SCCทุ่ม1.24หมื่นล้าน
ผุดโรงปูนซีเมนต์ที่พม่า
ข่าวหน้าหนึ่ง วันอังคารที่ 27 สิงหาคม 2556ผู้เข้าชม : 3 คน
“ปูนใหญ่” ทุ่มงบลงทุน 12,400 ล้านบาท สร้างโรงงานผลิตปูนซีเมนต์แบบครบวงจรแห่งแรกในพม่า ณ เมืองเมาะลำไย กำลังการผลิต 1.8 ล้านตันต่อปี คาดเริ่มดำเนินการผลิตได้ประมาณกลางปี 2559 คาดช่วยหนุนยอดขายปูนเพิ่มขึ้น
นายกานต์ ตระกูลฮุน กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ปูนซิเมนต์ไทย จำกัด (มหาชน) หรือ SCC กล่าวว่า คณะกรรมการบริษัทมีมติอนุมัติโครงการลงทุนมูลค่า 12,400 ล้านบาท เพื่อก่อสร้างโรงงานผลิตปูนซีเมนต์แบบครบวงจรแห่งแรกในประเทศเมียนมาร์ ภายใต้กฎหมายการลงทุนจากต่างประเทศ (Foreign Investment Law) ซึ่งคาดว่าจะเริ่มดำเนินการผลิตได้ประมาณกลางปี 2559
สำหรับโรงงานผลิตปูนซีเมนต์ดังกล่าวจะมีกำลังการผลิต 1.8 ล้านตันต่อปี ตั้งอยู่ที่เมืองเมาะลำไย (Mawlamyine) ซึ่งมีแหล่งหินปูนปริมาณมากและเพียงพอในระยะยาว ประกอบกับสามารถขนส่งสินค้าทางน้ำไปยังเมืองย่างกุ้ง ซึ่งเป็นศูนย์กลางการค้าที่สำคัญของประเทศเมียนมาร์
ทั้งนี้ SCC เป็นหนึ่งในผู้นำตลาดในประเทศเมียนมาร์ โดยสินค้าได้รับความเชื่อถือจากลูกค้า มีตราสินค้าที่เป็นที่รู้จักแพร่หลาย มีระบบห่วงโซ่อุปทานที่มีประสิทธิภาพ และมีช่องทางการจัดจำหน่ายที่แข็งแกร่ง ทั้งนี้ ในปี 2555 SCC ส่งออกปูนซีเมนต์ไปยังประเทศเมียนมาร์ประมาณ 1.7 ล้านตัน จากความต้องการใช้ปูนซีเมนต์ทั้งหมดประมาณ 4 ล้านตัน คาดว่าความต้องการใช้ปูนซีเมนต์ในประเทศเมียนมาร์จะขยายตัวในอัตราประมาณ 10% ต่อปี ในระยะเวลา 5 ปีข้างหน้า
ขณะที่ SCC จะถือหุ้นข้างมากในโครงการดังกล่าวที่จะพัฒนาขึ้นตามหลักการพัฒนาอย่างยั่งยืน ซึ่งรวมถึงการลงทุนก่อสร้างโรงไฟฟ้าของตนเองขนาด 40 เมกะวัตต์ โดยใช้เทคโนโลยีสะอาดที่ทันสมัยและไม่มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม นอกจากนี้ ยังใช้ระบบผลิตไฟฟ้าจากลมร้อนทิ้ง (Waste-heat generator system) ขนาด 9 เมกะวัตต์ ที่ช่วยลดการใช้ไฟฟ้า รวมถึงมีท่าเรือและโครงสร้างพื้นฐานอื่นๆ เพื่อรองรับการขยายตัวในอนาคตอีกด้วย
อย่างไรก็ตาม โครงการลงทุนดังกล่าวต่อเนื่องจากโครงการลงทุนก่อสร้างโรงงานผลิตปูนซีเมนต์ในประเทศอินโดนีเซียและกัมพูชา ซึ่งสอดคล้องกับกลยุทธ์ของ SCC ที่จะเป็นผู้นาธุรกิจอย่างยั่งยืนในอาเซียน
สำหรับโรงงานผลิตปูนซีเมนต์ดังกล่าวจะมีกำลังการผลิต 1.8 ล้านตันต่อปี ตั้งอยู่ที่เมืองเมาะลำไย (Mawlamyine) ซึ่งมีแหล่งหินปูนปริมาณมากและเพียงพอในระยะยาว ประกอบกับสามารถขนส่งสินค้าทางน้ำไปยังเมืองย่างกุ้ง ซึ่งเป็นศูนย์กลางการค้าที่สำคัญของประเทศเมียนมาร์
ทั้งนี้ SCC เป็นหนึ่งในผู้นำตลาดในประเทศเมียนมาร์ โดยสินค้าได้รับความเชื่อถือจากลูกค้า มีตราสินค้าที่เป็นที่รู้จักแพร่หลาย มีระบบห่วงโซ่อุปทานที่มีประสิทธิภาพ และมีช่องทางการจัดจำหน่ายที่แข็งแกร่ง ทั้งนี้ ในปี 2555 SCC ส่งออกปูนซีเมนต์ไปยังประเทศเมียนมาร์ประมาณ 1.7 ล้านตัน จากความต้องการใช้ปูนซีเมนต์ทั้งหมดประมาณ 4 ล้านตัน คาดว่าความต้องการใช้ปูนซีเมนต์ในประเทศเมียนมาร์จะขยายตัวในอัตราประมาณ 10% ต่อปี ในระยะเวลา 5 ปีข้างหน้า
ขณะที่ SCC จะถือหุ้นข้างมากในโครงการดังกล่าวที่จะพัฒนาขึ้นตามหลักการพัฒนาอย่างยั่งยืน ซึ่งรวมถึงการลงทุนก่อสร้างโรงไฟฟ้าของตนเองขนาด 40 เมกะวัตต์ โดยใช้เทคโนโลยีสะอาดที่ทันสมัยและไม่มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม นอกจากนี้ ยังใช้ระบบผลิตไฟฟ้าจากลมร้อนทิ้ง (Waste-heat generator system) ขนาด 9 เมกะวัตต์ ที่ช่วยลดการใช้ไฟฟ้า รวมถึงมีท่าเรือและโครงสร้างพื้นฐานอื่นๆ เพื่อรองรับการขยายตัวในอนาคตอีกด้วย
อย่างไรก็ตาม โครงการลงทุนดังกล่าวต่อเนื่องจากโครงการลงทุนก่อสร้างโรงงานผลิตปูนซีเมนต์ในประเทศอินโดนีเซียและกัมพูชา ซึ่งสอดคล้องกับกลยุทธ์ของ SCC ที่จะเป็นผู้นาธุรกิจอย่างยั่งยืนในอาเซียน
ส่วนการลงทุนในอนาคตนั้น จะเน้นพิจารณาเรื่องผลตอบแทนในการลงทุนเป็นสำคัญ และจะเน้นลงทุนในภูมิภาคมากกว่าในประเทศไทยเพราะมองเห็นศักยภาพในการเติบโตที่มากกว่า
บทวิเคราะห์บริษัทหลักทรัพย์ ธนชาต จำกัด ปรับเพิ่มประมาณการกำไรของ SCC ขึ้นประมาณ 23% ในปีนี้ และปรับขึ้นเฉลี่ย 16% ในช่วง 5 ปี หลังจากนั้น เนื่องจากผลตอบแทนที่เกิดขึ้นจากการลงทุนในช่วงสองปีที่ผ่านมา การขยายธุรกิจอย่างรวดเร็วขึ้น รวมทั้งการทำ M&A และธุรกิจปิโตรเคมีที่ฟื้นตัวแข็งแกร่งกว่าที่คาด แม้จะคาดว่าจะอ่อนตัวลงในช่วงครึ่งหลังปี 2556 และปรับราคาเป้าหมายขึ้นจาก 320 บาท เป็น 545 บาท/หุ้น และปรับมาใช้ประมาณการปี 2557
ขณะที่มองว่า SCC ผ่านช่วงต่ำสุดที่มีผลกำไรที่อ่อนแอในช่วง 5 ปีที่ผ่านมาแล้ว และกำลังเข้าสู่ช่วงการเติบโตใหม่ที่ยั่งยืนมากขึ้น แม้เราจะสมมติให้ petrochemical spreads ทรงตัวจากระดับที่สูงกว่าที่คาดไว้สำหรับปีนี้ แต่คาดว่าการขยายตัวเชิงกลยุทธ์ในธุรกิจวัสดุก่อสร้างที่ให้ผลตอบแทนสูงขึ้นจะผลักดันให้ผลตอบแทนจากการลงทุนเข้าสู่รอบการเติบโตใหม่ ทั้งนี้ คาดว่าผลตอบแทนจะเริ่มสูงกว่าต้นทุนลงทุนในปี 2557 ขณะที่คาดว่า ROIC เฉลี่ย 5 ปี จะอยู่ที่ 10.3% เทียบกับ 7.6% ในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา
นอกจากนี้ มองว่า SCC เป็น strategic regional play ด้วยการเจาะตลาด AEC เพื่อการขยายธุรกิจในอนาคตจะเปลี่ยนรูปแบบการเติบโตของบริษัทฯ จากเดิมที่เติบโตแบบ organic growth ในประเทศไทย ไปสู่การเติบโตในประเทศอาเซียน เช่น อินโดนีเซีย และตลาดชายขอบ (Frontier Market) ที่มีการเติบโตสูง และมีความสำคัญในอนาคต SCC ยังคงอยู่ในช่วงกลางของการขยายธุรกิจ และเรายังไม่ได้รวมมูลค่าการลงทุนในอนาคตของบริษัทฯ ในประมาณการ
ขณะที่ประเมินอย่างคร่าวๆ โดยสมมติให้เป้าผลตอบแทนจากการลงทุนของบริษัทอยู่ที่ 15% ซึ่งการลงทุนใหม่ 5 หมื่นล้านบาท น่าจะสร้างมูลค่าเพิ่มให้ SCC 33 บาท/หุ้น สำหรับความเสี่ยงที่สำคัญประการหนึ่ง สำหรับ SCC คือ การลงทุนที่อาจเกิดขึ้นในโครงการปิโตรเคมีขนาดใหญ่ในเวียดนาม ซึ่งความกังวลของเราคือธุรกิจปิโตรเคมีมีความผันผวนสูงโดยธรรมชาติ ให้ผลตอบแทนที่ต่ำกว่าเมื่อเทียบกับธุรกิจวัสดุก่อสร้างขนาดการลงทุนที่ใหญ่ และประเด็นด้านแหล่งเงินทุนในประเทศเวียดนาม
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น