วันจันทร์ที่ 29 เมษายน พ.ศ. 2556

วิศวกรรมการเงินCP ฟาดกำไรพุ่งขึ้นแรง

วิศวกรรมการเงินCP
ฟาดกำไรพุ่งขึ้นแรง

ข่าวหน้าหนึ่ง วันอังคารที่ 30 เมษายน 2556 
ผู้เข้าชม : 13 คน 

ซีพีวางแผนวิศวกรรมทางการเงิน ดันกำไร CPALL และสยามแม็คโครพุ่ง ระบุหลังถือหุ้นใหญ่ ลดรายจ่ายค่าลิขสิทธิ์ทันที 400 ล้านบาท กำไรอัตราแลกเปลี่ยน 375 ล้านบาท บุ๊คในไตรมาสสาม รวมทั้งกำไรที่ดินหลังลดตั้งค่าเสื่อม ออกกองอสังหาฯ และซื้อหุ้นคืนดันกำไรโตปีละ 30%

                แหล่งข่าวจากที่ปรึกษาทางการเงิน เผยว่า บมจ.ซีพี ออลล์ หรือ CPALL วางแผนวิศวกรรมทางการเงิน ซึ่งจะส่งผลดีต่อดีลซื้อหุ้นบมจ.สยามแม็คโคร หรือ MAKRO ไว้ 5 ประการ อันจะส่งผลให้ผลประกอบการของ CPALL  และ MAKRO มีกำไรเพิ่มขึ้นอย่างมากในอนาคต ดังนี้
                ประการแรก บริษัทจะได้ลดค่าใช้จ่ายด้านทรัพย์สินทางการค้าหรือเครื่องหมายทางการค้า ซึ่งแม็คโครคิดเป็นเปอร์เซ็นต์จากยอดขาย และค่าใช้จ่ายด้านซอฟต์แวร์ระหว่างบริษัทลูกและบริษัทแม่แม็คโครที่ต่างประเทศ ซึ่งในปีที่ผ่านมามีค่าใช้จ่ายรวมกว่า 400 ล้านบาท หลังจากซื้อสิทธิ์ขาดมาแล้ว
                ประการที่สอง  CPALL ได้กู้เงินเป็นสกุลเงินดอลลาร์สหรัฐในอัตราดอกเบี้ยที่ต่ำ ไลบอร์บวก 1.5% ซึ่งจะมีต้นทุนดอกเบี้ยประมาณ 3-4% เท่านั้น และยังปิดความเสี่ยงโดยการแปลงดอลลาร์เป็นเงินบาท โดยจะบุ๊คกำไรจากอัตราแลกเปลี่ยนภายในไตรมาสที่ 3 นี้ ประมาณ 375 ล้านบาท
                ประการที่สาม ได้ทรัพย์สินซึ่งเป็นสาขาของแม็คโครมากกว่า 62 สาขา ในราคาที่ถูกกว่าท้องตลาดฯ โดยเฉพาะราคาที่ดินของแต่ละแห่งที่ยังคงใช้ราคาในอดีต ขณะที่ปัจจุบันราคาปรับตัวขึ้นมาแล้วกว่า 8-10 เท่า ปัจจุบันในงบการเงิน  MAKRO มีการตั้งค่าด้อยค่าของที่ดินสูงทำให้สินทรัพย์ของบริษัทที่รวมอาคารและที่ดินมีมูลค่ากว่า 3.8 แสนล้านบาท ตั้งด้อยค่าไป 1.8 แสนล้านบาท เหลือมูลค่าสินทรัพย์เพียง 1.19 แสนล้านบาทเท่านั้น แต่อนาคตหลัง CPALL  เข้ามาบริหารการตั้งค่าด้อยค่าที่ลดลงหรือไม่มีจะส่งผลให้มูลค่าสินทรัพย์เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ
                ประการที่สี่ CPALL สามารถนำที่ดินสาขาทั้งหมด ไปตั้งเป็นกองทุนอสังหาริมทรัพย์ ขายในตลาดฯและให้แม็คโครซื้อหุ้นคืนจาก CPALL  เพื่อลดรายจ่าย จุดนี้ซีพีจะได้รับส่วนต่างราคาดังกล่าว คล้ายกับกรณีของ JAS โดยออกรีเทลบอนด์
                ประการที่ห้า ซีพีสามารถรุกตลาดในต่างประเทศได้มากขึ้น ได้แก่ ตลาดอินโดนีเซีย มาเลเซีย และจีน ซึ่งที่ผ่านมาไม่สามารถใช้แบรนด์เซเว่นอีเลฟเว่นรุกได้ แต่หลังจากได้แบรนด์แม็คโครมาแล้ว สามารถทำได้มากขึ้น
                นอกจากนี้ ในอนาคต CPALL อาจใช้แบรนด์แม็คโครแทนเซเว่นอีเลฟเว่น ที่ปัจจุบันมีค่าใช้จ่ายที่เรียกว่าค่าบริหารร้านค้าหรือค่าไลเซนส์ ประมาณปีละ 1 หมื่นล้านบาท ที่ต้องจ่ายให้เจ้าของลิขสิทธิ์ที่สหรัฐอเมริกา เพื่อลดต้นทุนในด้านนี้
                โดยที่ปรึกษาทางการเงิน ระบุว่า ตั้งแต่ปี 57 เป็นต้นไป กำไรสุทธิของ CPALL จะเติบโตเพิ่มขึ้นเฉลี่ยเป็นปีละ 30% จากปกติที่เฉลี่ยโต 20%  ซึ่งผู้บริหารมั่นใจว่าที่ประชุมผู้ถือหุ้นของ CPALL จะอนุมัติให้บริษัทเข้าซื้อหุ้น MAKRO  ในการประชุมวิสามัญผู้ถือหุ้นวันที่ 12 มิ.ย.นี้
                ด้านบล.เอเซีย พลัส ให้มูลค่าพื้นฐานหุ้น CPALL หลังควบรวมกิจการ ที่คำนวณโดยใช้วิธีส่วนลดกระแสเงินสด (DCF) กำหนด WACC 9.5% และ Terminal Growth Rate 2.4% เพิ่มขึ้นจาก 52 บาท มาอยู่ที่ 60 บาท

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น