นับว่าเป็นอีกหนึ่งธุรกิจที่มาแรงในปี 2556 เนื่องจากความต้องการใช้พลังงานทั้งในแง่ของไฟฟ้าและเชื้อเพลิงเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ซึ่งได้มีการคาดการณ์ก๊าซธรรมชาติที่ขุดขึ้นมาจากอ่าวไทยมีแนวโน้มที่จะหมดลงในอีก 10 ปีข้างหน้า

กระทรวงพลังงาน จึงได้ให้การสนับสนุนการนำ พลังงานทดแทน หรือ พลังงานทางเลือกเข้ามาใช้ประโยชน์อย่างจริงจัง เพื่อลดผลกระทบจากการใช้เชื้อเพลิงจำพวกฟอสซิลมาผลิตเป็นพลังงานมากเกินไป รวมถึงความต้องการใช้พลังงานทดแทนสามารถดูแลสิ่งแวดล้อมของโลกได้ดีกว่า
ชื่อ:  556000005524501.GIF
ครั้ง: 3639
ขนาด:  48.6 กิโลไบต์

3 แหล่งพลังงานทดแทนที่น่าลงทุน

เมื่อมองในแง่นี้ พลังงานทดแทนที่น่าลงทุน คือ พลังงานชีวภาพจาก 3 แหล่ง ได้แก่ พลังงานชีวมวล พลังงานก๊าซชีวภาพ และพลังงานขยะ ซึ่งการตัดสินใจว่าพลังงานชนิดใดน่าลงทุนมากที่สุดขึ้นอยู่กับว่ามีวัตถุดิบแบบใดมากที่สุด เช่น ชุมชนมีขยะมากก็ทำพลังงานจากขยะ หรือมีฟาร์มหมูก็ใช้มูลของหมูทำพลังงานก๊าซชีวภาพ เป็นต้น แต่ก็ยังมีอุปสรรคในการลงทุน สำหรับพลังงานจากขยะที่มีขั้นตอนการดำเนินการมาก และจำเป็นต้องเกี่ยวข้องกับชุมชนทำให้ต้องมีการจัดการในส่วนนี้ให้ดีเสียก่อนเพื่อให้ชุมชนสนับสนุนและไม่ต่อต้าน

สำหรับภาพรวมด้านเทคโนโลยีจะมีการปรับตัวตามการเปลี่ยนแปลง โดยทิศทางของเทคโนโลยีจะปรับมาใช้พลังงานทดแทน และเทคโนโลยีที่ใช้ผลิตพลังงานทดแทนจะปรับตัวเองให้ดีขึ้น มีประสิทธิภาพสูงขึ้นเรื่อยๆ แต่ราคาถูกขึ้นเรื่อยๆ ซึ่งในช่วงนี้ถือว่าเทคโนโลยีมีการปรับตัวมาก เช่น เทคโนโลยีด้านรถยนต์จะเห็นว่ามีการพัฒนาให้ใช้เครื่องยนต์ไฮบริดมากขึ้น
แม้ว่าในวันนี้พลังงานทดแทนจะเป็นพลังงานทางเลือก แต่เมื่อถึงเวลาทุกคนจะต้องได้เผชิญหน้าโดยไม่ต้องเลือก “พลังงานทดแทนย่อมจะเป็นส่วนร่วมกับชีวิต ไม่ว่าใครจะสนใจมันหรือไม่” และจะเพิ่มสัดส่วนกับการอยู่ในชีวิตของคนเรามากขึ้นเรื่อยๆ ไม่ว่าใครจะคิดอย่างไรก็ตาม พลังงานชีวมวล ได้จากวัตถุดิบพืชพลังงานที่ปลูกได้ดีในประเทศ
ชื่อ:  556000005524502.JPEG
ครั้ง: 3610
ขนาด:  37.6 กิโลไบต์

ก.พลังงาน โหมหนักก๊าซชีวภาพ

เทคโนโลยีที่กระทรวงพลังงานโหมโรงสนับสนุนอยู่ขณะนี้ และสร้างความตื่นตัวในวงกว้างอีกอย่างหนึ่งก็คือ เทคโนโลยีผลิตก๊าซชีวภาพที่ได้จากหญ้าเลี้ยงช้าง โดยนำหญ้ามาหมักเชื้อจุลินทรีย์จนเกิดก๊าซชีวภาพ สามารถนำไปใช้ได้หลากหลายรูปแบบ ทั้งในแง่ของการผลิตไฟฟ้าหรือเชื้อเพลิงสำหรับยานยนต์และครัวเรือน ทางสำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน (สนพ.) ให้การสนับสนุนวิจัยและพัฒนา จนเกิดโรงงานผลิตก๊าซไบโอมีเทนอัดสำหรับยานยนต์ (CBG) ขึ้นที่จังหวัดเชียงใหม่ ภายใต้การดูแลของบริษัท ยูนิเวอร์แซล แอดซอร์บเบ้นท์ แอนด์ เคมิคัลส์ จำกัด (มหาชน) หรือ UAE มีสัญญาจำหน่ายก๊าซให้กับบริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) กำลังการผลิต 6 ตัน/วัน นอกจากนี้ UAE ยังมีแผนขยายโรงงานผลิตในเขตภาคเหนืออีกประมาณ 10 แห่ง รวมถึงสนับสนุนรับซื้อหญ้าจากชุมชนใกล้เคียง

ชื่อ:  556000005524505.JPEG
ครั้ง: 3603
ขนาด:  40.1 กิโลไบต์

พงษ์ศักดิ์ รักตพงศ์ไพศาล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน ถึงกับประกาศนโยบายสนับสนุนพลังงานทดแทนก๊าซชีวภาพจากหญ้าเลี้ยงช้างอย่างจริงจัง เนื่องจากหญ้าชนิดนี้เป็นหญ้าที่ปลูกง่ายให้ผลผลิตสูง ประมาณ 36-80 ตัน/ไร่ มีราคาจำหน่าย 300 บาท/ตัน หากมีการสนับสนุนให้เกษตรกรมาปลูกจะมีรายได้ดีกว่าการปลูกมันสำปะหลังเสียอีก
จากข้อมูลกระทรวงพลังงานรายงานว่า การปลูกหญ้าเลี้ยงช้าง 1,000 ไร่ จะผลิตไฟฟ้าได้ประมาณ 1 เมกะวัตต์ ใช้เงินลงทุนประมาณ 100 ล้านบาท กระทรวงพลังงานจึงวางแผนจัดตั้งกองทุนสนับสนุนด้านการเงินให้กับองค์การ บริหารส่วนตำบล สหกรณ์การเกษตร และเกษตรกรรายย่อย จับมือกับภาคเอกชนในการลงทุนสร้างโรงไฟฟ้าชุมชน โดยให้เกษตรกรเป็นผู้ปลูกหญ้า และโรงไฟฟ้าจะเข้ามารับซื้อในราคาประกันรวมทั้งเป็นผู้เก็บเกี่ยวเอง ซึ่งจะเป็นการกระจายผลประโยชน์ให้กับทุกฝ่ายอย่างเป็นธรรม ซึ่งในเบื้องต้น คาดว่าจะส่งเสริมให้ผลิตไฟฟ้าได้ที่ 7,000 เมกะวัตต์ จากชุมชนต่าง ๆ ทั่วประเทศ ซึ่งคิดเป็นสัดส่วนของการใช้พลังงานทดแทนทั้งประเทศ 20% โดยทางกระทรวงพลังงานมั่นใจว่าจะทำได้ตามเป้าหมาย ใช้ต้นแบบประเทศเยอรมนีที่มีศักยภาพในการปลูกหญ้าต่ำกว่าไทย แต่สามารถผลิตไฟฟ้าได้มากกว่า 7,000 เมกะวัตต์ ขณะที่ประเทศไทยมีพื้นที่และภูมิอากาศที่เหมาะสมกว่า จึงเชื่อว่าจะสามารถผลิตไฟฟ้าได้มากกว่า

ชื่อ:  556000005524504.JPEG
ครั้ง: 3607
ขนาด:  30.7 กิโลไบต์

รวมถึงจะให้การอุดหนุนค่ารับซื้อไฟฟ้าตามต้นทุนที่แท้จริง (ฟีดอินทารีฟ) ประมาณ 4.50 บาท/หน่วย ซึ่งต่ำกว่าการอุดหนุนพลังงานทดแทนชนิดอื่น ทำให้ไม่กระทบค่าไฟมากนัก ขณะนี้อยู่ระหว่างจัดทำรายละเอียด และการตั้งกองทุนในการสนับสนุน คาดว่าจะเห็นผลชัดเจนเป็นรูปธรรมภายในปี 2558

ความจริงแล้วพลังงานทดแทนได้รับการสนับสนุนมาอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ปี 2555 จนถึงปัจจุบันก็คือ พลังงานแสงอาทิตย์ กับพลังงานลม ทั้งนี้ ทวารัฐ สูตะบุตร รองอธิบดีกรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน (พพ.) เคยกล่าวไว้ตั้งแต่ปีที่แล้วว่า ในปี 2556 จะเป็นปีที่พลังงานเหล่านี้เข้าสู่ระบบการผลิตไฟฟ้าของประเทศอย่างเป็นรูปธรรม แบ่งเป็นพลังงานแสงอาทิตย์ 300 เมกะวัตต์ พลังงานลมประมาณ 100 เมกะวัตต์ ซึ่งจะทำให้มีกระแสไฟเข้าสู่ระบบรองรับการใช้พลังงานไฟฟ้ามากขึ้น

ตามแผนพัฒนาพลังงานทดแทนและพลังงานทางเลือก 25% ใน 10 ปี หรือ AEDP 2012-2021 ตั้งเป้าใช้พลังงานทดแทนจากพลังงานแสงอาทิตย์ จำนวน 2,000 เมกะวัตต์ และพลังงานลม 1,200 เมกะวัตต์ ปัจจุบันมีภาคเอกชนยื่นขอใบอนุญาตตั้งโรงงานผลิตเกินกว่าเป้าหมายที่กำหนดไว้ จึงคาดว่าจะได้เห็นพลังงานเหล่านี้สร้างรายได้ที่เป็นรูปธรรมอย่างเด่นชัดในปีนี้

ชื่อ:  556000005524503.JPEG
ครั้ง: 3595
ขนาด:  67.2 กิโลไบต์


โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์