติม เงินเยนเทียบกับดอลลาร์สหรัฐฯ (USD-JPY) จึงมีแนวโน้มอ่อนค่าลงได้เล็กน้อยในปีนี้ ซึ่งผู้ประกอบการที่มีรายได้ในรูปเงินเยนอาจพิจารณาป้องกันความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน

    ตลาดการเงินโลกมีแนวโน้มผันผวนมากขึ้นจากทิศทางที่แตกต่างกันของการดำเนินนโยบายทางการเงิน (MonetaryPolicy Divergence) การฟื้นตัวของเศรษฐกิจสหรัฐฯ ทำให้ Fed มีทิศทางการดำเนินนโยบายในลักษณะเข้มงวดขึ้น ในขณะที่เศรษฐกิจยุโรปยังมีความไม่แน่นอนซึ่งอาจทำให้ธนาคารกลางยุโรป (ECB) ขยายมาตรการผ่อนคลายเพิ่มเติม อีกทั้งธนาคารกลางจีน (People′s Bank of China : PBOC) อาจปรับลดค่าเงินหยวนลงอีก ผลจากทิศทางของนโยบายทางการเงินโลกมีความหลากหลายเช่นนี้ จะนำมาซึ่งความผันผวนของการเคลื่อนย้ายเงินทุนในตลาดการเงินทั่วโลก

    วัดใจกองทุนทิ้งหุ้น CPALL ทางแยก...ทางตันธรรมาภิบาล

    วัดใจกองทุนทิ้งหุ้น CPALL ทางแยก...ทางตันธรรมาภิบาล

    ยังคงเป็นมหากาพย์ที่ถูกหยิบยกขึ้นมาตอกย้ำหนัก ๆ กับปมปัญหา "ธรรมาภิบาล" ของ บมจ.ซีพี ออลล์ (CPALL) กรณี 3 ผู้บริหารใช้ข้อมูลภายในซื้อหุ้น (อินไซเดอร์เทรดดิ้ง) จนต้องถูกเปรียบเทียบปรับกันไปตามระเบียบ  

    ทว่าประเด็นดังกล่าวคงไม่จบง่าย ๆ และยังถูกสุมไฟขึ้นมาอีกครั้ง จากพลังกระแสข่าว "บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน" (บลจ.) ที่เรียกร้องให้คณะกรรมการ (บอร์ด)ของ CPALL แสดงความจริงจังและจริงใจแก้ปัญหาในเรื่องธรรมาภิบาลของธุรกิจ แต่กลับกลายย้อนแย้งว่า เหตุใด บลจ. ที่บริหารกองทุนต่าง ๆ กลับมาเข้าซื้อหุ้นดังกล่าว เสียเอง ?


    หากย้อนอดีตวันวานอันสดใสระหว่าง บลจ.และ CPALL ผ่านข้อมูลตามคำบอกเล่าของ "กิตติคุณ ธนรัตนพัฒนกิจ" นักวิเคราะห์ข้อมูล บริษัท มอร์นิ่งสตาร์ รีเสิร์ช (ประเทศไทย) ที่ระบุว่า ณ วันที่ 30 ก.ย. 2558 CPALL เคยเป็นหุ้นที่ บลจ.ทั้งอุตสาหกรรมกองทุนรวมลงทุนมากที่สุดเป็นอันดับที่ 2 ด้วยมูลค่า 2.97 หมื่นล้านบาท รองจากหุ้น บมจ.ปูนซิเมนต์ไทย (SCC) ที่มีมูลค่า 3.43 หมื่นล้านบาท 

    และยังพบอีกด้วยว่า 5 บลจ.ที่ถือหุ้น CPALL ในสัดส่วนเฉลี่ยมากกว่ารายละ 7% ของพอร์ตลงทุนในกองทุนหุ้น ซึ่งประกอบด้วย (เรียงตามตัวอักษร) บลจ.กสิกรไทย, บลจ.กรุงศรี, บลจ.ไทยพาณิชย์, บลจ.บัวหลวง และ บลจ.ยูโอบี สะท้อนว่า CPALL เป็นหุ้นที่ (เคย) ได้รับความนิยมในกลุ่มนักลงทุนสถาบันขนาดใหญ่อยู่มาก

    ทว่า เมื่อปมปัญหาเรื่องธรรมาภิบาลยังไม่มีคำตอบถึงแนวทางในการจัดการที่ชัดเจนจากบอร์ด CPALL ขณะที่สมาคมบริษัทจัดการลงทุน (สมาคม บลจ.) เคยทำหนังสือขอให้บริษัทชี้แจงเรื่องนี้มาให้สมาคมภายในสิ้นเดือน ม.ค.นี้ ซึ่งเป็นเวลาที่งวดใกล้เข้ามาแล้ว ยิ่งทำให้ บลจ.หลายค่ายประสานเสียงเซ็งแซ่ว่า "อาจ" พิจารณาทยอยขายหุ้น CPALL ออกไป แต่กลับมีกระแสข่าวล่าสุดว่า มีบลจ.หนึ่งภายใต้การบริหารของนายกสมาคมกลับเข้าซื้อหุ้น CPALL ในช่วงฝุ่นตลบนี้ 

    จึงกลายเป็นปมผลักให้ "วรวรรณ ธาราภูมิ" ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บลจ.บัวหลวง ในฐานะนายกสมาคม บลจ.ออกมาประกาศยืนยันหนักแน่นว่า บลจ.บัวหลวงไม่ได้ซื้อขายหลักทรัพย์ระยะสั้นเพื่อทำกำไร ในช่วงที่มีปัญหาเรื่องธรรมาภิบาลแน่นอน และตรวจสอบไปที่ผู้ดูแลผลประโยชน์ (คัสโตเดียน) ยังพบว่าจำนวนหุ้นยังเท่าเดิม 

    "ก็สงสัยเหมือนกันว่า คนที่พูดว่า บลจ.เราซื้อหุ้นเพิ่ม เอาข้อมูลมาจากไหน ถ้าจะบอกว่า ไปดูที่คัสโตเดียน ก็ถามหน่อยว่า มีอำนาจอะไรที่จะไปขอดูได้ เขาไม่สามารถทำได้" วรวรรณ ตอบปมที่คาใจของข่าวนี้

    อย่างไรก็ตาม ในช่วง 1 เดือนกว่า ๆ ที่ผ่านมา มี บลจ. บางแห่งทยอยลดพอร์ตลงทุนในหุ้น CPALL แล้ว 

    โดย "วนา พูลผล" ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บลจ.ยูโอบี (ประเทศไทย) บอกว่า บริษัททยอยลดการลงทุนมาหลังจากเกิดเหตุการณ์ เพราะจำเป็นต้องให้ความสำคัญกับประเด็นธรรมาภิบาล เพื่อดูแลผู้ถือหน่วยทั้งหมด แต่ยืนยันว่าการลดพอร์ตดังกล่าวจะไม่กระทบถึงผลตอบแทนแน่นอน 

    ส่วน "สมิทธิ์ พนมยงค์" กรรมการผู้อำนวยการ บลจ.ไทยพาณิชย์ กล่าวว่า แม้จะมีการขายหุ้นออก แต่ก็จะไม่ขายทิ้งจนส่งผลกระทบต่อราคาหุ้นแน่ เพราะจะทำให้ผู้ถือหน่วยลงทุนเสียหาย และหลังจากนี้จะติดตามท่าทีของบอร์ด CPALL ว่าจะตอบคำถามดังกล่าวอย่างไร ภายใต้เงื่อนเวลาที่กำหนดไว้คือวันที่ 30 ม.ค.นี้

    "หากจะขายหุ้น CPALL เราคงไม่ขายแบบยิงตัวเอง เพื่อประชดรัก ด้วยการทุ่มขาย เพราะเราต้องรับผิดชอบต่อผู้ถือหน่วยด้วย ซึ่งหลังจากนี้คงต้องติดตามว่าบอร์ด CPALL จะให้คำตอบอย่างไร แต่ถ้าไม่มีคำตอบออกมา เราก็อาจจะพิจารณาแนวทางออกต่อไป โดยเรียกประชุมวิสามัญ (CP ALL) ซึ่งคาดว่าหุ้นที่สถาบันถือกันทั้งหมดนี้น่าจะเพียงพอ=ที่จะเรียกประชุมลักษณะนี้ ซึ่งใช้หุ้นเพียงแค่ 5% ก็ได้แล้ว" สมิทธิ์กล่าว

    อีกด้านหนึ่ง "เลิศชัย กอเจริญรัตนกุล" ผู้อำนวยการอาวุโส บริษัท ฟิทช์ เรทติ้งส์ (ประเทศไทย) จำกัด ยอมรับว่า กำลังจับตาผลกระทบเรื่องธรรมาภิบาลของ CPALL เพราะเป็นห่วงว่าจะมีผลต่อการระดมทุนของบริษัทในอนาคตมากน้อยแค่ไหน หากรุนแรงจนส่งผลให้การระดมทุนมีกรอบแคบลงก็ย่อมจะมีผลต่อการจัดอันดับเครดิตในอนาคตได้ 

    อย่างไรก็ตาม ปีที่ผ่านมาบริษัทได้ประกาศคงเครดิตเรตติ้งภายในประเทศระยะยาวของ CPALL ไว้ที่ A+ แต่ปรับมุมมองเครดิต (outlook) เป็น "ลบ" จากเดิม "มีเสถียรภาพ" สะท้อนธุรกิจที่ได้รับผลกระทบจากอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศที่อ่อนแอลง 

    จึงเป็นอีกปมที่ตอกย้ำว่า CPALL ที่ตกอยู่บนทางแยกของความสัมพันธ์กับ "นักลงทุนสถาบัน" ที่เคยดีต่อกัน ให้อาจต้องลดระดับความสัมพันธ์ หากภายใน 31 ม.ค.นี้บอร์ดยังไม่มีแนวทางลงโทษผู้บริหารที่อินไซด์หุ้นและไม่ยืนหยัดในหลักธรรมาภิบาล และน่าจะได้เห็นบลจ.รายใดที่จะลดถือหุ้น CPALL ลงบ้าง


    ติดตามข่าวสาร ผ่านแฟนเพจเฟซบุ๊ค ประชาชาติธุรกิจออนไลน์
    www.facebook.com/PrachachatOnline
    ทวิตเตอร์ @prachachat

    วันพฤหัสบดีที่ 28 มกราคม พ.ศ. 2559

    CWT แจ้งตลาดหลักทรัพย์ฯว่า บริษัทได้ออกและเสนอขายหุ้นกู้วงเงิน 150 ล้านบาท อายุ 3 เดือน

    เหตุผลที่ไร้เหตุผล แฉทุกวัน ทันเกมหุ้น

    เหตุผลที่ไร้เหตุผล
    แฉทุกวัน ทันเกมหุ้น


    เมื่อวานนี้ บริษัท ชัยวัฒนา แทนเนอรี่ กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) หรือ CWT แจ้งตลาดหลักทรัพย์ฯว่า บริษัทได้ออกและเสนอขายหุ้นกู้วงเงิน 150 ล้านบาท อายุ 3 เดือน อัตราดอกเบี้ยคงที่ 5% ต่อปี เสนอขายนักลงทุนโดยเฉพาะเจาะจง (Private Placement) จำนวนไม่เกิน 10 ราย โดยหุ้นกู้ดังกล่าวเป็นหุ้นกู้ชนิดระบุชื่อผู้ถือ ประเภทไม่ด้อยสิทธิ และไม่มีหลักประกัน ซึ่งจะครบกำหนดไถ่ถอนหุ้นกู้ในวันที่ 28 เม.ย. 59

    เหตุผลในการออกหุ้นกู้อายุแสนสั้นครั้งนี้ CWT อ้างว่า เพื่อเป็นแหล่งเงินทุนรองรับการขยายตัวทางธุรกิจและปริมาณงานที่เพิ่ม ขึ้น...ซึ่งเป็นเหตุผลประหลาดสิ้นดี


    โดยทั่วไป หุ้นกู้เป็นตราสารหนี้ระยะยาวที่มีไว้สำหรับแปลงหนี้ระยะสั้นของบริษัทให้ เป็นหนี้ระยะยาวเพื่อแก้ปัญหาสินทรัพย์หมุนเวียนและมีผลต่อสภาพคล่องระยะ สั้นของบริษัท เนื่องจาก current ratio ไม่สวยงาม

    การออกหนี้ระยะสั้นที่ผ่านมา จึงนิยมออกเป็นรูปของตั๋วเงิน B/E มากกว่า

    การออกหุ้นกู้อายุแค่ 3 เดือน โดยอ้างเหตุผลว่า เพื่อเป็นการรองรับการลงทุน จึงผิดฝาผิดตัว และหาความสมเหตุสมผลไม่ได้เลย เพราะเป็นการก่อหนี้ระยะสั้นมากเพื่อแก้ปัญหาสภาพคล่องเท่านั้นเอง

    ไม่รู้ว่า วีระพล ไชยธีรัตต์ กรรมการผู้จัดการ CWT คิดอะไรกันอยู่ ถึงได้แสดงอาการ ?พะงาบๆๆ?ขาดสภาพคล่องกะทันหันออกมา ทั้งที่มีโครงการใหญ่รออยู่ข้างหน้า...ทำให้เกิดคำถามตามมามากมาย

    อย่างที่รู้กัน ...วีระพล เป็นผู้บริหารที่มีจินตนาการสูง และมีวิสัยทัศน์ยาวไกล ซึ่งไม่มีใครเถียง แต่ธุรกิจทำเบาะหนังสำหรับรถยนต์ในฐานะซัพพลายเออร์ของธุรกิจรถยนต์ที่รับ มรดกมาจากครอบครัว ทำให้ความฝันมีขีดจำกัด

    เหตุผลก็เพราะว่า ต้องตกเป็น ?น้ำใต้ศอก? ของผู้ผลิตรถยนต์ค่ายต่างๆ ในประเทศไทย เนื่องจากถ้าปีไหนรถยนต์ขายดี ก็จะทำให้ยอดสั่งซื้อเพิ่มขึ้น ปีไหนรถยนต์ขายไม่ดี หรือไม่มีการเปลี่ยนรุ่นใหม่ การสั่งซื้อเบาะหนังช่วงนั้นจะลดฮวบ

    โมเดลธุรกิจของ CWT ทำให้ตัวเลขแสดงรายได้ และกำไรขึ้นๆ ลงๆ เอาแน่นอนไม่ได้ อัตรากำไรสุทธิของบริษัทค่อนข้างต่ำมากโดยตลอด ไม่เคยมีปีไหนสูงกว่า 10% เลย แม้บางปีจะมีรายได้พิเศษมาช่วยก็ตาม

    แถมบางปียังมีพลั้งพลาดขาดทุนเสียอีกด้วย

    กำไรสะสมที่ค่อนข้างต่ำ ทำให้อนาคตของบริษัทค่อนข้างเปราะบาง ข้อนี้ใครก็รู้ และวีระพลก็คงรู้ดี แต่ไม่ยอมปริปากบอกใคร เพราะจินตนาการที่สูงของเขานั้น สามารถพลิกแพลงให้ทะเลทรายกลายเป็นโอเอซิสได้ไม่ยาก

    ต้นปี 2558 วีระพล ที่หมกเก็บตัวเงียบไป 2 ปี ไม่ค่อยออกมาเจอหน้าสื่อ ก็กลับมาอีกครั้งพร้อมกับความฝันอันเลิสหรู ทำธุรกิจฮอตฮิตของยุคสมัย นั่นคือ โรงไฟฟ้าพลังงานจากขยะ มูลค่าโครงการหลายพันล้านบาทที่เชียงใหม่ และนครสวรรค์

    วีระพล ใช้เวลาเผยแพร่จินตนาการอันเลิศหรูทางธุรกิจของเขา พร้อมกับกล่าวติดตลกบอกใครต่อใครว่า ?จากนี้ไป หุ้น CWT คือหุ้นปั่น...เพราะปั่นไฟ? (ฮาา)

    จินตนาการและฝีปากของวีระพล ทำให้นักลงทุนจำนวนหนึ่งเคลิบเคลิ้ม กับอนาคตอาณาจักรโรงไฟฟ้าขยะของ CWT ที่จะมาทดแทนรายได้เดิมของธุรกิจทำเบาะหนัง ผลลัพธ์คือ หุ้น CWT กลายเป็นหุ้นแสนร้อนแรงระยะสั้นๆ ของต้นปี 2558

    จากราคาต่ำเตี้ยระดับ 2.00 บาท ในปลายปี 2557 ราคาหุ้นของ CWT ใช้เวลาเพียงเดือนเศษ ทะยานขึ้นไปเหนือ 7 บาทในกลางเดือนกุมภาพันธ์ 2558 ก่อนที่จะถูกมาตรการ trading alert ของตลาดลดความร้อนแรงลงไปในเวลาต่อมา ดังที่เห็น

    วีระพล ยังคงเดินหน้าขายจินตนาการของเขา ด้วยความเชื่อมั่นว่าภายในไตรมาส 3-4 ของปี 2558 โครงการไฟฟ้าขยะ 1 โครงการจะต้องเกิดขึ้นคือ มี PPA (สัญญาซื้อขายไฟกับ การไฟฟ้าภูมิภาค หรือ การไฟฟ้านครหลวง) เพราะมีพันธมิตรสำคัญ 2 ราย คือ บริษัท ซีโรเวซท์ จำกัด หรือ ZW และบริษัท ลาวี เอ็นจิเนียริ่ง (ประเทศไทย) จำกัด หรือ LAWI ซึ่งเป็นบริษัทที่มีความเชี่ยวชาญ อีกทั้ง ยังมีประสบการณ์ด้านการบริหารจัดการขยะ และการผลิตไฟฟ้าพลังงานขยะระดับโลก

    น่าเสียดาย ช่องว่างระหว่าง ความพยายามทำ กับการทำได้ ของวีระพลนั้น ห่างกันมากเกินไป เพราะหลังจากเพิ่มทุนไป...ก็แล้ว และ ประชุมผู้ถือหุ้นไปก็แล้ว...ก็ยังไม่มีวี่แววจะวางศิลาฤกษ์โรงไฟฟ้าให้เห็นสักที

    นักลงทุนที่ขี้เกียจรอ เพราะในตลาดหุ้น ไม่มีแค่ CWT ตัวเดียว..นี่หว่า

    ราคาหุ้นเลยโรยตัวซึมยาวลงมาที่ระดับ 2 บาท.. ไม่หลุดลงไปก็ดีเต็มที


    ข่าวล่าสุดจาก CWT ที่แสดงอาการโหยหาสภาพคล่องหนักหนา น่าจะทำให้คนที่ติดหุ้น CWT และคิดไม่ตกมานานหลายเดือนว่า จะขายทิ้งตัดขาดทุนดีหรือไม่ ได้สติสตังขึ้นมาบ้าง...ไม่มากก็น้อย...อิ อิ อิ 






    ที่มา..ข่าวหุ้นออนไลน์

    วันพุธที่ 27 มกราคม พ.ศ. 2559

    สงครามครั้งนี้ มีเศรษฐกิจของเอเชียเป็นเดิมพัน (รวมถึงไทยด้วย)!

    สงครามครั้งนี้ มีเศรษฐกิจของเอเชียเป็นเดิมพัน (รวมถึงไทยด้วย)!


    ช่วงนี้เราจะได้ยินนักวิเคราะห์และสื่อฝั่งอเมริกา พูดบ่อยเรื่องเศรษฐกิจจีนกำลังจะพัง และค่าเงินหยวนกำลังจะลดมูลค่าลงอย่างรุนแรง และเมื่อไม่นานมานี้พ่อมดการเงินอย่าง จอร์จ โซรอส ก็ออกมาประกาศว่า เขากล้าพนันว่าเงินหยวนจะอ่อนค่าลงอีกถึง 50%


    ฝั่งนี้มี "สื่อ" และนักวิเคราะห์มากมายเป็นกองทัพ


    อีกฝั่งหนึ่งคือประเทศจีน ที่ไม่ได้มีสื่อในมือมากมายเหมือนฝั่งอเมริกา แต่เป็นประเทศที่มีเงินทุนสำรองสูงที่สุดในโลก และพร้อมที่จะปกป้องค่าเงินของตนเอง


    ฝั่งหนึ่งใช้ "สื่อ" ในการโจมตี ..... อีกฝั่งหนึ่งมี "เงิน" ในการป้องกันค่าเงิน  


    ใครแพ้ใครชนะ ไม่นานเกินรอครับ และสงครามครั้งนี้ มีเศรษฐกิจของเอเชียเป็นเดิมพัน!


    Click image for larger version

Name: chinese_dragon1.jpg
Views: 1
Size: 179.2 กิโลไบต์
ID: 220805






    ****************

    จีนชี้ "โซรอส" ประกาศศึกกับ "หยวน" เฮดจ์ฟันด์เก็งสกุลเงินมังกรอ่อน 20-50%


    สื่อรัฐบาลจีนรุมจวก "พ่อมดนักปั่นเงิน" จอร์จ โซรอส และเทรดเดอร์ตลาดเงินอื่น ๆ ว่า กำลัง "ประกาศสงคราม" กับสกุลเงินแดนมังกร ขณะที่เงินหยวนถูกกดดันอย่างหนัก โดยที่มีการอ้างกันว่าตลาดกำลังเชื่อว่าหากเงินทุนยังไหลทะลักออกจากแดนมังกรภายหลังเทศกาลวันหยุดตรุษจีนแล้ว ก็มีแนวโน้มสูงว่าเงินหยวนจะอ่อนยวบลงต่อเนื่อง ทั้งนี้ เฮดจ์ฟันหลายรายเดิมพันว่า ค่าเงินจีนจะอ่อนลงถึง 20 - 50%


    ระหว่างการประชุมประจำปี เวิลด์ อิโคโนมิก ฟอรัม ที่เมืองดาวอส, สวิตเซอร์แลนด์ เมื่อสัปดาห์ที่แล้ว โซรอส พ่อมดการเงินวัย 85 ปี ให้สัมภาษณ์บลูมเบิร์ก ทีวี ว่า จีนกำลังจะเผชิญปัญหาเศรษฐกิจอีกมากมาย และการชะลอตัวรุนแรงเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้

    Click image for larger version

Name: 750x-1.jpg
Views: 1
Size: 41.2 กิโลไบต์
ID: 220806




    โซรอสที่ถูกกล่าวหาว่า มีบทบาทสำคัญทั้งในการปั่นเงินจนทำให้เงินปอนด์ต้องลดค่าเมื่อทศวรรษ 1990 และในวิกฤตการเงินเอเชีย ต้มยำกุ้ง ปี 1997 บอกว่า ภาวะเงินฝืดและปริมาณหนี้ที่มีมากเกินไป คือ ปัจจัยที่ทำให้เศรษฐกิจแดนมังกรชะลอตัว



    เขาวิจารณ์ด้วยว่า จีนรอนานเกินไปกว่าที่จะเปลี่ยนโมเดลการเติบโต โดยยกเลิกการพึ่งพิงการส่งออกและหันมาส่งเสริมการเติบโตที่หนุนนำโดยการบริโภคแทน ถึงแม้ปักกิ่งมีความสามารถเหนือกว่าประเทศอื่น ๆ ในการจัดการการเปลี่ยนผ่านดังกล่าว เนื่องจากมีทุนสำรองเงินตราต่างประเทศมหาศาลกว่า 3 ล้านล้านดอลลาร์ก็ตาม


    ช่วงหลายเดือนมานี้ เงินหยวนที่ปกติแล้วมีเสถียรภาพดี และอยู่ภายใต้การควบคุมใกล้ชิดของปักกิ่ง กลับถูกกดดันอย่างหนักในตลาดต่างประเทศและจากการไหลออกของเงินทุน กระทั่งทางการต้องทุ่มเงินหลายแสนล้านดอลลาร์เข้าปกป้อง


    Click image for larger version

Name: 750x-1-2.jpg
Views: 1
Size: 163.6 กิโลไบต์
ID: 220807



    ในวันพุธ (27) สำนักข่าวซินหวาของทางการจีน ระบุว่า ในอดีตที่ผ่านมา โซรอสทำนายทายทักมาหลายครั้ง ว่า จีนจะเผชิญปัญหาเศรษฐกิจ


    "ไม่ว่าพวกที่ขายชอร์ตไม่ได้ทำการบ้านมา หรือว่าคนเหล่านั้นกำลังพยายามทำให้ตลาดแตกตื่นเพื่อฟันกำไรก็ตาม" ซินหวากล่าว



    ขณะที่บทความภาษาอังกฤษของโกลบัล ไทมส์ หนังสือพิมพ์แนวชาตินิยมในเครือของเหรินหมินรึเป้า กล่าวหาว่า "ตะวันตก" ไม่รับผิดชอบในการก่อปัญหาให้กับเศรษฐกิจโลก


    การแสดงความคิดเห็นเหล่านี้มีขึ้นหลังจากที่เหรินหมินรึเป้า หนังสือพิมพ์ที่เป็นกระบอกเสียงอย่างเป็นทางการของพรรคคอมมิวนิสต์จีน ลงบทความหน้าหนึ่งฉบับวันอังคาร (26) โดยระบุว่า โซรอสกำลังประกาศสงครามอย่างเปิดเผยกับจีน ด้วยการออกมาพูดว่าเขากำลังเดิมพันว่า ค่าเงินสกุลต่าง ๆ ในเอเชียจะอ่อนลง


    Click image for larger version

Name: original_big.jpg
Views: 1
Size: 48.9 กิโลไบต์
ID: 220808



    ในอีกด้านหนึ่ง ทางด้านสำนักข่าวรอยเตอร์เสนอรายงานข่าวว่า กองทุนแมคโครเฮดจ์ฟันด์จำนวนมาก ซึ่งส่วนใหญ่มีฐานอยู่ในอเมริกา กำลังเดิมพันตั้งแต่ปลายปีที่แล้วว่า เงินหยวนจะอ่อนลง 20 - 50%


    ขณะเดียวกัน ข้อมูลจากซิตี้แสดงให้เห็นว่า กองทุนที่ลงทุนด้วยเงินที่กู้ยืมมา (leveraged funds) เริ่มถอนเงินออกตั้งแต่ที่อัตราแลกเปลี่ยนเงินหยวนในตลาดนอกประเทศลดเหลือ 6.76 หยวนต่อดอลลาร์ เมื่อสามสัปดาห์ที่แล้ว


    รายงานของรอยเตอร์อ้างว่า ผู้เล่นจำนวนมากมองว่าหากหลังวันหยุดตรุษจีนในสัปดาห์ที่ 2 ของเดือนหน้า เงินทุนยังคงไหลทะลักออกจากตลาดจีน ก็จะส่อแสดงว่ากองทุนต่าง ๆ วางเดิมพันได้อย่างถูกต้องแล้วว่าหยวนจะอ่อนค่าลงอีก


    มาร์ก ฮาร์ต ประธานกองทุนแมคโครเฮดจ์ฟันด์ "คอร์เรียนต์" ออกมาพูดทางทีวีในเดือนนี้ ว่า จีนควรปล่อยให้เงินหยวนอ่อนลงอย่างรุนแรงและรวดเร็วตั้งแต่ตอนนี้ แทนที่จะรออ่านเกมไปเรื่อย ๆ และปล่อยให้เงินทุนไหลออก ซึ่งเท่ากับเป็นการเชิญชวนนักเก็งกำไรเข้าไปโจมตีเงินหยวน


    Click image for larger version

Name: 750x-1-1.jpg
Views: 1
Size: 87.8 กิโลไบต์
ID: 220809



    ขณะที่เทรดเดอร์ตราสารอนุพันธ์สำทับว่า กำลังมีการเดิมพันกันอย่างกว้างขวางว่า อัตราแลกเปลี่ยนของจีนจะอ่อนยวบถึง 8 หยวนต่อดอลลาร์ และข้อมูลบ่งชี้ว่า จะมีการเข้าโจมตีครั้งใหญ่เมื่อเงินหยวนอยู่ที่ 7.20 - 7.60 หยวนต่อดอลลาร์


    ทั้ง คอร์เรียนต์ และ ออมนิ แมคโคร ฟันด์ จากลอนดอน ต่างมองว่า หากจีนยังคงขัดขืนต่อสู้ ทุนสำรองก็จะร่อยหรอลงอย่างฮวบฮาบ และอาจถูกบีบให้ต้องลดค่าเงินหยวนครั้งใหญ่ในปีนี้จนได้ โดยผู้บริหารของทั้ง 2 กองทุน คาดว่า เดือนนี้ปักกิ่งอาจต้องถอนทุนสำรองออกมาแทรกแซงตลาดอีก 200,000 ล้านดอลลาร์ ซึ่งหากยังมีการถอนออกมาใช้ในอัตรานี้ต่อไป ทุนสำรองของจีนจะเหือดแห้งภายในปีนี้ และเงินหยวนก็จะอ่อนลงอีก 18 - 20%


    กระนั้น มีผู้จัดการสินทรัพย์ระยะยาวน้อยคนนักที่คาดว่า เงินหยวนจะอ่อนลงเกิน 10% ในปีนี้ ตัวอย่างเช่น แกร์รี กรีนเบิร์ก หัวหน้าทีมตลาดเกิดใหม่ของแอร์เมส อินเวสต์เมนต์ แมเนจเมนต์ ที่บอกว่า แม้มีเหตุผลที่จะกล่าวอ้างได้ว่า เงินหยวนขณะนี้มีมูลค่าสูงเกินจริงถึง 20% แต่คงต้องใช้เวลาเกินสองปีกว่าที่อัตราแลกเปลี่ยนจีนจะอ่อนลงถึง 20% และเขาคิดว่า การลดค่าเงินครั้งใหญ่รวดเดียวกลับจะทำให้สถานการณ์เลวร้ายลงกว่าเดิม

    วันอังคารที่ 26 มกราคม พ.ศ. 2559

    JAS วิ่งวุ่นหาเงินลุย4G-ปี61ส่อเพิ่มทุน

    Hot News - JAS วิ่งวุ่นหาเงินลุย4G - ปี61 ส่อเพิ่มทุน 

       JAS วิ่งวุ่นหาเงินลุย4G-ปี61ส่อเพิ่มทุน
               
      "จัสมิน อินเตอร์เนชั่นแนล"ยังวิ่งหาเงินกู้ลงทุน 4G หลังแบงก์ใหญ่ไม่กล้าปล่อยกู้เต็มจำนวน หวั่นหาเงินไม่ทันจ่ายค่าไลเซนส์มี.ค.นี้ อาจถูกริบเงินประกัน 644 ลบ. กูรูมองเสี่ยงเพิ่มทุนปี 61 เหตุผลประกอบการ 3 ปีส่อขาดทุนต่อเนื่อง ด้าน ADVANC ฉวยจังหวะคู่แข่งเพลี่ยงพล้ำ เปิดบริการ 4G อัดโปรฯแรงชิงลูกค้า ลั่นพ.ค.นี้ครอบคลุมทุกจังหวัด พร้อมเทงบลงทุนเสาสัญญาณ 3G-4G มูลค่า 4 หมื่นลบ.
    **JAS หาเงินกู้ขณะที่แบงก์ใหญ่ไม่กล้าปล่อยเต็มจำนวน
                  บมจ.จัสมิน อินเตอร์เนชั่นแนล หรือ JAS มีภาระต้องชำระเงินประมูลคลื่นความถี่ย่าน 900 MHz งวดที่ 1 พร้อมทั้งจัดส่งหนังสือค้า ประกันจากสถาบันการเงินประเภทธุรกิจธนาคารพาณิชย์ตามพระราชบัญญัติธุรกิจสถาบันการเงิน พ.ศ. 2551 หลังจากช่วงปลายปีก่อนบริษัท แจส โมบายบรอดแบนด์ จำกัด หรือ JASMB สามารถชนะการประมูลได้ โดยมีกำหนดชำระใน 90 วัน หรืออย่างน้อยวาง Bank Guarantee ซึ่งจะครบในวันที่ 21 มี.ค. 2559
                 อย่างไรก็ตามในด้านความพร้อมการเงินแต่เดิม นายพิชญ์ โพธารามิก กรรมการผู้จัดการ JAS เคยกล่าวไว้ว่า จะได้รับการสนับสนุนนวงเงินจากธนาคารกรุงเทพ หรือ BBL อย่างพอเพียง แต่ล่าสุดเริ่มมีสัญญาณว่าจะมีธนาคารอื่นเข้ามาร่วมปล่อยกู้ด้วยเพราะผู้ให้กู้เพียงเจ้าเดียวอาจแบกรับความเสี่ยงในอนาคตไม่ไหว เนื่องจากค่าใบอนุญาตนี้สูงถึง 75,654 ล้านบาท 
                 แบ่งเป็นค่าใบอนุญาตผ่อนจ่ายปีแรก 8.04 พันล้านบาท ปีที่ 2 และ 3 ปีละ 4.02 พันล้านบาท และปีที่ 4 อีก 5.95 หมื่นล้านบาท นอกจากนี้ต้องลงทุนโครงข่ายอีกกว่า 2 หมื่นล้านบาท อีกทั้งยังต้องมีงบที่เกี่ยวเนื่องอีกจำนวนมาก 
                 ก็ตามในเบื้องต้น ธนาคารกสิกรไทย หรือ KBANK ที่ออกรับว่าถูกทาบทามจาก BBL ให้ปล่อยกู้ร่วมปล่อยแบงก์การันตีให้ JAS กลับระบุว่า ยังต้องขอเวลาพิจารณาความเสี่ยงและแผนธุรกิจของ JAS ก่อน
    **ถ้าหาเงินไม่ทันต้องถูกริบเงินประกัน 644 ลบ.
                 ตามเงื่อนไขที่ทาง กสทช. ระบุ ผู้ชนะประมูลคือ JAS ต้องชำระเงิน หรือวาง Bank Guarantee ได้ภายใน 90 วัน ถ้าทำผิดเงื่อนไขก็จะต้องถูกริบเงินประกัน 644 ล้านบาทก่อนในเบื้องต้น 
                 บล.เอเซีย พลัส ระบุว่า ในกรณีที่ JAS ไม่สามารถชำระค่าใบอนุญาตได้ ปัจจุบัน กสทช. มีแนวทางเพียงจะยึดค่าประกันที่วางไว้ก่อนประมูลจำนวนราว 644 ล้านบาท ขณะที่คลื่นที่ผู้ชนะไม่มาชำระเงิน ยังไม่มีการออกหลักเกณฑ์ที่ชัดเจนไว้ก่อนหน้านี้ ดังนั้นหากจะเลื่อนให้ผู้ชนะลำดับถัดไป (Slot ของ JAS คือ DTAC ส่วน Slot ของ TRUE คือ ADVANC) ซึ่งคงต้องได้รับการความยินยอมจากรายดังกล่าวด้วย หรือ จะเป็นการนำคลื่น 900 MHz กลับมาประมูลใหม่ ซึ่ง กสทช. จะสามารถหาหาแนวทางเรียกค่าชดเชยเงินค่าประมูลที่ กสทช. ได้รับน้อยกว่าที่ควรจะเป็นหรือไม่
                 ด้านมุมของนักวิเคราะห์ บล.ทรีนีตี้ ประเมิน ว่า ส่วน Premium ที่ JASMB จ่ายไปเป็นค่าเข้าร่วมประมูลคือ 644 ล้านบาท คิดเป็นมูลค่า 0.06 บาทต่อหุ้น
                 อย่างไรก็ตาม ถ้ามีการจัดประมูลใหม่ต้องรับผิดชอบค่าประมูลซ่อมทั้งหมดและไม่สามารถเข้าประมูลได้อีก จึงทำให้ในส่วนของค่าใช้จ่ายอื่น รวมถึงผลกระทบทางธุรกิจที่จะตามมาทั้งในเชิงลบหรือบวก ยังไม่สามารถประเมินได้ชัดในขณะนี้ 
    **กูรูมองเสี่ยงเพิ่มทุนปี 61 -ผลประกอบการ 3 ปีข้างส่อขาดทุนต่อเนื่อง
                 บล.โนมูระ พัฒนสิน ให้ข้อมูลว่า ส่วนผลการดำเนินงานของ JAS จะได้รับผลกระทบจากการลงทุนธุรกิจ Mobile ซึ่งคาดว่าช่วง 3 ปี แรกธุรกิจนี้จะขาดทุนต่อปี ราว 5,000 ล้านบาท ส่งผลให้ในปี 59 นี้ คาดว่าผลการดำเนินงาน JAS จะขาดทุน 2,281 ล้านบาท ส่วนปี 60-61 คาดขาดทุน 730 ล้านบาท และ 385 ล้านบาท ตามลำดับ อีกทั้งมีความเสี่ยงเพิ่มทุน
                 "ในปี 61 JAS มีความเสี่ยงต่อการ "เพิ่มทุน" จาก IBD/EBITDA สูงราว 8.7 เท่า จากปัจจุบันเป็น Net cash และยิ่งยังไร้ความชัดเจนเรื่องพันธมิตรก็ยิ่งทำให้มีโอกาสเพิ่มทุนสูงไปอีก" 
    **แนะนำเลี่ยงการลงทุนหุ้น JAS แม้ปันผลสูง เพราะธุรกิจมือถือเสี่ยงเกิน
                 บล.คันทรี่ กรุ๊ป เปิดเผยในบทวิเคราะห์ว่า แนวโน้มราคาหุ้นจะขึ้นอยู่กับธุรกิจใหม่ อย่าง JASMBB มากกว่าอัตราผลแทนในระยะสั้น อย่างอัตราปันผล (Dividend Yield) ที่ล่าสุดให้ผลตอบแทนสูงเกือบ 10% ทั้งนี้ JASประกาศปันผลเพิ่มเติมจากกำไรงวดปี 58 อีก 0.30 บาท ต่อหุ้น
                 แต่เนื่องจากธุรกิจให้บริการมือถือมีความเสี่ยงสูงมาก จากทั้งเงินลงทุนเริ่มต้นที่สูง และแนวโน้มการแข่งขันที่รุนแรง ดังนั้นเราจึงแนะนำให้ “หลีกเลี่ยงการลงทุน” ไปก่อน จนกว่าบริษัทฯจะมีแผนการลงทุน, แหล่งเงินทุนสำหรับ JAS MBB และรายละเอีดยภาระความรับผิดชอบของ JAS ที่มีต่อ JAS MBB ที่ชัดเจน เนื่องจากประเด็นดังกว่ามีผลกระทบต่อการประเมินมูลค่าเหมาะสมของ JAS
                 ทั้งนี้ในเชิงพื้นฐานยังไม่พบมีการแนะนำให้ซื้อหุ้น JAS โดย บล.โนมูระ พัฒนสิน ให้มูลค่าเหมาะสมเพียง 1.80 บาท เท่านั้น ส่วนบล.ทิสโก้ ให้เท่ากับ เอเซียพลัสที่ 2.80 บาท 
    **AIS ฉวยจังหวะเปิดบริการ 4G อัดโปรฯแรงชิงลูกค้า 
                 นายสมชัย เลิศสุทธิวงค์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) หรือ ADVANC กล่าวว่า บริษัทO เป็นรายแรก และรายเดียวที่นำคลื่นความถี่จากการประมูล ของ กสทช. ทั้ง 2 คลื่น คือ 1800 MHz และ 2100 MHz มาเริ่มให้บริการ 4G ภายใต้ชื่อ “AIS 4G ADVANCED 4G ที่เร็วที่สุด” เริ่มต้นใน 42 จังหวัด ทั่วทุกภาค และจะครอบคลุมทั่วประเทศภายในเดือนพฤษภาคม 2559 นี้ 
                 ด้าน นายปรัธนา ลีลพนัง รองกรรมการผู้อำนวยการ สายงานการตลาด ADVANC กล่าวว่า บริษัทฯ ได้เริ่มเปิดมิติใหม่ของแพ็กเกจบริการซึ่งให้ลูกค้าใช้งานที่ค่าความเร็ว 4G ได้อย่างเต็มสปีด เร็ว แรง ไม่มีสะดุด (Full 4G Speed Package) ตลอดแพ็คเกจ ที่มีให้เลือกหลากหลายรูปแบบ อาทิ เล่นเน็ตเยอะ ชื่นชอบการใช้ content, เล่นเน็ตหลายเครื่อง, แชร์ค่าโทร และเน็ตในครอบครัว โดยทุกรูปแบบมีอัตราที่สอดคล้อง เป็นไปตามข้อกำหนดของ กสทช.
    **เทงบลงทุนเสาสัญญาณ 3G-4G มูลค่า 4 หมื่นลบ.
                 นายสมชัย เลิศสุทธิวงค์ กล่าวเสริมอีกว่า ในปีนี้บริษัทฯ คาดใช้งบลงทุนขยายโครงข่ายราว 40,000 ล้านบาท แบ่งเป็นใช้สำหรับการขยายโครงข่าย 3G เพื่อรองรับลูกค้า 2G จำนวน 20,000 ล้านบาท และขยายโครงข่าย 4G ให้ครอบคลุมทุกพื้นที่อีก 20,000 ล้านบาท โดยปัจจุบันได้ใช้งบลงทุนไปแล้ว 1.45 หมื่นล้านบาท เพื่อขยายสถานีฐานจำนวน 1.4 หมื่นสถานี ครอบคลุม 77 จังหวัดทั่วประเทศ ซึ่งคาดว่าภายในเดือน มี.ค. นี้จะมีสถานีฐานครบ 1.4 หมื่นสถานี 
                 และปัจจุบันบริษัทฯ มีลูกค้า 4G ที่ใช้เครื่อง 4G ประมาณ 4 ล้านเครื่อง ซึ่งคาดว่าจะเพิ่มขึ้นทุกเดือนหลังจากนี้ เนื่องจากจะมีสมาร์ทโฟนที่ออกมาตอบโจทย์และรองรับการใช้งาน 4G มากขึ้น
                 สำหรับลูกค้า 2G หลังจากที่บริษัทฯ ได้มีการออกแคมเปญให้ลูกค้าของ 2G มาแลกรับเครื่อง 3G หรือ 4G ได้นั้น ในปัจจุบันลูกค้า 2G ได้ย้ายมาเป็น 3G แล้วกว่า 1.5 ล้านเลขหมาย จากทั้งหมด 12 ล้านเลขหมาย ซึ่งหลังจากนี้คงต้องรอให้ทางลูกค้าตัดสินใจที่จะย้ายมาอีกครั้ง แต่บริษัทฯคาดหวังว่าจากแคมเปญที่ออกไปลูกค้าจะให้ผลตอบรับที่ดี 
                 อย่างไรก็ตาม บริษัทฯ ได้มีการขอขยายสิทธิ์คุ้มครองคลื่นความถี่ 900 MHz หลังหมดสัญญาสัมปทานไปแล้วไปอีก 12 เดือน ซึ่งหลังจากนี้จะต้องรอทาง กสทช. อนุมัติ   








     

    วันอาทิตย์ที่ 24 มกราคม พ.ศ. 2559

    สรุปข่าว หนังสือพิมพ์ทันหุ้น ฉบับวันที่ 22 ม.ค. 2559

    สรุปข่าว หนังสือพิมพ์ทันหุ้น ฉบับวันที่ 22 ม.ค. 2559

    PTเน็ตหมู่บ้าน-4Gจ่อ พี/อีต่ำมีมูลค่า15บาท 
            PT ติดปีกปี 2559 รับอานิสงส์ภาครัฐอัดฉีด 2 หมื่นล้านบาท ปูพรมอินเทอร์เน็ตหมู่บ้านและเชื่อมโยงไปยังประเทศเพื่อนบ้าน แถมโครงข่าย 4G พารวยจับตาลูกค้าหลัก TRUE – JAS เทงบเต็มหน้าตัก 
    รับเหมาพาเหรดยุโรป STEC-CKดูดทุนนอก 
            บล. ซี แอล เอส เอ นำทีม STEC-CK-BEM-BTS-UNIQ บินโรดโชว์ยุโรปปลายเดือนม.ค.นี้ หวังดึงความเชื่อมั่น ดูดเม็ดเงินลงทุนต่างชาติไหลเข้า บอส  “ปริญญ์ พานิชภักดิ์” มั่นใจต่างชาติแห่เข้าร่วมพร้อมการันตี 5 หุ้นเทพพื้นฐานแข็งแกร่ง แบ็กล็อกล้นมือ ซดงานกินยาว เชียร์ “ซื้อลงทุนระยะยาว” 
    เป็นช่วงเวลาพักผ่อน
    พลังงานทดแทนคึกคัก รับม.44-IFECเด่นสุด 
            กลุ่มพลังงานทดแทนคึกคัก ขานรับ คสช. ประกาศ มาตรา 44 ปลดล็อกโรงไฟฟ้าติดกฎหมายผังเมือง มีผลประกาศใช้แล้ว ชี้พร้อมติดเครื่องโครงการโซลาร์รัฐ 600 เมกะวัตต์-พลังงาน 3 จังหวัดภาคใต้-พลังงานชีวมวล-พลังงานลม หนุนหุ้น SUPER UWC IFEC DIMET SPCG AKR EPCO EA GUNKUL WEH ขึ้นยกแผง แนะสอย IFEC เคาะราคา 15.90 บาท

    วันอังคารที่ 19 มกราคม พ.ศ. 2559

    ข่าวSBUXประกาศชื้อหุ้นคืน50ล้านเดือนกรกฎาคม2015

    Starbucks Announces Additional Share Repurchase Authorization | Starbucks Newsroom

    SEATTLE, July 23, 2015 - Starbucks Corporation (NASDAQ: SBUX) today announced that its Board of Directors has authorized the repurchase of an additional 50 million shares of the Company's common stock under its ongoing share repurchase program. This authorization has no expiration date and is in addition to the 11 million shares that remained available for repurchase as of June 28, 2015 under an existing authorization.
    “Since the Company's share repurchase program was authorized in September of 2001, Starbucks has repurchased more than 430 million shares at a cost of $7.4 billion under authorizations through June 28, 2015,” said Scott Maw, Starbucks chief financial officer. “This additional authorization reflects the ongoing strength of Starbucks balance sheet and operating cash flow, which allows us to support our global growth and return value to our shareholders through the payment of quarterly dividends and share repurchases."
    Shares will continue to be repurchased in the open market at times and amounts considered appropriate by the Company based on several factors including price and market conditions. The Company may also repurchase shares through trading plans entered into pursuant to Rule 10b5-1 of the Securities Exchange Act of 1934.

    About Starbucks

    Since 1971, Starbucks Coffee Company has been committed to ethically sourcing and roasting high-quality arabica coffee. Today, with more than 23,000 stores around the globe, Starbucks is the premier roaster and retailer of specialty coffee in the world. Through our unwavering commitment to excellence and our guiding principles, we bring the unique Starbucks Experience to life for every customer through every cup. To share in the experience, please visit our stores or online atnews.starbucks.com and Starbucks.com.
    For more information on this news release, contact us.

    ‘ตู่’ปฏิเสธลั่น!ซื้อCPALL ไม่คิดเก็บหุ้นไร้คุณธรรม

    ‘ตู่’ปฏิเสธลั่น!ซื้อCPALL ไม่คิดเก็บหุ้นไร้คุณธรรม

    2016-01-20 
    “วรวรรณ”ปัดข่าวที่บอกว่า บลจ.บัวหลวง แอบเก็บหุ้น CPALL ยืนยันไม่เป็นความจริง เผยคนทำข้อมูลต้องการทำให้บริษัทเสียหาย ด้าน บลจ.กรุงศรี ย้ำ สิ้นเดือนม.ค.นี้ หากไม่มีอะไรคืบหน้า ก็จะปรับลดน้ำหนักทันที
    นางวรวรรณ ธาราภูมิ นายกสมาคมบริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน และประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน บัวหลวง จำกัด ออกมากล่าวปฏิเสธกระแสข่าวในสื่อโซเชียล กรณีกองทุนบัวหลวงเข้าซื้อหุ้น CPALL เพิ่ม ว่า ในฐานะ CEO กองทุนบัวหลวง ณ วันที่ 19 ม.ค. 59 กระแสข่าวดังกล่าวถือว่าเป็นความจงใจทำให้กองทุนบัวหลวงเสียหาย
    ดังนั้น จึงขอเรียนเบื้องต้นก่อนว่า 1. หลังจากมีเรื่องอินไซเดอร์ออกมาเป็นข่าว และผู้บริหารของ CPALL ยืนยันไม่ลาออก เราไม่เคยซื้อหุ้นนี้เพิ่มเลย
    2.จำนวนหุ้นที่เขาเผยแพร่ในไลน์นั้น ยังมีส่วนไม่ถูกต้อง กำลังให้ตรวจสอบอยู่ว่ามีที่มาที่ไปอย่างไร
    ทั้งนี้ นางวรรณ ยืนยันว่าไม่ทำอะไรแบบข้างหน้าอย่าง ข้างหลังอย่างที่คนจัดทำข้อมูลต้องการสะท้อนออกมาแน่นนอน สำหรับใครที่เผยแพร่ข้อมูลอันเป็นเท็จ เพื่อทำให้ผู้อื่นได้รับความเสียหายหรือเป็นที่เกลียดชัง เป็นผู้ทำผิดตามกฎหมาย
    “กำลังยุ่งทำงานอยู่แต่มีคนส่งข้อมูลมาว่า มีการเผยแพร่ในไลน์ว่ากองทุนของค่ายเราซื้อหุ้น CPALL เพิ่ม โดยเทียบจำนวนหุ้นในเดือนพ.ย. 58 กับธ.ค. 58 (แต่ไม่ได้ระบุวันที่) แล้วระบุว่ามีจำนวนหุ้นเพิ่มขึ้น ซึ่งการส่งข้อมูลเผยแพร่เช่นนั้น ชัดเจนว่ามีเจตนาทำให้เราเสียหาย” นางวรวรรณ กล่าว
    ทั้งนี้ จากข้อมูลที่มีการเผยแพร่กันนั้น มีการระบุว่า ปัจจุบัน กองทุนที่อยู่ภายใต้การบริหารของ บลจ.บัวหลวง มีทั้งหมด 5 กองทุน ที่ถือหุ้น CPALL อยู่ เช่น บัวหลวงหุ้นระยะยาว(B-LTF), บัวหลวงหุ้นระยะยาว 75/25(BLTF75), บัวหลวงเฟล็กซิเบิ้ลเพื่อการเลี้ยงชีพ(BFLRMF), บัวหลวงตราสารทุนเพื่อการเลี้ยงชีพ(BERMF) และ บัวหลวงทศพล(BTP)
    โดยทั้ง 5 กองทุนนั้น ต่างมีสัดส่วนการถือครองหุ้น CPALL เพิ่มขึ้นในเดือนธันวาคม 2558 เมื่อเทียบกับเดือนพฤศจิกายน 2558 โดยบางกองทุนมีการถือหุ้นเพิ่มจากเดิม 1 ล้านหุ้น และบางกองทุน ถือเพิ่ม 5-6 ล้านหุ้น
    สัปดาห์ก่อนหน้านี้ นางวรวรรณ ในฐานะประธานกรรมการสภาธุรกิจตลาดทุนไทย (FETCO) กล่าวว่า เมื่อปลายปี  2558 สมาคมบริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน (บลจ.) ได้ทำหนังสือไปถึง CPALL ให้แสดงความรับผิดชอบต่อกรณีการทำผิดกฎหลักธรรมมาภิบาล หลังจากที่คณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) เปรียบเทียบปรับผู้บริหารของ CPALL บางรายที่อาศัยข้อมูลภายในเข้าซื้อหุ้นบมจ.สยามแม็คโคร (MAKRO)
    นางสุภาพร ลีนะบรรจง รักษาการ ประธานเจ้าหน้าที่การลงทุน บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน กรุงศรี จำกัด กล่าวว่า ฝ่ายลงทุนเตรียมลดน้ำหนักหุ้นไร้ธรรมาภิบาลที่มีคดีเกี่ยวข้องกับการใช้ ข้อมูลภายในเพื่อซื้อหุ้นบริษัทค้าปลีกแห่งหนึ่งเพิ่มเติม หากพบว่าบริษัทที่ไม่มีธรรมาภิบาลดังกล่าวยังคงนิ่งโดยไม่แสดงความชัดเจนใดๆ กลับมาหลังจากที่ทางสมาคมบริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน ได้มีการส่งหนังสือไปยังหน่วยงานดังกล่าวเพื่อขอข้อสรุปภายในสิ้นเดือนนี้ ฝ่ายลงทุนของบริษัทก็จำเป็นต้องลดน้ำหนักหุ้นไร้ธรรมาภิบาลดังกล่าวเพิ่มเติม
    สำหรับ กรณีหุ้นไร้ธรรมาภิบาลที่บริษัทถือครองอยู่ เดิมทีหุ้นดังกล่าวติดอันดับ 1 ใน 5 ของหุ้นที่บริษัทให้น้ำหนักลงทุนมากที่สุด แต่หลังจากที่พบว่าหุ้นที่บริษัทถือครองนั้นไม่มีธรรมาภิบาลในช่วงปลายปีที่ ผ่านมา ฝ่ายลงทุนก็ได้ลดน้ำหนักการลงทุนในหุ้นนั้นลงทันทีส่งผลให้หุ้นดังกล่าวหลุด จาก 1 ใน 5 อันดับที่บริษัทถือครองมากที่สุด อย่างไรก็ตาม บริษัทก็ยังคงมีหุ้นดังกล่าวเหลืออยู่ในพอร์ตบางส่วนที่รอความขัดเจนจาก หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
    “บริษัทจำเป็นต้องลดน้ำหนักในหุ้นที่ไร้ธรรมาภิบาล เพื่อให้สอดคล้องกับนโยบายการการลงทุนของกองทุนและเป็นไปในหลักการเดียวกับทางสมาคมบลจ. ที่สำคัญนักลงทุนหลายกลุ่มจำนวนมากได้มีการไต่ถามมาถึงเรื่องดังกล่าว เพราะไม่มีความสบายใจที่กองทุนที่ตนเองถือครองมีหุ้นที่ไร้ธรรมาภิบาล ดังนั้น บริษัทจำเป็นต้องจัดการเรื่องดังกล่าวให้ถูกต้อง เพราะบริษัทไม่ได้แค่ผลตอบแทนแต่ดูเรื่องธรรมาภิบาลด้วย ซึ่งการลดน้ำหนักนั้นจะเป็นในลักษณะค่อยเป็นค่อยไป หากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องนิ่งเฉยเพราะไม่ให้ตลาดหุ้นกระทบ” นางสุภาพร กล่าว

    แบงก์เล็กรีเทิร์นสวย ฝรั่งเก็บ‘KKP-TCAP’ *ไทยพาณิชย์กำไร Q4 ตามคาด 1.17 หมื่นล้าน

    แบงก์เล็กรีเทิร์นสวย ฝรั่งเก็บ‘KKP-TCAP’ *ไทยพาณิชย์กำไร Q4 ตามคาด 1.17 หมื่นล้าน

    2016-01-20

    แบงก์ขนาดกลางและเล็ก ผลประกอบการปี 58 กลับมารีเทิร์นได้งดงาม ทั้ง TCAP– KKP-CIMBT และ TISCO ด้าน บล.ซี แอล เอส เอ เผยต่างชาติทยอยเก็บหุ้นแบงก์กลาง-เล็ก หลังพบควบคุมหนี้เสียได้ เงินกองทุนดีขึ้น และกำไรต่างออกมาสวย ด้าน “ไทยพาณิชย์” หรือ SCB กำไรไตรมาส 4 กว่า 1.17 หมื่นล้านบาท ลดลง 3.6% ส่วนทั้งปี 4.72 หมื่นล้านบาท ลดลง 11.5%
    วานนี้ บมจ.ทุนธนชาต หรือ TCAP แจ้งผลประกอบการปี 2558 มีกำไรสุทธิ 5,436 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปี 2557 ที่มีกำไรสุทธิ 5,120 ล้านบาท หรือเปลี่ยนแปลง 6.17% ส่วนกำไรต่อหุ้นเพิ่มขึ้นมาจาก 4.61 บาท เป็น 4.24 บาท
    ขณะที่นายสมเจตน์ หมู่ศิริเลิศ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ ธนาคารธนชาต จำกัด (มหาชน) หรือ TBANK ที่ TCAP ถือหุ้นใหญ่ ได้ระบุว่า ผลการดำเนินงานของธนาคารฯ ช่วงปี 2558 ธนาคารและบริษัทย่อยมีกำไรสุทธิ 10,743 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 821ล้านบาท หรือ 8.27% จากสิ้นปีก่อน จากการลดลงของค่าใช้จ่ายหนี้สูญและหนี้สงสัยจะสูญจากการดำเนินงานปกติ
    ขณะที่คุณภาพของสินทรัพย์ปรับตัวดีขึ้นตั้งแต่ปลายปี 2557 ด้วยการบริหารจัดการ NPL อย่างมีประสิทธิภาพ ส่งผลให้ NPL ลดลงจากสิ้นปีที่ผ่านมา 34% ขณะที่ NPL Ratio ลดลงอย่างมากสวนทางกับอุตสาหกรรมจากสิ้นปี 2557 ที่ 4.09% มาอยู่ที่ 2.84% ของสิ้นปี 2558 และ Coverage Ratio ปรับเพิ่มขึ้นจาก 85.52% มาอยู่ที่ 119.42% ของสิ้นปี 2558 ใกล้เคียงกับค่าเฉลี่ยอุตสาหกรรม นอกจากนี้ เงินกองทุนของธนาคารแข็งแกร่งเติบโตขึ้นจาก 15.83% ในปี 2557 มาอยู่ที่ 17.92% ในปี 2558
    นายอภินันท์ เกลียวปฏินนท์  ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ ธนาคารเกียรตินาคิน จำกัด (มหาชน) หรือ KKP กล่าวว่า ผลการดำเนินงานของธนาคารช่วงปี 2558 ธนาคารมีกำไรสุทธิทั้งสิ้น 3,317 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากช่วงปี 2557 ที่ทำกำไรสุทธิได้ทั้งสิ้น 2,733 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้นทั้งสิ้น 584 ล้านบาท คิดเป็น 21.3%
    ทั้งนี้ เป็นกำไรสุทธิของธุรกิจตลาดทุน ซึ่งดำเนินการโดยบริษัท ทุนภัทร จำกัด (มหาชน) และบริษัทย่อย ได้แก่ บล.ภัทร บล.เคเคเทรด และ บลจ.ภัทร จำนวน 1,010 ล้านบาท หากพิจารณากำไรเบ็ดเสร็จรวมจะเท่ากับ 3,119 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 8.4% เป็นกำไรเบ็ดเสร็จของธุรกิจตลาดทุนจำนวน 865 ล้านบาท
    ส่วนผลงานไตรมาส 4/58 เทียบกับไตรมาส 4/57 ธนาคารและบริษัทย่อยมีกำไรสุทธิ 980 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 90.9% จากไตรมาส 4/57 เป็นกำไรสุทธิของธุรกิจตลาดทุนจำนวน 319 ล้านบาท หากพิจารณากำไรเบ็ดเสร็จรวมจะเท่ากับ 1,024 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 587.0% จากไตรมาส 4/57 เป็นกำไรเบ็ดเสร็จของธุรกิจตลาดทุนจำนวน 351 ล้านบาท
    ด้านหนี้สูญและหนี้สงสัยจะสูญ และขาดทุนจากการด้อยค่า 3,208 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจาก 3,199 ล้านบาทในปี 2557 ทั้งนี้ ธนาคารได้ตั้งสำรองทั่วไปในไตรมาส 3/58 จำนวน 600 ล้านบาท และไตรมาส 4/58 ตั้งเพิ่มเติมอีกจำนวน 400 ล้านบาท เพื่อเป็นการรองรับความผันผวนทางเศรษฐกิจที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต
    นายสุภัค  ศิวะรักษ์ กรรมการผู้จัดการใหญ่และประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ธนาคาร ซีไอเอ็มบี ไทย จำกัด (มหาชน) หรือ CIMBT กล่าวว่า ผลประกอบการของธนาคารมีกำไรสุทธิประจำปี 2558 จำนวน 1,052.5 ล้านบาท เติบโต 6.4% จากปีก่อน ส่วนสินเชื่อที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (NPLs) อยู่ที่ 6.4พันล้านบาทอั ตราส่วนสินเชื่อที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ต่อเงินให้สินเชื่อทั้งสิ้น (NPL ratio) อยู่ที่ร้อยละ 3.1 ลดลงเมื่อเทียบกับณ วันที่ 31 ธันวาคม 2557 อยู่ที่ร้อยละ 3.3
    บมจ.ทิสโก้ไฟแนนเชียลกรุ๊ป (TISCO) หรือ กลุ่มทิสโก้มีผลการดำเนินงานไตรมาส 4 ปี 2558 เทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อนหน้า มีกำไรสุทธิเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.8 มาอยู่ที่ 1,244 ล้านบาท ซึ่งสาเหตุหลักเป็นผลมาจากการเพิ่มขึ้นของรายได้ดอกเบี้ยสุทธิและรายได้ที่มิใช่ดอกเบี้ยจากธุรกิจหลัก โดยในไตรมาสนี้ รายได้ค่าธรรมเนียมจากธุรกิจธนาคารพาณิชย์ปรับตัวดีขึ้นจากการขยายตัวของธุรกิจนายหน้าประกันภัย ธุรกิจจัดการกองทุนยังคงเติบโตอย่างต่อเนื่อง จากการออกกองทุนใหม่ตามความต้องการของตลาด  ในขณะที่ค่าใช้จ่ายสำรองหนี้สูญคงที่ เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้า
    ด้านผลการดำเนินงานของกลุ่มทิสโก้ ณ สิ้นปี 2558 กลุ่มทิสโก้มีกำไรสุทธิ  4,250 ล้านบาท คงที่จากปีก่อนหน้า
    นายปริญญ์ พานิชภักดิ์ กรรมกรรผู้จัดการ บล.ซี แอล เอส เอ (ประเทศไทย) กล่าวว่า นักลงทุนต่างชิตเริ่มให้ความสำคัญกับหุ้นธนาคารขนาดกลางและเล็กมากขึ้น โดยที่ผ่านมาได้ทยอยเก็บเรื่อย หลังมองว่า แบงก์ต่างๆ เหล่านี้ สามารถควบคุมหนี้เสียได้แล้ว ขณะที่ผลประกอบการก็จะปรับตัวดีขึ้น ซึ่งต่างจากธนาคารขนาดใหญ่ที่ยังมีปัญหากับเอ็นพีแอล
    “ทั้ง KKP–TCAP ต่างชาติเขาก็สนใจ และแนวโน้มผลประกอบการในปี 2559 ก็คาดว่าจะฟื้นตัวดีจากปีก่อนหน้า”
    ทางด้าน ธนาคารไทยพาณิชย์ (SCB) รายงานผลกำไรสุทธิปี 2558 จำนวน 4.72 หมื่นล้านบาท ลดลง 11.5% เมื่อเทียบกับปีก่อนหน้า จากการตั้งสำรองที่เพิ่มขึ้น เป็นผลจากสภาพเศรษฐกิจไทยยังไม่ฟื้นตัวเท่าที่ควร ส่งผลให้การเติบโตของภาคเอกชน รวมทั้งธนาคารพาณิชย์ชะลอตัวลง
    ปัจจัยสำคัญที่ทำให้กำไรสุทธิลดลงมาจากการตั้งสำรองที่สูงขึ้นมากเพื่อรองรับสินเชื่อด้อยคุณภาพที่เกิดขึ้นและการตั้งสำรองครบจำนวนตามหลักเกณฑ์ของธนาคารแห่งประเทศไทยสำหรับลูกค้าธุรกิจขนาดใหญ่ 1 ราย คือ บมจ.สหวิริยาสตีลอินดัสตรี (SSI) และบริษัทลูกในประเทศอังกฤษ ซึ่งตัดหนี้สูญแล้ว คือ บริษัท สหวิริยาสตีลอินดัสตรี ประเทศอังกฤษ (SSI UK) ซึ่งถูกจัดชั้นเป็นสินเชื่อด้อยคุณภาพในไตรมาสที่ 3/58
    อย่างไรก็ตาม รายได้โดยรวมของธนาคารยังคงเติบโตอย่างต่อเนื่องทั้งจากรายได้ดอกเบี้ยสุทธิและรายได้ที่มิใช่ดอกเบี้ย ขณะที่ค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานขยายตัวอย่างมีประสิทธิภาพ โดยมีอัตราส่วนค่าใช้จ่ายต่อรายได้ในระดับต่ำเมื่อเทียบกับปีก่อนแม้ว่าจะมีค่าใช้จ่ายลงทุนมากขึ้น
    สำหรับไตรมาส 4/58 ธนาคารมีกำไรสุทธิ (ก่อนสอบทาน) จำนวน 11,795 ล้านบาท ลดลง 3.6% จากไตรมาสเดียวกันของปีก่อนจากการตั้งสำรองที่สูงขึ้น
    อัตราส่วนสินเชื่อด้อยคุณภาพในปี 2558 อยู่ที่ 2.89% เพิ่มขึ้นจาก 2.11% ณ สิ้นปี 2557 แต่ลดลงจาก 3.02% ในไตรมาสก่อน การเพิ่มขึ้นอย่างมากของสินเชื่อด้อยคุณภาพส่วนใหญ่เกิดจากบริษัท SSI ซึ่งได้ถูกจัดชั้นเป็นสินเชื่อด้อยคุณภาพในไตรมาส 3/58 และจากลูกค้าธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม และลูกค้าสินเชื่อเคหะ ตามสภาพเศรษฐกิจที่ชะลอตัว
    ในขณะเดียวกันหนี้สูญและหนี้สงสัยจะสูญเพิ่มขึ้น  16,509 ล้านบาทเป็นจำนวน 29,723 ล้านบาท ในปี 2558 ซึ่งเป็นสาเหตุหลักที่ทำให้กำไรสุทธิลดลงในปีนี้ แต่อัตราส่วนค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญต่อสินเชื่อด้อยคุณภาพลดลงเป็น 109.8% ณ สิ้นปี 2558 จาก 138.1% ณ สิ้นปี 2557 แต่สูงกว่าระดับ 100.8% ณ สิ้นไตรมาสก่อน

    GPSCกำไรปี58 ลุ้นพุ่ง1.9พันล. ปันผลอีก40สต.

    GPSCกำไรปี58 ลุ้นพุ่ง1.9พันล. ปันผลอีก40สต.

    2016-01-20 

    “GPSC” จับตางบปี 58 กำไรดีเกินคาดเฉียด 1,900 ล้านบาท หนุนจ่ายปันผลครึ่งหลังอีก 40 สตางค์ โบรกฯ สั่งอัพเกรดเป็น “ซื้อ” พื้นฐานแกร่ง-รับมือภาวะตลาดผันผวนดี ราคาเป้าหมาย 30.50 บาท อัพไซด์เพียบ 36% 
    นักวิเคราะห์บริษัทหลักทรัพย์ เมย์แบงก์ กิมเอ็ง (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า ขณะนี้ปรับคำแนะนำเป็น “ซื้อ” หุ้นบริษัท โกลบอล เพาเวอร์ ซินเนอร์ยี่ จำกัด (มหาชน) หรือ GPSC กำหนดราคาเป้าหมาย 30.50 บาท พร้อมกับประเมินงบปี 2558 จะมีโอกาสทำกำไรได้ใกล้เคียง 1,900 ล้านบาท สูงกว่าที่คาดไว้ระดับ 1,745 ล้านบาท
    อีกทั้งหุ้น GPSC ยังมีความน่าสนใจจากความที่เป็นหุ้นที่มีผลประกอบการ Defensive ที่มาพร้อมการเติบโตของกำลังการผลิตสูง ประกอบกับราคาหุ้นที่ลดต่ำกว่าราคา IPO ที่ 27 บาท ซื้อขายด้วย P/BV เพียง 0.86 เท่า จึงเปิดโอกาสสะสมสำหรับลงทุนระยะยาว
    ทั้งนี้ ประเมินเบื้องต้นผลประกอบการไตรมาส 4/58 ของ GPSC ที่ประมาณ 300 ล้านบาท และส่งผลให้กำไรปี 2558 มีโอกาสทำได้ใกล้ 1,900 ล้านบาท ดีกว่าคาดที่ 1,745 ล้านบาท พร้อมกับเติบโตขึ้นจากงวดปี 2557 ที่ได้กำไรสุทธิ 1,581 ล้านบาท และอาจส่งผลให้ GPSC จ่ายเงินปันผลครึ่งหลังของปี 2558 ได้ 0.40 บาทต่อหุ้น คิดเป็นผลตอบแทน 1.8% เมื่อรวมที่จ่ายไปแล้ว 0.35 ในครึ่งแรกปี 2558 เงินปันผลงวดทั้งปีจะอยู่ที่ 0.75 บาท คิดเป็นผลตอบแทน 3.4%
    นักวิเคราะห์กล่าวอีกว่า ราคาหุ้น GPSC ได้ปรับตัวลงมากกว่า 10% หลังจากฝ่ายวิเคราะห์ออกรายงานวันที่ 24 พ.ย. 2558 ให้เพิ่มความระมัดระวัง เนื่องจากราคาหุ้นปรับขึ้นแรงด้วยปัจจัยพื้นฐานขณะนั้นคงเดิม อย่างไรก็ตามในปี 2559 ที่ผ่านมา GPSC กลับเป็นหุ้นแลกการ์ดเมื่อเทียบกับกลุ่มโรงไฟฟ้าขนาดใหญ่ที่อยู่ในกลุ่มที่มีการเติบโตของกำลังการผลิตในช่วงปี 2558-2562 สูง ได้แก่ EGCO และ CKP
    อีกทั้งหุ้น GPSC ยังมีความน่าสนใจในช่วงตลาดมีความผันผวนสูง จากจุดเด่นผลประกอบการที่ผันผวนต่ำ ผลประกอบการปี 2558 มีโอกาสทำได้ดีกว่าประมาณการของฝ่ายวิเคราะห์ ทำให้เงินปันผลของปี 2558 จะมีโอกาสจ่ายสูงกว่าคาดที่ไว้ระดับ 0.65 บาท
    นอกจากนี้ กำไรยังมีแนวโน้มเติบโตต่อเนื่องในปี 4 ปีข้างหน้าตามการเปิดผลิตของโครงการในมือ ซึ่ง GPSC เป็นหุ้นที่ฝ่ายวิเคราะห์ชอบถัดจาก EGCO จากอัพไซด์ที่เพิ่มขึ้นหลังราคาหุ้นปรับตัวลดจากราคา IPO จึงปรับคำแนะนำเป็น “ซื้อ” จากเดิมกำหนด Trading Buy
    อีกทั้ง GPSC ยังรออัพไซด์จากโครงการในพม่าและอินโดนีเซีย ซึ่งทางบริษัทยังอยู่ระหว่างรอผลการจากรัฐบาลพม่าในการลงทุนโรงไฟฟ้า 3 โครงการ และการ M&A 2-3 รายการที่อาจเป็นอัพไซด์ต่อผลประกอบการในระยะยาว นอกเหนือจากโครงการที่มีอยู่ในปัจจุบันที่จะทยอยสร้างการเติบโต
    ขณะที่ความเคลื่อนไหวราคาหุ้น GPSC ล่าสุดในวานนี้ (19 ม.ค.) ปิดการซื้อขายอยู่ที่ระดับ 22.40 บาท ปรับเพิ่มขึ้น 0.30 บาท หรือคิดเป็น 1.36% เมื่อเทียบกับราคาปิดก่อนหน้า โดยราคาล่าสุดที่ 22.40 บาท เท่ากับมีอัพไซด์หุ้นรวม 36% เมื่อเทียบราคาเป้าหมายที่นักวิเคราะห์กำหนดไว้ 30.50 บาท

    :ปี 62 กำลังผลิตพุ่ง 2,451 MW
    ด้านนักวิเคราะห์บริษัทหลักทรัพย์ ไอร่า จำกัด (มหาชน) ระบุว่า ขณะนี้ได้กำหนดคำแนะนำ “ซื้อ” หุ้น GPSC ให้ราคาเป้าหมาย 30.50 บาท ประเมินกำไรสุทธิปี 2558 จะทำได้ระดับ 1,848 ล้านบาท และงวดปี 2559 จะมีกำไรสุทธิเติบโตขึ้นอยู่ระดับ 2,095 ล้านบาท
    ทั้งนี้ GPSC อยู่ในระหว่างเจรจาโครงการโรงไฟฟ้าในประเทศพม่าจำนวน 3 โครงการประกอบ ได้แก่ 1.โครงการโรงไฟฟ้ากังหันก๊าซขนาด 400 MW ที่เมือง Thanlyin อยู่ระหว่างการเจรจา MOA 2.โครงการโรงไฟฟ้าถ่านหินขนาด 2,500 MW ที่เมืองมะริด อยู่ระหว่างการเจรจา MOA 3.โครงการโรงไฟฟ้ากังหันก๊าซขนาด 500 MW ที่เมือง Kyaiklat อยู่ระหว่างจัดทำ MOA ซึ่งมองว่า GPSC มีความได้เปรียบกว่าผู้ประกอบการรายอื่น เนื่องจากมีกลุ่ม PTT ที่เป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่และมีการลงทุนในพม่ามานาน
    สำหรับ GPSC ตั้งเป้าหมายกำลังการผลิตรวมจะเพิ่มขึ้นเป็น 2,451 MW ในปี 2562 จากปัจจุบันที่ระดับ 1,315 MW แบ่งออกเป็นโครงการที่มีสัญญาซื้อขายไฟแล้วและอยู่ระหว่างดำเนินการก่อสร้างจำนวน 602 MW ได้แก่ 1.โรงไฟฟ้า IRPC clean power กำลังการผลิตรวม 240 MW (GPSC ถือหุ้น 51%) ส่วนเฟส 2 มีกำหนดการจ่ายไฟในปี 2560  
    2.โรงไฟฟ้านวนคร (NNEG) กำลังการผลิต 125 MW (GPSC ถือหุ้น 30%) คาดจะเริ่มผลิตได้ในช่วงไตรมาส 3/59 3.โรงไฟฟ้าพลังน้ำ น้ำลิก 1 ในประเทศลาว กำลังการผลิต 65 MW (GPSC ถือหุ้น 40%) คาดจะเริ่มผลิตได้ในปี 2560 4.โครงการโรงไฟฟ้าและไอน้ำ CUP-4 ในโครงการเขตอุตสาหกรรมเชิงนิเวศของ PTT ที่จังหวัดระยอง กำลังการผลิต 45 MW 5.โรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ที่ญี่ปุ่น (ISP1) ขนาดกำลังผลิต 20.8 MW คาดจะเริ่มผลิตได้ในปี 2561 และ 6.โรงไฟฟ้าพลังน้ำไซยะบุรีในประเทศลาว กำลังการผลิต 1,285 MW (GPSC ถือหุ้นทางอ้อม 25%) ปัจจุบันอยู่ระหว่างก่อสร้างคาดจะเริ่มผลิตได้ในปี 2562 

  • 2016-01-06 12:00:00 - GPSCลั่นปี59โตต่อเนื่องบุ๊ครายได้โรงไฟฟ้าเพิ่ม