วันอังคารที่ 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

เงินเอเชียจะถูกทุบจริงหรือ

สกุลเงินเอเชียจะถูกทุบหนัก?

รายงานพิเศษ วันจันทร์ที่ 10 พฤศจิกายน 2557 
ผู้เข้าชม : 26 คน 

สกุลเงินทั่วเอเชียกำลังจะถูกทุบนับตั้งแต่ถูกตะลุมบอนจากธนาคารกลางสหรัฐฯ ธนาคารกลางยุโรปและธนาคารกลางญี่ปุ่น  การแข็งค่าของเงินดอลลาร์ และความผันผวนอีกครั้งของเงินหยวน 
รายงานของเอชเอสบีซี ระบุว่า จะมีตัวเลือกน้อย ว่าสกุลเงินเอเชียสกุลไหนบ้างที่น่าจะดีในปีหน้า  แม้แต่เงินหยวนก็มีแนวโน้มว่าจะมีความผันผวนมากขึ้น ซึ่งอาจยิ่งสร้างความผิดหวังให้กับสกุลเงินในภูมิภาค
ในขณะที่เอชเอสบีซีคาดว่า สกุลเงินส่วนใหญ่ในเอเชียจะมีการซื้อขายด้วยความเสียเปรียบเมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐ ในขณะนี้สกุลเงินบางสกุลกำลังเริ่มที่จะอ่อนตัวกว่าเงินยูโรเสียด้วยซ้ำ
สกุลเงินในเอเชียหลายสกุลได้ประสบกับความยากลำบากในสัปดาห์ที่ผ่านมา หลังจากที่ธนาคารญี่ปุ่น (บีโอเจ) ประกาศมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจออกมาใหม่หลายชุด โดยดอลลาร์สิงคโปร์ อ่อนตัวลง 1.5% เมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐ  ส่วนเงินบาทไทยอ่อนตัวลง 1.1% ขณะที่เงินริงกิตมาเลเซียอ่อนตัวลง 2.2% และเงินรูเปียห์อินโดนีเซียอ่อนตัวลง 0.7%
ไม่ใช่แค่เฟด
คาดว่า สกุลเงินที่มีดุลภายนอกดี อย่างเช่น เงินหยวน เงินวอนเกาหลี ดอลลาร์ไต้หวัน และดอลลาร์สิงคโปร์  จะมีความแข็งแกร่งต่อการเลิกซื้อสินทรัพย์ของธนาคารกลางสหรัฐฯในปีนี้มากกว่า
อย่างไรก็ดี เอชเอสบีซี กล่าวว่า มันเริ่มมีความชัดเจนมากขึ้นมาอย่างต่อเนื่องว่าสกุลเงินในเอเชียถูกจับเป็นตัวประกัน โดยไม่ได้มีแค่เฟดเท่านั้น  ธนาคารกลางยุโรปได้เริ่มมีความสำคัญมากขึ้น และธนาคารกลางญี่ปุ่นก็เริ่มมีความสำคัญอย่างกะทันหันเช่นกัน
มาริโอ ดรากี้ ประธานธนาคารกลางยุโรปได้ระบุในสัปดาห์ที่ผ่านมาว่า อาจจะดำเนินมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจอย่างรุนแรงเพิ่มอีก  โดยนักวิเคราะห์หลายคนคาดว่ากำลังจะมีการทำโครงการผ่อนคลายเชิงปริมาณ เช่น การซื้อพันธบัตร ในขณะนี้ธนาคารกลางยุโรปกำลังซื้อหลักทรัพย์ที่มีสินทรัพย์ค้ำประกันอยู่แล้ว
ความเห็นของดรากี้ มีขึ้นหลังจากที่ธนาคารกลางญี่ปุ่นสร้างความประหลาดใจเมื่อวันศุกร์ที่ 31 ตุลาคมว่าจะขยายโครงการกระตุ้นเศรษฐกิจที่มีขนาดใหญ่มากอยู่แล้ว ด้วยการซื้อสินทรัพย์เพิ่ม  บีโอเจมีแผนการที่จะซื้อพันธบัตรรัฐบาลญี่ปุ่น (เจจีบี) เพิ่มเป็น 80 ล้านล้านเยนต่อปี จากที่ในขณะนี้ซื้ออยู่ 50 ล้านล้านเยน และจะซื้อกองทุนอีทีเอฟเพิ่มเป็นสามเท่าเป็น 3 ล้านล้านเยน และซื้อหน่วยลงทุนอสังหาริมทรัพย์ของญี่ปุ่นเป็นสามเท่าเป็น 90,000 ล้านเยน
เอชเอสบีซี กล่าวว่า นี่ทำให้เห็นภาพไม่ชัดเจนว่าเงินเอเชียสกุลไหนที่ควรจะมีผลงานดี และมันมีแต่กระตุ้นให้เงินดอลลาร์สหรัฐ แข็งค่าขึ้น  และแม้แต่สกุลเงินในเอเชียที่มีดุลภายนอกดี อย่างเงินวอน ดอลลาร์สิงคโปร์ และดอลลาร์ไต้หวัน อาจไม่สามารถฝ่าพายุออกมาได้   และมันเป็นการพิสูจน์ว่า นี่ล้วนเป็นส่วนผสมที่น่ารังเกียจสำหรับสกุลเงินเอเชียหลายสกุลเงิน
นอกจากนี้ เนื่องจากเงินเฟ้อกำลังลดลง และการเติบโตลดลงทั่วภูมิภาค ผู้กำหนดนโยบายหลายแห่งมีแนวโน้มที่จะเข้าไปควบคุมการอ่อนค่าเงินของเงินตราน้อยลง
เงินหยวนจะโดดเด่น?
เอสเอสบีซี กล่าวว่า เงินหยวนจะเป็น “ช้างในห้อง”  จนถึงขณะนี้ เงินหยวนยืดหยุ่นได้ดีและยังคงเป็นสกุลเงินที่เอชเอสบีซีชื่นชอบและเชื่อว่าจะมีผลงานดีในภูมิภาค เนื่องจากจีนมีนโยบายที่รอบคอบ มีเงินไหลเข้าแข็งแกร่ง ผลตอบแทนสูง  มีการปฏิรูปอย่างต่อเนื่อง และมีสตอรี่ที่เป็นสากล
อย่างไรก็ดี เอชเอสบีซีตั้งข้อสังเกตว่า ทางการจีนเตรียมที่จะสร้างความผันผวน “แบบสองทาง”มากขึ้น
“หากนั่นเริ่มเกิดขึ้นในภาวะที่สกุลเงินอื่นๆของเอเชียได้รับแรงกดดันอยู่แล้ว เหมือนที่มันเป็นอยู่ในขณะนี้ มันจะยังสร้างความเดือดร้อนเพิ่มอีก” รายงานของเอชเอสบีซีระบุ
ธนาคารอื่นๆก็คาดว่าสกุลเงินในเอเชียกำลังเจอกับปัญหาใหญ่ 
โซซิเอเต เยอเนอราล ยังคงมีความเชื่อมั่นต่อตลาดเกิดใหม่ทั่วโลก แต่เนื่องจากไม่มีสัญญาณการเติบโตทั่วโลก จึงมีแรงหนุนเพียงเล็กน้อยสำหรับการลงทุนในอัตราแลกเปลี่ยนของตลาดเกิดใหม่เมื่อมองจากปัจจัยพื้นฐาน โดยเฉพาะอย่างยิ่งปัจจัยที่มีความโน้มเอียงว่าธนาคารกลางในตลาดเกิดใหม่จะผ่อนคลายนโยบาย
อย่างไรก็ดี โซซิเอเต เยอเนอราล คาดการณ์ว่า สกุลเงินในเอเชียจะมีความยืดหยุ่นต่อการแข็งค่าของเงินดอลลาร์สหรัฐมากกว่าสกุลเงินในภูมิภาคอื่นๆ 
“การอ่อนตัวอย่างต่อเนื่องของเงินเยนอาจเป็นตัวฉุดผลงานของสกุลเงินในภูมิภาค แต่นอกจากเงินวอนเกาหลีใต้ ริงกิตมาเลเซีย และดอลลาร์สิงคโปร์ ซึ่งมีผลงานแย่ที่สุดนับตั้งแต่บีโอเจผ่อนคลายนโยบายอย่างไม่คาดคิดแล้ว  ผลกระทบโดยตรงควรจะมีไม่มาก” รายงานของโซซิเอเตเยเนอราล กล่าว
นอกจากนี้ โซซิเอเตเยเนอราลไม่คาดว่า การเปลี่ยนแปลงการจัดสรรสินทรัพย์ของกองทุนบำนาญรัฐบาลญี่ปุ่น (จีพีไอเอฟ) จะทำให้มีเงินไหลเข้ามาในเศรษฐกิจเกิดใหม่ในเอเชียมาก โดยประเมินว่า อาจมีเงินไหลเข้ามาถึง 14,000 ล้านดอลลาร์เมื่อดูตามมาตรฐานดัชนีพันธบัตรและหุ้นของกองทุน  แต่เงินจำนวนนี้ถือว่าน้อยเมื่อเทียบกับเงิน  318,000 ล้านดอลลาร์ที่ไหลเข้าไปยังตลาดเกิดใหม่ในเอเชีย ในช่วงสองปีที่ผ่านมา  ตัวเลขเงินไหลเข้านี้ ไม่รวมเงินที่ไหลเข้าไปยังฮ่องกงและสิงคโปร์

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น