วันศุกร์ที่ 2 มกราคม พ.ศ. 2558

อุตสาหกรรมรุ่งและาวงปี58

อุตสาหกรรมดาวรุ่ง ปี"58 รถยนต์-อาหาร-วัสดุก่อสร้าง
ประชาชาติธุรกิจออนไลน์

เป็นปีที่ค่อนข้างเหนื่อยสำหรับภาคอุตสาหกรรม เมื่อดูจากดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมที่ลดลงร้อยละ 4 เนื่องจากเศรษฐกิจโลกชะลอตัว รวมถึงการเมืองภายในประเทศที่กำลังอยู่ในระหว่างเข้ารูปเข้ารอย การใช้จ่ายของภาคครัวเรือนในสินค้าฟุ่มเฟือยลดลง แต่ภาคเอกชนมองว่าเศรษฐกิจปี"58 น่าจะขยายตัวได้ดีพอที่จะดึงผลิตภัณฑ์มวลรวมของประเทศ หรือ GDP ให้ขยายตัวขึ้นได้ตามที่คาดการณ์ไว้ที่ร้อยละ 1 ส่งผลให้ทิศทางการลงทุนของภาคอุตสาหกรรมในหลาย ๆ กลุ่มน่าจะไปได้สวย และอาจจะมีบางกลุ่มอุตสาหกรรมที่ยังเหนื่อยต่อไปสำหรับปี"58

สศอ.ชี้การผลิตปี"58 ขยาย 4%

สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม หรือสศอ.รายงาน ภาพรวมดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม (MPI) 11 เดือนของปี"57 เมื่อแยกรายประเภทอุตสาหกรรมพบว่า กลุ่มอุตสาหกรรมรถยนต์ "ลดลง" เมื่อเทียบจากปีก่อน คาดว่าจะมีการผลิตรถยนต์รวม 1.9 ล้านคัน ลดลงร้อยละ 20.64 แบ่งเป็นการผลิตเพื่อจำหน่ายรถยนต์ในประเทศ 850,000 คัน ลดลงร้อยละ 35.90 และการผลิตเพื่อส่งออกรถยนต์ 1,100,000 คัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.50 ส่วนปี 2558 คาดว่า การผลิตจะมีการขยายตัวได้ร้อยละ 10 หรือคิดเป็นปริมาณการผลิตรถยนต์ที่ 2.1 ล้านคัน เนื่องจากเศรษฐกิจในประเทศและตลาดส่งออกหลักปรับตัวดีขึ้น

ส่วนภาวะการผลิตภาพรวมของอุตฯไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ในปี"57 คาดว่าการผลิตปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 1-2 ซึ่งมาจากการขยายตัวในกลุ่มเครื่องปรับอากาศที่ส่งออกเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะในตลาดอาเซียน สำหรับกลุ่มอิเล็กทรอนิกส์มาจากชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ เช่น เซมิคอนดักเตอร์ และ IC จะเพิ่มขึ้นจากความต้องการนำไปใช้ในอุปกรณ์สื่อสาร เช่น สมาร์ทโฟน แท็บเลต บลูทูท หน้าจอทัชสกรีน วิดีโอเกม และกลุ่มผลิตภัณฑ์อิเล็กทรอนิกส์ส่วนบุคคล รวมถึงการเพิ่มสัดส่วนการใช้ชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ในอุตสาหกรรมยานยนต์มากขึ้น ส่วนฮาร์ดดิสก์ไดรฟ์คาดว่าจะอยู่ในภาวะทรงตัวเมื่อเทียบกับปีก่อน

นายอุดม วงศ์วิวัฒน์ไชย ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กล่าวถึง แนวโน้มปี"58 ว่า การผลิตภาคอุตสาหกรรมปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 2-4 เนื่องจากนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจของภาครัฐ การขยายตัวของตลาดทีวีดิจิทัล ส่งผลให้กำลังซื้อของผู้บริโภคในประเทศฟื้นตัว นอกจากนี้การส่งออกเครื่องใช้ไฟฟ้าไปอาเซียนปรับตัวเพิ่มขึ้น

ด้านอุตสาหกรรมเหล็กและเหล็กกล้านั้น เมื่อพิจารณาจากตัวเลขความต้องการบริโภคเหล็กของไทยที่ผ่านมาพบว่า "ลดลง" ร้อยละ 4.5 เมื่อเทียบกับปีก่อน ปริมาณการใช้เหล็กอยู่ที่ 16.90 ล้านตัน การผลิต 6.19 ล้านตัน ลดลงร้อยละ 10 เนื่องจากเศรษฐกิจที่ชะลอตัวและมีแนวโน้มการนำเข้าเหล็กจากประเทศจีนมากขึ้น

สำหรับสถานการณ์เหล็กในปี"58 การผลิตจะทรงตัวอยู่ที่ 6.19 ล้านตัน โดยความต้องการใช้เหล็กในประเทศอยู่ที่ร้อยละ 0-3 จากความต้องการใช้เหล็กที่สูงขึ้นในโครงการก่อสร้างโครงสร้างพื้นฐานของภาครัฐ ในขณะที่การผลิตจากกลุ่มสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มในปี"57 ยังขยายตัว โดยเฉพาะกลุ่มเสื้อผ้าสำเร็จรูป สำหรับการผลิตเส้นใยสิ่งทอและผ้าผืนอาจหดตัว

อย่างไรก็ตามอาจมีความต้องการโดยเฉพาะในตลาดอาเซียน ส่งผลให้การส่งออกขยายตัวเพิ่มขึ้นในไตรมาสสุดท้าย รวมกับการส่งออกไปยังสหรัฐและญี่ปุ่นคาดว่าจะขยายตัวต่อเนื่อง ส่วนแนวโน้มปี"58 การผลิตสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มจะยังขยายตัวได้อุตสาหกรรมอาหารจะขยายตัวร้อยละ 1-3 จากแนวโน้มเศรษฐกิจในประเทศที่ฟื้นตัว และความเชื่อมั่นทางเศรษฐกิจของผู้บริโภคที่ปรับตัวดีขึ้นในช่วงครึ่งปีหลัง ส่วนการผลิตอุตสาหกรรมอาหารในภาพรวมปี"58 คาดว่าจะขยายตัวร้อยละ 0-5 อุตฯดาวรุ่งรถยนต์, ชิ้นส่วนสำหรับภาพรวมอุตสาหกรรมไทยปี"58จะขยายตัวดีขึ้น จากการฟื้นตัวของเศรษฐกิจและปริมาณการค้าโลกในปี"58 การฟื้นตัวของการลงทุน การปรับฐานสู่ภาวะปกติของอุตสาหกรรมรถยนต์ปี"57 และราคาน้ำมันตลาดโลกที่ปรับลดลง ซึ่งคาดการณ์ว่าจีดีพีอุตสาหกรรมจะขยายตัวร้อยละ 2-3 และดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมขยายตัวร้อยละ 3-4

นายสุพันธุ์ มงคลสุธี ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) กล่าวถึงดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรมในรอบ 11 เดือนของปี"57 ว่า ดัชนีความเชื่อมั่นในเดือน พ.ย. 57 เติบโตกว่าเดือน ต.ค. จาก 85.6 เป็น 87.9 และคาดการณ์ 3 เดือนข้างหน้าอยู่ที่ระดับ 105.6 เพิ่มขึ้นจาก 104.5 ในเดือนตุลาคม

สำหรับอุตสาหกรรมดาวรุ่งในปี"58 อันดับต้น ๆ คือ ยานยนต์และชิ้นส่วนยานยนต์, อาหาร, ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ เนื่องจากไทยเป็นฐานการผลิตที่แข็งแกร่ง เป็นที่ต้องการของตลาดโลก

แม้ปีนี้การผลิตรถยนต์จะติดลบ เนื่องจากสิ้นสุดโครงการรถยนต์คันแรกที่ยอดผลิตและจำหน่ายสูงผิดปกติ และผลจากเศรษฐกิจที่ชะลอตัว แต่ปี"58 เชื่อว่ากำลังซื้อจะฟื้นตัวตามแนวโน้มความเชื่อมั่นผู้บริโภคที่เริ่มปรับตัวดีขึ้น ประกอบกับโครงการรถยนต์ประหยัดพลังงานมาตรฐานสากล ระยะที่ 2 (อีโคคาร์เฟส 2) จะเริ่มผลิต

ส่วน อุตสาหกรรมอาหารคาดว่า มูลค่าการส่งออกมีแนวโน้มทะลุ 1 ล้านล้านบาท เนื่องจากญี่ปุ่นจะนำเข้าสินค้าไก่จากไทยเพิ่มขึ้น หลังจากญี่ปุ่นออกมาตรการกีดกันสินค้าไก่จากจีน และคาดว่าเศรษฐกิจโลกจะฟื้นตัว ทำให้กำลังซื้อของประเทศต่าง ๆ มีมากขึ้น โดยปัจจัยที่ต้องระวังคือการผลิตกุ้งว่าจะฟื้นตัวจากโรคกุ้งตายด่วนหรือไม่

ขณะที่ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์จะขยายตัวมากขึ้น ตามการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลก แต่สินค้าฮาร์ดดิสก์อาจลดลง เพราะผู้ผลิตโน้ตบุ๊กใช้ฮาร์ดดิสก์ลดลง หันมาใช้หน่วยความจำที่เรียกว่าโซลิดสเตตแทนกลุ่มก่อสร้างสดใสจากโครงการรัฐ

ส่วนอุตสาหกรรมที่มีแนวโน้มขยายตัวได้รองลงมา คือ วัสดุก่อสร้าง เช่น ปูนซีเมนต์, เหล็ก, กระเบื้องปูพื้น, หลังคา, กระจก และเซรามิก เพราะการเบิกจ่ายงบฯลงทุนของภาครัฐ และการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมขนส่ง รวมทั้งกลุ่มอุตสาหกรรมปิโตรเคมียังขยายตัวได้โดยเฉพาะธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ ทำให้ความต้องการวัตถุดิบเม็ดพลาสติกมีเพิ่มขึ้น

โดยตลาดหลักคือ จีน และประเทศในกลุ่มอาเซียน รวมถึงกลุ่มเฟอร์นิเจอร์ที่คาดว่าจะขยายตัวร้อยละ 5 เพราะผู้ประกอบการเริ่มปรับแผนการตลาดเน้นสินค้าไลฟ์สไตล์ที่มีดีไซน์เพื่อจับตลาดบน รวมทั้งวางแผนรุกตลาดในกลุ่มประเทศเมียนมาร์, ลาว และกัมพูชา

ด้านอุตสาหกรรมหนังและผลิตภัณฑ์หนังคาดว่ายังพอขยายตัวได้ตามตลาดภายในประเทศที่จะเริ่มฟื้นตัวตามการขยายตัวของเศรษฐกิจ ขณะที่ภาคการส่งออกอาจจะเติบโตได้บ้าง เนื่องจากตลาดหลักคือตลาดยุโรป

กลุ่มสิ่งทอย้ายฐาน

ส่วนอุตสาหกรรมที่ยังต้องจับตาการขยายตัว คือ สิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม โดยเฉพาะสิ่งทอซึ่งขณะนี้ผู้ประกอบการไทยหันไปตั้งฐานการผลิตในประเทศเพื่อนบ้านมากขึ้น เพราะเป็นอุตสาหกรรมที่ต้องใช้แรงงานจำนวนมาก แต่ค่าแรงงานของไทยสูงกว่าเพื่อนบ้าน ทำให้ต้นทุนสูงกว่า ขณะที่เครื่องนุ่งห่มยังพอขยายตัวได้ ตามความต้องการของประเทศคู่ค้า

ทั้งนี้ ภาพรวมของปี"58 ภาคเอกชนมองว่าจะขยายตัวร้อยละ 3.5-4 ซึ่ง "ต่ำกว่า" เป้าที่สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) ตั้งเป้าไว้ที่ร้อยละ 4.1 เนื่องจากเศรษฐกิจโลกยังมีความเสี่ยง โดยเฉพาะวิกฤตการณ์ค่าเงินรูเบิลของรัสเซียตกต่ำ ทำให้รัสเซียยุติการนำเข้าสินค้าจากไทยในประเภทสินค้าเกษตร อาหาร อัญมณี และรถยนต์

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น