ข่าวหุ้น - กระบอกเสียงอิสระแห่งตลาดทุน:: หุ้นเน่าในตลาดขาขึ้น
คอลัมน์ วันอังคารที่ 08 กรกฎาคม 2557
ผู้เข้าชม : 8 คน
คำถามว่าดัชนีจะปรับฐานใหญ่เมื่อใด และตลาดหุ้นเหนือ 1,500 จุด เข้าข่ายฟองสบู่หรือยัง เป็นคำถามที่ท้าทายนักลงทุนประเภทเห็นนักวิเคราะห์เป็นศาสดา ต้องใส่ใจมากเป็นพิเศษ แม้ว่าจะมีการปรับฐานจริงหรือไม่ก็ตาม
คำถามดังกล่าว เป็นเครื่องเตือนสติได้ดีว่า แม้ในโอกาสที่สภาวะของตลาดเป็นขาขึ้น โอกาสที่นักลงทุนจะขาดทุนจากความเสี่ยงที่ทั้งก่อเองหรือไม่ได้ก่อ ก็เป็นไปได้ทั้งสิ้น ต้องไม่ตกอยู่ในความประมาท
เหตุผลหลักคือ นักลงทุนไม่ได้ซื้อขายดัชนี (ยกเว้นพวกเล่นตราสารอนุพันธ์ประเภท TFEX ที่ผู้จัดการตลาดหุ้นไทยยามนี้ ช่ำชองและอยู่เบื้องหลังมาตั้งแต่ต้น) แต่ซื้อหุ้นรายตัว โดยวางรากฐานจากผลประกอบการเป็นสำคัญ มีสัญญาณทางเทคนิคเป็นตัวชี้นำ
ทุภาษิตเก่าแก่ฝรั่งประโยคหนึ่งที่ฝรั่งเอามาใช้เทียบเคียงกับความเสี่ยงของตลาดหุ้นยามขาขึ้น มีอยู่ว่า “A rising tide lifts all boats” หมายถึง ยามน้ำขึ้น เรือทุกลำย่อมลอยสูง แม้กระทั่งเรือก้นรั่ว (ที่ยังไม่จม เพราะทำด้วยวัสดุที่ลอยน้ำได้) ซึ่งคำนี้ใช้อธิบายปรากฏการณ์ตลาดหุ้นยามเข้าสู่ภาวะกระทิงไม่ว่าแท้หรือเทียมได้ทั้งนั้น
นักลงทุนที่เล่นหุ้นบลูชิพจนกำไรพอสมควรบางตัวที่เลือกสรรไว้แล้ว ก็ขายทำกำไรออกไป เพื่อหาตัวใหม่เล่น แต่ยามที่ตลาดเป็นขาขึ้น ย่อมต้องอดทนซื้อหุ้นที่เริ่มทะยานออกจากฐานแล้วที่มีความสุ่มเสี่ยงมากกว่าเดิม หากยังทำกำไรได้อีกก็ขายทิ้งอีกครั้ง แล้วหาหุ้นตัวใหม่ คราวนี้หาหุ้นที่พื้นฐานดี ราคาต่ำค่อนข้างยากแล้ว หากจะลงทุนเก็งกำไรอีกรอบก็ต้องเลือกหุ้นที่พื้นฐานแย่กว่า แต่ยังราคาต่ำแทน โดยอาศัยข่าวลือและฐานความเชื่อส่วนบุคคลผสมกันว่า ในภาวะหุ้นเป็นขาขึ้นทั้งตลาดนี้ ซื้อหุ้นตัวไหนก็เสมือน “ปาเป้า” กันทั้งนั้น
การซื้อหุ้นในยามตลาดเป็นขาขึ้น เมื่อค่าพี/อีของหุ้นแต่ละตัวค่อนข้างสูง เป็นความเสี่ยงชนิดหนึ่ง เพราะหากหลง
ระเริงด้วยความเชื่อว่า ตลาดหุ้นจะขึ้นไปเรื่อยๆไม่สิ้นสุด ก็อาจจะพลาดพลั้งเพราะคนที่เชื่อว่าตัวเองสามารถเข้าออกจากตลาดได้เร็วกว่าคนอื่น พากันเจ๊งไปนักต่อนักแล้วเพราะเอาเข้าจริงไม่สามารถทำได้ตามต้องการ
ผลลัพธ์ในการลงทุนในช่วงตลาดมีความเสี่ยงใกล้จะพับฐานในขั้นตอนสุดท้าย ก่อนตลาดทิ้งดิ่งลงมา คือการเสี่ยงภัยครั้งสำคัญ จะเรียกว่า เป็นการสร้างมิตรกับความเสี่ยงก็ได้ เพราะอาจจบลงด้วยกำไรหลายครั้งของรอบขาขึ้นที่ผ่านมา ไม่เพียงแต่หดหายไป หากยังพาเอาต้นทุนที่ลงไปก่อนพลอยหดหายไป ไม่มากก็น้อย
ภาวะเช่นนี้ นักลงทุนจำนวนมากเคยจ่าย “ค่าโง่” กันมาแล้วทั้งสิ้น ถือเป็น “เส้นประสบการณ์”ของการลงทุนเก็งกำไรในตลาดหุ้นที่แม้ไม่อยากเจอ แต่ก็ดูเหมือนจะเลี่ยงไม่พ้น ที่ร้ายไปกว่านั้นก็คือ ค่าโง่ที่ต้องจ่ายนั้น ถือเป็นต้นทุนที่ต้องก้าวผ่าน ไม่มีใครสามารถเรียนลัดได้ ประเด็นมีอยู่เพียงแค่ว่าผ่านแล้วเจ็บตัวมากหรือน้อยกว่ากันเท่านั้นเอง
คำถามที่นักลงทุนเก็งกำไรต้องมุ่งมั่นหาคำตอบให้ได้ ก็คือว่า การหลบเลี่ยงความเสี่ยงจากการซื้อ “เรือรั่ว” ในยาม “น้ำขึ้น” จะทำอย่างไรกัน
ตอบง่ายๆ แบบกำปั้นทุบดินซึ่งนักทฤษฎีทั้งหลายชอบใช้กันบ่อยครั้งคือ ต้องเรียนรู้วิธีลดความเสี่ยงที่ถูกต้อง ก็จะมีคำถามตามมาว่า แล้วเจ้าความเสี่ยงที่ถูกต้อง หรือ ความเสี่ยงที่ผิดพลาดนั้น มันคืออะไรกันหว่า
ในยุคที่ข้อมูลทั้งหลายในโลกนี้แต่ละนาทีที่ถูกผลิตขึ้นมาโดยมนุษย์มีมากเหลือคณานับ และส่วนใหญ่เป็นข้อมูลขยะ ที่ทำให้เราค่อนข้างงุนงงสงสัยกันว่า ข้อมูลที่ดีและเป็นประโยชน์นั้น มันอยู่ตรงไหนกันบ้าง และจะแยกแยะมายาออกจากสัจจะได้อย่างไรกัน ความไม่สมบูรณ์ของข้อมูลคือความไม่แน่นอนและความเสี่ยงพร้อมกันไป แต่ก็ยังแฝงด้วยโอกาสเช่นกัน
ตลาดหุ้น เป็นหนึ่งในกลไกสำคัญที่ผู้กุมอำนาจรัฐ (ไม่ว่าจะอ้างตนเป็นผู้ทรงคุณธรรมแค่ไหน) นำมาแอบอ้างใช้เสมอว่า เมื่อใดก็ตามที่ตลาดหุ้นทะยานขึ้นแข็งแรง ก็เป็นสัญญาณที่ดีว่า รัฐบาลมีความสามารถด้านการบริหารเศรษฐกิจสูง และบรรดานักวิเคราะห์หุ้นหรือสื่อก็จะชื่นชอบที่จะยกเรื่องนี้ขึ้นมา หากต้องการสอพลอรัฐบาล แต่ในมุมตรงกันข้าม หากไม่ชอบขี้หน้ารัฐบาล ก็จะเปลี่ยนไปเป็นมุมมองว่า ตลาดหุ้นเข้าสู่ภาวะฟองบู่ เป็นมุมมองที่ขึ้นกับการเลือกนำมาอ้างอิงอย่างมีอคติ
โดยธรรมชาติแล้ว กฎของการแสวงหากำไรในตลาดหุ้นในระยะสั้น อาจจะต่างจากกฎของการทำกำไรของธุรกิจ ทั้งในด้านเป้าหมาย เงื่อนเวลาและรายละเอียดได้ ซึ่งนักลงทุนต้องทำความเข้าใจเป็นปฐมเสียก่อน
การแสวงหากำไรและการเก็งกำไรในตลาดหุ้น ล้วนเริ่มต้นที่การพิจารณาแบกรับความเสี่ยง และผลตอบแทนของความเสี่ยง โดยนักเก็งกำไรใส่ใจกับส่วนต่างราคามากกว่าผลประกอบการ โดยแยกความสามารถทำกำไรจากส่วนต่างราคา ออกจากความสามารถทำกำไรของกิจการ จากนั้นก็แข่งกับตัวเองและอารมณ์ของตลาดโดยยินยอมเผชิญหน้ากับความเสี่ยงบนฐานข้อมูลที่เชื่อว่าแม่นยำ
นักเก็งกำไรในตลาดหุ้นมักเลือกซื้อหุ้นที่มีราคาในอนาคตสูงขึ้น โดยไม่จำเป็นต้องเป็นหุ้นของกิจการที่ดีเสมอไป ตราบใดที่ยังทำกำไรจากการซื้อขายหุ้นนั้นได้ การเป็นมิตรกับความสุ่มเสี่ยง ทำให้บางครั้งสามารถเผอเรอละทิ้งการควบคุมเงินตนเอง ตกอยู่ในกับดักของความหลงผิดที่ว่า การแสวงหากำไรมีความเสี่ยงต่ำกว่าการทำกำไร ทั้งที่ข้อมูลเชิงสถิติ สามารถยืนยันว่าการแสวงหากำไรหรือทำกำไรนั้นมีหลายระดับ ขึ้นกับพฤติกรรม หรือ ช่วงเวลา เป็นสำคัญ
กุญแจสำคัญจึงอยู่ที่ การทำความเข้าใจและค้นหาความเชื่อมโยงหลายเส้าระหว่างการแสวงหาหรือทำกำไรที่โยงเข้ากับข้อมูลข่าวสารที่เกี่ยวข้อง ให้รู้ว่า ในยามน้ำขึ้นนั้น เรือที่ลอยลำบางลำ ไม่ใช่เรือที่ดี พร้อมจะจมได้เสมอ และเรือที่ดีนั้น ต้องผ่านการตรวจสอบว่าดีจริงด้วยกลไกหลายๆ อย่างที่รอบด้านและลึกซึ้ง
ความเสี่ยง และผลตอบแทนของการเก็งกำไรในตลาดหุ้นโดยเฉพาะในช่วงที่ดัชนียืนเหนือ 1,500 จุดอีกครั้ง และขึ้นมาจากระดับฐานที่ 1,280 จุดเมื่อต้นเดือนมกราคมปีนี้ โดยไม่ได้ปรับฐานใหญ่ แต่มีพักบ้างเป็นระยะเล็กๆนั้น เปิดช่องให้นักลงทุนหลงทางเข้าซื้อหุ้นเน่ายามตลาดขาขึ้นได้ง่ายมาก
เหตุผลหลักก็เพราะไม่ยอมเหลือบชำเลืองดูค่า พี/อี ของหุ้นเสียเลยด้วยซ้ำ ทั้งที่เป็นเรื่องง่ายแสนง่ายในการหลบเลี่ยงลงเรือก้นรั่วยามน้ำขึ้น
คอลัมน์ วันอังคารที่ 08 กรกฎาคม 2557
ผู้เข้าชม : 8 คน
คำถามว่าดัชนีจะปรับฐานใหญ่เมื่อใด และตลาดหุ้นเหนือ 1,500 จุด เข้าข่ายฟองสบู่หรือยัง เป็นคำถามที่ท้าทายนักลงทุนประเภทเห็นนักวิเคราะห์เป็นศาสดา ต้องใส่ใจมากเป็นพิเศษ แม้ว่าจะมีการปรับฐานจริงหรือไม่ก็ตาม
คำถามดังกล่าว เป็นเครื่องเตือนสติได้ดีว่า แม้ในโอกาสที่สภาวะของตลาดเป็นขาขึ้น โอกาสที่นักลงทุนจะขาดทุนจากความเสี่ยงที่ทั้งก่อเองหรือไม่ได้ก่อ ก็เป็นไปได้ทั้งสิ้น ต้องไม่ตกอยู่ในความประมาท
เหตุผลหลักคือ นักลงทุนไม่ได้ซื้อขายดัชนี (ยกเว้นพวกเล่นตราสารอนุพันธ์ประเภท TFEX ที่ผู้จัดการตลาดหุ้นไทยยามนี้ ช่ำชองและอยู่เบื้องหลังมาตั้งแต่ต้น) แต่ซื้อหุ้นรายตัว โดยวางรากฐานจากผลประกอบการเป็นสำคัญ มีสัญญาณทางเทคนิคเป็นตัวชี้นำ
ทุภาษิตเก่าแก่ฝรั่งประโยคหนึ่งที่ฝรั่งเอามาใช้เทียบเคียงกับความเสี่ยงของตลาดหุ้นยามขาขึ้น มีอยู่ว่า “A rising tide lifts all boats” หมายถึง ยามน้ำขึ้น เรือทุกลำย่อมลอยสูง แม้กระทั่งเรือก้นรั่ว (ที่ยังไม่จม เพราะทำด้วยวัสดุที่ลอยน้ำได้) ซึ่งคำนี้ใช้อธิบายปรากฏการณ์ตลาดหุ้นยามเข้าสู่ภาวะกระทิงไม่ว่าแท้หรือเทียมได้ทั้งนั้น
นักลงทุนที่เล่นหุ้นบลูชิพจนกำไรพอสมควรบางตัวที่เลือกสรรไว้แล้ว ก็ขายทำกำไรออกไป เพื่อหาตัวใหม่เล่น แต่ยามที่ตลาดเป็นขาขึ้น ย่อมต้องอดทนซื้อหุ้นที่เริ่มทะยานออกจากฐานแล้วที่มีความสุ่มเสี่ยงมากกว่าเดิม หากยังทำกำไรได้อีกก็ขายทิ้งอีกครั้ง แล้วหาหุ้นตัวใหม่ คราวนี้หาหุ้นที่พื้นฐานดี ราคาต่ำค่อนข้างยากแล้ว หากจะลงทุนเก็งกำไรอีกรอบก็ต้องเลือกหุ้นที่พื้นฐานแย่กว่า แต่ยังราคาต่ำแทน โดยอาศัยข่าวลือและฐานความเชื่อส่วนบุคคลผสมกันว่า ในภาวะหุ้นเป็นขาขึ้นทั้งตลาดนี้ ซื้อหุ้นตัวไหนก็เสมือน “ปาเป้า” กันทั้งนั้น
การซื้อหุ้นในยามตลาดเป็นขาขึ้น เมื่อค่าพี/อีของหุ้นแต่ละตัวค่อนข้างสูง เป็นความเสี่ยงชนิดหนึ่ง เพราะหากหลง
ระเริงด้วยความเชื่อว่า ตลาดหุ้นจะขึ้นไปเรื่อยๆไม่สิ้นสุด ก็อาจจะพลาดพลั้งเพราะคนที่เชื่อว่าตัวเองสามารถเข้าออกจากตลาดได้เร็วกว่าคนอื่น พากันเจ๊งไปนักต่อนักแล้วเพราะเอาเข้าจริงไม่สามารถทำได้ตามต้องการ
ผลลัพธ์ในการลงทุนในช่วงตลาดมีความเสี่ยงใกล้จะพับฐานในขั้นตอนสุดท้าย ก่อนตลาดทิ้งดิ่งลงมา คือการเสี่ยงภัยครั้งสำคัญ จะเรียกว่า เป็นการสร้างมิตรกับความเสี่ยงก็ได้ เพราะอาจจบลงด้วยกำไรหลายครั้งของรอบขาขึ้นที่ผ่านมา ไม่เพียงแต่หดหายไป หากยังพาเอาต้นทุนที่ลงไปก่อนพลอยหดหายไป ไม่มากก็น้อย
ภาวะเช่นนี้ นักลงทุนจำนวนมากเคยจ่าย “ค่าโง่” กันมาแล้วทั้งสิ้น ถือเป็น “เส้นประสบการณ์”ของการลงทุนเก็งกำไรในตลาดหุ้นที่แม้ไม่อยากเจอ แต่ก็ดูเหมือนจะเลี่ยงไม่พ้น ที่ร้ายไปกว่านั้นก็คือ ค่าโง่ที่ต้องจ่ายนั้น ถือเป็นต้นทุนที่ต้องก้าวผ่าน ไม่มีใครสามารถเรียนลัดได้ ประเด็นมีอยู่เพียงแค่ว่าผ่านแล้วเจ็บตัวมากหรือน้อยกว่ากันเท่านั้นเอง
คำถามที่นักลงทุนเก็งกำไรต้องมุ่งมั่นหาคำตอบให้ได้ ก็คือว่า การหลบเลี่ยงความเสี่ยงจากการซื้อ “เรือรั่ว” ในยาม “น้ำขึ้น” จะทำอย่างไรกัน
ตอบง่ายๆ แบบกำปั้นทุบดินซึ่งนักทฤษฎีทั้งหลายชอบใช้กันบ่อยครั้งคือ ต้องเรียนรู้วิธีลดความเสี่ยงที่ถูกต้อง ก็จะมีคำถามตามมาว่า แล้วเจ้าความเสี่ยงที่ถูกต้อง หรือ ความเสี่ยงที่ผิดพลาดนั้น มันคืออะไรกันหว่า
ในยุคที่ข้อมูลทั้งหลายในโลกนี้แต่ละนาทีที่ถูกผลิตขึ้นมาโดยมนุษย์มีมากเหลือคณานับ และส่วนใหญ่เป็นข้อมูลขยะ ที่ทำให้เราค่อนข้างงุนงงสงสัยกันว่า ข้อมูลที่ดีและเป็นประโยชน์นั้น มันอยู่ตรงไหนกันบ้าง และจะแยกแยะมายาออกจากสัจจะได้อย่างไรกัน ความไม่สมบูรณ์ของข้อมูลคือความไม่แน่นอนและความเสี่ยงพร้อมกันไป แต่ก็ยังแฝงด้วยโอกาสเช่นกัน
ตลาดหุ้น เป็นหนึ่งในกลไกสำคัญที่ผู้กุมอำนาจรัฐ (ไม่ว่าจะอ้างตนเป็นผู้ทรงคุณธรรมแค่ไหน) นำมาแอบอ้างใช้เสมอว่า เมื่อใดก็ตามที่ตลาดหุ้นทะยานขึ้นแข็งแรง ก็เป็นสัญญาณที่ดีว่า รัฐบาลมีความสามารถด้านการบริหารเศรษฐกิจสูง และบรรดานักวิเคราะห์หุ้นหรือสื่อก็จะชื่นชอบที่จะยกเรื่องนี้ขึ้นมา หากต้องการสอพลอรัฐบาล แต่ในมุมตรงกันข้าม หากไม่ชอบขี้หน้ารัฐบาล ก็จะเปลี่ยนไปเป็นมุมมองว่า ตลาดหุ้นเข้าสู่ภาวะฟองบู่ เป็นมุมมองที่ขึ้นกับการเลือกนำมาอ้างอิงอย่างมีอคติ
โดยธรรมชาติแล้ว กฎของการแสวงหากำไรในตลาดหุ้นในระยะสั้น อาจจะต่างจากกฎของการทำกำไรของธุรกิจ ทั้งในด้านเป้าหมาย เงื่อนเวลาและรายละเอียดได้ ซึ่งนักลงทุนต้องทำความเข้าใจเป็นปฐมเสียก่อน
การแสวงหากำไรและการเก็งกำไรในตลาดหุ้น ล้วนเริ่มต้นที่การพิจารณาแบกรับความเสี่ยง และผลตอบแทนของความเสี่ยง โดยนักเก็งกำไรใส่ใจกับส่วนต่างราคามากกว่าผลประกอบการ โดยแยกความสามารถทำกำไรจากส่วนต่างราคา ออกจากความสามารถทำกำไรของกิจการ จากนั้นก็แข่งกับตัวเองและอารมณ์ของตลาดโดยยินยอมเผชิญหน้ากับความเสี่ยงบนฐานข้อมูลที่เชื่อว่าแม่นยำ
นักเก็งกำไรในตลาดหุ้นมักเลือกซื้อหุ้นที่มีราคาในอนาคตสูงขึ้น โดยไม่จำเป็นต้องเป็นหุ้นของกิจการที่ดีเสมอไป ตราบใดที่ยังทำกำไรจากการซื้อขายหุ้นนั้นได้ การเป็นมิตรกับความสุ่มเสี่ยง ทำให้บางครั้งสามารถเผอเรอละทิ้งการควบคุมเงินตนเอง ตกอยู่ในกับดักของความหลงผิดที่ว่า การแสวงหากำไรมีความเสี่ยงต่ำกว่าการทำกำไร ทั้งที่ข้อมูลเชิงสถิติ สามารถยืนยันว่าการแสวงหากำไรหรือทำกำไรนั้นมีหลายระดับ ขึ้นกับพฤติกรรม หรือ ช่วงเวลา เป็นสำคัญ
กุญแจสำคัญจึงอยู่ที่ การทำความเข้าใจและค้นหาความเชื่อมโยงหลายเส้าระหว่างการแสวงหาหรือทำกำไรที่โยงเข้ากับข้อมูลข่าวสารที่เกี่ยวข้อง ให้รู้ว่า ในยามน้ำขึ้นนั้น เรือที่ลอยลำบางลำ ไม่ใช่เรือที่ดี พร้อมจะจมได้เสมอ และเรือที่ดีนั้น ต้องผ่านการตรวจสอบว่าดีจริงด้วยกลไกหลายๆ อย่างที่รอบด้านและลึกซึ้ง
ความเสี่ยง และผลตอบแทนของการเก็งกำไรในตลาดหุ้นโดยเฉพาะในช่วงที่ดัชนียืนเหนือ 1,500 จุดอีกครั้ง และขึ้นมาจากระดับฐานที่ 1,280 จุดเมื่อต้นเดือนมกราคมปีนี้ โดยไม่ได้ปรับฐานใหญ่ แต่มีพักบ้างเป็นระยะเล็กๆนั้น เปิดช่องให้นักลงทุนหลงทางเข้าซื้อหุ้นเน่ายามตลาดขาขึ้นได้ง่ายมาก
เหตุผลหลักก็เพราะไม่ยอมเหลือบชำเลืองดูค่า พี/อี ของหุ้นเสียเลยด้วยซ้ำ ทั้งที่เป็นเรื่องง่ายแสนง่ายในการหลบเลี่ยงลงเรือก้นรั่วยามน้ำขึ้น
posted from Bloggeroid
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น