Good Morning News จาก กองทุนบัวหลวง ..
------------------------------------------
6 พฤษภาคม 2558





ชื่อ:  001.png
ครั้ง: 12556
ขนาด:  1.01 เมกกะไบต์






Guru Quotes
Paul Samuelson

“ผลตอบแทนจากการลงทุนที่ดีควรเป็นไปอย่างช้าๆ ซึ่งอาจน่าเบื่อเหมือนการเฝ้ารอต้นไม้ที่ปลูกกำลังเติบโตหรือการรอสีที่พึ่ง ทาแห้งสนิท แต่ถ้าต้องการผลตอบแทนที่รวดเร็วและตื่นเต้นควรไปเข้าบ่อนคาสิโนที่ Las Vegas”


General News


• ECB ปรับคาดการณ์การขยายตัวของเศรษฐกิจสหภาพยุโรปปีนี้ขึ้นเป็น 1.5% จากเดิม 1.3% จากมาตรการ QE ที่ช่วยเพิ่มเสถียรภาพตลาดการเงินและเศรษฐกิจโดยรวมของยุโรป รวมทั้งยังได้ปัจจัยบวกจากราคาน้ำมันในระดับต่ำ และการอ่อนค่าของค่าเงินยูโร


• เศรษฐกิจของสเปนในไตรมาสแรกขยายตัว 0.9% จากไตรมาสก่อน ขยายตัวติดต่อกันเป็นไตรมาสที่ 7 และเป็นการขยายตัวมากที่สุดหลังเกิดวิกฤติเศรษฐกิจ แสดงให้เห็นถึงการฟื้นตัวอย่างต่อเนื่องของเศรษฐกิจสเปน ทั้งนี้ รัฐบาลประเมินว่าเศรษฐกิจสเปนจะสามารถขยายตัวได้ 2.9% ในปีนี้


• ธนาคารกลางรัสเซียปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลง 1.50% เหลือ 12.5% หลังค่าเงินรูเบิลของรัสเซียแข็งค่าขึ้นและอัตราเงินเฟ้อเริ่มชะลอตัวลง ทำให้ธนาคารกลางสามารถดำเนินนโยบายการเงินผ่อนคลายมากขึ้นเพื่อช่วยกระตุ้น เศรษฐกิจที่กำลังจะเข้าสู่ภาวะถดถอย


• จำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานของสหรัฐ ณ วันที่ 25 เม.ย. ลดลง 34,000 ราย สู่ระดับ 262,000 ราย เป็นระดับต่ำสุดใหม่ในรอบ 15 ปี บ่งชี้ว่า ตลาดแรงงานยังปรับตัวดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง


• ดัชนีต้นทุนการจ้างงานของสหรัฐในไตรมาสแรกเพิ่มขึ้น 0.7% จากไตรมาสก่อน และ 2.6% จากปีก่อน จากค่าจ้างที่เพิ่มขึ้น 2.8% บ่งชี้ถึงการฟื้นตัวอย่างแข็งแกร่งของตลาดแรงงานจนทำให้ภาคเอกชนเริ่มขึ้น ค่าจ้างเพื่อดึงดูดแรงงานมากขึ้น


• ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคของสหรัฐในเดือนเม.ย.เพิ่มขึ้นเป็น 95.9 จาก 93.0 ในเดือนก่อน เป็นผลมาจากการจ้างงานและค่าจ้างที่เพิ่มขึ้น ประกอบกับราคาน้ำมันที่ลดลงทำให้ผู้บริโภคมั่นใจในการใช้จ่ายเพิ่มขึ้น


• ธนาคารกลางออสเตรเลียปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลง 0.25% เหลือ 2.00% เพื่อช่วยกระตุ้นการใช้จ่ายภาคครัวเรือนที่มีสัญญาณการฟื้นตัว ประกอบกับแรงกดดันด้านเงินเฟ้อที่อยู่ในระดับต่ำทำให้ธนาคารกลางสามารถผ่อน คลายนโยบายการเงินได้เพิ่มเติม



• การใช้จ่ายภาคครัวเรือนของญี่ปุ่นในเดือน มี.ค. หดตัวลง 10.6% จากปีก่อน ลดลงเป็นเดือนที่ 12 ติดต่อกัน บ่งชี้ว่าการใช้จ่ายภาคครัวเรือนของญี่ปุ่นยังคงซบเซาต่อเนื่องนับตั้งแต่ รัฐบาลปรับขึ้นภาษีการบริโภคเป็น 8% ในเดือน เม.ย. ปีที่แล้ว


• ดัชนี HSBC PMI ของจีนในเดือน เม.ย. อยู่ที่ 48.9 ลดลงจาก 49.6 ในเดือนก่อน ขณะที่ดัชนี PMI ของรัฐบาลคงที่ในระดับ 50.1 โดยดัชนี PMI ของรัฐบาลจีนจะสำรวจความเห็นจากอุตสาหกรรมขนาดใหญ่มากกว่าดัชนี HSBC PMI ที่มุ่งเน้นสำรวจอุตสาหกรรมขนาดกลางและเล็ก โดยดัชนี PMI บ่งชี้ว่า เศรษฐกิจจีนยังคงมีแนวโน้มชะลอตัว และต้องการมาตรการกระตุ้นเพิ่มเติมจากภาครัฐ


• เศรษฐกิจอินโดนีเซียในไตรมาสแรกขยายตัว 4.7% จากปีก่อน แต่หดตัวลง 0.18% จากไตรมาสก่อน สวนทางกับที่นักวิเคราะห์คาดไว้ว่าจะขยายตัว +0.25% จากไตรมาสก่อน เป็นผลมาจากการส่งออกสินค้าโภคภัณฑ์ที่ชะลอตัวลงตามตลาดโลกและการเบิกจ่ายงบ ประมาณของภาครัฐที่พลาดเป้าหมาย ทั้งนี้ ในปีก่อนเศรษฐกิจอินโดนีเซียขยายตัวได้ 5.02% ซึ่งถือเป็นระดับต่ำสุดในรอบ 5 ปี ทำให้รัฐบาลอินโดนีเซียต้องการเร่งกระตุ้นเศรษฐกิจผ่านการลงทุนโครงสร้าง พื้นฐานเพื่อให้เศรษฐกิจสามารถขยายตัวได้ 5.4 - 5.7% ในปีนี้


• นายสมหมาย ภาษี รมว.คลัง กล่าวว่า แม้การลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายของ กนง. จะช่วยให้เงินบาทอ่อนค่าลง แต่อาจจะไม่ช่วยกระตุ้นการส่งออกของไทยมากนัก เนื่องจากความต้องการสินค้าทั่วโลกยังค่อนข้างต่ำทำให้เกิดการแข่งขันที่สูง ขึ้นและกดดันให้ราคาสินค้าส่งออกถูกลง โดยภาคเอกชนควรมองหาปัจจัยอื่นๆ เพื่อช่วยเพิ่มการส่งออก เช่น การหาตลาดส่งออกใหม่ๆ ปรับปรุงคุณภาพสินค้า และพัฒนาสินค้าให้ตรงกับความต้องการของตลาด เป็นต้น



• อัตราเงินเฟ้อของไทยในเดือน เม.ย. อยู่ที่ -1.04% ติดลบติดต่อกันเป็นเดือนที่ 4 จากราคาน้ำมันและอาหารสดบางประเภทที่มีราคาปรับตัวลง ทั้งนี้ กระทรวงพาณิชย์คาดการณ์เงินเฟ้อในปีนี้ที่ 0.6-1.3%



• ธปท. เปิดเผยว่า เศรษฐกิจไทยในเดือน มี.ค. ยังคงมีแนวโน้มอ่อนแอ โดยเป็นการปรับตัวลดลงในทุกดัชนีเศรษฐกิจหลักทั้งภาคการผลิต การบริโภค การลงทุน และการส่งออก ขณะที่ปัจจัยบวกมาจากภาคการท่องเที่ยว และการใช้จ่ายของภาครัฐที่ยังขยายตัวได้อย่างดี
• ธปท. ผ่อนคลายหลักเกณฑ์การเคลื่อนย้ายเงินทุนไปต่างประเทศเพิ่มขึ้น ตัวอย่างเช่น การขยายวงเงินให้บุคคลในประเทศสามารถซื้อสกุลเงินต่างประเทศเพื่อฝากกับ สถาบันการเงินในประเทศได้เป็นไม่เกิน 5 ล้านดอลลาร์จากเดิม 500,000 ดอลลาร์ และขยายวงเงินให้สามารถโอนเงินออกไปซื้อหรือเช่าอสังหาริมทรัพย์ในต่าง ประเทศได้ไม่เกินปีละ 50 ล้านดอลลาร์ จากเดิม 10 ล้านดอลลาร์ เป็นต้น โดยมาตรการดังกล่าวจะช่วยเพิ่มความคล่องตัวในการทำธุรกรรมให้นักลงทุนทั้ง ไทยและต่างประเทศมากขึ้น



Equity Market


• SET Index สิ้นเดือน เม.ย. ปิดที่ 1,526.74 จุด เพิ่มขึ้น 4.27 จุด (+0.28%) มูลค่าการซื้อขาย 46,573 ล้านบาท ดัชนีหุ้นไทยปรับตัวในกรอบแคบๆ ก่อนปิดตลาดในระดับบวกสวนทางกับตลาดในภูมิภาค โดยมีการปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายของ กนง. ในวันก่อน เป็นปัจจัยสนับสนุน


สรุปยอดสุทธิการซื้อขายของแต่ละกลุ่ม
กลุ่มนักลงทุน ล้านบาท


นักลงทุนสถาบัน +15,693.24
บัญชีบริษัทหลักทรัพย์ -223.30
นักลงทุนต่างชาติ -1,861.15
นักลงทุนทั่วไป -13,608.79


Fixed Income Market


• อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลเปลี่ยนแปลงอยู่ในช่วง -0.08% ถึง -0.01% ด้วยมูลค่าการซื้อขาย 159,736 ล้านบาท สำหรับวันนี้มีการประมูลพันธบัตรรัฐบาล อายุ 10 ปี มูลค่ารวม 13,000 ล้านบาท

-------------------------------------------------