"คลัง" เปิดประเด็นร้อนเตรียมนัดถก "ก.ล.ต." ทบทวนเก็บภาษีกองทุนอสังหาฯและกอง REIT
ชี้เป็นช่องโหว่ให้ผู้ประกอบการรายใหญ่ไม่ต้องเสียภาษี แจงนโยบายเดิมเกิดจากวิกฤติปี"40 อสัง
หาฯมีปัญหาแต่ปัจจุบันไม่ใช่ สรรพากรขานรับหาช่องจัดเก็บใหม่ ฟาก บลจ.-ผู้ประกอบการอสัง
หาฯป่วน หวั่นทำลายตลาดลงทุน เผยมูลค่าพร็อพเพอร์ตี้ฟันด์เฉียด 1.4 แสนล้าน

นางเบญจา หลุยเจริญ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง เปิดเผย "ประชาชาติธุรกิจ" ว่า
ขณะนี้กระทรวงการคลังกำลังพิจารณาทบทวนการให้สิทธิประโยชน์ทางภาษีของกอง
ทุนอสังหาริมทรัพย์ รวมทั้งกองทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ (Real Estate
InvestmentTrust : REIT) เนื่องจากกองทุนเหล่านี้มีลักษณะที่ไม่ใช่หน่วยภาษี ทำให้กรม
สรรพากรไม่สามารถเก็บภาษีได้ ที่ผ่านมาจึงมีผู้ที่ใช้ช่องทางดังกล่าวกันมาก เพื่อที่จะไม่ต้องเสีย
ภาษี

ทั้งนี้ นโยบายดังกล่าวเกิดขึ้นในช่วงหลังเกิดวิกฤตเศรษฐกิจปี 2540 ที่ต้องการสนับสนุนให้มีการ
ลงทุนกันมากขึ้นจึงให้มีการยกเว้นการจัดเก็บภาษี แต่ปัจจุบันภาคอสังหาริมทรัพย์ไม่ได้มีปัญหา
เช่นในอดีต จึงต้องดูว่าในสถานการณ์ปัจจุบันยังจำเป็นต้องใช้มาตรการทางภาษีสนับสนุนการตั้ง
กองทุนประเภทนี้อยู่หรือไม่

"ต้องดูว่าในสถานการณ์ปัจจุบันยังต้องคงอยู่หรือไม่ เพราะมีการตั้งกันเยอะ อย่างมีตึกแทนที่จะ
ให้เช่าโดยตรง แต่เอามาตั้งเป็นพร็อพเพอร์ตี้ฟันด์ แล้วค่าเช่าก็ไม่ต้องเสียภาษี ตอนนั้นที่สนับ
สนุนให้ตั้งเพราะภาคอสังหาริมทรัพย์มีปัญหา ก็อยากให้คนมาลงทุนกันเยอะ ๆ แต่ตอนนี้ไม่มี
ปัญหา" นางเบญจากล่าว

รมช.คลังยอมรับว่า เมื่อไม่ใช่หน่วยภาษี ทำให้ไม่มีข้อมูลว่าหากเก็บภาษีจะได้เม็ดเงินเท่าใด
โดยส่วนนี้อาจต้องประสานขอข้อมูล และหารือกับทางสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์
และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) เพื่อนำมาประกอบการพิจารณาต่อไป

สรรพากรรับเป็นช่องโหว่

ด้านแหล่งข่าวจากกรมสรรพากร กล่าวกับ "ประชาชาติธุรกิจ" ว่า แนวคิด รมช.คลังที่จะทบทวน
เรื่องการยกเว้นภาษีให้กับการจัดตั้งกองทุนอสังหาริมทรัพย์ เป็นเรื่องที่สมควรดำเนินการอย่างยิ่ง
เพราะปัจจุบันถือได้ว่าเป็นช่องโหว่อย่างมาก ทำให้มีการหลบเลี่ยงภาษีโดยการไปตั้งกองทุนดัง
กล่าวกันมาก เนื่องจากพร็อพเพอร์ตี้ฟันด์ไม่เป็นหน่วยภาษี

แหล่งข่าวกล่าวว่า สิทธิประโยชน์ทางภาษีกองทุนอสังหาริมทรัพย์เดิม คือ ไม่ต้องเสียภาษี
นิติบุคคล ขณะที่ผู้ที่ลงทุนประเภทบุคคลธรรมดา หรือผู้ถือหน่วยลงทุน ไม่ต้องนำเงินปันผลมา
คำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาได้ในบางกรณี เช่น กรณีบริษัทจดทะเบียนที่ลงทุนในหน่วยลง
ทุน โดยถือ 3 เดือนก่อนหน้า และ 3 เดือนหลังจากวันจ่ายเงินปันผล เป็นต้น

"สิทธิประโยชน์ทางภาษีพร็อพเพอร์ตี้ฟันด์ไม่มีเงื่อนไขเวลาว่ามาตรการจะหมดอายุเมื่อใด
ขึ้นอยู่กับเงื่อนไขว่าทางสำนักงาน ก.ล.ต.ให้จัดตั้งหรือเปล่า เพราะถ้าไม่ให้ตั้งก็เท่ากับไม่ได้รับ
สิทธิประโยชน์ ซึ่ง ก.ล.ต.ก็กำหนดว่าจะให้จัดตั้งภายในปี 2556 นี้เท่านั้น โดยปัจจุบันทางตลาด
ทุนจะสนับสนุนให้จัดตั้งเป็นกอง REIT หรือกองทรัสต์มากกว่า ก็เท่ากับว่าสิทธิประโยชน์ของ
พร็อพเพอร์ตี้ฟันด์จะไม่ได้รับไปในปริยาย" แหล่งข่าวกล่าว

โดยในส่วนการจัดตั้งกอง REIT หรือกองทรัสต์นั้น ตัวกองทรัสต์ไม่เสียภาษีนิติบุคคล แต่ผู้ลงทุน
ประเภทบุคคลธรรมดาต้องนำเงินปันผลมารวมคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ซึ่งในส่วนของตัว
กองทรัสต์ที่ไม่เสียภาษีขณะนี้กรมสรรพากรก็กำลังศึกษาหาช่องทางจัดเก็บ ซึ่งน่าจะสามารถเก็บ
ภาษีจากด้านอื่นได้

ก.ล.ต. แจงขอฟังแนวคิดก่อน

นายธวัชชัย พิทยโสภณ ผู้อำนวยการฝ่ายงานเลขาธิการ สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์
และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) กล่าวว่า กระทรวงการคลังยังไม่ได้หารือ ก.ล.ต.เรื่องดังกล่าว ยัง
ไม่ทราบรายละเอียด และไม่สามารถระบุได้ว่าจะมีผลอย่างไรเกิดขึ้น ปัจจุบันหลักเกณฑ์การลง
ทุนในกองทุนอสังหาฯ (กองที่ 1) นั้น ได้ยกเว้นภาษีให้กับนิติบุคคลซึ่งเป็นบริษัทจดทะเบียน
(บจ.) ที่เข้ามาถือหน่วยลงทุนก่อนหน้าที่จะมีการจ่ายเงินปันผล 3 เดือน และหลังจากจ่ายเงินปัน
ผล 3 เดือน ส่วนนิติบุคคลที่ไม่ใช่ บจ.จะได้รับการยกเว้นภาษีจากเงินปันผลครึ่งหนึ่ง

บลจ.วอนรัฐทบทวน

แหล่งข่าวผู้บริหาร บลจ.รายหนึ่งกล่าวว่า ไม่เห็นด้วยกับแนวคิดนี้ เพราะทำให้ความต้องการออก
กองทุนอสังหาฯปีนี้หมดทันที เพราะหากเก็บภาษีผลตอบแทนของกองทุนลดลงไปจากเดิมที่นัก
ลงทุนเคยได้รับเฉลี่ยที่ราว 7-8% ต่อปี จนทำให้ บลจ.ในฐานะผู้ออกกองทุนขายหน่วยลงทุนยาก
ขึ้น

นอกจากนี้ หากคำนวณในแง่ผลประโยชน์ที่รัฐบาลจะได้รับถือว่าไม่คุ้มค่า เนื่องจากปัจจุบันพบว่า
ไทยมีกองทุนรวมอสังหาฯ 30-40 กองทุน จ่ายปันผลรวมทั้งสิ้นราว 1 หมื่นล้านบาท ถ้ารัฐเก็บ
ภาษี 20% จะได้เงินคืนเพียง 2-3 พันล้านบาท ซ้ำร้ายจะเป็นการทำลายตลาดการลงทุนด้วย

ผลกระทบที่จะเกิดขึ้นคือ ความมั่นใจนักลงทุนต่างชาติที่อาจจะมีมุมมองว่า ไทยปรับเปลี่ยน
นโยบายปิดโอกาสสร้างผลตอบแทน ต่างจากเพื่อนบ้านอย่างสิงคโปร์ ขณะนี้อยู่ระหว่างศึกษา
และพยายามปรับรูปแบบลงทุนให้มีโครงสร้างคล้ายกองทุนรวมอสังหาฯกอง 1 ของไทย เพื่อ
ประโยชน์นักลงทุน ดึงดูดเงินเข้าประเทศ

นายสมชัย บุญนำศิริ กรรมการผู้จัดการ บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน (บลจ.) กรุงไทย กล่าว
ว่า บริษัทได้รับมอบหน้าที่ในการเป็นผู้จัดการในการออกกองทุนอสังหาฯของกลุ่ม "นายเจริญ สิริ
วัฒนภักดี" ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างวางแผนที่จะออกกองทุนอสังหาฯกองใหม่ที่มีโรงแรมสินทรัพย์
อ้างอิง มูลค่าราว 3 หมื่นล้านบาท หากหลักเกณฑ์ในเรื่องการออกกองทุนมีความเปลี่ยนแปลง
บริษัทก็ต้องกลับมาพิจารณาอีกครั้ง

เมเจอร์-แลนด์ฯ ร้องยี้

ดร.สุริยา พูลวรลักษณ์ กรรมการผู้จัดการ บมจ. เมเจอร์ ดีเวลลอปเม้นท์ กล่าวว่า ไม่เห็นด้วย
อย่างยิ่งที่จะเก็บภาษี เพราะปัจจุบันการตั้งพร็อพเพอร์ตี้ฟันด์มีข้อจำกัดเรื่องขนาดกองทุนอยู่แล้ว
กองทุนควรจะต้องมีขนาดไม่ต่ำกว่า 1,000 ล้านบาท แต่ถ้ารัฐมีนโยบายจะเก็บภาษี ทำให้ผู้
ประกอบการที่เตรียมจัดตั้งกองทุนจะต้องคำนวณภาระภาษีเข้าไปอยู่ในหน่วยลงทุนซึ่งจะเป็น
อุปสรรคในการจัดตั้งพร็อพเพอร์ตี้ฟันด์ที่เวลาเหลือแค่ถึงสิ้นปีนี้ บริษัทอยู่ระหว่างศึกษานำ
โรงแรมมาราเกช หัวหิน ตั้งพร็อพเพอร์ตี้ฟันด์ มูลค่า 1,000 ล้านบาท แต่ถ้ารัฐจะจัดเก็บภาษีจริง
อาจทบทวนเรื่องราคาหน่วยลงทุน

ขณะที่นายอดิศร ธนนันท์นราพูล รองกรรมการผู้จัดการ บมจ. แลนด์ แอนด์ เฮ้าส์ เปิดเผยว่า
ภาษีที่ได้รับยกเว้นคือเรียกเก็บจากเงินปันผล ถ้าคลังจัดเก็บภาษีก็จะจูงใจการลงทุนน้อยลง
เพราะสิทธิพิเศษไม่แตกต่างจากกอง REIT ที่มีข้อดีคือ สามารถกู้เงินขยายขนาดกองทุนให้ใหญ่
ขึ้นได้อีก 30-35% ของมูลค่ากองทุน ขณะที่พร็อพเพอร์ตี้ฟันด์มีข้อจำกัดกู้เงินขยายได้สูงสุดไม่
เกิน 10%

"ต้องรอดูว่าแนวคิดจะกลายเป็นนโยบายหรือไม่ แลนด์มีแผนจะตั้งพร็อพเพอร์ตี้ฟันด์ปลายปีนี้
คงต้องเร่งออกก่อนมีนโยบายใหม่ ๆ โดยเตรียมนำทรัพย์สิน 2 รายการ คือ เทอร์มินัล 21 กับโฮ
มโปรบางสาขา จัดตั้ง มูลค่าไม่ต่ำกว่า 1 หมื่นล้านบาท"

ทั้งนี้ ข้อมูลจากสมาคมบริษัทหลักทรัพย์จัดการลงทุนระบุว่า ณ สิ้นปี 2555 มูลค่าสินทรัพย์สุทธิ
พร็อพเพอร์ตี้ฟันด์อยู่ที่ 139,527.88 ล้านบาท คิดเป็น 6% ของกองทุนรวมทั้งระบบ มีทั้งหมด 43
กองทุน ซึ่งผู้ประกอบการรายใหญ่ต่างใช้ช่องทางการจัดตั้งกองทุนรวมอสังหาฯเพื่อรับสิทธิ
ประโยชน์ยกเว้นภาษี อาทิ กองทุนรวมสิทธิการเช่าอสังหาฯ CPN รีเทล โกรท, กองทุนรวมสิทธิ
การเช่าอสังหาฯเมเจอร์ ซีนีเพล็กซ์ ไลฟ์สไตล์, กองทุนรวมสิทธิการเช่าตลาดไท, กองทุนรวม
อสังหาฯควอลิตี้ เฮ้าส์, กองทุนรวมสิทธิการเช่าอสังหาฯและรีสอร์ตในเครือเซ็นทารา รวมทั้งกอง
ทุนรวมอสังหาฯ ไทย คอมเมอร์เชียล อินเวสเม้นต์ (TCIF) ของกลุ่มนายเจริญ สิริวัฒนภักดี เป็น
ต้น

CR : ประชาชาติธุรกิจออนไลน์
http://www.prachachat.net/news_detai...sid=1377749650