อ่านจีน มองอเมริกา ...ร่วมพัฒนา Innovative SMEs ไทย ไปเวทีโลก : โดย อริญชัย วีรดุษฎีนนท์
อ่านจีน มองอเมริกา ...ร่วมพัฒนา Innovative SMEs ไทย ไปเวทีโลก : โดย อริญชัย วีรดุษฎีนนท์
อ่านจีน มองอเมริกา ...ร่วมพัฒนา Innovative SMEs ไทย ไปเวทีโลก
>> โดย อริญชัย วีรดุษฎีนนท์
ผมมีโอกาสได้อ่านบทความดี ๆ 2 บท ซึ่งเป็นข่าวปกของนิตยสาร Time Magazine
บทความบทแรก หน้าปกเป็นนายกรัฐมนตรีจีน “เวิน เจีย เป่า”
บทความชื่อ...“The Real Challenge From China”หรือ ความท้าทายที่แท้จริงของจีน
เขียนโดย Fareed Zakaria เขาบอกว่า...
ความท้าทายที่แท้จริงของจีนไม่ใช่การผลิตสินค้าราคาถูกแล้วมาดัมพ์ในต่างประเทศ
ไม่ใช่การทำ Currency ให้มีค่าเงินสูง เพื่อสร้างความได้เปรียบเชิงแข่งขัน
แต่ความท้าทายที่แท้จริงอยู่ที่ว่า จีนกำลัง Shift จากโครงสร้างเศรษฐกิจดั้งเดิมที่เน้นความได้เปรียบเชิงต้นทุน ไปสู่การสร้างและการใช้นวัตกรรมขับเคลื่อนประเทศ
ณ วันนี้ จีนกำลังละทิ้งวิธีการดั้งเดิม ด้วยการลงทุนมหาศาลในเรื่องการดีไซน์ ในการพัฒนาบุคลากร
ในการให้ทุนสนับสนุนการวิจัย วิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี
ที่สำคัญที่สุด ก็คือพยายามส่งเสริมผู้ประกอบการที่มีนับร้อยล้านคน
Zakaria บอกว่า เมื่อไหร่ก็ตามที่จีนสามารถยกระดับคุณภาพสินค้า และสร้างสรรค์นวัตกรรมใหม่ ๆ ขึ้นมาแล้ว ...จะเป็นบริบทใหม่ ซึ่งประเทศอย่างอเมริกาต้องเผชิญ
และ ณ จุดนั้นอเมริกาจะลำบาก
::::::::::::::::::
• ส่วนบทความที่สอง ...เขียนโดยคนเดียวกัน
หน้าปกเขียนว่า “How to Restore American Dream” หรือ จะฟื้นความฝันของคนอเมริกันได้อย่างไร ?
บทความนี้กำลังบอกว่าอเมริกาเคยประสบความสำเร็จสูงสุดก็เพราะการใช้นวัตกรรมใหม่ ๆ ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี การส่งเสริมผู้ประกอบการ และนำความรู้ใหม่ ๆ เหล่านั้นขับเคลื่อนเศรษฐกิจ
ก่อนหน้านี้นั้น ถ้าจำได้เมื่อ 20 ปีที่แล้ว...อเมริกาแพ้ต่อญี่ปุ่นในทุกสมรภูมิเศรษฐกิจ
แต่อเมริกากลับมา Set ตัวเองใหม่ เน้นในเรื่องเทคโนโลยี Innovation และที่สำคัญผลักดันการสร้างสรรค์ Entrepreneur
คุณจะเห็นนักธุรกิจอย่างสตีฟ จ๊อบส์, บิลล์ เกตส์ และอื่น ๆ อีกมากมาย ซึ่ง ณ จุดเริ่มต้นเขาเป็น SMEs เท่านั้นเอง
20 ปีให้หลัง อเมริกาสามารถใช้บุคลากรเหล่านั้นแซงจนญี่ปุ่นตามไม่ทัน แต่ ณ จุดนี้อเมริกากำลังอ่อนแอ เพราะเริ่มหันเหไม่โฟกัส
การที่จะทำให้อเมริกากลับมายิ่งใหญ่ได้คือ ต้องตัดงบประมาณจากสิ่งที่ไม่จำเป็นออก เอางบประมาณส่วนใหญ่ทุ่มเทปฏิรูปการศึกษา การค้นคว้าวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ในการสร้างสรรค์ Innovative Entrepreneur
::::::::::::::::::
• บทวิเคราะห์
2 บทความนี้ บอกเราว่า ขนาดจีน ซึ่งมีความได้เปรียบในเชิงต้นทุนต่อเรามหาศาล
ความสำเร็จขนาดนี้ เขายังละทิ้งระบบการผลิตแบบดั้งเดิม ที่เน้น Efficiency Driven ไปสู่การสร้างนวัตกรรม เป็น Innovation Driven Economy
เพื่อสร้างมูลค่าของผลผลิต สร้างจุดเด่นของการแข่งขันในอนาคตข้างหน้า
ในโลกข้างหน้า ซึ่งขับเคลื่อนด้วยเทคโนโลยีและความรู้ นวัตกรรมกับความคิดสร้างสรรค์ คือ กุญแจสำคัญ
Innovation กับ Entrepreneur เป็นสิ่งที่แยกจากกันไม่ได้
พอมี Innovation แล้วจะเอาอะไรขึ้นมา แต่ถ้าไม่มี Entrepreneur สร้างคุณค่าจากแนวความคิดใหม่ ๆ สร้างสินค้าออกสู่ตลาดโลกแข่งกับชาวบ้าน ถ้าไม่มี Entrepreneur นวัตกรรมไม่มีประโยชน์
::::::::::::::::::
นักเศรษฐศาสตร์ระดับโลก ชื่อว่า Chu Peter เป็นคนแรกที่บอกว่า Innovation เป็นแกนหลักของการพัฒนาเศรษฐกิจ เป็นหัวใจของระบบทุนนิยม
เพราะนวัตกรรมเปิดโอกาสให้คนใหม่ ๆ บริษัทใหม่ ๆ คิดสิ่งใหม่ทดแทนสิ่งเดิม
จากคำกล่าวของ Chu Peter ทำให้เกิดการขับเคลื่อน ซึ่งเน้นสองนโนบายคู่ขนานกันไป
นโยบายแรกคือ Innovation ลงทุนในการวิจัย วิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี ปฏิรูปการศึกษา ให้คนรุ่นใหม่คิดมากขึ้น สร้างสิ่งที่เรียกว่า Innovative Eco System
::::::::::::::::::
อีกด้านหนึ่งที่เป็นนโยบายคู่กันคือ Entrepreneurial Economy
คือการสร้างระบบเศรษฐกิจบนพื้นฐานของผู้ประกอบการ เพื่อสร้างผู้ประกอบการใหม่ ๆ ให้นำเทคโนโลยีเหล่านี้ไปสร้างผลผลิต สร้างบริการเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่ม
ฉะนั้น...นโยบายคู่ขนาน Innovation กับ Entrepreneur เป็นสิ่งที่โลกปัจจุบันถือว่าเป็นทางเดินแห่งการพัฒนาประเทศ
พอมาดูเรื่อง Entrepreneurial Economy ร้อยละ 99 ของเศรษฐกิจไทยมาจาก SMEs แต่ SMEs ไทยอ่อนแอ ไม่ทันโลก ขาดความเข้มแข็ง มีขนาดเล็ก และยังจมอยู่กับปัญหาทางการเงิน
ขณะเดียวกัน โลกก้าวพ้นจาก SMEs ประเภทนี้มาแล้ว สิ่งที่โลกกำลังสร้างคือ Innovative SMEs
คือผู้ประกอบการรายย่อยที่มีความสร้างสรรค์ รู้จักใช้เทคโนโลยี รู้จักตลาดโลก เปิดกิจการไม่จำเป็นต้องอยู่ที่ประเทศไทย
แต่สามารถสร้างธุรกิจที่ไหนก็ได้ในโลก ใช้วัตถุดิบจากที่ดีที่สุด ถูกที่สุด กระจายสินค้าไปทั่วโลก
::::::::::::::::::
สองทศวรรษที่ผ่านมา นวัตกรรมใหม่ ๆ และการจ้างงานใหม่ ๆ ล้วนมาจาก SMEs ที่เกิดใหม่อายุไม่เกิน 5 ปี
หมายความว่า ถ้าคุณต้องการพัฒนาเศรษฐกิจ ต้องเน้นที่ SMEs เป็นแบบ StartUp
ส่วนไทย กระทั่ง SMEs ที่มีอยู่แล้วยังสู้เขาไม่ได้ ไม่มีหน่วยงานที่สามารถเริ่มไปที่ StartUp ได้
สิ่งสำคัญคือถ้าต้องการปรับเปลี่ยนโครงสร้างสังคมไทยใหม่
การทำสิ่งนี้แล้วนี้มีตัวอย่างแล้วชื่อ Kauffman Foundation ที่เน้นเรื่อง Entrepreneur โดยเฉพาะ
เขารวบรวมข้อมูลจาก 40 ประเทศ สิ่งที่ค้นพบคือจุดที่สำคัญที่สุดในการสร้าง StartUp SMEs อยู่ที่มหาวิทยาลัย
มหาวิทยาลัยเป็นจุดเริ่มต้นของงานวิจัย การสร้าง Innovation และจุดเริ่มต้นของ Entrepreneur
แทนที่นักศึกษาที่จบจากมหาวิทยาลัย ปริญญาตรี โท เอก ออกไปทำงานเป็นลูกจ้าง เป็น Salaryman เขาคิดกลับกัน
คุณจบตรี โท คุณก็ออกไปทำกิจการเลย นโยบายรัฐบาลจะเริ่มเข้ามา การให้เงินทุนสนับสนุน
การช่วยให้คนที่จบใหม่ Access ทุนทางการเงิน ฉะนั้นในโลกแห่งการพัฒนาแนวใหม่ เขาโฟกัสไปที่มหาวิทยาลัย นักศึกษา
มหาวิทยาลัยแห่งอนาคต ก็คือ จากนี้ไม่ว่าจะเรียนคณะใด เป็นวิทยาศาสตร์ หรือศิลปะ ทุกด้านต้อง Creative
แต่สิ่งสำคัญคือ Entrepreneur
เราต้องสร้างเด็กจบใหม่ให้ทุกคนมีความรู้ที่จะเป็นผู้ประกอบการในอนาคตได้ ...เป็นสิ่งที่ท้าทาย
::::::::::::::::::
Credit : อริญชัย วีรดุษฎีนนท์ / นิตยสาร BrandAge
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น