ข่าวหุ้น - กระบอกเสียงอิสระแห่งตลาดทุน:: กลุ่มแบงก์น่าซื้อ
พี/อีเหลือ10เท่า
แนะKTBเด่นสุด
ข่าวหน้าหนึ่ง วันอังคารที่ 03 ธันวาคม 2556
ผู้เข้าชม : 8 คน
กลุ่มธนาคารพาณิชย์ พี/อี วูบต่ำเหลือเพียง 9.89 เท่า โบรกฯ เผยเข้าลงทุนได้ทุกตัว แนะ KTB พี/อี แค่ 7.2 เท่า ส่วนกลุ่มเช่าซื้อทั้ง TCAP, KKP และ TISCO แนะนำเข้าลงทุนเช่นกัน
นายธนเดช รังษีธนานนท์ ผู้อำนวยการฝ่ายวิเคราะห์หลักทรัพย์ บล.กรุงศรี กล่าวว่า ตอนนี้ภาพรวมเศรษฐกิจมีความผันผวน โดยทำให้ธปท.ออกมาคาดการณ์ตัวเลขสินเชื่อของระบบแบงก์พาณิชย์ในปีนี้อยู่ที่ 9% เนื่องจากเห็นว่าจะเกิดการชะลอตัวลง ซึ่งมาจากปัจจัยการเมืองเป็นหลักด้วยเช่นกัน
สำหรับกลุ่มธนาคารพาณิชย์ ผลประกอบการไตรมาส 4/56 คาดว่าจะชะลอตัวลง ซึ่งเป็นเรื่องปกติ เนื่องจากมีค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานที่เพิ่มมากขึ้นทั้งค่าใช้จ่ายพนักงาน เช่น โบนัส โดยงบการเงินยังเป็นปกติ ซึ่งสิ่งที่เพิ่มขึ้น คือ ความเสี่ยงในการดำเนินธุรกิจ โดยนำไปสู่การปรับลดประมาณการกำไร และ สินเชื่อลงในปีหน้า
ส่วน P/E ในกลุ่มแบงก์ปีนี้จะอยู่ที่ 9.89 เท่า ส่วนปีหน้าอยู่ที่ 8.8 เท่า ซึ่ง P/E ที่ต่ำสุดในปีหน้ามี 4 แบงก์ ประกอบด้วย TCAP อยู่ที่ 6 เท่า TISCO อยู่ที่ 6.4 เท่า KKP อยู่ที่ 7.1 เท่า และ KTB อยู่ที่ 7.2 เท่า โดยถือว่าต่ำเมื่อเทียบกับกลุ่ม
สาเหตุที่ P/E ลงมาต่ำ เนื่องจากราคาหุ้นที่ผ่านมาลงมาเยอะ และยังไม่มีการรีบาวด์กลับขึ้นมา โดยในจังหวะนี้อยากให้รอให้สถานการณ์การเมืองนิ่งกว่านี้ถึงจะเป็นเวลาในการเก็บสะสมหุ้นพื้นฐานดี ซึ่ง 4 หุ้นแบงก์ขนาดใหญ่ยังเก็บได้อยู่
"P/E ต่ำโดยภาพรวมหุ้นร่วงมาเยอะ โดยเฉพาะแบงก์ขนาดกลาง และ ขนาดเล็ก เพราะมีสินเชื่อรถเยอะความเสี่ยงจึงมีมากเมื่อกำลังซื้อยังไม่ฟื้นจึงแนะนำหุ้นใหญ่ไปก่อน แต่ถ้าสถานการณ์นิ่ง 4 ตัวที่ P/E ต่ำก็เก็บได้โดยเฉพาะ KTB ซึ่งในปี 2557 ยังมีการเติบโตที่ดีในแง่สินเชื่อ และกำไร โดยเป็นหุ้นที่พื้นฐานดี ราคายังถูก" นายธนเดช กล่าว
นักวิเคราะห์ บล.ไทยพาณิชย์ มองว่า อัตราการขยายตัวของสินเชื่อในช่วง 9 เดือนแรกปี 56 ของกลุ่มธนาคารอยู่ที่ 7.4% เทียบกับประมาณการปี 2556 ที่ 10% อัตราการขยายตัวของสินเชื่อในไตรมาส 4/56 น่าจะปรับตัวเร่งขึ้นเล็กน้อยจากไตรมาสก่อนหน้า หรือ 2.4% ในไตรมาส 4/56 เทียบกับ 1.7% ในไตรมาส 3/56 จากปัจจัยฤดูกาล แต่จะชะลอตัวลงจากปีก่อนหน้า หรือ 10% ในไตรมาส 4/56 เทียบกับ 12% ในไตรมาส 4/55 โดยเกิดจากนโยบายปล่อยสินเชื่อที่เข้มงวดมากขึ้นอันเป็นผลมาจากเศรษฐกิจชะลอตัว
สำหรับปี 2557 คาดว่าสินเชื่อจะขยายตัวในระดับปานกลางแต่จะชะลอตัวลงเล็กน้อยสู่ 9% จาก 10% ในปี 2556 ทั้งๆ ที่คาดว่าเศรษฐกิจจะฟื้นตัวดีขึ้น โดยหลักๆ เป็นเพราะธนาคารส่วนใหญ่จะเลือกปล่อยสินเชื่อมากขึ้นโดยจะเน้นปล่อยสินเชื่อให้กับกลุ่มที่ให้ผลตอบแทนหลังปรับค่าความเสี่ยงอยู่ในระดับสูง ส่วนใหญ่เป็น SME ขนาดเล็ก แทนที่จะเน้นขยายสินเชื่อ
นอกจากนี้ความต้องการสินเชื่ออุปโภคบริโภคโดยเฉพาะสินเชื่อรถยนต์ก็จะปรับลดลง ด้วย และคาดว่าการลงทุนที่ฟื้นตัวดีขึ้น โดยส่วนใหญ่เป็นการลงทุนภาครัฐ จะเป็นปัจจัยสำคัญที่ช่วยสนับสนุนการขยายตัวของสินเชื่อในปี 2557
อย่างไรก็ดี มีมุมมองเชิงบวกต่ออัตราการขยายตัวของสินเชื่อธุรกิจขนาดใหญ่และ SMEs มากกว่าสินเชื่ออุปโภคบริโภคโดยเฉพาะสินเชื่อรถยนต์ และมีความกังวลเกี่ยวกับคุณภาพของสินเชื่ออุปโภคบริโภคมากกว่าสินเชื่อภาคธุรกิจ เนื่องจากหนี้ครัวเรือนอยู่ในระดับสูงถึง 80% ของ GDP
โดยยังคงเลือก BBL และ KTB เป็น top picks เนื่องจากคาดว่าจะได้รับประโยชน์จากวัฏจักรการลงทุนที่เกิดจากโครงการลงทุนพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน 2 ล้านล้านบาท และมีความเสี่ยงต่ำที่จะได้รับผลกระทบจากหนี้ครัวเรือนระดับสูง
พี/อีเหลือ10เท่า
แนะKTBเด่นสุด
ข่าวหน้าหนึ่ง วันอังคารที่ 03 ธันวาคม 2556
ผู้เข้าชม : 8 คน
กลุ่มธนาคารพาณิชย์ พี/อี วูบต่ำเหลือเพียง 9.89 เท่า โบรกฯ เผยเข้าลงทุนได้ทุกตัว แนะ KTB พี/อี แค่ 7.2 เท่า ส่วนกลุ่มเช่าซื้อทั้ง TCAP, KKP และ TISCO แนะนำเข้าลงทุนเช่นกัน
นายธนเดช รังษีธนานนท์ ผู้อำนวยการฝ่ายวิเคราะห์หลักทรัพย์ บล.กรุงศรี กล่าวว่า ตอนนี้ภาพรวมเศรษฐกิจมีความผันผวน โดยทำให้ธปท.ออกมาคาดการณ์ตัวเลขสินเชื่อของระบบแบงก์พาณิชย์ในปีนี้อยู่ที่ 9% เนื่องจากเห็นว่าจะเกิดการชะลอตัวลง ซึ่งมาจากปัจจัยการเมืองเป็นหลักด้วยเช่นกัน
สำหรับกลุ่มธนาคารพาณิชย์ ผลประกอบการไตรมาส 4/56 คาดว่าจะชะลอตัวลง ซึ่งเป็นเรื่องปกติ เนื่องจากมีค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานที่เพิ่มมากขึ้นทั้งค่าใช้จ่ายพนักงาน เช่น โบนัส โดยงบการเงินยังเป็นปกติ ซึ่งสิ่งที่เพิ่มขึ้น คือ ความเสี่ยงในการดำเนินธุรกิจ โดยนำไปสู่การปรับลดประมาณการกำไร และ สินเชื่อลงในปีหน้า
ส่วน P/E ในกลุ่มแบงก์ปีนี้จะอยู่ที่ 9.89 เท่า ส่วนปีหน้าอยู่ที่ 8.8 เท่า ซึ่ง P/E ที่ต่ำสุดในปีหน้ามี 4 แบงก์ ประกอบด้วย TCAP อยู่ที่ 6 เท่า TISCO อยู่ที่ 6.4 เท่า KKP อยู่ที่ 7.1 เท่า และ KTB อยู่ที่ 7.2 เท่า โดยถือว่าต่ำเมื่อเทียบกับกลุ่ม
สาเหตุที่ P/E ลงมาต่ำ เนื่องจากราคาหุ้นที่ผ่านมาลงมาเยอะ และยังไม่มีการรีบาวด์กลับขึ้นมา โดยในจังหวะนี้อยากให้รอให้สถานการณ์การเมืองนิ่งกว่านี้ถึงจะเป็นเวลาในการเก็บสะสมหุ้นพื้นฐานดี ซึ่ง 4 หุ้นแบงก์ขนาดใหญ่ยังเก็บได้อยู่
"P/E ต่ำโดยภาพรวมหุ้นร่วงมาเยอะ โดยเฉพาะแบงก์ขนาดกลาง และ ขนาดเล็ก เพราะมีสินเชื่อรถเยอะความเสี่ยงจึงมีมากเมื่อกำลังซื้อยังไม่ฟื้นจึงแนะนำหุ้นใหญ่ไปก่อน แต่ถ้าสถานการณ์นิ่ง 4 ตัวที่ P/E ต่ำก็เก็บได้โดยเฉพาะ KTB ซึ่งในปี 2557 ยังมีการเติบโตที่ดีในแง่สินเชื่อ และกำไร โดยเป็นหุ้นที่พื้นฐานดี ราคายังถูก" นายธนเดช กล่าว
นักวิเคราะห์ บล.ไทยพาณิชย์ มองว่า อัตราการขยายตัวของสินเชื่อในช่วง 9 เดือนแรกปี 56 ของกลุ่มธนาคารอยู่ที่ 7.4% เทียบกับประมาณการปี 2556 ที่ 10% อัตราการขยายตัวของสินเชื่อในไตรมาส 4/56 น่าจะปรับตัวเร่งขึ้นเล็กน้อยจากไตรมาสก่อนหน้า หรือ 2.4% ในไตรมาส 4/56 เทียบกับ 1.7% ในไตรมาส 3/56 จากปัจจัยฤดูกาล แต่จะชะลอตัวลงจากปีก่อนหน้า หรือ 10% ในไตรมาส 4/56 เทียบกับ 12% ในไตรมาส 4/55 โดยเกิดจากนโยบายปล่อยสินเชื่อที่เข้มงวดมากขึ้นอันเป็นผลมาจากเศรษฐกิจชะลอตัว
สำหรับปี 2557 คาดว่าสินเชื่อจะขยายตัวในระดับปานกลางแต่จะชะลอตัวลงเล็กน้อยสู่ 9% จาก 10% ในปี 2556 ทั้งๆ ที่คาดว่าเศรษฐกิจจะฟื้นตัวดีขึ้น โดยหลักๆ เป็นเพราะธนาคารส่วนใหญ่จะเลือกปล่อยสินเชื่อมากขึ้นโดยจะเน้นปล่อยสินเชื่อให้กับกลุ่มที่ให้ผลตอบแทนหลังปรับค่าความเสี่ยงอยู่ในระดับสูง ส่วนใหญ่เป็น SME ขนาดเล็ก แทนที่จะเน้นขยายสินเชื่อ
นอกจากนี้ความต้องการสินเชื่ออุปโภคบริโภคโดยเฉพาะสินเชื่อรถยนต์ก็จะปรับลดลง ด้วย และคาดว่าการลงทุนที่ฟื้นตัวดีขึ้น โดยส่วนใหญ่เป็นการลงทุนภาครัฐ จะเป็นปัจจัยสำคัญที่ช่วยสนับสนุนการขยายตัวของสินเชื่อในปี 2557
อย่างไรก็ดี มีมุมมองเชิงบวกต่ออัตราการขยายตัวของสินเชื่อธุรกิจขนาดใหญ่และ SMEs มากกว่าสินเชื่ออุปโภคบริโภคโดยเฉพาะสินเชื่อรถยนต์ และมีความกังวลเกี่ยวกับคุณภาพของสินเชื่ออุปโภคบริโภคมากกว่าสินเชื่อภาคธุรกิจ เนื่องจากหนี้ครัวเรือนอยู่ในระดับสูงถึง 80% ของ GDP
โดยยังคงเลือก BBL และ KTB เป็น top picks เนื่องจากคาดว่าจะได้รับประโยชน์จากวัฏจักรการลงทุนที่เกิดจากโครงการลงทุนพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน 2 ล้านล้านบาท และมีความเสี่ยงต่ำที่จะได้รับผลกระทบจากหนี้ครัวเรือนระดับสูง
posted from Bloggeroid
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น