วันพุธที่ 21 สิงหาคม พ.ศ. 2556

ความอ่อนแอของตลาดเอเชียในปี 40 กับปี 56 ต่างประเทศ วันพฤหัสบดีที่ 22 สิงหาคม 2556

ความอ่อนแอของตลาดเอเชียในปี 40 กับปี 56

ต่างประเทศ วันพฤหัสบดีที่ 22 สิงหาคม 2556 
ผู้เข้าชม : 4 คน 

วิกฤติการเงินเอเชียเมื่อปี 2540 เกิดขึ้นเพราะมีพิษร้ายหลายๆ อย่างผสมผสานกัน  ข่าวร้ายในขณะนี้คือการผสมผสานของพิษร้ายในแบบเดียวกันนั้นกำลังตั้งเค้ามาอีกครั้ง นั่นคือ การเข้มงวดนโยบายเงินของธนาคารกลางสหรัฐและการเข้มงวดงบประมาณของญี่ปุ่น
                ย้อนกลับไปในเดือนมีนาคม 2540 ในตอนนั้น นโยบายสื่อสารของเฟดไม่เหมือนกับในขณะนี้ที่เป็นยุคของความโปร่งใส ดังนั้น นักลงทุนจึงมักงงงวยอย่างช่วยไม่ได้เมื่อธนาคารกลางสหรัฐขึ้นอัตราดอกเบี้ยซื้อลดพันธบัตรเป็น 5.5% จาก 5.25% หลังจากที่ได้ลดอัตราดอกเบี้ยมานานสองปี
                หนึ่งเดือนต่อมา ในเดือนเมษายน 2540 รัฐบาลญี่ปุ่นขึ้นภาษีบริโภคทั่วประเทศจาก 3% เป็น 5% มีการมองกันในเวลานั้นว่าเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้เศรษฐกิจญี่ปุ่นเข้าสู่ภาวะถดถอยในช่วงไตรมาสสี่ของปี 2540
                เมื่อมองล่วงหน้าไปจากวันนี้  คาดว่าเฟดจะเริ่มยุติโครงการซื้อพันธบัตรที่ทำขึ้นเพื่อกระตุ้นการเติบโตหลังจากที่เกิดวิกฤติการเงิน    ไม่ว่าเฟดจะหยุดซื้อในเดือนกันยายนหรือธันวาคม มันจะกลายเป็นเหตุการณ์หนึ่งที่ไม่สำคัญในประวัติศาสตร์ แต่สิ่งที่สำคัญคือ การค่อยๆ ลดโครงการซื้อพันธบัตรในขณะนี้ ดูเหมือนว่าไม่อาจหลีกเลี่ยงได้
                ในขณะเดียวกัน นายกรัฐมนตรีชินโซ อาเบะ กำลังพิจาณาที่จะขึ้นภาษีบริโภคในแบบเดียวกันเป็น 8% ตั้งแต่เดือนเมษายนปี 2557 จากที่ขณะนี้มีอัตราที่ 5%
                จึงไม่น่าแปลกใจที่ตลาดเกิดใหม่ในเอเชียกำลังเริ่มตื่นเต้นเป็นพิเศษ   แต่ไม่ว่าจะเป็นอย่างไรก็ตาม นั่นคือเงินจำนวนมากกำลังจะหยุดเข้าสู่ระบบการเงิน  จะไม่มีการมองหาผลตอบแทนและจะไม่มีเงินร้อนที่ทำให้ตลาดหุ้นในตลาดเกิดใหม่ปรับตัวขึ้น
                สกุลเงินในตลาดเกิดใหม่ของเอเชียกำลังแบกรับความเจ็บปวด  ในช่วง 4 เดือนนับตั้งแต่เดือนเมษายน เงินบาทอ่อนตัวลง 10% เมื่อเทียบกับดอลลาร์  เงินรูปีอินเดียได้อ่อนตัวลงมากกว่า 16% และเงินรูเปียะห์อินโดนีเซียอ่อนตัวลง 11.4%
                คำถามที่ยังคงมีอยู่คือ วิกฤติการเงินปี 2540 จะเกิดขึ้นอีกครั้งหรือไม่?
                จนถึงขณะนี้การเคลื่อนไหวในตลาดอ่อนโยนกว่า   เหตุผลใหญ่คือ เงินหลายสกุลในตอนนั้นมีการกำหนดอัตราแลกเปลี่ยนคงที่เมื่อเทียบกับดอลลาร์   เมื่อปล่อยค่าเงินบาท มันจึงอ่อนตัวลง 40% ในช่วง 4 เดือนหลังจากที่ธนาคารกลางถูกบีบให้ต้องปล่อยเงินบาทลอยตัวในเดือนกรกฎาคม 2540   เงินรูเปียะห์อินโดนีเซียก็พบกับชะตากรรมเดียวกันเมื่อวิกฤตทำให้เป็นไปไม่ได้ที่จะมีควบคุมอัตราแลกเปลี่ยน
                มีความแตกต่างในเรื่องอื่นๆ ด้วยเช่นกันสำหรับครั้งนี้  ก่อนที่จะเกิดวิกฤติการเงินเอเชีย ญี่ปุ่นช่วยขับเคลื่อนการเติบโตของประเทศกำลังพัฒนาที่เป็นเพื่อนบ้านกัน  แต่ในครั้งนี้ จีนเป็นคนเล่นบทบาทนั้น และในแนวโน้มการเติบโตของจีนทั้งหมด ไม่มีใครเปรียบเทียบระหว่างจีนในวันนี้กับญี่ปุ่นในปี 2540
                ถ้าอย่างนั้นนักลงทุนต้องทำอะไรบ้าง?
                วินเซนต์  ซิกนาเรลลา นักกลยุทธ์เงิน และคอลัมนิสต์ของ ดีเจ เอฟเอ็กซ์ เทรดเดอร์ และเป็นผู้ร่วมตั้งดัชนีดอลลาร์ของวิลล์สตรีท แนะนำว่า ให้ติดตามดอลลาร์อย่างใกล้ชิด โดยเฉพาะว่ามันซื้อขายอย่างไรกับเงินเยน  ในช่วงที่เกิดวิกฤติการเงินเอเชีย นักลงทุนมองหาที่ที่ปลอดภัยที่จะไปถือดอลลาร์  ในเดือนเมษายน 2540  หนึ่งดอลลาร์ซื้อได้ประมาณ 106 เยน  ภายในเดือนสิงหาคม 2541 ซึ่งเป็นจุดที่วิกฤติลุกลามไปยังรัสเซียและเป็นสาเหตุให้หุ้นสหรัฐโซเซ   เงินหนึ่งดอลลาร์แลกได้ประมาณ 147 เยน
                หากดอลลาร์เริ่มที่จะอ่อนตัวอย่างรวดเร็วเมื่อเทียบกับเงินเยน  หวัดเอเชียอาจกลายเป็นไข้หวัดใหญ่เอเชีย ซึ่งเป็นโรคที่น่าจะติดต่อกันทั้งหมดได้
                                                                   

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น