ข่าวหุ้น - กระบอกเสียงอิสระแห่งตลาดทุน:: PICNI สู่ชีวิตยุคที่สาม
รายงานพิเศษ วันศุกร์ที่ 25 เมษายน 2557
ผู้เข้าชม : 2 คน
ปฏิบัติการตามขั้นตอนของกฎหมายเพื่อกลับมาซื้อขายรอบใหม่ ซึ่งกินเวลาอีกนาน อาจจะเป็นปลายปี 2557 หรือ 2558 ของกลุ่มผู้ถือหุ้นใหญ่คนใหม่ บริษัทจัดจำหน่ายแก๊สหุงต้มที่ผ่านมรสุมการเงินมาแล้ว 2 ระลอก บริษัท ปิคนิค คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ PICNI ได้รุกคืบหน้าไปอีกก้าวในสัปดาห์นี้
วันที่ 23 เมษายนที่ผ่านมา ที่ประชุมคณะกรรมการบริษัทมีมติอนุมัติให้นำเสนอต่อที่ประชุมผู้ถือหุ้นเพื่อพิจารณาดำเนินการควบรวมกิจการ ระหว่าง PICNI และบริษัท เวิลด์แก๊ส (ประเทศไทย) จำกัด (WG) โดยจะมีการจัดตั้งคณะทำงานร่วมระหว่างบริษัททั้งสองขึ้นมาเพื่อศึกษา และดำเนินการในเรื่องต่างๆ ที่เกี่ยวกับการประสานงาน การบริหารจัดการ การพนักงาน ระบบบัญชี และระบบภายในอื่นๆ เพื่อจัดโครงสร้างบริษัทใหม่ที่จะเกิดขึ้นภายหลังการควบรวม
แนวทางควบรวมกิจการดังกล่าว มองได้ 2 มุมพร้อมกันคือ มุมแรก เป็นการเติมสินทรัพย์ของ WG เข้ามาเพื่อให้ PICNI เติบโตอย่างก้าวกระโดด เพราะจากข้อมูลนั้น ปรากฏว่า ล่าสุด สินทรัพย์ในส่วนของ WG มีอยู่ประมาณ 5 พันล้านบาท ในขณะที่สินทรัพย์ทั้งหมดของ PICNI มีอยู่เพียงแค่ประมาณ 2.5 พันล้านบาทเท่านั้น หากนำสินทรัพย์มารวมกันจะมี มูลค่ามากถึง 7.5 พันล้านบาท เลยทีเดียว
มุมที่สองคือ การนำเอา WG เข้าเป็นบริษัทจดทะเบียนมหาชนทางประตูหลังอย่างแนบเนียนผ่านการควบรวมกิจการ หลังจากที่ PICNI ได้รับอนุมัติให้ออกจากแผนฟื้นฟูเมื่อปลายเดือนมีนาคม 2557 ที่ผ่านมานี้เอง
หากขั้นตอนนี้บรรลุผล ก็หมายความว่า ยุคที่ 3 ของบริษัทนี้(นับจากยุคก่อตั้ง หรือยุคที่ 2 ของภายใต้ชื่อ PICNI) ได้เริ่มต้นขึ้น เพื่อกลับมาแข็งแกร่งรอบใหม่ หลังจากถูกมรสุมทางการเงินจากมหากาพย์ฉ้อฉลอันเป็นฝันร้ายของนักลงทุนกระหน่ำอย่างรุนแรง จนกระทั่งถูกพักการซื้อขายบนกระดานหุ้นในตลาดหลักทรัพย์ฯนานหลายปีจนถึงปัจจุบัน
PICNI เดิมชื่อบริษัท บีจีอีเอส เอ็นจิเนียริ่ง ซีสเต็มส์ จำกัด (มหาชน) ประกอบธุรกิจวิศวกรรมประเภทรับเหมาก่อสร้าง เช่น งานระบบปรับอากาศ ระบบไฟฟ้า และระบบป้องกันอัคคีภัย แต่ต่อมาประสบปัญหาทางการเงินรุนแรงหลังวิกฤตต้มยำกุ้ง 2540 จนได้ยื่นขอฟื้นฟูกิจการต่อศาลล้มละลายกลาง ในวันที่ 22 ตุลาคม 2544 ซึ่งเปิดทางให้กลุ่มผู้ถือหุ้นรายใหม่
ผู้ลงทุนรายใหม่ คือ บริษัท ยูเนี่ยนแก๊ส แอนด์ เคมิคัลส์ จำกัด โดยตระกูลลาภวิสุทธิสิน ได้เข้ามาฟื้นฟูกิจการ พร้อมทั้งเปลี่ยนชื่อบริษัทใหม่เป็น บริษัท ปิคนิคแก๊ส แอนด์ เคมิคัลส์ จำกัด (มหาชน) โดยการซื้อทรัพย์สินจาก บริษัท ยูเนียนแก๊ส แอนด์ เคมิคัลส์ จำกัด เข้ามาในกิจการ และเริ่มประกอบธุรกิจค้าก๊าซปิโตรเลียมเหลวในวันที่ 1 เมษายน 2546 ซึ่งต่อมาบริษัทได้รับคำสั่งจากศาลล้มละลายกลางให้ยกเลิกการฟื้นฟูกิจการในวันที่ 18 กันยายน 2546 และ เปลี่ยนชื่อเป็น บริษัท ปิคนิคแก๊ส แอนด์ เอ็นจิเนียริ่ง จำกัด (มหาชน) และเปลี่ยนอีกครั้งเป็นชื่อปัจจุบัน
เส้นทางการดำเนินธุรกิจของ PICNI เริ่มต้นจากการระดมทุนจากตลาดหลักทรัพย์ และการสร้างหนี้โดยอาศัยฐานทุนเป็นเครื่องมืออ้างอิง พร้อมกับใช้วิศวกรรมการเงินหลายระลอก เพื่อนำไปสร้างทรัพย์สินทั้งในประเทศและต่างประเทศ โดยการเข้าซื้อกิจการเข้ามาใต้ร่มธง ในช่วงปี 2547-2548 ประหนึ่งใช้เงินต่อเงิน
การเพิ่มทุนของบริษัทหลายระลอกจากระดับ 350 ล้านบาท เป็น 750 ล้านบาท แล้วก็ตามมาด้วย 1,296.18 ล้านบาท 2,955.35 ล้านบาท และ 4,453.45 ล้านบาท หรือ 10 กว่าภายในช่วงระยะเวลา 3 ปี รวมทั้งตราสารอื่นๆ เพิ่มเติม ทำให้สินปี 2548 PICNI มีสินทรัพย์รวมมากถึง 11,857 ล้านบาท และมีหนี้สินรวม 8,574 ล้านบาท ส่วนรายได้อยู่ที่ 20,598 ล้านบาท
การเติบโตอย่างก้าวกระโดด ไม่เพียงแต่ทำให้เกิดคำถามในความแข็งแกร่งทางการเงินของกิจการเท่านั้น หากยังนำมาซึ่งการกล่าวโทษผู้บริหารและผู้ที่เกี่ยวข้อง ถึง 8 ราย ทั้งการการตั้งค่าความนิยม (good will) ของราคาสินทรัพย์สูงถึง 1,049 ล้านบาท การตกแต่งบัญชีทำสัญญาและรับรู้รายได้ บันทึกเป็นการให้เช่าถังแก๊สไม่ถูกต้อง มูลค่าแต่ละรายการนับ 1,000 ล้านบาท โอนสินทรัพย์บางส่วนโดยทุจริต รวมทั้งการทุจริตยักยอกเงินและหุ้นบริษัทที่เกี่ยวข้อง จนมีการสั่งอายัดทรัพย์สินของผู้ที่ถูกกล่าวโทษ ซึ่งแม้ว่าศาลชั้นต้นสั่งยกฟ้องในปี 2549 แต่ต่อมา ศาลอุทธรณ์ได้พิพากษากลับเมื่อต้นปี 2555
คดีดังกล่าว สืบเนื่องจากเมื่อวันที่ 30 มิถุนายน 2548 ก.ล.ต. ได้กล่าวโทษต่อกรมสอบสวนคดีพิเศษ เพื่อให้ดำเนินคดีกับผู้บริหารหลักและพวกอีก 8 ราย ซึ่งเป็นกรรมการผู้มีอำนาจกระทำการแทนของโรงบรรจุแก๊ส ในกรณีเกี่ยวกับการกระทำความผิดข้างต้น
ความเสื่อมโทรมดังกล่าว ซึ่งเกิดจากฟางเส้นสุดท้ายของยุคตระกูลลาภวิสุทธิสินในปี 2549 เมื่อมีการก่อหนี้จากการออกตั๋วบี/อีของบริษัทขายให้กับบรรดาบริษัทจัดการกองทุนรวมหลายแห่ง ทำให้ บลจ.หลายรายขาดทุนกันป่นปี้เพราะถูกบังคับให้รับสภาพหนี้ที่ไม่มีการจ่ายเป็นเงินสด จนต้องตั้งสำรองหนี้สูญจำนวนมาก รวมทั้งหนี้สินอีกประมาณ 7 พันล้านบาทโดยเจ้าหนี้หลักคือธนาคารกรุงไทยและธนาคารยูโอบี ส่งผลให้ นายสุริยา ลาภวิสุทธิสิน ซึ่งอยู่เบื้องหลังดีลธุรกิจทั้งหมด หายหน้าไปจากประเทศไทย พร้อมทิ้งซากของ PICNI ซึ่งแม้จะถูกพักการซื้อขาย แต่ก็ยังดำเนินการทางธุรกิจในขีดจำกัดต่อไปได้
หลังจากนั้น PICNI ได้ตกอยู่ในฐานะเหยื่อของการเทคโอเวอร์กิจการของนักลงทุนหลายราย ที่แวะเวียนเข้ามา “ทึ้งซากแพะ” เพื่อแก้ปัญหาแผนฟื้นฟูกิจการโดยเฉพาะหนี้ 1,700 ล้านบาท ซึ่งกำหนดโดยกลุ่มเจ้าหนี้ เช่นกลุ่มนายพิมล ศรีวิกรม์ กลุ่ม TSF และกลุ่มพล.ต.อ. สมยศ พุ่มพันธุ์ม่วง อย่างเอาเป็นเอาตาย แต่เมื่อเวลาผ่านไป กลุ่มหลังสุดก็เป็นฝ่ายได้รับชัยชนะ
กลุ่ม พล.ต.อ.สมยศ (ช่วงหนึ่งเรียกว่ากลุ่มเวิลด์แก๊ส) เข้ามาพัวพันกับ PICNI ด้วยประวัติอันวกวน โดยอ้างตนเป็นเจ้าของ WG ผ่านบริษัท แอสเซ็ท มิลเลียน จำกัด หรือ AMC (พล.ต.ท.สมยศ ระบุว่า ตนถือหุ้น 50% ใน AMC ส่วนอีกอีก 49% ถือโดยต่างชาติ) ซึ่งก็มีปัญหากฎหมายกับอดีตเจ้าหนี้รายอื่นๆ ของนายสุริยามาก่อน จนถึงขั้นขึ้นศาลฟ้องร้องกันไปมาหลายคดี แต่ท้ายสุดสำนักงานอัยการพิเศษ คดีพิเศษ 4 ก็ตัดสินให้กลุ่ม พล.ต.อ.สมยศชนะคดีในวันที่ 16 มกราคม 2556 ทำให้การเจรจาเพื่อหาทางออกให้กับ PICNI เริ่มต้นจริงจัง
กลุ่มใหม่นี้ได้วางเงินมัดจำเพื่อทำแผนฟื้นฟูกิจการทันทีภายใน 7 วัน จำนวน 50 ล้านบาท ส่วนที่เหลือของ 1,700 ล้านบาทชำระภายใน 120 วัน และแปลงหนี้อีก 100 ล้านของเจ้าหนี้เป็นทุน มีสัดส่วนถือหุ้นประมาณ 5% ของทุนจดทะเบียนใหม่ภายในเดือนตุลาคม 2556 ส่งผลให้กลายเป็นผู้พื้นฟูแผนกิจการ PICNI จนกระทั่งสามารถออกจากแผนฟื้นฟูมาได้ และเริ่มขั้นตอนต่อไปล่าสุดนี้
แนวทางของเดิมกลุ่มพล.ต.อ. สมยศคือ พยายามดำเนินการให้หุ้น PICNI กลับมาซื้อขายก่อน จากนั้นก็ค่อยแต่งตัวให้ WG เข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ ก่อนที่จะนำเวิลด์แก๊ส และ PICNI ควบรวมกิจการ เพื่อเพิ่มมูลค่าให้กิจการ แต่การตัดสินใจล่าสุด มีการเปลี่ยนแปลงไปโดยควบรวมกันโดยไม่ต้องรอแต่งตัว WG เข้าตลาดเสียก่อนตามเดิม
ตามแผนนี้ มีรายละเอียดที่น่าสนใจ (ดูตารางประกอบ) โดยมีเป้าหมายชัดเจนคือ “ยิงกระสุนนัดเดียวได้นกหลายตัว” นับแต่การสร้างสินทรัพย์จากการควบรวมกิจการ พร้อมไปกับการเจรจาเจ้าหนี้ และผู้ถือหุ้นเดิมที่คัดค้าน รวมทั้งการกลับมาทำกำไรโดยรวดเร็วเพื่อสร้างมูลค่ากิจการรวมตลอดถึง การปรับโครงสร้างกิจการ โครงสร้างหนี้ และโครงสร้างทุนธุรกิจค้าก๊าซปิโตรเลียมเหลวในประเทศเวียดนาม ของปิคนิค อินเตอร์ เสียใหม่ซึ่งมีทั้งฟื้นฟูกลับมาทำ หรือขายทิ้งออกไป
กระบวนการควบรวม PICNI และ WG ตามแผนที่กำหนด
ควบรวมกิจการ
ตั้งบริษัทขึ้นใหม่ มีทุนจดทะเบียนเท่ากับ 2,760,565,700 บาท แบ่งออกเป็นหุ้นสามัญจานวนทั้งสิ้น 2,760,565,700 หุ้น มูลค่าที่ตราไว้หุ้นละ 1 บาท ซึ่งเท่ากับทุนชำระแล้วทั้งหมดของ PICNI และของ WG รวมกัน
จัดสรรโครงสร้างผู้ถือหุ้นใหม่
จัดสรรหุ้นของบริษัทใหม่ให้แก่ผู้ถือหุ้นของ PICNI และผู้ถือหุ้นของ WG ในอัตราส่วนดังนี้ 1 หุ้นเดิมใน PICNI ต่อ 0.452795821 หุ้นในบริษัทใหม่ และ 1 หุ้นเดิมใน WG ต่อ 70.729660964 หุ้นในบริษัทใหม่
แต่งตั้งที่ปรึกษาการเงินอิสระ
แต่งตั้งบริษัท แคปปิตอล แอ๊ดแวนเทจ จำกัด เป็นที่ปรึกษาการเงินอิสระ เพื่อให้ความเห็นแก่ผู้ถือหุ้นในการพิจารณาลงมติเกี่ยวกับการควบรวมบริษัท
ขออนุมัติผู้ถือหุ้นให้ความเห็นชอบการควบรวมบริษัท
PICNI และ WG จัดประชุมผู้ถือหุ้น โดยที่ประชุมผู้ถือหุ้นของแต่ละบริษัทต้องมีมติอนุมัติการควบบริษัท ด้วยคะแนนเสียงไม่น้อยกว่า 3 ใน 4 ของจำนวนเสียงทั้งหมดที่มาประชุมและมีสิทธิออกเสียง
จัดให้มีผู้ซื้อหุ้นทำเทนเดอร์ ออฟเฟอร์ สำหรับผู้ที่คัดค้านการควบรวมกิจการ โดยกำหนดช่วงเวลารับซื้อหุ้นทั้งหมด 14 วันนับแต่วันที่ผู้ถือหุ้นที่คัดค้านได้รับคำเสนอซื้อ
นายพิศาล พุ่มพันธุ์ม่วง ได้แสดงเจตจำนงในการเป็นผู้รับซื้อหุ้นจากผู้ถือหุ้นของบริษัทที่คัดค้านการควบรวมบริษัท ในราคาที่ซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยครั้งสุดท้ายก่อนวันประชุมวิสามัญผู้ถือหุ้นครั้งที่ 1/2557 ของบริษัท ราคารับซื้อจะไม่เกินกว่า 1 บาทต่อหุ้น
ดำเนินการขอความเห็นชอบจากเจ้าหนี้เงินกู้ยืมตามสัญญาเงินกู้ยืมกับสถาบันการเงิน หรือคู่สัญญาตามสัญญาใดๆ ที่อาจมีเหตุผิดนัดอันเนื่องมาจากการควบรวมบริษัท
PICNI และ WG ต้องแจ้งให้เจ้าหนี้ (ทั้งเจ้าหนี้เงินกู้ยืม เจ้าหนี้การค้า หรือเจ้าหนี้อื่นๆ) ภายใน 14 วันนับแต่วันที่ที่ประชุมผู้ถือหุ้นของ PICNI และ WG มีมติอนุมัติการควบรวมบริษัท เกี่ยวกับการที่ที่ประชุมผู้ถือหุ้นของตนมีมติควบรวมบริษัท เพื่อให้เจ้าหนี้มีโอกาสคัดค้าน ซึ่งจะต้องกระทำภายใน 2 เดือนนับแต่วันที่ที่เจ้าหนี้ได้รับหนังสือแจ้งมติ และให้ PICNI และ WG มีหน้าที่ในการโฆษณามติทางหนังสือพิมพ์ภายในกำหนด 14 วันนั้นด้วย
การดำเนินการทั้งหมดนี้ มีข้อกำหนดเพิ่มเติมให้แล้วเสร็จภายใน 6 เดือนนับแต่วันที่ที่ประชุมผู้ถือหุ้นของ PICNI และ WG ได้มีมติอนุมัติการควบบริษัท เว้นแต่ที่ประชุมผู้ถือหุ้นร่วมดังกล่าวลงมติให้ขยายเวลาออกไปแต่เมื่อรวมเวลาทั้งหมดแล้วต้องไม่เกิน 1 ปี
หลังจากนั้นแล้ว บริษัทใหม่ที่เกิดจากการควบรวม ได้กลายเป็นหลักทรัพย์จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯ เรียบร้อย บริษัทใหม่จะต้องยื่นคำขอเพื่อให้หุ้นสามัญของบริษัทใหม่กลับมาซื้อขายได้อีกครั้งหนึ่ง เพื่อปลดปล่อยนักลงทุนรายย่อยที่มีอยู่ 9,583 ราย ได้รับประโยชน์กลับคืนจากการถือใบหุ้นที่เคยไร้ค่า ไม่ต้องถูกแช่แข็งอีกต่อไป
สำหรับรายละเอียดทางการเงินก่อนการเพิ่มทุน ปัจจุบัน PICNI มีทุนจดทะเบียนชำระแล้ว 2,000.00
ล้านบาท ราคาพาร์หุ้นละ 1 บาท มีตราสินค้าปิคนิคแก๊สเป็นทรัพย์สินทางปัญญา มีคลังเก็บก๊าซปิโตรเลียมเหลว 2 แห่งที่สมุทรสงคราม มีความจุสูงสุด 1,870 ตัน และที่อำเภอห้างฉัตร จังหวัดลำปาง ซึ่งมีความจุสูงสุด 180 ตัน มีบริษัทย่อยทั้งหมด 2 บริษัท ได้แก่ (1) Picnic Corporation (Singapore) Pte. Ltd. ค้าปิโตรเลียมเหลว และ (2) บริษัท ปิคนิค มารีน จำกัด บริการขนส่งก๊าซปิโตรเลียมเหลวทางเรือ และมีบริษัทร่วม 1 บริษัท ได้แก่ บริษัท เอ็นเนซอล จำกัด ประกอบธุรกิจผลิตและจำหน่ายกระแสไฟฟ้า และพลังงานความร้อน
ส่วน WG มีทุนจดทะเบียน 760.56 ล้านบาท ราคาพาร์หุ้นละ 29 บาท มีทรัพย์สินเป็นเครื่องหมายการค้า "เวิลด์แก๊ส" มีคลังเก็บก๊าซปิโตรเลียมเหลว 2 แห่ง ที่อำเภอบางปะกง จังหวัดฉะเชิงเทรา ซึ่งมีความจุสูงสุด 2,780 ตัน และ ที่ตำบลท่าพระ อำเภอเมืองขอนแก่น จังหวัดขอนแก่น ซึ่งมีความจุสูงสุด 60 ตัน มีบริษัทย่อย 2 บริษัท ได้แก่ (1) บริษัท อุตสาหกรรม เอส.ซี.เอส. จำกัด ค้าปิโตรเลียมเหลว และ (2) บริษัท อีเกิ้ล อินเตอร์ทรานส์ จำกัด บริการขนส่งก๊าซปิโตรเลียมเหลว และมีบริษัทร่วมอีก 1 บริษัท ได้แก่ บริษัท สอง ส. ปิโตรเลียม จำกัด ทำธุรกิจสถานีบริการ แต่มีแผนที่จะสร้างคลังเก็บก๊าซปิโตรเลียมเหลวเพิ่มอีก 4 แห่ง ได้แก่ อำเภอบางปะกง จังหวัดฉะเชิงเทรา, อำเภอเมือง จังหวัดนครสวรรค์, อำเภอจักราช จังหวัดนครราชสีมา และอำเภอบ้านแฮด จังหวัดขอนแก่น
ไม่มีใครรู้อนาคตว่า PICNI ภายใต้นายตำรวจใหญ่นักลงทุน “ขาใหญ่” อย่างกลุ่ม พล.ต.อ.สมยศ จะกลับมาฟื้นกิจการแข็งแกร่งได้อีกครั้งมากน้อยเพียงใด แต่ขั้นตอนของการต่อสู้แย่งชิงกิจการอันยาวนาน ด้วยต้นทุนไม่ใช่น้อย ทำให้มองเห็นชัดเจนว่า ยุคที่สองของบริษัทกำลังจะผ่านไปเป็นอดีตที่ผ่านเลย และเริ่มต้นยุคที่สามอย่างเป็นทางการได้เสียที
รายงานพิเศษ วันศุกร์ที่ 25 เมษายน 2557
ผู้เข้าชม : 2 คน
ปฏิบัติการตามขั้นตอนของกฎหมายเพื่อกลับมาซื้อขายรอบใหม่ ซึ่งกินเวลาอีกนาน อาจจะเป็นปลายปี 2557 หรือ 2558 ของกลุ่มผู้ถือหุ้นใหญ่คนใหม่ บริษัทจัดจำหน่ายแก๊สหุงต้มที่ผ่านมรสุมการเงินมาแล้ว 2 ระลอก บริษัท ปิคนิค คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ PICNI ได้รุกคืบหน้าไปอีกก้าวในสัปดาห์นี้
วันที่ 23 เมษายนที่ผ่านมา ที่ประชุมคณะกรรมการบริษัทมีมติอนุมัติให้นำเสนอต่อที่ประชุมผู้ถือหุ้นเพื่อพิจารณาดำเนินการควบรวมกิจการ ระหว่าง PICNI และบริษัท เวิลด์แก๊ส (ประเทศไทย) จำกัด (WG) โดยจะมีการจัดตั้งคณะทำงานร่วมระหว่างบริษัททั้งสองขึ้นมาเพื่อศึกษา และดำเนินการในเรื่องต่างๆ ที่เกี่ยวกับการประสานงาน การบริหารจัดการ การพนักงาน ระบบบัญชี และระบบภายในอื่นๆ เพื่อจัดโครงสร้างบริษัทใหม่ที่จะเกิดขึ้นภายหลังการควบรวม
แนวทางควบรวมกิจการดังกล่าว มองได้ 2 มุมพร้อมกันคือ มุมแรก เป็นการเติมสินทรัพย์ของ WG เข้ามาเพื่อให้ PICNI เติบโตอย่างก้าวกระโดด เพราะจากข้อมูลนั้น ปรากฏว่า ล่าสุด สินทรัพย์ในส่วนของ WG มีอยู่ประมาณ 5 พันล้านบาท ในขณะที่สินทรัพย์ทั้งหมดของ PICNI มีอยู่เพียงแค่ประมาณ 2.5 พันล้านบาทเท่านั้น หากนำสินทรัพย์มารวมกันจะมี มูลค่ามากถึง 7.5 พันล้านบาท เลยทีเดียว
มุมที่สองคือ การนำเอา WG เข้าเป็นบริษัทจดทะเบียนมหาชนทางประตูหลังอย่างแนบเนียนผ่านการควบรวมกิจการ หลังจากที่ PICNI ได้รับอนุมัติให้ออกจากแผนฟื้นฟูเมื่อปลายเดือนมีนาคม 2557 ที่ผ่านมานี้เอง
หากขั้นตอนนี้บรรลุผล ก็หมายความว่า ยุคที่ 3 ของบริษัทนี้(นับจากยุคก่อตั้ง หรือยุคที่ 2 ของภายใต้ชื่อ PICNI) ได้เริ่มต้นขึ้น เพื่อกลับมาแข็งแกร่งรอบใหม่ หลังจากถูกมรสุมทางการเงินจากมหากาพย์ฉ้อฉลอันเป็นฝันร้ายของนักลงทุนกระหน่ำอย่างรุนแรง จนกระทั่งถูกพักการซื้อขายบนกระดานหุ้นในตลาดหลักทรัพย์ฯนานหลายปีจนถึงปัจจุบัน
PICNI เดิมชื่อบริษัท บีจีอีเอส เอ็นจิเนียริ่ง ซีสเต็มส์ จำกัด (มหาชน) ประกอบธุรกิจวิศวกรรมประเภทรับเหมาก่อสร้าง เช่น งานระบบปรับอากาศ ระบบไฟฟ้า และระบบป้องกันอัคคีภัย แต่ต่อมาประสบปัญหาทางการเงินรุนแรงหลังวิกฤตต้มยำกุ้ง 2540 จนได้ยื่นขอฟื้นฟูกิจการต่อศาลล้มละลายกลาง ในวันที่ 22 ตุลาคม 2544 ซึ่งเปิดทางให้กลุ่มผู้ถือหุ้นรายใหม่
ผู้ลงทุนรายใหม่ คือ บริษัท ยูเนี่ยนแก๊ส แอนด์ เคมิคัลส์ จำกัด โดยตระกูลลาภวิสุทธิสิน ได้เข้ามาฟื้นฟูกิจการ พร้อมทั้งเปลี่ยนชื่อบริษัทใหม่เป็น บริษัท ปิคนิคแก๊ส แอนด์ เคมิคัลส์ จำกัด (มหาชน) โดยการซื้อทรัพย์สินจาก บริษัท ยูเนียนแก๊ส แอนด์ เคมิคัลส์ จำกัด เข้ามาในกิจการ และเริ่มประกอบธุรกิจค้าก๊าซปิโตรเลียมเหลวในวันที่ 1 เมษายน 2546 ซึ่งต่อมาบริษัทได้รับคำสั่งจากศาลล้มละลายกลางให้ยกเลิกการฟื้นฟูกิจการในวันที่ 18 กันยายน 2546 และ เปลี่ยนชื่อเป็น บริษัท ปิคนิคแก๊ส แอนด์ เอ็นจิเนียริ่ง จำกัด (มหาชน) และเปลี่ยนอีกครั้งเป็นชื่อปัจจุบัน
เส้นทางการดำเนินธุรกิจของ PICNI เริ่มต้นจากการระดมทุนจากตลาดหลักทรัพย์ และการสร้างหนี้โดยอาศัยฐานทุนเป็นเครื่องมืออ้างอิง พร้อมกับใช้วิศวกรรมการเงินหลายระลอก เพื่อนำไปสร้างทรัพย์สินทั้งในประเทศและต่างประเทศ โดยการเข้าซื้อกิจการเข้ามาใต้ร่มธง ในช่วงปี 2547-2548 ประหนึ่งใช้เงินต่อเงิน
การเพิ่มทุนของบริษัทหลายระลอกจากระดับ 350 ล้านบาท เป็น 750 ล้านบาท แล้วก็ตามมาด้วย 1,296.18 ล้านบาท 2,955.35 ล้านบาท และ 4,453.45 ล้านบาท หรือ 10 กว่าภายในช่วงระยะเวลา 3 ปี รวมทั้งตราสารอื่นๆ เพิ่มเติม ทำให้สินปี 2548 PICNI มีสินทรัพย์รวมมากถึง 11,857 ล้านบาท และมีหนี้สินรวม 8,574 ล้านบาท ส่วนรายได้อยู่ที่ 20,598 ล้านบาท
การเติบโตอย่างก้าวกระโดด ไม่เพียงแต่ทำให้เกิดคำถามในความแข็งแกร่งทางการเงินของกิจการเท่านั้น หากยังนำมาซึ่งการกล่าวโทษผู้บริหารและผู้ที่เกี่ยวข้อง ถึง 8 ราย ทั้งการการตั้งค่าความนิยม (good will) ของราคาสินทรัพย์สูงถึง 1,049 ล้านบาท การตกแต่งบัญชีทำสัญญาและรับรู้รายได้ บันทึกเป็นการให้เช่าถังแก๊สไม่ถูกต้อง มูลค่าแต่ละรายการนับ 1,000 ล้านบาท โอนสินทรัพย์บางส่วนโดยทุจริต รวมทั้งการทุจริตยักยอกเงินและหุ้นบริษัทที่เกี่ยวข้อง จนมีการสั่งอายัดทรัพย์สินของผู้ที่ถูกกล่าวโทษ ซึ่งแม้ว่าศาลชั้นต้นสั่งยกฟ้องในปี 2549 แต่ต่อมา ศาลอุทธรณ์ได้พิพากษากลับเมื่อต้นปี 2555
คดีดังกล่าว สืบเนื่องจากเมื่อวันที่ 30 มิถุนายน 2548 ก.ล.ต. ได้กล่าวโทษต่อกรมสอบสวนคดีพิเศษ เพื่อให้ดำเนินคดีกับผู้บริหารหลักและพวกอีก 8 ราย ซึ่งเป็นกรรมการผู้มีอำนาจกระทำการแทนของโรงบรรจุแก๊ส ในกรณีเกี่ยวกับการกระทำความผิดข้างต้น
ความเสื่อมโทรมดังกล่าว ซึ่งเกิดจากฟางเส้นสุดท้ายของยุคตระกูลลาภวิสุทธิสินในปี 2549 เมื่อมีการก่อหนี้จากการออกตั๋วบี/อีของบริษัทขายให้กับบรรดาบริษัทจัดการกองทุนรวมหลายแห่ง ทำให้ บลจ.หลายรายขาดทุนกันป่นปี้เพราะถูกบังคับให้รับสภาพหนี้ที่ไม่มีการจ่ายเป็นเงินสด จนต้องตั้งสำรองหนี้สูญจำนวนมาก รวมทั้งหนี้สินอีกประมาณ 7 พันล้านบาทโดยเจ้าหนี้หลักคือธนาคารกรุงไทยและธนาคารยูโอบี ส่งผลให้ นายสุริยา ลาภวิสุทธิสิน ซึ่งอยู่เบื้องหลังดีลธุรกิจทั้งหมด หายหน้าไปจากประเทศไทย พร้อมทิ้งซากของ PICNI ซึ่งแม้จะถูกพักการซื้อขาย แต่ก็ยังดำเนินการทางธุรกิจในขีดจำกัดต่อไปได้
หลังจากนั้น PICNI ได้ตกอยู่ในฐานะเหยื่อของการเทคโอเวอร์กิจการของนักลงทุนหลายราย ที่แวะเวียนเข้ามา “ทึ้งซากแพะ” เพื่อแก้ปัญหาแผนฟื้นฟูกิจการโดยเฉพาะหนี้ 1,700 ล้านบาท ซึ่งกำหนดโดยกลุ่มเจ้าหนี้ เช่นกลุ่มนายพิมล ศรีวิกรม์ กลุ่ม TSF และกลุ่มพล.ต.อ. สมยศ พุ่มพันธุ์ม่วง อย่างเอาเป็นเอาตาย แต่เมื่อเวลาผ่านไป กลุ่มหลังสุดก็เป็นฝ่ายได้รับชัยชนะ
กลุ่ม พล.ต.อ.สมยศ (ช่วงหนึ่งเรียกว่ากลุ่มเวิลด์แก๊ส) เข้ามาพัวพันกับ PICNI ด้วยประวัติอันวกวน โดยอ้างตนเป็นเจ้าของ WG ผ่านบริษัท แอสเซ็ท มิลเลียน จำกัด หรือ AMC (พล.ต.ท.สมยศ ระบุว่า ตนถือหุ้น 50% ใน AMC ส่วนอีกอีก 49% ถือโดยต่างชาติ) ซึ่งก็มีปัญหากฎหมายกับอดีตเจ้าหนี้รายอื่นๆ ของนายสุริยามาก่อน จนถึงขั้นขึ้นศาลฟ้องร้องกันไปมาหลายคดี แต่ท้ายสุดสำนักงานอัยการพิเศษ คดีพิเศษ 4 ก็ตัดสินให้กลุ่ม พล.ต.อ.สมยศชนะคดีในวันที่ 16 มกราคม 2556 ทำให้การเจรจาเพื่อหาทางออกให้กับ PICNI เริ่มต้นจริงจัง
กลุ่มใหม่นี้ได้วางเงินมัดจำเพื่อทำแผนฟื้นฟูกิจการทันทีภายใน 7 วัน จำนวน 50 ล้านบาท ส่วนที่เหลือของ 1,700 ล้านบาทชำระภายใน 120 วัน และแปลงหนี้อีก 100 ล้านของเจ้าหนี้เป็นทุน มีสัดส่วนถือหุ้นประมาณ 5% ของทุนจดทะเบียนใหม่ภายในเดือนตุลาคม 2556 ส่งผลให้กลายเป็นผู้พื้นฟูแผนกิจการ PICNI จนกระทั่งสามารถออกจากแผนฟื้นฟูมาได้ และเริ่มขั้นตอนต่อไปล่าสุดนี้
แนวทางของเดิมกลุ่มพล.ต.อ. สมยศคือ พยายามดำเนินการให้หุ้น PICNI กลับมาซื้อขายก่อน จากนั้นก็ค่อยแต่งตัวให้ WG เข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ ก่อนที่จะนำเวิลด์แก๊ส และ PICNI ควบรวมกิจการ เพื่อเพิ่มมูลค่าให้กิจการ แต่การตัดสินใจล่าสุด มีการเปลี่ยนแปลงไปโดยควบรวมกันโดยไม่ต้องรอแต่งตัว WG เข้าตลาดเสียก่อนตามเดิม
ตามแผนนี้ มีรายละเอียดที่น่าสนใจ (ดูตารางประกอบ) โดยมีเป้าหมายชัดเจนคือ “ยิงกระสุนนัดเดียวได้นกหลายตัว” นับแต่การสร้างสินทรัพย์จากการควบรวมกิจการ พร้อมไปกับการเจรจาเจ้าหนี้ และผู้ถือหุ้นเดิมที่คัดค้าน รวมทั้งการกลับมาทำกำไรโดยรวดเร็วเพื่อสร้างมูลค่ากิจการรวมตลอดถึง การปรับโครงสร้างกิจการ โครงสร้างหนี้ และโครงสร้างทุนธุรกิจค้าก๊าซปิโตรเลียมเหลวในประเทศเวียดนาม ของปิคนิค อินเตอร์ เสียใหม่ซึ่งมีทั้งฟื้นฟูกลับมาทำ หรือขายทิ้งออกไป
กระบวนการควบรวม PICNI และ WG ตามแผนที่กำหนด
ควบรวมกิจการ
ตั้งบริษัทขึ้นใหม่ มีทุนจดทะเบียนเท่ากับ 2,760,565,700 บาท แบ่งออกเป็นหุ้นสามัญจานวนทั้งสิ้น 2,760,565,700 หุ้น มูลค่าที่ตราไว้หุ้นละ 1 บาท ซึ่งเท่ากับทุนชำระแล้วทั้งหมดของ PICNI และของ WG รวมกัน
จัดสรรโครงสร้างผู้ถือหุ้นใหม่
จัดสรรหุ้นของบริษัทใหม่ให้แก่ผู้ถือหุ้นของ PICNI และผู้ถือหุ้นของ WG ในอัตราส่วนดังนี้ 1 หุ้นเดิมใน PICNI ต่อ 0.452795821 หุ้นในบริษัทใหม่ และ 1 หุ้นเดิมใน WG ต่อ 70.729660964 หุ้นในบริษัทใหม่
แต่งตั้งที่ปรึกษาการเงินอิสระ
แต่งตั้งบริษัท แคปปิตอล แอ๊ดแวนเทจ จำกัด เป็นที่ปรึกษาการเงินอิสระ เพื่อให้ความเห็นแก่ผู้ถือหุ้นในการพิจารณาลงมติเกี่ยวกับการควบรวมบริษัท
ขออนุมัติผู้ถือหุ้นให้ความเห็นชอบการควบรวมบริษัท
PICNI และ WG จัดประชุมผู้ถือหุ้น โดยที่ประชุมผู้ถือหุ้นของแต่ละบริษัทต้องมีมติอนุมัติการควบบริษัท ด้วยคะแนนเสียงไม่น้อยกว่า 3 ใน 4 ของจำนวนเสียงทั้งหมดที่มาประชุมและมีสิทธิออกเสียง
จัดให้มีผู้ซื้อหุ้นทำเทนเดอร์ ออฟเฟอร์ สำหรับผู้ที่คัดค้านการควบรวมกิจการ โดยกำหนดช่วงเวลารับซื้อหุ้นทั้งหมด 14 วันนับแต่วันที่ผู้ถือหุ้นที่คัดค้านได้รับคำเสนอซื้อ
นายพิศาล พุ่มพันธุ์ม่วง ได้แสดงเจตจำนงในการเป็นผู้รับซื้อหุ้นจากผู้ถือหุ้นของบริษัทที่คัดค้านการควบรวมบริษัท ในราคาที่ซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยครั้งสุดท้ายก่อนวันประชุมวิสามัญผู้ถือหุ้นครั้งที่ 1/2557 ของบริษัท ราคารับซื้อจะไม่เกินกว่า 1 บาทต่อหุ้น
ดำเนินการขอความเห็นชอบจากเจ้าหนี้เงินกู้ยืมตามสัญญาเงินกู้ยืมกับสถาบันการเงิน หรือคู่สัญญาตามสัญญาใดๆ ที่อาจมีเหตุผิดนัดอันเนื่องมาจากการควบรวมบริษัท
PICNI และ WG ต้องแจ้งให้เจ้าหนี้ (ทั้งเจ้าหนี้เงินกู้ยืม เจ้าหนี้การค้า หรือเจ้าหนี้อื่นๆ) ภายใน 14 วันนับแต่วันที่ที่ประชุมผู้ถือหุ้นของ PICNI และ WG มีมติอนุมัติการควบรวมบริษัท เกี่ยวกับการที่ที่ประชุมผู้ถือหุ้นของตนมีมติควบรวมบริษัท เพื่อให้เจ้าหนี้มีโอกาสคัดค้าน ซึ่งจะต้องกระทำภายใน 2 เดือนนับแต่วันที่ที่เจ้าหนี้ได้รับหนังสือแจ้งมติ และให้ PICNI และ WG มีหน้าที่ในการโฆษณามติทางหนังสือพิมพ์ภายในกำหนด 14 วันนั้นด้วย
การดำเนินการทั้งหมดนี้ มีข้อกำหนดเพิ่มเติมให้แล้วเสร็จภายใน 6 เดือนนับแต่วันที่ที่ประชุมผู้ถือหุ้นของ PICNI และ WG ได้มีมติอนุมัติการควบบริษัท เว้นแต่ที่ประชุมผู้ถือหุ้นร่วมดังกล่าวลงมติให้ขยายเวลาออกไปแต่เมื่อรวมเวลาทั้งหมดแล้วต้องไม่เกิน 1 ปี
หลังจากนั้นแล้ว บริษัทใหม่ที่เกิดจากการควบรวม ได้กลายเป็นหลักทรัพย์จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯ เรียบร้อย บริษัทใหม่จะต้องยื่นคำขอเพื่อให้หุ้นสามัญของบริษัทใหม่กลับมาซื้อขายได้อีกครั้งหนึ่ง เพื่อปลดปล่อยนักลงทุนรายย่อยที่มีอยู่ 9,583 ราย ได้รับประโยชน์กลับคืนจากการถือใบหุ้นที่เคยไร้ค่า ไม่ต้องถูกแช่แข็งอีกต่อไป
สำหรับรายละเอียดทางการเงินก่อนการเพิ่มทุน ปัจจุบัน PICNI มีทุนจดทะเบียนชำระแล้ว 2,000.00
ล้านบาท ราคาพาร์หุ้นละ 1 บาท มีตราสินค้าปิคนิคแก๊สเป็นทรัพย์สินทางปัญญา มีคลังเก็บก๊าซปิโตรเลียมเหลว 2 แห่งที่สมุทรสงคราม มีความจุสูงสุด 1,870 ตัน และที่อำเภอห้างฉัตร จังหวัดลำปาง ซึ่งมีความจุสูงสุด 180 ตัน มีบริษัทย่อยทั้งหมด 2 บริษัท ได้แก่ (1) Picnic Corporation (Singapore) Pte. Ltd. ค้าปิโตรเลียมเหลว และ (2) บริษัท ปิคนิค มารีน จำกัด บริการขนส่งก๊าซปิโตรเลียมเหลวทางเรือ และมีบริษัทร่วม 1 บริษัท ได้แก่ บริษัท เอ็นเนซอล จำกัด ประกอบธุรกิจผลิตและจำหน่ายกระแสไฟฟ้า และพลังงานความร้อน
ส่วน WG มีทุนจดทะเบียน 760.56 ล้านบาท ราคาพาร์หุ้นละ 29 บาท มีทรัพย์สินเป็นเครื่องหมายการค้า "เวิลด์แก๊ส" มีคลังเก็บก๊าซปิโตรเลียมเหลว 2 แห่ง ที่อำเภอบางปะกง จังหวัดฉะเชิงเทรา ซึ่งมีความจุสูงสุด 2,780 ตัน และ ที่ตำบลท่าพระ อำเภอเมืองขอนแก่น จังหวัดขอนแก่น ซึ่งมีความจุสูงสุด 60 ตัน มีบริษัทย่อย 2 บริษัท ได้แก่ (1) บริษัท อุตสาหกรรม เอส.ซี.เอส. จำกัด ค้าปิโตรเลียมเหลว และ (2) บริษัท อีเกิ้ล อินเตอร์ทรานส์ จำกัด บริการขนส่งก๊าซปิโตรเลียมเหลว และมีบริษัทร่วมอีก 1 บริษัท ได้แก่ บริษัท สอง ส. ปิโตรเลียม จำกัด ทำธุรกิจสถานีบริการ แต่มีแผนที่จะสร้างคลังเก็บก๊าซปิโตรเลียมเหลวเพิ่มอีก 4 แห่ง ได้แก่ อำเภอบางปะกง จังหวัดฉะเชิงเทรา, อำเภอเมือง จังหวัดนครสวรรค์, อำเภอจักราช จังหวัดนครราชสีมา และอำเภอบ้านแฮด จังหวัดขอนแก่น
ไม่มีใครรู้อนาคตว่า PICNI ภายใต้นายตำรวจใหญ่นักลงทุน “ขาใหญ่” อย่างกลุ่ม พล.ต.อ.สมยศ จะกลับมาฟื้นกิจการแข็งแกร่งได้อีกครั้งมากน้อยเพียงใด แต่ขั้นตอนของการต่อสู้แย่งชิงกิจการอันยาวนาน ด้วยต้นทุนไม่ใช่น้อย ทำให้มองเห็นชัดเจนว่า ยุคที่สองของบริษัทกำลังจะผ่านไปเป็นอดีตที่ผ่านเลย และเริ่มต้นยุคที่สามอย่างเป็นทางการได้เสียที
posted from Bloggeroid
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น