วันเสาร์ที่ 29 มิถุนายน พ.ศ. 2556

โบรกแนะเก็งกำไร 8 บจ.ส่งสัญญาณขึ้น ดัชนีรีบาวด์ การเมืองหวนกดดัน เน้นP/Eต่ำปันผลเกิน5%

โบรกแนะเก็งกำไร 8 บจ.ส่งสัญญาณขึ้น
ดัชนีรีบาวด์ การเมืองหวนกดดัน เน้นP/Eต่ำปันผลเกิน5%

วันพุธที่ 19 มิถุนายน 2556 เวลา 09:57:40 น. 
ผู้เข้าชม : 4228 คน 

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เช้านี้ ณ เวลา 9.53 น. ค่าเงินบาทอ่อนค่าลงมาอยู่ที่ระดับ 30.93/31 บาทต่อเหรียญสหรัฐ ขณะที่ตลาดหุ้นเอเชียมีทั้งปรับตัวอยู่ในแดนบวกและลบ นักวิเคราะห์คาดหุ้นไทยลุ้นรีบาวด์ โดยการเมืองในประเทศกลายเป็นปัจจัยกดดันตลาดหุ้น เก็งกำไร 8 หุ้นเด่น ได้แก่ DCON, TRC, ROJNA, TICON, BLA, MAJOR, TOP, SVI การทยอยสะสมสมหุ้นจากนี้ให้เน้นหุ้นดี PER ต่ำ และมีปันผลสูงราว 5% ขึ้นไป
บล.เคจีไอ (ประเทศไทย) ระบุในบทวิเคราะห์เช้าวันนี้ (19 มิ.ย.) ว่าดัชนีรีบาวด์ ... เทรดอย่างระมัดระวัง โดย KGI ประเมิน SET วันพุธเปิดรีบาวด์ หลังร่วงหนัก 43 จุด (เมื่อวานไปกลับเกือบ 65 จุด) ด้วยกระแสข่าวสหรัฐฯ ปลดประธานเฟด (เรามองไม่เป็นประเด็นเลย) และความกังวลต่อเสถียรภาพรัฐบาลหลังโครงการจำนำข้าวมีผลขาดทุนและ กขช. ลดราคาจำนำเหลือ 1.2 หมื่นบาท/ตัน เช้านี้ SET น่าจะรีบาวด์ได้ดีหลังต่างประเทศสดใส หุ้นสหรัฐฯ บวกแรงสะท้อนความมั่นใจของนักลงทุนที่สูงขึ้นว่าเฟดจะยังไม่ชะลอมาตรการ QE (รู้ผลประมาณตี 2 คืนนี้)
ด้านตัวเลขเงินเฟ้อผู้บริโภค เดือน พ.ค. ต่ำกว่าคาดเป็นข่าวบวกเสริมด้วย ด้านต่างชาติที่ขายสุทธินั้นไม่น่ากังวลมาก ข้อมูลจาก Bloomberg รายงานต่างชาติเมื่อวานขายสุทธิทุกตลาดหุ้นหลักในเอเชียยกเว้นฟิลิปปินส์ ไม่ได้ขายหุ้นไทยอยู่ที่เดียว กลยุทธ์: ถือหุ้นต่อคาดมีข่าวบวกจากถ้อยแถลงเฟดคืนนี้ แต่หากวันนี้ SET เริ่มมีภาวะผิดปกติกว่าเพื่อนบ้านอีก อาจพิจารณาขายลดเสี่ยงไปก่อน (เชิงวิเคราะห์เทคนิคหากขึ้นไม่ผ่าน 1, 442 จุด จะดูไม่ดี)
หุ้นเด่นวันนี้ ตามปัจจัยพื้นฐาน
ซื้อ DCON, TRC, เก็งกำไร ROJNA
บล.ฟินันเซีย ไซรัส ระบุในบทวิเคราะห์ว่า ต่างชาติยังกลับมาขายอีก แต่ไม่หนาแน่นนัก ดังนั้นยังเน้นถือต่อเนื่องได้!!
กลยุทธ์ : FSS ยังให้น้ำหนักในทางบวกกับตลาดหุ้นไทย เราจึงยังแนะนำให้เน้นถือลงทุนต่อเนื่อง เพื่อรอดัชนีขยับขึ้นหาเป้าหมายปี 2013 ที่บริเวณ 1750 จุดต่อไป ขณะที่ตลาดปรับตัวลงยังมองเป็นโอกาสในการเลือกหุ้นเข้าซื้อเพิ่มได้ โดยหุ้นที่น่าสนใจได้แก่ KBANK, BBL, KTB, AH, BTS, CSL, DCON, MCOT, SIRI, QH, LH, AP เป็นต้น
หุ้นเด่นทางเทคนิค  BLA, MAJOR, KTC (SBL)
แนวโน้ม ตลาดหุ้นสหรัฐและยุโรปส่วนใหญ่ยังปิดเป็นบวกได้ เนื่องจากนักลงทุนยังมีความหวังว่าเฟดอาจจะยังไม่ลดขนาดโครงการ QE ลงในการประชุมรอบนี้ ซึ่งต้องรอติดตามผลการประชุมในคืนวันนี้อีกครั้ง(19 มิ.ย.) อย่างไรก็ตามตัวเลขสร้างบ้านของสหรัฐที่ออกมาน้อยเกินคาดในเดือน พ.ค. ก็ยังกดดันต่อความมั่นใจเกี่ยวกับการฟื้นตัวของภาวะเศรษฐกิจ ส่งผลให้ตลาดหุ้นต่างประเทศยังคงแกว่งผันผวนให้เห็น ซึ่งตลาดหุ้นเอเชียเช้านี้ส่วนใหญ่เปิดทำการในลักษณะแกว่งผันผวนเช่นกัน เพื่อรอดูผลประชุมเฟดในช่วงค่ำนี้อีกครั้ง ซึ่งสำหรับตลาดหุ้นไทยที่แกว่งย้อนลงไปเคลื่อนไหวเป็นลบค่อนข้างแรงในช่วงบ่ายวานนี้ ทำให้ FSS คาดว่าวันนี้ SET จะอยู่ในลักษณะแกว่งทรงตัวได้ดีขึ้น แม้ว่าอาจจะยังมีลักษณะแกว่งตัวผันผวนเป็นบวก-เป็นลบให้เห็นอยู่ แต่คาดว่ากรอบการลงจะเริ่มจำกัดอีกครั้ง ขณะที่หลังทราบผลประชุมเฟดแล้ว เราคาดว่าบรรยากาศการลงทุนในบ้านเราน่าจะผ่อนคลายมากขึ้น และส่งผลให้ SET สามารถกลับไปแกว่งบวกได้ดีขึ้นกว่าในช่วงที่ผ่านมาได้
แนวรับ  1427-1422 , 1412-1403 จุด แนวต้าน 1448-1452, 1460-1470 จุด
บล.กสิกรไทย ระบุในบทวิเคราะห์ว่า หุ้นถูกลง แต่ไม่ได้ชัดทั้งในทางที่จะ lead ซื้อหรือขาย แนวโน้มตลาด: หุ้นยุโรปและสหรัฐฯ ปิดบวกในภาวะซื้อขายเบาบาง ยอดการสร้างบ้านสหรัฐฯ พ.ค.เพิ่มขึ้น6.8% จากเดือนก่อนหน้า และ 28.6% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน น้อยกว่าคาดการณ์ของนักวิเคราะห์ แต่โฟกัสสำคัญของตลาดยังเป็นการพูดถึงการประชุมเฟด 18-19 มิ.ย.ซึ่งเราเชื่อว่าที่สุดแล้วประเด็น QE จะไม่มีอะไรเปลี่ยนแปลง หากพิจารณาถึงผลการประชุม G8 ที่มองความเสี่ยงยูโรโซนลดลงแม้จะยังถดถอยและสหรัฐฯ เริ่มฟื้น น่าจะเป็นภาพบวก
อย่างไรก็ตามความท้าทายของการดำเนินนโยบายเศรษฐกิจของหลายภาคส่วนในโลกเพื่อฝ่าภาวะเงินฝืดช่วงสั้น (ก่อนที่จะตามมาด้วยเงินเฟ้อช่วงต่อไป) และปัญหาจากการคุมต้นทุนการกู้ยืมให้ต่ำ เพื่อไม่ให้ขัดขวางการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจ จะทำให้ตลาดเงินและพันธบัตรยังมีโอกาสปั่นป่วนซึ่งกระทบมาถึงหุ้นได้จึงยังขอให้นักลงทุนยังใช้ความระมัดระวังต่อไป การทยอยสะสมสมหุ้นจากนี้ให้เน้นหุ้นดี PER ต่ำ และมีปันผลสูงราว 5% ขึ้นไป การปรับลงต่ำจากนี้ โดยเฉพาะในโซน1350-1400 (หรือแม้กระทั่งต่ำกว่า) นักลงทุนต้องเพิ่มความกล้าในการซื้อมากขึ้น ซึ่งเราจะอัพเดทแผนเข้าซื้อเชิงกลยุทธ์ต่อไป
ปัจจัยอื่น/ ยุโรป – รมว.คลังยูโรโซนจะหารือแผนการตั้งสหภาพธนาคาร 27 มิ.ย. ก่อนประชุมสุดยอดผู้นำยุโรปปลายสัปดาห์ จับตาดรากี ประธานธนาคารกลางยุโรปส่งสัญญาณอยู่ระหว่างพิจารณาเรื่องการใช้นโยบายพิเศษเพิ่มเติม และจะใช้เมื่อสถานการณ์เหมาะสม จำนำข้าว – อาจลดราคาจำนำเหลือ 12,000 บาท/ตัน โควต้า 5 แสน ตัน ทำให้เกิดกระแสข่าวลือรัฐบาลอาจยุบสภาวานนี้ / ยอดจำหน่ายรถยนต์ พ.ค.56 ลดลง 3.5%จากช่วงเดียวกันของปีก่อน ครั้งแรกในรอบ 17 เดือน / IMF – คาด GDP ไทย 2556 เพิ่ม 4.75% และ2557 โต 5.25% (เมื่อเม.ย. คาด 5.9% และ 4.2%) IPP – ผลประมูลน่าจะออก20 มิ.ย. / BDI – ปรับขึ้น 20% ใน 9 วันที่ผ่านมา บวกต่อกลุ่มเดินเรือ
กลยุทธ์การลงทุน: “อาจฟื้นหลังลงแรง แต่ไม่ได้ชัดในทางที่จะ lead ซื้อ” SET Index ปรับขึ้นไปสูงสุด 1492 จุด เข้าโซนเสี่ยงขายที่ 1480-1500 ก่อนปรับลดลงมา แรงปิด 1427 จุด จากข่าวลือในประเทศ SET Index มีแนวรับที่ 1400-1420 ซึ่งคนที่บริหารความเสี่ยงได้อาจเลือกซื้อเป็นรายหุ้น อย่างไรก็ตามเมื่อมองจากความผันผวนของตลาดเงินและพันธบัตรโลกแล้ว เราจึงยังขอชะลอไม่เพิ่มน้ำหนักการลงทุนเพื่อดูสถานการณ์อีกระยะ หุ้นแนะนำ TICON
สำหรับนักลงทุนระยะกลาง: คงนํ้าหนักการลงทุนที่ 60% หลังลดไป 20% ใน 2 ครั้ง (22 ก.พ. และ 20 มี.ค.) และเราอยู่ระหว่างพิจารณาเตรียมเพิ่มน้ำหนักการลงทุนขึ้นเร็วๆนี้ โดยให้น้ำหนักกับการกลับมาอ่อนตัวอย่างจริงจังของเงินเยน
บล.เอเซีย พลัส ระบุว่า ดัชนีหุ้นไทยยังผันผวน ปัจจัยการเมืองกลับมากดดันตลาดอีกครั้ง ในระหว่างที่รอผลประชุม FOMC ในค่ำคืนนี้ ซึ่งจะนำไปสู่ความชัดเจนในการตัดลด QE กลยุทธ์ฯ ยังเน้นเลือกรายหุ้น เน้นหุ้น PER ต่ำ &เงินปันผลสูง เลือก TOP (FV@B77.83) และ SVI (FV@B5.25) เป็น Top picks เช่นเดิม
บล.ไทยพาณิชย์ ระบุว่า SET ไหลลงช่วงบ่ายกราวรูด แม้ต่างชาติขายเบาๆ อย่างไรก็ตาม ไม่มีแรงซื้อสวน ทำให้เกิดการปรับลงอย่างรวดเร็ว ด้านทางเทคนิค การรีบาวน์สูญเสียไป ช่วงนี้ดูแนวรับ Gap ที่ 1400 และจุดต่ำเดิมที่ 1350 จุด ไม่ต่ำกว่ายังสามารถพลิกกลับขึ้นมาได้ ส่วนภาพรวม SET เรามองการขึ้นยังถูกจำกัด เพราะแรงขายสวนต่างชาติ จนกว่าสถานะ Short ที่สะสมไว้จะถูกปิดลงหมด ซึ่งคาดไม่เกินสิ้นเดือนนี้ กลยุทธ์ ภาวะนี้คงไม่เอื้อต่อการ Trading นัก ส่วนนักลงทุน รอซื้อเมื่ออ่อน ในหุ้นเด่น กลุ่มหลัก ดังต่อไปนี้ ADVANC INTUCH KTB QH SIRI CK AOT BTS และ THAI
บล.ฟิลลิป ระบุว่า ตลาดหุ้นไทยวานนี้ดีดตัวขึ้นช่วงเช้าทดสอบแนวต้าน 1490 ก่อนจะปรับตัวลงแรงช่วงบ่ายด้วยแรงขายของต่างชาติ โดย SET ลงมาปิดที่ 1427.42 จุด ลบไปกว่า 43.62 จุด การดิ่งหนักของ SET ระหว่างรอการประชุมเฟด+กังวลประเด็นการเมืองภายใน ทำให้หลุดแนวรับสำคัญที่ 1440 ลงมาอีกครั้งหนึ่ง และต่างชาติกลับมาขายสุทธิ ทำให้ภาพรวมกลับมาอ่อนตัวลง คาดนักลงทุนยังรอลุ้นผลการประชุมเฟด ซึ่งมองว่าเฟดยังไม่น่ารีบประกาศปรับลดปริมาณ QE ในทันที แต่น่าจะส่งสัญญาณถึงกรอบระยะเวลาการทยอยลดมากกว่า ขณะที่เศรษฐกิจโลกยังชะลอตัวจากเศรษฐกิจของยุโรป, จีน, ญี่ปุ่น
หาก SET ไม่สามารถกลับไปยืนเหนือ 1440 ได้ อาจกลับลงไป low เดิมแถว 1350 หรือต่ำกว่าอีกครั้ง แนะทยอยลดพอร์ตกลับมาที่ไม่เกิน 25% โดยเฉพาะหาก SET หลุด 1400 ลงไป แนวต้าน : 1440-1468 แนวรับ : 1400-1380
ข่าวล่าสุด

บล.กรุงศรี : รายงานภาวะตลาดประจำเดือนพ.ค. 56


 คาดการณ์ภาวะตลาดประจำเดือนพ.ค. 56


บล.กรุงศรี : รายงานภาวะตลาดประจำเดือนพ.ค. 56


ชื่อ:  g.jpg
ครั้ง: 1839
ขนาด:  28.2 กิโลไบต์


เดือน พ.ค. จะเคลื่อนไหวที่กรอบ 1,530-1,600(+10/10) จุด

ในทางเทคนิคคาดว่าดัชนี SET Index ภายในเดือนพฤษภาคม 56 จะเคลื่อนไหวที่กรอบ 1,530-1,600 จุด ในลักษณะการแกว่งตัวขึ้น (Sideways up) ด้วยเหตุผล

1. หลังจากการปรับฐานมา 4 สัปดาห์ ทำให้ตลาดลดความชันจากการปรับขึ้นเมื่อหลายเดือนก่อน พร้อมกับมีการสร้างฐานระยะสั้น ทำให้ช่วงกลางเดือนเมษายน เริ่มมีการฟื้นตัวผ่านเส้นค่าเฉลี่ย 10 วัน (ที่ 1,530 จุด) โดยก่อนหน้านั้นมีการตัดลงที่แนวเส้นค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่ 10 วันในเดือนมีนาคมและเมษายนจนทำให้เกิดการพักฐาน ซึ่งการพักฐานนั้นนานพอสมควรในระดับ 4 สัปดาห์ และการวกกลับตัดเส้นค่าเฉลี่ย 10 วันขึ้นมาใหม่ ทำให้ตลาดมีโมเมนตัมในระยะสั้นมากพอที่จะปรับขึ้นแบบระยะสั้นได้ โดยจุดที่ตลาดทดสอบจะอยู่บริเวณ 1,590—1,600—1,630 จุด แต่จะเป็นสัญญาณปรับขึ้นในช่วงเวลาสั้นๆ(ประมาณ 2 สัปดาห์) ภาวะของการ overbought ก่อนหน้าคลายตัวลงพอสมควรจึงทำให้การปรับขึ้นมีเสถียรภาพในเชิงกราฟ

2. เครื่องมือทางเทคนิคอื่นๆ เช่น MACD ผ่อนคลายลงเล็กน้อย มีค่าเป็นบวกบ้างแล้ว อาจทำให้ตลาดปรับขึ้นได้ แต่ค่าเป็นบวกนี้ ยังทำให้ตลาดไม่สามารถไปไหนได้ไกลนัก

3. แม้ดัชนีมีโอกาสแกว่งตัวขึ้น แต่ก็ยังมีแนวต้านสำคัญๆรอทดสอบอยู่(เช่น 1,590 1,600 และ 1,630 จุดตามลำดับ)หุ้นที่มีโอกาสเกิดสัญญาณขาขึ้น มีการฟอร์มตัวของแนวโน้มราคาที่น่าสนใจ สำหรับการเข้าซื้อพบอยู่หลายหลักทรัพย์ การเลือกมองหุ้นที่มีโอกาสขึ้นต่อเน้นหุ้นขนาดกลาง จะช่วยให้การเข้าซื้อหุ้นนั้นมีโอกาสปรับขึ้นเด่นมีโอกาส outperform ดัชนีได้

เชิงเทคนิค..เน้นเลือกซื้อหุ้น THAI, AAV และ SOLAR


คาดกำไรปี 56 ชะลอตัวจากปัจจัยเฉพาะกลุ่มอาหาร แนะนำน'NEUTRAL'TUF น่าสนใจที่สุดในแง่ความแข็งแกร่งของปัจจัยพื้นฐาน

หุ้นกลุ่มอาหารที่เราติดตามอยู่ (CPF, KBS, KSL, TUF) คาดจะมีผลประกอบการปี 56 ลดลง YoY ผลจากความผันผวนระหว่างส่วนต่างราคาผลิตภัณฑ์และวัตถุดิบ โดยเฉพาะโรคระบาด (EMS) ในกุ้งที่กดดันต้นทุนการผลิตและปริมาณขายจะส่งผลประทบต่อธุรกิจส่งออกกุ้งและอาหารกุ้งของทั้ง CPF และ TUF ในช่วง 1H56 ขณะที่ธุรกิจน้ำตาล (KBS, KSL) ได้รับ
ผลกระทบจากราคาน้ำตาลตลาดโลกที่ตกต่ำ ด้วยแรงกดดันจากภาวะอุปทานส่วนเกินจากผู้ผลิตรายใหญ่ อาทิ บราซิล เป็นต้น คาดว่าผลประกอบการ 1H56 ออกมาไม่ดีนักและทำให้บริษัทเกือบทั้งหมดมีกำไรก่อนรายการพิเศษปี 56 ลดลงจากปีก่อน โดยเชื่อว่า TUF จะฟื้นตัวเร็วกว่ากลุ่มเนื่องจากฐานะทางตลาดที่แข็งแกร่งและความสามารถของผู้บริหาร

คาดผลประกอบการ 1Q56 หรือ ม.ค.-มี.ค.56 ยังไม่ดี

คาดว่าผลประกอบการ 1Q56 ของหุ้นกลุ่มนี้เป็นระดับต่ำสุดของปี CPF ยังประสบปัญหาความผันผวนของราคาเนื้อสัตว์และต้นทุนวัตถุดิบอาหารสัตว์ที่ปรับสูงขึ้น, TUF เช่นเดียวกับ CPF ที่ได้รับผลกระทบจากโรคระบาดในธุรกิจกุ้ง ขณะที่ธุรกิจทูน่ายังไม่สามารถปรับเพิ่มราคาขายได้ ส่วน KBS คาดผลประกอบการดีขึ้น QoQ ผลจากฤดูกาลส่งออกน้ำตาล แต่แย่กว่า 1Q55 ผลจากปริมาณและราคาขายน้ำตาลมีแนวโน้มลลลง ขณะที่ KSL (งบ 2Q56 ปิดเม.ย. 56) คาดจะมีผลประกอบการดีขึ้น QoQ แต่แย่ลง YoY เช่นเดียวกัน

คงน้ำหนักการลงทุน “เท่าตลาด”

แม้ผลประกอบการปี 56 ของหุ้นกลุ่มนี้เกือบทุกตัวมีแนวโน้มลดลงแต่เชื่อว่าจะกลับมาฟื้นตัวได้ในปี 57 ตามภาวะอุปสงค์-อุปทานที่ดีขึ้น ขณะที่ราคาหุ้นส่วนใหญ่ซื้อขายต่ำกว่าค่าเฉลี่ยกลุ่มอาหารในภูมิภาคแล้ว (13.3xP/E) และให้อัตราผลตอบแทนเงินปันผลกว่าปีละ 4% จะจำกัด downside เราเลือก TUF เป็น หุ้น Top pick

กลุ่มธนาคาร แนะนำ 'Neutral' กำไรสุทธิรวม 1Q56 เติบโต YoY และQoQ

กำไรสุทธิงวด 1Q56 เพิ่มขึ้น 26%YoY และ 74%QoQ ธนาคาร 9 แห่ง (BBL, KBANK, KK, KTB, LHBANK, SCB, TCAP,TISCO, TMB) รายงานกำไรสุทธิรวม 1Q56 ที่ 47 พันล้านบาท เพิ่มขึ้น 26%YoY จาก 1) รายได้ดอกเบี้ยสุทธิเพิ่มขึ้น 2) รายได้ที่มิใช่ดอกเบี้ยเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะรายได้ค่าธรรมเนียมสุทธิ, กำไรจากเงินลงทุน และรายได้เงินปันผล และ 3) อัตราภาษีลดลง เทียบกับ 4Q55 กำไรรวมปรับเพิ่มขึ้น 74%QoQ จากปัจจัยฤดูกาลที่ค่าใช้จ่ายการดำเนินงานและสำรองหนี้ฯ ปรับลดลง กอปรกับรายได้ที่มิใช่ดอกเบี้ยเพิ่มขึ้น ด้านสินเชื่อเติบโต 2.4%QoQ ส่วน NIM ทรงตัว YoY แต่ลดลง QoQ ที่ 2.8% เนื่องจากอัตราผลตอบแทนของสินเชื่อลดลง และคุณภาพสินเชื่อดีขึ้น NPL ratio เฉลี่ยลดลง QoQ ที่ 3%

คาดกำไรรวม 2Q56 เติบโต YoY และ QoQ

คาดผลการดำเนินงานของกลุ่มฯ งวด 2Q56 จะทำสถิติสูงสุดใหม่ที่ราว 50 พันล้านบาท เติบโต YoY และ QoQ เนื่องจาก 1) กำไรจากเงินลงทุนเพิ่มขึ้นจากที่กลุ่มธนชาตขายธนชาตประกันชีวิต (TLIFE) ให้ บมจ. พรูเด็นเชียล ประกันชีวิต 2) การเติบโตต่อเนื่องของรายได้ดอกเบี้ยสุทธิจากการขยายตัวต่อเนื่องของสินเชื่อ และ 3) รายได้ค่าธรรมเนียมเติบโต

คงน้ำหนักการลงทุนกลุ่มฯ “เท่ากับตลาด”

คงคำแนะนำการลงทุน “เท่ากับตลาด” จากมุมมองบวกต่อการเติบโตของกำไรสูงต่อเนื่องในปี 56 และพื้นฐานแข็งแกร่ง แต่การประเมินมูลค่า (valuation) กลุ่มฯ ซื้อขาย P/BV ที่ 1.9 เท่าสูงสุดรอบ 9 ปี และอัตราผลตอบแทนจำกัด นอกจากนี้ การเติบโตของธนาคารอาจมีข้อจำกัดจากความผันผวนของเศรษฐกิจต่างประเทศ,การแข็งค่าอย่างรวดเร็วของค่าเงินบาทกระทบต่อธุรกิจส่งออก และภาระการตั้งสำรองหนี้ฯ เพิ่มขึ้น กลยุทธ์การลงทุน เลือกธนาคารที่ผลการดำเนินงานจะเติบโตดีต่อเนื่องใน Q2 และมีอัตราผลตอบแทนการลงทุนสูง เลือก TCAP และ KBANK เป็นหุ้นเด่น

กลุ่มปิโตรเคมี แนะนำ 'Neutral'ส่วนต่างราคาโอเลฟินส์หนุนกำไร 1Q56ส่วนต่างราคาโอเลฟินส์ขยายตัวแข็งแกร่ง QoQ และ YoY

ส่วนต่างราคาผลิตภัณฑ์ปิโตรเคมีสายโอเลฟินส์-วัตถุดิบช่วง 1Q56 กลับมาขยายตัวโดดเด่นทั้ง QoQ และ YoY เป็นผลจากความต้องการใช้ที่สูงขึ้นในช่วงก่อนเทศกาลตรุษจีน และราคาวัตถุดิบที่ลดลงตามราคาน้ำมันดิบ โดยช่วง 1Q56 ส่วนต่างราคาเอทิลีน-แนฟทาเท่ากับ US$434/ตัน (+27%QoQ, +89%YoY) ส่วนต่างราคาโพรพิลีน-แนฟทา US$345/ตัน (+14%QoQ, +33%YoY) และเม็ดพลาสติก HDPE-แนฟทา US$521/ตัน (+16%QoQ, +39%YoY)

คาดกำไรสุทธิ 1Q56 ขยายตัว 19%QoQ และ 8%YoY

คาดหุ้นกลุ่มปิโตรเคมีที่เราติดตาม (IVL, PTTGC) มีกำไรสุทธิ 1Q56 รวมกัน เท่ากับ 1.3 หมื่นล้านบาท (+19%QoQ, +8%YoY) ผลจากการฟื้นตัวของ PTTGC ที่มีส่วนต่างราคาทั้งโอเลฟินส์และอะโรเมติกส์ดีขึ้น โดยเราคาดกำไรสุทธิ 1Q56 ของ PTTGC ที่ 1.2 หมื่นล้านบาท (+17%QoQ, +24%YoY) ขณะที่คาดว่ากำไรสุทธิของ IVL ยังคงอยู่ในระดับต่ำที่ 300 ล้านบาท (+134%QoQ, -82%YoY) จากภาวะอุปทานส่วนเกินในผลิตภัณฑ์ PTA และ PET ในภูมิภาคเอเชีย


คงน้ำหนักการลงทุน “เท่ากับตลาด” ผลประกอบการผันผวน

แม้ผลประกอบการของกลุ่มปิโตรเคมีปี 56 มีแนวโน้มขยายตัว 11%YoY ตามส่วนต่างราคาปิโตรเคมี อีกทั้งระดับราคาหุ้นในเชิงเปรียบเทียบถือว่าอยู่ระดับต่ำ โดยซื้อขายที่ระดับ 10xP/E เทียบกับ SET ที่ระดับ 15.7xP/E แต่การเติบโตอย่างต่อเนื่องหลังปี 56 ต้องพึ่งพาการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลกที่ยังคาดหมายได้ยาก ขณะที่ผลประกอบการรายไตรมาสยังคงผันผวนตามทิศทางราคาน้ำมันดิบ เราเลือก PTTGC (ซื้อ/มูลค่าพื้นฐาน 90 บาท) เป็นหุ้น Top pick จากแนวโน้มผลประกอบการปี 56 ที่ขยายตัว และแผนการขยายกำลังการผลิตและออกผลิตภัณฑ์ใหม่ในอนาคต

กลุ่มรับเหมาก่อสร้าง แนะนำ 'Overweight'รายใหญ่ล้วนจะเติบโตใน 1Q56ผลประกอบการ 1Q56 จะเติบโตโดดเด่นทั้ง YoY และ QoQ

เราคาดการณ์ผู้ประกอบการรายใหญ่ทั้ง 3 ราย (ITD, CK และ STEC) ล้วนแสดงผลประกอบการที่ดีต่อเนื่องใน 1Q56 โดยที่ STEC และ CK จะแสดงผลกำไรเติบโตเป็น 334 ล้านบาท (+11%YoY และ +15%QoQ) และเติบโตหลายเท่าตัวเป็น 9 พันล้านบาท ตามลำดับ ในขณะที่ ITD จะสามารถพลิกผลประกอบการของธุรกิจหลักเป็นผลกำไรได้ใน 1Q56 เป็น 100 ล้านบาทเทียบกับผลขาดทุนใน 1Q55 ผู้ประกอบการที่จะพลิกฐานะทางการเงินได้อย่างชัดเจนใน 1Q56 คือ CK ที่บันทึกกำไรพิเศษจากการขายหุ้น TTW และกำไรที่ยังไม่เกิดขึ้นจริงจากการเปลี่ยนวิธีบันทึกมูลค่าหุ้น TTW จากต้นทุนเฉลี่ยเป็นมูลค่าตลาดเข้ามาเสริมส่วนของผู้ถือหุ้นซึ่งช่วยลดอัตราส่วนหนี้สินสุทธิต่อทุนอย่างมีนัยสำคัญจาก 2.8 เท่า ณ สิ้นปี 55 เหลือ 1.6 เท่า

งานประมูลภาครัฐจะส่งผลบวกต่อผลประกอบการของรายใหญ่

แม้ว่าในอดีต STEC ถือว่าเป็นผู้ประกอบการรายใหญ่เพียงรายเดียวที่สามารถแสดงผลประกอบการที่เป็นผลกำไรเติบโตได้อย่างต่อเนื่อง แต่เราคาดว่านับตั้งแต่ปี 56 เป็นต้นไป ผู้ประกอบการรายใหญ่อีก 2 ราย ได้แก่ CK และ ITD จะเริ่มพลิกผลประกอบการมาเป็นกำไรได้ และคาดหวังการเติบโตของผลกำไรต่อไปในอนาคตโดยมีปัจจัยบวกจากการรับงานใหม่จนฐาน Backlog ปัจจุบันเพิ่มขึ้นเป็นระดับสูงสุดใหม่ และการเปิดประมูลครั้งใหญ่ของภาครัฐตามแผนงานโครงสร้างพื้นฐาน 7 ปีรองรับการเติบโตของผลประกอบการในอีก 3 ปีข้างหน้า

คงน้ำหนักการลงทุน “มากกว่าตลาด”

การลงทุนโครงสร้างพื้นฐานยังคงเป็นปัจจัยบวกที่สำคัญต่อกลุ่มรับเหมาก่อสร้างโดยเฉพาะรายใหญ่ที่มีศักยภาพสูงในการรับงานโดยตรงจากภาครัฐ เลือกหุ้น Top Pick เป็น STEC (มูลค่าพื้นฐาน 32 บาท) ซึ่งเราประเมินว่ามีความพร้อมสูงในการเข้าประมูลโครงการของภาครัฐประกอบกับแนวโน้มผลประกอบการที่เติบโตต่อเนื่องภายใต้สถานะทางการเงินที่แข็งแกร่ง

กลุ่มที่อยู่อาศัย แนะนำ 'Neutral' Presales เติบโตแข็งแกร่งใน 1Q56

คาดผู้ประกอบหลายรายสามารถทำยอด Presales สูงเป็นประวัติการณ์ (อาทิ PS และ LPN) ผลจากการเปิดโครงการที่อยู่อาศัยใหม่เชิงรุกนับตั้งแต่ต้นปีโดยเฉพาะโครงการคอนโดมิเนียมในทำเลใหม่แต่นับจากนี้ความกังวลของ ธปท. เกี่ยวกับความร้อนแรงของภาคอสังหาริมทรัพย์จะส่งผลให้ผู้ประกอบการระมัดระวังมากขึ้นสำหรับการเปิดโครงการใหม่

ผลประกอบการ 1Q56 ส่วนใหญ่จะเติบโต YoY และลดลง QoQ

คาดการเติบโต YoY เป็นผลจากฐานต่ำใน 1Q55 ที่ได้รับผลกระทบต่อเนื่องจากน้ำท่วมหนักในปลายปี 54 แต่คาดส่วนใหญ่จะลดลง QoQ ผลจากขาดโครงการคอนโดมิเนียมใหม่ๆเข้ามารับรู้เป็นรายได้ใน 1Q56 ในขณะที่คอนโดมิเนียมที่เปิดขายในช่วงปี 53-54 ได้เริ่มต้นรับรู้เป็นรายได้ใน 4Q55 ผู้ประกอบการเหล่านี้ ได้แก่ LPN (+16%YoY และ -72%QoQ), PS (+61%YoY และ -19%QoQ), และQH (+51%YoY และ -36%QoQ) ยกเว้นเพียง AP (-32%YoY และ -68%QoQ) และ LH (-6%YoY และ -11%QoQ)

คงน้ำหนักการลงทุน “เท่ากับตลาด”

ผู้ประกอบการรายใหญ่หลายรายแสดงยอด Presales ที่แข็งแกร่งใน 1Q56 แต่ในปัจจุบันที่ ธปท. เฝ้าติดตามภาวะความร้อนแรงของภาคอสังหาริมทรัพย์อย่างใกล้ชิดถือว่าเป็นปัจจัยเสี่ยงต่อการตัดสินใจเปิดโครงการใหม่ๆหลังจากนี้หาก ธปท. ออกมาตรการสกัดความร้อนแรงในอนาคตซึ่งเราคาดว่าเป้าหมายหลักน่าจะเป็นกลุ่มคอนโดมิเนียมระดับ Low-end จนถึง Mid-end เลือกผู้ประกอบการที่มีความหลากหลายและความสมดุลย์กันทั้งในด้านรูปแบบโครงการและการเจาะตลาดในทุกระดับราคาขายเป็น Top Pick ได้แก่ PS (มูลค่าพื้นฐาน 36 บาท) และ LH (มูลค่าพื้นฐาน 14 บาท)

กลุ่มพลังงานและสาธารณูปโภค แนะนำ 'Neutral' โรงกลั่นหนุนกำไรสุทธิ 1Q56

เราคาดการณ์กำไรสุทธิกลุ่มพลังงานใน KSS Coverage จำนวน 8 บริษัท มีกำไรสุทธิ 5.4 หมื่นล้านบาท (+27%QoQ, -24%YoY) ได้แรงหนุนจากผลประกอบการที่ขยายตัวโดดเด่นของธุรกิจโรงกลั่น ซึ่งเป็นผลมาจากค่าการกลั่นที่สูงขึ้นจากฤดูหนาวที่ยาวนานมาจนถึง 1Q56 รวมถึงการทยอยปิดซ่อมบำรุงโรงกลั่นในภูมิภาคทำให้อุปทานน้ำมันสำเร็จรูปลดลง โดยเราคาดการณ์กำไรสุทธิ TOP เท่ากับ 3.8 พันล้านบาท (+98%QoQ, -47%YoY) และ BCP เท่ากับ 1.5 พันล้านบาท (+33%QoQ, -37%YoY) รวมถึงธุรกิจสำรวจและผลิตปิโตรเลียม (PTTEP) ที่มีกำไรเพิ่มขึ้น 47%QoQ และ 11%YoY เนื่องจากค่าใช้จ่ายที่ลดลง อีกทั้งธุรกิจโรงไฟฟ้าที่ได้แรงหนุนจากผลประกอบการที่ผ่านช่วงฤดูกาลต่ำใน 4Q55 ที่ผ่านมา

ผลประกอบการรายไตรมาสผันผวนสูง

เราประเมินว่าผลประกอบการรายไตรมาสของกลุ่มพลังงานในปี 56 มีแนวโน้มผันผวนสูงตามการเคลื่อนไหวที่รุนแรงของราคาน้ำมันดิบในตลาดโลก ในเบื้องต้น เราคาดว่าราคาน้ำมันที่ลดลงในปัจจุบัน (ดูไบเหลือ US$101/บาร์เรล เทียบกับ 1Q56 ที่ US$108/บาร์เรล) จะส่งผลให้กลุ่มธุรกิจโรงกลั่นบันทึกผลขาดทุนจากสต็อกน้ำมัน ซึ่งส่งกระทบต่อกำไรสุทธิโดยรวมของกลุ่มพลังงานที่เราประเมินว่าทั้งปี 56 จะเติบในระดับ 10%YoY

คงน้ำหนักการลงทุน “เท่ากับตลาด” ราคาหุ้นถูก

แม้ราคาหุ้นในกลุ่มพลังงานมีความน่าสนใจในเชิงมูลค่า โดยซื้อขายที่ระดับ 9.6xP/E ต่ำกว่า SET ที่ระดับ 15.7xP/E แต่ผลประกอบการทั้งปี 56 ของกลุ่มยังคงอ่อนไหวตามราคาน้ำ มันดิบ อีกทั้งผลประกอบการใน 2Q56 อาจถูกกดดันจากผลขาดทุนสต๊อกน้ำมันของธุรกิจโรงกลั่น เราเลือก BCP (ซื้อ, มูลค่าพื้นฐาน 37 บาท) เป็นหุ้น Top pick มีจุดเด่นจากแนวโน้มกำไรสุทธิปี 56 ที่เติบโต 33%YoY ตามระดับการกลั่นที่สูงขึ้น 47%YoY และการเริ่มผลิตกระแสไฟฟ้าจากโครงการโซล่าร์ฟาร์มเฟส 2 ตั้งแต่เดือน มี.ค. ที่ผ่านมา

กลุ่มพาณิชย์ แนะนำ 'Neutral'คาดกำไร 1Q56 ส่วนใหญ่ลดลง QoQ

คาดว่าบริษัทในกลุ่มพาณิชย์ (BIGC, BJC, CPALL, HMPRO,MAKRO และ ROBINS) จะรายงานกำไรสุทธิงวด 1Q56 ต่ำสุดของปีที่ 7.54 พันล้านบาท (-4%QoQ. +10%YoY) อ่อนตัว QoQ หลังผ่านพ้นฤดูกาลการใช้จ่ายสูงสุดใน 4Q55 ส่วน YoY ยังคงเป็นทิศทางขาขึ้นจากการขยายสาขาเชิงรุกของผู้ประกอบการ รวมถึงกำลังซื้อและความเชื่อมั่นผู้บริโภคปรับตัวดีขึ้น โดยเฉพาะในต่างจังหวัดภายหลังการปรับเพิ่มค่าแรงขั้นต่ำ ทั่วประเทศ อย่างไรก็ตามผู้ประกอบการนำรายการส่งเสริมการขายมาใช้เพื่อเร่งยอดซื้อซึ่งกดดันอัตรากำไรขั้นต้น ขณะที่การปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำทั่วประเทศจะเป็นปัจจัยลบต่อการขยายตัวของกำไรไตรมาสแรกเช่นกัน ส่วนการลดลงของอัตราภาษีเงินได้นิติบุคคลจาก 23% เป็น 20% จะไม่สามารถชดเชยผลกระทบเหล่านี้ได้ทั้งหมด


คาดผลประกอบการปี 56 เติบโตต่อเนื่อง

เราประมาณการกำไรจากการดำเนินงานของกลุ่มฯ ปี 56 เติบโต 22%YoY ที่ 33.9 พันล้านบาท ด้วยปัจจัยสนับสนุน (i) มาตรการของรัฐช่วยกระตุ้นการบริโภค (ii) การขยายสาขาเชิงรุกต่อเนื่อง (iii) อัตรากำไรขั้นต้นที่ดีขึ้นตามส่วนผสมผลิตภัณฑ์และการประหยัดขนาดจากการสั่งซื้อสินค้า และ (iv) อัตราภาษีเงินได้นิติบุคคลปรับลดลงเหลือ 20% จาก 23% ในปี 55 คาดกำไรรายไตรมาสจะฟื้นตัว QoQ ตั้งแต่ 2Q56 เป็นต้นไป และเข้าสู่ระดับสูงสุดใน 4Q56

คงน้ำหนักการลงทุน “เท่ากับตลาด”

ราคาหุ้นของกลุ่มฯ ซื้อขายเฉลี่ยที่ 30xP/E ค่อนข้างแพงเมื่อเทียบกับ 15xP/E ของ SET สะท้อนความคาดหวังเชิงบวกต่อการเติบโตของผลประกอบการปี 56 ไปแล้ว เรายังคงเลือก HMPRO (ซื้อ/มูลค่าพื้นฐาน 15.20 บาท) เป็น Top Pick จากความโดดเด่นการเติบโต ของกำไรสุทธิปี 56 สูงสุดในกลุ่มฯที่ 30%YoY และมีแนวโน้มปรับเพิ่มมูลค่าพื้นฐานอีก 2 บาทจากการเข้าสู่ธุรกิจค้าวัสดุก่อสร้าง ขณะที่ CPALL (เก็งกำไร, มูลค่าพื้นฐาน 48.00 บาท) เริ่มน่าสนใจจากแผนเข้าซื้อกิจการ MAKRO การรวมงบการเงินจะช่วยเพิ่มกำไรสุทธิปี 57 ราว 8-10% และสร้างผลประโยชน์ร่วมในระยะยาวให้กับบริษัทฯ ซึ่งจะทำให้หุ้นมี P/E ในอนาคตที่ถูกลงเช่นกัน

กลุ่มสื่อและสิ่งพิมพ์ แนะนำ 'NEUTRAL'คาดกำไร 1Q56 เติบโตโดดเด่น 87%YoY

คาดหุ้นกลุ่มสื่อและสิ่งพิมพ์ที่เราติดตามอยู่ (MAJOR WORK VGI) มีกำไรสุทธิ 1Q56 รวมกันที่ 537 ล้านบาทเติบโตโดดเด่น 87%YoY สูงกว่าการเติบโตของอุตสาหกรรมโฆษณาโดยรวม ซึ่งนีลเส็น (ประเทศไทย) รายงานตัวเลขการใช้งบโฆษณาผ่านสื่อใน 1Q56 ที่2.6 หมื่นล้านบาทเติบโตเพียง 1% YoY

• MAJOR คาดกำไรสุทธิ 176 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 3% YoY ตามการเติบโตของธุรกิจโรงภาพยนต์แม้ฟอร์มหนังไม่โดดเด่นแต่ได้ผลบวกจากจำนวนสาขาที่เพิ่มขึ้นราว 30 สาขาจากปีก่อน

• VGI คาดกำไรสุทธิเพิ่มขึ้น 5 เท่าตัวจากปีก่อนเป็น 252 ล้านบาท ผลจากธุรกิจสื่อในระบบขนส่งมวลชนและสื่อในร้านค้าที่เติบโตดีสูง 30%YoY และ 17%YoY ตามลำดับ รวมถึงส่วนแบ่งรายได้ที่จ่ายให้ BTSC ที่ลดลงจากเดิม 50% เหลือ 5%

• WORK คาดกำไรสุทธิ 109 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 42% YoY โดยช่องฟรีทีวีที่มีการปรับขึ้นค่าโฆษณาเฉลี่ย 10%YoY ตั้งแต่ต้นปี และได้เวลาออกอากาศเพิ่มขึ้น 22% ส่วนช่องดาวเทียมมีการปรับอัตราค่าโฆษณาเพิ่มเฉลี่ย 50%YoY

คงน้ำหนักการลงทุน “เท่ากับตลาด”

ภาพรวมปี 56 เรายังคงประมาณการกำไรสุทธิของกลุ่มสื่อและสิ่งพิมพ์ภายใต้ KSS Coverage ที่ 2.4 พันล้านบาทเติบโตสูงถึง 36%YoY แต่ด้วยราคาหุ้นของกลุ่มสื่อที่ปรับเพิ่มขึ้นต่อเนื่องกว่า 27% ในช่วง 6 เดือนที่ผ่านมา สะท้อนความคาดหวังผลประกอบการที่เติบโตดีในปีนี้ไปแล้วส่วนใหญ่ ทำให้เราเลือกซื้อหุ้นที่พื้นฐานดีแต่ราคาหุ้นยัง Underperform กลุ่ม ได้แก่ MAJOR มูลค่าพื้นฐาน (มูลค่าพื้นฐาน 25.10 บาท) รับผลบวกจากการรุกขยายสาขาถึง 119 แห่งในปีนี้ และภาพยนต์ฟอร์มใหม่ที่เข้าฉายมากขึ้นจากปีก่อน และ WORK (มูลค่าพื้นฐาน 61 บาท) จากผลประกอบการปีนี้ที่เติบโตดีจากธุรกิจฟรีทีวี และทีวีดาวเทียม

กลุ่มชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ แนะนำ 'Underweight'คาด 1Q56 เติบโตจากปัจจัยเฉพาะ

คาดหุ้นกลุ่มอิเล็กทรอนิกส์ที่เราติดตามอยู่ (DELTA, HANA, SVI) มีกำไรก่อนรายการพิเศษ 1Q56 เติบโต 42%QoQ และ 56%YoY ผลจากปัจจัยเฉพาะของแต่ละบริษัท โดยคาดว่า DELTA จะมีการเติบโตโดดเด่นสุดจากความสามารถรักษายอดขายสินค้าและอัตรากำไรขั้นต้นสูงอย่างเพาเวอร์ซัพพลายสำหรับอุปกรณ์ Data Center ไว้ได้ในระดับปกติ แม้จะเป็นช่วงนอกฤดูกาล รวมถึงความสามารถควบคุมค่าใช้จ่ายการขายและค่าวิจัย/พัฒนา ทำให้ SG&A/sales ลดลง ขณะที่การเติบโตของ HANA เป็นผลจากฐานต่ำหลังอุทกภัย ส่วน SVI คาดว่ากำไรก่อนรายการพิเศษลดลงทั้ง QoQ และ YoY เนื่องจากคำสั่งซื้อที่ยังคงชะลอตัว แต่คาดว่าจะเป็นจุดต่ำสุดของปี 56

อุปสงค์ต้นน้ำของอุตสาหกรรมดีขึ้นต่อเนื่อง

ดัชนี SEMI book-to-bill ratio เดือน มี.ค. 56 ปรับตัวสูงขึ้นต่อเนื่องเป็น 1.14x และสามารถทรงตัวเหนือระดับ Benchmark ที่ 1.0x ติดต่อกันเป็นเดือนที่สาม และเป็นจุดสูงสุดใหม่ในรอบ 2 ปี 6 เดือนบ่งชี้ว่าอุปสงค์ต่อเซมิคอนดักเตอร์ซึ่งเป็นวัถุดิบต้นน้ำยังคงเติบโต และจะส่งผลบวกต่อผู้ประกอบการอิเล็กทรอนิกส์ในประเทศไทยที่เป็นผู้ผลิตขั้นกลางของอุตสาหกรรมในอีก 1 ถึง 2 ไตรมาสถัดไป ซึ่งเป็นช่วงเวลาเดียวกันกับที่เราคาดว่าอัตราการใช้กำลังการผลิต
จะกลับสู่ระดับเดียวกับก่อนเกิดอุทกภัย ปี 54 หลังติดตั้งเครื่องจักรใหม่แล้วเสร็จ เราคาดว่ามูลค่าสั่งซื้อ และส่งมอบเซมิคอนดักเตอร์ จะขยายตัวต่อเนื่องในเดือน เม.ย. 56

คงน้ำหนักการลงทุน “น้อยกว่าตลาด”

ความสามารถในการหาลูกค้าของผู้ประกอบการที่ได้รับผลจากอุทกภัยเพื่อเพิ่มอัตราการใช้กำลังผลิต ยังคงเป็นปัจจัยที่มีผลต่อการเร่งตัวของผลประกอบการ อย่างไรก็ตาม มีโอกาสที่เราจะปรับเพิ่มน้ำหนักการลงทุนของกลุ่มฯ ใน 2H56 ซึ่งคาดว่ากำไรจากการดำเนินงานจะเติบโตอย่างมีนัยยะเมื่อเทียบกับครึ่งแรกของปี SVI (ซื้อ, มูลค่าพื้นฐาน 4.80 บาท) ยังคงเป็น Top Pick คาดกำไรปกติปี 56 จะกลับมาขยายตัว 90%YoY โดดเด่นสุดในกลุ่มฯ เราแนะนำทะยอยเข้าลงทุน SVI เนื่องจากการเริ่มฟื้นตัวของผลประกอบการยังคงต้องรอในไตรมาสที่สอง

กลุ่มเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร แนะนำ 'NEUTRAL'คาดกำไร 1Q56 เติบโต 20%QoQ และ 6%YoY

กลุ่มไอซีทีที่เราติดตามอยู่ (ADVANC DTAC TRUE INTUCH และ THCOM) คาดมีกำไรจากการดำเนินงาน 1Q56 ที่ 1.54 หมื่นล้านบาท (+20%QoQ , +6%YoY) การเติบโต YoY เป็นผลจากกลุ่มผู้ให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ (ADVANC DTAC และ TRUE) มีรายได้จาก Non-voice เพิ่มกว่า 30%YoY ส่วน THCOM คาดกำไรจากการดำเนินงานเติบโต 171% สูงสุดในกลุ่ม ผลจากการขยายธุรกิจ iPSTAR และประสิทธิภาพในการทำกำไรที่ดีขึ้นหลังยกเลิกธุกิจMfone ที่มีผลขาดทุน โดยภาพรวมทั้งกลุ่มยังรับสิทธิประโยชน์ทางด้านอัตราภาษีที่ลดลงจาก 23% เหลือ 20%

ปี 56 ลงทุนขยายโครงข่าย 3G เพื่อรองรับการเติบโต

ในปีนี้คาดว่ากลุ่มผู้ประกอบการโทรศัพท์เคลื่อนจะมีการเร่งลงทุนขยายโครงข่าย 3G เพื่อรองรับการเติบโตของการใช้งานด้านข้อมูลที่คาดยังเติบโตราว 30%YoY โดยกลุ่มผู้รับประโยชน์คาดว่าเป็นกลุ่มผู้รับงานวางระบบ อาทิ SAMTEL AIT และ LOXLEY ส่วนกลุ่มผู้ให้บริการโทรศัพท์แม้คาดรายได้จะเติบโตจากตลาด non voice แต่ตั้งแต่ไตรมาส 2 ก็มีต้นทุนที่เพิ่มขึ้นจากค่าตัดจำหน่ายโครงข่ายที่กดดันประสิทธิภาพในการทำกำไร ในขณะที่ THCOM คาดว่าผลการดำเนินงานจะ Outperform กลุ่ม หลังยกเลิกธุรกิจ Mfone ทำให้ไม่ต้องแบกรับผลขาดทุนราว 600 ล้านบาทต่อปี และการขยายตลาด iPSTAR ทั้งในประเทศที่ได้ทำสัญญาเพิ่มกับ TOT และขยายตลาดต่างประเทศในจีน และ อินเดีย

คงน้ำหนักการลงทุน “เท่าตลาด” เลือก THCOM เป็น Top pick

แม้แนวโน้มผลประกอบการของกลุ่ม ICT ยังเติบโตดี แต่ราคาหุ้นได้ปรับเพิ่มขึ้นสะท้อนประเด็นดังกล่าวไปแล้ว ดัชนีของกลุ่มไอซีทีในปี 56 ซื้อขายที่ 19xP/E สูงกว่า SET ที่ 25x เราเลือก THCOM เป็น Top pick จากการเติบโตก้าวกระโดดของผลการดำเนินงานปี 56 และ Upside จากการยิงดาวเทียมไทยคม 7 -9 ใน 3ปีข้างหน้า ที่ยังไม่รวมในประมาณการ

BCP แนะนำ “ซื้อ” มูลค่าพื้นฐานเท่ากับ 37 บาท (Sum-of-the-parts)คาดการณ์กำไรสุทธิ 1Q56 ขยายตัว QoQ แต่ลดลง YoY


เราคาดการณ์กำ ไรสุทธิ 1Q56 เท่ากับ 1.5 พันล้านบาท (+33%QoQ, -37%YoY) ผลประกอบการที่ขยายตัว QoQ เป็นผลจากค่าการกลั่นรวมขยายตัวเป็น US$10.5/บาร์เรล (+9%QoQ) และระดับการกลั่นน้ำมันเพิ่มเป็น 100 พันบาร์เรล/วัน (+18%QoQ) หลังจากจากโรงกลั่นหน่วยที่ 3 กลับมาดำเนินงานตามปกติตั้งแต่เดือน พ.ย. 55 อย่างไรก็ดี กำไรสุทธิที่ชะลอตัว YoY ถูกกดดันจากค่าการกลั่นรวมอ่อนตัวลง 16%YoY เนื่องจากผลของกำไรสต๊อกน้ำมันจำนวนมากใน 1Q55 ขณะที่ระดับการกลั่นทรงตัวที่ระดับ 100 พันบาร์เรล/วัน

ประมาณการกำไรสุทธิปี 56 เติบโต 33%YoY

เราคงประมาณการกำไรสุทธิปี 56 เท่ากับ 5.7 พันล้านบาท (+33%YoY) แม้คาดว่าค่าการกลั่นพื้นฐานมีแนวโน้มชะลอตัวเหลือ US$7.8/บาร์เรล (-6%YoY) แต่กลับได้แรงหนุนจากระดับการกลั่นที่เพิ่มเป็น 108 พันบาร์เรล/วัน (+47%YoY) หลังจากโรงกลั่นทุกหน่วยกลับมาดำ เนินงานตามปกติ รวมถึงรับรู้ผลประกอบการของธุรกิจโซลาร์ฟาร์มจำนวน 2 เฟส (กำลังการผลิตตามสัญญา PPA รวม 70 เมกะวัตต์)

คงคำแนะนำ “ซื้อ” กำไรสุทธิและเงินปันผลเด่นสุดในกลุ่ม

การเติบโตของกำไรสุทธิปี 56 ถือว่าโดดเด่นที่สุดในกลุ่มพลังงาน (เฉลี่ย 10%YoY) อีกทั้งผลตอบแทนเงินปันผลระดับ 4.8% ปี 56 สูงสุดในกลุ่มพลังงานเช่นกัน (เฉลี่ย 4.5%) อีกทั้งแผนการประกาศการลงทุนรอบใหม่ (วงเงิน 3 พันล้านบาท) ภายใน 2H56 เพื่อ
สร้างการเติบโตที่ยั่งยืนในอนาคตจะช่วยหนุนราคาหุ้นระยะสั้น คงมูลค่าพื้นฐานเท่ากับ 37 บาท (Sum-of-the-parts) ราคาหุ้นปัจจุบันให้ผลตอบแทนที่น่าสนใจทั้งจากส่วนต่างราคา (7.2%) และเงินปันผล (4.8%) พร้อมกับซื้อขายที่ระดับ 8.4xP/E ต่ำกว่าค่าเฉลี่ยภูมิภาคที่ 12.7x

CPALL แนะนำ “เก็งกำไร” ราคาพื้นฐาน 48 บาท

ก่อหนี้เพื่อซื้อกิจการ ขจัดความกังวลต่อการเพิ่มทุนระยะสั้น

CPALL จะซื้อหุ้น MAKRO ที่ราคา 787 บาทต่อหุ้น จากกลุ่มผู้ถือหุ้นใหญ่ จำนวน
154.4 ล้านหุ้น (64.35%) หรือมูลค่ารวม 121.5 แสนล้านบาท (คาดเสร็จเดือน มิ.ย.56) จากนั้นจะทำคำเสนอซื้อหลักทรัพย์ส่วนที่เหลือ 85.5 ล้านหุ้น มูลค่ารวม 67.34 หมื่นล้านบาท (คาดเสร็จเดือน ส.ค. 56) โดยใช้แหล่งเงินทุนจากเงินกู้ระยะสั้น (Bridging Loan) จากสถาบันการเงิน ราว 90% ของมูลค่าซื้อกิจการ และที่เหลือจะใช้เงินสดภายในกิจการ เรามองว่าจะขจัดความกังวลต่อการเพิ่มทุนในระยะสั้น อย่างไรก็ตาม จะทำให้ Net Debt/EBITDA เพิ่มขึ้นจากศูนย์เป็น 7x ในปี 56 และคาดว่าจะลดลงมาอยู่ที่ 3x ในปี 58

ก่อให้เกิดประโยชน์ร่วมกัน (Synergy) ในระยะยาว

ผลจาก (i) เพิ่มความแข็งแกร่งให้บริษัทฯ เป็นผู้ค้าปลีกรายใหญ่อันดับสามของเอเชีย (ไม่รวมญี่ปุ่น) (ii) ทั้งร้านสะดวกซื้อ 7-Eleven และ Makro Cash and Carry Store ต่างก็เป็นผู้นำในเซกเมนต์ของตัวเอง (iii) ก่อให้เกิดการประหยัดต่อขนาดการสั่งซื้อสินค้าที่มากขึ้นอย่างมีนัยยะ คาดว่าจะช่วยประหยัดต้นทุนได้ราว 1.5 ถึง 2 พันล้านบาทต่อปี และจะเห็นผลชัดเจนตั้งแต่ปี 57 (iv) สามารถขยายสาขาภายใต้ชื่อ Makro ทั้งในไทยและประเทศใกล้เคียง (v) ที่ตั้งสาขา Makro กว่า 90% อยู่บนที่ดินของตัวเอง (Freehold) จึงมีโอกาสที่ CPALL จะใช้ประโยชน์จากที่ดินเหล่านี้ เช่น การใช้พื้นที่เป็นศูนย์กระจายสินค้าและการจัดตั้งกองทุนอสังหาริมทรัพย์ เป็นต้น และ (vi) การปรับกล ยุทธ์ของ MAKRO มาเน้นผู้ประกอบการโรงแรม และร้านอาหาร (HoReCa) มากขึ้น จะเอื้อประโยชน์ต่อ CPALL และบริษัทกลุ่มซีพี ในการสร้างความแข็งแกร่งช่องทางการจำหน่ายสินค้าอาหารสด

“เก็งกำไร” คาดผลประกอบการขยายตัวจากประมาณการเดิม

การรวม MAKRO เข้ามาในงบการเงิน กรณีเข้าซื้อหุ้น 64.35% และ 100% จะทำให้กำไรสุทธิ CPALL ปี 56 เพิ่มขึ้นจากประมาณการเดิมอีก 1-2% และปี 57 อีก 8-10% ซึ่งจะทำให้มูลค่าพื้นฐานตามวิธี DCF เพิ่มขึ้นจาก 48 บาท เป็น 61 - 67 บาทต่อหุ้น แต่มีความเสี่ยงต่อการเพิ่มทุนในระยะยาว เนื่องจากกระแสเงินสดมีแนวโน้มตึงตัวหลังการก่อหนี้ นอกจากต้องชำระดอกเบี้ยจ่ายสูงขึ้นอย่างมีนัยยะตั้งแต่ปี 57 แล้ว ยังต้องการใช้เงินลงทุนเพิ่มเพื่อขยายสาขา และการจ่ายปันผล

CPF แนะนำ 'ขาย' ราคาพื้นฐาน 28 บาท คาดรายงานกำไรใน 1Q56 แต่ขาดทุนในธุรกิจหลัก

คาดว่าธุรกิจหลักยังคงขาดทุนราว 2.5 พันล้านบาท ซึ่งดีขึ้นจากการขาดทุน 5.6 พันล้านบาทใน 4Q55 แต่แย่ลงจาก 1Q55 ที่มีกำไรก่อนรายการพิเศษราว 2.3 พันล้านบาท การขาดทุนเป็นผลจากธุรกิจกุ้งและอาหารสัตว์น้ำยังคงผลิตต่ำกว่าระดับคุ้มทุน ขณะที่ต้นทุนการเลี้ยงไก่และหมูปรับเพิ่มขึ้นเล็กน้อย QoQ ตามราคาขายบ่งบอกว่าความสามารถในการทำกำไรของธุรกิจเนื้อสัตว์อาจไม่ได้ดีขึ้นมาก โดยไตรมาสนี้ราคาเนื้อไก่อยู่ที่ 40.6 บาทต่อก.ก. (+8%QoQ, +17%YoY) และเนื้อหมูอยู่ที่ 63 บาทต่อก.ก. (+18%QoQ, +19%YoY) ) ซึ่งคาดว่าเป็นผลจากปัจจัยฤดูกาลและยังไม่มีแนวโน้มที่ชัดเจน อย่างไรก็ตามเชื่อว่า CPF จะรายงานผลประกอบการ 1Q56 ที่มีกำไร ผลจาก (i) กำไรจาก CPP (ถือหุ้น 74%) ซึ่งคาดจะมีกำไรส่งผ่านให้ CPF ราว 1.5 พันล้านบาทต่อไตรมาส (ii) กำไรจาก CPALL (ถือหุ้น 31%) ซึ่งคาดจะมีกำไรส่งผ่านให้ CPF ราว 900-1000 ล้านบาทต่อไตรมาส

ปัญหาหวัดนกในจีนยังคงต้องรอประเมินผลกระทบ

ระยะสั้นคาดว่าจะส่งผลกระทบต่อจิตวิทยาการบริโภคไก่ในจีนและจะกระทบความต้องการอาหารไก่ของ CPP (CPF ถือหุ้น 66%) ที่คิดเป็นสัดส่วนราว 23% ของรายได้รวมของ CPP (ธุรกิจอาหารสัตว์ในจีนคิดเป็นสัดส่วนเกือบ 70% ของรายได้รวมของ CPP โดยอาหารไก่ และสุกรคิดเป็นสัดส่วน 35% และ 47% ของยอดขายอาหารสัตว์)

คงคำแนะนำ “ขาย”ราคาหุ้นไม่ถูก

ความผันผวนของธุรกิจฟาร์มสัตว์และต้นทุนวัตถุดิบยังคงกดดันผลประกอบการในช่วง 1H56 ขณะที่ราคาหุ้นปัจจุบัน (15xP/E) สูงกว่าค่าเฉลี่ยของกลุ่มที่ 13.3xP/E และให้อัตราผลตอบแทนเงินปันผลเพียง 3.3% ต่อปี ยังไม่ถูกพอชดเชยความเสี่ยงด้านผลประกอบการ รวมถึงมีโอกาสถูกปรับลดประมาณการกำไรในระยะต่อไป เราคงมูลค่าพื้นฐานที่ 28 บาท อิงกับเป้าหมาย P/E ระดับ 13x ซึ่งใกล้เคียงค่าเฉลี่ยของกลุ่มอาหาร (13.3xP/E)

MAJOR แนะนำ 'ซื้อ' ราคาพื้นฐาน 25.10 บาท คาดกำไรจากการดำเนินงาน 1Q56 เพิ่มขึ้น 3%YoY

เราคาดกำไรจากการดำเนินงานใน 1Q56 ที่ 176 ล้านบาท ลดลง 4%QoQ ตามปัจจัยฤดูกาล แต่เพิ่มขึ้น 3%YoY สำหรับรายได้จากธุรกิจโรงภาพยนต์คาดเติบโต 2%YoY เป็น 1.0 พันล้านบาท แม้มีภาพยนต์ที่ทำรายได้ดีเพียง 2 เรื่อง คือคุณนายโฮ (96 ล้านบาท) และพี่มากพระโขนง (รับรู้รายได้ในไตรมาสนี้เพียง 4 วันราว 101 ล้านบาท) แต่ได้ผลบวกจากจำนวนสาขาที่เพิ่มขึ้น ส่วนรายได้จากโฆษณาปรับเพิ่มขึ้น 5%YoY เป็น 177 ล้านบาท

แนวโน้มผลประกอบการ 2Q56 คาดเติบโตโดดเด่น

จากภาพยนต์ที่คาดจะทำรายได้ดีหลายเรื่อง อาทิ พี่มากพระโขนง (รายได้เกิน 515 ล้านบาทแล้ว) และที่คาดจะทำรายได้เกิน 100 ล้านบาทอีกหลายเรื่อง ได้แก่ Iron Man3 , Fast & Furious 6 และ Man of Steel (Super Man) เราคงประมาณการกำไรสุทธิปี56 ที่ 1 พันล้านบาท (+ 27%YoY) จากปัจจัยสนับสนุน (i) ภาพยนต์ฟอร์มใหญ่ที่เข้าฉายมากขึ้นจากปีก่อน (ii) การขยายสาขาโรงภาพยนต์เพิ่มถึง 119 โรง เป็น 532 โรง (iii) ประสิทธิภาพการทำกำไรดีขึ้น โดยผลบวกเต็มปีการขอปรับส่วนแบ่งรายได้ (Film hire) จากโรงภาพยนต์ในต่างจังหวัดขึ้นเฉลี่ย 2% ในช่วงกลางปี 55 และอัตราภาษีนิติบุคคลที่ลดจาก 23% เหลือ 20%

คงคำแนะนำ “ซื้อ” ผลประกอบการเติบโตต่อเนื่อง

ผลประกอบการมีโอกาสเติบโตต่อเนื่องปี 56-57 ตามแผนในการเปิดโรงภาพยนต์แห่งใหม่เพิ่มขึ้น และการเพิ่มสัดส่วนโรงดิจิตอลมากขึ้น กอปรกับการเป็นผู้นำธุรกิจโรงภาพยนต์ที่มีส่วนแบ่งตลาดสูงสุดจะสนับสนุนการเติบโตในระยะยาว โดยราคาหุ้นปัจจุบันซื้อขายที่ 18.6xP/E ต่ำกว่าค่าเฉลี่ยของกลุ่มบันเทิงที่ 25x และจ่ายปันผลสม่ำเสมอด้วยอัตราผลตอบแทนเงินปันผลราว 5% ต่อปี รวมถึงมี Upside จากมูลค่าพื้นฐานกว่า 16% เราคงมูลค่าพื้นฐานปี 56 ที่ 25.10 บาท (อิงวิธี DCF ที่ส่วนลด 10.4%, Terminal growth rate ที่ 3%)

PS แนะนำ 'ซื้อ' ราคาพื้นฐาน 36 บาท ระดับ Presales ใน 1Q56 สูงเป็นประวัติการณ์

ยอด Presales โดยรวมใน 1Q56 เท่ากับ 12.3 พันล้านบาท (+117%YoY และ +41%QoQ) เป็นระดับที่สูงเป็นประวัติการณ์ กลุ่มโครงการที่มียอด Presales เพิ่มขึ้นโดดเด่น ได้แก่ บ้านเดี่ยว (+129%YoY และ +32%QoQ) และคอนโดมิเนียม (+84%YoY และ+161%QoQ) ในขณะที่บริษัทยังรักษาระดับยอด Presales โครงการทาวน์เฮ้าส์ไว้ที่ 4.8 พันล้านบาทใกล้เคียงกับ 4Q55 แนวโน้มยอด Presales รายปีของบริษัทยังอยู่ในช่วงขาขึ้นและ
สมมติฐาน Presales ทั้งปี 56 ของเราที่ 35.4 พันล้านบาท (+20%YoY) มีความเป็นไปได้สูเนื่องจากสัดส่วน Presales ใน 1Q56 สูงถึง 35% ของสมมติฐานทั้งปีของเรา

ผลประกอบการจะต่ำสุดใน 1Q56 และเร่งตัวขึ้นในไตรมาสที่เหลือ

ผลประกอบการ 1Q56 ของบริษัทคล้ายกับรายใหญ่โดยส่วนใหญ่นั่น คือ เติบโต YoY และ ลดลง QoQ เราคาดการณ์กำไรสุทธิใน 1Q56 จะเท่ากับ 1 พันล้านบาท (+61%YoY และ -19%QoQ) การลดลง QoQ เนื่องจากไม่มีโครงการคอนโดมิเนียมใหม่ที่สร้างเสร็จใน 1Q56 และรายได้ส่วนใหญ่มาจากกลุ่มโครงการแนวราบ ซึ่งเราคาดการณ์รายได้ใน 1Q56 จะเท่ากับ 6.6 พันล้านบาท (+42%YoY และ -21%QoQ) ฐานะทางการเงินยังคงแข็งแกร่งโดยที่อัตราส่วนหนี้สินสุทธิต่อทุน 0.86 เท่าต่ำกว่าค่าเฉลี่ยของกลุ่มและพร้อมรองรับการเปิดโครงการเชิงรุกนับตั้งแต่ 2Q56 เป็นต้นไป

คงคำแนะนำ “ซื้อ” การเติบโดดเด่นกว่ากลุ่มและราคาหุ้นถูก

ผลประกอบการปี 56 ที่จะเติบโตกว่า 40%YoY สูงกว่ากลุ่มผู้ประกอบการรายใหญ่ด้วยกัน (+14%YoY) และยอด Presales ที่กลับมาเติบโตจนเป็นระดับสูงสุดใหม่ใน 1Q56 รวมถึงราคาหุ้นปัจจุบัน 11.8xP/E ที่ค่อนข้างถูก ต่ำกว่าค่าเฉลี่ยของกลุ่ม (15xP/E) และจุดสูงสุดเดิม (18xP/E) เป็นปัจจัยสนับสนุนการเข้าลงทุน เราคงมูลค่าพื้นฐานที่ 36 บาท (อิง 14.5xP/E ค่าเฉลี่ยย้อนหลัง 3 ปี)

PTTGC แนะนำ 'ซื้อ' ราคาพื้นฐาน 90 บาท โอเลฟินส์หนุนกำไร 1Q56 ดีขึ้น 17%QoQ และ 24%YoY

คาดกำไรสุทธิ 1Q56 เท่ากับ 1.2 หมื่นล้านบาท (+17%QoQ,+24%YoY) หากไม่รวมกำไรจากอัตราแลกเปลี่ยน 1.7 พันล้านบาท มีกำไรจากการดำเนินงาน 1.1 หมื่นล้านบาท (+16%QoQ,+14%YoY) ได้แรงหนุนหลักจากส่วนต่างราคาเอทิลีน-แนฟทาเพิ่มเป็น US$434/ตัน (+27%QoQ, +89%YoY) และ HDPE-แนฟทา US$521/ตัน (+16%QoQ, +39%YoY) เช่นเดียวกับสายอะโรเมติกส์ ส่วนต่างราคาพาราไซลีน-คอนเดนเสทเท่ากับ US$666/ตัน (+4%QoQ, +14%YoY) และเบนซีน-คอนเดนเสท US$435/ตัน (+0%QoQ, +149%YoY) ในทางกลับกัน ธุรกิจโรงกลั่น ค่าการกลั่นลดเหลือ US$4.2/บาร์เรล (-10%QoQ, +11%YoY) และขาดทุนจากสต๊อกน้ำ มัน US$0.9/บาร์เรล แย่กว่าขาดทุน US$0.6/บาร์เรล ใน 4Q55 และกำไร US$4.9/บาร์เรล ใน 1Q55

ปิดซ่อมบำรุงตามแผนงานกดดันผลประกอบการ 2Q56

เรายังคงประมาณการกำไรสุทธิปี 56 ที่ 3.74 หมื่นล้านบาท (+10%YoY) พร้อมกับคาดว่าผลประกอบการ 2Q56 มีแนวโน้มชะลอตัวเหลือ 7.2 พันล้านบาท (-41%QoQ) จากแผนการปิดซ่อมบำรุงโรงงานปิโตรเคมีและโรงกลั่น ยิ่งกว่านั้นหากราคาน้ำมันดิบ (ดูไบ) ทรงตัวที่ระดับ US$100/บาร์เรล จนสิ้น 2Q56 อาจทำให้มีผลขาดทุนจากสต๊อกน้ำมันร่วมด้วย (เทียบราคาน้ำมันดิบสิ้น 1Q56 ที่ US$107/บาร์เรล)

คงคำแนะนำ “ซื้อ” ราคาหุ้นถูก

ราคาปัจจุบันให้ส่วนต่างจากมูลค่าพื้นฐาน (32%) และผลตอบแทนเงินปันผล (5.5%) พร้อมกับซื้อขายที่ระดับ 8.2xP/E ต่ำกว่าค่าเฉลี่ยภูมิภาคที่ 14.2xP/E ขณะที่ผลประกอบการมีศักยภาพขยายตัวในอนาคตจากแผนการขยายกำลังการผลิตโรงงานปิโตรเคมี การรุกสู่ต่างประเทศ และแผนเพิ่มผลิตภัณฑ์กลุ่ม HVS คงมูลค่าพื้นฐานเท่ากับ 90 บาท (DCF, WACC 10%, Terminal growth rate 2.0%)

STEC แนะนำ 'ซื้อ' ราคาพื้นฐาน 32 บาท คาดการณ์ผลประกอบการ 1Q56 เติบโตทั้ง YoY และ QoQ

คาดการณ์กำไรสุทธิใน 1Q56 เท่ากับ 334 ล้านบาท (+11%YoY และ +15%QoQ) ผลจากการรับงานประมูลใหม่จากภาครัฐที่ต่อเนื่องในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา โครงการหลักที่รับรู้เป็นรายได้ใน 1Q56 ได้แก่ รถไฟฟ้าสายสีม่วง, รถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน, และ โรงไฟฟ้า IPPของ Gulf JP ผลักดันรายได้ใน 1Q56 เพิ่มขึ้นเป็น 5.7 พันล้านบาท (+34%YoY และ +4%QoQ) นอกจากนี้บริษัทยังคงดำรงสถานะ Net Cash ซึ่งเป็นจุดเด่นของบริษัทที่ต่อเนื่องมานานกว่า 4 ปีและพร้อมประมูลงานใหม่ในอนาคตทั้งจากภาครัฐและภาคเอกชน

Backlog สูงเป็นประวัติการณ์รองรับผลประกอบการ 3 ปีข้างหน้า

ความต่อเนื่องของการรับรู้รายได้ยังคงเกิดขึ้นในอีก 3 ปีข้างหน้าซึ่งเป็นผลจาก 1) การรับงานก่อสร้างเพิ่มขึ้นต่อเนื่องนับตั้งแต่ต้นปีจนถึงปัจจุบันโดยมีมูลค่างานใหม่รวมกันประมาณ 38 พันล้านบาท เข้ามาเสริมฐาน Backlog ปัจจุบันจนเป็นมูลค่าสูงสุดใหม่ที่ 70พันล้านบาท โดยเฉพาะงานภาครัฐที่มีอายุงาน 2-3 ปี ได้แก่ รถไฟฟ้าสายสีแดง (บางซื่อ-รังสิต) สัญญาที่ 1 และอาคารรัฐสภาแห่งใหม่และ 2) การเปิดประมูลโครงการภาครัฐรอบใหญ่ที่จะเริ่มต้นตั้งแต่ปีนี้เป็นต้นไป รวมถึงการประมูลก่อสร้างโครงการโรงไฟฟ้าทั้ง IPP และ SPP ซึ่งบริษัทมีความเชี่ยวชาญสูงและมี Track Record ที่ดี

คงคำแนะนำ “ซื้อ” โอกาสเติบโตต่อเนื่องจากงานใหม่

การผู้ประกอบการรายใหญ่ที่มีโอกาสชนะประมูลด้วย Track Record ที่มีความเชี่ยวชาญในงานก่อสร้างสาธารณูปโภคที่หลากหลายรูปแบบ และฐานะทางการเงินที่แข็งแกร่งพร้อมสำหรับการประมูลโดยเฉพาะในรอบประมูลโครงการภาครัฐครั้งใหญ่ที่จะเกิดขึ้นในปีนี้ จะเป็นโอกาสในการเติบโตต่อเนื่องในระยะสามปีข้างหน้า เราคงมูลค่าพื้นฐานที่ 32 บาท อิงกับ 32.25x P/E ซึ่งเป็นค่าสูงสุดย้อนหลัง 3 ปี

TCAP แนะนำ 'ซื้อ' ราคาพื้นฐาน 50 บาท กำไรสุทธิ 1Q56 เพิ่มขึ้น 57%YoY และ 46%QoQ

TCAP รายงานกำไรสุทธิงวด 1Q56 แข็งแกร่งที่ 1.95 พันล้านบาท (+57%YoY, +46%QoQ) ปัจจัยสนับสนุนการปรับเพิ่มขึ้นของกำไรมาจาก 1) รายได้ดอกเบี้ยสุทธิเพิ่มขึ้น YoY 2) รายได้ค่าธรรมเนียมสุทธิเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะธุรกิจหลักทรัพย์ 3) กำไรจากเงินลงทุนในบริษัทร่วมเพิ่มขึ้น และ 4) ค่าใช้จ่ายการดำเนินงานลดลงจากนโยบายการควบคุมต้นทุนการ
ดำเนินงาน ด้านสินเชื่อ 1Q56 เติบโตที่ 2.1%QoQ จากการขยายตัวของสินเชื่อเช่าซื้อรถยนตเป็นหลัก ด้าน NIM ลดลง QoQ ที่ 2.6% จากอัตราผลตอบแทนของสินเชื่อลดลง ส่วน cost to income ratio ลดลง YoY และ QoQ ที่ 49.6% เนื่องจากการเติบโตของรายได้ กอปรกับควบคุมต้นทุนการดำเนินงานได้ดี หนี้เสียลดลง QoQ ทำให้ NPL ratio ลดลงที่ 4.2% และ coverage ratio เพิ่มขึ้นเป็น 74.7%

รับรู้กำไรพิเศษจากการขายธุรกิจประกันชีวิตใน 2Q56

TCAP จะรับรู้กำไรพิเศษจากการขายหุ้นทั้งหมดของธนชาตประกันชีวิต (TLIFE) กอปรกับธุรกิจธนาคารยังคงเติบโตต่อเนื่องเป็นปัจจัยหลักทำให้ผลการดำเนินงานงวด 2Q56 จะสูงสุดของปี สำหรับปี 56 เราคาดการณ์กำไรสุทธิปี 56 ที่ 10.9 พันล้านบาท (+98.8%YoY) หากไม่รวมรายการกำไรจากเงินลงทุน เราคาดว่ากำไรจากดำเนินงานปกติปี 56 เติบโต 15.6%YoY เป็น 14.9 พันล้านบาท

คงคำแนะนำ “ซื้อ” Valuation ถูกสุดในกลุ่มธนาคาร

เราคงมุมมองบวกต่อพื้นฐานแข็งแกร่ง กำไรงวด 2Q56 สูงสุดของปี และการทำสัญญาธุรกิจ bacassurance กับกลุ่มพรูเด็นเชียลระยะยาวรวม 15 ปี จะช่วยชดเชยกำไรที่ขาดหายไปจากการขาย TLIFE ได้ นอกจากนี้ เงินกองทุนจะเพิ่มขึ้นราว 2% จากการขาย TLIFE ทำให้งบดุลแข็งแกร่งขึ้นรองรับการขายธุรกิจในอนาคต ด้านการประเมินมูลค่า TCAP ซื้อขายที่ 1.1xP/BV ถูกสุดในกลุ่มธนาคาร

THCOM แนำนำ 'ซื้อ' ราคาพื้นฐาน 36.2 บาท คาดกำไร 1Q56 เติบโตทั้ง QoQ และ YoY

เราคาดกำไรสุทธิใน 1Q56 ที่ 355 ล้านบาท ปรับเพิ่มขึ้น โดดเด่น 186% QoQ และ 738%YoY แม้ว่าไตรมาสนี้รายได้จากธุรกิจดาวเทียม (iPSTAR และไทยคม 5) คาดเพียงแค่ทรงตัวจากไตรมาสก่อน แต่ได้ผลบวกจากการที่ต้นปี 56 บริษัทได้ยกเลิกการดำเนินธุรกิจโทรศัพท์เคลื่อนที่ Mfone ซึ่งปกติมีผลขาดทุนเฉลี่ยไตรมาสละ 120 ล้านบาท ส่งผลให้รายได้จากการให้บริการรวมปรับลดลง 5% QoQ และ 3% YoY ในขณะที่ EBITDA Margin ปรับเพิ่มขึ้นจาก 41% ใน 1Q55 และ 48% ใน 4Q55 เป็น 51%

คาดปี 56 – 57 เติบโตเฉลี่ยกว่า 4 เท่าตัวจากปี 55

ด้วยปัจจัยสนับสนุนจาก 1) การขยายตลาด iPSTAR โดยตลาดภายในประเทศได้มีการเซ็นสัญญากับลูกค้า TOT ใช้แบนด์วิธเพิ่มราว 4% ในขณะที่ตลาดต่างประเทศ สำหรับตลาดจีน มีการเซ็นสัญญากับบริษัท Vast ในการขายช่องสัญญาณดาวเทียมทั้งหมดในจีนซึ่งคิดเป็น 24% ของแบนดฺวิช ในขณะที่ตลาดอื่นๆที่มีศักยภาพการเติบโตสูงได้แก่ ตลาดอินเดีย คาดเพิ่มแบนดฺวิช 2% ต่อปี ในปี 55 - 56 รองลงมาเป็นตลาด ออสเตรเลีย มาเลเซีย และอินโดนีเซีย 2) การยกเลิกธุรกิจ Mfone ในกัมพูชาซึ่งมีผลขาดทุนราว 500 ล้านบาทต่อปี ส่งผลให้ EBITDA Margin ปรับตัวดีขึ้นจากปีก่อนที่ 45% เป็น 51.7% 3) การยิงดาวเทียมไทยคม 6 ที่จะยิงช่วง 3Q56 และรับรู้รายได้ใน 4Q56 โดยคาดมีกำไรตั้งแต่ปีแรกที่ดำเนินการ จากที่ปัจจุบันมี Presales แล้ว 40% ของ Utilization สูงกว่าระดับคุ้มทุน ณ ที่ 30%

คงคำแนะนำ “ซื้อ” จากแนวโน้มการเติบโตในระยะยาว

คาดผลการดำเนินงานในปี 56 ที่เติบโตโดดเด่นสุดในกลุ่มสื่อสารระยะยาวโตต่อเนื่องจากแผนในการยิงดาวเทียมดวงใหม่ ไทยคม 7 และคาดจะเริ่มจ่ายปันผลเป็นปีแรกที่ 0.73 บาท คิดเป็นอัตราผลตอบแทนปันผล 2.2% เราคงมูลค่าพื้นฐานปี 56 ที่ 36.20 บาทอิงวิธี DCF (WACC 10% ตลอดอายุสัญญาสัมปทานปี 2565)

TUF แนะนำ 'ซื้อ' ราคาพื้นฐาน 66 บาท คาดรายงานกำไรสุทธิ 1Q56 ลดลงทั้ง QoQ และ YoY

คาดว่า TUF จะรายงานกำไรสุทธิ 1Q56 ที่ระดับ 532 ล้านบาท จากกำไรอัตราแลกเปลี่ยน 290 ล้านบาท และกำไรจากการดำเนินงาน 242 ล้านบาท (-60%QoQ, -80%YoY) การแย่ลงทั้ง QoQ และ YoY เป็นผลจาก (i) ธุรกิจกุ้งมีปริมาณขายอาหารกุ้งและส่งออกกุ้งลดลง ผลจากโรคระบาด EMS (ii) ธุรกิจทูน่า OEM ยังไม่สามารถปรับเพิ่มราคาขายผลิตภัณฑ์ตามต้นทุนที่ปรับขึ้น


คาดผลประกอบการจะฟื้นตัวใน 2Q56 แต่จะเร่งตัวตั้งแต่ 3Q56


การอ่อนตัวของประกอบการ 1Q56 เกิดจากปัจจัยกดดันพร้อมกันทั้งสามปัจจัยทั้งการปรับขึ้นของต้นทุนวัตถุดิบทูน่าขณะที่ไม่สามารถปรับราคาขายขึ้นตามได้, โรคระบาด EMS ในธุรกิจกุ้งที่กดดันความต้องการอาหารกุ้งและวัตถุดิบกุ้งและการแข็งค่าของเงินบาท ซึ่งเป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นไม่บ่อย เรายังมองโอกาสฟื้นตัวใน 2Q56 ตามปัจจัยฤดูกาลสำหรับธุรกิจทูน่าและอาหารทะเลอื่นๆ และคาดว่าจะกลับมาเร่งตัวตั้งแต่ 3Q56 เป็นต้นไปเมื่อปัญหาในธุรกิจกุ้งคลี่คลายลง ขณะที่ธุรกิจอื่นๆจะสนับสนุนการเติบโตตลอดช่วงที่เหลือของปี ทั้ง MWB และผลิตภัณฑ์มูลค่าเพิ่มสูงอื่นๆรวมถึงปลากระป๋องยังมีแนวโน้มเติบโตต่อเนื่อง, COS ในสหรัฐฯ คาดว่าผลประกอบการจะกลับมามีกำไร รวมถึงธุรกิจอาหารสัตว์เลี้ยงในสหรัฐ จะเริ่มทำการตลาดจริงจังในปีนี้หลังได้ผู้บริหารครบทีมแล้ว

คงคำแนะนำ “ซื้อ”จากโอกาสเติบโตหลังปี 56

คาดว่าผลประกอบการจะถึงจุดต่ำใน 1Q56 และจะเริ่มฟื้นตัวใน 2Q56 ขณะที่การเป็นผู้นำตลาดที่มีความแข็งแกร่งทั้งด้านตราผลิตภัณฑ์และความได้เปรียบด้านต้นทุนวัตถุดิบยังเป็นปัจจัยสนับสนุนการเติบโตหลังปี 56 ขณะที่ราคาหุ้นปัจจุบัน (12.7xP/E) เริ่มซื้อขายถูกกว่าค่าเฉลี่ยกลุ่มอาหารในภูมิภาค (13.3xP/E) รวมถึงโอกาสจ่ายปันผลต่อเนื่องด้วยผลตอบแทนปันผลราว 4% ต่อปี และโอกาสเติบโตจากการเข้าซื้อกิจการ เราคงมูลค่าพื้นฐานปี 56 ที่ 66 บาท อิงกับเป้าหมาย P/E ที่ 15 เท่า (+1SD ของข้อมูลย้อนหลัง 4 ปี)

ช่วงเวลาของ Bland กำลังจะกลับมา(บทวิเคราะห์ เมย์แบงก์ กิมเอ็ง)part.1

 ช่วงเวลาของ Bland กำลังจะกลับมา(บทวิเคราะห์ เมย์แบงก์ กิมเอ็ง)part.1
คำชี้แจงที่สำคัญ : บล. เมย์แบงก์ กิมเอ็ง (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) มีธุรกิจกับบริษัทในเครือหรือบริษัทที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับ บมจ. บางกอกแลนด์ (BLAND)
ประเด็นการลงทุน : เรามีมุมมองในเชิงบวกต่อ BLAND โดยคาดว่า BLAND จะเป็นหุ้นที่ได้รับความสนใจจากนักลงทุนมากทีสุดหุ้นหนึ่งนับจากนี้ไป หลังจากเราได้เข้าพบคุณอนันต์ กาญจนพาสน์ ซึ่งถือว่าเป็นการให้ข้อมูลกับนักวิเคราะห์ MBKET เป็นครั้งแรกในรอบ 3 ปี จุดเด่นของ BLAND ที่เราชอบ ได้แก่1) ความเป็นผู้นำในการบริหารศูนย์แสดงสินค้า โดยปัจจุบัน IMPACT มีขนาดใหญ่ที่สุดในประเทศไทย 2) การนำเอา REIT มาใช้เป็นเครื่องมือในการระดมทุนเพื่อรองรับการเติบโตในระยะยาว 3) บทบาทของการเป็นผู้พัฒนาอสังหาริมทรัพย์ ซึ่งปัจจุบันมีที่ดินที่มีต้นทุนต่ำบริเวณศรีนครินทร์รอพัฒนาอีกมาก ส่งผลให้มีความได้เปรียบคู่แข่งในเรื่องราคาขาย และ 4) บริษัทมีฐานะการเงินแข็งแกร่งไม่มีหนี้สิน ดังนั้น เราจึงแนะนำ ซื้อ BLAND โดยมีราคาเป้าหมาย 12 เดือน เท่ากับ 2.8 บาท คิดเป็น Upside gain จากราคาปิดที่ 1.83 บาท เท่ากับ 53%
REIT จะหนุนให้ปีนี้โดดเด่น: ในช่วงปลายปีนี้ BLAND จะจัดตั้งกองทรัสต์หรือ REIT โดยสินทรัพย์ที่ใช้คือ IMPACT ทั้งหมดมูลค่ากองทุนประมาณ 19,000 ล้านบาทและ BLAND จะกลับเข้าไปถือ 50% ของหน่วยทั้งหมด เราคาด BLAND จะได้เงินทุนหมุนเวียนเข้ามา 8,000 ล้านบาทและกำไรพิเศษสุทธิประมาณ 2,800 ล้านบาท ซึ่งกลยุทธ์ของบริษัทในอนาคตคือจะนำสินทรัพย์ที่มีอยู่จัดตั้งเป็น REIT อย่างต่อเนื่องและนำผลตอบแทนที่ได้กลับเข้าลงทุนโดยเน้นการดึงสินทรัพย์ที่มีอยู่ซึ่งยัง Under Value ให้มี Value เพิ่มขึ้นเพื่อต่อยอดผลตอบแทนต่อผู้ถือหุ้น เราประเมินว่ากลยุทธ์นี้ BLAND เป็นหนึ่งในผู้ประกอบการไม่กี่รายในประเทศไทยที่สามารถทำได้ และด้วยศักยภาพของสินทรัพย์ที่มีคาดว่าจะทำให้บริษัทเติบโตในระยะยาวได้
โครงการใหม่ 3 แห่งที่เป็นกุญแจหลักและบริษัทมีฐานะการเงินแข็งแกร่งเพียงพอ : เราให้ความสำคัญกับโครงการใหม่ของ BLAND ในช่วง 1 – 3 ปีข้างหน้าอยู่ 3โครงการใหญ่ด้วยกันคือ IMPACT 2 ซึ่งจะเป็นการเพิ่มพื้นที่เช่าจากเดิมกว่า 50% หรืออีก 100,000 ตร.ม. กำหนดสร้างเสร็จปี 2558 และอีก 2 โครงการใหญ่ซึ่งจะใช้ที่ดิน Land Bank เดิมและเน้นการเพิ่มมูลค่าโดยที่อยู่นอกเมืองทองธานีคือ โครงการที่อยู่อาศัยแนวราบบริเวณศรีนรินทร์บนที่ดินกว่า 1,000 ไร่จะเริ่มเห็นเฟสที่ 1 ในช่วงเดือน ต.ค. นี้ และโครงการโรงแรม 5 ดาวบริเวณมักกะสัน นอกจากนี้จะเราจะเห็นส่วนที่เป็นโครงการต่อเนื่องในปีนี้ไม่ว่าจะเป็นคอนโดมิเนียม Double Lake เฟส 2-3 และโครงการศูนย์การค้าขนาดเล็กในเมืองทองธานี โดยทั้งหมดคาดจะใช้เม็ดเงินลงทุนประมาณ 10,000 – 15,000 ล้านบาทและเราเชื่อว่า BLAND มีศักยภาพด้านการเงินแข็งแกร่งเพียงพอสนับสนุนด้วยเงินทุนหมุนเวียนที่ได้มาจาก REIT
กำไรปี 2556/2557 ได้แรงหนุนจาก REIT: เราประเมินกำไรสุทธิของ BLAND ในปี 2556/2557 เท่ากับ 4,141 ล้านบาท (+77% YoY) โดยได้แรงหนุนกำไรพิเศษจาก REIT สุทธิประมาณ 2,800 ล้านบาทซึ่งคาดว่าจะจัดตั้งได้ในช่วงปลายปี 2556 อย่างไรก็ตามเรายังไม่ได้รวม IMPACT 2 โรงแรมมักกะสัน และ IBIS ในประมาณการซึ่งจะเป็น upside risk ในอนาคตในปี 2558
ความเสี่ยง : ความต้องการใช้พื้นที่ศูนย์แสดงสินค้ามีความสัมพันธ์กับการเติบโตของเศรษฐกิจทั้งในระดับโลก ภูมิภาค และเศรษฐกิจในประเทศค่อนข้างมาก ดังนั้น หากมีปัจจัยที่กระทบต่อความเชื่อมั่นและการบริโภค อาจะมีผลต่อระดับค่าเช่าและการใช้พื้นที่ได้
เริ่มต้นคำแนะนำที่ ซื้อ ราคาเป้าหมาย 2.80 บาท/หุ้น : จากสมมติฐานการประเมินมูลค่าที่เหมาะสมด้วยวิธี P/BV เนื่องจาก BLAND มีสินทรัพย์ที่โดดเด่นและสินทรัพย์ส่วนใหญ่เป็นสินทรัพย์ที่ยังต่ำกว่ามูลค่าจริงโดย BLAND อยู่ในช่วงเริ่มต้นของการนำสินทรัพย์มาพัฒนาและเพิ่มผลตอบแทน เราให้ระดับราคาเป้าหมาย P/BV เท่ากับ 1.6 เท่า ราคาเป้าหมายเท่ากับ 2.80 บาท/หุ้น

ไอเอ็มเอฟจับตาทุนไหลเข้าเอเชีย @ เตือนผู้กำหนดนโยบายระวังเศรษฐกิจร้อนเกินไป


ไอเอ็มเอฟจับตาทุนไหลเข้าเอเชีย
@ เตือนผู้กำหนดนโยบายระวังเศรษฐกิจร้อนเกินไป

ต่างประเทศ วันพฤหัสบดีที่ 02 พฤษภาคม 2556 
ผู้เข้าชม : 11 คน 

สิงคโปร์ - ไอเอ็มเอฟกำลังจับตาอย่างใกล้ชิดต่อเงินทุนจำนวนมากที่กำลังไหลเข้าสู่เอเชีย  พร้อมเรียกร้องให้ผู้กำหนดนโยบายในภูมิภาคระวังความเสี่ยงที่เศรษฐกิจจะร้อนแรงเกินไป  แม้ไอเอ็มเอฟไม่ได้ระบุว่าประเทศใดที่มีความเสี่ยงจะร้อนแรงเกินไป     แต่ในช่วงนี้ ตลาดหุ้นในอินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ และไทย ได้ปรับตัวขึ้นอย่างรุนแรง    ขณะเดียวกัน นักเศรษฐศาสตร์ชื่อดังชี้ ราคาหุ้นจะเพิ่มขึ้นในช่วงสองปีข้างหน้าเนื่องจากธนาคารกลางสหรัฐยังคงพยายามกระตุ้นเศรษฐกิจต่อไป
กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (ไอเอ็มเอฟ) ระบุว่า ระดับเงินทุนที่ไหลเข้าสู่เอเชียซึ่งได้ส่งผลให้ราคาที่ดินและราคาหุ้นในเอเชียพุ่งแรง  กำลังเข้าใกล้หรือสูงกว่าแนวโน้มในอดีตของเศรษฐกิจส่วนใหญ่ ซึ่งรวมถึงเศรษฐกิจในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ด้วย
อนูพ ซิงห์  ผู้อำนวยการฝ่ายเอเชียแปซิฟิกของไอเอ็มเอฟ กล่าวว่า กำลังเห็นแรงกดดันทางการเงินหรือความเสี่ยงที่เกิดความไม่สมดุล เพิ่มมากขึ้น และเพราะว่าแรงกดดันเหล่านี้สามารถเลวร้ายลงอย่างรวดเร็ว ไอเอ็มเอฟจึงกำลังจับตาอย่างระมัดระวัง ดังนั้น ความท้าทายที่ผู้กำหนดนโยบายเผชิญอยู่ในขณะนี้ก็คือ จะป้องกันไม่ให้เกิดความไม่สมดุลของแต่ละชาติได้อย่างไร ในขณะเดียวกันยังคงต้องอุดหนุนการเติบโตอย่างเหมาะสมต่อไป
ซิงห์ได้แสดงความเห็นข้างต้นในระหว่างการการเปิดตัวแนวโน้มเศรษฐกิจในภูมิภาคของไอเอ็มเอฟ ซึ่งยังคงคาดการณ์ว่า เอเชียจะโต 5.7% ในปีนี้
ซิงห์กล่าวว่า ประเด็นเบื้องต้นของไอเอ็มเอฟคือ โดยทั่วไปแล้วความวิตกเกี่ยวกับเสถียรภาพของชาติในเอเชีย กำลังเพิ่มขึ้น และใกล้หรือสูงกว่าแนวโน้มในเศรษฐกิจส่วนใหญ่ โดยรวมถึงอาเซียนด้วย ดังนั้นผู้กำหนดนโยบายเงินจำเป็นต้องพร้อมที่จะจับตาแต่เนิ่นๆและอย่างเด็ดขาด ต่อความเสี่ยงที่จะเกิดความร้อนแรงเกินไป
ไอเอ็มเอฟไม่ได้ระบุว่าประเทศใดที่มีความเสี่ยงจะร้อนแรงเกินไป     แต่ในช่วงนี้ ตลาดหุ้นในอินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ และไทย ได้ปรับตัวขึ้นอย่างรุนแรง
ราคาที่ดินในเศรษฐกิจอย่างฮ่องกงและสิงคโปร์ก็ร้อนแรงเช่นกัน ทำให้รัฐบาลเหล่านี้ต้องออกมาตรการเพื่อทำให้มันเย็นลง  รายงานของไอเอ็มเอฟ ระบุว่า จนถึงขณะนี้โดยทั่วไปแล้วเงินทุนที่ไหลเข้ายังไม่มากเกินไป แต่อาจถึงระดับที่ยากต่อการบริหารจัดการได้
เงินทุนของกองทุนจากเศรษฐกิจอุตสาหกรรมที่ไหลเข้าสู่เอเชียเป็นจำนวนมากเพื่อที่จะได้รับผลตอบแทนสูงขึ้น และการปล่อยสินเชื่ออย่างง่ายดายภายในประเทศเพราะอัตราดอกเบี้ยต่ำ  ได้ทำให้ราคาสินทรัพย์สูงขึ้นอย่างรุนแรง
แรงซื้อเพื่อเก็งกำไรซึ่งตรงกันข้ามกับการลงทุนในระยะยาว ได้ก่อให้เกิดความวิตกเกี่ยวกับฟองสบู่ราคาสินทรัพย์ซึ่งอาจแตกลงได้โดยง่ายเมื่อมีการถอนเงินทุนออกอย่างรวดเร็วเหมือนกับที่มันเข้ามา ซึ่งจะสร้างความเสียหายอย่างรุนแรงต่อระบบการเงิน
ไอเอ็มเอฟกล่าวว่า รัฐบาลในเอเชียกำลังเผชิญกับการสร้างความสมดุลอันเปราะบางที่จะต้องสนับสนุนการเติบโตของเศรษฐกิจในขณะเดียวกันก็ต้องบริหารจัดการกับการไหลเวียนของเงินเป็นจำนวนมาก  โดยไอเอ็มเอฟแนะนำว่า เงินเหล่านี้ควรจะไปลงทุนในด้านสาธารณูปโภค การศึกษา และสุขภาพ เพื่อสนับสนุนให้เศรษฐกิจเติบโตอย่างยั่งยืนและครอบคลุม
และยัง เรียกร้องให้รัฐบาลในภูมิภาคขยายแหล่งรายได้ภายในประเทศด้วย
ในขณะเดียวกัน นูรีล รูบินี ศาสตาจารย์ด้านเศรษฐศาสตร์ของมหาวิทยาลัยนิวยอร์ก ซึ่งเคยทำนายว่าจะเกิดวิกฤติที่อยู่อาศัยในสหรัฐ  กำลังคาดการณ์ว่าราคาหุ้นจะเพิ่มขึ้นในช่วงสองปีข้างหน้าเนื่องจากธนาคารกลางสหรัฐยังคงพยายามกระตุ้นเศรษฐกิจต่อไป
อย่างไรก็ดี รูบินี หรือดร.ดูม กล่าวว่า ผู้ซื้อต้องระวังเพราะวันชำระบัญชีกำลังซุ่มโจมตีในตอนปลายๆ ของช่วงสองปี โดยเขาคิดว่า ธนาคารกลางสหรัฐและธนาคารกลางอื่นๆ ทั่วโลก สามารถและจะอุดหนุนหุ้นและพันธบัตรในช่วงสองปีถัดไป
รูบินีกล่าวว่า เฟดกำลังสร้างปัญหาแบบเดียวกับที่ได้ทำให้เกิดวิกฤติการเงินเมื่อปี 2551 ด้วยการรักษาอัตราดอกเบี้ยให้อยู่ใกล้ศูนย์ โดยชี้ว่า ตลาดพันธบัตรขยะเป็นตัวอย่างหนึ่งของฟองสบู่ และเมื่อถึงจุดหนึ่งจะมีปัญหาลอยตัวขึ้น  และเมื่อแรงโน้มถ่วงก่อตัวขึ้น จะไม่เกิดภาวะถดถอย แต่จะเกิดภาวะเศรษฐกิจตกต่ำ
รูบินี กล่าวว่า เนื่องจากการเติบโตทั่วโลกลดลง จึงเป็นไปไม่ได้ที่จะรักษาหุ้นและพันธบัตรให้อยู่ที่การประเมินมูลค่าเหล่านี้  ความวิตกเกี่ยวกับการเติบโตทั่วโลกจะเป็นนัยว่าราคาโภคภัณฑ์ควรจะลดลง ผลตอบแทนพันธบัตรควรจะต่ำลง และหุ้นควรจะลดลง
ตามความเห็นของรูบินี ยุโรปยังคงเป็นตัวคุกคามที่สำคัญสุดหรือเป็นความเสี่ยงที่นานครั้งจะเกิดแต่สร้างความเสียหายมาก และเริ่มมีความชัดเจนว่า ภาวะถดถอยได้ย้ายจากประเทศเล็กๆ ในยุโรปเข้าสู่ประเทศใหญ่ๆ และมีเยอรมนีประเทศเดียวที่ค่อนข้างมีภูมิคุ้มกัน

บทเรียน“ช้ำหนักเพราะรักวีไอ” จุ๊บ-ชลิตาVSตาร์-จักรรินทร์

บทเรียน“ช้ำหนักเพราะรักวีไอ” จุ๊บ-ชลิตาVSตาร์-จักรรินทร์

“เล่นหุ้นห้ามใจร้อน ข้อมูลไม่ปึ่กอย่าซ่าช้อน” วิถีแห่งหุ้นแนวนี้ “ชลิตา สมบุญเรืองศรี” เจ้าของลายเส้นการ์ตูน Mao investor
ชื่อ:  news_img_508582_1.jpg
ครั้ง: 1064
ขนาด:  45.5 กิโลไบต์

“เจ็บหนัก” เพราะรัก VI!!

ก่อน “จุ๊บ” ชลิตา สมบุญเรืองศรี บล็อกเกอร์คนดังแห่งเว็บไซด์ maoinvestor.com เจ้าของชื่อล็อกอิน “ไม้ไต่คู้” ณ ห้องสินธร เว็บไซด์ PANTIP จะ “โด่งดัง” จากโพสต์การ์ตูนเรื่อง “สารคดีชีวิตสัตว์โลก แมลงเม่า Malaeng- Mao investor” ที่จรดปากกาวาดเอง

ครั้งหนึ่ง “ชะตากรรม” ของเธอ เคยตกอยู่ในห้วง “ช้ำใน จุกอก พูดไม่ออก”

“ใจร้อน ไร้ความรู้ ลอกหุ้นคนดัง” คือ วิถีลงทุน “ตลาดหุ้น” ในช่วงแรกเริ่มของ “เม่าน้อยไร้เดียงสา” “จุ๊บ” ปฏิบัติการณ์เผยแพร่ “ความช้ำใจ” ให้โลกซาบซึ้ง ชนิดไม่เก็บตังค์สักบาท ด้วยการนำเสนอเรื่องราวผ่านตัวการ์ตูน เธอโพสต์ลงห้องสินธรเพียงไม่กี่ตอน เรื่องก็ขึ้นแท่น “กระทู้แนะนำ” ก่อนจะมีสำนักพิมพ์ติดต่อขอรวมเล่ม

“เล่นหุ้นกับพี่เม่า” พ็อกเก็ตบุ๊คเล่มแรกในชีวิต "จุ๊บ" เน้นบอกเล่าชีวิตการลงทุนของตัวเธอ แฟนหนุ่มและคนรอบข้างล้วนๆ ถูกตีพิมพ์มาแล้วถึง 6 ครั้ง มียอดขายเป็นหมื่นเล่ม (17,700 เล่ม) จากยอดพิมพ์ทั้งหมด 21,000 เล่ม ภายในเดือนส.ค.นี้ เล่ม 2 พร้อมตีพิมพ์ “เงินทองของหายาก” น้องใหม่ล่าสุด ซึ่งจัดพิมพ์โดย “เนชั่น อินเตอร์เนชั่นแนล เอ็ดดูเทน เมนท์”

ความ “ฮอตฮิต” ของ “เม่าน้อย” ยังถูกการันตี ด้วยยอด “กดไลท์” 46,668 ไลท์ ผ่านเพจบน Facebook ในชื่อว่า Mao-Investor ครั้งหนึ่งเคยมี “บุรุษนิรนาม” โทรมาโอ้อวดสรรพคุณ หวังใช้ชื่อ Mao-Investor หาประโยชน์เข้าเป๋าตัวเอง “เรามีคอนเน็คชั่นมากมาย รู้จักคนดังเรื่องหุ้นเพียบ หากคุณยกหน้าเพจให้รับรองรุ่ง” บนสนทนายังไม่ทันยุติ เธอรีบปฎิเสธก่อนยืดเยื้อ

โครงการยูดีไลท์ ย่านจตุจักร จุดนัดพบที่ “จุ๊บ” ชลิตา สมบุญเรืองศรี ที่มาพร้อม “แฟนหนุ่ม” “ตาร์”จักรรินทร์ พงศ์ศรีรัตน์ นัดเล่าความหลังเรื่องหุ้นๆกับ “กรุงเทพธุรกิจ Biz Week” พอร์ตของเราสองคนแยกกัน เริ่มลงทุนในระยะเวลาใกล้เคียงกันราวๆ 3 ปีก่อน วีถีลงทุนไม่ค่อยเหมือนกัน “จุ๊บ” “ใจร้อน ไม่ไหวจะรอ” ส่วน “พี่ตาร์” “ใจเย็น มีเป้าหมาย” ซื้อหุ้นตัวเดียวกัน แต่พี่ตาร์ได้กำไร ส่วนเราซิ “นอนปวดใจ” (หัวเราะ) “สาวจุ๊บ” วัย 28 ปี เปิดบทสนทนา

ตอนเด็กๆจุ๊บใช้ชีวิตอยู่กับพ่อแม่และน้องชายในจังหวัดสมุทรปราการ ก่อนครอบครัวจะย้ายมาค้าขายแถวถนนจันทน์ หลังเรียนจบชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายจากโรงเรียนสตรีมหาพฤฒาราม ก็ตัดสินใจเลือกสอบคณะวิศวกรรมศาสตร์ สาขาคอมพิวเตอร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (วศ.87)

ทันทีที่เรียนจบ ก็เดินเข้าสู่เส้นทาง “มุนษย์เงินเดือน” ด้วยการทำงานในบริษัท ไอทีวัน จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทในเครือปูนซิเมนต์ไทย (เอสซีจี) ทำได้ 2 ปีกว่า ก็ย้ายมาทำงานในบริษัท A-TOS ทุกวันนี้ก็ยังนั่งทำงานที่นี่ 
เชื่อมั้ย 2 ปีกว่าที่ทำงานใน “ไอทีวัน” จุ๊บมีเงินเก็บเกือบ 3 แสน!!

“จุดเริ่มต้น” ซื้อหุ้น เกิดขึ้นในปี 2554 ครั้งหนึ่งเพื่อนสนิทที่เพิ่งเป็น “เม่าน้อยหน้าใหม่” ยื่นหนังสือ Rich Dad Poor Dad (พ่อรวยสอนลูก) ของ “โรเบิร์ต คิโยซากิ” “แกต้องอ่านให้จบภายในวันเดียว!!” คุณเพื่อนบังคับ ตอนนั้นเกิดคำถามในใจ “ทำไมละ?” แต่ก็ไม่ได้ถามกลับไป สงสัยเป็น “กลลวง” เพื่อนรู้ว่าเราไม่ชอบอ่านหนังสือ (หัวเราะ) หนังสือ “ตีแตก” ของ “ดร.นิเวศน์ เหมวชิรวรากร” ก็มีโอกาสได้อ่าน
พลิกหนังสือ 2 เล่มจบ รู้สึก เออ!! ตลาดหุ้นไม่แย่อย่างที่คิด เมื่อก่อนพ่อกับแม่เคยห้าม “อย่าไปเล่นหุ้น การพนันชัดๆ”

หลังจากนั้น “ทัศนคติ” เกี่ยวกับเรื่องหุ้นๆเริ่มเปลี่ยนไป จุ๊บตัดสินใจไปเปิดพอร์ตวงเงิน 2 แสนบาท แต่ใส่เงินเล่นหุ้นเริ่มแรกเพียง 15,000 บาท กับเพื่อนสนิทที่เป็นมาร์เก็ตติ้งอยู่ในบล.โนมูระ พัฒนสิน เมื่อก่อนเพื่อนกล่อมให้เล่นหุ้นแทบทุกวัน แต่ใจแข็ง!!

หุ้นตัวแรกของพอร์ต!! คือ หุ้น แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส (ADVANC) ทำไมต้องตัวนี้?? ในหนังสือ “ตีแตก” สอนว่า คุณควรเลือกหุ้นที่เป็นอันดับ 1 ของอุตสาหกรรม ตอนนั้นเราคิดว่า โทรศัพท์มือถือใช้กันทุกวัน ADVANC ก็เป็นเบอร์หนึ่งของธุรกิจนี้ ทำให้ตัดสินใจซื้อไม่ยาก แต่เก็บไม่เยอะ น่าจะได้มาช่วง 91 บาท สอยมาได้ 10 วัน มีข่าวฟ้องร้อง ราคาหล่นซะงั้นเหลือแค่ 70 บาท คุณพระ!!

“เศร้ามาก” ช่วงนั้นอารมณ์นี้เลย ในหัววนเวียนคิด หนังสือ “ตีแตก” บอกว่า “หุ้นจะเติบโตไปพร้อมเรา” ไหนละ ไหนละ!! (หัวเราะ) ตอนนั้นพี่ตาร์สอนให้รู้จัก “ซื้อถัวเฉลี่ย” ช่วงนั้นเลยรู้สึกดีขึ้นมานิดๆ “ต้นทุนไม่สูงละ” แต่สุดท้ายราคาลงต่อเนื่อง ทำให้ราคาลงมาต่ำกว่าราคาถัวเฉลี่ยอีก ยิ่งต่ำยิ่งไม่ยอมปล่อย ผ่านมา 2-3 เดือน เมื่อ “ข่าวซา” ราคาดีดกลับเรารีบขายเลย ช่วงนั้นยังไม่รู้จักวิธี “ตัดขายขาดทุน” (Stop Loss)

หุ้นตัวแรกก็ขาดทุนซะแล้ว!! แต่เรา “ไม่เข็ด” เริ่มแรกคนทำกิจการส่วนใหญ่ “เจ๊ง” เยอะแยะ (พูดปลอบใจตัวเอง)

คราวนี้ข้ามฟากมาเก็บหุ้นน้ำมัน “ปตท.สำรวจและผลิตปิโตรเลียม” (PTTEP) เพื่อนที่เป็นมาร์เก็ตติ้ง “เชียร์” เขาบอก “อนาคตไกล กราฟสวย ราคาเป้าหมาย 178 บาท” ตอนนั้นไม่มีความรู้ ไม่เข้าใจสิ่งที่เพื่อนพยายามพูด แถมซ่าไม่ถามกลับอีกต่างหาก

คิดเพียงว่า “เพื่อนเป็นมาร์เก็ตติ้งต้องมีความรู้มากกว่าเรา” แต่ดันลืมนึกไปว่า “ไอ้เพื่อนเนี่ย อายุงานก็เท่าๆกับเรา” จำไม่ผิดซื้อมา 170 บาท ไม่นานราคาเหลือ 160 กว่าบาท คราวนี้ไม่ยอมซื้อถัวเฉลี่ย ถือไว้สักพัก พอราคาดีดขึ้นก็รีบทิ้ง 

เธอ เล่าต่อด้วยอาการเมามันส์ว่า ซื้อหุ้น 2 ตัว ไม่ได้กำไรสักบาท คราวนี้เปลี่ยนกลยุทธ์ใหม่ เน้น “ลอกหุ้น” ของ “ดร.นิเวศน์ เหมวชิรวรากร” (หัวเราะ) บุรุษที่ขึ้นชื่อว่าเป็น “วอร์เรน บัฟเฟตต์” เมืองไทย (เม่ามือใหม่ หลายคนก็ทำแบบนี้)

ตัวแรกเลือกจิ้ม หุ้น ซีพี ออลล์ (CPALL) เห็น “ด็อกเตอร์” ถือหุ้นตัวนี้แล้วเกิด “แรงบันดาลใจ” ตัดสินใจเคาะตาม ในราคา 43 บาท แต่ลืมคิดว่า (อีกละ) อาจารย์มีต้นทุนเท่าไร มารู้อีกที “ต้นทุนท่านแค่ 10 บาท” ลมจับ (หัวเราะ) ได้ยินแล้วรู้สึกใจเสีย

สุดท้ายถือหุ้น CPALL ไม่นาน ราคาหล่นเหลือ 36 บาท พอดีดกลับมายืนเหนือจุดเดิมนิดหน่อยรีบขายทันที เคยกลับมานั่งคิดทบทวน “หากใจเย็นสักนิด อดทนสักหน่อยป่านนี้รวยละ” เพราะครั้งหนึ่งราคา CPALL เคยทะยานถึง 70-80 บาท (อยากจะบ้า) 
หลังตัดใจขายหุ้น CPALL ก็โยกเงินมาซื้อหุ้น เจ มาร์ท (JMART) ตามอาจารย์เหมือนเคย แต่ตัวนี้ “เจ็บใจสุดๆ” (หน้าตาอินมากๆ) ซื้อมา 2.98 บาท ขายไป 3.02 บาท ตอนโน้นดีใจสุดๆ คิดใจใน “ข้าเก่งโครต” เพราะเป็นหุ้นตัวแรกที่ได้ “กำไร” ตอนนี้เป็นไงละ ราคาพุ่งมา 20 กว่าบาทแล้วพี่น้อง

ซื้อตามผู้ใหญ่เริ่มสนุก!! คราวนี้เดินตามหลังอีก ไปซื้อหุ้น ไอที ซิตี้ (IT) ราคา 8.3 บาท เชื่อมั้ย!!ราคานิ่งระดับนี้ตลอดกาล (หัวเราะ) ตอนแรกกะถือรอรับเงินปันผล 8-10% แต่พอคุณเพื่อนโทรมาเยาะเย้ยบ่อยๆ
“ฉันขายได้กำไรแล้ว แกยังถือรอปันผลอีกเหรอ?”

เมื่อใจเริ่มไม่นิ่งผสมกับ “ผีพนันเข้าสิง” ทำให้ตัดสินใจขายเท่าทุน ปล่อยปุ๊บราคาวิ่งปั๊บเอาซิ (ลากเสียงยาว) หุ้น เอเชียซอฟท์ คอร์ปอเรชั่น (AS) เราก็ซื้อตามอาจารย์แนะได้กำไรมานิดหน่อย

หุ้น โพลีเพล็กซ์ (ประเทศไทย) หรือ PTL หุ้นตัวนี้ “ VI เชียร์” แต่ตอน VI ออกไม่บอกเม่าน้อยสักคำ (ฮ่า ฮ่า) ซื้อปุ๊บขาดทุนปั๊บ จำไม่ผิดสอยช่วง 20 กว่าบาท จากนั้นไม่นานก็ซื้อหุ้น เอ็ม.ซี.เอส.สตีล (MCS) ตัวนี้ซื้อตามคำแนะนำเว็บบอร์ด THAIVI.COM ตามเคย (หนีไม่พ้น) ทุนประมาณ 10 บาท ขึ้นไป 12-13 บาท ไม่ยอมขาย (ซ่าป่ะละ) มาตัดขาดทุนทีเดียวตอน 6-7 บาท

นั่งคิดแล้วรู้สึก “อนาถตัวเองจริงๆ” เห็นคนใน VI มีข้อมูลน่าเชื่อถือ ก็ซื้อตามเขา ด้วยความเป็น “เม่าน้อย” ก็มักใจง่ายแบบนี้ละ

1 ปีแรกของการลงทุน ถือหุ้นมาประมาณ 10 ตัว บทเรียนที่ได้รับเต็มๆ คือ หากคิดจะลงทุน คุณต้อง “ใจนิ่ง ห้ามใจร้อน” แม้จะลอกหุ้นชาวบ้านมาดีแล้วก็ตาม (ยิ้ม) ก่อนจะขายหุ้นจงนึกเสมอว่า วันแรกที่ตัดสินใจซื้อหุ้นตัวนั้นเพราะอะไร ห้ามขายด้วยเหตุผลอื่นเด็ดขาด หากพื้นฐานไม่ได้เปลี่ยน ที่สำคัญ “เงินต้องเย็น”

หุ้นตัวไหนที่ทำให้ “เจ็บหนัก” ที่สุด?? “เม่าจุ๊บ” สวนทันที หุ้น บ้านปู (BANPU) น้องปูนี่ซื้อถัวเฉลี่ย 2 รอบเลย ซื้อมาตอนราคาสูงมาก 700 กว่าบาท ราคาขึ้นไม่ยอมขาย ถือคติเป็น VI “ห้ามขาย” (นางย้ำ) พอลงซื้อถัวเฉลี่ยตอนราคา 600 บาท (ใจกล้ามาก) ก่อนจะซื้อถัวเฉลี่ยอีกรอบ 400 บาท 
หุ้นตัวนี้ตั้งใจไม่ขายมันเป็น “หุ้นตำนาน” กะจะเก็บไว้ให้ลูกดู แกจะได้รู้ว่าวันหนึ่งพ่อกับแม่เคยซื้อหุ้น บ้านปู ราคาสูงลิ่วขนาดนี้ (ยิ้ม) ซื้อหุ้นน้องปู เพราะมีกูรู VI บอกว่าหุ้นจะขึ้นไปแตะระดับ 1,000 บาท นึกแล้วโกรธ!!

ตลอด 3 ปีของการลงทุน หากหุ้นน้องปู ไม่ทำให้เจ็บแสบ พอร์ตลงทุนมูลค่าแค่หลักแสนบาทของจุ๊บจะเป็น “สีเขียว” ทันที

ถามถึงวิธีเลือกหุ้น?? เธอ ตอบว่า อันดับแรกต้องดูว่าหุ้นตัวนี้มีข่าวอะไรน่าสนใจหรือไม่ เพราะต่อให้หุ้นพื้นฐานดี แต่ไม่มีสตอรี่มันก็จะดีแบบเงียบของมันแบบนี้ หากพบหุ้นที่ดีจงรีบเจาะงบการเงิน ส่วนใหญ่เน้นดู “กำไรสุทธิ” ย้อนหลัง 3 ปี ถ้าขยายตัวเพิ่มขึ้นทุกปี “ความน่าสนใจ” มาเยือนละ ยิ่งให้ผลตอบแทนจากเงินปันผลเฉลี่ย 2% หุ้นตัวนี้ยิ่ง “สวย”
ช่วงหลังเราสองคนมักชวนกันไปสำรวจสินค้าและสาขาแบบประชิดติดตัว ทำแบบที่เหล่ากูรูมืออาชีพเขาทำกัน (ยิ้ม) เท่าที่ไปดู หุ้น โฮม โปรดักส์ เซ็นเตอร์ (HMPRO) ณ เวลานี้ เลิศสุดนะ

เมื่อทำการบ้านเสร็จและเลือกหุ้นได้แล้ว ช่วงแรกของปฏิบัติการณ์ช้อนหุ้นจุ๊บจะเลือกสอยเข้าพอร์ตก่อน 30% ถ้าโอเคเล่นไม้สองต่อ 30% หากแนวโน้มราคาขึ้นเรื่อยๆคว้าอีก 30% จากนั้นจะถอยมานั่งเฝ้าดูราคา สุดท้ายหากพบว่ากำไรซื้อต่อ แต่ถ้าขาดทุน 5% จะกลับมาดูว่า “คิดอะไรผิดรึเปล่า”

หากขาดทุน 10% ตัดขายเลยไม่รอแล้ว ถือถติหุ้นดีๆไม่ลงเยอะแบบนี้ เจ็บจากแนว VI มาเยอะ เริ่มเปลี่ยนแนว (หนุ่มตาร์แซวแฟนสาว)
“เม่าจุ๊บ” บอกว่า ตอนนี้ครอบครองหุ้นเพียง 4-5 ตัว ขอไม่เปิดเผยรายชื่อ แต่เน้นกลุ่มค้าปลีก และหุ้นที่ค้าขายธุรกิจภายในประเทศ โดยหุ้น 3 ตัวแรก เน้นถือยาวตลอดกาล ส่วน 2 ตัวที่เหลือ ส่วนใหญ่มักกั้นไว้เป็นพื้นที่ของ “หุ้นหน้าใหม่” เน้นเล่นระยะสั้นประมาณ 1-2 เดือน

ขอนิยามการลงทุนของตัวเองเป็น “ลูกผสม” ระหว่างแนว VI และเก็งกำไรระยะสั้น “เม่าน้อย” อย่างเราๆคงเป็นนักลงทุน VI ได้ยาก เราไม่มีวงใน ไม่สามารถแกะงบการเงินได้ถึงแก่น ที่ผ่านมาเจ็บเพราะ VI มาเยอะเรื่องนี้ยอมรับ ไม่ใช่ว่าลงทุนระยะยาวไม่ดี แต่แนวทางนี้ไม่เหมาะกับ “คนใจร้อน” อย่างเรา ในเมื่อเรารู้ตัวดีว่าเป็นคนอย่างไร ก็ควรเลือกการลงทุนในเหมาะกับตัวเอง ทุกวันนี้จุ๊บจะใช้เงินซื้อหุ้นเพียง 20% ที่เหลือจะแบ่งไปลงทุนในสินทรัพย์อื่นๆ เช่น ซื้อที่ดินแถบภาคเหนือ

ไม่เคยฝันว่าอยากมีพอร์ตใหญ่โต ขอแค่ขยายตัวเฉลี่ยปีละ 10% ก็เพียงพอแล้ว

ที่ผ่านมาเรามีกลยุทธ์การลงทุนผิดพลาด นั่นคือ ไม่ยอมตัดขาดทุน ไม่งั้นป่านนี้พอร์ตเขียวสว่างไสวไปแล้ว (ฮ่า ฮ่า)

เล็งจะช้อนหุ้นกลุ่มไหนต่อไป?? “จุ๊บ-ตาร์” ประสานเสียงว่า กลุ่มพลังงานทางเลือก บอกตรง วลานี้น่าสนใจสุดๆ เข้าไปดูงบการเงินย้อนหลังเห็นบริษัทค่อยๆเติบโตเหมาะที่ถือลงทุนระยะยาว แต่ตอนนี้ดูเป็นระยะสั้นก่อน จุ๊บเพิ่งซื้อไป 20% ตั้งใจจะรอดูงบการเงินไตรมาส 2/56 หากออกมาสวยเหมือนช่วง 3 เดือนแรกของปี 2556 อาจทยอยเก็บให้ครบ 100%

นั่งเงียบมานาน “หนุ่มตาร์” จักรรินทร์ พงศ์ศรีรัตน์ วัย 35 ปี ในฐานะ “เทรนเนอร์” ส่วนตั๊วส่วนตัวของ “สาวจุ๊บ” แถมยังได้รับการแต่งตัวให้เป็น "อัศวิน" (เพื่อนร่วมแกงค์เม่าผู้ผ่านร้อนหนาวในตลาดหุ้นมามาก) หนึ่งในตัวละครของหนังสือ "เล่นหุ้นกับพี่เม่า" ขอฉายเส้นทางการลงทุนของตัวเองว่า จริงๆเป็นคนหาดใหญ่ แม้หน้าจะไม่ค่อยเหมือนเท่าไร

หลังเรียนจบปริญญาตรี คณะเศรษฐศาสตร์ สาขาอุตสาหกรรม มหาวิทยา
ลัยธรรมศาสตร์ ก็ไปต่อปริญญาโท คณะเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี ตอนเรียนจบใหม่ๆทำงานที่เดียวกับคุณจุ๊บ แต่ตอนนี้เปลี่ยนสายย้ายมาอยู่วงการแบงก์แล้ว

เมื่อก่อนโดนปั่นหูตลอดว่า หุ้นคือการพนัน คนโดดตึกฆ่าตัวตายเต็มไปหมด “ทำไมเส้นทางแกเหมือนของฉ้านเลยว่ะ” จุ๊บตะโกนแซวแฟนหนุ่ม จุดเริ่มต้นย้อนกลับไปเมื่อ 3 ปีก่อน มีโอกาสไปนั่งฟังงานสัมมนาของ “ดร.นิเวศน์” งานเลิกความคิดเปลี่ยนทันที ผมไปกวาดหนังสือเกี่ยวกับเรื่องหุ้นๆมาอ่านเพียบ ชอบมากเรื่องหุ้นห่านทองคำ

หาความรู้ไม่นาน ก็หอบเงินหลักหมื่นบาทไปเปิดพอร์ตที่บล.เมย์แบงก์ กิมเอ็ง วิถีทางเดินของผมเกือบคล้ายๆคุณจุ๊บ แต่ผมใจเย็นกว่า อดทนกว่า (ยิ้ม) ที่สำคัญเป้าหมายการลงทุนของเราสองคนไม่เหมือนกัน “ผมตั้งใจจะถือหุ้นดีๆยาว 5-10 ปี”

“ผมซื้อหุ้น ADVANC ตัวแรกเหมือนคุณจุ๊บ ช่วงราคา 89 บาท ราคาลงผมไม่ขาย ผ่านไป 7-8 เดือน ราคาเด้งกลับรีบปล่อยออกตอน 95 บาท ตลอด 1 ปีแรกของการลงทุน ผมมีหุ้นเพียง 2-3 ตัว อาทิ หุ้น IT และหุ้น MCS ผลการลงทุนคือ “กำไร”

เมื่อก่อนเคยคิดอยากเล่นเส้นเทคนิค แต่มอนิเตอร์กราฟไม่ได้ตลอด ตอนนี้เลยกลายเป็นนักลงทุน “พันธุ์ผสม” ระหว่างกราฟกับพื้นฐาน แต่ช่วงนี้หยุดซื้อหุ้นมาสักระยะ เพราะราคาหุ้นหลายตัวแพงมาก แถมดัชนียังสูงลิ่ว กลัวว่าวันหนึ่งขึ้นไปแตะระดับ 1,700 จุดแล้วจะ “ทิ่มหัวลงแรง” ถ้าปล่อยของไม่ทัน “ตายแน่” รอราคาเสถียรภาพมากกว่านี้แล้วค่อยเข้าไปใหม่

“วันหนึ่งผมจะเป็นนักลงทุน VI ตัวจริง” คำมั่นสัญญาของ “หนุ่มตาร์"

3 ปีของการลงทุน พอร์ตส่วนตัวออก “สีเขียวลางๆ” ถ้าไม่เจอหุ้น MCS เล่นงาน พอร์ตจะเขียวกว่านี้อีก (หัวเราะ) ซื้อหุ้น MCS มาตอน 10 บาท ตอนนี้ราคา 5 บาท หุ้นร่วง เพราะเจอข่าวน้ำท่วมกรุงเทพ โชคดีนิดหนึ่งตรงที่เขายังจ่ายเงินปันผล แต่ล่าสุดเห็น ตลาดหลักทรัพย์ขึ้นเครื่องหมาย SP (ห้ามซื้อขายชั่วคราว) สงสัยพื้นฐานจะเปลี่ยนไปในทางที่ไม่ดีอีกรอบ (เศร้าใจ)

ตอนนี้มีหุ้น 3-4 ตัว ล่าสุดเพิ่งปล่อยหุ้น ควอลิตี้เฮ้าส์ (QH) ไปได้กำไรมากค่อนข้างเยอะ (ยิ้ม) ช่วงนี้สนใจซื้อหุ้น โฮม โปรดักส์ เซ็นเตอร์ (HMPRO) เพิ่มเติม หุ้น ซีพี ออลล์ (CPALL) ก็อยากได้ แต่ราคามาไกลไปละ จากนี้จะพยายามให้มีหุ้นพื้นฐานดีๆอยู่ในพอร์ต 70% อีก 30% เว้นพื้นที่ไว้สำหรับเก็งกำไร

“จุ๊บ-ตาร์” แสดงจุดยืนว่า เมื่อก่อนเรานิยมซื้อหุ้นตามคนดัง เชื่อคนโน้นคนนี้ เมื่อประสบการณ์สอนให้พบกับคำว่า “เจ็บ” เราสองคนจึงต้องเปลี่ยนแนว เราไม่ฟังมาร์เก็ตติ้งทุกเรื่อง ไม่ซื้อหุ้นตามกูรูตัวพ่อ ได้ยินอะไรมาต้องเช็คข้อมูลก่อนลงทุน ที่สำคัญใจต้องนิ่ง อย่าเอนเอียงไปตามข่าวลือ

ตลาดหุ้นไม่ได้ทำให้ทุกคน “ร่ำรวย” การลงทุนมี “มุมลบ” เพียงแต่ไม่มีใครถ่ายทอดเป็นตัวหนังสือมาวางขาย บนแผงหนังสือมักมีแต่คนนำเสนอ "รวยด้วยหุ้น" เราสองคนถ่ายทอดเรื่องราวการลงทุนผ่านตัวการ์ตูน ก็หวังให้ “เม่าน้อย” ทุกคนเข้าใจง่าย และกรุณา “ตั้งสติก่อนสตาร์ท”


ที่มา BIZWEEKONLINE

เทเลนอร์คว้าใบอนุญาตประกอบกิจการโทรคมนาคมในพม่า คาดเปิดบริการได้ในปี57

เทเลนอร์คว้าใบอนุญาตประกอบกิจการโทรคมนาคมในพม่า คาดเปิดบริการได้ในปี57

 
ข่าวหุ้น-การเงิน สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ) -- เสาร์ที่ 29 มิถุนายน 2556 19:52:18 น.
เทเลนอร์ประกาศความสำเร็จคว้าใบอนุญาตประกอบกิจการโทรคมนาคมในพม่า พร้อมเร่งสร้างโครงข่ายโทรคมนาคมที่ทันสมัยเพื่อนำประโยชน์จากบริการสื่อสารสู่ประชาชนทั่วประเทศ ทันทีหลังจากเสร็จสิ้นการเจรจากับรัฐบาลพม่าอันเป็นขั้นตอนสุดท้ายของกระบวนการออกใบอนุญาต

นายจอน เฟรดริค บัคซอส ประธานและประธานเจ้าหน้าที่บริหาร เทเลนนอร์ เปิดเผยว่า เรารู้สึกยินดีที่เป็นผู้ชนะใบอนุญาตโทรคมนาคมจากการประมูลที่มีการแข่งขันสูงมาก เราขอขอบคุณรัฐบาลพม่าที่ให้โอกาสเทเลนอร์ได้มีส่วนร่วมในการพัฒนาอุตสาหรรมโทรคมนาคมอันเป็นเป้าหมายที่สำคัญของประเทศ และขอขอบคุณสำหรับการจัดการประมูลที่โปร่งใสและมีประสิทธิภาพในครั้งนี้ พม่ามีความที่สำคัญอย่างมากต่อกลยุทธ์การขยายการเติบโตของเรา เรามีความมุ่งมั่นที่จะนำความรู้ความสามารถที่มีอยู่มาใช้อย่างมีความรับผิดชอบเพื่อนำบริการสื่อสารมาสู่ประชาชนของพม่า และพร้อมเข้าร่วมเจรจากับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องซึ่งเป็นขั้นตอนสุดท้ายของกระบวนการออกใบอนุญาตต่อไป


นายซิคเว่ เบรคเก้ รองประธานบริหาร เทเลนอร์ กรุ๊ป และประธานเจ้าหน้าที่บริหาร เทเลนอร์ เอเชีย กล่าวว่าเทเลนอร์มีความพร้อมที่จะช่วยพัฒนาอุตสาหกรรมโทรคมนาคมในพม่าจากประสบการณ์การให้บริการสื่อสารมาแล้วในตลาดเอเชียถึง 5 ประเทศ ผลการประมูลในครั้งนี้ตอกย้ำความสำเร็จอย่างต่อเนื่องของกลยุทธ์เทเลนอร์ในการมอบบริการการสื่อสารที่ครอบคลุมในราคาที่ทุกคนสามารถเข้าถึงได้ เราพร้อมที่จะทำงานร่วมกับรัฐบาลและประชาชนของพม่าในการพัฒนาอุตสาหกรรมโทรคมนาคมของประเทศ ซึ่งเป็นอุตสาหกรรมที่มีบทบาทสำคัญในการพัฒนาทางสังคมและเศรษฐกิจของพม่าต่อไป

เทเลนอร์วางแผนที่จะสร้างโครงข่ายโทรคมนาคมเคลื่อนที่ที่ทันสมัย โดยใช้เทคโนโลยี HSPA และ LTE-ready ซึ่งสอดคล้องกับระบบการให้บริการชั้นนำในปัจจุบันที่มีการใช้งานอย่างแพร่หลายทั่วโลก และวางแผนที่จะสร้างเครือข่ายให้ครอบคลุมทั่วประเทศพม่าภายใน 5 ปี  พร้อมให้บริการเต็มรูปแบบทั้งบริการด้านเสียงและข้อมูลภายในปี พ.ศ. 2557 ซึ่งจะมีส่วนช่วยขับเคลื่อนการพัฒนาสังคมและการเติบโตทางเศรษฐกิจในประเทศพม่าต่อไป

เทเลนอร์ กำหนด 4 กลยุทธ์หลักในการดำเนินธุรกิจในพม่า ดังนี้
- สร้างโครงข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่ที่ทันสมัยและครอบคลุม
- เพิ่มอัตราการเข้าถึงบริการสื่อสารของประชาชนด้วยการสร้างโครงข่ายอย่างรวดเร็ว และให้บริการในราคาที่เหมาะสม ผ่านเครือข่ายดิสทริบิวชั่นทั่วประเทศ

- ก้าวสู่ผู้นำโทรคมนาคมในประเทศพม่าด้วยการนำเสนอบริการที่มีคุณภาพและตอบสนองความต้องการของผู้บริโภค

- มอบประสบการณ์การใช้งานที่ดี ด้วยบริการที่มีคุณภาพเพื่อสร้างความเชื่อมั่นในกลุ่มผู้บริโภค

“กลยุทธ์นี้สะท้อนให้เห็นถึงวิสัยทัศน์ของเทเลนอร์ในการช่วยให้ลูกค้าของเราได้รับประโยชน์เต็มรูปแบบของบริการการสื่อสารไร้สายในชีวิตประจำวัน  เรามุ่งมั่นที่นำเสนอบริการที่ได้มาตรฐานโลกและจะดำเนินธุรกิจโดยยึดหลักบรรษัทภิบาลและความโปร่งใสในทุกขั้นตอน" นายซิคเว่ กล่าวเพิ่มเติม

หลังจากนี้ เทเลนอร์ กรุ๊ป จะเข้าสู่กระบวนการเจรจาขั้นสุดท้ายกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องต่อไป ทั้งนี้ เทเลนอร์จะแถลงต่อสื่อมวลชนและนักวิเคราะห์ทันทีหลังจากได้ข้อสุรปทั้งหมดเรียบร้อยแล้ว

อินโฟเควสท์ โดย เสาวลักษณ์ อวยพร

วันศุกร์ที่ 28 มิถุนายน พ.ศ. 2556

สหรัฐเริ่มเฟ้นหาประธานเฟดคนใหม่

 สหรัฐเริ่มเฟ้นหาประธานเฟดคนใหม่

รมว.คลังสหรัฐ เริ่มต้นกระบวนการรวบรวมรายชื่อผู้มีสิทธิดำรงตำแหน่งประธานเฟด สืบต่อจาก"เบอร์นันเก้" ให้"โอบามา"
ชื่อ:  images (3).jpg
ครั้ง: 318
ขนาด:  4.8 กิโลไบต์

แหล่งข่าวใกล้ชิดกับกระบวนการสรรหา เปิดเผยว่า นายแจ็ก ลิว รัฐมนตรีคลังสหรัฐได้ความช่วยเหลือจากเจ้าหน้าที่อาวุโสทำเนียบขาว รวบรวมรายชื่อบุคคลที่มีคุณสมบัติเหมาะสมสำหรับการก้าวขึ้นมาเป็นประธานคนใหม่ ต่อจากนายเบอร์นันเก้แล้ว

อย่างไรก็ดี ไม่มีการให้รายละเอียดถึงรายชื่อบุคคลที่เข้าข่ายดังกล่าวแต่อย่างใด โดยก่อนหน้านี้ บรรดานักวิเคราะห์ ต่างพากันคาดการณ์ถึงบุคคลที่มีความเป็นไปได้ในลำดับต้นๆ รวมถึง นางเจเน็ต เยลเลน รองประธานเฟด นายลอเรนซ์ ซัมเมอร์ อดีตที่ปรึกษาประธานาธิบดีโอบามา และนายทิโมธี เกธเนอร์ อดีตรัฐมนตรีคลัง

ทางด้านนางเอมี บรันเดจ โฆษกทำเนียบขาว ปฏิเสธจะให้ความเห็นถึงเรื่องดังกล่าว โดยบอกว่าจะไม่มีการเปิดเผยใดๆ จนกว่าประธานาธิบดีจะตัดสินใจและพร้อมที่จะประกาศ

นางบรันเดจ ระบุด้วยว่า ประธานาธิบดีโอบามา เชื่อว่า นายเบอร์นันเก้ เป็นเพื่อนร่วมงานที่สำคัญและยอดเยี่ยมในการฟื้นฟูเศรษฐกิจของประเทศ และยังคงทำหน้าที่อย่างน่าชมเชย ด้วยความโดดเด่นระหว่างช่วงเวลาสำคัญของสหรัฐ
คาดว่านายเบอร์นันเก้ จะพ้นจากเก้าอี้ เมื่อสิ้นสุดการดำรงตำแหน่งวาระสองในวันที่ 31 มกราคม 2557 หลังจากผ่านเหตุการณ์สำคัญมาแปดปี ในการช่วยให้เศรษฐกิจสหรัฐฟื้นตัวจากภาวะถดถอยที่เลวร้ายที่สุด ตั้งแต่เกิดภาวะเศรษฐกิจถดถอยครั้งใหญ่


ประธานาธิบดีบารัก โอบามา กล่าวเป็นนัยในการให้สัมภาษณ์ทางโทรทัศน์ก่อนหน้านี้ว่า นายเบอร์นันเก้อาจจะลงจากตำแหน่ง โดยเปรียบเทียบกับนายโรเบิร์ต มูลเลอร์ ผู้อำนวยการสำนักงานสืบสวนสอบสวนกลางสหรัฐ (เอฟบีไอ) ที่ตกลงจะอยู่ในตำแหน่งนานกว่าที่วางแผนไว้สองปี ขณะนี้ได้ลาออกไปแล้ว


ที่มา กรุงเทพธุรกิจออนไลน์

ลุยกู้โครงการน้ำ 3.5 แสนล้าน “คลัง” ลงนาม 4 แบงก์ใหญ่เรียบร้อยแล้ว

ลุยกู้โครงการน้ำ 3.5 แสนล้าน “คลัง” ลงนาม 4 แบงก์ใหญ่เรียบร้อยแล้ว

โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 28 มิถุนายน 2556 11:32 น.

“คลัง” เดินหน้ากู้โครงการน้ำ 3.5 แสนล้าน “พงษ์ภาณุ” ยอมรับได้ลงนามกับ 4 แบงก์ใหญ่เรียบร้อยแล้ว มั่นใจช่วยหนุน ศก.โตได้ต่อเนื่อง พร้อมยืนยันจะดูแลให้การใช้จ่ายเป็นไปอย่างถูกต้อง โปร่งใส และตรวจสอบได้
     
       นายพงษ์ภาณุ เศวตรุนทร์ รองปลัดกระทรวงการคลัง หัวหน้ากลุ่มภารกิจด้านรายจ่ายและหนี้สิน เปิดเผยว่า ตนเองได้ลงนามในสัญญาเงินกู้ (Term Loan) กับธนาคาร 4 แห่ง ได้แก่ ธนาคารออมสิน, ธนาคารกรุงไทย (KTB), ธนาคารกรุงเทพ (BBL) และธนาคารกสิกรไทย (KBANK) วงเงินรวม 324,606 ล้านบาท เมื่อรวมกับเงินกู้ที่ได้กู้ก่อนหน้านี้ จำนวน 25,393 ล้านบาท จะเป็นวงเงินกู้จำนวนทั้งสิ้น 349,999 ล้านบาท ภายใต้ พ.ร.ก.ให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อการวางระบบบริหารจัดการน้ำ และสร้างอนาคตประเทศ พ.ศ.2555
     
       เงินกู้ดังกล่าวมีระยะเวลาทยอยชำระคืนต้นเงินกู้ 4 ปี นับจากวันเบิกจ่ายเงินกู้ อัตราดอกเบี้ยรายปี คำนวณโดยอ้างอิงอัตราดอกเบี้ยต่ำสุดของอัตราดอกเบี้ยเงินฝากประจำ 6 เดือน (FDR) +Spread และสามารถทยอยเบิกจ่ายได้เป็นรายปีงบประมาณโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้รัฐบาลนำไปใช้ในการสนับสนุนโครงการเพื่อการวางระบบบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ และแผนยุทธศาสตร์เพื่อการฟื้นฟูและสร้างอนาคตประเทศที่คณะรัฐมนตรีได้เห็นชอบแ ละอนุมัติแล้ว ดังนี้
     
       1.โครงการบริหารจัดการน้ำระยะเร่งด่วน วงเงิน 25,661 ล้านบาท
     
       2.โครงการเพื่อการออกแบบและก่อสร้างระบบริหารจัดการน้ำอย่างยั่งยืน (Conceptual Plan) วงเงิน 291,000 ล้านบาท
     
       3.โครงการจ้างที่ปรึกษาบริหารโครงการ Project Management and Engineering Consultant (PMEC) และ Project Supervision Consultant (PSC) วงเงิน 8,731 ล้านบาท
     
       4.แผนงานสนับสนุนโครงการระบบบริหารจัดการทรัพยากรน้ำอย่างยั่งยืน วงเงิน 4,607 ล้านบาท
     
       5.แผนงานฟื้นฟูและอนุรักษ์ป่าและดิน วงเงิน 10,000 ล้านบาท
     
       6.แผนยุทธศาสตร์เพื่อการฟื้นฟูและสร้างอนาคตประเทศ (กยอ.) วงเงิน 10,000 ล้านบาท โดยมีระยะเวลาเบิกจ่ายเงินกู้ระหว่างปี 2556-2561
     
       ทั้งนี้ การใช้จ่ายเงินกู้ดังกล่าว นอกจากจะเป็นการวางระบบบริหารจัดการน้ำ และอุทกภัยอย่างยั่งยืนแล้ว ยังช่วยขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทยให้เติบโตต่อไปได้ภายใต้ความไม่แน่นอนของเศรษฐกิจโลก โดยที่กระทรวงการคลังจะดูแลให้การใช้จ่ายเงินเป็นไปอย่างถูกต้อง โปร่งใส และตรวจสอบได้

กสิกรฯ เล็งลดเป้าจีพีดี พิษส่งออกวูบ

กสิกรฯ เล็งลดเป้าจีพีดี พิษส่งออกวูบ
       ศูนย์วิจัยกสิกรไทย ทบประมาณการอัตราเติบโตเศรษฐกิจไทย หลังเศรษฐกิจจีน-ส่งออกวูบเกินคาด จากเดิมที่ประเมินกรอบ 4.3-5.3% พร้อมลดประมาณการส่งออกเติบโตเหลือ 4% จากเดิม 7%
      
       นางพิมลวรรณ มหัจฉริยวงศ์ รองกรรมการผู้จัดการ สายงานวิจัยเศรษฐกิจมหภาคและจุลภาค บริษัทศูนย์วิจัยกสิกรไทย กล่าวว่า ศูนย์วิจัยกสิกรไทยอยู่ระหว่างทบทวนปรับประมาณการอัตราการเติบโตของเศรษฐกิจไทยจากเดิมที่ตั้งไว้ 4.8% หรือในกรอบ 4.3-5.3% ซึ่งคาดว่าคงจะอยู่ในระดับ 4% ต้นๆ ซึ่งก็จะเป็นการทบทวนตัวเลขเศรษฐกิจในทุกๆ ตัวไปโดยปริยาย โดยเมื่อสัปดาห์ก่อน ก็ได้ปรับลดประมาณการอัตราการเติบโตส่งออกเหลือ 4% จากเดิม 7%
      
       ทั้งนี้ ปัจจัยที่ส่งผลให้การส่งออกเติบโตได้ในระดับที่ต่ำกว่าคาดการณ์ มาจากภาวะเศรษฐกิจจีนซึ่งเป็นตลาดหลักของไทยชะลอตัวลง ดังจะเห็นได้จากยอดส่งออกไปจีน 4 เดือนแรกของปี เพิ่มขึ้นไม่ถึง 2% และเชื่อว่าเศรษฐกิจจีนจะยังชะลอตัวอยู่ไปจนกระทั่งปลายปีนี้
      
       นางพิมลวรรณ กล่าวอีกว่า การชะลอของเศรษฐกิจจีนนั้นมาจาก 2 สาเหตุหลักๆ คือ ตัวเลขต่างๆ ที่ออกมาบังคับให้ทางการต้องดำเนินนโยบายชะลอการเติบโตลง และเป็นแนวโยบายของผู้นำจีนที่เพิ่มดำรงตำแหน่งใหม่ที่เน้นให้เศรษฐกิจจีนเติบโตอย่างยั่งยืนมากกว่าเติบโตในอัตราที่สูงๆ
      
       “จีนจะเป็นห่วงอยู่ 2 อย่างด้วยกันก็คือ ตัวเลขหนี้สาธารณะที่สูงขึ้น โดยปัจจุบันอยู่ในระดับ 36-42% ของจีดีพี แต่เมื่อรวมกับหนี้สาธารณะที่ไม่ได้อยู่ระบบตรวจสอบ เป็นส่วนที่รัฐบาลท้องถิ่นก่อไว้ ก็จะมีอัตราสูงถึง 80% จีดีพี ซึ่งตรงนี้ทำให้ทางรัฐบาลกลางต้องเข้ามาดู และเพื่อลดหนี้ส่วนที่อยู่นอกระบบ กับราคาอสังหาริมทรัพย์ที่เพิ่มสูงขึ้นจนเห็นสัญญาณการเก็งกำไร จึงทำให้ทางการจีนต้องชะลอการเติบโตลงบ้าง แต่อย่างไรก็ตาม ทางการจีนยังมีเงินสำรองอยู่ในระดับที่สูง จึงไม่น่าเป็นห่วงในเรื่องการเข้ามาอัดฉีดเศรษฐกิจหากสถานการณ์ไม่ดี”

วันพฤหัสบดีที่ 27 มิถุนายน พ.ศ. 2556

หุ้นไทยเหิรฟ้า รับอานิสงส์ข่าวธนาคารกลางจีน เพิ่มสภาพคล่องให้สถาบันการเงินบางแห่ง

 หุ้นไทยเหิรฟ้า รับอานิสงส์ข่าวธนาคารกลางจีน เพิ่มสภาพคล่องให้สถาบันการเงินบางแห่ง

ประชาชาติธุรกิจออนไลน์
ชื่อ:  9C49E5B2034548018E02C583DE0BEC7B.jpg
ครั้ง: 1135
ขนาด:  114.4 กิโลไบต์
หุ้นไทยเหิรฟ้า รับอานิสงส์ข่าวธนาคารกลางจีน เพิ่มสภาพคล่องให้สถาบันการเงินบางแห่ง และการเข้าซื้อหุ้นของกองทุนเพื่อทำวินโดว์เดรสซิ่ง

นายยศพณ แสงนิล รองผู้อำนวยการฝ่ายวิเคราะห์หลักทรัพย์ บริษัทหลักทรัพย์ (บล.) ยูโอบี เคย์เฮียน (ประเทศไทย) กล่าวว่า ตลาดหุ้นไทยวันที่ 27 มิ.ย. ดัชนีมีทิศทางปรับตัวขึ้น โดยกระโดดจากเมื่อวานนี้ (26 มิ.ย.) ซึ่งปิดที่ 1,424.38 จุด มาเปิดตลาดที่ประมาณ 1,450 จุดทันที ทั้งนี้เป็นผลจากประเด็นข่าวของธนาคารกลางจีนที่ระบุว่า ได้มีการเพิ่มสภาพคล่องให้กับสถาบันการเงินบางแห่งแล้ว เพื่อรักษาเสถียรภาพของอัตราดอกเบี้ยระหว่างธนาคาร และยังเป็นการช่วยให้ผ่อนคลายภาวะสภาพคล่องตึงตัวในระบบ ส่งผลดีต่อบรรยากาศการลงทุน

อีกทั้งยังมีปัจจัยเสริมจากการที่กองทุนได้เข้ามาซื้อหุ้นเพื่อปิดงวดบัญชี (วินโดว์ เดรสซิ่ง) ทำให้ตลาดหุ้นไทยมีแรงผลักดันให้ทะยานต่อ

ทั้งนี้ในช่วงบ่ายประเมินว่าดัชนีตลาดยังคงมีทิศทางเป็นบวกต่อเนื่อง โดยประเมินกรอบการแกว่งตัวที่ 1,420-1,425 จุด และแนวต้าน 1,450 จุด กลยุทธ์การลงทุน แนะนำให้ถือเงินสดประมาณ 70% ของพอร์ตก่อน จนกว่าจะมีสัญญานบวกจากการเข้ามาซื้อสุทธิของนักลงทุนต่างชาติ อย่างไรก็ตาม หากสนใจลงทุนในช่วงนี้ แนะนำ หุ้นกลุ่มธนาคารพาณิชย์ที่จะได้รับประโยชน์จากโครงการรัฐ และกลุ่มท่องเที่ยว เป็นต้น

วันพุธที่ 26 มิถุนายน พ.ศ. 2556

กลุ่มธนาคารไทยพาณิชย์ หนุนเพิ่มทุนCPNRF

การเงิน - การลงทุน

วันที่ 25 กันยายน 2552 14:30

กลุ่มธนาคารไทยพาณิชย์ หนุนเพิ่มทุนCPNRF

กลุ่มธนาคารไทยพาณิชย์ สนับสนุนเพิ่มทุน CPNRF คาดเปิดจอง 16-27 ต.ค. ลงทุนเซ็นทรัลพลาซา ปิ่นเกล้า ส่งผลเป็นกองทุนอสังหาฯ ขนาดใหญ่สุดในประเทศ
ธนาคาร กสิกร สมัคร งานธนาคารกสิกรไทย เปิดรับสมัครพนักงาน 250+ ตำแหน่งงาน/วัน สมัครเลยwww.jobsDB.com/kbank
บ้านใหม่กลางเมืองชลบุรีทาวน์โฮม 3 ชั้น 3 นอน 3 น้ำ ราคาสุดพิเศษ เริ่ม 2.89 ล้านwww.arunproperty.com
ร้านจันผาพบกับจันผาโฉมใหม่บนทำเลใหม่ หนึ่ง ในจุดชมวิวที่สวยที่สุดในศรีราชาwww.jaanpaa.com
วันนี้ (25 ก.ย.) กลุ่มธนาคารไทยพาณิชย์ โดยนางกรรณิกา ชลิตอาภรณ์ กรรมการผู้จัดการใหญ่ พร้อมด้วยนายสุทธิธรรม จิราธิวัฒน์ กรรมการบริหารด้านการปฏิบัติการกลุ่มค้าปลีก และอสังหาริมทรัพย์  บริษัทกลุ่มเซ็นทรัล จำกัด ร่วมลงนามในสัญญาการแต่งตั้งผู้จัดการการจัดจำหน่ายและรับประกันการจำหน่ายหน่วยลงทุนส่วนเพิ่มทุน กองทุนรวมสิทธิการเช่าอสังหาริมทรัพย์ CPN รีเทล โกรท (CPNRF) เพื่อลงทุนในอสังหาริมทรัพย์เพิ่มเติมในโครงการเซ็นทรัลพลาซา ปิ่นเกล้า ของบริษัท เซ็นทรัลพัฒนา จำกัด (มหาชน)
นางกรรณิกา ชลิตอาภรณ์ กรรมการผู้จัดการใหญ่ เปิดเผยว่า “นับเป็นความภาคภูมิใจของธนาคารที่ได้มีโอกาสให้บริการทางการเงินแก่ CPNRF ด้วยการเป็นผู้จัดการการจัดจำหน่ายและรับประกันการจำหน่ายให้แก่กองทุน CPNRF โดยบริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนไทยพาณิชย์ (SCBAM) ซึ่งเป็นบริษัทในเครือของธนาคารและเป็นบริษัทจัดการกองทุนอันดับหนึ่งของประเทศ ได้รับความไว้วางใจให้ร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการระดมทุนครั้งนี้  นอกจากนี้ธนาคารยังได้สนับสนุนสินเชื่อแก่กองทุนมูลค่า 1,000 ล้านบาทอีกด้วย ซึ่งแสดงให้เห็นถึงความหลากหลายและครบวงจรในการตอบสนองความต้องการทุก ๆ ด้าน ของลูกค้า ภายใต้นโยบายของธนาคารที่ต้องการเป็นธนาคารชั้นนำที่ให้บริการครบวงจร หรือ “Premier Universal Bank”
นางโชติกา สวนานนท์ กรรมการผู้อำนวยการ บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน ไทยพาณิชย์ จำกัด  ในฐานะผู้จัดการกองทุน CPNRF  เปิดเผยว่า การลงนามครั้งนี้ ถือเป็นการผนึกกำลังเพื่อให้แผนการเพิ่มทุนหน่วยลงทุนกองทุน CPNRF ประสบความสำเร็จด้วยดี ซึ่งเป็นไปตามมติคณะกรรมการกองทุนเมื่อวันที่ 17 กันยายน 2552 มีมติเพิ่มเงินลงทุนทั้งสิ้นไม่เกิน 5,680 ล้านบาท  เพื่อลงทุนในโครงการเซ็นทรัลพลาซา ปิ่นเกล้าโดยการเช่าอาคารศูนย์การค้า (บางส่วน) จำนวน 1 อาคาร และอาคารสำนักงาน จำนวน 2 อาคาร (ทั้งอาคาร) รวมทั้งที่จอดรถยนต์ภายในอาคาร รวมพื้นที่การเช่า 58,303 ตารางเมตร เป็นระยะเวลา 15 ปี  ซึ่งภายหลังจากการเพิ่มทุนประสบผลสำเร็จจะส่งผลให้กองทุน CPNRF มีมูลค่าโครงการเพิ่มเป็นไม่เกิน 17,000 ล้านบาท จากเดิมที่มีมูลค่าโครงการ 10,915 ล้านบาท ถือเป็นกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในประเทศ
สำหรับโครงสร้างการเพิ่มทุน แบ่งเป็นการออกและเสนอขายหน่วยลงทุนเพิ่มเติมเป็นจำนวนไม่เกิน 546,600,000 หน่วย โดยจะจำหน่ายให้กับผู้ถือหน่วยลงทุนเดิมที่มีรายชื่อปรากฏในสมุดทะเบียนผู้ถือหน่วยลงทุนในวันที่ 6 ตุลาคม 2552 ในอัตราส่วน 1 หน่วยเดิมต่อ 0.25 หน่วยใหม่ ตามที่บริษัทจัดการกำหนด (Rights Offering) จำนวนไม่ต่ำกว่า 273,300,000 หน่วย และเสนอขายหน่วยลงทุนให้ประชาชนและผู้ลงทุนทั่วไป (Public Offering) และ/หรือ บุคคลในวงจำกัด (Private Placement)  จำนวนไม่เกิน 273,300,000 หน่วย คิดเป็นมูลค่ารวมไม่เกิน 4,849  ล้านบาท ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างรอการอนุมัติจากสำนักงาน ก.ล.ต. โดยจะกำหนดราคาเสนอขายสุดท้ายในวันที่ 30 กันยายน 2552 และคาดว่าจะเปิดจองได้ระหว่างวันที่ 16-27 ตุลาคมศกนี้ ผ่านสาขาของธนาคารไทยพาณิชย์กว่า 900 แห่งทั่วประเทศ    และเงินลงทุนอีกส่วนจะมาจากการกู้ยืมเงินโดยกองทุน CPNRF จากธนาคารไทยพาณิชย์อีกจำนวน 1,000 ล้านบาท ซึ่งคิดเป็นจำนวนไม่เกินร้อยละ 10 ของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุนรวม 
“การลงทุนเพิ่มเติมในโครงการเซ็นทรัลพลาซา ปิ่นเกล้า และนอกจากจะช่วยกระจายแหล่งที่มาของรายได้กองทุนรวมแล้วยังสอดคล้องกับวัตถุประสงค์หลักในการสร้างการเติบโตของกองทุนรวมในระยะยาว ซึ่งเมื่อกองทุนมีขนาดใหญ่ขึ้นก็จะทำให้เกิดสภาพคล่องและดึงดูดความสนใจจากนักลงทุนต่างประเทศเพิ่มมากขึ้น” นางโชติกากล่าว พร้อมให้รายละเอียดว่า
ในสถานการณ์ที่ประเทศไทยได้รับผลกระทบจากสภาวะเศรษฐกิจ  การกระจายความเสี่ยงโดยลงทุนในกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์จะเป็นทางเลือกที่น่าสนใจมาก  เพราะหากมองผลตอบแทนจากการลงทุนในกองทุนรวม CPNRF ย้อนหลังแล้วถือว่าอยู่ในระดับที่น่าพอใจในช่วง 4 ปีที่ผ่านมา โดยมีการปันผลไปแล้ว 15 ครั้ง รวมเป็นเงินปันผลประมาณ 3.22 บาทต่อหน่วย คิดเป็นอัตราผลตอบแทนเฉลี่ยประมาณ 8%ต่อปี โดยเฉพาะอัตราผลตอบแทนในปี 2551 ประมาณ 8.7% (โดยคิดจากราคาพาร์ 10 บาท)
ด้านนายนริศ  เชยกลิ่น รองกรรมการผู้จัดการใหญ่  สายงานการเงิน บัญชี และสายงานบริหารทรัพย์สิน บริษัท เซ็นทรัลพัฒนา จำกัด (มหาชน) หรือ CPN กล่าวถึงศักยภาพของโครงการเซ็นทรัลพลาซา ปิ่นเกล้า ที่จะนำเข้ามารวมในกองทุน CPNRF ครั้งนี้ว่า ถือเป็นศูนย์การค้าที่ประสบความสำเร็จเป็นอย่างดี  โดยมีผลการดำเนินงานอยู่ในระดับต้นๆ ของพอร์ต CPN ด้วยทำเลที่ตั้งอยู่ในฝั่งตะวันตกของกรุงเทพฯ ซึ่งมีการเจริญเติบโตสูงมาก ทำให้จำนวนผู้เข้ามาใช้บริการหนาแน่นทุกวัน ทั้งยังมีอัตราการเช่าพื้นที่สูงกว่า 98% และการเติบโตของค่าเช่าอย่างต่อเนื่อง จึงมั่นใจว่าเซ็นทรัลพลาซา ปิ่นเกล้า เป็นโครงการที่สามารถเติบโตได้อย่างต่อเนื่อง โดยในปีหน้า CPN มีแผนที่จะทำการปรับปรุงโครงการ (renovation) ให้ทันสมัย เพื่อตอบสนองต่อความต้องการของผู้บริโภคได้ดียิ่งขึ้น
สำหรับผลดำเนินงานที่ผ่านมาของกองทุน CPNRF ซึ่งปัจจุบันประกอบด้วยโครงการเซ็นทรัลพลาซา พระราม 2 และโครงการเซ็นทรัลพลาซา พระราม 3 ซึ่งตั้งอยู่ในพื้นที่ที่มีการขยายตัวของชุมชนอย่างรวดเร็วจึงมีจำนวนผู้เข้ามาใช้บริการต่อวันสูงและมีอัตราการเติบโตของผู้เข้ามาใช้บริการเพิ่มขึ้นปีละไม่ต่ำกว่า 10% ตลอดช่วง 2 ปีที่ผ่านมา ส่งผลให้ผู้เช่าให้ความสนใจเช่าพื้นที่อย่างต่อเนื่อง ทำให้ CPNRF มีอัตราการเช่าพื้นที่ (Occupancy Rate) ในระดับสูงมากกว่า 98% และยังสามารถเพิ่มอัตราค่าเช่าได้ในอัตราที่น่าพอใจ ซึ่งถือว่าดีมากท่ามกลางสภาวะเศรษฐกิจที่ชะลอตัว
“CPN มีเป้าหมายที่จะลงทุนเพิ่มเติมในสัดส่วนตามสิทธิของหน่วยลงทุนที่จะเสนอขายในครั้งนี้ด้วย และยังคงเป็นผู้บริหารอสังหาริมทรัพย์ของโครงการทั้งหมด โดย CPN มีเป้าหมายที่จะทำให้กองทุน CPNRF เป็นกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ที่ใหญ่ในระดับภูมิภาคและเป็นที่น่าสนใจของนักลงทุนในประเทศและต่างประเทศ โดยคาดการณ์ที่จะนำศูนย์การค้าที่มีคุณภาพเข้ามาในกองทุน CPNRF  ปีละ 1 สินทรัพย์ ซึ่งปัจจุบัน CPN เป็นผู้บริหารโครงการศูนย์การค้า 14 โครงการ และยังมีโครงการที่รอการพัฒนาอีกจำนวนมาก โดยมุ่งมั่นที่จะก้าวสู่การเป็นผู้พัฒนาและบริหารโครงการศูนย์การค้าด้วยมาตรฐานระดับโลกและมีการขยายธุรกิจอย่างต่อเนื่อง”
Tags : กรรณิกา ชลิ