วันพุธที่ 4 กันยายน พ.ศ. 2556

สรุปประชุมกนง.21ส.ค.56 การเงินการคลัง วันพฤหัสบดีที่ 05 กันยายน 2556

สรุปประชุมกนง.21ส.ค.56

การเงินการคลัง วันพฤหัสบดีที่ 05 กันยายน 2556 
ผู้เข้าชม : 3 คน 

ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เผยรายงานการประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) เมื่อวันที่ 21 ส.ค.ที่ผ่านมา ระบุว่า คณะกรรมการ กนง.ประเมินว่า เศรษฐกิจไทยในปี 56 และ 57 อาจจะขยายตัวต่ำกว่าประมาณการเดิมโดยการบริโภคภาคเอกชน และการส่งออก อาจชะลอตัวนานกว่าที่คาดไว้ อีกทั้งแรงกระตุ้นจากภาครัฐ ยังมีความเสี่ยงที่จะล่าช้า

อย่างไรก็ตาม กนง.มองว่า ในระยะสั้น แม้เศรษฐกิจชะลอลง แต่ก็เป็นอัตราการขยายตัวที่ใกล้เคียงกับที่ประเมินไว้ในการประชุมครั้งก่อน และเศรษฐกิจยังมีแรงขับเคลื่อนต่อไปได้ ภายใต้ภาวะการเงินที่ผ่อนปรน ซึ่งน่าจะช่วยสนับสนุนการขยายตัวทางเศรษฐกิจได้ในระดับหนึ่ง
การประชุม กนง.เมื่อวันที่ 21 ส.ค.ดังกล่าว คณะกรรมการมีมติด้วยเสียง 6 ต่อ 1 ให้คงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ 2.50%
ขณะที่เมื่อเดือนก.ค.ที่ผ่านมา ธปท.ได้ปรับลดคาดการณ์จีดีพีปี 56 ลงมา อยู่ที่ 4.2% จากเดิมคาดไว้โต 5.1% และคงคาดการณ์จีดีพีปี 57 ไว้ที่ 5.0%
รายงานการประชุม กนง.ครั้งล่าสุด ยังระบุว่า คณะกรรมการ กนง. เห็นพ้องถึงความจำเป็นในการดำรงนโยบายการเงินที่ผ่อนปรนในปัจจุบันต่อไป เพื่อสนับสนุนการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจ แต่กรรมการ กนง.ส่วนใหญ่ เห็นว่า ประสิทธิผลของการผ่อนคลายนโยบายการเงินเพิ่มเติม อาจมีไม่มากนักในปัจจุบัน เนื่องจากการชะลอลงของการบริโภคใน ประเทศ ซึ่งส่วนหนึ่งเป็นผลจากการที่ภาคครัวเรือน ได้ก่อหนี้ในระดับสูงแล้ว
อีกทั้ง การส่งออกและการลงทุนภาคเอกชน ยังขึ้นอยู่กับการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลกเป็นสำคัญ และในภาวะที่เศรษฐกิจการเงินโลก ยังมีความไม่แน่นอนสูงรวมทั้งเงินทุนเคลื่อนย้ายยังมีความผันผวน การผ่อนคลายนโยบายการเงินอาจเป็นการเพิ่มความไม่แน่นอนต่อตลาดได้
กรรมการ กนง.บางราย ยังมีความเป็นห่วงผลกระทบของสินเชื่อที่มีรถยนต์ ค้ำประกัน ว่า หากการผิดนัดชำระหนี้สินเชื่อดังกล่าวเพิ่มสูงขึ้น ก็อาจส่งผลกระทบต่อราคารถยนต์มือสองในตลาด มูลค่าหลักประกัน และฐานะทางการเงินของสถาบันการเงิน
ผู้ปล่อยกู้ได้ในที่สุด
นอกจากนี้ กรรมการ กนง.บางราย เห็นว่าจำเป็นต้องติดตามการปล่อยสินเชื่อประเภทต่างๆ ให้ครอบคลุมยิ่งขึ้น เช่น สินเชื่อส่วนบุคคลที่ใช้รถยนต์เป็นหลักประกัน รวมทั้งสินเชื่อข้าราชการผ่านสหกรณ์ออมทรัพย์ ซึ่งอยู่นอกเหนือการกำกับของ ธปท.

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น