กูรูหุ้น-การเงิน ฟันธงกนง.คงดบ. 3 เม.ย.นี้
วงการหุ้น - การเงิน ประสานเสียง 3 เม.ย.56 กนง. คงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ 2.75% แม้เงินบาทแข็งค่าจนหลุดกรอบ 29.50 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ-ตัวเลขส่งออกแย่กว่าคาด แต่เศรษฐกิจไทยยังแข็งแกร่ง-เติบโตต่อเนื่อง ขณะที่หุ้นไทยระยะสั้น ยังแกว่งตัว ระบุเดือน เม.ย. 56 เสี่ยงหลุด 1,500 จุด หลังมี 7 ปัจจัยลบจ่อกดดัน กลยุทธ์ แนะนักลงทุนเล่นหุ้นอย่างระมัดระวัง
***ASP ฟันธง! 3 เม.ย.56 คงดอกเบี้ยไว้ที่ 2.75%
วงการหุ้น - การเงิน ประสานเสียง 3 เม.ย.56 กนง. คงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ 2.75% แม้เงินบาทแข็งค่าจนหลุดกรอบ 29.50 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ-ตัวเลขส่งออกแย่กว่าคาด แต่เศรษฐกิจไทยยังแข็งแกร่ง-เติบโตต่อเนื่อง ขณะที่หุ้นไทยระยะสั้น ยังแกว่งตัว ระบุเดือน เม.ย. 56 เสี่ยงหลุด 1,500 จุด หลังมี 7 ปัจจัยลบจ่อกดดัน กลยุทธ์ แนะนักลงทุนเล่นหุ้นอย่างระมัดระวัง
***ASP ฟันธง! 3 เม.ย.56 คงดอกเบี้ยไว้ที่ 2.75%
บล.เอเซีย พลัส เปิดเผยว่าการประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ของไทยที่จะมีขึ้นในวันที่ 3 เม.ย. 2556 ฝ่ายวิจัยคาดว่า ที่ประชุมน่าจะยังคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้เท่าเดิมที่ 2.75% สอดคล้องกับผลสำรวจของบลูมเบิร์กที่นักเศรษฐศาสตร์ 12 คน จากทั้งหมด 13 คน ที่ประเมินว่ากนง.ยังคงดอกเบี้ยนโยบายไว้เท่าเดิม (มีเพียง 1 คนที่เชื่อว่า จะลด 0.25%) ทั้งนี้เชื่อว่าแรงกดดันหลักน่าจะมาจากอัตราเงินเฟ้อในเดือน ก.พ. สูงถึง 3.23% ทำให้ผลตอบแทนแท้จริง (Real Return) ติดลบ นอกจากนี้ กระทรวงพาณิชย์คาดแนวโน้มอัตราเงินเฟ้อปี 2556 อยู่ในกรอบร้อยละ 2.80-3.40% หากปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลงจากปัจจุบัน ก็อาจจะเป็นการเร่งให้ภาวะเงินเฟ้อปรับตัวสูงขึ้นซึ่งกระทบต่อเสถียรภาพทางด้านราคาในระยะยาวที่เป็นเป้าหมายหลักที่ต้องดูแลของธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.)
ขณะที่ เมื่อเปรียบเทียบอัตราดอกเบี้ยของไทยกับประเทศที่พัฒนาแล้ว ได้แก่ สหรัฐ 0.25% ยูโรโซน 0.75% และญี่ปุ่น 0.1% พบว่าดอกเบี้ยของประเทศเหล่านี้อยู่ในระดับต่ำเนื่องจากจำเป็นต้องดำเนินนโยบายการเงินแบบผ่อนคลายเพื่อพยุงเศรษฐกิจ ดังนั้นประเมินว่าอัตราดอกเบี้ยที่ถูกคงไว้ ทำให้ผลตอบแทนของไทยยังคงสูงกว่าโดยเปรียบเทียบกับประเทศดังกล่าวทำให้แนวโน้มฟันด์โฟลว์ยังมีแนวโน้มเข้าสู่ตลาดพันธบัตรอยู่ แม้ว่าระยะต่อไปอาจไหลออกจากตลาดหุ้นก็ตาม
*** ธนชาต คาด หุ้นไทยระยะสั้นยังแกว่งตัว
ขณะที่ เมื่อเปรียบเทียบอัตราดอกเบี้ยของไทยกับประเทศที่พัฒนาแล้ว ได้แก่ สหรัฐ 0.25% ยูโรโซน 0.75% และญี่ปุ่น 0.1% พบว่าดอกเบี้ยของประเทศเหล่านี้อยู่ในระดับต่ำเนื่องจากจำเป็นต้องดำเนินนโยบายการเงินแบบผ่อนคลายเพื่อพยุงเศรษฐกิจ ดังนั้นประเมินว่าอัตราดอกเบี้ยที่ถูกคงไว้ ทำให้ผลตอบแทนของไทยยังคงสูงกว่าโดยเปรียบเทียบกับประเทศดังกล่าวทำให้แนวโน้มฟันด์โฟลว์ยังมีแนวโน้มเข้าสู่ตลาดพันธบัตรอยู่ แม้ว่าระยะต่อไปอาจไหลออกจากตลาดหุ้นก็ตาม
*** ธนชาต คาด หุ้นไทยระยะสั้นยังแกว่งตัว
บล.ธนชาต เปิดเผยว่า แนวโน้มดัชนีฯ ในระยะสั้น คาดว่าจะเคลื่อนไหวในกรอบ 1,545-1,580 จุด ด้วยมูลค่าการซื้อขายที่ลดลง เนื่องจากเข้าใกล้ช่วงหยุดยาวกลางเดือนเมษายน 2556 ขณะที่ปัจจัยที่ต้องติดตามสัปดาห์นี้ ได้แก่ 1.การประชุม กนง.วันที่ 3 เม.ย.นี้ คาดว่าจะคงดอกเบี้ยที่ 2.75% 2. การประชุมบีโอเจวันที่ 4 เม.ย.2556 นำโดยผู้ว่าการฯ คนใหม่ ซึ่งตลาดคาดหวังการดำเนินนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจแรงขึ้น และ 3. ตัวเลขการจ้างงานนอกภาคเกษตร และอัตราการว่างงานสหรัฐฯ วันที่ 5 เม.ย.นี้ แนะนำกำหนด ทั้งนี้แนะนำกำหนด Trailing Stop ที่ 1,545 จุด ต่อเนื่องจากปลายสัปดาห์ก่อน เนื่องจากมองว่าการปรับสูงขึ้นของ SET Index ในสัปดาห์ที่ผ่านมายังขาดเสถียรภาพ ขณะที่กลุ่มหุ้นที่แนะนำซื้อ ได้แก่ INTUCH,DTAC,BTS,BGH ,KTB,TTCL,VGI และ GUNKUL ต่อเนื่อง
***ศูนย์วิจัยกสิกรไทย คาดกนง.คงอัตราดอกเบี้ย
***ศูนย์วิจัยกสิกรไทย คาดกนง.คงอัตราดอกเบี้ย
ศูนย์วิจัยกสิกรไทย เปิดเผยว่าในการประชุมรอบที่สามของปี 2556 ในวันที่ 3 เมษายน 2556 คณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) น่าจะมีมติคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ 2.75% ซึ่งถือเป็นระดับที่สามารถสนับสนุนการขยายตัวของเศรษฐกิจได้ดี ขณะที่การลดดอกเบี้ยอาจเพิ่มความเสี่ยงต่อความไม่สมดุลของเสถียรภาพของระบบเศรษฐกิจในระยะยาว นอกจากนี้เศรษฐกิจไทยในภาพรวมยังคงสามารถขยายตัวได้ในอัตราที่เหมาะสม โดยการบริโภคภาคเอกชนยังเป็นปัจจัยหนุนการขยายตัวของเศรษฐกิจ แม้ว่าแรงส่งจากมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของภาครัฐจะแผ่วลง แต่การปรับขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำน่าจะยังคงหนุนการบริโภคของครัวเรือน ขณะที่โครงการการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานของภาครัฐมูลค่า 2 ล้านล้านบาท น่าจะส่งผลเชิงจิตวิทยาในการกระตุ้นการลงทุนของภาคเอกชน สำหรับภาพรวมการส่งออกในปีนี้คงมีการปรับตัวดีขึ้นกว่าปีที่ผ่านมา สอดคล้องกับภาวะเศรษฐกิจโลกที่ส่งสัญญาณทยอยฟื้นตัว โดยเฉพาะอย่างยิ่งเศรษฐกิจสหรัฐฯ และจีน นอกเหนือไปจากทิศทางของราคาสินค้าเกษตรที่ปรับตัวดี ซึ่งเป็นอีกปัจจัยหนุนการฟื้นตัวของภาคการส่งออกในปีนี้ นอกจากนี้ หากพิจารณาถึงอัตราผลตอบแทนพันธบัตรไทยอายุ 10 ปี จะเห็นได้ว่าอยู่ในระดับที่ต่ำกว่าประเทศเพื่อนบ้าน สะท้อนถึงต้นทุนทางการเงินของผู้ประกอบการไทยที่อยู่ในระดับที่เหมาะสมและสามารถแข่งขันกับประเทศอื่นๆ ได้ จึงไม่มีความจำเป็นที่ทางการจะต้องปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายนโยบายเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ ทั้งนี้แม้ว่าการปรับลดอัตราดอกเบี้ยอาจจะช่วยลดแรงกดดันการแข็งค่าของเงินบาท โดยอาจลดความน่าลงทุนในตลาดพันธบัตร โดยเฉพาะอย่างยิ่งพันธบัตรระยะยาวที่ได้รับผลตอบแทนที่ลดลง แต่การลดอัตราดอกเบี้ยให้อยู่ในระดับต่ำเป็นระยะเวลานานนั้น อาจมีผลกระทบต่อเสถียรภาพของระบบการเงินและเศรษฐกิจในระยะยาว โดยอาจส่งผลให้ผู้บริโภคมีแนวโน้มในการกู้ยืมเงินในอนาคตมาบริโภคในปัจจุบันมากขึ้น จากต้นทุนการกู้ยืมที่ปรับตัวลดลง ท่ามกลางสถานการณ์หนี้ครัวเรือนที่มีการปรับตัวสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง อันอาจส่งผลต่อภาระหนี้และความสามารถในการชำระหนี้ของครัวเรือนต่อไป โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากเศรษฐกิจไม่ขยายตัวตามที่คาด รวมไปถึงทิศทางดอกเบี้ยที่อาจปรับตัวสูงขึ้นในระยะถัดไป หลังจากธนาคารกลางประเทศแกนหลักยุติมาตรการผ่อนคลายทางการเงิน ซึ่งคาดว่าจะเริ่มเห็นภาพชัดเจนขึ้นในช่วงกลางปี 2557 ในขณะเดียวกัน อัตราดอกเบี้ยแท้จริงที่ติดลบจะกระทบต่อการออมของภาคครัวเรือนและการระดมทุนอาจต้องมีการพึ่งพาเงินทุนจากต่างประเทศมากขึ้น อันจะเพิ่มความเสี่ยงของระบบเศรษฐกิจต่อการเคลื่อนย้ายเงินทุนอีกด้วย นอกจากนี้การคงอัตราดอกเบี้ยในระดับต่ำอย่างต่อเนื่อง ก็อาจสร้างแรงกดดันต่อการก่อตัวของฟองสบู่ในราคาสินทรัพย์ต่างๆ ได้ ดังที่เกิดขึ้นแล้วในสหรัฐฯ นอกจากนี้หากมองไปข้างหน้า ความเสี่ยงของเศรษฐกิจไทยอาจขึ้นอยู่กับทิศทางของค่าเงินบาทผ่านผลกระทบต่อการส่งออก แต่การลดอัตราดอกเบี้ยน่าจะมีผลต่อค่าเงินเพียงระยะสั้น ขณะที่ทางการยังมีเครื่องมือในการบริหารจัดการไม่ให้ค่าเงินบาทส่งผลต่อเศรษฐกิจโดยรวมอย่างรุนแรง โดยความเสี่ยงของเศรษฐกิจไทยในปีนี้คงขึ้นอยู่กับภาคการส่งออกเป็นสำคัญ ภายใต้สถานการณ์ที่เงินบาทแข็งค่าขึ้นอย่างต่อเนื่อง จะส่งผลกระทบต่อภาคการส่งออก โดยศูนย์วิจัยกสิกรไทยมองว่า การแข็งค่าของเงินบาททุกๆ 1% อาจจะการทบต่อการขยายตัวของการส่งออก 0.6-1.1% อย่างไรก็ตาม ถึงแม้ว่าอัตราดอกเบี้ยของไทยที่สูงกว่าประเทศที่พัฒนาแล้วคงมีผลดึงดูดเงินทุนไหลเข้าอยู่บ้าง แต่ปัจจัยหลักน่าจะมาจากมุมมองต่อผลตอบแทนของการลงทุน ซึ่งมาจากพื้นฐานทางเศรษฐกิจเป็นสำคัญ รวมไปถึงการเกินดุลบัญชีเดินสะพัดสะสมของไทย ซึ่งทิศทางการปรับตัวของค่าเงินคงเป็นไปตามปัจจัยต่างๆ ดังกล่าว และการลดอัตราดอกเบี้ยคงมีผลต่อทิศทางของค่าเงินบาทเพียงชั่วคราวเท่านั้น นอกจากนี้ ทางการก็ยังมีเครื่องมือในการบริหารจัดการไม่ให้ค่าเงินบาทส่งผลต่อเศรษฐกิจโดยรวมอย่างรุนแรง ในขณะที่บริษัทส่งออกสามารถที่จะเข้าถึงเครื่องมือทางการเงิน อาทิ สัญญาป้องกันความเสี่ยงค่าเงิน หรือสัญญาซื้อขายเงินตราล่วงหน้า อันน่าจะช่วยให้ผู้ประกอบการสามารถลดความเสี่ยงจากค่าเงินที่ผันผวนได้ส่วนหนึ่ง นอกจากนี้ ภาครัฐได้มีการออกมาตรการต่างๆ เพื่อช่วยบรรเทาผลกระทบจากการแข็งค่าของเงินบาท เช่นการลดภาษีการนำเข้าเครื่องจักร รวมถึงการส่งเสริมการลงทุนในต่างประเทศ เพื่อช่วยผู้ประกอบการเหล่านี้สามารถที่จะแข่งขันกับประเทศคู่ค้าและสามารถอยู่รอดได้
***ดอกเบี้ยนโยบายทรงตัว หนุนดอกเบี้ยแบงก์ทรงตัวตาม
***ดอกเบี้ยนโยบายทรงตัว หนุนดอกเบี้ยแบงก์ทรงตัวตาม
ศูนย์วิจัยกสิกรไทย เปิดเผยว่าทิศทางดอกเบี้ยนโยบายที่ทรงตัว คงส่งผลต่ออัตราดอกเบี้ยธนาคารพาณิชย์ไทยให้ทรงตัวเช่นเดียวกัน อย่างไรก็ตาม ท่ามกลางสินเชื่อธนาคารพาณิชย์ที่ขยายตัวในระดับสูงตามการขยายตัวของระบบเศรษฐกิจ ขณะที่ภาครัฐมีแนวโน้มเข้ามาระดมทุนในระบบมากขึ้น เพื่อสนับสนุนโครงการต่างๆ ของภาครัฐ ก็อาจเป็นอีกปัจจัยที่จะกระทบสภาพคล่องของระบบธนาคารพาณิชย์และกระตุ้นให้ธนาคารพาณิชย์อาจมีการเตรียมระดมเงินฝาก เพื่อรองรับการขยายตัวของการปล่อยสินเชื่อในระยะข้างหน้า ซึ่งคงจะส่งผลต่อการแข่งขันด้านอัตราดอกเบี้ยเงินฝาก ให้มีความคึกคักมากขึ้น
***CIMBT ระบุ 3 เม.ย.56 กนง.คงดอกเบี้ย
***CIMBT ระบุ 3 เม.ย.56 กนง.คงดอกเบี้ย
นายอดิศร เสริมชัยวงศ์ รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ สายธุรกิจลูกค้ารายย่อย ธนาคาร ซีไอเอ็มบี ไทย จำกัด (มหาชน) หรือ CIMBT เปิดเผยว่าในการประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ในวันที่ 3 เม.ย.นี้ คาดว่า กนง.จะคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ 2.75% หลังจากที่ตัวเลขเศรษฐกิจในเดือน ก.พ.2556 ยังทรงตัว แม้ว่าการส่งออกจะชะลอตัว แต่มีการลงทุนของภาครัฐเข้ามาทดแทนและกระตุ้นเศรษฐกิจให้เติบโตได้ดีถึงดีมาก ดังนั้น เรื่องของดอกเบี้ยจึงไม่มีความจำเป็นที่ต้องผ่อนคลาย หรือใช้ดอกเบี้ยต่ำ เพราะเศรษฐกิจขยายตัวได้ ส่วน พ.ร.บ.เงินกู้ 2 ล้านล้านบาท ประเมินว่าเป็นการลงทุนในระยะยาวที่ดี ที่จะช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจ และการจ้างงาน เพราะจะมีการทยอยกู้เงิน เพื่อลงทุนในโครงการต่างๆ ในอนาคต
***บลจ.ฟินันซ่า เชื่อกนง. คงดอกเบี้ย หลังเศรษฐกิจไทยยังแกร่ง
***บลจ.ฟินันซ่า เชื่อกนง. คงดอกเบี้ย หลังเศรษฐกิจไทยยังแกร่ง
นายธีรพันธุ์ จิตตาลาน กรรมการบริหารและประธานเจ้าหน้าที่บริหารบริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน ฟินันซ่า จำกัด แสดงมุมมองการลงทุนก่อนคณะกรรมการนโยบายการเงิน(กนง.) ธนาคารแห่งประเทศไทยจะประชุมในวันที่ 3 เม.ย. 2556 ว่าน่าจะคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ 2.75 % แม้ว่าเงินบาทจะแข็งค่าจนหลุดกรอบ 29.50 บาท ต่อดอลลาร์สหรัฐ และตัวเลขการส่งออกล่าสุด จะแย่กว่าที่คิด แต่เศรษฐกิจในประเทศยังคงขับเคลื่อนได้ดีอยู่ ดังจะเห็นจาก ธปท. เตรียมปรับประมาณการขยายตัวเศรษฐกิจปีนี้ เพิ่มจากเดิมที่ 4.9 % ดังนั้นการคงดอกเบี้ยนโยบายน่าจะเป็นทางเลือกที่ดีที่สุดและโอกาสที่จะขึ้นดอกเบี้ยต้องดูแนวโน้มอีกทีในครึ่งปีหลัง เพราะขึ้นอยู่กับแผนการลงทุนภาครัฐ " เมื่อคำนึงดอกเบี้ยโอกาสจะขึ้นนั้นมีจำกัด บลจ.ฟินันซ่า เสนอกองทุนตราสารหนี้ ระยะสั้น อายุ 3 เดือน ชื่อกองทุนเปิดฟินันซ่าตราสารหนี้พลัส โรล โอเวอร์ 3 เดือน 6 (FAM FIPR3M6) ซึ่งให้ประมาณการผลตอบแทนที่ 2.9 % ต่อปีสูงกว่าดอกเบี้ยเงินฝาก 3 เดือนของธนาคารพาณิชย์ โดยเปิดเสนอขายระหว่างวันที่ 1-9 เม.ย.56 นี้" นายธีรพันธุ์ กล่าว
***บล.ทิสโก้ เปิด 7 ปัจจัย หุ้นไทย เม.ย. เสี่ยงหลุด 1,500 จุด
***บล.ทิสโก้ เปิด 7 ปัจจัย หุ้นไทย เม.ย. เสี่ยงหลุด 1,500 จุด
บล.ทิสโก้ เปิดเผยว่าถึงแม้ดัชนีฯ สามารถดีดกลับได้อย่างรวดเร็วในช่วงปลายเดือน มี.ค.2556 หลังจากที่หลุด 1,500 จุดเมื่อวันที่ 22 มี.ค.2556 หลักๆ จากวิกฤตหนี้ไซปรัสเริ่มคลี่คลาย, การคาดหวังเชิงบวกต่อการทำวินโดว์ เดรสซิ่ง และที่สำคัญ 10 บลจ. ฉวยโอกาสช่วงหุ้นตก พร้อมใจออกทริกเกอร์ฟันด์มากถึง 12 กองใหม่ รวมมูลค่าประมาณ 1.92 หมื่นล้านบาท อย่างไรก็ดียังมองเม็ดเงินจากทริกเกอร์ฟันด์ทั้ง 12 กองนี้ มีผลแค่ยื้อเวลาการพักฐานของดัชนีฯ ยืดออกไปช่วงสั้นเท่านั้น ซึ่งฝ่ายวิเคราะห์ประเมินว่าดัชนีฯ เดือน เม.ย.2556 ยังมีความเสี่ยงที่อาจหลุด 1,500 จุดได้อีกครั้ง จากหลายปัจจัยกดดันดังนี้
1.ความไม่แน่นอนสถานการณ์ในยุโรปยังไม่หมดไป โดยเฉพาะการเมืองอิตาลีที่ยืดเยื้อ หลังยังไม่สามารถจัดตั้งรัฐบาลได้ จึงยังแนะนำให้จับตาอัตราผลตอบแทนพันธบัตรของอิตาลีอย่างใกล้ชิด โดยเฉพาะเดือน เม.ย. (วันที่ 11 เม.ย. และ 24 เม.ย.) อิตาลีจะมีพันธบัตรครบกำหนดไถ่ถอน 4.75 หมื่นล้านยูโร เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนถึง 4 เท่า หากอัตราผลตอบแทนพันธบัตร 10 ปี (yield) ของอิตาลีปรับตัวขึ้นแตะระดับ 5% ขึ้นไป อาจกระตุ้นให้เกิดแรงขายสินทรัพย์เสี่ยง (ปัจจุบัน yield อยู่ที่ประมาณ 4.7%) 2.การแข็งค่าของเงินบาทในช่วงปลายเดือนมี.ค.2556 น่าจะเริ่มสร้างความกังวลเกี่ยวกับผลกระทบต่อภาคการส่งออกไทยและการเติบโตทางเศรษฐกิจในอนาคต รวมทั้งมาตรการสกัดเงินบาทแข็งที่อาจเกิดขึ้น ถึงแม้ฝ่ายวิเคราะห์จะเชื่อว่า ธปท.จะไม่มีการออกมาตรการใดๆ ที่มีความรุนแรง แต่ยังเป็นห่วงกับความเห็นที่ขัดแย้งกันระหว่างรัฐบาลและ ธปท. ในแนวทางดูแลค่าเงินบาท ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อความเชื่อมั่นนักลงทุนต่างประเทศและอาจมีประเด็นกดดันทางการเมืองเข้ามีเกี่ยวข้องด้วย 3.การเมืองในประเทศเริ่มไม่นิ่งเหมือนช่วงหลายเดือนที่ผ่านมานับตั้งแต่รัฐบาลเร่งนำร่าง พ.ร.บ.กู้เงิน 2 ล้านล้านบาท และกฎหมายนิรโทษกรรมเข้าสู่การพิจารณาของรัฐสภาในช่วงปลายเดือน มี.ค. เพราะมีหลายฝ่ายไม่เห็นด้วย และมีการยื่นให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่าขัดรัฐธรรมนูญหรือไม่ สิ่งนี้ทำให้การทำงานตามนโยบายต่างๆ ที่เคยระบุไว้ไม่ราบรื่นหรืออาจเกิดความล่าช้าขึ้นได้ ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจที่เคยคาดการณ์กันว่าจะโต 5-6% ในช่วง 2-3 ปีข้างหน้าไปได้ยากขึ้น และจะส่งผลกระทบต่อการเติบโตของกำไรบริษัทจดทะเบียนและตลาดหุ้นอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ 4.ความร้อนแรงของราคาหุ้นในตลาดถูกผลักดันจากการเก็งกำไรในหุ้นขนาดเล็กเป็นจำนวนมาก ราคาหุ้นหลายตัวขึ้นมากกว่า 100% ในระยะเวลาเพียง 3 เดือน ขณะที่เม็ดเงินแห่เข้าลงทุนในหุ้นนอกกลุ่ม SET100 สูงขึ้นเรื่อยๆ จากสัดส่วนเฉลี่ยในปี 55 เพียง 18% ของมูลค่าการซื้อขายรวม (ทั้ง SET และ mai) มาที่ 24%, 28% และ 34% ในเดือน ม.ค., ก.พ. และ มี.ค. 2556 ตามลำดับ สิ่งนี้แสดงถึงความเปราะบางของตลาดมากขึ้นเรื่อยๆ 5.การประเมินมูลค่าหุ้นไทยค่อนข้างตึงตัวแล้วเมื่อเทียบกับภูมิภาค อิงตามประมาณการของตลาดโดยรวม (Bloomberg Consensus) ตลาดหุ้นไทยปัจจุบันซื้อขายที่ Forward PER และ PBV ปี 56F ที่ 14.4 เท่า และ 2.4 เท่า ซึ่งถือว่าอยู่ในเกณฑ์สูงเมื่อเทียบกับค่าเฉลี่ยตัวเองในอดีตและเทียบกับภูมิภาค (MSCI FE ex. Japan) ที่ 11.5 เท่า และ 1.4 เท่า ตามลำดับ อย่างไรก็ดีหากเทียบกับกลุ่มประเทศ TIP คือ Thailand, Indonesia และ Philippine ตลาดหุ้นไทยยังไม่แพง ฉะนั้นจึงยังคงเป้าดัชนีฯ ปี 2556 ไว้ที่ระดับ 1,650 จุด 6.ผลกระทบจากฤดูกาลขึ้นเครื่องหมาย XD มากสุดช่วงเดือน เม.ย.- ต้น พ.ค. จากการตรวจสอบหุ้นที่จะจ่ายเงินปันผลในช่วงเวลาดังกล่าว มีทั้งสิ้น 175 บริษัท จะส่งผลให้ดัชนีฯ ปรับลงประมาณ 14 จุด 7.ตามสถิติในอดีต โอกาสที่ดัชนีฯ จะปรับขึ้นเป็นเดือนที่ 11 มีเพียง 2% จากการศึกษาข้อมูลการซื้อขายนับตั้งแต่ก่อตั้งตลาดหลักทรัพย์ฯ ปี 2518 มีเพียง 2 ครั้งเท่านั้น ที่ดัชนีฯ ปรับตัวขึ้นมากกว่า 10 เดือนติดต่อกัน คือ เดือน ส.ค. 2520 (ขึ้น 11 เดือนติดต่อกัน) และ ธ.ค. 2532 (ขื้น 12 เดือนติดต่อกัน) หรือกล่าวอีกนัยหนึ่ง หุ้นไทยเดือน เม.ย. มีโอกาสปรับลงถึง 98% ดังนั้นโดยสรุปฝ่ายวิเคราะห์ ปรับมุมมองให้ระมัดระวังจากเดือนที่แล้ว เป็นเชิงลบสำหรับการลงทุนในเดือนนี้ จากความเสี่ยงหลายปัจจัยที่กล่าวมาข้างต้น อย่างไรก็ดียังมองว่าเป็นจังหวะทยอยสะสมช่วงอ่อนตัว เพราะดัชนีฯ น่าจะกลับมาเริ่มฟื้นตัวได้อีกครั้ง (มองหลังผ่านพ้นช่วงสงกรานต์ไปแล้ว) จาก 1. การอัดฉีดเงินในระบบเพิ่มเติมของญี่ปุ่นที่มองว่าจะเกิดขึ้นในการประชุมธนาคารกลางญี่ปุ่น (BOJ) ในวันที่ 26 เม.ย. 2. แรงซื้อเก็งผลประกอบการไตรมาส 1/2556 ที่คาดว่าจะออกมาดี จากการบริโภคในประเทศยังคงเติบโตดี, ฐานกำไรไตรมาส 1/2555 ที่ต่ำ เพราะยังไม่ฟื้นตัวมากนักจากน้ำท่วมและอัตราภาษีนิติบุคคลที่ลดลงจาก 23% ในปีที่แล้ว เป็น 20% ในปีนี้ โดยหุ้นที่ชอบยังเป็นหุ้นที่อิงเศรษฐกิจในประเทศ และเบื้องต้นคาดว่างบไตรมาส 1/2556 จะออกมาดี แถมมีการเติบโตสูงในช่วง 2-3 ปีข้างหน้า ส่วนหุ้นที่แนะนำสำหรับเดือน เม.ย. 2556 คือ AMATA, BBL, CPALL, CPN, JAS, PTTEP, PTTGC, QH, SCB และ WORK อย่างไรก็ตามแนวต้านและแนวรับสำคัญของเดือนนี้อยู่ที่ 1,575-1,600 จุด และ 1,490-1,480 จุด ตามลำดับ
***MBKET แนะซื้อเก็งกำไร QH ดัก กนง.ประชุม
1.ความไม่แน่นอนสถานการณ์ในยุโรปยังไม่หมดไป โดยเฉพาะการเมืองอิตาลีที่ยืดเยื้อ หลังยังไม่สามารถจัดตั้งรัฐบาลได้ จึงยังแนะนำให้จับตาอัตราผลตอบแทนพันธบัตรของอิตาลีอย่างใกล้ชิด โดยเฉพาะเดือน เม.ย. (วันที่ 11 เม.ย. และ 24 เม.ย.) อิตาลีจะมีพันธบัตรครบกำหนดไถ่ถอน 4.75 หมื่นล้านยูโร เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนถึง 4 เท่า หากอัตราผลตอบแทนพันธบัตร 10 ปี (yield) ของอิตาลีปรับตัวขึ้นแตะระดับ 5% ขึ้นไป อาจกระตุ้นให้เกิดแรงขายสินทรัพย์เสี่ยง (ปัจจุบัน yield อยู่ที่ประมาณ 4.7%) 2.การแข็งค่าของเงินบาทในช่วงปลายเดือนมี.ค.2556 น่าจะเริ่มสร้างความกังวลเกี่ยวกับผลกระทบต่อภาคการส่งออกไทยและการเติบโตทางเศรษฐกิจในอนาคต รวมทั้งมาตรการสกัดเงินบาทแข็งที่อาจเกิดขึ้น ถึงแม้ฝ่ายวิเคราะห์จะเชื่อว่า ธปท.จะไม่มีการออกมาตรการใดๆ ที่มีความรุนแรง แต่ยังเป็นห่วงกับความเห็นที่ขัดแย้งกันระหว่างรัฐบาลและ ธปท. ในแนวทางดูแลค่าเงินบาท ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อความเชื่อมั่นนักลงทุนต่างประเทศและอาจมีประเด็นกดดันทางการเมืองเข้ามีเกี่ยวข้องด้วย 3.การเมืองในประเทศเริ่มไม่นิ่งเหมือนช่วงหลายเดือนที่ผ่านมานับตั้งแต่รัฐบาลเร่งนำร่าง พ.ร.บ.กู้เงิน 2 ล้านล้านบาท และกฎหมายนิรโทษกรรมเข้าสู่การพิจารณาของรัฐสภาในช่วงปลายเดือน มี.ค. เพราะมีหลายฝ่ายไม่เห็นด้วย และมีการยื่นให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่าขัดรัฐธรรมนูญหรือไม่ สิ่งนี้ทำให้การทำงานตามนโยบายต่างๆ ที่เคยระบุไว้ไม่ราบรื่นหรืออาจเกิดความล่าช้าขึ้นได้ ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจที่เคยคาดการณ์กันว่าจะโต 5-6% ในช่วง 2-3 ปีข้างหน้าไปได้ยากขึ้น และจะส่งผลกระทบต่อการเติบโตของกำไรบริษัทจดทะเบียนและตลาดหุ้นอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ 4.ความร้อนแรงของราคาหุ้นในตลาดถูกผลักดันจากการเก็งกำไรในหุ้นขนาดเล็กเป็นจำนวนมาก ราคาหุ้นหลายตัวขึ้นมากกว่า 100% ในระยะเวลาเพียง 3 เดือน ขณะที่เม็ดเงินแห่เข้าลงทุนในหุ้นนอกกลุ่ม SET100 สูงขึ้นเรื่อยๆ จากสัดส่วนเฉลี่ยในปี 55 เพียง 18% ของมูลค่าการซื้อขายรวม (ทั้ง SET และ mai) มาที่ 24%, 28% และ 34% ในเดือน ม.ค., ก.พ. และ มี.ค. 2556 ตามลำดับ สิ่งนี้แสดงถึงความเปราะบางของตลาดมากขึ้นเรื่อยๆ 5.การประเมินมูลค่าหุ้นไทยค่อนข้างตึงตัวแล้วเมื่อเทียบกับภูมิภาค อิงตามประมาณการของตลาดโดยรวม (Bloomberg Consensus) ตลาดหุ้นไทยปัจจุบันซื้อขายที่ Forward PER และ PBV ปี 56F ที่ 14.4 เท่า และ 2.4 เท่า ซึ่งถือว่าอยู่ในเกณฑ์สูงเมื่อเทียบกับค่าเฉลี่ยตัวเองในอดีตและเทียบกับภูมิภาค (MSCI FE ex. Japan) ที่ 11.5 เท่า และ 1.4 เท่า ตามลำดับ อย่างไรก็ดีหากเทียบกับกลุ่มประเทศ TIP คือ Thailand, Indonesia และ Philippine ตลาดหุ้นไทยยังไม่แพง ฉะนั้นจึงยังคงเป้าดัชนีฯ ปี 2556 ไว้ที่ระดับ 1,650 จุด 6.ผลกระทบจากฤดูกาลขึ้นเครื่องหมาย XD มากสุดช่วงเดือน เม.ย.- ต้น พ.ค. จากการตรวจสอบหุ้นที่จะจ่ายเงินปันผลในช่วงเวลาดังกล่าว มีทั้งสิ้น 175 บริษัท จะส่งผลให้ดัชนีฯ ปรับลงประมาณ 14 จุด 7.ตามสถิติในอดีต โอกาสที่ดัชนีฯ จะปรับขึ้นเป็นเดือนที่ 11 มีเพียง 2% จากการศึกษาข้อมูลการซื้อขายนับตั้งแต่ก่อตั้งตลาดหลักทรัพย์ฯ ปี 2518 มีเพียง 2 ครั้งเท่านั้น ที่ดัชนีฯ ปรับตัวขึ้นมากกว่า 10 เดือนติดต่อกัน คือ เดือน ส.ค. 2520 (ขึ้น 11 เดือนติดต่อกัน) และ ธ.ค. 2532 (ขื้น 12 เดือนติดต่อกัน) หรือกล่าวอีกนัยหนึ่ง หุ้นไทยเดือน เม.ย. มีโอกาสปรับลงถึง 98% ดังนั้นโดยสรุปฝ่ายวิเคราะห์ ปรับมุมมองให้ระมัดระวังจากเดือนที่แล้ว เป็นเชิงลบสำหรับการลงทุนในเดือนนี้ จากความเสี่ยงหลายปัจจัยที่กล่าวมาข้างต้น อย่างไรก็ดียังมองว่าเป็นจังหวะทยอยสะสมช่วงอ่อนตัว เพราะดัชนีฯ น่าจะกลับมาเริ่มฟื้นตัวได้อีกครั้ง (มองหลังผ่านพ้นช่วงสงกรานต์ไปแล้ว) จาก 1. การอัดฉีดเงินในระบบเพิ่มเติมของญี่ปุ่นที่มองว่าจะเกิดขึ้นในการประชุมธนาคารกลางญี่ปุ่น (BOJ) ในวันที่ 26 เม.ย. 2. แรงซื้อเก็งผลประกอบการไตรมาส 1/2556 ที่คาดว่าจะออกมาดี จากการบริโภคในประเทศยังคงเติบโตดี, ฐานกำไรไตรมาส 1/2555 ที่ต่ำ เพราะยังไม่ฟื้นตัวมากนักจากน้ำท่วมและอัตราภาษีนิติบุคคลที่ลดลงจาก 23% ในปีที่แล้ว เป็น 20% ในปีนี้ โดยหุ้นที่ชอบยังเป็นหุ้นที่อิงเศรษฐกิจในประเทศ และเบื้องต้นคาดว่างบไตรมาส 1/2556 จะออกมาดี แถมมีการเติบโตสูงในช่วง 2-3 ปีข้างหน้า ส่วนหุ้นที่แนะนำสำหรับเดือน เม.ย. 2556 คือ AMATA, BBL, CPALL, CPN, JAS, PTTEP, PTTGC, QH, SCB และ WORK อย่างไรก็ตามแนวต้านและแนวรับสำคัญของเดือนนี้อยู่ที่ 1,575-1,600 จุด และ 1,490-1,480 จุด ตามลำดับ
***MBKET แนะซื้อเก็งกำไร QH ดัก กนง.ประชุม
บล.เมย์แบงก์ กิมเอ็ง (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) หรือ MBKET เปิดเผยว่า เชื่อว่าราคาหุ้นกลุ่มอสังหาริมทรัพย์ มีแนวโน้มเคลื่อนไหว Outperform ตลาดได้ในสัปดาห์นี้ จากแรงเก็งกำไรผลการประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ในวันพุธนี้ โดยคาดว่า หาก กนง.พิจารณาลดดอกเบี้ยลง จะเป็นบวกในแง่จิตวิทยาต่อกลุ่มที่อยู่อาศัย รวมทั้งนโยบายที่ชัดเจนจะส่งผลต่อความเชื่อมั่นของนักลงทุนต่างชาติ ที่รอดูผลการประชุม กนง.อยู่เช่นกัน และจะขึ้นเครื่องหมาย XD สำหรับเงินปันผลปี 2555 หุ้นละ 0.12 บาทในวันที่ 24 เม.ย.2556 คิดเป็นผลตอบแทนจากเงินปันผลราว 2.7% ดังนั้น จึงแนะนำซื้อเก็งกำไรหุ้น บริษัท ควอลิตี้เฮ้าส์ จำกัด (มหาชน) หรือ QH ในระยะสั้น สำหรับนักลงทุนที่รับความเสี่ยงได้สูง เพื่อคาดหวังส่วนต่างกำไรจากราคาหุ้นจากแรงเก็งกำไรผลการประชุม กนง.ในสัปดาห์นี้
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น