คนไทยเครียดฝรั่งคึก!
ดัชนีพลิกล็อกบวก28จุด
ต่างชาติซื้อสุทธิ 2 พันล้าน-นัดถกปัญหาเลือกตั้ง 15 ม.ค.นี้
ข่าวหน้าหนึ่ง วันอังคารที่ 14 มกราคม 2557
ผู้เข้าชม : 12 คน
“ดัชนีหุ้นไทย” พลิกล็อกปิดบวก 28 จุด นักลงทุนต่างชาติซื้อสุทธิกว่า 1,882 ล้านบาท เชื่อมั่นหุ้นไทยราคาถูกสุดเป็นรองแค่จีน แม้การเมืองไทยตึงเครียด เมื่อม็อบเคลื่อนไหวปิดกทม.หลายจุด ให้ผลตอบแทนปันผลสูงเฉลี่ย 4% แนะนำปรับลดพอร์ตเก็งกำไร รอดูสถานการณ์การเมืองชัดเจน ขณะที่รัฐบาลร่อนหนังสือเชิญทุกฝ่ายหาข้อสรุปเลือกตั้ง 15 ม.ค.นี้
วานนี้ (13 ม.ค.) ดัชนีหุ้นไทยปิดตลาด 1,283.56 จุด เพิ่มขึ้น 28.11 จุด มูลค่าซื้อขาย 30,254 ล้านบาท แม้ว่าสถานการณ์การเมืองไทยค่อนข้างตึงเครียด หลังผู้ชุมนุมในนามกลุ่มกปปส.และคปท.เคลื่อนไหวปิดแยกตามจุดสำคัญๆ ในพื้นที่กรุงเทพฯ จึงนับเป็นตลาดหุ้นไทยรีบาวด์ตามตลาดภูมิภาค ปัจจัยหลักมาจาก 3 ปัจจัยหลัก คือ 1.นายกรัฐมนตรีเรียกทุกฝ่ายหารือเลื่อนวันเลือกตั้ง 2.การชุมนุมไม่เกิดความรุนแรง 3.มีแรงเก็งกำไรที่เข้ามาในตลาดกลุ่ม TIP (ไทย-อินโดนีเซีย-ฟิลิปปินส์) เห็นได้ชัดจากตัวเลขต่างชาติซื้อสุทธิกว่า 1,882 ล้านบาท โดยบัญชีหลักทรัพย์ซื้อสุทธิ 1,995.50 ล้านบาท ขณะที่สถาบันในประเทศขายสุทธิ 2,643 ล้านบาท และรายย่อย 1,233 ล้านบาท
โดยปัจจัยบวกเป็นผลมากจากหุ้นไทยลงมาจน (PBV และ ROE) ถูกเป็นอันดับ 2 รองจากจีน มีผลตอบแทนเงินปันผล 4% สูงกว่าค่าเฉลี่ยภูมิภาค Asia Ex Japan ที่ 3% และทิศทางหุ้นโลกส่งสัญญาณเชิงบวก ส่วนปัจจัยลบคือผลกระทบเศรษฐกิจจากการเมือง และวิตกปฏิวัติ แต่กระทบหุ้นไทยจำกัดระยะสั้น อิงตลาดเริ่มประเมินผลกระทบต่อกำไรบริษัทจดทะเบียนและเศรษฐกิจได้ระดับหนึ่ง
นายกวี ชูกิจเกษม ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ บริษัทหลักทรัพย์กสิกรไทย ระบุว่า ตลาดหุ้นไทยรีบาวด์ขึ้นตามทิศทางเดียวกับตลาดหุ้นภูมิภาค รับปัจจัยจากที่นายกรัฐมนตรีนัดหลายฝ่ายหารือวันที่ 15 ม.ค.นี้ เกี่ยวกับข้อเสนอเลื่อนการเลือกตั้ง ประกอบกับมีแรงเก็งกำไรเข้ามาที่ตลาดกลุ่ม TIP ทั้งอินโดนีเซีย และฟิลิปปินส์ ตลาดหุ้นไทยเป็นหนึ่งในกลุ่มจึงมีแรงซื้อเข้ามาด้วย
“ตลาดมีการรีบาวด์ขึ้นมา เป็นเรื่องที่ผิดคาดที่สามารถรีบาวด์ขึ้นมาท่ามกลางสถานการณ์ทางการเมือง อาจเป็นไปได้ที่มีข่าวนัดประชุมกันของหลายฝ่ายของนายกรัฐมนตรี ที่บอกว่าจะคุยกันเรื่องเลื่อนการเลือกตั้ง ประกอบกับอานิสงส์ตลาดต่างประเทศด้วย ที่ส่วนใหญ่เคลื่อนไหวในแดนบวก โดยเฉพาะอินโดนีเซีย ที่บวก 3% และฟิลิปปินส์บวกมา 1.7% จะเป็น 2 ประเด็นนี้ที่ทำให้ตลาดมีการรีบาวด์” นายกวี กล่าว
สำหรับแนวโน้มการลงทุนวันนี้ (14 ม.ค.) ดัชนีหุ้นไทยเข้ามาอยู่ในกรอบแนวต้านสำคัญที่ 1,280-1,300 จุด มองว่าควรลดพอร์ตการเก็งกำไรไปก่อน แล้วค่อยกลับเข้ามาซื้อใหม่ช่วงดัชนีปรับฐาน เนื่องจากสถานการณ์ทางการเมืองในประเทศไม่มีความชัดเจน รวมถึงการรีบาวด์ขึ้นมาครั้งนี้มีปัจจัยเสี่ยง มองว่าการเข้ามาซื้อของนักลงทุนต่างประเทศไม่ใช่การลงทุนระยะยาว สุดท้ายแล้วตลาดหุ้นน่าจะกลับมากังวลการปรับลดขนาด QE จากที่ตัวเลขเศรษฐกิจสหรัฐปรับตัวดีขึ้น พร้อมให้แนวรับ 1,240-1,260 จุด และแนวต้าน 1,292 จุด
นายยศพณ แสงนิล รองผู้อำนวยการฝ่ายวิเคราะห์ บริษัทหลักทรัพย์ยูโอบีเคย์เฮียน (ประเทศไทย) ระบุว่า ตลาดหุ้นไทยวานนี้ดัชนีแกว่งตัวผันผวนฟื้นคืนกลับมาเป็นบวกได้ช่วงบ่าย เนื่องจากการชุมนุมของกลุ่มประชาชนเพื่อการเปลี่ยนแปลงประเทศไทยให้เป็นประชาธิปไตยที่สมบูรณ์อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข (กปปส.) ไม่มีความรุนแรง ประกอบกับช่วงที่ผ่านมาตลาดหุ้นไทยปรับตัวลดลงมามากแล้ว ทำให้มีแรงซื้อเข้ามาในหุ้นขนาดใหญ่ เช่น หุ้นกลุ่มสื่อสาร พลังงาน ธนาคาร จนพยุงให้ดัชนีดีดกลับอีกครั้ง
สำหรับการซื้อขายวันนี้ (14 ม.ค.) ประเมินว่าดัชนีน่าจะแกว่งตัวในกรอบแคบ โดยมีแนวรับอยู่ที่ 1,260 จุด และหากดัชนียืนเหนือ 1,280 จุดได้วันนี้ แนวต้านขยับขึ้นไปอยู่ที่ 1,300 จุด กลยุทธ์การลงทุนแนะนำให้รอดูความชัดเจนสถานการณ์ทางการเมืองในประเทศก่อน แต่กรณีที่ต้องการซื้อ แนะนำลงทุน หุ้นกลุ่มธนาคารพาณิชย์ที่คาดว่าผลประกอบการงวดไตรมาส 4/56 จะออกมาค่อนข้างดี
ขณะที่นักบริหารเงินจากธนาคารพาณิชย์ ระบุว่า เงินบาทปิดตลาดวานนี้ (13 ม.ค.) ที่ระดับ 32.96-32.97 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ ปรับตัวแข็งค่าจากช่วงเช้าที่ระดับ 33.07-33.08 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ หลังปฏิบัติการปิดกรุงเทพฯ ของคณะกรรมการประชาชนเพื่อการเปลี่ยนแปลงประเทศไทยให้เป็นประชาธิปไตยที่สมบูรณ์อันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข (กปปส.) สงบเรียบร้อย ไม่เกิดเหตุรุนแรง ประกอบกับการปรับตัวขึ้นของดัชนีตลาดหุ้น
“เงินบาทกลับมาปรับตัวแข็งค่าทำโลว์สุดหลังสถานการณ์การชุมนุมเรียบร้อยดี หุ้นไทยบวก และตลาดยังจับตาดูสถานการณ์ทางการเมืองในประเทศต่อไป หากยังไม่เกิดเหตุรุนแรง ส่งผลให้ค่าเงินบาทมีแนวโน้มปรับตัวแข็งค่าได้อีก แนวโน้มวันนี้ (14 ม.ค.) เงินบาทจะเคลื่อนไหวอยู่ในกรอบระหว่าง 32.80-33.00 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ
นายพงศ์เทพ เทพกาญจนา รองนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า ลงนามในหนังสือเชิญทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องกับการเลือกตั้งหารือถึงกรณีคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ที่ขอให้นายกรัฐมนตรีพิจารณาออก พ.ร.ฎ.กำหนดวันเลือกตั้งใหม่ เพื่อให้เกิดความรอบคอบ และให้โอกาสทุกพรรคการเมือง รวมตลอดถึงผู้มีหน้าที่เกี่ยวข้องกับการเลือกตั้ง หารือร่วมกันเพื่อให้ได้ข้อยุติในการเลือกตั้ง ที่เป็นไปได้ด้วยความสงบเรียบร้อย และสุจริตเที่ยงธรรม เป็นการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขอย่างแท้จริง จึงเชิญบุคคลฝ่ายต่างๆ เข้าร่วมหารือในประเด็นดังกล่าวในวันที่ 15 ม.ค. 57 เวลา 10.00 น.
นายสมชัย ศรีสุทธิยากร หนึ่งในคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ระบุว่า นายกรัฐมนตรีควรหารือกับกกต .เพื่อให้ได้ข้อยุติเกี่ยวกับการจะเลื่อนการเลือกตั้งวันที่ 2 ก.พ.ออกไปหรือไม่ก่อน จากนั้นจึงนำข้อสรุปไปหารือฝ่ายอื่นๆ ต่อไป เนื่องจากเห็นว่าการเชิญหลายฝ่ายที่มีความคิดเห็นแตกต่างกันมากๆ มาหารือกันจะทำให้ไม่ได้ข้อสรุปและไม่นำไปสู่การแก้ปัญหาที่เกิดขึ้น
“ยิ่งคุณสร้างเวทีใหญ่เท่าไหร่ความคิดเห็นจะแตกต่างออกไป สิ่งที่รัฐต้องทำคือคุยกันกลุ่มเล็กที่สุด คือกกต.กับนายกรัฐมนตรี ซึ่งเป็นผู้รักษาการ ตามพระราชกฤษฎีกายุบสภาและเลือกตั้งใหม่ คุยกันว่าจะจัดการอย่างไรกับวันที่ 2 กุมภาพันธ์”
ดัชนีพลิกล็อกบวก28จุด
ต่างชาติซื้อสุทธิ 2 พันล้าน-นัดถกปัญหาเลือกตั้ง 15 ม.ค.นี้
ข่าวหน้าหนึ่ง วันอังคารที่ 14 มกราคม 2557
ผู้เข้าชม : 12 คน
“ดัชนีหุ้นไทย” พลิกล็อกปิดบวก 28 จุด นักลงทุนต่างชาติซื้อสุทธิกว่า 1,882 ล้านบาท เชื่อมั่นหุ้นไทยราคาถูกสุดเป็นรองแค่จีน แม้การเมืองไทยตึงเครียด เมื่อม็อบเคลื่อนไหวปิดกทม.หลายจุด ให้ผลตอบแทนปันผลสูงเฉลี่ย 4% แนะนำปรับลดพอร์ตเก็งกำไร รอดูสถานการณ์การเมืองชัดเจน ขณะที่รัฐบาลร่อนหนังสือเชิญทุกฝ่ายหาข้อสรุปเลือกตั้ง 15 ม.ค.นี้
วานนี้ (13 ม.ค.) ดัชนีหุ้นไทยปิดตลาด 1,283.56 จุด เพิ่มขึ้น 28.11 จุด มูลค่าซื้อขาย 30,254 ล้านบาท แม้ว่าสถานการณ์การเมืองไทยค่อนข้างตึงเครียด หลังผู้ชุมนุมในนามกลุ่มกปปส.และคปท.เคลื่อนไหวปิดแยกตามจุดสำคัญๆ ในพื้นที่กรุงเทพฯ จึงนับเป็นตลาดหุ้นไทยรีบาวด์ตามตลาดภูมิภาค ปัจจัยหลักมาจาก 3 ปัจจัยหลัก คือ 1.นายกรัฐมนตรีเรียกทุกฝ่ายหารือเลื่อนวันเลือกตั้ง 2.การชุมนุมไม่เกิดความรุนแรง 3.มีแรงเก็งกำไรที่เข้ามาในตลาดกลุ่ม TIP (ไทย-อินโดนีเซีย-ฟิลิปปินส์) เห็นได้ชัดจากตัวเลขต่างชาติซื้อสุทธิกว่า 1,882 ล้านบาท โดยบัญชีหลักทรัพย์ซื้อสุทธิ 1,995.50 ล้านบาท ขณะที่สถาบันในประเทศขายสุทธิ 2,643 ล้านบาท และรายย่อย 1,233 ล้านบาท
โดยปัจจัยบวกเป็นผลมากจากหุ้นไทยลงมาจน (PBV และ ROE) ถูกเป็นอันดับ 2 รองจากจีน มีผลตอบแทนเงินปันผล 4% สูงกว่าค่าเฉลี่ยภูมิภาค Asia Ex Japan ที่ 3% และทิศทางหุ้นโลกส่งสัญญาณเชิงบวก ส่วนปัจจัยลบคือผลกระทบเศรษฐกิจจากการเมือง และวิตกปฏิวัติ แต่กระทบหุ้นไทยจำกัดระยะสั้น อิงตลาดเริ่มประเมินผลกระทบต่อกำไรบริษัทจดทะเบียนและเศรษฐกิจได้ระดับหนึ่ง
นายกวี ชูกิจเกษม ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ บริษัทหลักทรัพย์กสิกรไทย ระบุว่า ตลาดหุ้นไทยรีบาวด์ขึ้นตามทิศทางเดียวกับตลาดหุ้นภูมิภาค รับปัจจัยจากที่นายกรัฐมนตรีนัดหลายฝ่ายหารือวันที่ 15 ม.ค.นี้ เกี่ยวกับข้อเสนอเลื่อนการเลือกตั้ง ประกอบกับมีแรงเก็งกำไรเข้ามาที่ตลาดกลุ่ม TIP ทั้งอินโดนีเซีย และฟิลิปปินส์ ตลาดหุ้นไทยเป็นหนึ่งในกลุ่มจึงมีแรงซื้อเข้ามาด้วย
“ตลาดมีการรีบาวด์ขึ้นมา เป็นเรื่องที่ผิดคาดที่สามารถรีบาวด์ขึ้นมาท่ามกลางสถานการณ์ทางการเมือง อาจเป็นไปได้ที่มีข่าวนัดประชุมกันของหลายฝ่ายของนายกรัฐมนตรี ที่บอกว่าจะคุยกันเรื่องเลื่อนการเลือกตั้ง ประกอบกับอานิสงส์ตลาดต่างประเทศด้วย ที่ส่วนใหญ่เคลื่อนไหวในแดนบวก โดยเฉพาะอินโดนีเซีย ที่บวก 3% และฟิลิปปินส์บวกมา 1.7% จะเป็น 2 ประเด็นนี้ที่ทำให้ตลาดมีการรีบาวด์” นายกวี กล่าว
สำหรับแนวโน้มการลงทุนวันนี้ (14 ม.ค.) ดัชนีหุ้นไทยเข้ามาอยู่ในกรอบแนวต้านสำคัญที่ 1,280-1,300 จุด มองว่าควรลดพอร์ตการเก็งกำไรไปก่อน แล้วค่อยกลับเข้ามาซื้อใหม่ช่วงดัชนีปรับฐาน เนื่องจากสถานการณ์ทางการเมืองในประเทศไม่มีความชัดเจน รวมถึงการรีบาวด์ขึ้นมาครั้งนี้มีปัจจัยเสี่ยง มองว่าการเข้ามาซื้อของนักลงทุนต่างประเทศไม่ใช่การลงทุนระยะยาว สุดท้ายแล้วตลาดหุ้นน่าจะกลับมากังวลการปรับลดขนาด QE จากที่ตัวเลขเศรษฐกิจสหรัฐปรับตัวดีขึ้น พร้อมให้แนวรับ 1,240-1,260 จุด และแนวต้าน 1,292 จุด
นายยศพณ แสงนิล รองผู้อำนวยการฝ่ายวิเคราะห์ บริษัทหลักทรัพย์ยูโอบีเคย์เฮียน (ประเทศไทย) ระบุว่า ตลาดหุ้นไทยวานนี้ดัชนีแกว่งตัวผันผวนฟื้นคืนกลับมาเป็นบวกได้ช่วงบ่าย เนื่องจากการชุมนุมของกลุ่มประชาชนเพื่อการเปลี่ยนแปลงประเทศไทยให้เป็นประชาธิปไตยที่สมบูรณ์อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข (กปปส.) ไม่มีความรุนแรง ประกอบกับช่วงที่ผ่านมาตลาดหุ้นไทยปรับตัวลดลงมามากแล้ว ทำให้มีแรงซื้อเข้ามาในหุ้นขนาดใหญ่ เช่น หุ้นกลุ่มสื่อสาร พลังงาน ธนาคาร จนพยุงให้ดัชนีดีดกลับอีกครั้ง
สำหรับการซื้อขายวันนี้ (14 ม.ค.) ประเมินว่าดัชนีน่าจะแกว่งตัวในกรอบแคบ โดยมีแนวรับอยู่ที่ 1,260 จุด และหากดัชนียืนเหนือ 1,280 จุดได้วันนี้ แนวต้านขยับขึ้นไปอยู่ที่ 1,300 จุด กลยุทธ์การลงทุนแนะนำให้รอดูความชัดเจนสถานการณ์ทางการเมืองในประเทศก่อน แต่กรณีที่ต้องการซื้อ แนะนำลงทุน หุ้นกลุ่มธนาคารพาณิชย์ที่คาดว่าผลประกอบการงวดไตรมาส 4/56 จะออกมาค่อนข้างดี
ขณะที่นักบริหารเงินจากธนาคารพาณิชย์ ระบุว่า เงินบาทปิดตลาดวานนี้ (13 ม.ค.) ที่ระดับ 32.96-32.97 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ ปรับตัวแข็งค่าจากช่วงเช้าที่ระดับ 33.07-33.08 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ หลังปฏิบัติการปิดกรุงเทพฯ ของคณะกรรมการประชาชนเพื่อการเปลี่ยนแปลงประเทศไทยให้เป็นประชาธิปไตยที่สมบูรณ์อันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข (กปปส.) สงบเรียบร้อย ไม่เกิดเหตุรุนแรง ประกอบกับการปรับตัวขึ้นของดัชนีตลาดหุ้น
“เงินบาทกลับมาปรับตัวแข็งค่าทำโลว์สุดหลังสถานการณ์การชุมนุมเรียบร้อยดี หุ้นไทยบวก และตลาดยังจับตาดูสถานการณ์ทางการเมืองในประเทศต่อไป หากยังไม่เกิดเหตุรุนแรง ส่งผลให้ค่าเงินบาทมีแนวโน้มปรับตัวแข็งค่าได้อีก แนวโน้มวันนี้ (14 ม.ค.) เงินบาทจะเคลื่อนไหวอยู่ในกรอบระหว่าง 32.80-33.00 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ
นายพงศ์เทพ เทพกาญจนา รองนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า ลงนามในหนังสือเชิญทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องกับการเลือกตั้งหารือถึงกรณีคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ที่ขอให้นายกรัฐมนตรีพิจารณาออก พ.ร.ฎ.กำหนดวันเลือกตั้งใหม่ เพื่อให้เกิดความรอบคอบ และให้โอกาสทุกพรรคการเมือง รวมตลอดถึงผู้มีหน้าที่เกี่ยวข้องกับการเลือกตั้ง หารือร่วมกันเพื่อให้ได้ข้อยุติในการเลือกตั้ง ที่เป็นไปได้ด้วยความสงบเรียบร้อย และสุจริตเที่ยงธรรม เป็นการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขอย่างแท้จริง จึงเชิญบุคคลฝ่ายต่างๆ เข้าร่วมหารือในประเด็นดังกล่าวในวันที่ 15 ม.ค. 57 เวลา 10.00 น.
นายสมชัย ศรีสุทธิยากร หนึ่งในคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ระบุว่า นายกรัฐมนตรีควรหารือกับกกต .เพื่อให้ได้ข้อยุติเกี่ยวกับการจะเลื่อนการเลือกตั้งวันที่ 2 ก.พ.ออกไปหรือไม่ก่อน จากนั้นจึงนำข้อสรุปไปหารือฝ่ายอื่นๆ ต่อไป เนื่องจากเห็นว่าการเชิญหลายฝ่ายที่มีความคิดเห็นแตกต่างกันมากๆ มาหารือกันจะทำให้ไม่ได้ข้อสรุปและไม่นำไปสู่การแก้ปัญหาที่เกิดขึ้น
“ยิ่งคุณสร้างเวทีใหญ่เท่าไหร่ความคิดเห็นจะแตกต่างออกไป สิ่งที่รัฐต้องทำคือคุยกันกลุ่มเล็กที่สุด คือกกต.กับนายกรัฐมนตรี ซึ่งเป็นผู้รักษาการ ตามพระราชกฤษฎีกายุบสภาและเลือกตั้งใหม่ คุยกันว่าจะจัดการอย่างไรกับวันที่ 2 กุมภาพันธ์”
posted from Bloggeroid
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น