ข่าวหุ้น - กระบอกเสียงอิสระแห่งตลาดทุน:: คาถาใหม่สำหรับนักลงทุนตลาดเกิดใหม่
ต่างประเทศ วันพุธที่ 02 กรกฎาคม 2557
ผู้เข้าชม : 5 คน
“ขายหุ้นประเทศที่ขาดดุล และซื้อหุ้นประเทศที่ได้ดุล” เป็นกลยุทธ์ที่มีชัยสำหรับตลาดเกิดใหม่ในปี 2556 แต่คาถาใหม่สำหรับการลงทุนในเศรษฐกิจกำลังพัฒนาในขณะนี้ อาจจะเป็น “ขายโภคภัณฑ์ แล้วซื้อภาคผลิต”
รายงานของนักกลยุทธ์ของซิตี้ระบุว่า คาถา “ขาดดุลกับได้ดุล” ไม่น่าจะ ควบคุมพฤติกรรมนักลงทุนในตลาดเกิดใหม่ได้เสมอไป โดยเฉพาะอย่างยิ่งในขณะนี้ซึ่งแนวคิดนี้เริ่มที่จะมีความเกี่ยวพันน้อยลง เนื่องจากมีการแก้ปัญหาดุลบัญชีเดินสะพัดในประเทศที่มีความเปราะบางมากที่สุดเป็นบางประเทศแล้ว
ประเทศที่ขาดดุลบัญชีเดินสะพัดอย่างเช่น บราซิล อินเดีย อินโดนีเซีย ตุรกี และแอฟริกาใต้ ซึ่งเรียกว่า Fragile Five เดือดร้อนหนักในปีที่ผ่านมาเมื่อมีความวิตกเกี่ยวกับการยกเลิกมาตรการกระตุ้นทางการเงินของธนาคารกลางสหรัฐ ในขณะที่ประเทศที่ได้ดุลบัญชีเดินสะพัด เช่น เกาหลีใต้ ฮังการี และอิสราเอล มีผลงานดี นับตั้งแต่นั้นมา ผู้กำหนดนโยบายในตลาดเกิดใหม่ได้เพิ่มความพยายามที่จะควบคุมการขาดดุลบัญชีเดินสะพัด แต่ความพยายามของพวกเขาได้ประสบความสำเร็จแตกต่างกันไป
กิลเลอร์โม มอนดิโน นักกลยุทธ์ของซิตี้ กล่าวว่า กระบวนการแก้ปัญหาขาดดุลบัญชีเดินสะพัดของบางประเทศในกลุ่ม Fragile Five น่าผิดหวังเพราะตลาดโภคภัณฑ์สร้างความผิดหวัง เช่น อินโดนีเซีย แอฟริกาใต้ และบราซิล ในขณะที่ อินเดียและตุรกี ซึ่งเป็นสองในกลุ่ม ragile Five ที่ภาคส่งออกมีสินค้าในภาคผลิตมากสุด ดูเหมือนว่าจะมีโชคในการปรับดุลการค้ามากกว่า
ตัวอย่างเช่น ในอินโดนีเซีย ช่องว่างของดุลบัญชีเดินสะพัดถ่างขึ้นเล็กน้อยในช่วงไตรมาสหนึ่งโดยเหลือ 2.06% ของจีดีพี เทียบกับ 1.98% ในช่วงสามเดือนก่อนหน้า ซิตี้ระบุว่า การส่งออกโภคภัณฑ์ที่ลดลง จะทำให้ช่องว่างของดุลบัญชีเดินสะพัดถ่างขึ้นอีก และซิตี้ได้ปรับเป้าขาดดุลบัญชีเดินสะพัดของอินโดนีเซียในปีนี้เป็น 2.8% ของจีดีพี จากเดิมอยู่ที่ 2.5%
ถ่านหินซึ่งเป็นการส่งออกใหญ่สุดของอินโดนีเซีย กำลังลดลงทั้งในแง่ของปริมาณและมูลค่า เนื่องจากราคาถ่านหินลดลง จากข้อมูลของโซซิเอเต เยเนอรัล ในช่วง 4 เดือนแรกของปีนี้ การส่งออกถ่านหินของอินโดนีเซียมีมูลค่าทั้งหมด 7,400 ล้านดอลลาร์ เทียบกับ 8,500 ล้านดอลลาร์ในช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้า
ในทางกลับกัน การขาดดุลบัญชีเดินสะพัดของอินเดียดีขึ้น เป็นเพราะว่าการนำเข้าทองคำลดลง โดยดุลบัญชีเดินสะพัดของอินเดียลดลงต่ำสุดในรอบสี่ปี โดยเหลือ 1,200 ล้านดอลลาร์ในช่วงสามเดือนแรกของปีนี้ จากที่ขาดดุล 4,200 ล้านดอลลาร์ในช่วงสามเดือนก่อนหน้า
มอนดิโน กล่าวว่า การสิ้นสุดของวงจรพิเศษของโภคภัณฑ์ เป็นแนวคิดที่คุ้นเคยกันดีในขณะนี้ แต่ดูเหมือนว่าผลที่ตามมาได้เริ่มชัดเจนมากขึ้น โดยมีภาวะเงินฝืดของราคาโภคภัณฑ์ในวงกว้าง และนี่กำลังเป็นสาเหตุให้ผู้ส่งออกโภคภัณฑ์เดือดร้อนมากกว่าผู้ผลิต
ซิตี้ได้แยกประเทศอาร์เจนตินา บราซิล ชิลี โคลัมเบีย อินโดนีเซีย เปรู รัสเซีย แอฟริกาใต้ และยูเครนเป็นประเทศส่งออกโภคภัณฑ์ ในขณะที่จีน เช็ก ฮังการี อินเดีย อิสราเอล เกาหลี เม็กซิโก มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ โปแลนด์ โรมาเนีย และตุรกี เป็นประเทศผู้ส่งออกสินค้าภาคผลิต
ในบรรดาประเทศที่ส่งออกโภคภัณฑ์ ทุกประเทศยกเว้นรัสเซียมีการส่งออกลดลงในช่วงสามเดือนที่ผ่านมา ในทางกลับกัน ในบรรดาประเทศที่ส่งออกสินค้าในภาคผลิต มีประเทศไทยเพียงประเทศเดียวที่การส่งออกโตติดลบ
“ผลจากแนวโน้มเหล่านี้ ดุลบัญชีเดินสะพัดของประเทศส่งออกโภคภัณฑ์ได้ถดถอยลงมากกว่าเศรษฐกิจ ที่ส่งออกสินค้าในภาคผลิตมาก ในขณะนี้ประเทศที่ส่งออกในภาคผลิตมีความได้เปรียบในเชิงแข่งขันมากกว่าประเทศที่ส่งออกโภคภัณฑ์” มอนดิโน กล่าว
ไนแซม ไอดริส หัวหน้าฝ่ายกลยุทธ์ รายได้คงที่ และสกุลเงินของแมคควอรี่ กรุ๊ป กล่าวว่า มีเหตุผลที่จะชื่นชอบประเทศที่ส่งออกโภคภัณฑ์มากกว่าผู้ส่งออกสินค้าในภาคผลิต เนื่องจากราคาโภคภัณฑ์น่าจะได้รับแรงกดดันเพิ่มอีกเมื่อสหรัฐเริ่มขึ้นอัตราดอกเบี้ย
อย่างไรก็ดี ไอดริสสงสัยว่า ประเทศที่ส่งออกสินค้าในภาคผลิตจะดีกว่ามากหรือไม่ในเมื่อดีมานด์ทั่วโลกยังไม่ฟื้นตัวอย่างแข็งแกร่ง
“หากการผลิตกำลังจะฟื้นตัวมาก คุณต้องการดีมานด์ทั่วโลกที่จะฟื้นตัวอย่างแข็งแกร่ง แต่จนถึงขณะนี้ มีการฟื้นตัวอย่างช้าๆ และไม่เพียงพอสำหรับผู้ผลิตที่จะเร่งความเร็ว” ไอดริส กล่าว
ต่างประเทศ วันพุธที่ 02 กรกฎาคม 2557
ผู้เข้าชม : 5 คน
“ขายหุ้นประเทศที่ขาดดุล และซื้อหุ้นประเทศที่ได้ดุล” เป็นกลยุทธ์ที่มีชัยสำหรับตลาดเกิดใหม่ในปี 2556 แต่คาถาใหม่สำหรับการลงทุนในเศรษฐกิจกำลังพัฒนาในขณะนี้ อาจจะเป็น “ขายโภคภัณฑ์ แล้วซื้อภาคผลิต”
รายงานของนักกลยุทธ์ของซิตี้ระบุว่า คาถา “ขาดดุลกับได้ดุล” ไม่น่าจะ ควบคุมพฤติกรรมนักลงทุนในตลาดเกิดใหม่ได้เสมอไป โดยเฉพาะอย่างยิ่งในขณะนี้ซึ่งแนวคิดนี้เริ่มที่จะมีความเกี่ยวพันน้อยลง เนื่องจากมีการแก้ปัญหาดุลบัญชีเดินสะพัดในประเทศที่มีความเปราะบางมากที่สุดเป็นบางประเทศแล้ว
ประเทศที่ขาดดุลบัญชีเดินสะพัดอย่างเช่น บราซิล อินเดีย อินโดนีเซีย ตุรกี และแอฟริกาใต้ ซึ่งเรียกว่า Fragile Five เดือดร้อนหนักในปีที่ผ่านมาเมื่อมีความวิตกเกี่ยวกับการยกเลิกมาตรการกระตุ้นทางการเงินของธนาคารกลางสหรัฐ ในขณะที่ประเทศที่ได้ดุลบัญชีเดินสะพัด เช่น เกาหลีใต้ ฮังการี และอิสราเอล มีผลงานดี นับตั้งแต่นั้นมา ผู้กำหนดนโยบายในตลาดเกิดใหม่ได้เพิ่มความพยายามที่จะควบคุมการขาดดุลบัญชีเดินสะพัด แต่ความพยายามของพวกเขาได้ประสบความสำเร็จแตกต่างกันไป
กิลเลอร์โม มอนดิโน นักกลยุทธ์ของซิตี้ กล่าวว่า กระบวนการแก้ปัญหาขาดดุลบัญชีเดินสะพัดของบางประเทศในกลุ่ม Fragile Five น่าผิดหวังเพราะตลาดโภคภัณฑ์สร้างความผิดหวัง เช่น อินโดนีเซีย แอฟริกาใต้ และบราซิล ในขณะที่ อินเดียและตุรกี ซึ่งเป็นสองในกลุ่ม ragile Five ที่ภาคส่งออกมีสินค้าในภาคผลิตมากสุด ดูเหมือนว่าจะมีโชคในการปรับดุลการค้ามากกว่า
ตัวอย่างเช่น ในอินโดนีเซีย ช่องว่างของดุลบัญชีเดินสะพัดถ่างขึ้นเล็กน้อยในช่วงไตรมาสหนึ่งโดยเหลือ 2.06% ของจีดีพี เทียบกับ 1.98% ในช่วงสามเดือนก่อนหน้า ซิตี้ระบุว่า การส่งออกโภคภัณฑ์ที่ลดลง จะทำให้ช่องว่างของดุลบัญชีเดินสะพัดถ่างขึ้นอีก และซิตี้ได้ปรับเป้าขาดดุลบัญชีเดินสะพัดของอินโดนีเซียในปีนี้เป็น 2.8% ของจีดีพี จากเดิมอยู่ที่ 2.5%
ถ่านหินซึ่งเป็นการส่งออกใหญ่สุดของอินโดนีเซีย กำลังลดลงทั้งในแง่ของปริมาณและมูลค่า เนื่องจากราคาถ่านหินลดลง จากข้อมูลของโซซิเอเต เยเนอรัล ในช่วง 4 เดือนแรกของปีนี้ การส่งออกถ่านหินของอินโดนีเซียมีมูลค่าทั้งหมด 7,400 ล้านดอลลาร์ เทียบกับ 8,500 ล้านดอลลาร์ในช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้า
ในทางกลับกัน การขาดดุลบัญชีเดินสะพัดของอินเดียดีขึ้น เป็นเพราะว่าการนำเข้าทองคำลดลง โดยดุลบัญชีเดินสะพัดของอินเดียลดลงต่ำสุดในรอบสี่ปี โดยเหลือ 1,200 ล้านดอลลาร์ในช่วงสามเดือนแรกของปีนี้ จากที่ขาดดุล 4,200 ล้านดอลลาร์ในช่วงสามเดือนก่อนหน้า
มอนดิโน กล่าวว่า การสิ้นสุดของวงจรพิเศษของโภคภัณฑ์ เป็นแนวคิดที่คุ้นเคยกันดีในขณะนี้ แต่ดูเหมือนว่าผลที่ตามมาได้เริ่มชัดเจนมากขึ้น โดยมีภาวะเงินฝืดของราคาโภคภัณฑ์ในวงกว้าง และนี่กำลังเป็นสาเหตุให้ผู้ส่งออกโภคภัณฑ์เดือดร้อนมากกว่าผู้ผลิต
ซิตี้ได้แยกประเทศอาร์เจนตินา บราซิล ชิลี โคลัมเบีย อินโดนีเซีย เปรู รัสเซีย แอฟริกาใต้ และยูเครนเป็นประเทศส่งออกโภคภัณฑ์ ในขณะที่จีน เช็ก ฮังการี อินเดีย อิสราเอล เกาหลี เม็กซิโก มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ โปแลนด์ โรมาเนีย และตุรกี เป็นประเทศผู้ส่งออกสินค้าภาคผลิต
ในบรรดาประเทศที่ส่งออกโภคภัณฑ์ ทุกประเทศยกเว้นรัสเซียมีการส่งออกลดลงในช่วงสามเดือนที่ผ่านมา ในทางกลับกัน ในบรรดาประเทศที่ส่งออกสินค้าในภาคผลิต มีประเทศไทยเพียงประเทศเดียวที่การส่งออกโตติดลบ
“ผลจากแนวโน้มเหล่านี้ ดุลบัญชีเดินสะพัดของประเทศส่งออกโภคภัณฑ์ได้ถดถอยลงมากกว่าเศรษฐกิจ ที่ส่งออกสินค้าในภาคผลิตมาก ในขณะนี้ประเทศที่ส่งออกในภาคผลิตมีความได้เปรียบในเชิงแข่งขันมากกว่าประเทศที่ส่งออกโภคภัณฑ์” มอนดิโน กล่าว
ไนแซม ไอดริส หัวหน้าฝ่ายกลยุทธ์ รายได้คงที่ และสกุลเงินของแมคควอรี่ กรุ๊ป กล่าวว่า มีเหตุผลที่จะชื่นชอบประเทศที่ส่งออกโภคภัณฑ์มากกว่าผู้ส่งออกสินค้าในภาคผลิต เนื่องจากราคาโภคภัณฑ์น่าจะได้รับแรงกดดันเพิ่มอีกเมื่อสหรัฐเริ่มขึ้นอัตราดอกเบี้ย
อย่างไรก็ดี ไอดริสสงสัยว่า ประเทศที่ส่งออกสินค้าในภาคผลิตจะดีกว่ามากหรือไม่ในเมื่อดีมานด์ทั่วโลกยังไม่ฟื้นตัวอย่างแข็งแกร่ง
“หากการผลิตกำลังจะฟื้นตัวมาก คุณต้องการดีมานด์ทั่วโลกที่จะฟื้นตัวอย่างแข็งแกร่ง แต่จนถึงขณะนี้ มีการฟื้นตัวอย่างช้าๆ และไม่เพียงพอสำหรับผู้ผลิตที่จะเร่งความเร็ว” ไอดริส กล่าว
posted from Bloggeroid
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น