วันพุธที่ 16 กรกฎาคม พ.ศ. 2557

ร่างงบประมาณปี2558 ที่ผ่านความเห็นชอบมาจากคสช.แล้ว มียอดรวมทั้งสิ้น 2.57 ล้านล้านบาท แต่มีงบลงทุนด้านโครงสร้างพื้นฐานประเทศอยู่แค่ 4.5 แสนล้านบาทเท่านั้น

ข่าวหุ้น - กระบอกเสียงอิสระแห่งตลาดทุน:: ผิดหวังรถไฟรางคู่

คอลัมน์ วันพฤหัสบดีที่ 17 กรกฎาคม 2557
ผู้เข้าชม : 6 คน
จาก 2 ล้านล้านบาท มันก็เหลือมาแค่นี้แหละครับ...

ร่างงบประมาณปี2558 ที่ผ่านความเห็นชอบมาจากคสช.แล้ว มียอดรวมทั้งสิ้น 2.57 ล้านล้านบาท แต่มีงบลงทุนด้านโครงสร้างพื้นฐานประเทศอยู่แค่ 4.5 แสนล้านบาทเท่านั้น

กระทรวงที่ได้รับงบประมาณสูงสุด 5 อันดับแรก ได้แก่ อันดับ 1 กระทรวงศึกษาธิการ 4.9 แสนล้านบาท คิดเป็นสัดส่วน 19.3% อันดับ 2 งบกลาง 3.7 แสนล้านบาท คิดเป็น14.5%

อันดับ 3 กระทรวงมหาดไทย 3.4 แสนล้านบาท คิดเป็น 14.5% อันดับ 4 กระทรวงกลาโหม 1.93 แสนล้านบาท สัดส่วน 7.5% และอันดับ 5 กระทรวงการคลัง 1.86แสนล้านบาท สัดส่วน 7.2%

งบลงทุนโครงสร้างพื้นฐานอันน้อยนิด 4.5 แสนล้านบาท ประกอบด้วย 1.งบลงทุนเพื่อพัฒนาแหล่งน้ำ จำนวน 7.1 หมื่นล้านบาท 2.งบลงทุนเพื่อวางระบบป้องกันน้ำท่วมและภัยแล้ง จำนวน 4.2 หมื่นล้านบาท

3.การลงทุนเพื่อการคมนาคมขนส่งและโลจิสติกส์วงเงิน 1.4 แสนล้านบาท เพื่อใช้ก่อสร้างถนน รถไฟ และขนส่งมวลชน

โครงการรถไฟรางคู่ ก็อยู่ในส่วนนี้ ได้รับการจัดสรรงบแค่ 910 ล้านบาท

เป็นงบผูกพัน 2 ปี ใช้เพื่อสำหรับศึกษา ออกแบบ และจัดกรรมสิทธิ์ที่ดินรถไฟรางคู่จำนวน 11 สาย

นั่นก็หมายความว่า 2 ปีต่อจากนี้ จะไม่ได้เห็นการก่อสร้างรถไฟรางคู่อย่างแน่นอน เพราะติดขัดในขั้นตอนแค่การศึกษา ออกแบบ และจัดกรรมสิทธิ์

อะไรมันจะใช้เวลานานปานนั้น!

รางรถไฟนะ ไม่ใช่ถนน รางรถไฟมีเขตทางเวนคืนทั่วประเทศที่แน่ชัดอยู่แล้ว จะไปมีปัญหาจัดกรรมสิทธิ์ที่ดินเหมือนถนนที่ต้องมีการเวนคืนใหม่กันอีกไปทำไม

ในเรื่องของการศึกษาออกแบบนั้น ทางรถไฟก็ไม่มีอะไรสลับซับซ้อนแต่อย่างใดเลย ก็ออกแบบไปตามพื้นที่เขตทางเวนคืนนั่นแหละ ใช้วิธีการก่อสร้างที่เรียกว่า “ดีไซน์-บิ้ลท์” หรือออกแบบไป ก่อสร้างไปก็ยังได้

มันซิมเปิ้ลๆ เอามากๆ ยิ่งพื้นที่ใดเป็นทางราบก็ยิ่งง่าย พื้นที่ป่าเขาลาดชัน อาจจะยุ่งยากหน่อย แต่ก็คงไม่เหลือวิสัยเทคโนโลยีการก่อสร้างหรอก

ตรงไหนเป็นเขาลาดชัน ก็ทลายให้มีเขตทางวางรางเสีย หรือกระทั่งจะขุดเจาะเป็นอุโมงค์ เทคโนโลยีสมัยนี้ ก็ไม่ได้เป็นเรื่องที่ยากเย็นอะไรเลย

ไม่เข้าใจว่า ทำไมต้องรอช้าขนาดนี้

จึงเป็นอันว่า ภายใน 2 ปีนี้ รถไฟรางคู่ก็ยังคงสั้นจุ๊ดจู๋เป็นหางแมวอยู่เหมือนเดิม กล่าวคือ เส้นทางสายเหนือ-อีสาน สะดุดอยู่แค่ชุมทางบ้านภาชี และสายใต้ก็สะดุดอยู่นครปฐมเท่านั้น

อัตราความเร็วรถไฟก็ยังกระฉึกกระฉักโดยเฉลี่ยอยู่แค่ 40-50 ก.ม./ชั่วโมง ไม่มีทางไหลลื่นปรี๊ดเป็น 80-100 ก.ม.ได้ เพราะวิ่งไป รอสับหลีกไปตลอดทาง

การสร้างโอกาสทางธุรกิจและการยกระดับคุณภาพระบบโลจิสติกส์ เสียหายไปเป็นอันมาก

ความหวังอันบรรเจิดในโครงการลงทุนโครงสร้างพื้นฐาน 2 ล้านล้านบาท ก็หดสั้นจุ๊ดจู๋ลงมาเหลือเพียง 4.5 แสนล้านบาทแค่นี้ และก็มีความไม่แน่นอนอีกด้วยว่า ปีต่อไปจะมีการตั้งงบประมาณเพิ่มเติมต่อเนื่องให้หรือเปล่า

ผมนึกถึงตอนฝ่ายค้านโจมตีรัฐบาลในเรื่องร่างพ.ร.บ.กู้เงิน 2 ล้านล้านบาท และศาลรัฐธรรมนูญก็ออกมาปิดเกมว่าร่างพ.ร.บ.ฉบับนี้ ไม่ชอบด้วยรัฐธรรมนูญด้วยข้ออ้างเก๋ไก๋เต็มประดา “ให้ทางลูกรังหมดไปเสียก่อน”

ผลตกทอดมาวันนี้ ก็ดังที่เห็นกันอยู่นี่แหละ

posted from Bloggeroid

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น