วันอังคารที่ 22 กันยายน พ.ศ. 2558

SSI เอยทำไมจึงตก ?

SSI เอยทำไมจึงตก ?

ว่ากันว่าธุรกิจ "เหล็ก" เป็นหนึ่งในอุตสาหกรรมสุดหินที่ใครสามารถอยู่รอดได้นั่นแปลว่าคุณนั้นเจ๋งโคตรๆ เพราะเหล็กนั้นเป็นสินค้าโภคภัณฑ์อย่างหนึ่งครับ และอย่างที่เรารู้กันว่าราคาโภคภัณฑ์นั้นเอาแน่เอานอนไม่ค่อยได้ซะด้วย บางปีอาจขึ้นไวยิ่งกว่าจรวด แต่บางปีอาจดิ่งลงราวกับก้อนหินที่กำลังจมน้ำก็ได้ และสำหรับในประเทศไทย SSI หรือบริษัท สหวิริยาสตีล อินดัสทรี จำกัด (มหาชน) ก็เป็นหนึ่งในบริษัทที่เจอปัญหาของความผันผวนที่ว่านี้ด้วย


ถึงแม้ SSI จะเป็นบริษัทผู้ผลิตเหล็กปลายน้ำที่ใหญ่ที่สุดในประเทศก็ตาม แต่ความใหญ่ของบริษัทก็ไม่อาจต้านทานราคาอันอ่อนไหวของเหล็กได้ หากเราไปดูงบการเงินย้อนหลังสัก 3-4 ปี บริษัทได้มีผลขาดทุนเพิ่มขึ้นจาก -980 ล้านบาทในปี 2554 มาอยู่ที่ -4,900 ล้านบาทในปี 2557 ยิ่งครึ่งปีแรกของปีนี้บริษัทได้ทำลายสถิติใหม่เป็นที่เรียบร้อย ด้วยตัวเลขขาดทุนที่สูงถึง -6,262 ล้านบาท



Click image for larger version

Name: 027.jpg
Views: 2
Size: 126.5 กิโลไบต์
ID: 214753




โดยสาเหตุของเรื่องราวอันน่าสะพรึงทั้งหมดนี้ เริ่มต้นในช่วงปี 2554 ที่บริษัท SSI ได้เข้าซื้อโรงถลุงเหล็กในประเทศอังกฤษ (ชื่อในปัจจุบันคือ SSI UK) เพื่อหวังจะควบคุมต้นทุนให้ต่ำลงด้วยการเข้าไปทำธุรกิจเหล็กต้นน้ำ แต่กลับกลายเป็นว่าการปรับปรุงโรงงานนั้นล่าช้ากว่ากำหนด รวมถึงช่วงที่บริษัทเข้าไปลงทุนนั้นเป็นช่วง ?ยอดดอย? ของราคาเหล็กด้วย บริษัทย่อยอย่าง SSI UK จึงต้องแบกรับผลขาดทุนจากสินค้าคงเหลือมหาศาล


และนั่นนำมาสู่ข่าวอันน่าเศร้าของ SSI ครับ เพราะล่าสุดนั้นส่วนของผู้ถือหุ้นได้ ?ติดลบ? เป็นที่เรียบร้อยแล้ว หุ้นจึงถูกพักการซื้อขาย (ขึ้นเครื่องหมาย SP) อย่างช่วยไม่ได้


หากถามว่าใครบ้างที่ต้องเดือดเนื้อร้อนใจเพราะหุ้น SSI ? แน่นอนว่ากลุ่มแรกก็คงหนีไม่พ้นผู้ถือหุ้นตาดำๆ อย่างพวกเรานั่นล่ะครับ บางคนอาจมีทุนตั้งแต่ 0.15 บาท, 0.30 บาท, 1 บาท, หรือหากเป็นแฟนพันธุ์แท้ก็อาจมีทุนตั้งแต่ 2 บาทเลยก็ได้


Click image for larger version

Name: P022.png
Views: 2
Size: 40.1 กิโลไบต์
ID: 214754



แต่สำหรับผลกระทบกับกลุ่มที่ 2 นี่ก็หนักไม่แพ้กันครับ นั่นก็คือกลุ่มของเจ้าหนี้ ซึ่งเจ้าหนี้หลักของบริษัท SSI มีอยู่สามเจ้าด้วยกัน เจ้าแรก ธนาคารไทยพาณิชย์ ยอดหนี้อยู่ที่ 22,000 ล้านบาท, เจ้าที่สอง ธนาคารกรุงไทย ยอดหนี้อยู่ที่ 22,000 ล้านบาท, และสุดท้าย ธนาคารทิสโก้ ยอดหนี้อยู่ที่ 4,400 ล้านบาท และเป็นไปได้สูงมากที่ทั้งสามธนาคารนี้อาจตั้งสำรองหนี้ทั้งหมดเป็นหนี้สูญ


และนั่นหมายความว่า หุ้นทั้งสามธนาคารอันได้แก่ SCB, KTB และ TISCO ราคาหุ้นอาจจะต้องลดลงอย่างช่วยไม่ได้ เนื่องจากเมื่อมีการตั้งสำรองหนี้สูญ กำไรสุทธิของธนาคารเหล่านั้นย่อมลดลงเช่นกัน


ถ้าอย่างนั้นอนาคตของ SSI จะเป็นอย่างไรต่อไป จากข่าวล่าสุดนั้นทางบริษัทได้ชี้แจงต่อตลาดหลักทรัพย์แล้วว่า จะดำเนินการปรับปรุงผลการดำเนินงานและฐานะทางการเงินของบริษัทด้วยการ ?เพิ่มทุน? เป็นจำนวนกว่า 1.6 หมื่นล้านหุ้น โดยจะขายหุ้นดังกล่าวให้กับหลายๆ บริษัทด้วยกัน นอกจากนี้ยังอาจมีการพิจารณาที่จะขายบริษัทย่อย SSI UK ซึ่งเป็นบริษัทผลิตเหล็กต้นน้ำที่อยู่ในอังกฤษออกไปด้วย


ในฐานะนักลงทุนคนหนึ่ง ผมมองว่าถ้าเราวิเคราะห์หุ้น SSI ด้วยงบการเงินเพียงอย่างเดียว นี่อาจไม่ใช่หุ้นที่น่าลงทุนสักเท่าไหร่นัก เพราะตอนนี้ส่วนของผู้ถือหุ้นของบริษัทได้ติดลบกว่า 1,777 ล้านบาทแล้ว แถมมีขาดทุนสะสมกว่า 50,000 ล้านบาท (สภาพคล่องยิ่งไม่ต้องพูดถึง หนี้สินหมุนเวียนมากกว่าสินทรัพย์หมุนเวียนไปแล้ว) 


แต่ถ้าเรามองในแง่ของโอกาสที่บริษัทจะกลับมา Turnaround อีกครั้ง นี่อาจเป็นการเดิมพันที่น่าสนใจครับ หากบริษัท SSI สามารถ ?ห้ามเลือด? ด้วยการทำยังไงก็ได้ไม่ให้ขาดทุนเพิ่ม (เช่น ขายบริษัทย่อยที่ไม่ทำเงินทิ้งไป) และปรับโครงสร้างทางการเงินให้กลับมาดีอีกครั้งได้ โอกาสของการอยู่รอดมันก็คงอยู่ไม่ไกลเกินไปนัก เพราะ SSI เองก็พยายามขายสินค้าที่มี Margin ที่สูงขึ้น รวมถึงความต้องการเหล็กในภูมิภาคบ้านเราก็ยังเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง


ดูๆ ไปแล้วมันก็คล้ายกับเกมโปกเกอร์ที่ให้เราเลือกว่าจะ Bet หรือ Fold แต่ถ้าเราเลือกที่จะเข้าไปลุยกับมัน ก็ขอให้ลุยอย่างมีสตินะครับ เหมือนอย่างที่นักลงทุนในตำนานอย่างเสี่ยยักษ์บอกไว้ ?นี่คือสงคราม แพ้ไม่ได้?

SSI เอยทำไมจึงตก ?

ว่ากันว่าธุรกิจ "เหล็ก" เป็นหนึ่งในอุตสาหกรรมสุดหินที่ใครสามารถอยู่รอดได้นั่นแปลว่าคุณนั้นเจ๋งโคตรๆ เพราะเหล็กนั้นเป็นสินค้าโภคภัณฑ์อย่างหนึ่งครับ และอย่างที่เรารู้กันว่าราคาโภคภัณฑ์นั้นเอาแน่เอานอนไม่ค่อยได้ซะด้วย บางปีอาจขึ้นไวยิ่งกว่าจรวด แต่บางปีอาจดิ่งลงราวกับก้อนหินที่กำลังจมน้ำก็ได้ และสำหรับในประเทศไทย SSI หรือบริษัท สหวิริยาสตีล อินดัสทรี จำกัด (มหาชน) ก็เป็นหนึ่งในบริษัทที่เจอปัญหาของความผันผวนที่ว่านี้ด้วย


ถึงแม้ SSI จะเป็นบริษัทผู้ผลิตเหล็กปลายน้ำที่ใหญ่ที่สุดในประเทศก็ตาม แต่ความใหญ่ของบริษัทก็ไม่อาจต้านทานราคาอันอ่อนไหวของเหล็กได้ หากเราไปดูงบการเงินย้อนหลังสัก 3-4 ปี บริษัทได้มีผลขาดทุนเพิ่มขึ้นจาก -980 ล้านบาทในปี 2554 มาอยู่ที่ -4,900 ล้านบาทในปี 2557 ยิ่งครึ่งปีแรกของปีนี้บริษัทได้ทำลายสถิติใหม่เป็นที่เรียบร้อย ด้วยตัวเลขขาดทุนที่สูงถึง -6,262 ล้านบาท



Click image for larger version

Name: 027.jpg
Views: 2
Size: 126.5 กิโลไบต์
ID: 214753




โดยสาเหตุของเรื่องราวอันน่าสะพรึงทั้งหมดนี้ เริ่มต้นในช่วงปี 2554 ที่บริษัท SSI ได้เข้าซื้อโรงถลุงเหล็กในประเทศอังกฤษ (ชื่อในปัจจุบันคือ SSI UK) เพื่อหวังจะควบคุมต้นทุนให้ต่ำลงด้วยการเข้าไปทำธุรกิจเหล็กต้นน้ำ แต่กลับกลายเป็นว่าการปรับปรุงโรงงานนั้นล่าช้ากว่ากำหนด รวมถึงช่วงที่บริษัทเข้าไปลงทุนนั้นเป็นช่วง ?ยอดดอย? ของราคาเหล็กด้วย บริษัทย่อยอย่าง SSI UK จึงต้องแบกรับผลขาดทุนจากสินค้าคงเหลือมหาศาล


และนั่นนำมาสู่ข่าวอันน่าเศร้าของ SSI ครับ เพราะล่าสุดนั้นส่วนของผู้ถือหุ้นได้ ?ติดลบ? เป็นที่เรียบร้อยแล้ว หุ้นจึงถูกพักการซื้อขาย (ขึ้นเครื่องหมาย SP) อย่างช่วยไม่ได้


หากถามว่าใครบ้างที่ต้องเดือดเนื้อร้อนใจเพราะหุ้น SSI ? แน่นอนว่ากลุ่มแรกก็คงหนีไม่พ้นผู้ถือหุ้นตาดำๆ อย่างพวกเรานั่นล่ะครับ บางคนอาจมีทุนตั้งแต่ 0.15 บาท, 0.30 บาท, 1 บาท, หรือหากเป็นแฟนพันธุ์แท้ก็อาจมีทุนตั้งแต่ 2 บาทเลยก็ได้


Click image for larger version

Name: P022.png
Views: 2
Size: 40.1 กิโลไบต์
ID: 214754



แต่สำหรับผลกระทบกับกลุ่มที่ 2 นี่ก็หนักไม่แพ้กันครับ นั่นก็คือกลุ่มของเจ้าหนี้ ซึ่งเจ้าหนี้หลักของบริษัท SSI มีอยู่สามเจ้าด้วยกัน เจ้าแรก ธนาคารไทยพาณิชย์ ยอดหนี้อยู่ที่ 22,000 ล้านบาท, เจ้าที่สอง ธนาคารกรุงไทย ยอดหนี้อยู่ที่ 22,000 ล้านบาท, และสุดท้าย ธนาคารทิสโก้ ยอดหนี้อยู่ที่ 4,400 ล้านบาท และเป็นไปได้สูงมากที่ทั้งสามธนาคารนี้อาจตั้งสำรองหนี้ทั้งหมดเป็นหนี้สูญ


และนั่นหมายความว่า หุ้นทั้งสามธนาคารอันได้แก่ SCB, KTB และ TISCO ราคาหุ้นอาจจะต้องลดลงอย่างช่วยไม่ได้ เนื่องจากเมื่อมีการตั้งสำรองหนี้สูญ กำไรสุทธิของธนาคารเหล่านั้นย่อมลดลงเช่นกัน


ถ้าอย่างนั้นอนาคตของ SSI จะเป็นอย่างไรต่อไป จากข่าวล่าสุดนั้นทางบริษัทได้ชี้แจงต่อตลาดหลักทรัพย์แล้วว่า จะดำเนินการปรับปรุงผลการดำเนินงานและฐานะทางการเงินของบริษัทด้วยการ ?เพิ่มทุน? เป็นจำนวนกว่า 1.6 หมื่นล้านหุ้น โดยจะขายหุ้นดังกล่าวให้กับหลายๆ บริษัทด้วยกัน นอกจากนี้ยังอาจมีการพิจารณาที่จะขายบริษัทย่อย SSI UK ซึ่งเป็นบริษัทผลิตเหล็กต้นน้ำที่อยู่ในอังกฤษออกไปด้วย


ในฐานะนักลงทุนคนหนึ่ง ผมมองว่าถ้าเราวิเคราะห์หุ้น SSI ด้วยงบการเงินเพียงอย่างเดียว นี่อาจไม่ใช่หุ้นที่น่าลงทุนสักเท่าไหร่นัก เพราะตอนนี้ส่วนของผู้ถือหุ้นของบริษัทได้ติดลบกว่า 1,777 ล้านบาทแล้ว แถมมีขาดทุนสะสมกว่า 50,000 ล้านบาท (สภาพคล่องยิ่งไม่ต้องพูดถึง หนี้สินหมุนเวียนมากกว่าสินทรัพย์หมุนเวียนไปแล้ว) 


แต่ถ้าเรามองในแง่ของโอกาสที่บริษัทจะกลับมา Turnaround อีกครั้ง นี่อาจเป็นการเดิมพันที่น่าสนใจครับ หากบริษัท SSI สามารถ ?ห้ามเลือด? ด้วยการทำยังไงก็ได้ไม่ให้ขาดทุนเพิ่ม (เช่น ขายบริษัทย่อยที่ไม่ทำเงินทิ้งไป) และปรับโครงสร้างทางการเงินให้กลับมาดีอีกครั้งได้ โอกาสของการอยู่รอดมันก็คงอยู่ไม่ไกลเกินไปนัก เพราะ SSI เองก็พยายามขายสินค้าที่มี Margin ที่สูงขึ้น รวมถึงความต้องการเหล็กในภูมิภาคบ้านเราก็ยังเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง


ดูๆ ไปแล้วมันก็คล้ายกับเกมโปกเกอร์ที่ให้เราเลือกว่าจะ Bet หรือ Fold แต่ถ้าเราเลือกที่จะเข้าไปลุยกับมัน ก็ขอให้ลุยอย่างมีสตินะครับ เหมือนอย่างที่นักลงทุนในตำนานอย่างเสี่ยยักษ์บอกไว้ ?นี่คือสงคราม แพ้ไม่ได้?

SSI เอยทำไมจึงตก ?

ว่ากันว่าธุรกิจ "เหล็ก" เป็นหนึ่งในอุตสาหกรรมสุดหินที่ใครสามารถอยู่รอดได้นั่นแปลว่าคุณนั้นเจ๋งโคตรๆ เพราะเหล็กนั้นเป็นสินค้าโภคภัณฑ์อย่างหนึ่งครับ และอย่างที่เรารู้กันว่าราคาโภคภัณฑ์นั้นเอาแน่เอานอนไม่ค่อยได้ซะด้วย บางปีอาจขึ้นไวยิ่งกว่าจรวด แต่บางปีอาจดิ่งลงราวกับก้อนหินที่กำลังจมน้ำก็ได้ และสำหรับในประเทศไทย SSI หรือบริษัท สหวิริยาสตีล อินดัสทรี จำกัด (มหาชน) ก็เป็นหนึ่งในบริษัทที่เจอปัญหาของความผันผวนที่ว่านี้ด้วย


ถึงแม้ SSI จะเป็นบริษัทผู้ผลิตเหล็กปลายน้ำที่ใหญ่ที่สุดในประเทศก็ตาม แต่ความใหญ่ของบริษัทก็ไม่อาจต้านทานราคาอันอ่อนไหวของเหล็กได้ หากเราไปดูงบการเงินย้อนหลังสัก 3-4 ปี บริษัทได้มีผลขาดทุนเพิ่มขึ้นจาก -980 ล้านบาทในปี 2554 มาอยู่ที่ -4,900 ล้านบาทในปี 2557 ยิ่งครึ่งปีแรกของปีนี้บริษัทได้ทำลายสถิติใหม่เป็นที่เรียบร้อย ด้วยตัวเลขขาดทุนที่สูงถึง -6,262 ล้านบาท



Click image for larger version

Name: 027.jpg
Views: 2
Size: 126.5 กิโลไบต์
ID: 214753




โดยสาเหตุของเรื่องราวอันน่าสะพรึงทั้งหมดนี้ เริ่มต้นในช่วงปี 2554 ที่บริษัท SSI ได้เข้าซื้อโรงถลุงเหล็กในประเทศอังกฤษ (ชื่อในปัจจุบันคือ SSI UK) เพื่อหวังจะควบคุมต้นทุนให้ต่ำลงด้วยการเข้าไปทำธุรกิจเหล็กต้นน้ำ แต่กลับกลายเป็นว่าการปรับปรุงโรงงานนั้นล่าช้ากว่ากำหนด รวมถึงช่วงที่บริษัทเข้าไปลงทุนนั้นเป็นช่วง ?ยอดดอย? ของราคาเหล็กด้วย บริษัทย่อยอย่าง SSI UK จึงต้องแบกรับผลขาดทุนจากสินค้าคงเหลือมหาศาล


และนั่นนำมาสู่ข่าวอันน่าเศร้าของ SSI ครับ เพราะล่าสุดนั้นส่วนของผู้ถือหุ้นได้ ?ติดลบ? เป็นที่เรียบร้อยแล้ว หุ้นจึงถูกพักการซื้อขาย (ขึ้นเครื่องหมาย SP) อย่างช่วยไม่ได้


หากถามว่าใครบ้างที่ต้องเดือดเนื้อร้อนใจเพราะหุ้น SSI ? แน่นอนว่ากลุ่มแรกก็คงหนีไม่พ้นผู้ถือหุ้นตาดำๆ อย่างพวกเรานั่นล่ะครับ บางคนอาจมีทุนตั้งแต่ 0.15 บาท, 0.30 บาท, 1 บาท, หรือหากเป็นแฟนพันธุ์แท้ก็อาจมีทุนตั้งแต่ 2 บาทเลยก็ได้


Click image for larger version

Name: P022.png
Views: 2
Size: 40.1 กิโลไบต์
ID: 214754



แต่สำหรับผลกระทบกับกลุ่มที่ 2 นี่ก็หนักไม่แพ้กันครับ นั่นก็คือกลุ่มของเจ้าหนี้ ซึ่งเจ้าหนี้หลักของบริษัท SSI มีอยู่สามเจ้าด้วยกัน เจ้าแรก ธนาคารไทยพาณิชย์ ยอดหนี้อยู่ที่ 22,000 ล้านบาท, เจ้าที่สอง ธนาคารกรุงไทย ยอดหนี้อยู่ที่ 22,000 ล้านบาท, และสุดท้าย ธนาคารทิสโก้ ยอดหนี้อยู่ที่ 4,400 ล้านบาท และเป็นไปได้สูงมากที่ทั้งสามธนาคารนี้อาจตั้งสำรองหนี้ทั้งหมดเป็นหนี้สูญ


และนั่นหมายความว่า หุ้นทั้งสามธนาคารอันได้แก่ SCB, KTB และ TISCO ราคาหุ้นอาจจะต้องลดลงอย่างช่วยไม่ได้ เนื่องจากเมื่อมีการตั้งสำรองหนี้สูญ กำไรสุทธิของธนาคารเหล่านั้นย่อมลดลงเช่นกัน


ถ้าอย่างนั้นอนาคตของ SSI จะเป็นอย่างไรต่อไป จากข่าวล่าสุดนั้นทางบริษัทได้ชี้แจงต่อตลาดหลักทรัพย์แล้วว่า จะดำเนินการปรับปรุงผลการดำเนินงานและฐานะทางการเงินของบริษัทด้วยการ ?เพิ่มทุน? เป็นจำนวนกว่า 1.6 หมื่นล้านหุ้น โดยจะขายหุ้นดังกล่าวให้กับหลายๆ บริษัทด้วยกัน นอกจากนี้ยังอาจมีการพิจารณาที่จะขายบริษัทย่อย SSI UK ซึ่งเป็นบริษัทผลิตเหล็กต้นน้ำที่อยู่ในอังกฤษออกไปด้วย


ในฐานะนักลงทุนคนหนึ่ง ผมมองว่าถ้าเราวิเคราะห์หุ้น SSI ด้วยงบการเงินเพียงอย่างเดียว นี่อาจไม่ใช่หุ้นที่น่าลงทุนสักเท่าไหร่นัก เพราะตอนนี้ส่วนของผู้ถือหุ้นของบริษัทได้ติดลบกว่า 1,777 ล้านบาทแล้ว แถมมีขาดทุนสะสมกว่า 50,000 ล้านบาท (สภาพคล่องยิ่งไม่ต้องพูดถึง หนี้สินหมุนเวียนมากกว่าสินทรัพย์หมุนเวียนไปแล้ว) 


แต่ถ้าเรามองในแง่ของโอกาสที่บริษัทจะกลับมา Turnaround อีกครั้ง นี่อาจเป็นการเดิมพันที่น่าสนใจครับ หากบริษัท SSI สามารถ ?ห้ามเลือด? ด้วยการทำยังไงก็ได้ไม่ให้ขาดทุนเพิ่ม (เช่น ขายบริษัทย่อยที่ไม่ทำเงินทิ้งไป) และปรับโครงสร้างทางการเงินให้กลับมาดีอีกครั้งได้ โอกาสของการอยู่รอดมันก็คงอยู่ไม่ไกลเกินไปนัก เพราะ SSI เองก็พยายามขายสินค้าที่มี Margin ที่สูงขึ้น รวมถึงความต้องการเหล็กในภูมิภาคบ้านเราก็ยังเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง


ดูๆ ไปแล้วมันก็คล้ายกับเกมโปกเกอร์ที่ให้เราเลือกว่าจะ Bet หรือ Fold แต่ถ้าเราเลือกที่จะเข้าไปลุยกับมัน ก็ขอให้ลุยอย่างมีสตินะครับ เหมือนอย่างที่นักลงทุนในตำนานอย่างเสี่ยยักษ์บอกไว้ ?นี่คือสงคราม แพ้ไม่ได้?

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น