ข่าวหุ้น - กระบอกเสียงอิสระแห่งตลาดทุน:: IEC ในกำมือจอมปั้นคนล่าสุด
รายงานพิเศษ วันพฤหัสบดีที่ 10 เมษายน 2557
ผู้เข้าชม : 246 คน
เมื่อวานนี้ (9 เมษายน 2557) หุ้นเพิ่มทุน บริษัท อินเตอร์แนชั่นเนิลเอนจีเนียริง จำกัด (มหาชน) หรือ IEC จำนวน 3,306,.46 ล้านหุ้น จะเริ่มซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ตลท.) เป็นวันแรก โดยหุ้นเพิ่มทุน IEC ดังกล่าวจัดสรรเพื่อการใช้สิทธิของใบสำคัญแสดงสิทธิ (IEC-W1) 3,306,468,692 หน่วย แปลงเป็นหุ้นสามัญ 3,306,468,692 หุ้น ในอัตรา 1 ใบสำคัญแสดงสิทธิ ต่อ 1 หุ้นสามัญ ราคาใช้สิทธิ 0.027 บาทต่อหุ้น ทำให้ IEC มีหุ้นสามัญเพิ่มเป็น 123,618,438,692 หุ้น และมีทุนจดทะเบียนชำระแล้ว 12,361,843,869.20 บาท ราคาพาร์ 0.10 บาทต่อหุ้น แต่ราคาตลาด ล่าสุด อยู่ที่ 0.03 บาท
คำถามสำคัญก็คือ หลังการเพิ่มทุนระลอกใหม่นี้แล้ว ส่วนของผู้ถือหุ้นของบริษัทล่าสุด จะอยู่ที่เท่าใด เพราะตัวเลขส่วนผู้ถือหุ้นล่าสุดสิ้นเดือนธันวาคม 2556 ของ IEC อยู่ที่ 1,499.10 ล้านบาท
หากคิดอย่างเถรตรง โดยยึดเอาตัวเลขส่วนผู้ถือหุ้นเดิม บวกกับจำนวนหุ้นเพิ่มทุนใหม่และราคาแปลงสิทธิ 0.027 บาท ที่ต่ำกว่าพาร์ (0.10 บาท) ซึ่งจะมีส่วนต่ำมูลค่าหุ้นประมาณ 214.37 ล้านบาท ส่วนของผู้ถือหุ้น IEC น่าจะลดลงเหลือเพียง 1,257.73 ล้านบาทเท่านั้น
คำถามที่นักลงทุนทั่วไปต้องการทราบและทำความเข้าใจแรกสุดก็คือ วิศวกรรมการเงินล่าสุดของ IEC จะนำบริษัทไปในทิศทางใด ภายใต้ผู้บริหารปัจจุบัน ภายใต้ประธานกรรมการ นายภูษณ ปรีย์มาโนช อดีตซีอีโอของค่ายมือถือยูคอม เพราะอดีตอันโชกโชนของบริษัท บอกให้รู้ว่า ความระหกระเหินทางการเงินของบริษัทนั้น ไม่เคยทำให้ฐานะของบริษัทกระเตื้องขึ้นหรือมีอนาคตให้นักลงทุนชื่นใจเอาเสียเลย แตกต่างจากประวัติเก่าแก่ยาวนานเกือบ 100 ปี
จากอดีตของบริษัทที่เคยรุ่งเรืองในด้านงานวิศวกรรม มาสู่บริษัทในเครือปูนซีเมนต์ไทย ก่อนที่จะถูกขายออกมาให้กลุ่มพันธมิตรทุนใหม่สนธิ ลิ้มทองกุล และทักษิณ ชินวัตร ที่แต่งตัวพาเข้าตลาดหลักทรัพย์พร้อมกับแผนธุรกิจอันสวยหรูของธุรกิจโทรคมนาคมในปี 2535 ในยุคฟองสบู่เศรษฐกิจไทยเริ่มก่อตัวขึ้นกับกระแสโลกาภิวัตน์ พร้อมกับสร้างตำนานลือลั่นของการสร้างราคากันรอบแล้วรอบเล่าก่อนที่บริษัทจะประสบภัยพิบัติทางการเงินในช่วงฟองสบู่เศรษฐกิจแตกภายใต้กำมือของเดอะ เอ็ม กรุ๊ป ของสนธิ ลิ้มทองกุล
นับจากปี 2540 เป็นต้นมา ชะตากรรมของ IEC ลุ่มดอนไปมาโดยตลอด และต่อมาเมื่อหลุดจากมือของกลุ่มสนธิ ลิ้มทองกุล บริษัทนี้ก็ตกเป็นเหยื่ออันโอชะของนักล่ากิจการที่ทำตัวเป็นนักปั้นกิจการที่เทิร์นอะราวด์คนแล้วคนเล่า กลุ่มแล้วกลุ่มเล่า ที่หมุนเวียนกันเข้ามาสร้างความฝันกลางวันหลอกลวงนักลงทุน พร้อมกับแผนธุรกิจที่เลื่อนลอย จนกระทั่งขาดทุนต่อเนื่องยาวนาน ราคาหุ้นของบริษัทต่ำติดพื้นมายาวนานจนถึงปัจจุบัน
การที่ราคาหุ้นค่อนข้างต่ำ เป็นสาเหตุให้บริษัทตกเป็นเหยื่อของการซื้อขายกิจากรได้ง่ายมาก และผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นก็คือ ทิศทางธุรกิจของบริษัทเอาแน่นอนไม่ได้ชัดเจน มีแต่การปั้นข่าวของผู้บริหารว่าจะไปปั้นกิจการใหม่ที่มีอนาคต ท่ามกลางทุนที่ร่อยหรอจนเพิ่มทุนหลายครั้งในหลายปีมานี้
นักล่ากิจการแบบจับเสือมือเปล่าหลายราย พยายามอวดภูมิความรู้ทางด้านวิศวกรรมการเงิน เพื่อสร้างกลแกมหุ้นยุคใหม่ เริ่มต้นจากการเข้าไปซื้อกิจการ เพื่อปรับโครงสร้างหนี้ และปรับโครงสร้างธุรกิจใหม่ ซึ่งดูเหมือนดีในระยะสั้น เมื่อทำการยอมตัดหนี้จ่ายให้ธนาคาร ทำดิวดิลิเจนท์ (Due diligence) กับบริษัทในต่างประเทศเพื่อเข้าไปซื้อกิจการ เพื่อสร้างสตอรี่ว่าจะนำธุรกิจดี ๆ เข้ามาใส่เสมือน “เอาเนื้อดีมาใส่โครงเน่า” แต่ท้ายสุดก็มักลงเอยด้วยการแตกแยกกัน เพราะพันธมิตรที่เข้ามาแตกคอกันเองจากผลประโยชน์ที่ไม่ลงตัว เป็นกรณีศึกษาหลายครั้งจนแทบซ้ำซาก
ผลพวงของการที่มีผู้ถือหุ้นผลัดเปลี่ยนเวียนเทียนกันเข้ามามากรายในหลายปีมานี้ ทำให้ตัวเลขผู้ถือหุ้นล่าสุดของบริษัท มีสภาพเสมือหุ้นที่ไร้เจ้าของที่แท้จริง เพราะข้อมูลที่ปรากฏเป็นทางการในทะเบียนของตลาดหลักทรัพย์ฯ ระบุว่า ไม่มีผู้ถือหุ้นรายใดที่ถือหุ้นเกินกว่า 5% เลยแม้แต่น้อย และหากคิดตามทฤษฎีแล้ว การถือหุ้นของบริษัททั้งหมดเป็นการถือหุ้นโดยรายย่อย 100% เลยทีเดียวจากจำนวนผู้ถือหุ้นทั้งหมด 15,327 ราย
หากพิจารณาจากโครงสร้างผู้ถือหุ้นที่กระจัดกระจายอย่างมากแล้ว ฐานะของกรรมการและผู้บริหารของบริษัท ก็ดูเหมือนว่า จะไม่ใช่ตัวแทนที่แท้จริงของผู้ถือหุ้นแต่อย่างเป็นเพียงพันธมิตรของกลุ่มผู้ถือหุ้นรายสำคัญไม่กี่กลุ่มเท่านั้นที่เกาะตัวกันเหนียวแน่นกว่าผู้ถือหุ้นอื่นๆ
สภาพของความไม่ชัดเจนทางธุรกิจ และการที่ยังคลำทางไม่ถูกในการปั้นธุรกิจ “แห่งอนาคต” ทำให้ผลประกอบการของบริษัทในรอบหลายปีมานี้ ขาดทุนต่อเนื่องจนกระทั่งส่วนผู้ถือหุ้นใกล้ติดลบ ต้องเรียกเพิ่มทุนในปี 2555 และ 2556 ปีละครั้ง แต่การเพิ่มทุนก็ไม่ได้ช่วยให้รายได้ของบริษัทดีขึ้น หากลดลงสวนทางกันอย่างชัดเจน
ความหวังว่าจะมีการเทิร์นอะราวด์ของบริษัท กลายเป็นความว่างเปล่าครั้งแล้วครั้งเล่า ส่งผลต่อความศรัทธาของราคาหุ้นอย่างยืดยาว
จนกระทั่งการปรับยุทธศาสตร์ธุรกิจใหม่ ที่ลงมือกระทำตั้งแต่ต้นปี 2556 มุ่งย้ายการสร้างรายได้ผ่ายธุรกิจพลังงานทางเลือกซึ่งมีการลงทุนถึง 5 โครงการนั่นเอง ทำให้ IEC ดูมีอนาคตเพิ่มมากขึ้น และกลับมาทำกำไรเป็นปีแรกในรอบหลายปีนี้ในสิ้นสุดปี 2556 ในขณะที่โครงการใหม่ก็จะสร้างรายได้เพิ่มขึ้นต่อเนื่องไปอีกนานหลายปี เป็นฐานรายได้ใหม่มาชดเชยรายได้จากธุรกิจไอที และวิศวกรรมที่อนาคตไม่เหลือให้ชื่นชมได้อีก
การดำเนินการลงทุนในโครงการด้านพลังงานโดยเฉพาะโรงไฟฟ้านั้น ถือว่าเป็นย่างก้าวที่มีความโดดเด่น และมีอนาคต แต่ก็มีธรรมชาติสำคัญคือมีลักษณะเป็นการลงทุนที่ต้องใช้เงินทุนค่อนข้างสูง (capital intensive) ดังนั้น ปัญหาเรื่องสภาพคล่องและทุนหมุนเวียนดำเนินการจึงเป็นประเด็นสำคัญ ที่ทำให้การเพิ่มทุน หรือการปรับโครงสร้างหนี้เป็นสิ่งที่เป็นหลักสำคัญเฉพาะหน้าที่ผู้บริหารของ IEC จะต้องฝ่าข้ามไปให้ได้
ยุคของวิศวกรรมการเงินเพื่อสร้างราคาหุ้นเป็นสำคัญ (บางช่วงถึงขั้นที่บริษัททำการซื้อขายหุ้นเพื่อทำกำไรเสียเองก็เคยปรากฏ ทั้งที่ไม่ใช่บริษัทเพื่อการนี้โดยเฉพาะ) ของ IEC อาจจะผ่านไปแล้ว แต่วิศวกรรมการเงินเพื่อการสร้างความยั่งยืนในอนาคต จากการทำธุรกิจพลังงาน ก็ยังมีความจำเป็นที่ไม่อาจเลี่ยงพ้น โดยเฉพาะในช่วงเวลาที่การลงทุนบางโครงการยังไม่สร้างรายได้อย่างแท้จริง หรือยังไม่แล้วเสร็จ หรือยังต้องการทุนเริ่มต้นไปสำหรับการเจรจาเพื่อให้ได้มา
รูปแบบหนึ่งที่ได้ตัดสินใจไปแล้ว และได้รับอนุมัติจากผู้ถือหุ้น คือ การออกหุ้นเพิ่มทุนเพื่อเสนอขายให้แก่บุคคลในวงจำกัด (Private Placement) เพื่อนำเงินที่จะได้จากการจำหน่ายหุ้น PP ดังกล่าวบริษัทจะนำไปใช้ในโครงการต่างๆ ที่เคยได้รับการอนุมัติจากผู้ถือหุ้นไว้แล้วในการประชุมวิสามัญผู้ถือหุ้นเมื่อเดือนตุลาคม 2556 ที่ผ่านมา อาทิ การลงทุนในโครงการโรงไฟฟ้าพลังแสงอาทิตย์ การลงทุนในพลังงานทางเลือกหรืออื่นๆ เงินทุนหมุนเวียนในโครงการ ICT และใช้เป็นเงินทุนหมุนเวียนในกลุ่มบริษัท
ความจำเป็นต้องทำวิศวกรรมการเงิน ที่จะต้องทำทั้งก่อนและหลังการเพิ่มทุน เพราะการเพิ่มทุนที่ผ่านมา รวมทั้งครั้งล่าสุด เป็นการเพิ่มทุนที่ต่ำกว่าราคาพาร์ ซึ่งทำให้ส่วนของผู้ถือหุ้นลดลง และขาดทุนสะสมเพิ่มขึ้น แม้จะได้เงินสดเข้ามาแก้ปัญหาสภาพคล่องในระยะเฉพาะหน้าได้บ้างเป็นการชั่วคราว
ปัจจุบัน IEC ยังมีตัวเลขขาดทุนสะสม 2,900 ล้านบาท และมีส่วนต่ำมูลค่าหุ้น 7,587 ล้านบาท ทำให้บริษัทไม่สามารถจ่ายเงินปันผลได้ บริษัทวางแผนว่า จะล้างขาดทุนสะสมและส่วนต่ำมูลค่าหุ้น โดยการลดจำนวนหุ้นผู้ถือหุ้นเดิม 8.1 หุ้นเดิม เหลือ 1 หุ้น ซึ่งมีความจำเป็นเพราะ จะทำให้การขอสินเชื่อได้ง่ายขึ้นเพื่อดำเนิน โครงการพลังงานทดแทนโครงการใหม่มูลค่าการลงทุนกว่า 1,000 ล้านบาท
ทั้งนี้ หลังจากลดทุนแล้ว บริษัทเสนอขายหุ้นเพิ่มทุนให้กับนักลงทุนเฉพาะเจาะจง (PP) ในราคาไม่ต่ำกว่าพาร์ 10 สตางค์ ทำให้ไม่มีส่วนต่ำมูลค่าหุ้นอีกต่อไป ซึ่งเท่ากับว่า โอกาสที่จะเห็นราคาหุ้นของ IEC ผันผวนขึ้นลงไปกับข่าวและข่าวลือว่าด้วยวิศวกรรมการเงิน จะยังเกิดขึ้นในอนาคตให้เห็นได้อีก
การกระทำดังกล่าว รวมทั้งโอกาสสร้างรายได้ใหม่จากธุรกิจพลังงานอันเป็นเส้นทางที่เชื่อว่าเดินมาถูกต้อง ทำให้นายภูษณ ในฐานะประธานกรรมการ IEC เชื่อมั่นว่า ในปี 2557 บริษัทคาดว่า จะมีกำไรก่อนหักดอกเบี้ย ภาษี และค่าเสื่อมราคา (EBITDA) อยู่ที่ประมาณ 400 ล้านบาท โดยระบุว่า ในช่วงไตรมาส 1/2557 ที่ผ่านมา ผลประกอบการของบริษัทเป็นบวก แต่คำพูดดังกล่าวยังต้องได้รับการพิสูจน์ว่า กำไรสุทธิของบริษัทนั้นจะเกิดขึ้นได้จริงหรือไม่ แล้วก็ต้องการลงลึกในรายละเอียดด้วยว่า กำไรที่เกิดขึ้น เป็นกำไรจากการดำเนินงานปกติ หรือกำไรพิเศษ
ที่ผ่านมา แม้ว่า ปี 2556 ทางIEC จะบันทึกกำไรสุทธิให้นักลงทุนได้ชื่นใจชัดเจนเป็นปีแรก แต่หากลงลึกในรายละเอียด จะเห็นว่า รายได้ที่ปรากฏนั้น เป็นแค่มายาภาพ เนื่องจากรายได้รวม 774.36 ล้านบาทนั้น เป็นรายได้จากการโอนกลับขาดทุนจากการปรับโครงสร้างหนี้ถึง 316.37 หรือประมาณ 40%เลยทีเดียว ในขณะที่สภาพคล่องของบริษัทก็ยังไม่ได้ดีเด่มากนัก เพราะ อัตราส่วนทุนหมุนเวียนมีเพียงแค่ 1.15 เท่าเท่านั้นเอง แม้จะสามารถลดหนี้สินไปได้มากก็ตาม ดังนั้นจึงไม่ได้พิสูจน์อะไรชัดเจนเลยว่าบริษัทมีความแข็งแกร่งทางการเงินพร้อมจะเดินต่อไปข้างหน้าได้อย่างมั่นใจว่ากำลังเทิร์นอะราวด์จริงจัง
ปฏิบัติการวิศวกรรมทางการเงินของ IEC ที่จะเกิดขึ้นต่อไปในปีนี้ รวมทั้งโครงการลงทุนพลังงานทางเลือกที่จะดำเนินไปพร้อมกัน ถือเป็นสิ่งที่นักลงทุนที่ชื่นชอบหุ้นราคาต่ำกว่า 10 สตางค์ ต้องเรียนรู้ที่จะอดทนรอคอย เหมือนอย่างที่รอคอยกันมาหลายนานกว่า 1 ทศวรรษเพื่อรอการฟื้นตัวจริงจัง
เพียงตั้งความหวังว่า ครั้งนี้ จะไม่เป็นความว่างเปล่า หรือโครงการเลื่อนลอยเหมือนเดิมอีก ก็เป็นเรื่องที่คุ้มค่าที่จะรอคอย
คำถามอยู่เพียงแค่ว่าผู้บริหารที่อาสาเข้ามาเป็น “จอมปั้น” รุ่นล่าสุด จะทำให้ผิดหวังอีกครั้งหรือไม่เท่านั้น
รายงานพิเศษ วันพฤหัสบดีที่ 10 เมษายน 2557
ผู้เข้าชม : 246 คน
เมื่อวานนี้ (9 เมษายน 2557) หุ้นเพิ่มทุน บริษัท อินเตอร์แนชั่นเนิลเอนจีเนียริง จำกัด (มหาชน) หรือ IEC จำนวน 3,306,.46 ล้านหุ้น จะเริ่มซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ตลท.) เป็นวันแรก โดยหุ้นเพิ่มทุน IEC ดังกล่าวจัดสรรเพื่อการใช้สิทธิของใบสำคัญแสดงสิทธิ (IEC-W1) 3,306,468,692 หน่วย แปลงเป็นหุ้นสามัญ 3,306,468,692 หุ้น ในอัตรา 1 ใบสำคัญแสดงสิทธิ ต่อ 1 หุ้นสามัญ ราคาใช้สิทธิ 0.027 บาทต่อหุ้น ทำให้ IEC มีหุ้นสามัญเพิ่มเป็น 123,618,438,692 หุ้น และมีทุนจดทะเบียนชำระแล้ว 12,361,843,869.20 บาท ราคาพาร์ 0.10 บาทต่อหุ้น แต่ราคาตลาด ล่าสุด อยู่ที่ 0.03 บาท
คำถามสำคัญก็คือ หลังการเพิ่มทุนระลอกใหม่นี้แล้ว ส่วนของผู้ถือหุ้นของบริษัทล่าสุด จะอยู่ที่เท่าใด เพราะตัวเลขส่วนผู้ถือหุ้นล่าสุดสิ้นเดือนธันวาคม 2556 ของ IEC อยู่ที่ 1,499.10 ล้านบาท
หากคิดอย่างเถรตรง โดยยึดเอาตัวเลขส่วนผู้ถือหุ้นเดิม บวกกับจำนวนหุ้นเพิ่มทุนใหม่และราคาแปลงสิทธิ 0.027 บาท ที่ต่ำกว่าพาร์ (0.10 บาท) ซึ่งจะมีส่วนต่ำมูลค่าหุ้นประมาณ 214.37 ล้านบาท ส่วนของผู้ถือหุ้น IEC น่าจะลดลงเหลือเพียง 1,257.73 ล้านบาทเท่านั้น
คำถามที่นักลงทุนทั่วไปต้องการทราบและทำความเข้าใจแรกสุดก็คือ วิศวกรรมการเงินล่าสุดของ IEC จะนำบริษัทไปในทิศทางใด ภายใต้ผู้บริหารปัจจุบัน ภายใต้ประธานกรรมการ นายภูษณ ปรีย์มาโนช อดีตซีอีโอของค่ายมือถือยูคอม เพราะอดีตอันโชกโชนของบริษัท บอกให้รู้ว่า ความระหกระเหินทางการเงินของบริษัทนั้น ไม่เคยทำให้ฐานะของบริษัทกระเตื้องขึ้นหรือมีอนาคตให้นักลงทุนชื่นใจเอาเสียเลย แตกต่างจากประวัติเก่าแก่ยาวนานเกือบ 100 ปี
จากอดีตของบริษัทที่เคยรุ่งเรืองในด้านงานวิศวกรรม มาสู่บริษัทในเครือปูนซีเมนต์ไทย ก่อนที่จะถูกขายออกมาให้กลุ่มพันธมิตรทุนใหม่สนธิ ลิ้มทองกุล และทักษิณ ชินวัตร ที่แต่งตัวพาเข้าตลาดหลักทรัพย์พร้อมกับแผนธุรกิจอันสวยหรูของธุรกิจโทรคมนาคมในปี 2535 ในยุคฟองสบู่เศรษฐกิจไทยเริ่มก่อตัวขึ้นกับกระแสโลกาภิวัตน์ พร้อมกับสร้างตำนานลือลั่นของการสร้างราคากันรอบแล้วรอบเล่าก่อนที่บริษัทจะประสบภัยพิบัติทางการเงินในช่วงฟองสบู่เศรษฐกิจแตกภายใต้กำมือของเดอะ เอ็ม กรุ๊ป ของสนธิ ลิ้มทองกุล
นับจากปี 2540 เป็นต้นมา ชะตากรรมของ IEC ลุ่มดอนไปมาโดยตลอด และต่อมาเมื่อหลุดจากมือของกลุ่มสนธิ ลิ้มทองกุล บริษัทนี้ก็ตกเป็นเหยื่ออันโอชะของนักล่ากิจการที่ทำตัวเป็นนักปั้นกิจการที่เทิร์นอะราวด์คนแล้วคนเล่า กลุ่มแล้วกลุ่มเล่า ที่หมุนเวียนกันเข้ามาสร้างความฝันกลางวันหลอกลวงนักลงทุน พร้อมกับแผนธุรกิจที่เลื่อนลอย จนกระทั่งขาดทุนต่อเนื่องยาวนาน ราคาหุ้นของบริษัทต่ำติดพื้นมายาวนานจนถึงปัจจุบัน
การที่ราคาหุ้นค่อนข้างต่ำ เป็นสาเหตุให้บริษัทตกเป็นเหยื่อของการซื้อขายกิจากรได้ง่ายมาก และผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นก็คือ ทิศทางธุรกิจของบริษัทเอาแน่นอนไม่ได้ชัดเจน มีแต่การปั้นข่าวของผู้บริหารว่าจะไปปั้นกิจการใหม่ที่มีอนาคต ท่ามกลางทุนที่ร่อยหรอจนเพิ่มทุนหลายครั้งในหลายปีมานี้
นักล่ากิจการแบบจับเสือมือเปล่าหลายราย พยายามอวดภูมิความรู้ทางด้านวิศวกรรมการเงิน เพื่อสร้างกลแกมหุ้นยุคใหม่ เริ่มต้นจากการเข้าไปซื้อกิจการ เพื่อปรับโครงสร้างหนี้ และปรับโครงสร้างธุรกิจใหม่ ซึ่งดูเหมือนดีในระยะสั้น เมื่อทำการยอมตัดหนี้จ่ายให้ธนาคาร ทำดิวดิลิเจนท์ (Due diligence) กับบริษัทในต่างประเทศเพื่อเข้าไปซื้อกิจการ เพื่อสร้างสตอรี่ว่าจะนำธุรกิจดี ๆ เข้ามาใส่เสมือน “เอาเนื้อดีมาใส่โครงเน่า” แต่ท้ายสุดก็มักลงเอยด้วยการแตกแยกกัน เพราะพันธมิตรที่เข้ามาแตกคอกันเองจากผลประโยชน์ที่ไม่ลงตัว เป็นกรณีศึกษาหลายครั้งจนแทบซ้ำซาก
ผลพวงของการที่มีผู้ถือหุ้นผลัดเปลี่ยนเวียนเทียนกันเข้ามามากรายในหลายปีมานี้ ทำให้ตัวเลขผู้ถือหุ้นล่าสุดของบริษัท มีสภาพเสมือหุ้นที่ไร้เจ้าของที่แท้จริง เพราะข้อมูลที่ปรากฏเป็นทางการในทะเบียนของตลาดหลักทรัพย์ฯ ระบุว่า ไม่มีผู้ถือหุ้นรายใดที่ถือหุ้นเกินกว่า 5% เลยแม้แต่น้อย และหากคิดตามทฤษฎีแล้ว การถือหุ้นของบริษัททั้งหมดเป็นการถือหุ้นโดยรายย่อย 100% เลยทีเดียวจากจำนวนผู้ถือหุ้นทั้งหมด 15,327 ราย
หากพิจารณาจากโครงสร้างผู้ถือหุ้นที่กระจัดกระจายอย่างมากแล้ว ฐานะของกรรมการและผู้บริหารของบริษัท ก็ดูเหมือนว่า จะไม่ใช่ตัวแทนที่แท้จริงของผู้ถือหุ้นแต่อย่างเป็นเพียงพันธมิตรของกลุ่มผู้ถือหุ้นรายสำคัญไม่กี่กลุ่มเท่านั้นที่เกาะตัวกันเหนียวแน่นกว่าผู้ถือหุ้นอื่นๆ
สภาพของความไม่ชัดเจนทางธุรกิจ และการที่ยังคลำทางไม่ถูกในการปั้นธุรกิจ “แห่งอนาคต” ทำให้ผลประกอบการของบริษัทในรอบหลายปีมานี้ ขาดทุนต่อเนื่องจนกระทั่งส่วนผู้ถือหุ้นใกล้ติดลบ ต้องเรียกเพิ่มทุนในปี 2555 และ 2556 ปีละครั้ง แต่การเพิ่มทุนก็ไม่ได้ช่วยให้รายได้ของบริษัทดีขึ้น หากลดลงสวนทางกันอย่างชัดเจน
ความหวังว่าจะมีการเทิร์นอะราวด์ของบริษัท กลายเป็นความว่างเปล่าครั้งแล้วครั้งเล่า ส่งผลต่อความศรัทธาของราคาหุ้นอย่างยืดยาว
จนกระทั่งการปรับยุทธศาสตร์ธุรกิจใหม่ ที่ลงมือกระทำตั้งแต่ต้นปี 2556 มุ่งย้ายการสร้างรายได้ผ่ายธุรกิจพลังงานทางเลือกซึ่งมีการลงทุนถึง 5 โครงการนั่นเอง ทำให้ IEC ดูมีอนาคตเพิ่มมากขึ้น และกลับมาทำกำไรเป็นปีแรกในรอบหลายปีนี้ในสิ้นสุดปี 2556 ในขณะที่โครงการใหม่ก็จะสร้างรายได้เพิ่มขึ้นต่อเนื่องไปอีกนานหลายปี เป็นฐานรายได้ใหม่มาชดเชยรายได้จากธุรกิจไอที และวิศวกรรมที่อนาคตไม่เหลือให้ชื่นชมได้อีก
การดำเนินการลงทุนในโครงการด้านพลังงานโดยเฉพาะโรงไฟฟ้านั้น ถือว่าเป็นย่างก้าวที่มีความโดดเด่น และมีอนาคต แต่ก็มีธรรมชาติสำคัญคือมีลักษณะเป็นการลงทุนที่ต้องใช้เงินทุนค่อนข้างสูง (capital intensive) ดังนั้น ปัญหาเรื่องสภาพคล่องและทุนหมุนเวียนดำเนินการจึงเป็นประเด็นสำคัญ ที่ทำให้การเพิ่มทุน หรือการปรับโครงสร้างหนี้เป็นสิ่งที่เป็นหลักสำคัญเฉพาะหน้าที่ผู้บริหารของ IEC จะต้องฝ่าข้ามไปให้ได้
ยุคของวิศวกรรมการเงินเพื่อสร้างราคาหุ้นเป็นสำคัญ (บางช่วงถึงขั้นที่บริษัททำการซื้อขายหุ้นเพื่อทำกำไรเสียเองก็เคยปรากฏ ทั้งที่ไม่ใช่บริษัทเพื่อการนี้โดยเฉพาะ) ของ IEC อาจจะผ่านไปแล้ว แต่วิศวกรรมการเงินเพื่อการสร้างความยั่งยืนในอนาคต จากการทำธุรกิจพลังงาน ก็ยังมีความจำเป็นที่ไม่อาจเลี่ยงพ้น โดยเฉพาะในช่วงเวลาที่การลงทุนบางโครงการยังไม่สร้างรายได้อย่างแท้จริง หรือยังไม่แล้วเสร็จ หรือยังต้องการทุนเริ่มต้นไปสำหรับการเจรจาเพื่อให้ได้มา
รูปแบบหนึ่งที่ได้ตัดสินใจไปแล้ว และได้รับอนุมัติจากผู้ถือหุ้น คือ การออกหุ้นเพิ่มทุนเพื่อเสนอขายให้แก่บุคคลในวงจำกัด (Private Placement) เพื่อนำเงินที่จะได้จากการจำหน่ายหุ้น PP ดังกล่าวบริษัทจะนำไปใช้ในโครงการต่างๆ ที่เคยได้รับการอนุมัติจากผู้ถือหุ้นไว้แล้วในการประชุมวิสามัญผู้ถือหุ้นเมื่อเดือนตุลาคม 2556 ที่ผ่านมา อาทิ การลงทุนในโครงการโรงไฟฟ้าพลังแสงอาทิตย์ การลงทุนในพลังงานทางเลือกหรืออื่นๆ เงินทุนหมุนเวียนในโครงการ ICT และใช้เป็นเงินทุนหมุนเวียนในกลุ่มบริษัท
ความจำเป็นต้องทำวิศวกรรมการเงิน ที่จะต้องทำทั้งก่อนและหลังการเพิ่มทุน เพราะการเพิ่มทุนที่ผ่านมา รวมทั้งครั้งล่าสุด เป็นการเพิ่มทุนที่ต่ำกว่าราคาพาร์ ซึ่งทำให้ส่วนของผู้ถือหุ้นลดลง และขาดทุนสะสมเพิ่มขึ้น แม้จะได้เงินสดเข้ามาแก้ปัญหาสภาพคล่องในระยะเฉพาะหน้าได้บ้างเป็นการชั่วคราว
ปัจจุบัน IEC ยังมีตัวเลขขาดทุนสะสม 2,900 ล้านบาท และมีส่วนต่ำมูลค่าหุ้น 7,587 ล้านบาท ทำให้บริษัทไม่สามารถจ่ายเงินปันผลได้ บริษัทวางแผนว่า จะล้างขาดทุนสะสมและส่วนต่ำมูลค่าหุ้น โดยการลดจำนวนหุ้นผู้ถือหุ้นเดิม 8.1 หุ้นเดิม เหลือ 1 หุ้น ซึ่งมีความจำเป็นเพราะ จะทำให้การขอสินเชื่อได้ง่ายขึ้นเพื่อดำเนิน โครงการพลังงานทดแทนโครงการใหม่มูลค่าการลงทุนกว่า 1,000 ล้านบาท
ทั้งนี้ หลังจากลดทุนแล้ว บริษัทเสนอขายหุ้นเพิ่มทุนให้กับนักลงทุนเฉพาะเจาะจง (PP) ในราคาไม่ต่ำกว่าพาร์ 10 สตางค์ ทำให้ไม่มีส่วนต่ำมูลค่าหุ้นอีกต่อไป ซึ่งเท่ากับว่า โอกาสที่จะเห็นราคาหุ้นของ IEC ผันผวนขึ้นลงไปกับข่าวและข่าวลือว่าด้วยวิศวกรรมการเงิน จะยังเกิดขึ้นในอนาคตให้เห็นได้อีก
การกระทำดังกล่าว รวมทั้งโอกาสสร้างรายได้ใหม่จากธุรกิจพลังงานอันเป็นเส้นทางที่เชื่อว่าเดินมาถูกต้อง ทำให้นายภูษณ ในฐานะประธานกรรมการ IEC เชื่อมั่นว่า ในปี 2557 บริษัทคาดว่า จะมีกำไรก่อนหักดอกเบี้ย ภาษี และค่าเสื่อมราคา (EBITDA) อยู่ที่ประมาณ 400 ล้านบาท โดยระบุว่า ในช่วงไตรมาส 1/2557 ที่ผ่านมา ผลประกอบการของบริษัทเป็นบวก แต่คำพูดดังกล่าวยังต้องได้รับการพิสูจน์ว่า กำไรสุทธิของบริษัทนั้นจะเกิดขึ้นได้จริงหรือไม่ แล้วก็ต้องการลงลึกในรายละเอียดด้วยว่า กำไรที่เกิดขึ้น เป็นกำไรจากการดำเนินงานปกติ หรือกำไรพิเศษ
ที่ผ่านมา แม้ว่า ปี 2556 ทางIEC จะบันทึกกำไรสุทธิให้นักลงทุนได้ชื่นใจชัดเจนเป็นปีแรก แต่หากลงลึกในรายละเอียด จะเห็นว่า รายได้ที่ปรากฏนั้น เป็นแค่มายาภาพ เนื่องจากรายได้รวม 774.36 ล้านบาทนั้น เป็นรายได้จากการโอนกลับขาดทุนจากการปรับโครงสร้างหนี้ถึง 316.37 หรือประมาณ 40%เลยทีเดียว ในขณะที่สภาพคล่องของบริษัทก็ยังไม่ได้ดีเด่มากนัก เพราะ อัตราส่วนทุนหมุนเวียนมีเพียงแค่ 1.15 เท่าเท่านั้นเอง แม้จะสามารถลดหนี้สินไปได้มากก็ตาม ดังนั้นจึงไม่ได้พิสูจน์อะไรชัดเจนเลยว่าบริษัทมีความแข็งแกร่งทางการเงินพร้อมจะเดินต่อไปข้างหน้าได้อย่างมั่นใจว่ากำลังเทิร์นอะราวด์จริงจัง
ปฏิบัติการวิศวกรรมทางการเงินของ IEC ที่จะเกิดขึ้นต่อไปในปีนี้ รวมทั้งโครงการลงทุนพลังงานทางเลือกที่จะดำเนินไปพร้อมกัน ถือเป็นสิ่งที่นักลงทุนที่ชื่นชอบหุ้นราคาต่ำกว่า 10 สตางค์ ต้องเรียนรู้ที่จะอดทนรอคอย เหมือนอย่างที่รอคอยกันมาหลายนานกว่า 1 ทศวรรษเพื่อรอการฟื้นตัวจริงจัง
เพียงตั้งความหวังว่า ครั้งนี้ จะไม่เป็นความว่างเปล่า หรือโครงการเลื่อนลอยเหมือนเดิมอีก ก็เป็นเรื่องที่คุ้มค่าที่จะรอคอย
คำถามอยู่เพียงแค่ว่าผู้บริหารที่อาสาเข้ามาเป็น “จอมปั้น” รุ่นล่าสุด จะทำให้ผิดหวังอีกครั้งหรือไม่เท่านั้น
posted from Bloggeroid
อาจสันติภาพของพระเจ้าอยู่กับคุณ
ตอบลบคุณเป็นนักธุรกิจหรือหญิง? คุณอยู่ในที่ใด ๆ
ความเครียดทางการเงินหรือไม่หรือคุณต้องการเงินที่จะเริ่มต้นขึ้น
ธุรกิจของคุณเอง?
) สินเชื่อส่วนบุคคลขยายธุรกิจ
ข) การเริ่มต้นธุรกิจและการศึกษา
ค) การรวมหนี้
D) คริสต์มาสสินเชื่อ
ชื่อ: ..........................................
ประเทศ: .........................................
ที่อยู่: ..........................................
สถาน
สถานะ: .......................................
เพศ: ....................
อายุ .......................
การกู้ยืมเงินที่ต้องใช้: .........................
เงินกู้ระยะเวลา: ...................................
ส่วนบุคคลหมายเลขโทรศัพท์มือถือ: .......................
รายเดือน
รายได้: .....................................
ขอขอบคุณและขอให้พระเจ้าคุ้มครอง
อีเมล์: frankwoodloan@gmail.com