New Economy สำหรับ Emerging Market
ในช่วงหลายเดือนที่ผ่าน นักลงทุนกังวลต่อการขยายตัวของเศรษฐกิจโลก โดยหลายสำนักทั้งธนาคารโลก หรือ IMF ล้วนแล้วแต่ปรับการคาดการณ์การขยายตัวของเศรษฐกิจโลกลง โดยเฉพาะประเทศจีนโดนหนักสุด และยิ่งกังวลมากขึ้น เมื่อมีการประกาศตัวเลข PMI ภาคการผลิตเดือนธ.ค. 58 และม.ค. 59 ปรากฏว่าปรับตัวลดลง และถือว่าเป็นหนึ่งในสาเหตุสำคัญที่ทำให้ตลาดหุ้นปรับตัวลดลงทั่วโลกในช่วงต้นปี อย่างไรก็ตาม หากวิเคราะห์กันอีกมุมหนึ่ง แม้ว่า PMI ภาคการผลิตของโลกจะลดลง แต่ PMI ภาคบริการของโลกกลับปรับเพิ่มขึ้น รวมถึงประเทศจีนด้วย และหากมองย้อนกลับไปตั้งแต่ปี 2556 เราจะพบว่า PMI ภาคบริการของโลกมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นตลอด สวนทางกับ PMI ภาคการผลิตที่มีแนวโน้มลดลงจึงเกิดคำถามว่าเกิดอะไรขึ้น
ในความเป็นจริง ประเทศพัฒนาแล้วเช่นสหรัฐหรือบางประเทศในยุโรป จะมีสัดส่วนของธุรกิจบริการสูงมากกว่า 70% ของขนาดเศรษฐกิจหรือจีดีพี ขณะที่ประเทศกำลังพัฒนาหรือกลุ่มประเทศเกิดใหม่ (Emerging Market) เช่น จีนรวมถึงประเทศไทยด้วย จะมีสัดส่วนธุรกิจบริการต่ำกว่ามาก แต่หากมองที่ประเทศจีนสัดส่วนธุรกิจบริการเพิ่มขึ้นจาก 41.2% ของขนาดเศรษฐกิจในปี 2547 เป็น 48.1% ในปี 2557 แม้ว่าจะยังต่ำเมื่อเทียบกับประเทศพัฒนาแล้ว แต่ก็แสดงให้เห็นว่าประเทศจีนพยายามปฏิรูปประเทศไปสู่ภาคบริการมากขึ้น ส่วนภาคอุตสาหกรรมพยายามพึ่งพาลดลง โดยหันไปลงทุนสร้างโรงงานผลิตสินค้าในต่างประเทศแทน ซึ่งการเปลี่ยนแปลงเหล่านี้นี่แหละที่เรียกว่า New Economy
ทำไมต้องเปลี่ยนไปภาคบริการมากขึ้น นั้นเป็นเพราะว่างานในภาคบริการจะให้ผลตอบแทน เช่นเงินเดือนสำหรับคนทำงาน หรือกำไรสำหรับผู้ประกอบการมากกว่าภาคอุตสาหกรรม ดูบริษัทไทยก็เห็นครับว่าภาคอุตสาหกรรมทำอัตรากำไรขั้นต้นได้เท่าไร ส่วนธุรกิจบริการเช่นกลุ่มค้าปลีก กลุ่มโรงพยาบาลหรือกลุ่มโรงแรม ทำอัตรากำไรขั้นต้นได้มากกว่าเท่าไร ดังนั้นการเปลี่ยนเป็นภาคบริการจะทำให้ประเทศมีรายได้มากขึ้น การบริโภคในประเทศจะเพิ่มขึ้น และประเทศจะได้ไม่ต้องพึ่งพาการส่งออกมากเกินไป ซึ่งไม่ใช่ประเทศจีนเท่านั้นที่ต้องเปลี่ยน ไทยก็ต้องเปลี่ยนโครงสร้างนี้เช่นกัน เพราะหากไม่เปลี่ยน แล้วประเทศไทยเข้าสู่ยุคสูงวัย เราจะไม่มีคนงานในภาคการผลิตเพียงพอ เพราะตอนนี้จำนวนแรงงานไทยก็ปรับลดลงต่อเนื่องจากขึ้นไปสูงสุดที่ 40 ล้านคน ตอนนี้เหลือเพียง 38 ล้านคน และกำลังลดลงเรื่อยๆ หากเป็นแบบนี้แล้วเราจะหวังให้ต่างประเทศมาลงทุนเพื่อเพิ่มกำลังการผลิตในประเทศอีกเหรอ ไม่แปลกใจที่ทำไมเขาย้ายฐานกำลังการผลิตไปเวียดนาม ไปพม่า ไปกัมพูชากันหมด
ในความเป็นจริง ประเทศพัฒนาแล้วเช่นสหรัฐหรือบางประเทศในยุโรป จะมีสัดส่วนของธุรกิจบริการสูงมากกว่า 70% ของขนาดเศรษฐกิจหรือจีดีพี ขณะที่ประเทศกำลังพัฒนาหรือกลุ่มประเทศเกิดใหม่ (Emerging Market) เช่น จีนรวมถึงประเทศไทยด้วย จะมีสัดส่วนธุรกิจบริการต่ำกว่ามาก แต่หากมองที่ประเทศจีนสัดส่วนธุรกิจบริการเพิ่มขึ้นจาก 41.2% ของขนาดเศรษฐกิจในปี 2547 เป็น 48.1% ในปี 2557 แม้ว่าจะยังต่ำเมื่อเทียบกับประเทศพัฒนาแล้ว แต่ก็แสดงให้เห็นว่าประเทศจีนพยายามปฏิรูปประเทศไปสู่ภาคบริการมากขึ้น ส่วนภาคอุตสาหกรรมพยายามพึ่งพาลดลง โดยหันไปลงทุนสร้างโรงงานผลิตสินค้าในต่างประเทศแทน ซึ่งการเปลี่ยนแปลงเหล่านี้นี่แหละที่เรียกว่า New Economy
ทำไมต้องเปลี่ยนไปภาคบริการมากขึ้น นั้นเป็นเพราะว่างานในภาคบริการจะให้ผลตอบแทน เช่นเงินเดือนสำหรับคนทำงาน หรือกำไรสำหรับผู้ประกอบการมากกว่าภาคอุตสาหกรรม ดูบริษัทไทยก็เห็นครับว่าภาคอุตสาหกรรมทำอัตรากำไรขั้นต้นได้เท่าไร ส่วนธุรกิจบริการเช่นกลุ่มค้าปลีก กลุ่มโรงพยาบาลหรือกลุ่มโรงแรม ทำอัตรากำไรขั้นต้นได้มากกว่าเท่าไร ดังนั้นการเปลี่ยนเป็นภาคบริการจะทำให้ประเทศมีรายได้มากขึ้น การบริโภคในประเทศจะเพิ่มขึ้น และประเทศจะได้ไม่ต้องพึ่งพาการส่งออกมากเกินไป ซึ่งไม่ใช่ประเทศจีนเท่านั้นที่ต้องเปลี่ยน ไทยก็ต้องเปลี่ยนโครงสร้างนี้เช่นกัน เพราะหากไม่เปลี่ยน แล้วประเทศไทยเข้าสู่ยุคสูงวัย เราจะไม่มีคนงานในภาคการผลิตเพียงพอ เพราะตอนนี้จำนวนแรงงานไทยก็ปรับลดลงต่อเนื่องจากขึ้นไปสูงสุดที่ 40 ล้านคน ตอนนี้เหลือเพียง 38 ล้านคน และกำลังลดลงเรื่อยๆ หากเป็นแบบนี้แล้วเราจะหวังให้ต่างประเทศมาลงทุนเพื่อเพิ่มกำลังการผลิตในประเทศอีกเหรอ ไม่แปลกใจที่ทำไมเขาย้ายฐานกำลังการผลิตไปเวียดนาม ไปพม่า ไปกัมพูชากันหมด
คำถามต่อมาสำหรับนักลงทุนคือแล้วหุ้นกลุ่มไหน บริษัทไหน จะได้ประโยชน์จากการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างไปสู่ New Economy
1) กลุ่มที่ได้ประโยชน์โดยตรง แน่นอนคงหนีไม่พ้นกลุ่มธุรกิจบริการ เพราะธุรกิจเหล่านี้จะเป็นกำลังหลักในการเติบโตของเศรษฐกิจในตลาดเกิดใหม่ รวมถึงไทยด้วย ซึ่งประกอบไปด้วยธุรกิจท่องเที่ยวที่ประเทศไทยมีความได้เปรียบเชิงภูมิศาสตร์และความเป็นมิตรของคนไทย (โรงแรม สายการบิน สนามบิน สปา ร้านอาหาร ฯลฯ) ธุรกิจโรงพยาบาลที่จะได้ประโยชน์จากสังคมสูงวัยด้วย ธุรกิจค้าปลีกที่จะได้ประโยชน์จากการเป็นศูนย์กลางคมนาคมของ AEC ธุรกิจประกันภัยประกันชีวิตที่คนไทยยังมีการทำประกันกันน้อยเมื่อเทียบกับประเทศพัฒนาแล้ว หรือแม้กระทั่งกลุ่ม ICT ที่ได้ประโยชน์จาก Digital Economy เป็นต้น
2) กลุ่มที่ได้ประโยชน์โดยอ้อม เช่นกลุ่มธุรกิจอสังหาฯ รับเหมาก่อสร้าง ซึ่งจะได้ประโยชน์จากการเร่งก่อสร้างโครงสร้างพื้นฐานเพื่อรองรับการเปลี่ยนโครงสร้างเศรษฐกิจ กลุ่มธุรกิจการเงิน ที่เน้นการบริหารสภาพคล่องและบริหารความมั่งคั่งให้กับลูกค้า ในขณะที่การปล่อยสินเชื่อจะเริ่มมีความสำคัญลดลง เป็นต้น
2) กลุ่มที่ได้ประโยชน์โดยอ้อม เช่นกลุ่มธุรกิจอสังหาฯ รับเหมาก่อสร้าง ซึ่งจะได้ประโยชน์จากการเร่งก่อสร้างโครงสร้างพื้นฐานเพื่อรองรับการเปลี่ยนโครงสร้างเศรษฐกิจ กลุ่มธุรกิจการเงิน ที่เน้นการบริหารสภาพคล่องและบริหารความมั่งคั่งให้กับลูกค้า ในขณะที่การปล่อยสินเชื่อจะเริ่มมีความสำคัญลดลง เป็นต้น
สำหรับการเลือกลงทุนบริษัทไหนนั้น ผมขอเน้นไปที่บริษัทที่มีขนาดใหญ่ ไว้ก่อน และต้องเป็นผู้นำในธุรกิจนั้นๆ มีฐานะทางการเงินที่แข็งแกร่ง และมีความสามารถในการแข่งขันได้ดี ไม่ใช่เฉพาะคู่แข่งในประเทศเท่านั้น แต่รวมถึงคู่แข่งจากต่างประเทศด้วย โดยหุ้นที่ผมแนะนำประกอบด้วย
MINT CENTEL ผู้นำในธุรกิจโรงแรม ทั้งในประเทศและต่างประเทศ มีแบรนด์โรงแรมเป็นของตัวเอง และมีแผนในอนาคตที่ชัดเจน นอกจากนั้นยังมี
AOT ที่ได้ประโยช์แน่ๆ จากการเติบโตของธุรกิจท่องเที่ยวในไทย ติดนิดเดียวราคาแพงไปหน่อย อาจรอซื้อได้
BH BDMS ประเทศไทยถือว่าได้เปรียบสูงมาในแง่ของธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพ มีชื่อเสียงไปทั่วโลก และค่ารักษาไม่แพงเมื่อเทียบกับประเทศคู่แข่ง
CPN CPALL เป็นผู้นำในธุรกิจค้าปลีก CPN เป็นผู้นำในการสร้างห้างให้เช่า ส่วน CPALL เป็นผู้นำในธุรกิจร้านสะดวกซื้อ ที่หาคู่แข่งได้ยาก และแม้กระทั่งคู่แข่งต่างประเทศก็คงเข้ามาไม่ได้ง่าย
ADVANC แม้ระยะสั้นจะได้รับผลกระทบจากการแข่งขันที่รุนแรง เพราะมีผู้เล่นรายใหม่เข้ามา แต่ระยะยาวเชื่อได้ว่า AIS จะสามารถยืนหยัดเป็นผู้นำในกลุ่ม ICT ได้อย่างต่อเนื่อง
PS SPALI 2 ผู้นำในธุรกิจอสังหาฯ ต้องยอมรับว่าหุ้นกลุ่มนี้ราคาค่อนข้างผันผวน อาจอาศัยจังหวะเกิดวิกฤติเศรษฐกิจค่อยเข้าซื้อก็ได้ แต่ผมเชื่อว่าด้วยพฤติกรรมผู้บริโภคที่เปลี่ยนไป ประกอบกับการเติบโตของโครงสร้างพื้นฐานในประเทศ จะทำให้หุ้นกลุ่มนี้ได้ประโยชน์ในระยะยาว
AOT ที่ได้ประโยช์แน่ๆ จากการเติบโตของธุรกิจท่องเที่ยวในไทย ติดนิดเดียวราคาแพงไปหน่อย อาจรอซื้อได้
BH BDMS ประเทศไทยถือว่าได้เปรียบสูงมาในแง่ของธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพ มีชื่อเสียงไปทั่วโลก และค่ารักษาไม่แพงเมื่อเทียบกับประเทศคู่แข่ง
CPN CPALL เป็นผู้นำในธุรกิจค้าปลีก CPN เป็นผู้นำในการสร้างห้างให้เช่า ส่วน CPALL เป็นผู้นำในธุรกิจร้านสะดวกซื้อ ที่หาคู่แข่งได้ยาก และแม้กระทั่งคู่แข่งต่างประเทศก็คงเข้ามาไม่ได้ง่าย
ADVANC แม้ระยะสั้นจะได้รับผลกระทบจากการแข่งขันที่รุนแรง เพราะมีผู้เล่นรายใหม่เข้ามา แต่ระยะยาวเชื่อได้ว่า AIS จะสามารถยืนหยัดเป็นผู้นำในกลุ่ม ICT ได้อย่างต่อเนื่อง
PS SPALI 2 ผู้นำในธุรกิจอสังหาฯ ต้องยอมรับว่าหุ้นกลุ่มนี้ราคาค่อนข้างผันผวน อาจอาศัยจังหวะเกิดวิกฤติเศรษฐกิจค่อยเข้าซื้อก็ได้ แต่ผมเชื่อว่าด้วยพฤติกรรมผู้บริโภคที่เปลี่ยนไป ประกอบกับการเติบโตของโครงสร้างพื้นฐานในประเทศ จะทำให้หุ้นกลุ่มนี้ได้ประโยชน์ในระยะยาว
อย่างไรก็ตามนี่เป็นภาพระยะยาว ไม่ได้คาดหวังว่าราคาจะขึ้นแรงในระยะสั้นนะครับ KFC ทุกท่าน
ลงทุนอย่างมีความสุขครับ
กวี ชูกิจเกษม
กวี ชูกิจเกษม
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น