วันศุกร์ที่ 21 มิถุนายน พ.ศ. 2556

หุ้นลงตั้งหลักรับมือชะลอ QE

Friday, 21 June 2013

หุ้นลงตั้งหลักรับมือชะลอ QE

« เทคนิคการใช้ Technical Analysis | Main
นับตั้งแต่ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) โยนก้อนหินถามทางเป็นครั้งแรกเมื่อช่วงเดือนพฤษภาคม 2556 ว่า เฟดอาจจะชะลอมาตรการผ่อนคลายเชิงปริมาณ (QE)
          ตลาดหุ้นทั่วโลกและหุ้นไทยก็ปั่นป่วนร่วงกันระนาวมาตลอดหลายสัปดาห์
          ล่าสุด วันที่ทุกคนรอคอยคือ การประชุมคณะกรรมการกำหนดนโยบายการเงินของธนาคารกลางสหรัฐ (FOMC) 18-19 มิถุนายนก็มาถึง
          ผลการประชุมเสร็จสิ้นลง แม้เฟดจะประกาศเดินหน้ามาตรการผ่อนคลายเชิงปริมาณ (QE) ด้วยการซื้อพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐ และหลักทรัพย์ ที่ได้รับการค้ำประกันจากสัญญาจำนอง (MBS) ในวงเงินรวมกัน 8.5  หมื่นล้านดอลลาร์ต่อเดือนต่อไป
          และยังมีมติคงเป้าหมายอัตราดอกเบี้ยระยะสั้น (fed funds rate) อยู่ในกรอบ 0-0.25% จนกว่าอัตราการว่างงานจะลดลงสู่ระดับ 6.5% หรือต่ำกว่า   และตราบเท่าที่เงินเฟ้ออยู่ต่ำกว่าระดับ 2.5%    
          แต่นายเบน เบอร์นันเก้ ประธานเฟด กล่าวในการแถลงข่าวหลังการประชุมว่า เฟดคาดว่าจะชะลออัตราการเข้าซื้อพันธบัตรในช่วงต่อไปของปีนี้ และจะยุติโครงการดังกล่าวอย่างสิ้นเชิงในกลางปีหน้า
          คำกล่าวของนายเบอร์นันเก้ สร้างความตื่นตระหนกต่อนักลงทุน จนส่งผลให้ดัชนีดาวโจนส์ ปิดทรุดตัวลง 206.04 จุด หรือ 1.35% สู่ระดับ 15,112.19 ขณะที่อัตราผลตอบแทนพันธบัตรสหรัฐ พุ่งขึ้นแตะระดับสูงสุดในรอบ 15 เดือน
          เป็นการสาดก้อนหินถามทางออกมาอีกครั้ง และชัดเจนมากขึ้น  เพราะครั้งนี้ ยังบอกอีกด้วยว่าจะยุติ QE โดยสิ้นเชิงในกลางปี 57
          นั่นหมายถึงการยุติ QE เร็วกว่าสมมติฐานเดิม ซึ่งเคยคาดกันไว้ว่าจะลากกันไปถึงกลางปี 58
          นักลงทุนทั่วโลกจึงต้องปรับสมมติฐานใหม่พร้อมกัน ผลก็คือหุ้นร่วงทั่วโลกกันต่อ 2-3% ในการซื้อขายเมื่อวานนี้  โดยหุ้นไทยมีวูบลงต่ำกว่า 1,400 จุดอีกครั้ง
          ในมุมมองของผม เรื่องของ QE ถือเป็นเสาหลักของนักลงทุนทั่วโลกในช่วงที่ผ่านมา  ที่ทำให้หุ้นทั่วโลกพุ่งทะยานอย่างยาวไกลมาก  และกดให้อัตราดอกเบี้ยในโลกอยู่ต่ำกว่าความเป็นจริงราว 2%
          ส่วนดอกเบี้ยของไทยเอง ซึ่งไม่ได้ไหลต่ำลงเท่ากับการลงของดอกเบี้ยสกุลสำคัญ  แต่ก็ถูกผลกระทบจากเงินทุนไหลเข้าทำให้ดอกเบี้ยต่ำกว่าภาวะปกติไม่น้อยกว่า 1%

          ช่วงนี้เงินต่างชาติที่เคยไหลเข้าตลาดหุ้นไทย ใน 2-3 ปีที่ผ่านมาก็คงจะไหลออกสักระยะหนึ่ง
          ผมคิดว่าที่ดัชนีหุ้นไทย 1,400 จุดนั้น   ระดับ P/E ของผลประกอบการปี 56 อยู่แถวๆ 13 เท่า ซึ่งก็น่าจะเป็นระดับที่ลงทุนระยะยาวได้  และคงจะมีหุ้นที่ต่ำกว่ามูลค่าทางปัจจัยพื้นฐานให้เลือกลงทุนได้เยอะถ้าเงินเย็น
          แต่สำหรับภาพสั้นระดับ 2-3 สัปดาห์ คงต้องทำใจว่า ความเสี่ยงที่หุ้นจะผันผวนน่าจะมีมาก ซึ่งหากเงินต่างชาติไหลออกต่อเนื่อง ระดับ 1,400 จุดก็ยังมิอาจรับประกันว่ายืนติด
          เงินต่างชาติที่ไหลเข้ามาซื้อสุทธิหุ้นไทยในปี 55 ทั้งสิ้น 76,000 ล้านบาท ซึ่งยังไม่ได้คำนวณว่าเงินที่เข้ามาดังกล่าวมีมูลค่าเพิ่มขึ้นระดับดัชนี  ปีนี้ไหลออกแล้ว 56,000 ล้านบาท (นับถึง 19 พ.ค.) แปลว่าถ้าจะเอาเงินเก็งกำไรของปี 55 ออกให้หมดก็มีอีก 20,000 ล้านบาท
          ทั้งนี้ยังไม่มีการมองไปยังเงินที่เคยเข้ามาในช่วงปี 52-54 ซึ่งเป็นเงินก้อนใหญ่เนื่องจากพื้นฐานเศรษฐกิจไทยยังเข้มแข็ง

          ขอเอาใจช่วยนักลงทุนลุ้นให้ผ่านโซนเวลาอันตรายนี้
          วันนี้พื้นที่คอลัมน์เต็มแล้ว พบกันใหม่เดือนหน้า และฝากถึงผู้สนใจเติมความรู้ และนับชั่วโมงต่อใบอนุญาตต่างๆ ว่า สมาคมฯ จัดอบรม "เรียนรู้บริษัท...สืบจากงบกระแสเงินสด" เสาร์ที่ 6 ก.ค.  และ“ประเด็นที่ควรระวังในการใช้งบการเงินเพื่อวิเคราะห์ธุรกิจ” เสาร์ที่ 13 ก.ค. ค่าสัมมนาครั้งละ 2,900 บาท (ยังไม่รวม VAT) ติดต่อ 02-229-2355 begin_of_the_skype_highlighting 02-229-2355 FREE  end_of_the_skype_highlighting  

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น