ข่าวหุ้น - กระบอกเสียงอิสระแห่งตลาดทุน:: รู้จักขาย
คอลัมน์ วันพุธที่ 02 กรกฎาคม 2557
ผู้เข้าชม : 11 คน
เวลาที่นักลงทุนตั้งคำถามว่า ซื้อหุ้นตัวไหนดี คำตอบย่อมง่ายเสมอ เพราะหุ้นมีให้เลือกมากมาย แต่ในมุมมองของนักลงทุนระดับเซียนเหยียบเมฆแล้ว คำถามดังกล่าวเป็นความไร้เดียงสา เพราะความจริงแล้ว การรู้จักซื้อ ไม่สำคัญเท่ากับการรู้จักขาย
การรู้จักซื้อในตลาดหุ้น แม้จะมีความสำคัญอย่างมาก แต่ก็เป็นเพียงแค่การตัดสินใจเลือกหุ้นที่มีความน่าสนใจ 2 ด้านพร้อมกันคือ 1) มีพื้นฐานแข็งแกร่ง 2) มีสภาพคล่องของหุ้นที่เพียงพอ ไม่ต้องลุ้นว่าซื้อไปแล้วขายออกไม่ได้เพราะไม่มีคนซื้อ
ภาวะที่ตลาดมีลักษณะเป็นขาขึ้น แต่เริ่มมีคนตั้งคำถามว่า ราคาหุ้นในตลาดสูงเกินพื้นฐานมากน้อยแค่ไหน เมื่อเทียบกับหุ้นตัวอื่นๆ และในตลาดอื่นๆ การค้นหาคำตอบว่าควรขายเมื่อใด ราคาใด และอย่างไร เป็นประเด็นที่นักลงทุนจะต้องแสวงหา ไม่ใช่แค่รับรู้คำพูดจากริมฝีปากของนักวิเคราะห์
สำหรับผู้ที่ช่ำชองในวงการตลาดทุน รหัสของนักลงทุนที่ต้องถอดให้ออกมาก่อนการเข้าใจจังหวะของการขายอยู่ที่นิยามของคำ 3 คำต่อไปนี้คือ 1) ตลาดพัง(market crash) 2) การปรับฐาน (market correction) และ 3) การเทขายทิ้ง(capitulations)
ตลาดพัง เกิดขึ้นเมื่อราคาและมูลค่าของหลักทรัพย์หรือหุ้นในตลาด ปรับตัวลงอย่างรุนแรงเพราะแรงเทขายอย่างตื่นตระหนก โดยเฉลี่ยแล้วมากกว่า 20% เนื่องจากข่าวร้ายที่เกิดขึ้นกับผลประกอบการ หรือภาวะเศรษฐกิจจากภายนอกที่ทำให้เศรษฐกิจโดยรวมพังพินาศ ความเชื่อมโยงระหว่างตลาดพัง กับเศรษฐกิจระดับมหภาค โยงใยกันลึกซึ้ง และในทางปฏิบัติ อาจเป็นต้นเหตุของปัญหา เช่น กรณีลดค่าเงินบาทหลายยุค วิกฤตต้มยำกุ้ง 2540 หรือ เศรษฐกิจร้อนแรงเกินขนาด 2532 ในไทย หรือ วิกฤตซับไพรม์ในสหรัฐฯ แต่ก็ไม่ได้เป็นทุกกรณี
บางครั้ง บริษัทขนาดใหญ่ในตลาด ที่เป็นเสาหลักของตลาด (โดยเฉพาะสถาบันการเงิน) มีปัญหาทางการเงินที่รุนแรง อาจจะเนื่องจากปัญหาที่ซับซ้อน หรือไม่คาดไว้ล่วงหน้า แล้วบานปลายเป็นปัญหาที่กระทบกับเศรษฐกิจใหญ่หลวง ก็มีผลให้ตลาดเสื่อมทรุดได้ ดังเช่นกรณีเอนรอน หรือ เวิลด์คอมในสหรัฐฯ หรือ กรณีราชาเงินทุน 2522 หรือ กรณีวิกฤตบริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ 4 เมษายน 2528 หรือกรณีธนาคารกรุงเทพฯ พาณิชย์การ 2538 เป็นต้น
ภาวะตลาดพังอาจจะเกิดขึ้นในทันทีหรือซึมยาว และมีปรากฏการณ์สำคัญเกิดขึ้น 3 ประการหลักคือ 1) นำไปสู่การตัดใจขายหุ้นทิ้งเป็นระลอกหลายครั้งเพราะปฏิกิริยาที่ไม่สมมาตรของนักลงทุนต่อสถานการณ์ที่เกิดขึ้น 2) จุดจบของภาวะตลาดพังคือการตัดใจขายหุ้นทิ้งของนักลงทุนเกือบทั้งตลาดในที่สุด ซึ่งนั่นคือจุดเริ่มต้นของภาวะขาขึ้นตลาดระลอกใหม่ 3) การขายอย่างตื่นตระหนก เป็นปรากฏการณ์หลักที่ยากจะค้นหาที่มาที่ไปอย่างแท้จริง
การปรับฐานราคา เป็นปรากฏการณ์ระยะสั้นที่เกิดขึ้นโดยไม่เชื่อมโยงเข้ากับปัจจัยภายนอกของตลาด แต่เกิดขึ้นเมื่อสัญญาณทางเทคนิคระบุว่าเข้าเขตซื้อมากเกินไปแล้ว จนนักลงทุนเริ่มมองเห็นตรงกันว่า ตลาดขึ้นมาเพียงพอที่จะลดความเสี่ยงในการทำกำไรลงไป ก่อนที่จะสายเกิน ผลลัพธ์ที่พอจะอนุมานได้ก็คือ การปรับฐานจะต้องมากกว่า 10% แต่ไม่เกิน 20%
ในช่วงของการปรับฐาน นักลงทุนบางคนอาจจะขายอย่างตื่นตระหนก แต่กลุ่มนี้ก็เป็นคนกลุ่มน้อย เพราะโดยแท้จริงแล้ว จะไม่ปรากฏการขายอย่างตื่นตระหนกมากนัก เพราะว่าตลาดพร้อมจะปรับทิศทางใหม่เมื่อเห็นพ้องว่า ราคาหรือดัชนีตลาดลงมากเกินพื้นฐานทั้งโดยตัวเอง หรือโดยเปรียบเทียบ โดยเฉพาะคนที่เข้าใจสัญญาณทางเทคนิคแม่นยำ ทำให้เกิดแรงซื้อกลับได้ง่าย การเทขายทิ้งจึงเกิดขึ้นแต่ไม่มีฐานะครอบงำทางจิตวิทยาการลงทุนในระยะยาว
การเทขายทิ้งก็มีวัตถุประสงค์หลายอย่างเช่นกัน นักลงทุนที่มีความช่ำชอง จะเรียนรู้ได้ดีว่า การขายหุ้นทิ้งมีเป้าหมายต่างกันนับแต่การขายทำกำไรเมื่อถึงเวลาอันสมควร การขายเพื่อปรับพอร์ตไปหาหุ้นอื่นที่ (คาดว่า) ให้ผลตอบแทนสูงกว่าในอนาคต การขายเพื่อทุบเอาหุ้นเข้าพอร์ตเพิ่มเติมของคนที่มีหน้าตักสูงในราคาที่ต่ำกว่าเดิม การขายเพื่อตัดขาดทุนเพราะพิจารณาแล้วว่าไม่ขึ้นต่ออีกแน่ และไม่คุ้มกับการรอคอย หรือ การขายเพราะตื่นกระแสข่าวลือ ซึ่งผลลัพธ์จะแตกต่างกัน
ปัจจุบันกลไกของตลาดทุนมีเครื่องมือที่ช่วยให้การขายสามารถทำกำไรได้ โดยเฉพาะในการขายล่วงหน้าในตลาดตราสารอนุพันธ์ หรือ การทำชอร์ตเซลซึ่งมีความหมายเพื่อทำกำไร ซึ่งแตกต่างจากการเทขายทิ้งที่ขาดทุน
การเทขายทิ้งอย่างตื่นตระหนกในตลาดหุ้นหรือตลาดเก็งกำไรอื่น มีรากฐานจากพฤติกรรมแบบนักการพนันของนักลงทุนเองเป็นสำคัญ เพราะไม่ได้กำหนดเป้าหมายในการทำกำไรล่วงหน้าเอาไว้ หรือไม่ก็กำหนดแต่ไม่ยอมทำ ซึ่งอย่างหลังเป็นกันมาก และก่อปัญหาง่ายมาก
การเทขายทิ้งของนักลงทุนเก็งกำไร คือ โอกาสอันดีงามของนักลงทุนระยะยาว เพราะเมื่อใดที่การเทขายทิ้งเริ่มเบาบางลง สัญญาณทางเทคนิคจะบอกว่าเข้าเขตขายมากเกินไปจะปรากฏ ซึ่งจะทำให้เกิดการซื้อกลับระลอกใหม่
สถานการณ์ที่ตลาดหุ้นไทยยามนี้ เริ่มแกว่งตัวเพราะเข้าใกล้แนวต้านสำคัญทางจิตวิทยา 1,500 จุด เป็นสถานการณ์ที่นักลงทุนจะต้องทำความเข้าใจและถอดรหัสว่าถึงเวลาของการขายของตนเองหรือยัง ควรจะขายบางส่วน หรือขายล้างพอร์ต แล้วควรจะขายทำกำไร หรือขายตัดขาดทุน
ในนิยายเด็ก เมาคลี ลูกหมาป่า มีคำสอนที่รัดยาร์ด คิปลิง เคยกล่าวเอาไว้ว่า การไล่ลาเป็นเรื่องสำคัญ แต่การหยุดล่าก็สำคัญกว่า นักลงทุนก็เช่นกัน
ขอให้โชคดีในการล่า
คอลัมน์ วันพุธที่ 02 กรกฎาคม 2557
ผู้เข้าชม : 11 คน
เวลาที่นักลงทุนตั้งคำถามว่า ซื้อหุ้นตัวไหนดี คำตอบย่อมง่ายเสมอ เพราะหุ้นมีให้เลือกมากมาย แต่ในมุมมองของนักลงทุนระดับเซียนเหยียบเมฆแล้ว คำถามดังกล่าวเป็นความไร้เดียงสา เพราะความจริงแล้ว การรู้จักซื้อ ไม่สำคัญเท่ากับการรู้จักขาย
การรู้จักซื้อในตลาดหุ้น แม้จะมีความสำคัญอย่างมาก แต่ก็เป็นเพียงแค่การตัดสินใจเลือกหุ้นที่มีความน่าสนใจ 2 ด้านพร้อมกันคือ 1) มีพื้นฐานแข็งแกร่ง 2) มีสภาพคล่องของหุ้นที่เพียงพอ ไม่ต้องลุ้นว่าซื้อไปแล้วขายออกไม่ได้เพราะไม่มีคนซื้อ
ภาวะที่ตลาดมีลักษณะเป็นขาขึ้น แต่เริ่มมีคนตั้งคำถามว่า ราคาหุ้นในตลาดสูงเกินพื้นฐานมากน้อยแค่ไหน เมื่อเทียบกับหุ้นตัวอื่นๆ และในตลาดอื่นๆ การค้นหาคำตอบว่าควรขายเมื่อใด ราคาใด และอย่างไร เป็นประเด็นที่นักลงทุนจะต้องแสวงหา ไม่ใช่แค่รับรู้คำพูดจากริมฝีปากของนักวิเคราะห์
สำหรับผู้ที่ช่ำชองในวงการตลาดทุน รหัสของนักลงทุนที่ต้องถอดให้ออกมาก่อนการเข้าใจจังหวะของการขายอยู่ที่นิยามของคำ 3 คำต่อไปนี้คือ 1) ตลาดพัง(market crash) 2) การปรับฐาน (market correction) และ 3) การเทขายทิ้ง(capitulations)
ตลาดพัง เกิดขึ้นเมื่อราคาและมูลค่าของหลักทรัพย์หรือหุ้นในตลาด ปรับตัวลงอย่างรุนแรงเพราะแรงเทขายอย่างตื่นตระหนก โดยเฉลี่ยแล้วมากกว่า 20% เนื่องจากข่าวร้ายที่เกิดขึ้นกับผลประกอบการ หรือภาวะเศรษฐกิจจากภายนอกที่ทำให้เศรษฐกิจโดยรวมพังพินาศ ความเชื่อมโยงระหว่างตลาดพัง กับเศรษฐกิจระดับมหภาค โยงใยกันลึกซึ้ง และในทางปฏิบัติ อาจเป็นต้นเหตุของปัญหา เช่น กรณีลดค่าเงินบาทหลายยุค วิกฤตต้มยำกุ้ง 2540 หรือ เศรษฐกิจร้อนแรงเกินขนาด 2532 ในไทย หรือ วิกฤตซับไพรม์ในสหรัฐฯ แต่ก็ไม่ได้เป็นทุกกรณี
บางครั้ง บริษัทขนาดใหญ่ในตลาด ที่เป็นเสาหลักของตลาด (โดยเฉพาะสถาบันการเงิน) มีปัญหาทางการเงินที่รุนแรง อาจจะเนื่องจากปัญหาที่ซับซ้อน หรือไม่คาดไว้ล่วงหน้า แล้วบานปลายเป็นปัญหาที่กระทบกับเศรษฐกิจใหญ่หลวง ก็มีผลให้ตลาดเสื่อมทรุดได้ ดังเช่นกรณีเอนรอน หรือ เวิลด์คอมในสหรัฐฯ หรือ กรณีราชาเงินทุน 2522 หรือ กรณีวิกฤตบริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ 4 เมษายน 2528 หรือกรณีธนาคารกรุงเทพฯ พาณิชย์การ 2538 เป็นต้น
ภาวะตลาดพังอาจจะเกิดขึ้นในทันทีหรือซึมยาว และมีปรากฏการณ์สำคัญเกิดขึ้น 3 ประการหลักคือ 1) นำไปสู่การตัดใจขายหุ้นทิ้งเป็นระลอกหลายครั้งเพราะปฏิกิริยาที่ไม่สมมาตรของนักลงทุนต่อสถานการณ์ที่เกิดขึ้น 2) จุดจบของภาวะตลาดพังคือการตัดใจขายหุ้นทิ้งของนักลงทุนเกือบทั้งตลาดในที่สุด ซึ่งนั่นคือจุดเริ่มต้นของภาวะขาขึ้นตลาดระลอกใหม่ 3) การขายอย่างตื่นตระหนก เป็นปรากฏการณ์หลักที่ยากจะค้นหาที่มาที่ไปอย่างแท้จริง
การปรับฐานราคา เป็นปรากฏการณ์ระยะสั้นที่เกิดขึ้นโดยไม่เชื่อมโยงเข้ากับปัจจัยภายนอกของตลาด แต่เกิดขึ้นเมื่อสัญญาณทางเทคนิคระบุว่าเข้าเขตซื้อมากเกินไปแล้ว จนนักลงทุนเริ่มมองเห็นตรงกันว่า ตลาดขึ้นมาเพียงพอที่จะลดความเสี่ยงในการทำกำไรลงไป ก่อนที่จะสายเกิน ผลลัพธ์ที่พอจะอนุมานได้ก็คือ การปรับฐานจะต้องมากกว่า 10% แต่ไม่เกิน 20%
ในช่วงของการปรับฐาน นักลงทุนบางคนอาจจะขายอย่างตื่นตระหนก แต่กลุ่มนี้ก็เป็นคนกลุ่มน้อย เพราะโดยแท้จริงแล้ว จะไม่ปรากฏการขายอย่างตื่นตระหนกมากนัก เพราะว่าตลาดพร้อมจะปรับทิศทางใหม่เมื่อเห็นพ้องว่า ราคาหรือดัชนีตลาดลงมากเกินพื้นฐานทั้งโดยตัวเอง หรือโดยเปรียบเทียบ โดยเฉพาะคนที่เข้าใจสัญญาณทางเทคนิคแม่นยำ ทำให้เกิดแรงซื้อกลับได้ง่าย การเทขายทิ้งจึงเกิดขึ้นแต่ไม่มีฐานะครอบงำทางจิตวิทยาการลงทุนในระยะยาว
การเทขายทิ้งก็มีวัตถุประสงค์หลายอย่างเช่นกัน นักลงทุนที่มีความช่ำชอง จะเรียนรู้ได้ดีว่า การขายหุ้นทิ้งมีเป้าหมายต่างกันนับแต่การขายทำกำไรเมื่อถึงเวลาอันสมควร การขายเพื่อปรับพอร์ตไปหาหุ้นอื่นที่ (คาดว่า) ให้ผลตอบแทนสูงกว่าในอนาคต การขายเพื่อทุบเอาหุ้นเข้าพอร์ตเพิ่มเติมของคนที่มีหน้าตักสูงในราคาที่ต่ำกว่าเดิม การขายเพื่อตัดขาดทุนเพราะพิจารณาแล้วว่าไม่ขึ้นต่ออีกแน่ และไม่คุ้มกับการรอคอย หรือ การขายเพราะตื่นกระแสข่าวลือ ซึ่งผลลัพธ์จะแตกต่างกัน
ปัจจุบันกลไกของตลาดทุนมีเครื่องมือที่ช่วยให้การขายสามารถทำกำไรได้ โดยเฉพาะในการขายล่วงหน้าในตลาดตราสารอนุพันธ์ หรือ การทำชอร์ตเซลซึ่งมีความหมายเพื่อทำกำไร ซึ่งแตกต่างจากการเทขายทิ้งที่ขาดทุน
การเทขายทิ้งอย่างตื่นตระหนกในตลาดหุ้นหรือตลาดเก็งกำไรอื่น มีรากฐานจากพฤติกรรมแบบนักการพนันของนักลงทุนเองเป็นสำคัญ เพราะไม่ได้กำหนดเป้าหมายในการทำกำไรล่วงหน้าเอาไว้ หรือไม่ก็กำหนดแต่ไม่ยอมทำ ซึ่งอย่างหลังเป็นกันมาก และก่อปัญหาง่ายมาก
การเทขายทิ้งของนักลงทุนเก็งกำไร คือ โอกาสอันดีงามของนักลงทุนระยะยาว เพราะเมื่อใดที่การเทขายทิ้งเริ่มเบาบางลง สัญญาณทางเทคนิคจะบอกว่าเข้าเขตขายมากเกินไปจะปรากฏ ซึ่งจะทำให้เกิดการซื้อกลับระลอกใหม่
สถานการณ์ที่ตลาดหุ้นไทยยามนี้ เริ่มแกว่งตัวเพราะเข้าใกล้แนวต้านสำคัญทางจิตวิทยา 1,500 จุด เป็นสถานการณ์ที่นักลงทุนจะต้องทำความเข้าใจและถอดรหัสว่าถึงเวลาของการขายของตนเองหรือยัง ควรจะขายบางส่วน หรือขายล้างพอร์ต แล้วควรจะขายทำกำไร หรือขายตัดขาดทุน
ในนิยายเด็ก เมาคลี ลูกหมาป่า มีคำสอนที่รัดยาร์ด คิปลิง เคยกล่าวเอาไว้ว่า การไล่ลาเป็นเรื่องสำคัญ แต่การหยุดล่าก็สำคัญกว่า นักลงทุนก็เช่นกัน
ขอให้โชคดีในการล่า
posted from Bloggeroid
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น