วันพุธที่ 11 ธันวาคม พ.ศ. 2556

เศรษฐกิจญี่ปุ่น... การฟื้นตัวบนความเสี่ยงทางการคลัง

12 ธ.ค. 56 00:11 โดย : dave
เศรษฐกิจญี่ปุ่น... การฟื้นตัวบนความเสี่ยงทางการคลัง


คอลัมน์ เลียบรั้วเลาะโลก

โดย ขวัญใจ เตชเสนสกุล ฝ่ายวิจัยธุรกิจ ธสน.


คงปฏิเสธไม่ได้ว่าเศรษฐกิจญี่ปุ่นที่ขยายตัวอย่างต่อเนื่อง เป็นผลมาจากนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจ หรือที่รู้จักกันภายใต้นโยบาย Abenomics ซึ่งมีเครื่องมือสำคัญคือมาตรการผ่อนคลายเชิงปริมาณ หรือ QE แบบเดียวกับที่ธนาคารกลางสหรัฐใช้ในการเพิ่มปริมาณเงินเข้าไปในระบบเศรษฐกิจ ผ่านการเข้าซื้อตราสารทางการเงิน ซึ่งมีผลทำให้ค่าเงินอ่อนค่าลง และส่งผลดีต่อการส่งออก

อย่างไรก็ตาม แม้เศรษฐกิจญี่ปุ่นในภาพรวมจะดูดีขึ้น แต่ญี่ปุ่นยังต้องเผชิญปัญหารุมเร้า โดยเฉพาะปัญหาด้านการคลัง ซึ่งอาจเป็นปัจจัยบั่นทอนการขยายตัวของเศรษฐกิจญี่ปุ่นในระยะถัดไป


ปัจจุบัน ญี่ปุ่นมียอดขาดดุลการคลังราว 9% ต่อ GDP และหนี้สาธารณะมากถึง 230% ต่อ GDP ถือเป็นระดับสูงสุด เมื่อเทียบกับประเทศพัฒนาแล้วอื่น ๆ

ทั้งนี้ ความเสี่ยงทางการคลังที่เร่งตัวขึ้นจากนโยบายข้างต้น ทำให้หลายฝ่ายเริ่มตั้งคำถามเกี่ยวกับฐานะทางการคลังของญี่ปุ่นในระยะยาว ซึ่งจะมีผลต่ออันดับเครดิตและต้นทุนการกู้ยืมของญี่ปุ่นในอนาคต อีกทั้งยังเป็นหนึ่งในปัจจัยสำคัญที่นักลงทุนใช้ประกอบการตัดสินใจลงทุน หรือทำธุรกิจกับประเทศใดประเทศหนึ่ง

ข้อกังวลดังกล่าวทำให้รัฐบาล ญี่ปุ่นเริ่มหันมาให้ความสำคัญกับการรักษาวินัยทางการคลังควบคู่กับการแก้ ปัญหาเศรษฐกิจในด้านอื่น ๆ มากขึ้น

เห็นได้จากการประกาศจะขึ้นภาษีการขาย (Sales Tax) จาก 5% เป็น 8% ในเดือนเมษายน 2557 และจะปรับเพิ่มขึ้นเป็น 10% ในเดือนตุลาคม 2558

ปัจจัย นี้จะส่งผลให้การบริโภคภาคเอกชน ซึ่งคิดเป็นสัดส่วนราว 60% ของ GDP ชะลอตัวลง และอาจทำให้การฟื้นตัวของเศรษฐกิจญี่ปุ่นที่มีทีท่าดีขึ้นต้องสะดุดลง อย่างที่เคยเกิดขึ้นในเดือนเมษายน

ปี 2540 อีกทั้งญี่ปุ่นมีมาตรการเพิ่มภาษีการบริโภคเป็นครั้งแรกจาก 3% เป็น 5% ซึ่งส่งผลให้การบริโภคภาคเอกชนในไตรมาสดังกล่าวหดตัวถึง 13% และทำให้เศรษฐกิจญี่ปุ่น 2 ปีหลังจากนั้นหดตัว 2.0% และ 0.2% ตามลำดับ

นอก จากนี้ การที่ญี่ปุ่นได้รับเลือกให้เป็นเจ้าภาพจัดแข่งขันกีฬาโอลิมปิกในปี 2563 ทำให้ญี่ปุ่นต้องใช้เงินลงทุนมหาศาลในการสร้างสนามกีฬาและสิ่งอำนวยความ สะดวกต่าง ๆ ซึ่งหากขาดการบริหารจัดการที่ดี ก็อาจเป็นชนวนที่จะนำไปสู่วิกฤตหนี้สาธารณะ เช่นที่เคยเกิดกับกรีซมาแล้ว

ยิ่ง ปกว่านั้น การที่ญี่ปุ่นก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุโดยสมบูรณ์ด้วยสัดส่วนผู้สูงอายุ มากที่สุดในโลกถึงราว 24% ของประชากรทั้งประเทศในปัจจุบัน ทำให้ในอนาคตญี่ปุ่นจะต้องเผชิญกับค่าใช้จ่ายด้านสวัสดิการในการดูแลผู้สูง อายุที่เพิ่มขึ้นมาก และจะเป็นตัวเร่งสำคัญที่ทำให้ความเสี่ยงทางการคลังของญี่ปุ่นเร่งตัวขึ้น

อย่าง ไรก็ตาม คาดว่าปัญหาทางการคลังของญี่ปุ่นในระยะ 1-2 ปีข้างหน้า จะไม่ถึงกับกดดันให้เศรษฐกิจญี่ปุ่นที่ส่งสัญญาณฟื้นตัวต้องประสบกับภาวะ Hard Landing เนื่องจากหนี้สาธารณะของญี่ปุ่นส่วนใหญ่เป็นหนี้ในประเทศ ประกอบกับรัฐบาลมีแนวโน้มที่จะออกนโยบายผ่อนคลายทางเศรษฐกิจอื่น ๆ มาชดเชยผลกระทบที่จะเกิดขึ้น

จากการขึ้นภาษีการขาย อาทิ การลดภาษีเงินได้นิติบุคคล เพื่อกระตุ้นการลงทุน อีกทั้งการที่รัฐบาลและธนาคารกลางญี่ปุ่นยืนยันจะใช้มาตรการ QE จนกว่าอัตราเงินเฟ้อพื้นฐานจะบรรลุเป้าหมายที่ 2% ประเด็นดังกล่าวจะทำให้ต้นทุนทางการเงินของญี่ปุ่นยังคงอยู่ในระดับต่ำต่อไป ซึ่งจะหนุนให้อุปสงค์ในประเทศไม่หดตัวรุนแรงนัก

แม้ความเสี่ยงทาง การคลังของญี่ปุ่นในระยะสั้นจะยังไม่รุนแรงถึงขั้นเกิดเป็นวิกฤต เหมือนเช่นในยุโรป และรัฐบาลญี่ปุ่นยังไม่มีความจำเป็นเร่งด่วนที่จะต้องตัดลดรายจ่ายภาครัฐ อย่างเช่นในสหรัฐ แต่ปัจจัยดังกล่าวถือเป็นเรื่องสำคัญที่ผู้ส่งออกและนักลงทุนไทยต้องติดตาม อย่างใกล้ชิด เพื่อที่จะได้วางแผนการค้าการลงทุนและเตรียมเครื่องมือป้องกันความเสี่ยงที่ อาจเกิดขึ้นในอนาคตได้อย่างทันท่วงที

Disclaimer : คอลัมน์นี้เผยแพร่เพื่อให้ความรู้ ซึ่งเป็นข้อคิดเห็นส่วนบุคคล จึงไม่จำเป็นต้องสอดคล้องกับความคิดเห็นของธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้า แห่งประเทศไทย (ธสน.)



ที่มา..ประชาชาติธุรกิจ
12 ธ.ค. 56 00:18 โดย : FreedomShip


น่าติดตาม ญี่ปุ่น ต่อเนื่องครับช่วงนี้ เงินยิ่งเฟ้อ หุ้นญี่ปุ่นก็น่าจะยิ่งขึ้นไปเรื่อยๆ
ตอบกลับกระทู้กลับไปหน้าแรก

เข้าเว็บไซต์แบบปกติ

© COPYRIGHT 2013 STOCK2MORROW

posted from Bloggeroid

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น