ข้อเขียนต่อไปนี้ นำมาจาก facebook ของคุณหมอ ผู้ที่สนใจ สามารถเข้าไปอ่านเพิ่มเติมหัวข้ออื่นๆ ได้ SET Insight นำมาเผยแพร่ เพื่อให้ใช้ศึกษาอ้างอิงกันกว้างขวางได้ ขอขอบคุณคุณหมอพงศ์ศักดิ์ ธรรมธัชอารี ที่กรุณาเผยแพร่ขุมทรัพย์แห่งปัญญาให้พวกเราได้เรียนรู้ครับ

วันนี้ผมจะเขียนเรื่อง ที่ผมเจอหุ้น AOT ได้อย่างไร ประมาณ q3 2011 มีข่าวลงในหนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ โดยรองกรรมการ ผจก ใหญ่ฝ่ายพัฒนาธุรกิจ AOT ชื่อคุณ นิตินัย ให้ข่าวว่า จะขอปรับค่า ธรรมเนียมการใช้สนามบิน กับ กบร โดยเพิ่ม ผู้โดยสาร ตปท จาก 700 เป็น 800 ผู้โดยสาร ในประเทศจาก 100 เป็น 250 เนื่องจากต้องมีการลงทุน สุวรรณภูมิเฟส 2

ผมได้ลองประเมินว่าถ้า มีการปรับ psc จริงจะมีผลดีขนาดไหน ขณะนั้นค่า psc ประมาณ ปีละ 10000 ล้าน เป็นจาก ผู้โดยสาร ตปท 90% ในประเทศ 10% คำนวนแล้วพบจะเพิ่มกำไรก่อนภาษี 2800 ล้าน หลังภาษี 2000 ล้าน ขณะนั้นกำไรของ AOT ปีละ 2500 ล้าน หรือเพิ่ม 80% อละเป็นการเพิ่มตลอดไป ประเด็นนี้เป็นจุดเปลี่ยนหรือ value driver ให้ผมศึกษาบริษัทเพิ่ม

ผมพบว่า AOT จะมี value driver อีกหลายอย่างมาก หนึ่งในนั้นคือ กรุงเทพ เป็นเมืองท่องเที่ยวติดอันดับโลก แต่กรุงเทพ เจอ perfect storm 3 ปีซ้อน คือ ไข้หวัด 2009 พอ 2010 2011 ก็เจอ เสื้อเหลือง เสื้อแดง เหตุการณ์ปิดยึดสนามบิน ปี 2011 ประเทศผ่านการเลือกตั้งโดยสงบ โดยธรรมชาติ การท่องเที่ยวจะกลับมาเร็ว และ ครั้งนี้ผมคาดว่าจะแรงด้วย จากการอั้นมา 3 ปี ปกติ องค์กรณ์การบินระหว่างประเทศ ประเมินกรุงเทพ มีอัตราการเพิ่มของ ผู้โดยสารทางการบินปีละ 7% ผมคิดว่าจากการอั้นมานาน การท่องเที่ยวปี 2011 มีโอกาสโตได้ 10% รายได้ปี 2010 ของ AOT ประมาณ 24000 ล้าน ถ้ารายได้ โต 10% คือ 2400 ล้าน ขณะทีค่าใช้จ่าย โตน้อยกว่ามาก เป็นลักษณะของธุรกิจ high leverage โดย fix cost เป็นค่าเสื่อม 40% ของค่าใช้จ่าย หรือประมาณ ปีละ 8000 ล้าน ผมประเมินรายได้ที่เพิ่ม โดยรายจ่ายเพิ่มน้อยกว่า น่าจะมีผลต่อกำไรประมาณ 1400 -1500 ล้าน

Value driver ตัวต่อไป ของ AOT ที่ low cost airline boom ซึ่งช่วงนั้น เป็นช่วงเริ่มต้นระยะแรก ของ low cost airline ซึ่งแน้วโน้มเห็นชัดเจนว่า จะเกิดการเดินทางเพิ่มอย่างมาก จากคนชั้นกลางที่สามารถ afford ค่าโดยสารที่ถูกลง

นอกจากนี้ ผมยังพบว่า การเปิด AEC ในระยะอันใกล้ จะเป็นตัวกระตุ้น การเดินทางให้เพิ่มขึ้นอีกมาก

สิ่งหนึ่งที่ผมพบ แต่ยังมองไม่ออกในขณะนั้น คือ ดอนเมือง ซึ่งเป็น hidden asset ที่สำคัญ โดยไม่รู้นโยบาย ของรัฐว่าจะสนับสนุน double airport หรือไม่ ข่าวส่วนใหญ่ตอนนั้น มีแน้วโน้ม ให้ใช้เงินสร้าง สุวรรณภูมิเฟส 2

ขณะนั้น market cap ของ aot แค่ 53000 ล้าน กำไร 2500 ล้าน ผู้โดยสารกำลังเต็ม capacity จองสนามบิน 45 ล้านคน โอกาสที่กำไรจะเพิ่มจาก value driver หลายตัวที่รออยู่ พร้อมความเสี่ยงที่ไม่มาก ผมจึงตัดสินใจลงทุน

ภายหลังการวิเคราะห์ มีเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นจริง และ เหตุการณ์ที่ไม่เกิดขึ้น โชคดีของการมี value driver หลายอย่าง เหตุการณ์นี้ เป็นหนึ่งบทเรียนการลงทุน จองการมองหา value driver หลายๆตัว

ผมจะสรุปเหตุการณ์ต่อมา การปรับ psc ไม่เกิดขึ้น การเพิ่มของ ผู้โดยสารดีกว่าคาด และ ทีคาดไม่ถึง คือ การเพิ่มของผู้โดยสารจีน และ รัสเซีย low cost airline boom เกิดขึ้นจริง การเกิด AEC ผมประเมินว่ายังไม่ significant ต่อจำนวน ผู้โดยสารมาก และ สิ่งที่ไม่ได้คาดหวังมาก แต่เกิดขึ้น คือการเกิด dual airport เนื่องจากเป็น fight บังคับที่รัฐ ไม่มีทางเลือกในขณะนั้น เนื่องจาก สุวรรณภูมิล้นจนเกือบแตก การเปิดดอนเมืองเป็นการเพิ่ม value ให้ aot อย่างน้อย 100000 ล้าน เพราะการสร้าง สนามบินเพื่อรองรับ ผู้โดยสาร 35 ล้านคน ต้องใช้งบ 100000 ล้าน แต่ดอนเมืองมีค่าเสื่อมเหลือแค่ 4500 ล้าน (ข้อสังเกตุของผมอีกอย่างคือ ผมไม่เคยได้ยินข่าวการซ่อมพื้นรันเวย์ของสนามบินดอนเมืองเลย ทั้งที่เปิดใช้มา 30 ปีแล้ว ขณะที่ สนามบินสุวรรณภูมิเปิดมา 5 ปี เริ่มมีข่มวการซ่อมพื้นรันเวย์เป็นระยะ ผมคิดว่าน่าจะเกิดจากการถมที่ ที่เป็นหนองน้ำที่สุวรรณภูมิส่วนหนึ่ง อีกส่วนที่อดคิดไม่ได้ ว่าการก่อสร้างพื้นรันเวย์ดอนเมืองมีประสิทธิภาพดีกว่า)

ปล. ผมเห็นโอกาส ของธุรกิจ สนามบินดีๆ ใน ตปท ที่น่าจะปรับใช้ เพื่อเพิ่ม value ให้ AOT คือ เรื่อง airport city ทำให้รอบสนามบินเป็นแหล่งที่มีกิจกรรมการค้า เกิดขึ้น เนื่องจากรอบสนามบินมีพื้นที่เหลือมาก

อีกประเด็นที่ผมอยากเห็น เมื่อหมดสัญญาสัมปทาน ร้าน duty free จะมีการเปิดประมูลเช่นเดียวกับ ดอนเมือง

สุดท้ายที่ผมแชร์เรื่องนี้ เพื่อเป็นกรณีศึกษา ในอดีต ราคาหลักทรัพย์ในปัจจุบัน ขึ้นกับการคำนวนของแต่ละท่าน ผมไม่มีคำแนะนำใดๆทั้งสิ้นนะครับ