วันอังคารที่ 24 ธันวาคม พ.ศ. 2556

สาระน่ารู้เกี่ยวกับธนาคารกลางสหรัฐ

Readability
Share
Settings
dailynews.co.th
สาระน่ารู้เกี่ยวกับธนาคารกลางสหรัฐ
1.ประธานาธิบดีวูดโรลด์ วิลสัน แห่งสหรัฐ ลงนามในรัฐบัญญัติธนาคารกลาง เมื่อวันที่ 23 ธ.ค. 2456 เพื่อก่อตั้งธนาคารกลางสหรัฐ ( เฟด ) แต่หน่วยงานเปิดดำเนินงานอย่างเป็นทางการในวันที่ 16 พ.ย. 2457

2.แม้จะเป็นองค์กรที่ถือกำเนิดจากการลงนามอนุมัติของผู้นำสหรัฐ แต่เฟดไม่ใช่หน่วยงานที่ขึ้นตรงกับรัฐบาลกลาง ผู้ถือหุ้นของเฟดคือสถาบันการเงินรายใหญ่ในประเทศ อย่างไรก็ตาม อัตราส่วนของการถือหุ้นไม่ได้รับอนุญาตให้มีการเปิดเผย โดยธนาคารระดับประเทศทุกแห่งต้องร่วมเป็นสมาชิก ขณะที่ธนาคารระดับรัฐสามารถตัดสินใจได้ว่าจะเป็นสมาชิกหรือไม่ ทั้งนี้ การถือกำเนิดของเฟดคือการรับถ่ายโอนอำนาจนโยบายด้านการเงินจากสภาคองเกรส

3. สำนักงานใหญ่ของเฟดอยู่ที่กรุงวอชิงตัน โดยมีสำนักงานส่วนภูมิภาค 12 แห่ง ได้แก่ นครนิวยอร์ก เมืองบอสตัน เมืองฟิลาเดลเฟีย เมืองคลีฟแลนด์ เมืองริชมอนด์ เมืองแอตแลนตา เมืองเซนต์หลุยส์ เมืองชิคาโก เมืองมินนิอาโปลิส เมืองแคนซัสซิตี เมืองดัลลัส และเมืองซานฟรานซิสโก

4.คณะผู้บริหารของเฟดมี 7 คน หนึ่งในนั้นคือตำแหน่งประธาน ซึ่งประธานเฟดคนแรกคือ นายชาร์ลส์ แฮมลิน ส่วนคนปัจจุบันคือนายเบน เบอร์นันกี ซึ่งเป็นคนที่ 14 และกำลังจะหมดวาระในวันที่ 31 ม.ค. 2557 วาระการดำรงตำแหน่งประธานเฟดอยู่ที่ 4 ปี แต่ไม่มีข้อจำกัดว่า ประธานคนเดิมจะไม่สามารถกลับมารับตำแหน่งต่อได้อีก ขณะที่วาระการดำรงตำแหน่งของคณะผู้บริหารอยู่ที่คนละ 14 ปี

5.เฟดสามารถปล่อยสินเชื่อให้หน่วยงานใดก็ได้ทั้งในและต่างประเทศ เป็นจำนวนเท่าใดและเมื่อไหร่ก็ได้ โดยไม่จำเป็นต้องตรวจสอบประวัติการเงินย้อนหลัง และมีผู้ค้ำประกัน ซึ่งสถาบันการเงินที่เฟดปล่อยสินเชื่อให้มากที่สุด 5 อันดับ ได้แก่ ซิตีกรุ๊ป มอร์แกนสแตนลีย์ เมอร์ริลลินช์ แบงก์ออฟอเมริกา และบาร์เคลย์ส พีแอลซี

6.หน้าที่ในภาพรวมของเฟดคือ 6.1) พิมพ์และทำลายธนบัตร รวมถึงเหรียญกษาปณ์ 6.2) วิเคราะห์เศรษฐกิจในภูมิภาค และนำเสนอเป็นรายงานในชื่อ "หนังสือสีเบจ" 6.3) กำหนดนโยบายเศรษฐกิจในประเทศ 6.4) รับรองการก่อตั้ง การรวมกิจการ และการล้มละลายของสถาบันการเงิน 6.5) จัดการศึกษาและเผยแพร่ความรู้ที่เกี่ยวข้องกับการเงินและเศรษฐกิจ

7.เฟดเริ่มใช้มาตรการผ่อนคลายเชิงปริมาณ ( คิวอี ) ซึ่งก็คือการซื้อพันธบัตรรัฐบาลเพื่อพยุงเศรษฐกิจของประเทศเป็นครั้งแรก ในช่วงวิกฤตเศรษฐกิจฟองสบู่จากตลาดอสังหาริมทรัพย์ เมื่อเดือนพ.ย. 2551 ปัจจุบันปริมาณการซื้อพันธบัตรอยู่ที่เดือนละ 85,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ( ราว 2.72 ล้านล้านบาท ) จนกระทั่งเมื่อวันที่ 18 ธ.ค. เฟดประกาศเตรียมเริ่มการชะลอมาตรการคิวอีลง 10,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ( ราว 320,000 ล้านบาท ) ให้เหลือ 75,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐต่อเดือน ( ราว 2.4 ล้านล้านบาท ) โดยจะมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค. ปีหน้าเป็นต้นไป

ทั้งนี้ เหตุผลมาจากการที่คณะกรรมการกำหนดนโยบายการเงินของธนาคารกลางสหรัฐ ( เอฟโอเอ็นซี ) เล็งเห็นเศรษฐกิจของประเทศมีแนวโน้มฟื้นตัวขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะในส่วนของตลาดแรงงานที่อัตราการว่างงานลดลงมาอยู่ในระดับ 7.0% และจำนวนตำแหน่งงานใหม่อยู่ในเกณฑ์ที่สูงมาตลอด

powered by Readability
SIGN UP LOG IN

posted from Bloggeroid

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น