- ตลาดการเงินโลกมีความเสี่ยงเพิ่มสูงขึ้น นัก
ลงทุนกังวลกับความเสี่ยงภาคธนาคารของยูโรโซนและได้หันไปลงทุนในสินทรัพย์ที่
ปลอดภัยอย่างพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯ และญี่ปุ่น
ส่งผลให้อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯ ระยะเวลา 10 ปี ลดลง 10 basis
point จากวันที่ 5 กุมภาพันธ์
และอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลญี่ปุ่นลดลงไปติดลบเป็นครั้งแรกที่ระดับ
-0.3% จาก 0.1% อย่างไรก็ตาม โอกาสที่เหตุการณ์ดังกล่าวจะบานปลายเป็นวิกฤติการเงินยังไม่สูงนัก
เนื่องจาก 1) ธนาคารดอยซ์แบงก์ยังมีเงินสำรองอยู่ราว 2.2 แสนล้านยูโร
ซึ่งเพียงพอต่อการชำระหนี้หุ้นกู้ที่ปัจจุบันมีมูลค่ารวม 5 หมื่นล้านยูโร
และหุ้นกู้ด้อยสิทธิที่เป็นกองทุนของธนาคารอีกราว 1.6 หมื่นล้านยูโร
สอดคล้องกับด้านโกลด์แมน แซคส์
ที่กล่าวว่ายังคงมีความเชื่อมั่นต่อภาคธนาคารพาณิชย์ในยูโรโซนเนื่องจากยัง
มีสภาพคล่องและเงินกองทุนเพียงพอและสามารถลดความเสี่ยงจากการเกิดวิกฤติการ
เงินได้ 2) ธนาคารดอยซ์แบงก์เป็นธนาคารขนาดใหญ่ที่รัฐบาลจะไม่ปล่อยให้ล้ม
(too big to fail) 3) ธนาคารกลางยุโรป (European Central Bank: ECB)
ยังดำเนินมาตรการอัดฉีดสภาพคล่อง (QE)
อย่างต่อเนื่องและมีแนวโน้มขยายวงเงินเพิ่มขึ้น
- การลดอัตราดอกเบี้ยให้ติดลบของธนาคารกลางยุโรปเผชิญอุปสรรคมากขึ้น
การขาดทุนของธนาคารขนาดใหญ่อย่างดอยซ์แบงก์เป็นสัญญาณบ่งบอกว่าธนาคาร
พาณิชย์บางแห่งในยูโรโซนยังไม่แข็งแรงมากนัก ซึ่งอาจเป็นอุปสรรคต่อ ECB
ที่จะผ่อนคลายนโยบายการเงินเพิ่มเติมโดยการลดอัตราดอกเบี้ยที่ธนาคารพาณิชย์
ฝากไว้กับ ECB (deposit facility rate)
ลงไปติดลบมากขึ้นจากปัจจุบันที่อยู่ระดับ -0.3% ทั้งนี้
เนื่องจากอัตราดอกเบี้ยที่ติดลบนี้ส่งผลให้ธนาคารพาณิชย์มีต้นทุนสูงขึ้นแต่
ไม่สามารถผลักภาระไปยังผู้ฝากเงินได้
เนื่องจากอัตราดอกเบี้ยเงินฝากไม่สามารถลดลงต่ำได้อีก
ดังนั้นจึงอาจกระทบต่อความสามารถในการทำกำไรของธนาคารมากขึ้น
- ธนาคารกลางสหรัฐฯ (Fed) มีแนวโน้มส่งสัญญาณที่ชัดเจนขึ้นในการชะลอปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย จาก ความเสี่ยงของเศรษฐกิจโลกที่เพิ่มขึ้นอย่างมากในปัจจุบันเทียบกับการประชุม Fed ในเดือนธันวาคม ซึ่ง Fed ประเมินว่าอัตราดอกเบี้ยอาจปรับขึ้นได้ถึง 1.00% ในปี 2016 อย่างไรก็ตาม ในช่วงต้นเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมา นายวิลเลียม ดัดลีย์ ประธาน Fed สาขานิวยอร์ค กล่าวว่า สภาวะการเงินโลกมีความตึงตัวขึ้นหลังจากการประชุมในเดือนธันวาคม ดังนั้น หากสถานการณ์ยังยืดเยื้อไปถึงการประชุมเดือนมีนาคม คณะกรรมการ Fed จะนำมาพิจารณาการดำเนินนโยบายการเงินด้วย ดังนั้น หลังจากที่มีเหตุการณ์ความผันผวนในตลาดหุ้นยุโรป ซึ่งส่งผลกระทบไปยังตลาดหุ้นสหรัฐฯ อาจทำให้ Fed มีแนวโน้มส่งสัญญาณชะลอการขึ้นอัตราดอกเบี้ยได้ ทั้งนี้ อีไอซี คาดว่าในปีนี้ Fed จะขึ้นอัตราดอกเบี้ยได้เพียง 0.50% ในปี 2016
|
|
|
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น