ข่าวหุ้น - กระบอกเสียงอิสระแห่งตลาดทุน:: ‘บีทีเอส’ฉลุยผ่านรอบแรก
บริษัทจดทะเบียน วันศุกร์ที่ 07 มีนาคม 2557
ผู้เข้าชม : 70 คน
BTS ฉลุยผ่านรอบแรกเข้าชิงรับงานพัฒนาระบบตั๋วร่วม 430 ล้านบาท สนข.ให้เวลายื่นข้อเสนอเทคนิค-ราคาถึงปลายเม.ย.นี้ คาดไม่เกิน พ.ค. 57 ได้ตัวผู้ชนะประมูล
นายพีระพล ถาวรสุภเจริญ รองผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) เปิดเผยถึงความคืบหน้า โครงการจัดทำระบบศูนย์บริหารจัดการรายได้กลาง (Central Clearing House: CCH) ระบบตั๋วร่วม วงเงิน 430 ล้านบาทว่า ขณะนี้ สนข.ได้พิจารณาคัดเลือกผู้ยื่นเอกสารแสดงความสนใจ (Expression of Interest: EOI) ทั้ง 6 รายแล้ว ปรากฏว่ามีผู้ผ่านการพิจารณาคุณสมบัติเบื้องต้น 5 ราย ประกอบด้วย กลุ่มที่ 1 กลุ่มล๊อตเต้ จากประเทศเกาหลีใต้ รวมกับกลุ่มบริษัท ปัญญาคอนซัลแตนท์ จำกัด
กลุ่มที่ 2 กลุ่ม อินดา INDRA จากสเปน รวมกับกลุ่มบริษัท ไทยบิทิสคิวตี้ปริ้นติ้ง จำกัด กลุ่มที่ 3 BSV ประกอบด้วย บริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพจำกัด (มหาชน) หรือ BTSC เป็นแกนนำ ร่วมกับ บริษัท สมาร์ทแทรฟฟิค จำกัด และกลุ่มวิกซ์จากออสเตรเลีย กลุ่มที่ 4 AT ประกอบด้วยบริษัทไทยทรานสมิทชั่นอินดัสตรี้ ร่วมกับกลุ่มเอเซอร์ และกลุ่มที่ 5 SM ประกอบด้วย กลุ่ม MSI จากสิงคโปร์ ร่วมกับบริษัท สามารถ คอมเทค จำกัด ส่วนกลุ่มที่ไม่ผ่านคุณสมบัติเบื้องต้นคือ กลุ่มซีล็อกซ์ (SEROX) ที่รวมกันระหว่างอเมริกากับออสเตรเลีย เนื่องจากเอกสารไม่ครบ
“ทางกรรมการประกวดราคาได้ส่งหนังสือแจ้งไปยังกลุ่มที่ผ่านคุณสมบัติเบื้องต้นทั้ง 5 รายแล้วว่า ให้เตรียมมายื่นข้อเสนอทางเทคนิคและราคาภายในสิ้นเดือนเมษายนนี้ และคาดว่าไม่เกินปลายเดือนพฤษภาคม จะได้ข้อสรุปว่าใครคือผู้รับงานจากนั้นก็นำส่งให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมพิจารณาอนุมัติ” นายพีระพล กล่าว
นายพีระพล กล่าวต่อว่า ผู้ที่ได้รับงานจะมีเวลาทำงาน 30 เดือน โดย 6 เดือนแรก คือการออกแบบระบบ 6 เดือนต่อมา ดำเนินการติดตั้ง และ 6 เดือนถัดไป ทำการทดสอบการใช้งาน โดยต้องเลือกระบบนำร่องมา 1 รูปแบบจาก 2 รูปแบบที่ สนข. กำหนด คือ 1.ใช้ตั๋วร่วมระหว่างรถเมล์ ขสมก.กับ รถไฟฟ้า BTS รถไฟฟ้าใต้ดิน และรถไฟฟ้าแอร์พอร์ตเรลลิงค์ หรือ 2.ใช้ตั๋วร่วมระหว่างทางด่วนกับรถไฟฟ้า BTS รถไฟฟ้าใต้ดิน และรถไฟฟ้าแอร์พอร์ตเรลลิงค์
นอกจากนี้ล่าสุดกระทรวงคมนาคมยังได้แต่งตั้งนายชูศักดิ์ เกวี รองปลัดกระทรวงคมนาคมด้านโครงสร้างพื้นฐานมาเป็นประธานคณะกรรมการจัดตั้งองค์กรบริหารตั๋วร่วม ซึ่งเบื้องต้นวางไว้ 3 รูปแบบ คือ 1.บริษัทเอกชน 2.ตั้งเป็นหน่วยธุรกิจ (BU) ของการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) ก่อนแปลงมาเป็นเอกชนในภายหลัง และ 3.ตั้งเป็นหน่วยงานรัฐวิสาหกิจ โดยก่อนหน้านี้บริษัทที่ปรึกษาได้เสนอให้ใช้รูปแบบที่ 2 เพราะจะจัดตั้งได้เร็วที่สุด ไม่มีขั้นตอนยุ่งยาก แต่ก็ยังมีการถกเถียงในเรื่องข้อดีข้อเสีย จึงยังไม่สามารถสรุปได้
“ตามขั้นตอนที่กำหนดองค์กรนี้จะต้องเริ่มทำหน้าที่ในช่วง 6 เดือนที่ 2 คือช่วงติดตั้งระบบตั๋วร่วม เพื่อให้มาร่วมทำงานกับผู้รับงานไปเลย ซึ่งตอนนี้ยังไม่แน่ใจว่าจะทันหรือไม่ เพราะการจัดตั้งต้องเสนอคณะรัฐมนตรีอนุมัติ แต่เราในฐานะที่เป็นข้าราชการประจำก็ต้องเตรียมเรื่องทุกอย่างให้พร้อมไว้ก่อน” นายพีระพล กล่าว
บริษัทจดทะเบียน วันศุกร์ที่ 07 มีนาคม 2557
ผู้เข้าชม : 70 คน
BTS ฉลุยผ่านรอบแรกเข้าชิงรับงานพัฒนาระบบตั๋วร่วม 430 ล้านบาท สนข.ให้เวลายื่นข้อเสนอเทคนิค-ราคาถึงปลายเม.ย.นี้ คาดไม่เกิน พ.ค. 57 ได้ตัวผู้ชนะประมูล
นายพีระพล ถาวรสุภเจริญ รองผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) เปิดเผยถึงความคืบหน้า โครงการจัดทำระบบศูนย์บริหารจัดการรายได้กลาง (Central Clearing House: CCH) ระบบตั๋วร่วม วงเงิน 430 ล้านบาทว่า ขณะนี้ สนข.ได้พิจารณาคัดเลือกผู้ยื่นเอกสารแสดงความสนใจ (Expression of Interest: EOI) ทั้ง 6 รายแล้ว ปรากฏว่ามีผู้ผ่านการพิจารณาคุณสมบัติเบื้องต้น 5 ราย ประกอบด้วย กลุ่มที่ 1 กลุ่มล๊อตเต้ จากประเทศเกาหลีใต้ รวมกับกลุ่มบริษัท ปัญญาคอนซัลแตนท์ จำกัด
กลุ่มที่ 2 กลุ่ม อินดา INDRA จากสเปน รวมกับกลุ่มบริษัท ไทยบิทิสคิวตี้ปริ้นติ้ง จำกัด กลุ่มที่ 3 BSV ประกอบด้วย บริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพจำกัด (มหาชน) หรือ BTSC เป็นแกนนำ ร่วมกับ บริษัท สมาร์ทแทรฟฟิค จำกัด และกลุ่มวิกซ์จากออสเตรเลีย กลุ่มที่ 4 AT ประกอบด้วยบริษัทไทยทรานสมิทชั่นอินดัสตรี้ ร่วมกับกลุ่มเอเซอร์ และกลุ่มที่ 5 SM ประกอบด้วย กลุ่ม MSI จากสิงคโปร์ ร่วมกับบริษัท สามารถ คอมเทค จำกัด ส่วนกลุ่มที่ไม่ผ่านคุณสมบัติเบื้องต้นคือ กลุ่มซีล็อกซ์ (SEROX) ที่รวมกันระหว่างอเมริกากับออสเตรเลีย เนื่องจากเอกสารไม่ครบ
“ทางกรรมการประกวดราคาได้ส่งหนังสือแจ้งไปยังกลุ่มที่ผ่านคุณสมบัติเบื้องต้นทั้ง 5 รายแล้วว่า ให้เตรียมมายื่นข้อเสนอทางเทคนิคและราคาภายในสิ้นเดือนเมษายนนี้ และคาดว่าไม่เกินปลายเดือนพฤษภาคม จะได้ข้อสรุปว่าใครคือผู้รับงานจากนั้นก็นำส่งให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมพิจารณาอนุมัติ” นายพีระพล กล่าว
นายพีระพล กล่าวต่อว่า ผู้ที่ได้รับงานจะมีเวลาทำงาน 30 เดือน โดย 6 เดือนแรก คือการออกแบบระบบ 6 เดือนต่อมา ดำเนินการติดตั้ง และ 6 เดือนถัดไป ทำการทดสอบการใช้งาน โดยต้องเลือกระบบนำร่องมา 1 รูปแบบจาก 2 รูปแบบที่ สนข. กำหนด คือ 1.ใช้ตั๋วร่วมระหว่างรถเมล์ ขสมก.กับ รถไฟฟ้า BTS รถไฟฟ้าใต้ดิน และรถไฟฟ้าแอร์พอร์ตเรลลิงค์ หรือ 2.ใช้ตั๋วร่วมระหว่างทางด่วนกับรถไฟฟ้า BTS รถไฟฟ้าใต้ดิน และรถไฟฟ้าแอร์พอร์ตเรลลิงค์
นอกจากนี้ล่าสุดกระทรวงคมนาคมยังได้แต่งตั้งนายชูศักดิ์ เกวี รองปลัดกระทรวงคมนาคมด้านโครงสร้างพื้นฐานมาเป็นประธานคณะกรรมการจัดตั้งองค์กรบริหารตั๋วร่วม ซึ่งเบื้องต้นวางไว้ 3 รูปแบบ คือ 1.บริษัทเอกชน 2.ตั้งเป็นหน่วยธุรกิจ (BU) ของการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) ก่อนแปลงมาเป็นเอกชนในภายหลัง และ 3.ตั้งเป็นหน่วยงานรัฐวิสาหกิจ โดยก่อนหน้านี้บริษัทที่ปรึกษาได้เสนอให้ใช้รูปแบบที่ 2 เพราะจะจัดตั้งได้เร็วที่สุด ไม่มีขั้นตอนยุ่งยาก แต่ก็ยังมีการถกเถียงในเรื่องข้อดีข้อเสีย จึงยังไม่สามารถสรุปได้
“ตามขั้นตอนที่กำหนดองค์กรนี้จะต้องเริ่มทำหน้าที่ในช่วง 6 เดือนที่ 2 คือช่วงติดตั้งระบบตั๋วร่วม เพื่อให้มาร่วมทำงานกับผู้รับงานไปเลย ซึ่งตอนนี้ยังไม่แน่ใจว่าจะทันหรือไม่ เพราะการจัดตั้งต้องเสนอคณะรัฐมนตรีอนุมัติ แต่เราในฐานะที่เป็นข้าราชการประจำก็ต้องเตรียมเรื่องทุกอย่างให้พร้อมไว้ก่อน” นายพีระพล กล่าว
posted from Bloggeroid
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น