ข่าวหุ้น - กระบอกเสียงอิสระแห่งตลาดทุน:: จะตอบคำถามชาวโลกอย่างไร
คอลัมน์ วันอังคารที่ 05 สิงหาคม 2557
ผู้เข้าชม : 5 คน
กระเหี้ยนกระหือรือกันจัง ที่จะทำการล้มประมูลโรงไฟฟ้า IPP ขนาด 5,000 เมกะวัตต์ให้จงได้ โดยอาศัยอำนาจพิเศษของคสช.เป็นเครื่องมือ
ผู้ชนะการประมูลคือบริษัทอินดิเพนเด้นท์ เพาเวอร์ ดีเวลลอปเม้นท์ ซึ่งเป็นบริษัทร่วมทุนในสัดส่วน 51:49 ระหว่างบริษัทกัลฟ์ เพาเวอร์ ดีเวลลอปเม้นท์กับบริษัทมิตซุยแห่งประเทศญี่ปุ่น
ประมูลกันไปเมื่อเดือนธ.ค. 55 มาตัดสินผลประมูลเอาในเดือนมิถุนายน 2556 และได้เซ็นสัญญารับซื้อไฟกับการไฟฟ้าฝ่ายผลิตฯเป็นที่เรียบร้อยแล้ว กำหนดจ่ายไฟเข้าระบบตั้งแต่ปี2564-2573
ถือเป็นครั้งที่ 3 ของประเทศไทยแล้วสำหรับการประมูลโรงไฟฟ้าขนาดใหญ่หรือ IPP ที่ได้ชื่อว่าเป็นการประมูลที่ยุติธรรมและโปร่งใสมากที่สุด
เพราะไม่มีอำนาจการเมืองเข้ามาเกี่ยวข้องด้วยเลย!
การจัดทำร่างประมูลทีโออาร์และการตัดสินผลประมูล ดำเนินการโดยคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงานไฟฟ้าหรือกกพ. ซึ่งเป็นหน่วยงานอิสระไม่ขึ้นต่ออำนาจฝ่ายการเมือง เฉกเช่นเดียวกับระบบของกสทช.
ผิดกับการประมูล 2 ครั้งก่อนหน้านี้ ที่ดำเนินการโดยกระทรวงพลังงาน
รูปแบบการประมูล ก็มีการปรับปรุงตามแบบการประมูลนานาชาติ เพื่อป้องกันปัญหาเรื่องการใช้ “ดุลพินิจ” เข้ามาเกี่ยวข้อง โดยการแบ่งประมูลเป็น 2 ขั้นตอน คือ การพิจารณาด้านเทคนิค และราคา
การพิจารณาด้านเทคนิค ไม่มีคะแนน มีแต่ผ่านหรือไม่ผ่าน พอเข้ารอบประมูลราคา ก็ตัดสินกันที่ราคา ใครเสนอราคาต่ำสุดก็เป็นผู้ชนะประมูลไป
การปรับปรุงรูปแบบการประมูลเช่นนี้ เป็นรูปแบบที่นานาชาตินิยมทำกัน เพราะจะสามารถตัดปัญหาการร้องเรียนในเรื่องที่ผู้เสนอราคาต่ำสุด ไม่ได้ถูกคัดเลือดเป็นผู้ชนะการประมูลได้โดยสิ้นเชิง
การประมูลก็มีการเปิดเผยในทีโออาร์โดยชัดแจ้งเป็น 2 ข้อเสนอ (พรอพโพซัล) ได้ว่า จะเสนอแบบรายเดียวทั้ง 5,000 เมกะวัตต์ หรือเสนอหลายรายให้ครบถ้วนตามความต้องการคือ 5,400 เมกะวัตต์
บริษัทอินดิเพนเด้นท์ เพาเวอร์ฯ ที่ยื่นข้อเสนอทั้ง 2 แบบ คือรายเดียวหรือหลายราย จึงชนะไปในรูปแบบรายเดียว ที่เสนอราคาค่าไฟฟ้าต่ำสุดที่หน่วยละ 4.23 บาท ในขณะที่รายอื่นเสนอค่าไฟหน่วยละ 4.26 บาท
ถูกกว่ากัน 3 สตางค์แค่เนี้ย แต่ทำให้ประชาชนประหยัดค่าไฟฟ้าไปได้ถึง 3 หมื่นล้านบาทในช่วงเวลา 25 ปี จึงไม่มีเหตุผลอื่นใดเลยที่กกพ.ซึ่งมีศ.ดร.ดิเรก เลาวัณย์ศิริเป็นประธาน จะไม่ตัดสินให้บริษัทอินดิเพนเด้นท์ เพาเวอร์ฯหรือไอพีดีเป็นผู้ชนะประมูล
เรื่องราวก็เป็นมาแบบนี้ แต่ขณะนี้กำลังมีกลุ่มฝ่ายรวมทั้งกลุ่มบริษัทผู้สูญเสียประโยชน์ กำลังวิ่งเต้นหาทางล้มการประมูลโรงไฟฟ้าไอพีพี 5,000 เมกะวัตต์กันทุกวิถีทาง
โดยอาศัยอำนาจพิเศษของคสช.เป็นเครื่องมือ
หาเรื่องล้มกันสารพัดข้อหา ทั้งกล่าวโทษว่ามีการล็อกสเปกให้ชนะประมูลแบบผูกขาดเจ้าเดียว การประมูลไม่เป็นอิสระเพราะเกิดขึ้นในยุคยิ่งลักษณ์
กระทั่งไม่รู้จะกล่าวหาอะไรแล้ว ก็เหมารวมว่า บริษัทอินดิเพนเด้นท์ เพาเวอร์ ดีวิลอปเม้นท์ เป็น “นอมินีทักษิณ”
ยุคนี้ จะทำอะไรก็ขอให้คำนึงถึงความเป็นธรรมกันบ้าง โดยเฉพาะอย่างยิ่งบริษัทที่อาจจะถูกล้มประมูล ก็เป็นบริษัทร่วมทุนกับมิตซุยแห่งประเทศญี่ปุ่น ซึ่งเป็นบริษัทยักษ์ใหญ่ข้ามชาติระดับ ไม่ใช่บริษัทต่างชาติโนเนมที่ไหนเลย
ถ้าไม่แคร์คำถามของชาวโลกถึงความเชื่อมั่นในการลงทุน ก็เชิญตามสบายเถิดพระเดชพระคุณ
คอลัมน์ วันอังคารที่ 05 สิงหาคม 2557
ผู้เข้าชม : 5 คน
กระเหี้ยนกระหือรือกันจัง ที่จะทำการล้มประมูลโรงไฟฟ้า IPP ขนาด 5,000 เมกะวัตต์ให้จงได้ โดยอาศัยอำนาจพิเศษของคสช.เป็นเครื่องมือ
ผู้ชนะการประมูลคือบริษัทอินดิเพนเด้นท์ เพาเวอร์ ดีเวลลอปเม้นท์ ซึ่งเป็นบริษัทร่วมทุนในสัดส่วน 51:49 ระหว่างบริษัทกัลฟ์ เพาเวอร์ ดีเวลลอปเม้นท์กับบริษัทมิตซุยแห่งประเทศญี่ปุ่น
ประมูลกันไปเมื่อเดือนธ.ค. 55 มาตัดสินผลประมูลเอาในเดือนมิถุนายน 2556 และได้เซ็นสัญญารับซื้อไฟกับการไฟฟ้าฝ่ายผลิตฯเป็นที่เรียบร้อยแล้ว กำหนดจ่ายไฟเข้าระบบตั้งแต่ปี2564-2573
ถือเป็นครั้งที่ 3 ของประเทศไทยแล้วสำหรับการประมูลโรงไฟฟ้าขนาดใหญ่หรือ IPP ที่ได้ชื่อว่าเป็นการประมูลที่ยุติธรรมและโปร่งใสมากที่สุด
เพราะไม่มีอำนาจการเมืองเข้ามาเกี่ยวข้องด้วยเลย!
การจัดทำร่างประมูลทีโออาร์และการตัดสินผลประมูล ดำเนินการโดยคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงานไฟฟ้าหรือกกพ. ซึ่งเป็นหน่วยงานอิสระไม่ขึ้นต่ออำนาจฝ่ายการเมือง เฉกเช่นเดียวกับระบบของกสทช.
ผิดกับการประมูล 2 ครั้งก่อนหน้านี้ ที่ดำเนินการโดยกระทรวงพลังงาน
รูปแบบการประมูล ก็มีการปรับปรุงตามแบบการประมูลนานาชาติ เพื่อป้องกันปัญหาเรื่องการใช้ “ดุลพินิจ” เข้ามาเกี่ยวข้อง โดยการแบ่งประมูลเป็น 2 ขั้นตอน คือ การพิจารณาด้านเทคนิค และราคา
การพิจารณาด้านเทคนิค ไม่มีคะแนน มีแต่ผ่านหรือไม่ผ่าน พอเข้ารอบประมูลราคา ก็ตัดสินกันที่ราคา ใครเสนอราคาต่ำสุดก็เป็นผู้ชนะประมูลไป
การปรับปรุงรูปแบบการประมูลเช่นนี้ เป็นรูปแบบที่นานาชาตินิยมทำกัน เพราะจะสามารถตัดปัญหาการร้องเรียนในเรื่องที่ผู้เสนอราคาต่ำสุด ไม่ได้ถูกคัดเลือดเป็นผู้ชนะการประมูลได้โดยสิ้นเชิง
การประมูลก็มีการเปิดเผยในทีโออาร์โดยชัดแจ้งเป็น 2 ข้อเสนอ (พรอพโพซัล) ได้ว่า จะเสนอแบบรายเดียวทั้ง 5,000 เมกะวัตต์ หรือเสนอหลายรายให้ครบถ้วนตามความต้องการคือ 5,400 เมกะวัตต์
บริษัทอินดิเพนเด้นท์ เพาเวอร์ฯ ที่ยื่นข้อเสนอทั้ง 2 แบบ คือรายเดียวหรือหลายราย จึงชนะไปในรูปแบบรายเดียว ที่เสนอราคาค่าไฟฟ้าต่ำสุดที่หน่วยละ 4.23 บาท ในขณะที่รายอื่นเสนอค่าไฟหน่วยละ 4.26 บาท
ถูกกว่ากัน 3 สตางค์แค่เนี้ย แต่ทำให้ประชาชนประหยัดค่าไฟฟ้าไปได้ถึง 3 หมื่นล้านบาทในช่วงเวลา 25 ปี จึงไม่มีเหตุผลอื่นใดเลยที่กกพ.ซึ่งมีศ.ดร.ดิเรก เลาวัณย์ศิริเป็นประธาน จะไม่ตัดสินให้บริษัทอินดิเพนเด้นท์ เพาเวอร์ฯหรือไอพีดีเป็นผู้ชนะประมูล
เรื่องราวก็เป็นมาแบบนี้ แต่ขณะนี้กำลังมีกลุ่มฝ่ายรวมทั้งกลุ่มบริษัทผู้สูญเสียประโยชน์ กำลังวิ่งเต้นหาทางล้มการประมูลโรงไฟฟ้าไอพีพี 5,000 เมกะวัตต์กันทุกวิถีทาง
โดยอาศัยอำนาจพิเศษของคสช.เป็นเครื่องมือ
หาเรื่องล้มกันสารพัดข้อหา ทั้งกล่าวโทษว่ามีการล็อกสเปกให้ชนะประมูลแบบผูกขาดเจ้าเดียว การประมูลไม่เป็นอิสระเพราะเกิดขึ้นในยุคยิ่งลักษณ์
กระทั่งไม่รู้จะกล่าวหาอะไรแล้ว ก็เหมารวมว่า บริษัทอินดิเพนเด้นท์ เพาเวอร์ ดีวิลอปเม้นท์ เป็น “นอมินีทักษิณ”
ยุคนี้ จะทำอะไรก็ขอให้คำนึงถึงความเป็นธรรมกันบ้าง โดยเฉพาะอย่างยิ่งบริษัทที่อาจจะถูกล้มประมูล ก็เป็นบริษัทร่วมทุนกับมิตซุยแห่งประเทศญี่ปุ่น ซึ่งเป็นบริษัทยักษ์ใหญ่ข้ามชาติระดับ ไม่ใช่บริษัทต่างชาติโนเนมที่ไหนเลย
ถ้าไม่แคร์คำถามของชาวโลกถึงความเชื่อมั่นในการลงทุน ก็เชิญตามสบายเถิดพระเดชพระคุณ
posted from Bloggeroid
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น