ข่าวหุ้น - กระบอกเสียงอิสระแห่งตลาดทุน:: KKPจ่ายปันผลหนัก7.1%
ราคาเป้าหมาย51.0บาท
ข่าวหน้าหนึ่ง วันอังคารที่ 01 เมษายน 2557
ผู้เข้าชม : 8 คน
ธนาคารเกียรตินาคิน (KKP) ใจป้ำจ่ายปันผล 7.1% มากสุดในระบบ XD วันที่ 30 เม.ย. นี้ ภาพรวมกำไรปีนี้เติบโต 14% ช่วงครึ่งปีหลังคึก ได้ดีลสินเชื่อรายใหญ่ 3 พันล้านบาท พร้อมคงคำแนะนำ "ซื้อ" ให้ราคาเป้าหมายที่ 51.0 บาท
นายวรพล วิรุฬห์ศรี นักวิเคราะห์ บริษัทหลักทรัพย์ เมย์แบงก์ กิมเอ็ง (ประเทศไทย) จำกัด แนะนำ "ซื้อ" ธนาคารเกียรตินาคิน (KKP) ให้ราคาเป้าหมาย 51 บาท dividend yield ระดับ 7-8% ขึ้นเครื่องหมาย XD วันที่ 30 เม.ย. โดยคาดว่าธนาคารเกียรตินาคิน (KKP) จะมีกำไรในไตรมาส 1/57 จำนวน 965 ล้านบาท ลดลง 6% จากไตรมาสก่อนหน้า และลดลง 17% จากปีก่อนหน้า โดยสินเชื่อคาดขยายตัวเพียงเล็กน้อย 0.5% จากไตรมาสก่อนหน้า เนื่องจากสินเชื่อเช่าซื้อรถยนต์ยังคงชะลอตัว
ในขณะที่ดีลสินเชื่อรายใหญ่ขนาด 3 พันล้านบาทอาจจะเลื่อนไปไตรมาส 2/57 แทน โดยคาด NIM หดตัวลงเล็กน้อยจากต้นทุนทางการเงินที่สูงขึ้นจากหุ้นกู้ชุดใหม่ ซึ่งรายได้ดอกเบี้ยสุทธิน่าจะทรงตัวจากไตรมาสก่อนหน้า แต่ยังเติบโต 12% จากปีก่อนหน้า ด้านรายได้ค่าธรรมเนียมมีแนวโน้มหดตัวลงตามการชะลอตัวของสินเชื่อ และธุรกิจตลาดทุนที่มูลค่าการซื้อขายหดตัวลง แม้ว่าส่วนแบ่งทางการตลาดจะเพิ่มขึ้นเล็กน้อย และไม่มีงาน IB ขนาดใหญ่
ด้านรายได้อื่นคาดยังอยู่ในระดับค่อนข้างต่ำ เนื่องจากยังมีผลขาดทุนจากการขายรถยึดอยู่ ในขณะที่ค่าใช้จ่ายการดำเนินงานคาดลดลงเล็กน้อยจากผลของฤดูกาล ในแง่คุณภาพสินทรัพย์ NPL ยังมีแนวโน้มปรับเพิ่มขึ้น แต่อัตราการผิดนัดชำระหนี้ใหม่เริ่มชะลอตัวลงเมื่อเทียบกับ 2-3 ไตรมาสที่ผ่านมา โดยค่าใช้จ่ายในการตั้งสำรองยังคงปรับเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับไตรมาส 4/56
อย่างไรก็ตาม จะเริ่มเห็นการฟื้นตัวในครึ่งปีหลัง โดยยังคงเชื่อว่าภาวะตลาดรถยนต์ปัจจุบันอยู่ในระดับที่เป็นจุดต่ำสุดแล้ว โดยราคารถยนต์เก่าเริ่มทรงตัวได้มาระยะหนึ่งแล้ว รวมทั้งผลขาดทุนจากรถยึดเริ่มส่งสัญญาณที่ดีขึ้น แต่มองว่าปัญหาการเมือง และ เศรษฐกิจจะยังคงกดดันทำให้ภาพการฟื้นตัวยังต้องใช้เวลาอีกสักระยะ ซึ่งคาดว่าน่าจะเริ่มชัดเจนขึ้นในช่วงครึ่งปีหลัง โดยจะช่วยผลักดันการฟื้นตัวของผลการดำเนินงานทั้งในแง่ของสินเชื่อ การตั้งสำรอง และผลขาดทุนจากรถยึด
นอกจากนี้ สินเชื่อปีนี้อยู่ที่ 8.4% ยังอยู่ในระดับที่เป็นไปได้ ซึ่งจะได้แรงหนุนจากภาคสินเชื่อรายใหญ่เข้ามาช่วยรวมทั้งคาดหวังการฟื้นตัวของเศรษฐกิจในช่วงครึ่งปีหลัง ในขณะที่ดอกเบี้ยที่ยังอยู่ในระดับต่ำน่าจะช่วยให้ NIM ยังสามารถทรงตัวที่ระดับ 3.7% ได้ ในขณะที่ด้านตลาดทุนคาดจะฟื้นตัวดีขึ้นในช่วงครึ่งปีหลังจากภาวะตลาดหุ้นที่น่าจะฟื้นตัวตามเศรษฐกิจ และดีล IB โดยรวมคาดกำไรสุทธิปี 57 ของ KKP จะเติบโต 14%
อีกทั้ง ยังคงคำแนะนำ "ซื้อ" KKP ให้ราคาเป้าหมาย 51 บาท อิง 1.13 เท่า PBV บนสมมติฐาน L/T ROE ระดับ 14%โดยราคาหุ้นเริ่มฟื้นตัวขึ้นมาอย่างต่อเนื่องในช่วง 3 เดือนที่ผ่านมาจากความคาดหวังของตลาดที่เชื่อว่าตลาดรถยนต์น่าจะไม่ตกต่ำลงไปมากกว่านี้แล้วรวมทั้ง Valuation ที่ Deep Discount มากจนเกินไป ซึ่งมองว่า ณ ระดับ Valuation ปัจจุบันที่ 0.94 เท่า PBV, 7.0 เท่า PER และให้ dividend yield ระดับ 7-8% ก็ยังถือว่าน่าสนใจสำหรับการถือลงทุนระยะยาว
โดยการฟื้นตัวของตลาดรถยนต์อาจจะยังคงต้องใช้ระยะเวลา แต่เชื่อว่าน่าจะเริ่มเห็นสัญญาณที่ดีขึ้นในช่วงครึ่งปีหลัง โดย KKP จะจ่ายปันผลงวดครึ่งปีหลัง 56 ที่ 1.65 บาท/หุ้น คิดเป็น Yield 3.9% ทั้งปีจ่าย 2.65 บาท ซึ่งจะขึ้นเครื่องหมาย XD วันที่ 30 เม.ย. และ จ่ายเงินวันที่ 23 พ.ค.
ราคาเป้าหมาย51.0บาท
ข่าวหน้าหนึ่ง วันอังคารที่ 01 เมษายน 2557
ผู้เข้าชม : 8 คน
ธนาคารเกียรตินาคิน (KKP) ใจป้ำจ่ายปันผล 7.1% มากสุดในระบบ XD วันที่ 30 เม.ย. นี้ ภาพรวมกำไรปีนี้เติบโต 14% ช่วงครึ่งปีหลังคึก ได้ดีลสินเชื่อรายใหญ่ 3 พันล้านบาท พร้อมคงคำแนะนำ "ซื้อ" ให้ราคาเป้าหมายที่ 51.0 บาท
นายวรพล วิรุฬห์ศรี นักวิเคราะห์ บริษัทหลักทรัพย์ เมย์แบงก์ กิมเอ็ง (ประเทศไทย) จำกัด แนะนำ "ซื้อ" ธนาคารเกียรตินาคิน (KKP) ให้ราคาเป้าหมาย 51 บาท dividend yield ระดับ 7-8% ขึ้นเครื่องหมาย XD วันที่ 30 เม.ย. โดยคาดว่าธนาคารเกียรตินาคิน (KKP) จะมีกำไรในไตรมาส 1/57 จำนวน 965 ล้านบาท ลดลง 6% จากไตรมาสก่อนหน้า และลดลง 17% จากปีก่อนหน้า โดยสินเชื่อคาดขยายตัวเพียงเล็กน้อย 0.5% จากไตรมาสก่อนหน้า เนื่องจากสินเชื่อเช่าซื้อรถยนต์ยังคงชะลอตัว
ในขณะที่ดีลสินเชื่อรายใหญ่ขนาด 3 พันล้านบาทอาจจะเลื่อนไปไตรมาส 2/57 แทน โดยคาด NIM หดตัวลงเล็กน้อยจากต้นทุนทางการเงินที่สูงขึ้นจากหุ้นกู้ชุดใหม่ ซึ่งรายได้ดอกเบี้ยสุทธิน่าจะทรงตัวจากไตรมาสก่อนหน้า แต่ยังเติบโต 12% จากปีก่อนหน้า ด้านรายได้ค่าธรรมเนียมมีแนวโน้มหดตัวลงตามการชะลอตัวของสินเชื่อ และธุรกิจตลาดทุนที่มูลค่าการซื้อขายหดตัวลง แม้ว่าส่วนแบ่งทางการตลาดจะเพิ่มขึ้นเล็กน้อย และไม่มีงาน IB ขนาดใหญ่
ด้านรายได้อื่นคาดยังอยู่ในระดับค่อนข้างต่ำ เนื่องจากยังมีผลขาดทุนจากการขายรถยึดอยู่ ในขณะที่ค่าใช้จ่ายการดำเนินงานคาดลดลงเล็กน้อยจากผลของฤดูกาล ในแง่คุณภาพสินทรัพย์ NPL ยังมีแนวโน้มปรับเพิ่มขึ้น แต่อัตราการผิดนัดชำระหนี้ใหม่เริ่มชะลอตัวลงเมื่อเทียบกับ 2-3 ไตรมาสที่ผ่านมา โดยค่าใช้จ่ายในการตั้งสำรองยังคงปรับเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับไตรมาส 4/56
อย่างไรก็ตาม จะเริ่มเห็นการฟื้นตัวในครึ่งปีหลัง โดยยังคงเชื่อว่าภาวะตลาดรถยนต์ปัจจุบันอยู่ในระดับที่เป็นจุดต่ำสุดแล้ว โดยราคารถยนต์เก่าเริ่มทรงตัวได้มาระยะหนึ่งแล้ว รวมทั้งผลขาดทุนจากรถยึดเริ่มส่งสัญญาณที่ดีขึ้น แต่มองว่าปัญหาการเมือง และ เศรษฐกิจจะยังคงกดดันทำให้ภาพการฟื้นตัวยังต้องใช้เวลาอีกสักระยะ ซึ่งคาดว่าน่าจะเริ่มชัดเจนขึ้นในช่วงครึ่งปีหลัง โดยจะช่วยผลักดันการฟื้นตัวของผลการดำเนินงานทั้งในแง่ของสินเชื่อ การตั้งสำรอง และผลขาดทุนจากรถยึด
นอกจากนี้ สินเชื่อปีนี้อยู่ที่ 8.4% ยังอยู่ในระดับที่เป็นไปได้ ซึ่งจะได้แรงหนุนจากภาคสินเชื่อรายใหญ่เข้ามาช่วยรวมทั้งคาดหวังการฟื้นตัวของเศรษฐกิจในช่วงครึ่งปีหลัง ในขณะที่ดอกเบี้ยที่ยังอยู่ในระดับต่ำน่าจะช่วยให้ NIM ยังสามารถทรงตัวที่ระดับ 3.7% ได้ ในขณะที่ด้านตลาดทุนคาดจะฟื้นตัวดีขึ้นในช่วงครึ่งปีหลังจากภาวะตลาดหุ้นที่น่าจะฟื้นตัวตามเศรษฐกิจ และดีล IB โดยรวมคาดกำไรสุทธิปี 57 ของ KKP จะเติบโต 14%
อีกทั้ง ยังคงคำแนะนำ "ซื้อ" KKP ให้ราคาเป้าหมาย 51 บาท อิง 1.13 เท่า PBV บนสมมติฐาน L/T ROE ระดับ 14%โดยราคาหุ้นเริ่มฟื้นตัวขึ้นมาอย่างต่อเนื่องในช่วง 3 เดือนที่ผ่านมาจากความคาดหวังของตลาดที่เชื่อว่าตลาดรถยนต์น่าจะไม่ตกต่ำลงไปมากกว่านี้แล้วรวมทั้ง Valuation ที่ Deep Discount มากจนเกินไป ซึ่งมองว่า ณ ระดับ Valuation ปัจจุบันที่ 0.94 เท่า PBV, 7.0 เท่า PER และให้ dividend yield ระดับ 7-8% ก็ยังถือว่าน่าสนใจสำหรับการถือลงทุนระยะยาว
โดยการฟื้นตัวของตลาดรถยนต์อาจจะยังคงต้องใช้ระยะเวลา แต่เชื่อว่าน่าจะเริ่มเห็นสัญญาณที่ดีขึ้นในช่วงครึ่งปีหลัง โดย KKP จะจ่ายปันผลงวดครึ่งปีหลัง 56 ที่ 1.65 บาท/หุ้น คิดเป็น Yield 3.9% ทั้งปีจ่าย 2.65 บาท ซึ่งจะขึ้นเครื่องหมาย XD วันที่ 30 เม.ย. และ จ่ายเงินวันที่ 23 พ.ค.
posted from Bloggeroid
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น