เตรียมตัวรับวิกฤติการเงินอีกรอบ
ต่างประเทศ วันจันทร์ที่ 20 ตุลาคม 2557ผู้เข้าชม : 32 คน
ความกระวนกระวายใจของตลาดหุ้นเมื่อเร็วๆ นี้ ได้ทำให้นักลงทุนสงสัยว่าจะเกิดวิกฤติการเงินอีกรอบหรือไม่ แต่แน่นอนว่ามันคงไม่เกิดเพราะว่าเรายังไม่เคยหลุดพ้นจากวิกฤติการเงินครั้งที่ผ่านมาจริงๆ เลย
วิกฤติการเงินที่มันพังพาบลงเมื่อปี 2550 จริงๆ แล้วมันจบลงก็ต่อเมื่อมีการคลี่คลายสาเหตุต่างๆ ด้วยการชำระหนี้คืน มีการล้มละลาย มีการตัดหนี้ และภาวะเงินเฟ้อ
ในช่วงปี ค.ศ.1930-39 ได้มีการทำทั้งสี่อย่างนี้หมด ผลสุดท้ายคือ หนี้ในภาคเอกชนของสหรัฐลดลงประมาณเกือบ 100 เปอร์เซ็นต์ของจีดีพี จากภาวะเงินฝืดที่รุนแรงสุดถึง 130% ของจีดีพีในปี 2476 เหลือ 35% เมื่อสิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่สอง
เมื่อเทียบกันแล้ว การลดหนี้ที่เราได้ทำในวิกฤติครั้งล่าสุดนี้ ถือว่าจิ๊บจ๊อย โดยลดลงไม่ถึง 20% จากที่พุ่งสูงสุดถึง 175% ของจีดีพี เมื่อปี 2553 ขณะนี้เรากำลังพยายามฟื้นฟูเศรษฐกิจจากระดับหนี้ที่สูงกว่าระดับที่เลวร้ายที่สุดในช่วงปี ค.ศ.1930
แล้ววิธีนี้จะได้ผลหรือไม่
แน่นอนว่า มันจะได้ผลไปสักระยะ ตราบเท่าที่เราเต็มใจกู้ยืมมากกว่าชำระคืน มันจะมีการเติบโต หนี้ที่เพิ่มขึ้นหมายถึงว่ามีเงินมากขึ้นในระบบ ซึ่งจะช่วยขับเคลื่อนเศรษฐกิจได้
นั่นคือสิ่งที่ได้เกิดขึ้นนับตั้งแต่ต้นปี 2553 เมื่อการกู้เงินซึ่งเป็นสาเหตุให้เกิดวิกฤติการเงินเมื่อปี 2550 ได้หยุดชะงักลง และชาวอเมริกันเริ่มกู้ยืมอีกครั้ง
แต่เนื่องจากหนี้ของภาคเอกชนยังคงอยู่ในระดับที่ทำให้ปลายปี ค.ศ.1920 เป็นเหมือนช่วงที่มีความสุขุมรอบคอบ มากกว่าที่จะเป็นยุคที่มีความฟุ่มเฟือย โอกาสที่จะกู้ยืมต่อไปจึงไม่ง่าย ดังนั้น การฟื้นฟูเศรษฐกิจต่างๆ น่าจะค่อยๆ หายไปอย่างรวดเร็ว มากกว่าที่เราทำเมื่อปี 1999 มาก โดยในปี 1990 หนี้สูงสุดแค่ 120% ของจีดีพี
ไม่มีที่ไหนที่เห็นได้ชัดมากกว่าในวอลล์สตรีท การเป็นหนี้เพื่อซื้อสินทรัพย์ได้กลับมาพุ่งสูงสุดเหมือนที่เคยเกิดขึ้นในยุคฟองสบู่ดอทคอมแล้ว ในยุคนั้น มาร์จิ้นเด็บได้เพิ่มขึ้น 5 เท่า เป็น 2.75% ของจีดีพีในเวลาแค่ 8 ปี จากที่ไม่เคยเกินกว่าครึ่งเปอร์เซ็นต์ของจีดีพีในช่วงก่อนปี ค.ศ.1990 แต่มันกลับมาพุ่งสูงสุดอีกครั้งในเดือนมีนาคม 2557 และเชื่อว่ามันอาจเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องอีก
แน่นอนว่า เราคิดว่าจะไม่เกิดฟองสบู่เช่นนั้นอีก เพราะด้วยแนวคิดเศรษฐกิจแบบเดิมๆ เรามั่นใจตัวเองว่า การกู้เงินมาลงทุนไม่ส่งผลกระทบต่อราคาในตลาดหุ้นและราคากลับสะท้อนว่าสิ่งที่ไม่มีตัวตนนี้ถูกเรียกว่า “มูลค่าพื้นฐาน” และมูลค่าพื้นฐานคือความเต็มใจของเราที่เต็มใจเป็นหนี้เพื่อซื้อสินทรัพย์
ความเต็มใจเช่นนั้นเพิ่มมากขึ้นเมื่อหนี้ที่เพิ่มขึ้นทำให้ราคาสินทรัพย์เพิ่มขึ้น แต่มันก็มลายหายไปในท้ายที่สุดเช่นกันเมื่อหนี้เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วมากกว่ารายได้ที่จ่ายหนี้เหล่านี้
การกู้หนี้ไม่ได้เพียงแต่เพิ่มขึ้นแต่มันไปเร่งให้หนี้ทำให้ราคาหุ้นเพิ่มขึ้นด้วย ถึงแม้ว่าอัตราความเร็วของหนี้ลดลง แต่มันก็เพียงพอที่จะส่งผลให้ตลาดหุ้นดิ่งได้
ตัวบ่งชี้ถึงอัตราเร่งหนี้ได้บ่งชี้ว่าตลาดหุ้นกำลังจะปรับตัวลงมาตั้งแต่กลางปี 2556 แต่เป็นเพราะพลังของนโยบายผ่อนคลายเชิงปริมาณ (คิวอี) ของเฟดที่ตลาดยังคงท้าทายได้เป็นเวลานานต่อแรงโน้มถ่วงของหนี้ที่ชะลอฝีเท้าลง
คิวอีเป็นโปรแกรมที่ทำให้ราคาสินทรัพย์เพิ่มขึ้นจริง เนื่องจากเงินที่เฟดโปรยให้ไปตกอยู่ในวอลล์สตรีท ไม่ใช่ในเมนสตรีท แต่เนื่องจากเฟดกำลังจะเลิกนโยบายคิวอี ในขณะนี้ตลาดหุ้นจึงกลับไปอยู่ภายใต้การควบคุมของความเมตตาที่ไม่อ่อนโยนของหนี้ในภาคเอกชนที่มีปริมาณมากเกินไป
ดังนั้น จึงขอต้อนรับสู่วิกฤติใหม่...ที่เหมือนกับวิกฤติเก่า และตลาดหุ้นก็น่าจะเล่นรถไฟเหาะกันต่อไป
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น