วันพุธที่ 7 สิงหาคม พ.ศ. 2556

บทเรียนจากดีทรอยท์


บทเรียนจากดีทรอยท์

คอลัมน์ วันพุธที่ 07 สิงหาคม 2556
ผู้เข้าชม : 763 คน


เดือนกรกฎาคม เมืองดีทรอยท์ ได้ประกาศยื่นต่อศาลล้มละลายของสหรัฐ เพื่อขอรับความช่วยเหลือทางการเงิน เพราะหมดปัญญาจ่ายภาระหนี้ของเมือง 1.8 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ ให้กับผู้ถือตราสารหนี้ที่เรียกกันว่า ตราสารหนี้เทศบาล (MUNI- Municipal Bonds) ถือเป็นเมืองขนาดใหญ่ที่สุดของอเมริกาที่ประกาศล้มละลาย
ปัญหาของเมืองดีทรอยท์ ถือเป็นฟางเส้นใหญ่ล่าสุดหรือสัญญาณเตือนภัยที่ทำให้เมืองขนาดใหญ่ทั่วโลกที่ได้รับอนุญาตตามกฎหมายให้สามารถบริหารการเงินและหนี้สาธารณะด้วยตนเองอย่างเป็นอิสระจากรัฐบาลกลางต้องหันมาทบทวนตนเองเป็นการมใหญ่โดยเฉพาะเมืองในเอเชีย รวมทั้งจีนด้วย
การบริหารการเงิน และหนี้สาธารณะของเมือง เคยเป็นศูนย์กลางความภาคภูมิใจของประเทศ และรัฐประชาธิปไตยในโลกที่อวดอ้างได้ว่า นี่คือรูปแบบ และสาระสำคัญของระบบการปกครองท้องถิ่นที่ทำให้คนในชุมชนสามารถมีส่วนร่วมในอำนาจรัฐได้อย่างคล่องตัวและบริหารอนาคตของตนเองโดยไม่ต้องพึ่งพาอำนาจของรัฐบาลกลางทั้งหมด
ในสหรัฐฯนั้น เมืองขนาดใหญ่ ได้รับอนุญาตให้เลือกตั้งผู้บริหารอย่างเป็นอิสระ และสามารถใช้อำนาจในการบริหารการเงิน และหนี้สาธารณะเพื่อสร้างความเจริญให้กับเมืองอย่างสะดวกกว้างขวางเป็นต้นแบบให้กับชาติอื่นๆ มายาวนาน
เครื่องมือสำคัญที่มีเปิดช่องให้ผู้บริหารเมืองสามารถบริหารการเงินและหนี้สาธารณะได้เต็มที่คือ หุ้นกู้ หรือ MUNI นี้เอง โดยการออกหุ้นกู้จะกระทำเหมือนการออกหุ้นกู้ทั่วไปนั่นคือจะต้องมีการนำเอาสินทรัพย์มาประเมินค่า ตามหลักการทางการเงิน แล้วให้บริษัทเครดิตเรตติ้งทำการประเมินเพื่อตีมูลค่าและอัตราดอกเบี้ยออกมาในรูปของคะแนนจัดอันดับเรตติ้ง
เมืองที่มีเรตติ้งดี ก็จะเสียอัตราดอกเบี้ยต่ำ ส่วนเมืองที่เรตติ้งตก ก็จะเสียดอกเบี้ยแพงตามสูตรทางการเงิน
ดีทรอยท์ เมืองศูนย์กลางการผลิตรถยนต์และเครื่องบินสำคัญของสหรัฐฯในรัฐมิชิแกน ถือว่าเป็นเมืองที่อยู่ในหัวแถวของการออกหุ้นกู้เพื่อบริการการเงินสาธารณะ ดีรับเครดิตดีมายาวนาน เพราะว่า มีความสามารถในการจัดเก็บรายได้จากภาษี และค่าธรรมเนียมเพื่อนำมาชำระหนี้หุ้นกู้ได้ตามโปรแกรม ซึ่งที่ผ่านมาราบรื่นโดยตลอด
จนกระทั่งโครงการพัฒนาเมืองขนาดใหญ่เมื่อ 10 ปีก่อน เรียกว่า Renaissance City (ชื่อสอดคล้องกับอาคารสำนักงานใหญ่ของบริษัทรถยนต์อันดับหนึ่ง เจนเนอรัล มอเตอร์ส ชื่อ Renaissance Centre) ซึ่งมีการออกหุ้นกู้MUNI มูลค่า 1.8 หมื่นล้านดังกล่าว โดยมีกองทุน และนักลงทุนจำนวนมากซื้อไปถือไว้ ถือเป็นประชานิยมอีกรูปแบบหนึ่งก็ไม่ผิด
ปัญหาก็คือใน 10 ปีที่ผ่านมา แหล่งป้อนภาษีสำคัญของเมืองคือ พนักงานในกิจการรถยนต์และชิ้นส่วนจำนวนมาก หมดความสามารถในการแข่งขัน จนต้องขอความช่วยเหลือทางการเงินจากรัฐบาลให้ช่วยพ้นจากภาวะล้มละลาย ทำให้ภาษีและรายได้ของเมืองลดลงฮวบฮาบ จนกระทั่งเมื่อหุ้นกู้ MUNI ครบกำหนดอายุไถ่ถอน เทศบาลเมืองก็หมดความสามารถในการชำระเงิน และประกาศเข้ายื่นต่อศาลล้มละลาย
การก่อหนี้ของเมืองโดยเอาภาษีในอนาคตมาการันตี ไม่ใช่เรื่องใหม่ของเมืองในสหรัฐฯ เมืองขนาดใหญ่ที่ไหนก็ทำเช่นนี้มานานหลายทศวรรษ เพราะมันคือการกระจายอำนาจทางการเงินการคลังที่รัฐบาลกลางไม่มีสิทธิ์เข้ามาก้าวก่าย แต่ประเด็นมันอยู่ที่อำนาจของเมืองที่มากเกิน ทำให้แนวโน้มของผู้บริหารเทศบาลที่เน้นประชานิยม และก่อหนี้เกินตัว นำเงินไปใช้ในโครงการที่ไม่สามารถทำให้เมืองพัฒนาไปข้างหน้าได้ ได้ทำให้เมืองจำนวนมากเข้าข่ายล้มละลาย
แม้กระทั่งรัฐแคลิฟอร์เนีย ซึ่งบริหารงานโดยอาร์โนลด์ ชวาเซนเน็กเกอร์ ดาราเจ้าของฉายา “คนเหล็ก” ซึ่งไม่ได้มีความรู้อะไร ก็ทำให้รัฐล้มละลายเป็นกรณีตัวอย่างมาแล้ว 
กรณีของดีทรอยท์ ลุกลามไปที่ญี่ปุ่น ซึ่งเมือ’จำนวนมากเริ่มก่อปัญหาไม่สามารถชำระหนี้หุ้นกู้เทศบาล(คล้าหรือทำนองเดียวกับ MUNI)ของตนเองเมื่อครบกำหนดได้ และลามต่อไปยังจีน ซึ่งขณะนี้ มีมูลค่าหนี้สินทั้งต่อธนาคารพาณิชย์ และต่อผู้ถือหุ้นกู้ที่กฎหมายอนุญาตให้กระทำได้ในสัดส่วนน่าเป็นห่วงว่าหากเกิดปัญหาไม่สามารถชำระได้ตามกำหนด อาจจะทำให้เสียศูนย์ได้ง่าย
ในกรณีของญี่ปุ่น มีประเด็นขัดแย้งระหว่างรัฐบาลท้องถิ่นและรัฐบาลกลางมาจนถึงทุกวันนี้อย่างที่แก้ไม่ตก ส่วนในกรณีของจีน ก็ทำให้สี จิ้น ผิง และหลี เค่อ เฉียง ต้องปวดหัวอาจจะต้องทบทวนเป้ามายแผนปฏิรูปการกระจายอำนาจที่วางเอาไว้เสียใหม่  หลังจากที่มีการสำรวจพบโดยผู้ตรวจสอบบัญชีภาครัฐ และสำนักวิจัยหลายแห่งว่ามีการซ่อนหนี้เอาไว้นอกงบการเงินสาธารณะในรัฐบาลท้องถิ่นมหาศาลที่อาจก่ออันตรายในระยะต่อไปได้
ในกรณีของกรีซ โปรตุเกส ไอร์แลนด์ และไซปรัสในสหภาพยุโรปนั้น ปัญหาหนี้ท่วมจนไม่สามารถชำระได้กระจุกตัวในรัฐบาลกลางเป็นหลั

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น