การเงินสุดโต่งหลังทุกประเทศQE
ย้อนกลับไปปี 2008 หลายๆ คนคงจำวิกฤต Sub-Prime ที่เริ่มจากการล้มลงของ Lehman Brother ครั้งนั้น เกิดภาวะสภาพคล่องตึงตัวสุดขีด เรียกได้ว่า เงินที่เคยหมุนเวียนในโลกเกิดภาวะชะงัก ถ้าใครเคยดูหนังเรื่อง Wall-Street 2 หรือแนวบู๊ล้างผลาญแบบ Margin-call ในโลกการเงิน (การบู๊ล้างผลาญในโลกการเงิน กับบู๊แบบ Hollywood จะต่างกันตรงที่ Wall-Street จะเป็นการบู๊แบบใช้สมอง คือ คมตัดคม ชนะกันที่ความคิดและมุมมอง แต่ผู้แพ้มักจบด้วยเลือด คือ ถ้าเป็นหนัง Hollywood ผู้แพ้จะอาบเลือดตายด้วยลูกกระสุนปืน แต่ใน Wall-Street ผู้แพ้จะขึ้นไปยืนบนตึกสูง เพื่อโดดตึกตายนั่นเอง... นั่นแหละโหดแบบนิ่มๆ)
ในเวลานั้นปี 2008 หากใครทำธุรกิจจะทราบเลยว่า Order สินค้าต่างๆ หยุดสั่ง แทบไม่มีการซื้อขายสินค้า ทุกคนตะลึง ...วันนั้นรัฐบาลอเมริกาตัดสินใจอย่างด่วนในการทำ QE (Quantitative Easing : ในความเข้าใจง่ายๆ ของ QE ก็คือ การพิมพ์เงินออกใช้นั่นเอง) หลายคนอาจจะมองว่าดี พอเงินฝืด รัฐบาลก็แค่พิมพ์เงินเพิ่มก็หายฝืด คิดดีๆ นะ มันง่ายแค่นั้นจริงๆ หรือเปล่า แน่นอนไม่ใช่!! ถ้าใครเคยอ่านประวัติศาสตร์ของรัฐบาลที่พิมพ์เงินจนเกิด Hyper-inflation คือ พิมพ์เงินจนเงินตัวเองไร้ค่า มันเคยเกิดตั้งแต่เยอรมนี มาจนถึงล่าสุดไม่นานมานี้ก็ ซิมบับเว ...ลองนึกภาพเยอรมนี ใครจะเคยคิดว่า ครั้งหนึ่งประเทศเยอรมนีเคยพิมพ์เงินจนเงินไร้ค่าเป็นแค่กระดาษ
มาคุยในเรื่อง Hyper-inflation กันก่อนว่า มันเกิดขึ้นได้ยังไง? สาเหตุหลักๆ ของเงินเฟ้อสุดโต่งเกิดขึ้นได้ ก็ต่อเมื่อมีเงินมากเกินไป (รัฐบาลพิมพ์เงินออกมาเยอะ-การเพิ่ม Supply ของเงินจะทำให้เงินที่มีอยู่ในระบบลดมูลค่า เมื่อเงินลดมูลค่า สิ่งที่อยู่ตรงข้ามเงิน เช่น Asset ข้าวของ อาหาร ย่อมราคาสูงขึ้นสวนทาง) ความยากในฐานะของรัฐบาลในการควบคุมและกำหนด Supply ของเงิน ก็คือ เวลาเงินเฟ้อมันเกิดมันจะเฟ้อแบบช้า แต่พอมันถึงจุดหนึ่ง มันจะเกิดการระเบิดของเงินเฟ้อ ถ้าเทียบเป็นกราฟของเงินเฟ้อ มันจะมีการขึ้นลงเป็นแบบ Exponential-ค่อยๆ เกิดขึ้นช้า แล้วระเบิดขึ้น ทำให้การควบคุมของเงินเฟ้อทำได้ยากมากๆ เพราะในช่วงต้นๆ ของการพิมพ์เงิน มันจะเหมือนว่ารัฐบาลสามารถพิมพ์เงินแก้ปัญหาเศรษฐกิจตกต่ำในระยะสั้น เพราะมีเงินเข้ามาหมุนเวียนในระบบเพิ่มขึ้น แต่พอรัฐบาลทำไปสักพักมันจะเริ่มเกิดการระเบิดแบบขึ้นเร็วสุดๆ ของเงินเฟ้อจนไม่สามารถควบคุมได้ นั่นแหละปัญหา เพราะราคาค่าครองชีพและสินค้าจะแพงแบบบ้าเลือดในระยะเวลาอันสั้น ...พังทั้งประเทศ!!
“คำถาม คือ วันนี้ที่อเมริกา ยุโรป และญี่ปุ่น ต่างลุกขึ้นมาทำ QE พร้อมๆ กัน ในปี 2013 มันจะกระทบอย่างไรต่อเศรษฐกิจโลก?” ...ตอบง่ายๆ เลยว่า ทุกรัฐบาลใหญ่ๆ ของโลกพิมพ์เงิน ก็ย่อมต้องกระทบต่อราคา Asset ในระยะยาวแน่นอน ถ้าให้หลับตาพร้อมกันแล้วนึกภาพดูว่า สิ่งที่รัฐบาลทั่วโลกกำลังทำ คือ การเพิ่ม Supply เงิน ซึ่งเป็น Base Money ถ้าผมสมมติว่า ปี 2008 ที่เราเกิดวิกฤต มันเริ่มจากการปั่นเงินของระบบธนาคารและธนาคารเงา (Shadow Banking) ที่ปั่นเงินในรอบนั้นขึ้นมาทำให้สภาพคล่องในโลกล้นหลามก่อนปี 2008 ในช่วงเวลานั้นการกู้ยืมเงินทั่วโลกทำได้ง่ายมาก เพราะทุกธนาคารพยายามปล่อยกู้เกินตัวสุดๆ เวลานั้นขนาดตลาดซื้อขายบ้าน เขายังปล่อยกู้กับคนตกงานด้วยซ้ำ เพราะทุกอย่างที่เสี่ยงเขาก็เอามาขมวดเป็น Sub-Prime แล้วเอาไปให้บริษัทประกัน อย่าง AIG ไปลงทุนในสิ่งเสี่ยงเหล่านี้ ...บทสรุปของความไม่สมเหตุสมผลของเศรษฐกิจในปี 2008 ทำให้เกิดวิกฤต Sub-Prime อยากเล่าให้ฟังนิดหนึ่งว่า จาก Base Money หรือเงินเริ่มต้นที่รัฐบาลพิมพ์ออกมา มันสามารถปั่นให้เกิดสภาพคล่องเพิ่มขึ้นอีกประมาณ 9 เท่า ซึ่งเท่ากับว่า หากเงินที่รัฐบาลพิมพ์เพิ่ม 1 ดอลลาร์ หากหมุนเงินแบบเต็มๆ โดยธนาคารและระบบการเงิน จะทำให้ 1 ดอลลาร์นั้นเพิ่มขึ้นมาเป็น 9 ดอลลาร์ ...เอาล่ะเล่ามาถึงตรงนี้ คุณเห็นปัญหาเหมือนที่ผมเห็นไหม?
ปัญหาที่กำลังก่อตัว คือ “การเพิ่ม Supply ของเงิน จากอเมริกา ยุโรป และญี่ปุ่น” จะส่งผลให้ Base Money หรือเงินเริ่มต้นของทั้งโลกมันเพิ่มขึ้น นั่นเท่ากับว่า เมื่อใดก็ตามที่เศรษฐกิจเริ่มดี เงินเฟ้อจะพุ่งขึ้นแบบบ้าคลั่ง และแทบจะไม่มีทางเลยที่รัฐบาลประเทศต่างๆ จะสามารถดึงเงินออกมาได้ทัน ดังนั้น เงินเฟ้อที่บ้าคลั่งกว่าปี 2008 จะเกิดขึ้นอีกครั้ง และนั่นเท่ากับว่ามูลค่าของ Asset จะขึ้นอย่างมหาศาลในช่วงเวลาดังกล่าว ...ที่เล่ามาผมไม่ได้อยากให้เรากลัวการเงิน แต่อยากจะอธิบายให้เราเข้าใจ แล้วหาวิธีป้องกันตัวเราเอง
ใช่!! จะหวังให้รัฐบาลป้องกันความเสี่ยงของระบบการเงินคงเป็นไปไม่ได้ เพราะที่เห็นๆ วันนี้ขนาดรัฐบาลอเมริกา ยุโรป และญี่ปุ่น ยังเอาตัวเองไม่รอดเลย ดังนั้น เราต้องเตรียมความพร้อมเพื่อรอรับความผันผวนและความเสี่ยงที่กำลังจะเกิดขึ้น ...ซึ่งการตั้งรับความเสี่ยง ก็คือ การเข้าใจจังหวะและโอกาส ให้รู้ว่าวิกฤตจะมาถี่ขึ้น ความผันผวนจะมากขึ้น แต่ให้จำเสมอว่า ทุกครั้งที่โอกาสเกิด ราคา Asset ผันผวนและร่วงรุนแรง ก็เป็นจังหวะที่เราควรจะเก็บสะสม Asset ให้ได้มากที่สุด --- เอาไว้คราวหน้าผมจะมาเล่าให้ฟังว่า เราจะรับมือต่อภาวะผันผวนและรวยขึ้นจากราคา Asset ร่วง และหุ้นตกแรงๆ ได้อย่างไร!!
ใช่!! จะหวังให้รัฐบาลป้องกันความเสี่ยงของระบบการเงินคงเป็นไปไม่ได้ เพราะที่เห็นๆ วันนี้ขนาดรัฐบาลอเมริกา ยุโรป และญี่ปุ่น ยังเอาตัวเองไม่รอดเลย ดังนั้น เราต้องเตรียมความพร้อมเพื่อรอรับความผันผวนและความเสี่ยงที่กำลังจะเกิดขึ้น ...ซึ่งการตั้งรับความเสี่ยง ก็คือ การเข้าใจจังหวะและโอกาส ให้รู้ว่าวิกฤตจะมาถี่ขึ้น ความผันผวนจะมากขึ้น แต่ให้จำเสมอว่า ทุกครั้งที่โอกาสเกิด ราคา Asset ผันผวนและร่วงรุนแรง ก็เป็นจังหวะที่เราควรจะเก็บสะสม Asset ให้ได้มากที่สุด --- เอาไว้คราวหน้าผมจะมาเล่าให้ฟังว่า เราจะรับมือต่อภาวะผันผวนและรวยขึ้นจากราคา Asset ร่วง และหุ้นตกแรงๆ ได้อย่างไร!!
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น