วันเสาร์ที่ 29 มิถุนายน พ.ศ. 2556

ไอเอ็มเอฟจับตาทุนไหลเข้าเอเชีย @ เตือนผู้กำหนดนโยบายระวังเศรษฐกิจร้อนเกินไป


ไอเอ็มเอฟจับตาทุนไหลเข้าเอเชีย
@ เตือนผู้กำหนดนโยบายระวังเศรษฐกิจร้อนเกินไป

ต่างประเทศ วันพฤหัสบดีที่ 02 พฤษภาคม 2556 
ผู้เข้าชม : 11 คน 

สิงคโปร์ - ไอเอ็มเอฟกำลังจับตาอย่างใกล้ชิดต่อเงินทุนจำนวนมากที่กำลังไหลเข้าสู่เอเชีย  พร้อมเรียกร้องให้ผู้กำหนดนโยบายในภูมิภาคระวังความเสี่ยงที่เศรษฐกิจจะร้อนแรงเกินไป  แม้ไอเอ็มเอฟไม่ได้ระบุว่าประเทศใดที่มีความเสี่ยงจะร้อนแรงเกินไป     แต่ในช่วงนี้ ตลาดหุ้นในอินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ และไทย ได้ปรับตัวขึ้นอย่างรุนแรง    ขณะเดียวกัน นักเศรษฐศาสตร์ชื่อดังชี้ ราคาหุ้นจะเพิ่มขึ้นในช่วงสองปีข้างหน้าเนื่องจากธนาคารกลางสหรัฐยังคงพยายามกระตุ้นเศรษฐกิจต่อไป
กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (ไอเอ็มเอฟ) ระบุว่า ระดับเงินทุนที่ไหลเข้าสู่เอเชียซึ่งได้ส่งผลให้ราคาที่ดินและราคาหุ้นในเอเชียพุ่งแรง  กำลังเข้าใกล้หรือสูงกว่าแนวโน้มในอดีตของเศรษฐกิจส่วนใหญ่ ซึ่งรวมถึงเศรษฐกิจในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ด้วย
อนูพ ซิงห์  ผู้อำนวยการฝ่ายเอเชียแปซิฟิกของไอเอ็มเอฟ กล่าวว่า กำลังเห็นแรงกดดันทางการเงินหรือความเสี่ยงที่เกิดความไม่สมดุล เพิ่มมากขึ้น และเพราะว่าแรงกดดันเหล่านี้สามารถเลวร้ายลงอย่างรวดเร็ว ไอเอ็มเอฟจึงกำลังจับตาอย่างระมัดระวัง ดังนั้น ความท้าทายที่ผู้กำหนดนโยบายเผชิญอยู่ในขณะนี้ก็คือ จะป้องกันไม่ให้เกิดความไม่สมดุลของแต่ละชาติได้อย่างไร ในขณะเดียวกันยังคงต้องอุดหนุนการเติบโตอย่างเหมาะสมต่อไป
ซิงห์ได้แสดงความเห็นข้างต้นในระหว่างการการเปิดตัวแนวโน้มเศรษฐกิจในภูมิภาคของไอเอ็มเอฟ ซึ่งยังคงคาดการณ์ว่า เอเชียจะโต 5.7% ในปีนี้
ซิงห์กล่าวว่า ประเด็นเบื้องต้นของไอเอ็มเอฟคือ โดยทั่วไปแล้วความวิตกเกี่ยวกับเสถียรภาพของชาติในเอเชีย กำลังเพิ่มขึ้น และใกล้หรือสูงกว่าแนวโน้มในเศรษฐกิจส่วนใหญ่ โดยรวมถึงอาเซียนด้วย ดังนั้นผู้กำหนดนโยบายเงินจำเป็นต้องพร้อมที่จะจับตาแต่เนิ่นๆและอย่างเด็ดขาด ต่อความเสี่ยงที่จะเกิดความร้อนแรงเกินไป
ไอเอ็มเอฟไม่ได้ระบุว่าประเทศใดที่มีความเสี่ยงจะร้อนแรงเกินไป     แต่ในช่วงนี้ ตลาดหุ้นในอินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ และไทย ได้ปรับตัวขึ้นอย่างรุนแรง
ราคาที่ดินในเศรษฐกิจอย่างฮ่องกงและสิงคโปร์ก็ร้อนแรงเช่นกัน ทำให้รัฐบาลเหล่านี้ต้องออกมาตรการเพื่อทำให้มันเย็นลง  รายงานของไอเอ็มเอฟ ระบุว่า จนถึงขณะนี้โดยทั่วไปแล้วเงินทุนที่ไหลเข้ายังไม่มากเกินไป แต่อาจถึงระดับที่ยากต่อการบริหารจัดการได้
เงินทุนของกองทุนจากเศรษฐกิจอุตสาหกรรมที่ไหลเข้าสู่เอเชียเป็นจำนวนมากเพื่อที่จะได้รับผลตอบแทนสูงขึ้น และการปล่อยสินเชื่ออย่างง่ายดายภายในประเทศเพราะอัตราดอกเบี้ยต่ำ  ได้ทำให้ราคาสินทรัพย์สูงขึ้นอย่างรุนแรง
แรงซื้อเพื่อเก็งกำไรซึ่งตรงกันข้ามกับการลงทุนในระยะยาว ได้ก่อให้เกิดความวิตกเกี่ยวกับฟองสบู่ราคาสินทรัพย์ซึ่งอาจแตกลงได้โดยง่ายเมื่อมีการถอนเงินทุนออกอย่างรวดเร็วเหมือนกับที่มันเข้ามา ซึ่งจะสร้างความเสียหายอย่างรุนแรงต่อระบบการเงิน
ไอเอ็มเอฟกล่าวว่า รัฐบาลในเอเชียกำลังเผชิญกับการสร้างความสมดุลอันเปราะบางที่จะต้องสนับสนุนการเติบโตของเศรษฐกิจในขณะเดียวกันก็ต้องบริหารจัดการกับการไหลเวียนของเงินเป็นจำนวนมาก  โดยไอเอ็มเอฟแนะนำว่า เงินเหล่านี้ควรจะไปลงทุนในด้านสาธารณูปโภค การศึกษา และสุขภาพ เพื่อสนับสนุนให้เศรษฐกิจเติบโตอย่างยั่งยืนและครอบคลุม
และยัง เรียกร้องให้รัฐบาลในภูมิภาคขยายแหล่งรายได้ภายในประเทศด้วย
ในขณะเดียวกัน นูรีล รูบินี ศาสตาจารย์ด้านเศรษฐศาสตร์ของมหาวิทยาลัยนิวยอร์ก ซึ่งเคยทำนายว่าจะเกิดวิกฤติที่อยู่อาศัยในสหรัฐ  กำลังคาดการณ์ว่าราคาหุ้นจะเพิ่มขึ้นในช่วงสองปีข้างหน้าเนื่องจากธนาคารกลางสหรัฐยังคงพยายามกระตุ้นเศรษฐกิจต่อไป
อย่างไรก็ดี รูบินี หรือดร.ดูม กล่าวว่า ผู้ซื้อต้องระวังเพราะวันชำระบัญชีกำลังซุ่มโจมตีในตอนปลายๆ ของช่วงสองปี โดยเขาคิดว่า ธนาคารกลางสหรัฐและธนาคารกลางอื่นๆ ทั่วโลก สามารถและจะอุดหนุนหุ้นและพันธบัตรในช่วงสองปีถัดไป
รูบินีกล่าวว่า เฟดกำลังสร้างปัญหาแบบเดียวกับที่ได้ทำให้เกิดวิกฤติการเงินเมื่อปี 2551 ด้วยการรักษาอัตราดอกเบี้ยให้อยู่ใกล้ศูนย์ โดยชี้ว่า ตลาดพันธบัตรขยะเป็นตัวอย่างหนึ่งของฟองสบู่ และเมื่อถึงจุดหนึ่งจะมีปัญหาลอยตัวขึ้น  และเมื่อแรงโน้มถ่วงก่อตัวขึ้น จะไม่เกิดภาวะถดถอย แต่จะเกิดภาวะเศรษฐกิจตกต่ำ
รูบินี กล่าวว่า เนื่องจากการเติบโตทั่วโลกลดลง จึงเป็นไปไม่ได้ที่จะรักษาหุ้นและพันธบัตรให้อยู่ที่การประเมินมูลค่าเหล่านี้  ความวิตกเกี่ยวกับการเติบโตทั่วโลกจะเป็นนัยว่าราคาโภคภัณฑ์ควรจะลดลง ผลตอบแทนพันธบัตรควรจะต่ำลง และหุ้นควรจะลดลง
ตามความเห็นของรูบินี ยุโรปยังคงเป็นตัวคุกคามที่สำคัญสุดหรือเป็นความเสี่ยงที่นานครั้งจะเกิดแต่สร้างความเสียหายมาก และเริ่มมีความชัดเจนว่า ภาวะถดถอยได้ย้ายจากประเทศเล็กๆ ในยุโรปเข้าสู่ประเทศใหญ่ๆ และมีเยอรมนีประเทศเดียวที่ค่อนข้างมีภูมิคุ้มกัน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น