วันพุธที่ 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559

ตลาดการเงินโลกมีความเสี่ยงเพิ่มสูงขึ้น

ตลาดการเงินยุโรปผันผวนอย่างหนักในช่วงต้น สัปดาห์ที่ผ่านมา โดยเฉพาะหุ้นกลุ่มธนาคารในยุโรป เนื่องจากนักลงทุนกังวลว่าธนาคารดอยซ์แบงก์ (Deutsche Bank) ซึ่งเป็นธนาคารที่ใหญ่ที่สุดของเยอรมนีอาจไม่สามารถจ่ายดอกเบี้ยหุ้นกู้ด้อย สิทธิชนิดหนึ่งที่นับเป็นเงินกองทุนของธนาคารพาณิชย์ หรือที่เรียกว่า contingent convertible bond (CoCo bond) ได้ หลังจากที่ธนาคารประกาศผลประกอบการในปี 2015 ออกมาขาดทุนสูงถึง 6.8 พันล้านยูโร ส่งผลให้ราคาหุ้นของธนาคารดอยซ์แบงก์ลดลงไปแล้วกว่า 40% นับตั้งแต่ต้นปี 2016 และยังส่งผลกระทบต่อราคาหุ้นของธนาคารพาณิชย์อื่นๆ ให้ลดลงเช่นเดียวกัน
  • ตลาดการเงินโลกมีความเสี่ยงเพิ่มสูงขึ้น นัก ลงทุนกังวลกับความเสี่ยงภาคธนาคารของยูโรโซนและได้หันไปลงทุนในสินทรัพย์ที่ ปลอดภัยอย่างพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯ และญี่ปุ่น ส่งผลให้อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯ ระยะเวลา 10 ปี ลดลง 10 basis point จากวันที่ 5 กุมภาพันธ์ และอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลญี่ปุ่นลดลงไปติดลบเป็นครั้งแรกที่ระดับ -0.3% จาก 0.1% อย่างไรก็ตาม โอกาสที่เหตุการณ์ดังกล่าวจะบานปลายเป็นวิกฤติการเงินยังไม่สูงนัก เนื่องจาก 1) ธนาคารดอยซ์แบงก์ยังมีเงินสำรองอยู่ราว 2.2 แสนล้านยูโร ซึ่งเพียงพอต่อการชำระหนี้หุ้นกู้ที่ปัจจุบันมีมูลค่ารวม 5 หมื่นล้านยูโร และหุ้นกู้ด้อยสิทธิที่เป็นกองทุนของธนาคารอีกราว 1.6 หมื่นล้านยูโร สอดคล้องกับด้านโกลด์แมน แซคส์ ที่กล่าวว่ายังคงมีความเชื่อมั่นต่อภาคธนาคารพาณิชย์ในยูโรโซนเนื่องจากยัง มีสภาพคล่องและเงินกองทุนเพียงพอและสามารถลดความเสี่ยงจากการเกิดวิกฤติการ เงินได้ 2) ธนาคารดอยซ์แบงก์เป็นธนาคารขนาดใหญ่ที่รัฐบาลจะไม่ปล่อยให้ล้ม (too big to fail) 3) ธนาคารกลางยุโรป (European Central Bank: ECB) ยังดำเนินมาตรการอัดฉีดสภาพคล่อง (QE) อย่างต่อเนื่องและมีแนวโน้มขยายวงเงินเพิ่มขึ้น

  • การลดอัตราดอกเบี้ยให้ติดลบของธนาคารกลางยุโรปเผชิญอุปสรรคมากขึ้น การขาดทุนของธนาคารขนาดใหญ่อย่างดอยซ์แบงก์เป็นสัญญาณบ่งบอกว่าธนาคาร พาณิชย์บางแห่งในยูโรโซนยังไม่แข็งแรงมากนัก ซึ่งอาจเป็นอุปสรรคต่อ ECB ที่จะผ่อนคลายนโยบายการเงินเพิ่มเติมโดยการลดอัตราดอกเบี้ยที่ธนาคารพาณิชย์ ฝากไว้กับ ECB (deposit facility rate) ลงไปติดลบมากขึ้นจากปัจจุบันที่อยู่ระดับ -0.3% ทั้งนี้ เนื่องจากอัตราดอกเบี้ยที่ติดลบนี้ส่งผลให้ธนาคารพาณิชย์มีต้นทุนสูงขึ้นแต่ ไม่สามารถผลักภาระไปยังผู้ฝากเงินได้ เนื่องจากอัตราดอกเบี้ยเงินฝากไม่สามารถลดลงต่ำได้อีก ดังนั้นจึงอาจกระทบต่อความสามารถในการทำกำไรของธนาคารมากขึ้น

  • ธนาคารกลางสหรัฐฯ (Fed) มีแนวโน้มส่งสัญญาณที่ชัดเจนขึ้นในการชะลอปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย จาก ความเสี่ยงของเศรษฐกิจโลกที่เพิ่มขึ้นอย่างมากในปัจจุบันเทียบกับการประชุม Fed ในเดือนธันวาคม ซึ่ง Fed ประเมินว่าอัตราดอกเบี้ยอาจปรับขึ้นได้ถึง 1.00% ในปี 2016 อย่างไรก็ตาม ในช่วงต้นเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมา นายวิลเลียม ดัดลีย์ ประธาน Fed สาขานิวยอร์ค กล่าวว่า สภาวะการเงินโลกมีความตึงตัวขึ้นหลังจากการประชุมในเดือนธันวาคม ดังนั้น หากสถานการณ์ยังยืดเยื้อไปถึงการประชุมเดือนมีนาคม คณะกรรมการ Fed จะนำมาพิจารณาการดำเนินนโยบายการเงินด้วย ดังนั้น หลังจากที่มีเหตุการณ์ความผันผวนในตลาดหุ้นยุโรป ซึ่งส่งผลกระทบไปยังตลาดหุ้นสหรัฐฯ อาจทำให้ Fed มีแนวโน้มส่งสัญญาณชะลอการขึ้นอัตราดอกเบี้ยได้ ทั้งนี้ อีไอซี คาดว่าในปีนี้ Fed จะขึ้นอัตราดอกเบี้ยได้เพียง 0.50% ในปี 2016
Implication.png

886_20100622103105.gif

  • ค่าเงินบาทมีความผันผวนสูง โดยปกติแล้วค่าเงินบาทมักจะอ่อนค่าในยามที่ความกังวลในตลาดการเงินโลกเพิ่ม สูงขึ้น แต่ปัจจุบันค่าเงินบาทกลับแข็งค่าขึ้นเหนือความคาดหมายของตลาดจากเฉลี่ย 36.1 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐฯ ในเดือนมกราคม มาอยู่ที่ระดับ 35.4 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐฯ โดยอีไอซีคาดว่าการแข็งค่าครั้งนี้จะเกิดขึ้นชั่วคราว จากปัจจัยเรื่องการคาดการณ์ว่า Fed จะไม่ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในเร็วๆ นี้จากความเสี่ยงในตลาดการเงินโลก ส่งผลให้ค่าเงินดอลลาร์อ่อนค่าเมื่อเทียบกับเงินสกุลอื่นๆ ของโลก อย่างไรก็ตาม ด้วยมุมมองว่า Fed ยังมีแนวโน้มปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายในปีนี้ ทำให้อีไอซีคาดว่าค่าเงินบาทยังคงมีแนวโน้มอ่อนค่าลงไปอยู่ที่ระดับ 37 บาทต่อดอลลาร์ต่อสหรัฐฯ ในช่วงสิ้นปี 2016

  • ผู้ประกอบการที่มีธุรกรรมเงินตราต่างประเทศควรพิจารณาป้องกันความเสี่ยงอัตราแลกเปลี่ยนและระมัดระวังการกู้ยืมสกุลเงินต่างประเทศ ตลาดการเงินโลกที่มีความเสี่ยงสูงขึ้น ทำให้อัตราแลกเปลี่ยนมีแนวโน้มผันผวนค่อนข้างมากในปีนี้

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น