ต่อไปนี้ เป็นตัวอย่างฟองสบู่อสังหาที่เกิดขึ้นในประเทศจีน ซึ่ง apple อยากจะสะกิดให้นักเก็งกำไรอสังหาทั้งหลาย ลองคิดเปรียบเทียบดูหน่อย แน่นอนถ้าไปถามนักพัฒนาที่ดิน บริษัทขายบ้าน คอนโด ต้องบอกว่ามันไม่ฟองแน่ แต่อยากให้คิดถึง demand supply ที่แท้จริง ลองเทียบราคาบ้านมือสอง กับคอนโดตามแนวรถไฟฟ้าใหม่ๆดู จะเห็นถึงความแตกต่าง และความคุ้มค่า อะไรบางอย่าง บอกตามตรงว่าการซื้อคอนโดก็เหมือนการเช่าบ้านอยู่ การเก็งกำไรตอนนี้ก็คงอารมณ์เหมือนคนที่ซื้อทองตอน 26,000 ตอนนี้อาจจะนอนไม่ค่อยหลับ(แต่เอาใจช่วยค่ะ)
แห่งแรก เธมส์ทาวน์ หนึ่งในสถานที่สุดแปลกในเมืองจีน คือเมืองที่ถูกเนรมิตด้วยเงินสองหมื่นล้านบาท ให้เหมือนยกประเทศอังกฤษมาตั้งอยู่ในเขตซงเจียง ใกล้กับเมืองเซี่ยงไฮ้ ตามโครงการ ‘1 City 9 Towns’ ที่สร้างให้เป็นที่อยู่อาศัยอันแสนโก้เก๋สำหรับชุมชนราวหนึ่งหมื่นคน มันไม่ประสบความสำเร็จและถูกทอดทิ้งให้กลายเป็นเมืองร้าง ประจานความพิลึกพิลั่นของคนต้นคิด และเป็นอนุสรณ์แห่งความภาคภูมิใจว่าไม่มีอะไรที่คนจีนจะก๊อปปี้ไม่ได้
บ้านเหล่านี้มีคนไปซื้อเก็งกำไร แต่สุดท้ายก็ขายไม่ออก เงินที่ลงไปก็สูญไปต่อหน้าต่อตา
แห่งที่สอง Dongguan ศูนย์การค้าที่ไม่มีคนมาจับจ่าย ที่จังหวัดกวางตุ้ง (Guangdon Province) เมืองนี้ที่อยู่ทางตอนใต้ของประเทศจีน มีการสร้างศูนย์การค้าที่ มีพื้นที่ 5 ล้านตารางฟุต สามารถจุร้านค้าได้ 2,350 ร้าน จัดเป็นศูนย์การค้าที่มีพื้นที่ให้ร้านค้าเช่าที่ใหญ่ที่สุดในโลก มีขนาดใหญ่กว่า Mall of America ซึ่งจัดเป็นศูนย์การค้าที่ใหญ่ที่สุดของสหรัฐ
ทุกอย่างออกแบบมาดูดีหมด แต่ปัญหาคือศูนย์การค้านี้มีแต่ความว่างเปล่า แม้ว่ามีแผนการใหญ่โต แต่มีผู้มาเช่าใช้พื้นที่เพียงหยิบมือ มีคนมาเยี่ยมใช้บริการน้อยมาก มีอัตราการใช้ประโยชน์น้อยมาก ที่ศูนย์การค้านี้ Emporis ศูนย์ข้อมูลด้านอาคารต่างๆในโลก ได้จัดให้ที่นี่เป็น “ศูนย์การค้าที่ตาย” (Dead mall)
ศูนย์การค้านี้ เปิดให้สาธารณชนเข้าใช้ได้ในปี ค.ศ. 2005 ผู้พัฒนาหวังว่าจะมีคนมาใช้บริการวันละ 100,000 คนต่อวัน แต่ 8 ปีผ่านไป มีคนไปใช้บริการเพียงที่ร้านอาหารแบบจานด่วนของอเมริกันที่บริเวณทางเข้าโรงภาพยนตร์ IMAX ไม่กี่คน มีพ่อแม่บางคนพาลูกๆไปเที่ยวที่ศูนย์สันทนาการ Teletubbies Edutainment Center แต่โดยทั่วไปแล้ว บรรยากาศเงียบเหงา
ปัญหาส่วนหนึ่งเป็นเพราะสถานที่ ซึ่ง Dongguan เป็นเมืองอุตสาหกรรมมีคน 10 ล้านคนก็จริง แต่คนเหล่านี้อพยพมาจากที่อื่นๆ ต้องอยู่อย่างหาเช้ากินค่ำ เมื่อทำงานหนักในโรงงาน ก็ไม่มีเวลาที่จะเที่ยวพักผ่อนหย่อนใจ
คนทำงาน ต้องทำงานหนักเพียงเพื่อความอยู่รอด ไม่มีเงินและเวลาที่จะไปใช้ซื้อตั๋วขึ้น รถไฟเหาะตีลังกา (Rollercoaster) หาความสำราญ การที่เกิดโครงการศูนย์การค้าใหญ่ขนาดนี้ เกิดขึ้นโดยไม่มีการศึกษาด้านการตลาดและธุรกิจอย่างดีพอ และขณะเดียวกัน ด้วยความสำเร็จโดยรวมของประเทศจีนโดยรวม ที่เติบโตอย่างต่อเนื่องมาตลอด ทำให้ธนาคารปล่อยเงินอย่างไม่เคร่งครัด
ในประเทศจีนมีโครงการที่เป็นเหมือนเมืองร้างเกิดขึ้นอีกหลายๆแห่ง มีโครงการโครงสร้างพื้นฐาน (Infrastructure) ทั้งที่พักอาศัย และศูนย์การค้า ที่ไม่มีคนมาใช้บริการ แต่ประเทศจีนก็เติบโตทางเศรษฐกิจที่ระดับร้อยละ 7-8 ต่อปี
ที่เป็นเช่นนี้ เพราะรัฐบาลกลางใช้นโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจ กระตุ้นการลงทุนขั้นพื้นฐาน เร่งให้เกิดงานก่อสร้าง หวังว่ารัฐบาลไทยจะใช้สติ และศึกษาให้รอบคอบในการทำโครงการต่างๆนะคะ อย่างน้อยรถไฟความเร็วสูงก็ดีกว่าแจกเงิน 2000 บาทนะคะ หุๆ
ขอขอบคุณข้อมูลจากหลายๆ website ค่ะ(ลอง searh ดูจะมีอีกหลายที่ สวยๆทั้งน้าน น่าไปถ่ายรูป)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น