มา ชาน ลี แนะแมลงเม่า อย่าฟังข่าว เล่นหุ้นด้วยตัวเอง
วันพุธที่ 04 กันยายน 2013 เวลา 10:56 น. กอง บก.ฐานเศรษฐกิจ ข่าวหน้า1 - คอลัมน์ : วิเคราะห์

"ชาญ บูลกุล " หรือ " มา ชาน ลี " เป็นเซียนหุ้นรุ่นแรกๆของไทยที่มีลีลาลงทุนโลดโผนการ
ซื้อ-ขายที่ดุดันในอดีตหลายครั้ง ถูกระบุว่าเขาอยู่เบื้องหลัง ครั้งหนึ่งในชีวิต ชาญ เกือบหมดตัว
จากวิกฤติต้มยำกุ้งในปี 2540 ก่อนฟื้นกลับมาทำธุรกิจที่ปรึกษาทางการเงินในนาม บริษัท บรุ๊ค
เคอร์ กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) และหวนคืนตลาดหุ้นอีกครั้ง

ต้นสัปดาห์ที่ผ่านมา เขาเปิดใจกับ"ฐานเศรษฐกิจ" ในหลากแง่มุม ทั้งเรื่องส่วนตัว เศรษฐกิจ และ
ที่ขาดไม่ได้คือ เคล็ดลับลงทุนสไตล์ชาญ เซียนหุ้นตัวพ่อ!!!!!
**มั่นใจเฟดไม่ถอนคิวอี
ชาญ มีมุมมองต่อตลาดหุ้นครึ่งปีหลังค่อนข้างบวก เขาบอกว่า ต้นปีถึงปัจจุบันต่างชาติเทขาย
หุ้นไทยไปแล้วกว่า 1.1 แสนล้านบาท และพันธบัตรไทยนับจากสิ้นไตรมาส 1/2556 ถึงปัจจุบัน
แล้วกว่า 1.2 แสนล้านบาท สาเหตุหลักก็มาจากความกังวลว่าธนาคารกลางสหรัฐ ฯ หรือเฟด
จะถอนมาตรการการอัดฉีดเงินผ่านการซื้อพันธบัตรรัฐบาลหรือคิวอีจริงหรือไม่ ทำให้นักลงทุน
ห่วงเอเชียจะกลับถอยมาเริ่มต้น เหมือนก่อนที่เฟดจะประกาศใช้คิวอี 3 ด้วยการเข้าซื้อพันธบัตร
รัฐบาลเป็นมูลค่าถึง 8.5 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ ฯต่อเดือนหรือไม่
"ที่ผ่านมาไทยได้อานิสงส์ จากเงินไหลเข้ายังตลาดหุ้น ตราสาร และอสังหาริมทรัพย์ อย่าง
หุ้นไทยก็เพราะผลจากคิวอี ทำให้ปรับขึ้นมาหลายสิบเปอร์เซ็นต์ แต่วันนี้ต่างกลัวผลจากการลดคิว
อี จะทำให้ดอกเบี้ยปรับขึ้น เพราะทันทีที่มีกระแสข่าว ดอกเบี้ยมอร์เกจโลนของสหรัฐ ฯ 10 ปีก็
ขึ้นจาก 1.5% เป็น 2.7-2.8% และหากดอกเบี้ยขึ้น เอเชียจะกระทบมากสุด โดยเฉพาะ
อินโดนีเซีย , อินเดีย จะแย่เพราะเงินเฟ้อสูงกว่า 8-9% อีกทั้ง 2 ประเทศนี้มีการกู้เงินต่าง
ประเทศเข้ามามาก เมื่อดอกเบี้ยอิงเงินเฟ้อก็ต้องสูงตามกว่า 9-10%" ชาญกล่าวและว่า

"การจะถอนคิวอี หรือดอกเบี้ยจะเป็นขาขึ้น ประเทศเศรษฐกิจหลักเหล่านี้ ต้องมั่นใจว่า
เศรษฐกิจตัวเองดีขึ้นแล้ว เพราะตัดสินใจพลาดงวดนี้เศรษฐกิจถอยหลังแน่ และถึงสิ้นปีนี้ ผมก็
มองว่ายังไม่ใช่เวลาที่เหมาะสม ยิ่งเป็นการขึ้นของดอกเบี้ยระยะยาว เศรษฐกิจสหรัฐฯจะทรุดลง
ทันที เพราะปัญหาการว่างงานขณะนี้ก็ยังสูงถึง 7.4% ไม่ได้ตามเป้าที่ 6.5% อีกอย่างปีหน้า
"เบน เบอร์นานคี" ประธานเฟดสหรัฐ ฯ จะเกษียณ ดังนั้นนโยบายสำหรับผู้ว่าการเฟดคนใหม่ก็ว่า
กันใหม่ เช่นเดียวกับเศรษฐกิจยุโรปก็ยังไม่แข็งแรง เพิ่งผ่านไป 2 ปีกว่า กว่าจะฟื้นผมว่าต้องใช้
เวลากว่า 5 ปี "
**ศก.ไทยยังดี-บาทอ่อนทรงตัว32 บ.
ส่วนประเทศไทย ชาญมองว่าจุดดีคือเงินเฟ้อต่ำเพียง 2-3% เทียบพันธบัตรไทยอายุ 10
ปี ดอกเบี้ยแค่ 4 % แต่อินโดนีเซียดอกเบี้ยสูงกว่าเท่าตัวคือ 8-9 % กระแสข่าวคิวอี ยังทำ
ให้ค่าเงินในภูมิภาครวมทั้งไทยกระทบไปด้วย อย่างอินเดียลงไป 30% อินโดนีเซียลงไป
10-20% ไทยลงไป 10% กว่า ดังนั้นจึงไม่ใช่แต่ไทยแย่ ประเทศอื่นก็แย่ ส่งผลให้ส่งออก
ไตรมาส 2 ไทยหดตัว ( เมษายน –มิถุนายน 2556 ติดลบ 1.5% ครึ่งปีโต 1% ) เพราะเงิน
บาท (เมษายน ) เราแข็งค่าไปถึง 28 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐฯ
" ผมเชื่อว่าเศรษฐกิจไทยไตรมาส 3/2556 , ส่งออกไทยจะกลับมาดีขึ้น ค่าเงินจะมี
เสถียรภาพเพราะบาทอ่อนลง ไม่เหมือนไตรมาส2/2556 และคิดว่าอย่างไรแล้วแบงก์ชาติก็
ต้องสู้เพื่อให้เงินบาทยืนระดับ 32 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐฯ แต่ว่าปัญหาเงินเฟ้อจะตามมา "

ชาญ ยกข้อมูลยืนยันเศรษฐกิจไทยไม่ได้แย่ ดูง่าย ๆ 1. ธุรกิจแบงก์ปีนี้จะมี record กำไร
มากที่สุด เหตุผลเพราะ 1.หนี้เสียหรือเอ็นพีแอลจะสูง เมื่อเศรษฐกิจไม่ดี แต่เอ็นพีแอลไม่ได้
สูง 2. เศรษฐกิจแย่ ดอกเบี้ยต้องขึ้น แต่ผมไม่คิดว่า short term ดอกเบี้ยจะขึ้นได้เพราะ
เศรษฐกิจทั่วโลกยังมีปัญหา ทั้งสหรัฐฯ ยุโรป ญี่ปุ่น ที่ดูเหมือนจะฟื้นแต่จริง ๆยังไม่ฟื้น อีก
ทั้งดีมานด์ประเทศเหล่านี้ไม่มี เพราะคนจนอยู่ เงินเฟ้อจึงไม่ขึ้น ดังนั้นไม่มีเหตุผลต้องขึ้น
ดอกเบี้ย "


ชาญ บูลกุล **ฟองสบู่ยังห่าง
ส่วนที่วิตกว่าจะเกิดฟองสบู่ ชาญว่า มองอย่างไรก็ไม่ใช่ เพราะแบงก์เริ่มปล่อยกู้ให้ผู้
ประกอบการอสังหาริมทรัพย์น้อย วางเกณฑ์รัดกุม ให้ต้องขายได้อย่างต่ำ 40% ของจำนวน
โครงการ ,ต้องมีมัดจำ 20% ถึงจะปล่อยกู้ แสดงว่าแบงก์ไม่ยอมปล่อยให้ง่าย ๆ ส่วนใหญ่จะ
ปล่อยกู้ก็ให้กับอสังหาฯรายใหญ่ที่มีชื่อเสียงในตลาดหลักทรัพย์ฯ ส่วนบริษัทประเภท single
project ไม่ปล่อยอยู่แล้ว จึงไม่น่าห่วงเท่าไร
ขณะที่ปัญหาหนี้สินครัวเรือน จากเดิมครัวเรือนเฉลี่ยมี 140,000 บาท ปัจจุบันพุ่งเป็น
188,000 บาท ตัวเลขนี้ทำให้แบงก์ชาติตกใจ แต่หากวิเคราะห์เป็นการปล่อยโดยแบงก์
พาณิชย์ Private sector มีสัดส่วนเพียง 38% แต่ที่มากคือแบงก์รัฐ คือ 80-90% อัน
หลัง มากกว่า
"ราคาอสังหาริมทรัพย์วันนี้ ราคาก็แทบไม่ขยับ หลังจากขึ้นมาแล้ว ขณะที่การเก็งกำไรก็มี
น้อย ส่วนใหญ่ซื้อแล้วก็อยู่ ไม่มีใครมาปั่นที่ดิน หรือถ้ามีตังค์ ผมว่ามาปั่นหุ้นยังจะดีกว่า
(หัวเราะ)"
**ดัชนีหุ้นมีโอกาสแตะ 1250 จุด
"สถานการณ์หุ้นไทยในครึ่งหลัง หลังดัชนีหุ้นไทยปรับลงต่ำกว่า 1,300 จุด (สัปดาห์3/4
เดือนสิงหาคม ) เทียบกับช่วงเดียวกันปีที่แล้ว ถือว่าติดลบแล้ว แต่ปัจจัยพื้นฐานหุ้นไทย ผม
มองว่ายังใช้ได้ คือเศรษฐกิจไทยโตระดับ 4% ปันผล 3% กว่า ดอกเบี้ยไม่ขึ้น และแนวโน้ม
ในครึ่งปีหลังมีแต่จะดีกว่าครึ่งปีแรก ประกอบกับบริษัทจดทะเบียน หรือยกตัวอย่างหุ้นกลุ่ม
แบงก์ พี/อีก็ต่ำกว่า 10
บางคนถามผมว่า แล้วจะเข้าซื้อหุ้นได้เมื่อไร ระดับปัจจุบันนี้ถ้าก็น่าลงทุน แต่ไม่ต้องซื้อ
หมด ทยอยซื้อ 20-30% จนเมื่อราคาตกอีกก็ช้อนซื้ออีก ส่วนตัวผมเข้าซื้อเมื่อสัปดาห์ที่
แล้ว (ปลายเดือนสิงหาคม ) และคิดว่าดัชนีหุ้นยังลงได้อีกที่ระดับ 1250 จุด ระดับนี้ราคาไม่
แพง " ชาญกล่าว
**เทียบเซียนหุ้นยุคเก่า-ใหม่
ทั้งยังตอบคำถามผู้เขียนที่ว่า เขามองเซียนหุ้นในยุคปัจจุบันอย่างไร อะไรเป็นข้อแตกต่างเมื่อ
เทียบกับชาญ
ผมบอกอย่างนี้ก็แล้วกัน คือเมื่อไรมีข่าว แปลว่าเพราะเซียนอยากขายหุ้นจึงปล่อยข่าว
เพราะฉะนั้นคุณก็ต้องรีบหนี เพราะเซียนกลุ่มนี้ เล่นสั้น เป็น short term แต่ผมคำว่า "นัก
ลงทุนหุ้น " ไม่ควรจะเล่น short term
"ทุกวันนี้คนจะคิดว่า เล่นเป็น short term แล้วก็มีกำไรทุกวัน 10% เหมือนที่เซียนหุ้นพูด
กัน ซึ่งไม่มีหรอก คนตังค์(สตางค์) น้อย ก็ต้องลงน้อย มันช่วยไม่ได้ ก็เราจนกว่าคนอื่น ไม่ใช่
เห็นคนอื่นรวยแล้วอยากรวย อย่ามาคิดอย่างนี้ เพราะสุดท้ายจะจน ไม่ใช่มีเงินล้านจะลงทุน
ล้าน เพราะคิดว่าจะได้กำไร 10% ,ได้ 1 แสน ลงทุนแสน "
ชาญ ยกตัวอย่างว่า พฤติกรรมคนไทยส่วนใหญ่พอดัชนีหุ้น 1,000 ก็ลงเต็ม ,พอดัชนีขึ้น
1,200 ก็คิดว่ามีกำไรเทหมดหน้าตักอีก มาดัชนี 1,600 ก็ขายออกทำกำไร แต่สุดท้ายก็กลับ
ไปซื้อใหม่ที่ดัชนีเดิม 1,600 อีก ซึ่งความจริงก็คือยังไม่ได้ขายนั่นเอง คือขายไปแล้วก็ซื้อ
กลับมาเต็มพอร์ตอีกทันทีในดัชนีเดิม วิธีการอย่างนี้ก็เหมือนพาชีวิตตัวเองเสี่ยงตลอดเวลา คือ
หลอกตัวเองว่าขาย แต่ความจริงไม่ได้ขาย แค่เปลี่ยนตัวหุ้นเท่านั้น
"ที่เซียนหุ้น (รุ่นใหม่) บอกว่ามีกำไร ก็กำไรจริงก็เพราะมีรายย่อยตามอย่างไร ซึ่งผมไม่
อยากให้ปล่อยข่าวออกมาซี้ซั้ว และการออกมาให้ข่าวกับรายย่อย ก็เหมือนกับว่ารายใหญ่
เองอยากขาย ถ้าเป็นผม ผมจะแนะนำรายย่อย ว่าอย่าไปฟังข่าว ออกมาเล่นหุ้นด้วยตัวเอง
เลย เพราะการฟังข่าวแล้วมาเล่น โอกาสขาดทุนมีสูงมาก เพราะรายใหญ่ เมื่อก่อนเขาอาจซื้อ
หุ้นในราคาถูกมาก แต่วันนี้อยากขายก็ออกมาปล่อยข่าว แต่ใครจะเจ๊งไม่เจ๊ง ไม่มีใครรู้ "

ส่วนเทคนิคง่ายๆคือ ลงทุนแบบธรรมชาติ คือซื้อถูกขายแพง เพราะแน่นอนว่าไม่มีปัญหาแน่
แต่ความจริง ทุกครั้งที่หุ้นตก คนกลับไม่ถามหรือสนใจว่าจะซื้อหุ้นตัวไหน มีแต่จะขาย แต่เมื่อ
ไรที่หุ้นแพงกลับแย่งกันจะซื้อ ปัญหาจึงอยู่ที่ว่าหุ้นราคาสูง คุณก็ลงทุน100% ดังนั้นเมื่อหุ้นต่ำ
คุณก็มีแต่หมดตัว เท่านั้นเอง
**กว่าจะเป็นเซียนตัวพ่อ
ผ่านประสบการณ์การลงทุนหุ้นยาวนาน 30-40 ปี ( วิกฤติปี 2540 ชาญยอมรับว่าบริษัทที่
ปรึกษาการเงิน ธุรกิจส่วนตัวในชื่อ บจก. เอ็มซีแอล ได้ขาดทุนและเกือบหมดตัว 80-90%
จากเงินทุนที่มีอยู่ ) เขากล่าวว่า กว่าจะมาถึงวันนี้ เพราะผมอยู่ในธุรกิจและแวดวงนี้มานาน
หลายสิบปีแล้ว ชนไม่รู้กี่กำแพง ผมถึงได้จัดตั้งบมจ.บรุ๊คเคอร์ กรุ๊ปขึ้นเมื่อ 10 ปีที่แล้ว
แล้วกลับมาเป็นที่ปรึกษาทางการเงิน ปรับโครงสร้างหนี้ให้กับลูกค้าได้ ส่วนคนที่ยังไม่เริ่มชน
สักกำแพง แล้วจะมาสู้คนมีประสบการณ์ได้อย่างไร
ก่อนจะทิ้งท้ายถึงเทคนิคการเล่นหุ้นฉบับชาญ หลัก ๆคือ 1.ดูภาพใหญ่เศรษฐกิจ และ
ตลาดหุ้นต้องดี 2. ยอมเสียเวลาศึกษา วิเคราะห์ให้ได้แม้กระทั่ง สไตล์การบริหาร-การลงทุน
ของเจ้าของธุรกิจนั้น ๆ 3.ลงทุนในหุ้นที่ PE Ritio ไม่สูง มีปันผล และกำไร หรือ BooK
value ไม่เกิน 2 เท่า 4. ดูว่าธุรกิจที่จะลงทุนต้องอยู่ในภาคอุตสาหกรรมที่มีอนาคต และ 5.
Timing จังหวะเวลาที่เหมาะสม
"ที่สำคัญคือภาพใหญ่ต้องดีก่อน อย่างผมวิเคราะห์ว่าภาพเศรษฐกิจครึ่งปีหลังจะดี แต่หาก
ลงหุ้นผิดตัว แต่เมื่อภาพใหญ่ดี อย่างไรก็โอเค ทำนองเดียวกันแม้จะลงหุ้นถูกตัว แต่ภาพรวม
เศรษฐกิจเช่นในครึ่งแรกไม่ดี อย่างไรๆก็ขาดทุน ดังนั้น Timing (จัวหวะ) ไม่สำคัญเท่าภาพ
เศรษฐกิจใหญ่ต้องดีก่อน"

จากหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ปีที่ 33 ฉบับที่ 2,876 วันที่ 5 - 7 กันยายน พ.ศ. 2556