วันอาทิตย์ที่ 5 พฤษภาคม พ.ศ. 2556

ลุยหุ้นสื่อสาร-รับ 3G เต็มรูปแบบ


                  
 
          
                             
              
         ลุยหุ้นสื่อสาร-รับ 3G เต็มรูปแบบ

       

          
ดีเดย์ 3จี ADVANC-DTAC-TRUE พร้อมใช้ 7-9 พ.ค.นี้อย่างเต็มรูปแบบ โบรกฯประสานเสียงลูกค้าย้ายฐานไป 3จี กระตุ้นราคาหุ้นในอนาคต แนะถือ ADVANC คาดรับอานิสงส์ 3จี ตั้งแต่ปีที่สองเป็นต้นไป กูรู เชียร์เข้าลงทุนใน DTAC ดีบีเอสฯปรับราคาพื้นฐานใหม่เป็น 140 บาท กิมเอ็งแนะเก็งกำไร TRUE คาดเข้าสู่จุดคุ้มทุนได้ภายในช่วงครึ่งหลังปีนี้ ฟากกสิกรไทย ระบุ3G ใหม่ ขับเคลื่อนตลาดบริการมือถือโต 12.8-15.2% สั่งจับตา การลดราคาค่าบริการด้านเสียงและข้อมูลลงอย่างน้อย 15% ขณะที่บิ๊ก AIS คาดสิ้นปีนี้มีผู้ใช้บริการเครือข่าย 3จี แตะ 10 ล้านเลขหมาย 
* ดีเดย์ 3จี ADVANC-DTAC-TRUE พร้อมใช้ 7-9 พ.ค.นี้          ผู้สื่อข่าวรายงานว่า 3 ผู้ประกอบมือถือ คือบริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) หรือ ADVANC, บริษัท ดีแท็ค เน็ทเวอร์ค จำกัด ในเครือบริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซส คอมมูนิเคชัน จำกัด(มหาขน) หรือ DTAC, บริษัท เรียล ฟิวเจอร์ จำกัด (มหาขน) ในเครือ บริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ TRUE จะเปิดให้บริการ 3จี ย่านความถี่ 2.1 กิกะเฮิรตช์ ในวันที่ 7-9 พ.ค.นี้ ขณะที่คณะกรรมการกิจการโทรคมนาคม (กทค.) ที่มีพ.อ.เศรษฐพงค์ มะลิสุวรรณ รองประธานกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ ในฐานะประธานกรรมการกิจการโทรคมนาคม (กทค.) ระบุ เบื้องต้นไม่ใช่ทุกโปรโมชั่นใหม่ของ 3จี ที่จะลดลง 15% แต่เป็นอัตราเฉลี่ยเท่านั้น ส่วนโปรโมชั่นเก่าอัตราค่าบริการต้องลดลง 15% ทุกโปรโมชั่น
*โบรกฯ ประสานเสียงลูกค้าแห่ย้ายฐานไป3จี 
          ทั้งนี้ บทวิเคราะห์จากบริษัทหลักทรัพย์ส่วนใหญ่ มีความเป็นไปในทางเดียวกันว่า การให้บริการ 3จี ใหม่ ส่งผลบวกโดยตรงต่อ ADVANC-DTAC-TRUE โดยบทวิเคราะห์ บล.เอเซีย พลัส ประเมินว่า เชื่อว่า ADVANC จะเร่งโอนย้ายลูกค้าชั้นดีจากคลื่น 2จี เดิมไปใช้บริการ 3จี ภายใต้ใบอนุญาต 2.1 GHz ซึ่งจะช่วยให้ได้รับประโยชน์ ทั้งด้านฐานรายได้ข้อมูลที่มีแนวโน้มเติบโตในอัตราที่สูงขึ้น เพราะประสิทธิภาพการให้บริการ 3จี ภายใต้ใบอนุญาตใหม่ ที่สูงกว่าคลื่น 2จี อย่างมีนัยฯ
          ขณะที่ บทวิเคราะห์ บล.ดีบีเอสวิคเคอร์ส มองว่า แรงกระตุ้นราคาหุ้นในอนาคต เราคาดว่าจะเป็นเรื่องผู้ใช้บริการได้ย้ายการใช้บริการ (migration) มายัง 3G ใหม่ ส่วนบทวิเคราะห์ บล.เมย์แบงก์ กิมเอ็ง (ประเทศไทย) ระบุว่า ผลประกอบการของ TRUE จะดีขึ้นตามลำดับ จากการโอนย้านฐานลูกค้าจากระบบ 2G ไปยัง Truemove H ที่ให้บริการ 3G ทั้ง 2 คลื่นความถี่คือ 850 MHz และ 2,100 MHz และคาดว่าจะเข้าสู่จุดคุ้มทุนได้ใน 2H56
* แนะถือ ADVANC คาดรับอานิสงส์ 3จี ตั้งแต่ปีที่สองเป็นต้นไป
          บทวิเคราะห์ บล.เอเซีย พลัส ระบุว่า ADVANC คาดต้นทุนหลักยังมีแนวโน้มลดลง เนื่องจากต้นทุนส่วนแบ่งรายได้ เมื่อให้บริการบน 2จี เดิม จะลดลงจากเฉลี่ย 25% ของรายได้ ลดลงมาเหลือ 5.75% ของรายได้เมื่อเริ่มให้บริการบน 3จี ใหม่ โดยแม้ปัจจุบันจะยังมีข้อจำกัดในการโอนย้ายจากคลื่น 2จี เดิมมายังใบอนุญาต 3จี ใหม่ ที่ กสทช. จำกัดไว้ที่ 4 หมื่นรายต่อวัน ซึ่งส่งผลให้จำกัดการโอนย้ายในปีนี้ได้เต็มที่ราว 5 ล้านราย ต่ำกว่าเป้าหมายบริษัท แต่สมมติฐานของฝ่ายวิจัยที่ยังค่อนข้างอิงหลักอนุรักษ์นิยม กำหนดฐานลูกค้าที่จะถูกโอนย้ายไปเพียงราว 4 ล้านเลขหมาย จึงยังคงคาดฐานกำไรของ ADVANC จะเติบโตใกล้เคียงประมาณการ ขณะที่คาดจะเพิ่มขึ้นต่อเนื่องในระยะยาว เมื่อฐานลูกค้าที่ใช้บริการภายใต้ใบอนุญาตใหม่เพิ่มขึ้นเป็นลำดับ แต่ทั้งนี้ ด้วยอัพไซด์ที่เหลือไม่มากจากมูลค่าพื้นฐาน 250 บาทต่อหุ้น ฝ่ายวิจัยจึงคงคำแนะนำเพียงถือ เพื่อรับเงินปันผลและรอการเติบโต โดยแนะนำให้เปลี่ยนไปลงทุนในหุ้น INTUCH ซึ่งให้ราคาเป้าหมายไว้ที่ 98 บาทต่อหุ้น ซึ่งเป็นบริษัทแม่ของ ADVANC (ถือหุ้น 40.45%) เพราะยังคงแลกการ์ดและมีอัพไซด์สูงกว่าแทน
          ส่วน บล.เคจีไอ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่ายังคงมุมมองว่ากำไรสุทธิของบริษัทดังกล่าวน่าจะลดลงประมาณหนึ่งปีหลังจากที่บริษัทเริ่มเปิดให้บริการ 3จี ในเดือนเมษายน 2556 ซึ่งเหตุผลหลักมาจากความไม่สมดุลกันระหว่าง CAPEX และส่วนของต้นทุน OPEX ที่สามารถประหยัดได้ โดยคาดว่าบริการ 3G ใหม่นี้จะเริ่มส่งผลบวกต่อผลประกอบการของบริษัทตั้งแต่ปีที่สองเป็นต้นไป หลังจากที่ผู้ใช้บริการ 2จี โอนย้ายมาใช้บริการ 3จี เพิ่มมากขึ้นและทำให้ต้นทุน OPEX ที่ประหยัดลงได้สูงเกินกว่าภาระค่าใช้จ่าย CAPEX
* กูรู เชียร์เข้าลงทุนใน DTAC 
          นายอรรถพร อารยะสันติภาพ ผู้อำนวยการอาวุโส บล.ยูโอบี เคย์เฮียน (ประเทศไทย) เปิดเผยว่า การเปิดให้บริการ 3G คลื่น 2.1GHz อย่างเป็นทางการของแต่ละค่ายมือถือ โดย AISและทรูมูฟ เอช จะเปิดให้บริการอย่างเป็นทางการในวันที่ 7 และ DTAC จะเปิดให้บริการในวันที่ 9 พฤษภาคมนี้ โดยในเบื้องต้นพบว่าราคาหุ้น ADVANC ได้สะท้อนกับประเด็นดังกล่าวไปพอสมควรแล้ว และหุ้นTRUE นั้นเข้าก็ข่ายเกินกว่ามูลค่าพื้นฐาน แต่ในส่วนของDTAC ยังถือว่าราคาหุ้นมีความน่าสนใจเพราะเหลือ Upside ของราคาอยู่มาก แม้ว่าที่ผ่านมา DTAC จะได้รับผลกระทบจากการเสียหายเรื่องภาพลักษณ์เนื่องจากระบบเครือข่ายขัดข้อง 5 ครั้งตั้งแต่คริสต์มาสปีก่อน ทำให้อาจเสียฐานลูกค้าไปบ้าง แต่หาก 3G เข้ามาระบบทุกอย่างจะเท่ากันและสามารถแข่งขันได้เท่ากับเอกชนรายอื่น ขณะเดียวกันคาดว่า DTAC จะมีส่วนต่างของมาจิ้นที่เพิ่มขึ้นอย่างมากจากเดิมที่ให้บริการระบบ 2G ได้รับมาจิ้นเพียง 10-12%ต่อปีเท่านั้นซึ่งหากเปลี่ยนเป็นระบบใบอนุญาติให้บริการ3Gแล้วจะส่งผลให้ค่าสัมปทานยกเลิกจากเดิมเก็บในอัตรา 25-30% เหลือเก็บในระบบในอนุญาติ 6%
          อย่างไรก็ตาม การเปลี่ยนเป็นระบบ 3G ทำให้ค่ายมือถือต่างๆต้องออกโปรโมชั่นมากขึ้นเพื่อให้เป็นแรงจูงใจให้ลูกค้าเปลี่ยนจากระบบ 2Gเป็นระบบ 3G ทำให้แนวโน้มผลประกอบการในไตรมาส2/56อาจจะไม่ดีนัก แต่ธุรกิจที่ได้รับประโยชน์จากการวางเครือข่ายของค่ายมือถือจะมีผลประกอบการที่ค่อนข้างดี อาทิ SAMART-JAS แม้ว่าจะมีรายได้ที่เข้ามาเพิ่มขึ้นแต่หากพิจารณาจากราคาหุ้นแล้วถือว่ามีราคาที่สูงจนเกินไปเพราะสะท้อนกับประเด็นบวกดังกล่าวไปเรียบร้อยแล้ว
          พร้อมกันนี้ ยังมองว่าในช่วง 1-2 ปีนี้ค่ายมือถือใหญ่ทั้ง 3ค่ายคงยังมีผลประกอบการที่เติบโตไม่โดดเด่นนักเพราะเป็นช่วงของการเปลี่ยนผ่าน แต่หาก3-5ปีข้างหน้าสามารถดึงลูกค้าจากระบบ2Gเป็นระบบ 3Gได้เรียบร้อยแล้วผลประกอบการจะขยายตัวเป็นอย่างมากเพราะปัจจัยหลักจากการเปลี่ยนสัมปทานเป็นระบบใบอนุญาติจะทำให้ได้รับมาจิ้นที่สูงขึ้นอยางชัดเจน ทั้งนี้ หุ้นที่มีความน่าสนใจเข้าซื้อลงทุนได้แก่ DTAC (ราคาพื้นฐาน 137.00 บาท)THCOM (ราคาพื้นฐาน 37.00 บาท ) SYMC (ราคาพื้นฐาน 26.00 บาท)
* ดีบีเอสวิคเคอร์ส ปรับราคาพื้นฐาน DTAC ใหม่เป็น 140 บาท 
          บทวิเคราะห์ บล.ดีบีเอสวิคเคอร์ส ระบุว่า ส่วนแบ่งรายได้ทั้งหมดสำหรับ 3G ใหม่ต่ำกว่าสัมปทานเดิม หากสมมุติให้อัตราการโรมมิ่งเป็น 0.45 บาทต่อนาที ส่วนแบ่งรายได้รวมกับค่าโรมมิ่งสำหรับบริการรายเดือน (post-paid) จะอยู่ที่ 19.46% และแบบเติมเงิน (pre-paid) จะอยู่ที่ 28.53% ซึ่งถือว่ายังต่ำกว่าส่วนแบ่งรายได้ 2G ในสัมปทานเดิมที่อัตรา 30% ทั้งนี้อาจมีข่าวดีเพิ่ม (upside risk) หาก DTAC ตั้งอัตราค่าโรมมิ่งได้ต่ำกว่า 0.45 บาทต่อนาที หรือเสนอส่วนลดต่อปริมาณการใช้งาน (Volume discount) ซึ่งก็จะทำให้อัตราค่าโรมมิ่งต่ำลงไปอีก
          คงคำแนะนำ ซื้อ คาดการณ์อัตราผลตอบแทนปันผลยังอยู่ในระดับที่ดีเป็น 5.2% และ 6.3% ในงวดปี 56 และ 57 ตามลำดับ ปรับราคาพื้นฐานใหม่สูงขึ้นเป็น 140.00 บาท
ส่วนผลการดำเนินงาน 1Q56 สดใสกว่าคาด กำไรหลักเป็น 3,454 ล้านบาท เพิ่ม 15% y-o-y และ 34% q-o-q ถือว่าสูงกว่าที่เราและตลาดฯคาดไว้ก่อนหน้าถึง 18% และ 14% ตามลำดับ สืบเนื่องจากค่าเสื่อมราคาและค่าใช้จ่ายในการบำรุงรักษาเครือข่ายต่ำกว่าที่คาดนั่นเอง

* กิมเอ็ง เชียร์ซื้อเก็งกำไร TRUE คาดคุ้มทุนช่วงครึ่งหลังปี 56

บทวิเคราะห์ บล.เมย์แบงก์ กิมเอ็ง (ประเทศไทย) ระบุว่า การโอนย้านฐานลูกค้าจากระบบ 2G ไปยัง Truemove H ที่ให้บริการ 3G ทั้ง 2 คลื่นความถี่คือ 850 MHz และ 2,100 MHz จะทำให้ TRUE เข้าสู่จุดคุ้มทุนได้ใน 2H56 และเชื่อว่าราคาหุ้นจะตอบรับเชิงบวกตามผลประกอบการที่ดีขึ้นตามลำดับ จึงแนะนำนักลงทุนเล่นซื้อเก็งกำไร โดยให้ราคาเป้าหมายไว้ที่ 10.10 บาทต่อหุ้น
นอกจากนี้ ราคาหุ้น บริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ TRUE มีปัจจัยบวกในช่วงสั้น จาก Regulatory Risk ที่ลดลง หลัง กสท. และ Truemove ได้มีข้อตกลงร่วมกันในการโอนกรรมสิทธิ์เสาโทรคมนาคม ให้กับบริษัท Tower Co โดยในขั้นแรก กสท.จะถือหุ้น 100% และหลังจากนั้น จะมีการโอนกรรมสิทธิ์ในการตีมูลค่าแทนการชำระราคาหุ้น / เงินสด และส่งผลให้สัดส่วนการถือหุ้นระหว่าง กสท. และ Truemove อยู่ที่ 51% : 49% ส่วนขั้นตอนถัดไป คือการนำเสนอเพื่อขอความเห็นจากกระทรวงการคลัง ว่าการทำข้อตกลงดังกล่าว ถือว่าเข้าข่าย พรบ.ร่วมการเงินหรือไม่ และต้องรอการอนุมัติจากการะทรวง ICT อีกครั้ง ซึ่งคาดว่าจะได้ข้อสรุปภายในเดือน มิ.ย.2556
* กสิกรไทย ระบุ3G ใหม่ ขับเคลื่อนตลาดบริการมือถือโต 12.8-15.2 % 
        ศูนย์วิจัยกสิกรไทย รายงานว่า ธุรกิจบริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ในปี 2555 ที่ผ่านมา มีการเติบโตที่แข็งแกร่ง โดยได้รับประโยชน์อย่างเต็มที่จากการขยายโครงข่ายบริการ 3G เชิงพาณิชย์บนคลื่นความถี่เดิมที่ครอบคลุมทั่วประเทศมากขึ้น พร้อมทั้งการเพิ่มขึ้นของฐานผู้บริโภคที่ใช้บริการ 3G บนโครงข่ายดังกล่าว ตลอดจนแรงหนุนจากการขยายตัวอย่างต่อเนื่องของตลาดอุปกรณ์เคลื่อนที่ทั้งสมาร์ทโฟนและแท็บเล็ต ส่งผลให้ตลาดบริการโทรศัพท์เคลื่อนที่โดยรวมของปี 2555 เติบโตร้อยละ 11.5 ใกล้เคียงกับปี 2554 ซึ่งมีการเติบโตร้อยละ 11.8 โดยมีแรงผลักดันหลักจากการเติบโตอย่างก้าวกระโดดของการใช้บริการด้านข้อมูล ซึ่งมีการขยายตัวสูงถึงร้อยละ 44.1 เทียบกับที่ขยายตัวร้อยละ 34.7 ในปีก่อนหน้า ในขณะที่การใช้บริการด้านเสียงมีแนวโน้มการเติบโตที่ชะลอลงจากร้อยละ 7.1 ในปี 2554 มาอยู่ที่ร้อยละ 3.0 ในปี 2555
สำหรับแนวโน้มโดยรวมในปี 2556 นั้น การทยอยเปิดให้บริการ 3G บนคลื่นความถี่ 2.1 GHz ตามเขตพื้นที่กรุงเทพฯ ปริมณฑล และหัวเมืองใหญ่ตั้งแต่ช่วงไตรมาส 2 คาดว่า จะเป็นปัจจัยหลักในการผลักดันการเติบโตของธุรกิจบริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ โดยเฉพาะบริการด้านข้อมูล เนื่องจาก จะช่วยขจัดข้อจำกัดด้านคุณภาพการให้บริการข้อมูลในบริการ 3G บนคลื่นความถี่เดิมที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบัน ประกอบกับแรงหนุนจากการออกโปรโมชั่นทางการตลาดของผู้ให้บริการโทรคมนาคมเพื่อจูงใจผู้บริโภคให้หันมาใช้บริการ 3G ใหม่ เพื่อลดต้นทุนจากการจ่ายส่วนแบ่งรายได้สัมปทานราวร้อยละ 25-30 ไปสู่การจ่ายค่าธรรมเนียมจากรายได้เพียงร้อยละ 2 และยังเป็นการลดความเสี่ยงในการดำเนินธุรกิจของผู้ประกอบการบางรายที่สัญญาสัมปทานในระบบ 2G จะหมดลงในอนาคตอันใกล้ ทั้งนี้ ศูนย์วิจัยกสิกรไทย คาดว่า จำนวนผู้บริโภคที่หันมาใช้บริการ 3G ใหม่ ในปี 2556 น่าจะมีมากกว่า 20 ล้านราย ซึ่งส่วนใหญ่น่าจะเป็นผู้ใช้บริการที่ย้ายมาจากระบบ 2G หรือ 3G เดิม
          ศูนย์วิจัยกสิกรไทย มองว่า การเปิดให้บริการ 3G บนคลื่นความถี่ 2.1 GHz จะเป็นจุดเปลี่ยนสำคัญอีกจุดหนึ่งต่อรูปแบบการทำการตลาดและการแข่งขันในธุรกิจบริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ ดังนี้ อาทิ เร่งขยายโครงข่าย 3G ใหม่ให้ครอบคลุมทั่วประเทศเร็วขึ้นสำหรับผู้ให้บริการที่มีข้อจำกัดด้านคุณภาพการให้บริการข้อมูลบน 3G เดิม, เร่งขยายตลาดโพสต์เพด ในขณะที่ไม่ทิ้งตลาดพรีเพด,การเปิดให้บริการ 3G ใหม่ควบคู่กับบริการ 4G บนคลื่นความถี่ 2.1 GHz ,เร่งสร้างพันธมิตร รวมถึงพัฒนาบริการด้านข้อมูลใหม่ๆ เป็นต้น
          จากแนวโน้มและปัจจัยสำคัญต่างๆ ดังที่ได้กล่าวไว้ข้างต้น ศูนย์วิจัยกสิกรไทย คาดว่า ภาพรวมของตลาดบริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ในปี 2556 จะเติบโตประมาณร้อยละ 12.8-15.2 โดยมีมูลค่าตลาดเพิ่มขึ้นสู่ระดับ 213,600-217,100 ล้านบาท จาก 189,400 ล้านบาทในปี 2555 ในจำนวนนี้คิดเป็นแรงหนุนจากการใช้บริการด้านข้อมูลคิดเป็นมูลค่า 70,900-74,800 ล้านบาท ขยายตัวราวร้อยละ 39.7-47.5 ในขณะที่บริการด้านเสียงอาจจะเติบโตในกรอบจำกัดที่ประมาณร้อยละ 2.9-3.4 เทียบกับที่ขยายตัวร้อยละ 3.0 ในปี 2555
* จับตา การลดราคาค่าบริการด้านเสียงและข้อมูลลง 15%
          ศูนย์วิจัยกสิกรไทย รายงานด้วยว่า ได้รวบรวมประเด็นที่ควรติดตาม ซึ่งมีผลเกี่ยวพันกับการเปิดให้บริการ 3G ใหม่ ดังนี้ ข้อจำกัดการให้บริการคงสิทธิเลขหมายต่อการเร่งโอนย้ายลูกค้าสู่ 3G ใหม่สำหรับผู้บริโภคที่ใช้บริการบนระบบ 2G หรือ 3G เดิม แล้วต้องการที่จะใช้บริการ 3G ใหม่บน เลขหมายเดิม จำเป็นที่จะต้องใช้บริการคงสิทธิเลขหมาย (Mobile Number Portability: MNP) ซึ่งปัจจุบันทางคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคม (กทค.) มีมติให้ระบบเคลียริ่งเฮาส์สำหรับบริการดังกล่าวสามารถดำเนินการโอนย้ายลูกค้าได้ประมาณ 4 หมื่นเลขหมายต่อวันเท่านั้น ซึ่งผู้ให้บริการมีความเป็นกังวลว่าอาจจะเป็นข้อจำกัดในการทำการตลาดเพื่อโอนย้ายลูกค้าสู่บริการ 3G ใหม่ โดยก่อนหน้านี้ ผู้ให้บริการเคยเสนอที่จะใช้รูปแบบการโอนย้ายอัตโนมัติที่สามารถทำได้ 1 แสนเลขหมายต่อวันเพื่อเร่งโอนย้ายลูกค้าสู่ 3G ใหม่ โดยเฉพาะในช่วงต้นของการเปิดให้บริการ 3G ใหม่ ซึ่งมีการคาดกันว่าน่าจะมีความต้องการโอนย้ายมากกว่า 1 แสนรายต่อวัน
          จากเงื่อนไขการได้รับใบอนุญาตในการเปิดให้บริการ 3G ใหม่ ที่มีการระบุว่าผู้ให้บริการต้องลดค่าบริการด้านเสียงและข้อมูลลงอย่างน้อยร้อยละ 15 เนื่องจากผู้ให้บริการ 3G ใหม่จะมีต้นทุนการจ่ายค่าธรรมเนียมรายได้เพียงร้อยละ 2 ซึ่งลดลงค่อนข้างมากเมื่อเทียบกับการจ่ายแบ่งรายได้ถึงราวร้อยละ 25 ถึง 30 ในระบบสัมปทานเดิม ซึ่งการลดค่าบริการลงดังกล่าว นอกเหนือจากการสร้างความเป็นธรรมให้แก่ผู้บริโภคแล้ว ยังเป็นการกระตุ้นให้ผู้บริโภคเกิดความต้องการย้ายบริการจากระบบ 2G ที่มีค่าบริการสูงกว่า ไปยังบริการ 3G ใหม่ที่มีค่าบริการลดลง อย่างไรก็ดี มีผู้ให้บริการบางรายได้เสนอทางเลือกอื่นนอกเหนือจากการลดค่าบริการโดยตรง โดยเสนอที่จะเพิ่มการใช้งานเสียงและปริมาณข้อมูลขึ้นไม่น้อยกว่าร้อยละ 15 เช่น แพ็กเกจ 599 บาท จำกัดการใช้งานบริการข้อมูล 2 กิกะไบต์ และบริการเสียง 400 นาที จะเพิ่มเวลาการใช้บริการเสียงและข้อมูลให้มากกว่ามูลค่าร้อยละ 15 เป็นต้น อย่างไรก็ดี แนวทางดังกล่าวต้องรอความชัดเจนจากทาง กทค. ก่อนการดำเนินการ
*บิ๊ก AIS คาดสิ้นปีนี้มีผู้ใช้บริการ 3จี 10 ล้านเลขหมาย 
          นายวิเชียร เมฆตระการ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) หรือ ADVANC เปิดเผยว่า บริษัทฯ คาดว่าภายในสิ้นปีนี้จะมีผู้ใช้บริการคลื่นสัญญาณโทรศัพท์ 3G จำนวน 10 ล้านเลขหมาย หลังจากที่ปัจจุบันบริษัทฯ มีความพร้อมและได้ทดลองเปิดให้บริการแล้ว
          โดยคาดว่าจะมีลูกค้ารายใหม่ที่ซื้อซิมและใช้บริการ รวมถึงลูกค้าปัจจุบันที่มีอยู่ ย้ายการใช้บริการจากคลื่นความถี่ 900 GHz เป็น 2.1 GHz ประกอบกับในปีนี้บริษัทฯ คาดว่าจะมีสถานีโครงข่ายให้บริการจำนวน 9,000 สถานี ซึ่งขณะนี้มีอยู่แล้ว 3,800 สถานี โดยระยะเวลา 3 ปีข้างหน้า บริษัทฯ คาดว่าจะมีจำนวน 20,000 สถานี โดยใช้งบลงทุนทั้งหมดจำนวน 70,000 ล้านบาท
ทั้งนี้ บริษัทฯ ได้ร่วมมือกับบริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด เพื่อนำนวัตกรรม NSC เพื่อให้บริการ AIS M Pay Rabbit โดยจำบัตร Rabbit มาไว้ในซิม AIS 3G บนคลื่นความถี่ 2.1 GHz ซึ่งนับเป็นครั้งแรกในเอเซีย แปซิฟิก โดยจะเป็นการอำนวยความสะดวกให้แก่ชีวิตคนเมืองอย่างเป็นรูปธรรมที่สุด
          โดยผู้ใช้บริการสามารถนำโทรศัพท์มือถือรุ่นที่รองรับเทคโนโลยี AIS 3G ไปใช้ชำระค่าโดยสารรถไฟฟ้า และระบบขนส่งมวลชนอื่นๆ รวมถึงใช้ซื้อสินค้า ณ ร้านที่เข้าร่วม โดยลูกค้าจะสามารถเติมเงินและตรวจสอบเงินคงเหลือตลอดเวลา ซึ่งบริการนี้จะเริ่มเปิดให้บริการอย่างเป็นทางการไตรมาส 3 ปีนี้
          สำหรับแผนงาน AIS 3G ใหม่นั้นจะเริ่มให้ลูกค้าบางส่วนใช้บริการได้ใน 18 จังหวัด รวมพื้นที่ส่วนใหญ่ของ กทม. และเตรียมเปิดให้บริการอย่างเป็นทางการในช่วง
 
  

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น