Hot News - JAS วิ่งวุ่นหาเงินลุย4G - ปี61 ส่อเพิ่มทุน
JAS วิ่งวุ่นหาเงินลุย4G-ปี61ส่อเพิ่มทุน
"จัสมิน อินเตอร์เนชั่นแนล"ยังวิ่งหาเงินกู้ลงทุน 4G หลังแบงก์ใหญ่ไม่กล้าปล่อยกู้เต็มจำนวน หวั่นหาเงินไม่ทันจ่ายค่าไลเซนส์มี.ค.นี้ อาจถูกริบเงินประกัน 644 ลบ. กูรูมองเสี่ยงเพิ่มทุนปี 61 เหตุผลประกอบการ 3 ปีส่อขาดทุนต่อเนื่อง ด้าน ADVANC ฉวยจังหวะคู่แข่งเพลี่ยงพล้ำ เปิดบริการ 4G อัดโปรฯแรงชิงลูกค้า ลั่นพ.ค.นี้ครอบคลุมทุกจังหวัด พร้อมเทงบลงทุนเสาสัญญาณ 3G-4G มูลค่า 4 หมื่นลบ.
**JAS หาเงินกู้ขณะที่แบงก์ใหญ่ไม่กล้าปล่อยเต็มจำนวน
บมจ.จัสมิน อินเตอร์เนชั่นแนล หรือ JAS มีภาระต้องชำระเงินประมูลคลื่นความถี่ย่าน 900 MHz งวดที่ 1 พร้อมทั้งจัดส่งหนังสือค้า ประกันจากสถาบันการเงินประเภทธุรกิจธนาคารพาณิชย์ตามพระราชบัญญัติธุรกิจสถาบันการเงิน พ.ศ. 2551 หลังจากช่วงปลายปีก่อนบริษัท แจส โมบายบรอดแบนด์ จำกัด หรือ JASMB สามารถชนะการประมูลได้ โดยมีกำหนดชำระใน 90 วัน หรืออย่างน้อยวาง Bank Guarantee ซึ่งจะครบในวันที่ 21 มี.ค. 2559
อย่างไรก็ตามในด้านความพร้อมการเงินแต่เดิม นายพิชญ์ โพธารามิก กรรมการผู้จัดการ JAS เคยกล่าวไว้ว่า จะได้รับการสนับสนุนนวงเงินจากธนาคารกรุงเทพ หรือ BBL อย่างพอเพียง แต่ล่าสุดเริ่มมีสัญญาณว่าจะมีธนาคารอื่นเข้ามาร่วมปล่อยกู้ด้วยเพราะผู้ให้กู้เพียงเจ้าเดียวอาจแบกรับความเสี่ยงในอนาคตไม่ไหว เนื่องจากค่าใบอนุญาตนี้สูงถึง 75,654 ล้านบาท
แบ่งเป็นค่าใบอนุญาตผ่อนจ่ายปีแรก 8.04 พันล้านบาท ปีที่ 2 และ 3 ปีละ 4.02 พันล้านบาท และปีที่ 4 อีก 5.95 หมื่นล้านบาท นอกจากนี้ต้องลงทุนโครงข่ายอีกกว่า 2 หมื่นล้านบาท อีกทั้งยังต้องมีงบที่เกี่ยวเนื่องอีกจำนวนมาก
ก็ตามในเบื้องต้น ธนาคารกสิกรไทย หรือ KBANK ที่ออกรับว่าถูกทาบทามจาก BBL ให้ปล่อยกู้ร่วมปล่อยแบงก์การันตีให้ JAS กลับระบุว่า ยังต้องขอเวลาพิจารณาความเสี่ยงและแผนธุรกิจของ JAS ก่อน
**ถ้าหาเงินไม่ทันต้องถูกริบเงินประกัน 644 ลบ.
ตามเงื่อนไขที่ทาง กสทช. ระบุ ผู้ชนะประมูลคือ JAS ต้องชำระเงิน หรือวาง Bank Guarantee ได้ภายใน 90 วัน ถ้าทำผิดเงื่อนไขก็จะต้องถูกริบเงินประกัน 644 ล้านบาทก่อนในเบื้องต้น
บล.เอเซีย พลัส ระบุว่า ในกรณีที่ JAS ไม่สามารถชำระค่าใบอนุญาตได้ ปัจจุบัน กสทช. มีแนวทางเพียงจะยึดค่าประกันที่วางไว้ก่อนประมูลจำนวนราว 644 ล้านบาท ขณะที่คลื่นที่ผู้ชนะไม่มาชำระเงิน ยังไม่มีการออกหลักเกณฑ์ที่ชัดเจนไว้ก่อนหน้านี้ ดังนั้นหากจะเลื่อนให้ผู้ชนะลำดับถัดไป (Slot ของ JAS คือ DTAC ส่วน Slot ของ TRUE คือ ADVANC) ซึ่งคงต้องได้รับการความยินยอมจากรายดังกล่าวด้วย หรือ จะเป็นการนำคลื่น 900 MHz กลับมาประมูลใหม่ ซึ่ง กสทช. จะสามารถหาหาแนวทางเรียกค่าชดเชยเงินค่าประมูลที่ กสทช. ได้รับน้อยกว่าที่ควรจะเป็นหรือไม่
ด้านมุมของนักวิเคราะห์ บล.ทรีนีตี้ ประเมิน ว่า ส่วน Premium ที่ JASMB จ่ายไปเป็นค่าเข้าร่วมประมูลคือ 644 ล้านบาท คิดเป็นมูลค่า 0.06 บาทต่อหุ้น
อย่างไรก็ตาม ถ้ามีการจัดประมูลใหม่ต้องรับผิดชอบค่าประมูลซ่อมทั้งหมดและไม่สามารถเข้าประมูลได้อีก จึงทำให้ในส่วนของค่าใช้จ่ายอื่น รวมถึงผลกระทบทางธุรกิจที่จะตามมาทั้งในเชิงลบหรือบวก ยังไม่สามารถประเมินได้ชัดในขณะนี้
**กูรูมองเสี่ยงเพิ่มทุนปี 61 -ผลประกอบการ 3 ปีข้างส่อขาดทุนต่อเนื่อง
บล.โนมูระ พัฒนสิน ให้ข้อมูลว่า ส่วนผลการดำเนินงานของ JAS จะได้รับผลกระทบจากการลงทุนธุรกิจ Mobile ซึ่งคาดว่าช่วง 3 ปี แรกธุรกิจนี้จะขาดทุนต่อปี ราว 5,000 ล้านบาท ส่งผลให้ในปี 59 นี้ คาดว่าผลการดำเนินงาน JAS จะขาดทุน 2,281 ล้านบาท ส่วนปี 60-61 คาดขาดทุน 730 ล้านบาท และ 385 ล้านบาท ตามลำดับ อีกทั้งมีความเสี่ยงเพิ่มทุน
"ในปี 61 JAS มีความเสี่ยงต่อการ "เพิ่มทุน" จาก IBD/EBITDA สูงราว 8.7 เท่า จากปัจจุบันเป็น Net cash และยิ่งยังไร้ความชัดเจนเรื่องพันธมิตรก็ยิ่งทำให้มีโอกาสเพิ่มทุนสูงไปอีก"
**แนะนำเลี่ยงการลงทุนหุ้น JAS แม้ปันผลสูง เพราะธุรกิจมือถือเสี่ยงเกิน
บล.คันทรี่ กรุ๊ป เปิดเผยในบทวิเคราะห์ว่า แนวโน้มราคาหุ้นจะขึ้นอยู่กับธุรกิจใหม่ อย่าง JASMBB มากกว่าอัตราผลแทนในระยะสั้น อย่างอัตราปันผล (Dividend Yield) ที่ล่าสุดให้ผลตอบแทนสูงเกือบ 10% ทั้งนี้ JASประกาศปันผลเพิ่มเติมจากกำไรงวดปี 58 อีก 0.30 บาท ต่อหุ้น
แต่เนื่องจากธุรกิจให้บริการมือถือมีความเสี่ยงสูงมาก จากทั้งเงินลงทุนเริ่มต้นที่สูง และแนวโน้มการแข่งขันที่รุนแรง ดังนั้นเราจึงแนะนำให้ “หลีกเลี่ยงการลงทุน” ไปก่อน จนกว่าบริษัทฯจะมีแผนการลงทุน, แหล่งเงินทุนสำหรับ JAS MBB และรายละเอีดยภาระความรับผิดชอบของ JAS ที่มีต่อ JAS MBB ที่ชัดเจน เนื่องจากประเด็นดังกว่ามีผลกระทบต่อการประเมินมูลค่าเหมาะสมของ JAS
ทั้งนี้ในเชิงพื้นฐานยังไม่พบมีการแนะนำให้ซื้อหุ้น JAS โดย บล.โนมูระ พัฒนสิน ให้มูลค่าเหมาะสมเพียง 1.80 บาท เท่านั้น ส่วนบล.ทิสโก้ ให้เท่ากับ เอเซียพลัสที่ 2.80 บาท
**AIS ฉวยจังหวะเปิดบริการ 4G อัดโปรฯแรงชิงลูกค้า
นายสมชัย เลิศสุทธิวงค์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) หรือ ADVANC กล่าวว่า บริษัทO เป็นรายแรก และรายเดียวที่นำคลื่นความถี่จากการประมูล ของ กสทช. ทั้ง 2 คลื่น คือ 1800 MHz และ 2100 MHz มาเริ่มให้บริการ 4G ภายใต้ชื่อ “AIS 4G ADVANCED 4G ที่เร็วที่สุด” เริ่มต้นใน 42 จังหวัด ทั่วทุกภาค และจะครอบคลุมทั่วประเทศภายในเดือนพฤษภาคม 2559 นี้
ด้าน นายปรัธนา ลีลพนัง รองกรรมการผู้อำนวยการ สายงานการตลาด ADVANC กล่าวว่า บริษัทฯ ได้เริ่มเปิดมิติใหม่ของแพ็กเกจบริการซึ่งให้ลูกค้าใช้งานที่ค่าความเร็ว 4G ได้อย่างเต็มสปีด เร็ว แรง ไม่มีสะดุด (Full 4G Speed Package) ตลอดแพ็คเกจ ที่มีให้เลือกหลากหลายรูปแบบ อาทิ เล่นเน็ตเยอะ ชื่นชอบการใช้ content, เล่นเน็ตหลายเครื่อง, แชร์ค่าโทร และเน็ตในครอบครัว โดยทุกรูปแบบมีอัตราที่สอดคล้อง เป็นไปตามข้อกำหนดของ กสทช.
**เทงบลงทุนเสาสัญญาณ 3G-4G มูลค่า 4 หมื่นลบ.
นายสมชัย เลิศสุทธิวงค์ กล่าวเสริมอีกว่า ในปีนี้บริษัทฯ คาดใช้งบลงทุนขยายโครงข่ายราว 40,000 ล้านบาท แบ่งเป็นใช้สำหรับการขยายโครงข่าย 3G เพื่อรองรับลูกค้า 2G จำนวน 20,000 ล้านบาท และขยายโครงข่าย 4G ให้ครอบคลุมทุกพื้นที่อีก 20,000 ล้านบาท โดยปัจจุบันได้ใช้งบลงทุนไปแล้ว 1.45 หมื่นล้านบาท เพื่อขยายสถานีฐานจำนวน 1.4 หมื่นสถานี ครอบคลุม 77 จังหวัดทั่วประเทศ ซึ่งคาดว่าภายในเดือน มี.ค. นี้จะมีสถานีฐานครบ 1.4 หมื่นสถานี
และปัจจุบันบริษัทฯ มีลูกค้า 4G ที่ใช้เครื่อง 4G ประมาณ 4 ล้านเครื่อง ซึ่งคาดว่าจะเพิ่มขึ้นทุกเดือนหลังจากนี้ เนื่องจากจะมีสมาร์ทโฟนที่ออกมาตอบโจทย์และรองรับการใช้งาน 4G มากขึ้น
สำหรับลูกค้า 2G หลังจากที่บริษัทฯ ได้มีการออกแคมเปญให้ลูกค้าของ 2G มาแลกรับเครื่อง 3G หรือ 4G ได้นั้น ในปัจจุบันลูกค้า 2G ได้ย้ายมาเป็น 3G แล้วกว่า 1.5 ล้านเลขหมาย จากทั้งหมด 12 ล้านเลขหมาย ซึ่งหลังจากนี้คงต้องรอให้ทางลูกค้าตัดสินใจที่จะย้ายมาอีกครั้ง แต่บริษัทฯคาดหวังว่าจากแคมเปญที่ออกไปลูกค้าจะให้ผลตอบรับที่ดี
อย่างไรก็ตาม บริษัทฯ ได้มีการขอขยายสิทธิ์คุ้มครองคลื่นความถี่ 900 MHz หลังหมดสัญญาสัมปทานไปแล้วไปอีก 12 เดือน ซึ่งหลังจากนี้จะต้องรอทาง กสทช. อนุมัติ
"จัสมิน อินเตอร์เนชั่นแนล"ยังวิ่งหาเงินกู้ลงทุน 4G หลังแบงก์ใหญ่ไม่กล้าปล่อยกู้เต็มจำนวน หวั่นหาเงินไม่ทันจ่ายค่าไลเซนส์มี.ค.นี้ อาจถูกริบเงินประกัน 644 ลบ. กูรูมองเสี่ยงเพิ่มทุนปี 61 เหตุผลประกอบการ 3 ปีส่อขาดทุนต่อเนื่อง ด้าน ADVANC ฉวยจังหวะคู่แข่งเพลี่ยงพล้ำ เปิดบริการ 4G อัดโปรฯแรงชิงลูกค้า ลั่นพ.ค.นี้ครอบคลุมทุกจังหวัด พร้อมเทงบลงทุนเสาสัญญาณ 3G-4G มูลค่า 4 หมื่นลบ.
**JAS หาเงินกู้ขณะที่แบงก์ใหญ่ไม่กล้าปล่อยเต็มจำนวน
บมจ.จัสมิน อินเตอร์เนชั่นแนล หรือ JAS มีภาระต้องชำระเงินประมูลคลื่นความถี่ย่าน 900 MHz งวดที่ 1 พร้อมทั้งจัดส่งหนังสือค้า ประกันจากสถาบันการเงินประเภทธุรกิจธนาคารพาณิชย์ตามพระราชบัญญัติธุรกิจสถาบันการเงิน พ.ศ. 2551 หลังจากช่วงปลายปีก่อนบริษัท แจส โมบายบรอดแบนด์ จำกัด หรือ JASMB สามารถชนะการประมูลได้ โดยมีกำหนดชำระใน 90 วัน หรืออย่างน้อยวาง Bank Guarantee ซึ่งจะครบในวันที่ 21 มี.ค. 2559
อย่างไรก็ตามในด้านความพร้อมการเงินแต่เดิม นายพิชญ์ โพธารามิก กรรมการผู้จัดการ JAS เคยกล่าวไว้ว่า จะได้รับการสนับสนุนนวงเงินจากธนาคารกรุงเทพ หรือ BBL อย่างพอเพียง แต่ล่าสุดเริ่มมีสัญญาณว่าจะมีธนาคารอื่นเข้ามาร่วมปล่อยกู้ด้วยเพราะผู้ให้กู้เพียงเจ้าเดียวอาจแบกรับความเสี่ยงในอนาคตไม่ไหว เนื่องจากค่าใบอนุญาตนี้สูงถึง 75,654 ล้านบาท
แบ่งเป็นค่าใบอนุญาตผ่อนจ่ายปีแรก 8.04 พันล้านบาท ปีที่ 2 และ 3 ปีละ 4.02 พันล้านบาท และปีที่ 4 อีก 5.95 หมื่นล้านบาท นอกจากนี้ต้องลงทุนโครงข่ายอีกกว่า 2 หมื่นล้านบาท อีกทั้งยังต้องมีงบที่เกี่ยวเนื่องอีกจำนวนมาก
ก็ตามในเบื้องต้น ธนาคารกสิกรไทย หรือ KBANK ที่ออกรับว่าถูกทาบทามจาก BBL ให้ปล่อยกู้ร่วมปล่อยแบงก์การันตีให้ JAS กลับระบุว่า ยังต้องขอเวลาพิจารณาความเสี่ยงและแผนธุรกิจของ JAS ก่อน
**ถ้าหาเงินไม่ทันต้องถูกริบเงินประกัน 644 ลบ.
ตามเงื่อนไขที่ทาง กสทช. ระบุ ผู้ชนะประมูลคือ JAS ต้องชำระเงิน หรือวาง Bank Guarantee ได้ภายใน 90 วัน ถ้าทำผิดเงื่อนไขก็จะต้องถูกริบเงินประกัน 644 ล้านบาทก่อนในเบื้องต้น
บล.เอเซีย พลัส ระบุว่า ในกรณีที่ JAS ไม่สามารถชำระค่าใบอนุญาตได้ ปัจจุบัน กสทช. มีแนวทางเพียงจะยึดค่าประกันที่วางไว้ก่อนประมูลจำนวนราว 644 ล้านบาท ขณะที่คลื่นที่ผู้ชนะไม่มาชำระเงิน ยังไม่มีการออกหลักเกณฑ์ที่ชัดเจนไว้ก่อนหน้านี้ ดังนั้นหากจะเลื่อนให้ผู้ชนะลำดับถัดไป (Slot ของ JAS คือ DTAC ส่วน Slot ของ TRUE คือ ADVANC) ซึ่งคงต้องได้รับการความยินยอมจากรายดังกล่าวด้วย หรือ จะเป็นการนำคลื่น 900 MHz กลับมาประมูลใหม่ ซึ่ง กสทช. จะสามารถหาหาแนวทางเรียกค่าชดเชยเงินค่าประมูลที่ กสทช. ได้รับน้อยกว่าที่ควรจะเป็นหรือไม่
ด้านมุมของนักวิเคราะห์ บล.ทรีนีตี้ ประเมิน ว่า ส่วน Premium ที่ JASMB จ่ายไปเป็นค่าเข้าร่วมประมูลคือ 644 ล้านบาท คิดเป็นมูลค่า 0.06 บาทต่อหุ้น
อย่างไรก็ตาม ถ้ามีการจัดประมูลใหม่ต้องรับผิดชอบค่าประมูลซ่อมทั้งหมดและไม่สามารถเข้าประมูลได้อีก จึงทำให้ในส่วนของค่าใช้จ่ายอื่น รวมถึงผลกระทบทางธุรกิจที่จะตามมาทั้งในเชิงลบหรือบวก ยังไม่สามารถประเมินได้ชัดในขณะนี้
**กูรูมองเสี่ยงเพิ่มทุนปี 61 -ผลประกอบการ 3 ปีข้างส่อขาดทุนต่อเนื่อง
บล.โนมูระ พัฒนสิน ให้ข้อมูลว่า ส่วนผลการดำเนินงานของ JAS จะได้รับผลกระทบจากการลงทุนธุรกิจ Mobile ซึ่งคาดว่าช่วง 3 ปี แรกธุรกิจนี้จะขาดทุนต่อปี ราว 5,000 ล้านบาท ส่งผลให้ในปี 59 นี้ คาดว่าผลการดำเนินงาน JAS จะขาดทุน 2,281 ล้านบาท ส่วนปี 60-61 คาดขาดทุน 730 ล้านบาท และ 385 ล้านบาท ตามลำดับ อีกทั้งมีความเสี่ยงเพิ่มทุน
"ในปี 61 JAS มีความเสี่ยงต่อการ "เพิ่มทุน" จาก IBD/EBITDA สูงราว 8.7 เท่า จากปัจจุบันเป็น Net cash และยิ่งยังไร้ความชัดเจนเรื่องพันธมิตรก็ยิ่งทำให้มีโอกาสเพิ่มทุนสูงไปอีก"
**แนะนำเลี่ยงการลงทุนหุ้น JAS แม้ปันผลสูง เพราะธุรกิจมือถือเสี่ยงเกิน
บล.คันทรี่ กรุ๊ป เปิดเผยในบทวิเคราะห์ว่า แนวโน้มราคาหุ้นจะขึ้นอยู่กับธุรกิจใหม่ อย่าง JASMBB มากกว่าอัตราผลแทนในระยะสั้น อย่างอัตราปันผล (Dividend Yield) ที่ล่าสุดให้ผลตอบแทนสูงเกือบ 10% ทั้งนี้ JASประกาศปันผลเพิ่มเติมจากกำไรงวดปี 58 อีก 0.30 บาท ต่อหุ้น
แต่เนื่องจากธุรกิจให้บริการมือถือมีความเสี่ยงสูงมาก จากทั้งเงินลงทุนเริ่มต้นที่สูง และแนวโน้มการแข่งขันที่รุนแรง ดังนั้นเราจึงแนะนำให้ “หลีกเลี่ยงการลงทุน” ไปก่อน จนกว่าบริษัทฯจะมีแผนการลงทุน, แหล่งเงินทุนสำหรับ JAS MBB และรายละเอีดยภาระความรับผิดชอบของ JAS ที่มีต่อ JAS MBB ที่ชัดเจน เนื่องจากประเด็นดังกว่ามีผลกระทบต่อการประเมินมูลค่าเหมาะสมของ JAS
ทั้งนี้ในเชิงพื้นฐานยังไม่พบมีการแนะนำให้ซื้อหุ้น JAS โดย บล.โนมูระ พัฒนสิน ให้มูลค่าเหมาะสมเพียง 1.80 บาท เท่านั้น ส่วนบล.ทิสโก้ ให้เท่ากับ เอเซียพลัสที่ 2.80 บาท
**AIS ฉวยจังหวะเปิดบริการ 4G อัดโปรฯแรงชิงลูกค้า
นายสมชัย เลิศสุทธิวงค์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) หรือ ADVANC กล่าวว่า บริษัทO เป็นรายแรก และรายเดียวที่นำคลื่นความถี่จากการประมูล ของ กสทช. ทั้ง 2 คลื่น คือ 1800 MHz และ 2100 MHz มาเริ่มให้บริการ 4G ภายใต้ชื่อ “AIS 4G ADVANCED 4G ที่เร็วที่สุด” เริ่มต้นใน 42 จังหวัด ทั่วทุกภาค และจะครอบคลุมทั่วประเทศภายในเดือนพฤษภาคม 2559 นี้
ด้าน นายปรัธนา ลีลพนัง รองกรรมการผู้อำนวยการ สายงานการตลาด ADVANC กล่าวว่า บริษัทฯ ได้เริ่มเปิดมิติใหม่ของแพ็กเกจบริการซึ่งให้ลูกค้าใช้งานที่ค่าความเร็ว 4G ได้อย่างเต็มสปีด เร็ว แรง ไม่มีสะดุด (Full 4G Speed Package) ตลอดแพ็คเกจ ที่มีให้เลือกหลากหลายรูปแบบ อาทิ เล่นเน็ตเยอะ ชื่นชอบการใช้ content, เล่นเน็ตหลายเครื่อง, แชร์ค่าโทร และเน็ตในครอบครัว โดยทุกรูปแบบมีอัตราที่สอดคล้อง เป็นไปตามข้อกำหนดของ กสทช.
**เทงบลงทุนเสาสัญญาณ 3G-4G มูลค่า 4 หมื่นลบ.
นายสมชัย เลิศสุทธิวงค์ กล่าวเสริมอีกว่า ในปีนี้บริษัทฯ คาดใช้งบลงทุนขยายโครงข่ายราว 40,000 ล้านบาท แบ่งเป็นใช้สำหรับการขยายโครงข่าย 3G เพื่อรองรับลูกค้า 2G จำนวน 20,000 ล้านบาท และขยายโครงข่าย 4G ให้ครอบคลุมทุกพื้นที่อีก 20,000 ล้านบาท โดยปัจจุบันได้ใช้งบลงทุนไปแล้ว 1.45 หมื่นล้านบาท เพื่อขยายสถานีฐานจำนวน 1.4 หมื่นสถานี ครอบคลุม 77 จังหวัดทั่วประเทศ ซึ่งคาดว่าภายในเดือน มี.ค. นี้จะมีสถานีฐานครบ 1.4 หมื่นสถานี
และปัจจุบันบริษัทฯ มีลูกค้า 4G ที่ใช้เครื่อง 4G ประมาณ 4 ล้านเครื่อง ซึ่งคาดว่าจะเพิ่มขึ้นทุกเดือนหลังจากนี้ เนื่องจากจะมีสมาร์ทโฟนที่ออกมาตอบโจทย์และรองรับการใช้งาน 4G มากขึ้น
สำหรับลูกค้า 2G หลังจากที่บริษัทฯ ได้มีการออกแคมเปญให้ลูกค้าของ 2G มาแลกรับเครื่อง 3G หรือ 4G ได้นั้น ในปัจจุบันลูกค้า 2G ได้ย้ายมาเป็น 3G แล้วกว่า 1.5 ล้านเลขหมาย จากทั้งหมด 12 ล้านเลขหมาย ซึ่งหลังจากนี้คงต้องรอให้ทางลูกค้าตัดสินใจที่จะย้ายมาอีกครั้ง แต่บริษัทฯคาดหวังว่าจากแคมเปญที่ออกไปลูกค้าจะให้ผลตอบรับที่ดี
อย่างไรก็ตาม บริษัทฯ ได้มีการขอขยายสิทธิ์คุ้มครองคลื่นความถี่ 900 MHz หลังหมดสัญญาสัมปทานไปแล้วไปอีก 12 เดือน ซึ่งหลังจากนี้จะต้องรอทาง กสทช. อนุมัติ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น