ข่าวหุ้น - กระบอกเสียงอิสระแห่งตลาดทุน:: สมคบคิด Failed State
คอลัมน์ วันศุกร์ที่ 24 มกราคม 2557
ผู้เข้าชม : 10 คน
เห็นความเดือดร้อนของชาวบ้าน ชาวนา คนทำมาหากิน ในการเมืองคาราคาซังแล้วอยากบอกว่า รัฐประหารไปซะให้รู้แล้วรู้รอดเถอะครับ อย่าทรมานกันอยู่เลย ขั้วอำนาจที่อยากล้มรัฐบาลโปรดเช็กบิลให้จบๆ อย่าสมคบคิดเล่นเล่ห์สร้าง failed state เพื่อรัฐประหารเงียบ เอานายกฯคนกลางมาปะหน้าอยู่เลย
ม็อบนกหวีดอ้างสิทธิชุมนุมตามรัฐธรรมนูญ แต่เป้าหมายคือฉีกรัฐธรรมนูญ ล้มเลือกตั้ง ตั้งสภาเอง ตั้งรัฐบาลเอง ใช้ม็อบปิดกรุงจนเกือบอัมพาต แต่ละวันเดินอาดๆ ไปยึดสถานที่ราชการ ตัดน้ำตัดไฟ ไล่ข้าราชการกลับบ้าน โดยไม่คำนึงว่ากระทบบริการสาธารณะ ข้าราชการที่ไปทำงานก็ถูกจับแห่ประจาน ล่าสุด ที่ตรัง “เลยธง” ถึงขั้นบุกสุเหร่าเป่านกหวีด
ผู้คนเดือดร้อน รัฐบาลก็อับจน ไม่สามารถใช้อำนาจตามกฎหมาย ต่อให้ประกาศภาวะฉุกเฉิน ก็กลายเป็นมาตรการโง่ๆ ม็อบยิ่งรุนแรงเข้าไปใหญ่
ที่จริง ม็อบไม่ได้มีคนเป็น “ล้านๆ” เหมือนที่คุยตอนแรก พวกไปบุกที่ต่างๆ บางครั้งมีไม่กี่ร้อยคน แต่ตำรวจไม่สามารถใช้ความรุนแรง ชาวบ้านธรรมดาหรือ เผลอโวยวายร้องด่าก็ต้องเรียกรถพยาบาล (ซ้ำยังอาจไปเจอหมอชูป้าย “หนีคนไข้ไล่อีปู” ระยะนี้อย่าเจ็บตัวไว้แหละดี)
คนไปม็อบส่วนใหญ่อาจบอกว่าพวกเขาเป็นสุภาพชน คนดี ไม่เห็นด้วยกับการบุกสุเหร่า (ที่กำนันกราบขอโทษ) รื้อป้ายสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ดูหมิ่นเหยียดหยามตำรวจเหมาเข่ง ฯลฯ แต่อย่าลืมว่า พฤติกรรมเหล่านี้เป็นเพราะเป้าหมายล้มรัฐบาลโดยฉีกกติกา เมื่อไม่เคารพกติกาแล้วก็ทำได้ทุกอย่าง เพื่อให้เกิด “รัฐล้มเหลว” failed state
คุณสนับสนุนเป้าหมายนั้น เท่ากับสนับสนุนพฤติกรรมเลยเถิด ซึ่งคนเดือดร้อนไม่ใช่แค่รัฐบาล แต่รวมชาวบ้านทั่วไป และผลประโยชน์สาธารณะ (ถ้าจะขอโทษจากใจจริง กำนันต้องขอโทษคนอีกมากมาย)
การเคลื่อนไหวเช่นนี้ไม่มีทางเกิดขึ้นได้ในประเทศอื่น มีแต่ประเทศไทย เพราะผู้ชุมนุมเชื่อว่ามีขั้วอำนาจเหนือกว่ารัฐบาลเข้าข้างตน เช่น ทหารใส่เกียร์ว่าง องค์กรอิสระจ้องเล่นงานรัฐบาล กกต.เสนอเลื่อนเลือกตั้ง ฯลฯ ซึ่งพอไปร้องศาลรัฐธรรมนูญก็รับคำร้อง ทั้งที่ขัดหลักอำนาจศาล
รัฐธรรมนูญมาตรา 214 เมื่อเกิดความขัดแย้งระหว่างองค์กรให้ศาลรัฐธรรมนูญชี้ขาด หมายถึงต้องเกิดการใช้อำนาจขัดกัน ไม่ใช่แค่ความเห็นต่าง เปรียบเหมือนคน 2 คน เถียงกันเรื่องข้อกฎหมาย จะให้ศาลตัดสินว่าใครถูกใครผิดไม่ได้ เพราะไม่มีคดี ศาลไม่ใช่ที่ปรึกษากฎหมาย ศาลจะรับคดีต่อเมื่อ 2 องค์กรใช้อำนาจ ออกคำสั่ง หรือปฏิบัติขัดกัน เช่น กกต.ประกาศเลื่อนการเลือกตั้งวันที่ 2 ก.พ. รัฐบาลก็จะร้องศาลให้ชี้ว่า กกต.ถูกหรือผิด
ยิ่งกว่านั้น ยังเป็นที่สงสัยว่าศาลจะให้เลื่อนเลือกตั้งได้อย่างไร เพราะรัฐธรรมนูญเขียนโต้งๆ ต้องเลือกตั้งหลังยุบสภา 45-60 วัน แต่ศาลรัฐธรรมนูญซะอย่าง วินิจฉัยได้ทุกอย่าง แก้รัฐธรรมนูญให้วุฒิสภามาจากเลือกตั้งก็ยังกลายเป็นล้มล้างการปกครอง
ทีม็อบไล่รัฐบาล ไม่เอาเลือกตั้ง จะตั้งรัฐบาลเอง ไม่เป็นไปตามรัฐธรรมนูญ กลับไม่ผิดมาตรา 68
ถ้าเลื่อนเลือกตั้งจะเกิดอะไร สภาพ failed state ก็จะยืดเยื้อ ม็อบคุกคามสาธารณชนไม่หยุด เศรษฐกิจเสียหาย กกต.ไม่ยอมให้รัฐบาลกู้เงินจำนำข้าว ชาวนาเดือดร้อน เป็นหนี้ ลุกฮือ สุดท้ายสังคมที่ตกเป็นตัวประกันก็จะบีบให้รัฐบาลลาออก ตั้งนายกฯ คนกลาง ถ้าไม่ออก ก็โทษว่ารัฐบาลเป็นตัวสร้างความฉิบหาย
เล่นเกมนี้ไม่โหดไปหน่อยหรือครับ ทั้งโหดกับชาวนา คนยากจน มาจนนักธุรกิจ ที่บางรายคงต้องปิดกิจการ ถ้าจะเล่นกันอย่างนี้ รัฐประหารเสียดีกว่า (จะได้พังเร็วๆ –ฮา)
คอลัมน์ วันศุกร์ที่ 24 มกราคม 2557
ผู้เข้าชม : 10 คน
เห็นความเดือดร้อนของชาวบ้าน ชาวนา คนทำมาหากิน ในการเมืองคาราคาซังแล้วอยากบอกว่า รัฐประหารไปซะให้รู้แล้วรู้รอดเถอะครับ อย่าทรมานกันอยู่เลย ขั้วอำนาจที่อยากล้มรัฐบาลโปรดเช็กบิลให้จบๆ อย่าสมคบคิดเล่นเล่ห์สร้าง failed state เพื่อรัฐประหารเงียบ เอานายกฯคนกลางมาปะหน้าอยู่เลย
ม็อบนกหวีดอ้างสิทธิชุมนุมตามรัฐธรรมนูญ แต่เป้าหมายคือฉีกรัฐธรรมนูญ ล้มเลือกตั้ง ตั้งสภาเอง ตั้งรัฐบาลเอง ใช้ม็อบปิดกรุงจนเกือบอัมพาต แต่ละวันเดินอาดๆ ไปยึดสถานที่ราชการ ตัดน้ำตัดไฟ ไล่ข้าราชการกลับบ้าน โดยไม่คำนึงว่ากระทบบริการสาธารณะ ข้าราชการที่ไปทำงานก็ถูกจับแห่ประจาน ล่าสุด ที่ตรัง “เลยธง” ถึงขั้นบุกสุเหร่าเป่านกหวีด
ผู้คนเดือดร้อน รัฐบาลก็อับจน ไม่สามารถใช้อำนาจตามกฎหมาย ต่อให้ประกาศภาวะฉุกเฉิน ก็กลายเป็นมาตรการโง่ๆ ม็อบยิ่งรุนแรงเข้าไปใหญ่
ที่จริง ม็อบไม่ได้มีคนเป็น “ล้านๆ” เหมือนที่คุยตอนแรก พวกไปบุกที่ต่างๆ บางครั้งมีไม่กี่ร้อยคน แต่ตำรวจไม่สามารถใช้ความรุนแรง ชาวบ้านธรรมดาหรือ เผลอโวยวายร้องด่าก็ต้องเรียกรถพยาบาล (ซ้ำยังอาจไปเจอหมอชูป้าย “หนีคนไข้ไล่อีปู” ระยะนี้อย่าเจ็บตัวไว้แหละดี)
คนไปม็อบส่วนใหญ่อาจบอกว่าพวกเขาเป็นสุภาพชน คนดี ไม่เห็นด้วยกับการบุกสุเหร่า (ที่กำนันกราบขอโทษ) รื้อป้ายสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ดูหมิ่นเหยียดหยามตำรวจเหมาเข่ง ฯลฯ แต่อย่าลืมว่า พฤติกรรมเหล่านี้เป็นเพราะเป้าหมายล้มรัฐบาลโดยฉีกกติกา เมื่อไม่เคารพกติกาแล้วก็ทำได้ทุกอย่าง เพื่อให้เกิด “รัฐล้มเหลว” failed state
คุณสนับสนุนเป้าหมายนั้น เท่ากับสนับสนุนพฤติกรรมเลยเถิด ซึ่งคนเดือดร้อนไม่ใช่แค่รัฐบาล แต่รวมชาวบ้านทั่วไป และผลประโยชน์สาธารณะ (ถ้าจะขอโทษจากใจจริง กำนันต้องขอโทษคนอีกมากมาย)
การเคลื่อนไหวเช่นนี้ไม่มีทางเกิดขึ้นได้ในประเทศอื่น มีแต่ประเทศไทย เพราะผู้ชุมนุมเชื่อว่ามีขั้วอำนาจเหนือกว่ารัฐบาลเข้าข้างตน เช่น ทหารใส่เกียร์ว่าง องค์กรอิสระจ้องเล่นงานรัฐบาล กกต.เสนอเลื่อนเลือกตั้ง ฯลฯ ซึ่งพอไปร้องศาลรัฐธรรมนูญก็รับคำร้อง ทั้งที่ขัดหลักอำนาจศาล
รัฐธรรมนูญมาตรา 214 เมื่อเกิดความขัดแย้งระหว่างองค์กรให้ศาลรัฐธรรมนูญชี้ขาด หมายถึงต้องเกิดการใช้อำนาจขัดกัน ไม่ใช่แค่ความเห็นต่าง เปรียบเหมือนคน 2 คน เถียงกันเรื่องข้อกฎหมาย จะให้ศาลตัดสินว่าใครถูกใครผิดไม่ได้ เพราะไม่มีคดี ศาลไม่ใช่ที่ปรึกษากฎหมาย ศาลจะรับคดีต่อเมื่อ 2 องค์กรใช้อำนาจ ออกคำสั่ง หรือปฏิบัติขัดกัน เช่น กกต.ประกาศเลื่อนการเลือกตั้งวันที่ 2 ก.พ. รัฐบาลก็จะร้องศาลให้ชี้ว่า กกต.ถูกหรือผิด
ยิ่งกว่านั้น ยังเป็นที่สงสัยว่าศาลจะให้เลื่อนเลือกตั้งได้อย่างไร เพราะรัฐธรรมนูญเขียนโต้งๆ ต้องเลือกตั้งหลังยุบสภา 45-60 วัน แต่ศาลรัฐธรรมนูญซะอย่าง วินิจฉัยได้ทุกอย่าง แก้รัฐธรรมนูญให้วุฒิสภามาจากเลือกตั้งก็ยังกลายเป็นล้มล้างการปกครอง
ทีม็อบไล่รัฐบาล ไม่เอาเลือกตั้ง จะตั้งรัฐบาลเอง ไม่เป็นไปตามรัฐธรรมนูญ กลับไม่ผิดมาตรา 68
ถ้าเลื่อนเลือกตั้งจะเกิดอะไร สภาพ failed state ก็จะยืดเยื้อ ม็อบคุกคามสาธารณชนไม่หยุด เศรษฐกิจเสียหาย กกต.ไม่ยอมให้รัฐบาลกู้เงินจำนำข้าว ชาวนาเดือดร้อน เป็นหนี้ ลุกฮือ สุดท้ายสังคมที่ตกเป็นตัวประกันก็จะบีบให้รัฐบาลลาออก ตั้งนายกฯ คนกลาง ถ้าไม่ออก ก็โทษว่ารัฐบาลเป็นตัวสร้างความฉิบหาย
เล่นเกมนี้ไม่โหดไปหน่อยหรือครับ ทั้งโหดกับชาวนา คนยากจน มาจนนักธุรกิจ ที่บางรายคงต้องปิดกิจการ ถ้าจะเล่นกันอย่างนี้ รัฐประหารเสียดีกว่า (จะได้พังเร็วๆ –ฮา)
posted from Bloggeroid
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น