เชื่อว่าหลายๆคนต้องเปรียบเทียบราคาก่อนที่จะซื้อของบางอย่าง

ถ้าเป็นของธรรมดาทั่วๆไป ไม่มีแบรนด์ เราก็มักจะเลือกร้่านที่ถูกที่สุดเท่าที่เราจะหาได้

หรือแม้กระทั่งของที่มีแบรนด์ เราก็อยากจะไปฝากคนที่อยู่ต่างประเทศซื้อ

เพราะมันถูกกว่าที่เมืองไทยมากกกกกก....

เรื่องใกล้ๆตัวแค่นี้ มีปัจจัยขับเคลื่อนการตัดสินใจของเราตั้งหลายปัจจัย

อย่างแรกก็คือ ปัจจัยด้านราคา (บางทีการซื้อของถูกกว่าคนอื่น ก็เหมือนชัยชนะอย่างนึง 55+)

อีกอย่างก็คือ สถานที่ที่เราไปซื้อ ....เราจะเลือกห้างที่ใกล้บ้านที่สุด เพราะมันสะดวกและประหยัดน้ำมัน

ประหยัดเวลาอีกด้วย สิ่งเหล่านี้ถือเป็นต้นทุนของเราที่จะไปซื้อสินค้าที่เราอยากได้มาครองครอง

แม้แต่ในโลกออนไลน์ หากร้านที่ขายของราคาเท่ากัน เราก็จะเลือกที่มีการจัดส่งให้ฟรี

บริษัทหลายๆบริษัท ก็จะทำแบบเดียวกัน เพียงแต่ระบบการคิดมันจะซับซ้อนกว่าเท่านั้นเอง

แต่ก็ขึ้นอยู่กับปัจจัยการซื้อของ ของคนทั่วไปไม่ต่างกัน

การควบคุมต้นทุนให้ต่ำที่สุด ไม่ว่าจะเป็นการหาวัตถุดิบหรือ การขนส่ง จะส่งผลให้บริษัทมี Margin ที่สูงขึ้น...

แล้วถ้าเป็นบริษัทข้ามชาติหละ ???

บริษัทที่ติดอันดับโลกในแต่ละอุตสาหกรรม พวกนี้จะมีวิธีหาทรัพยากรที่เฉียบขาดกว่าบริษัทอื่นๆที่เป็นคู่แข่งของตัวเองค่ะ ทรัพยากรที่ว่านี้รวมถึง ทรัพยากรคนด้วย ...

การจ้างงานในหน่วยของดอลลาร์ย่อมแพงกว่า การจ้างงานที่จ่ายเป็นเงินบาท อยู่แล้วจริงมั้ยคะ และยิ่งหากพนักงานบริษัทนั้นมีมากเป็นพันๆคน ...ถ้าคุณเป็น CEO ก็อยากจะไปจ้างงานที่ประเทศอื่น ที่สามารถทำให้เราประหยัดรายจ่ายแต่ละเดือนไปได้อีกเยอะ ...อีกทั้ง ภาษีของแต่ละประเทศก็เป็นตัวดึงดูดการลงทุนได้ดีเหมือนกัน สิ่งเหล่านี้ล้วนเป็นภาพใหญ่ในเชิง Global ซึ่งหลายๆคนมองข้ามมันไป

และเป็นสาเหตุหลักของ การไหลของเงินในระบบโลก

เราคงคุ้นกันว่า การวิเคราะห์ตลาดจะมีอยู่ 2 ลักษณะคือ

แบบ Top-down analysis และ bottom-up analysis

การวิเคราะห์แบบ Top-down เป็นการวิเคราะห์แบบมองภาพใหญ่ของอุตสาหกรรมมาก่อน

ส่วน Bottom-up ก็เป็นอีกทางตรงข้าม... ซึ่งการนำไปใช้ก็อยู่ที่ความถนัดของแต่ละคน


ในช่วงที่ตลาดลงติดต่อกันแบบนี้ เราจะเห็นการรายงานตลาดด้วยคำศัพท์ที่เราได้ยินแทบจะทุกวัน

ในช่วงเดือนที่ผ่านมา ไม่ว่าจะเป็น QE , การลดดอกเบี้ย พวกนี้ล้วนเป็นตัวขับเคลื่อน หรือ

Driver ของเศรษฐกินในภาพรวม ในทางการเงินสิ่งเหล่านี้ล้วนเป็น “Systematic Risk” หรือ

ความเสี่ยงที่ได้รับผลกระทบทุกอุตสาหกรรม เช่น อัตราเงินเฟ้อ หรือ ดอกเบี้ย

บทความนี้จะขออธิบาย Top- down analysis ก่อนค่ะ

top-down analysis เป็นการวิเคราะห์ภาพใหญ่ลงมาก่อนคะ ภาพใหญ่ก็คือ ตั้งแต่เศรษฐกิจ ลงมายัง

อุตสาหกรรม และ การวิเคราะห์บริษัทรายตัว

ในแต่ละตัวก็จะมี Driver ที่แตกต่างกัน .. ถ้ามองในด้านเศรษฐกิจ อย่างแรกๆที่ต้องดูก็คือ

อัตราเงินเฟ้อ และ อัตราดอกเบี้ยในประเทศ สองอย่างนี้ส่งผลโดยตรงต่อการดึงดูด Fund จากต่างประเทศเลยค่ะ


ในส่วนของอุตสาหกรรม ก็จะมีตัว Driver ที่เชื่อมโยงกับเศรษฐกิจอีกที่ไม่เหมือนกัน โดยส่วนใหญ่จะขึ้นอยู่กับ Demand และ Supply ของอุตสาหกรรมนั้นๆ อย่างเช่น ในช่วงนี้ อเมริกาประสบปัญหาภัยแล้ง ทำให้สินค้า Commodity มีราคาสูงขึ้น เป็นต้น

ในส่วนของรายบริษัทก็อย่างเช่น เมื่อเรา คาดการณ์ได้ว่าอเมริกาจะเจอภัยแล้ง ซึ่งจะส่งผลให้สินค้าในกลุ่ม Commodity มีความต้องการมากขึ้น ทำให้ราคาสูงขึ้น ก็มาดูต่อว่า บริษัทอะไรอยู่ในกลุ่มนี้ และเป็นตัวที่โดดเด่นที่สุดในกลุ่ม


ข้อมูลและรายงานทางเศรษฐกิจถือว่า มีความสำคัญมากอย่างหนึ่งเลยก็ว่าได้คะ
เห็นได้ชัดจากตลาดในช่วงนี้ ที่เหวี่ยงตามข่าวเศรษฐกิจอย่างรุนแรง
ในเรื่องรายละเอียดของข้อมูลที่เราใช้มาประกอบเพื่อวิเคราะห์ให้เป็นรูปเป็นร่าง
จะทะยอยมาอธิบายในครั้งต่อๆไปคะ... 




ชื่อ:  Top-down-Bottom-up-Approach.png
ครั้ง: 722
ขนาด:  31.2 กิโลไบต์