วันจันทร์ที่ 8 ธันวาคม พ.ศ. 2557

3 เหตุผลที่วอลล์สตรีทมีความเสี่ยงมากขึ้น

3 เหตุผลที่วอลล์สตรีทมีความเสี่ยงมากขึ้น

รายงานพิเศษ วันอังคารที่ 09 ธันวาคม 2557 
ผู้เข้าชม : 6 คน 

วอลล์สตรีทเป็นที่ที่ปลอดภัยอย่างไม่ต้องสงสัยนับตั้งแต่เกิดวิกฤติการเงิน แต่อันตรายกำลังคืบคลานกลับเข้าสู่ตลาดอีกครั้ง   รายงานของสำนักวิจัยการเงิน กระทรวงการคลังสหรัฐที่เสนอต่อสภาคองเกรสในสัปดาห์ที่ผ่านมาระบุว่า  ระบบการเงินเริ่มมีความเปราะบางมากขึ้นนับตั้งแต่ปีที่แล้ว
รายงานนี้ทำขึ้นตามข้อบังคับของกฎหมายปฏิรูปการเงิน ดอดด์-แฟรงก์  ซึ่งได้มีการโฟกัสไปที่การเข้าเสี่ยงมากขึ้นและการขาดความโปร่งใสมากขึ้นในปีที่ผ่านมา โดยมี 3 เหตุผลสำคัญด้วยกัน คือ
1.ธุรกิจมีความเสี่ยง นักลงทุนกำลังเพิ่มความเสี่ยงแต่พวกเขาอาจจะไม่มีทางเลือกอื่น   การที่ธนาคารกลางสหรัฐทำให้อัตราดอกเบี้ยต่ำเป็นเวลานาน ได้ทำให้นักลงทุนมองหาผลตอบแทนที่สูงขึ้นในที่ที่น่ากลัวมากขึ้น
กระทรวงการคลังสหรัฐประเมินว่า โซนที่เป็นอันตรายเช่นนั้น ได้แก่ พันธบัตรขยะของบริษัท หนี้ของเศรษฐกิจที่มีความสั่นคลอนในยุโรป และหุ้นในตลาดเกิดใหม่  การลงทุนเหล่านี้อาจทำให้นักลงทุนเสียหายทันทีที่อัตราดอกเบี้ยเพิ่มขึ้น
2.เงินสดไม่เพียงพอ สภาพคล่องคือจารบีที่ทำให้วงล้อในตลาดหมุนได้ แต่กระทรวงการคลังสหรัฐวิตกว่า จะไม่มีสภาพคล่องเพียงพอหากหลายสิ่งหลายอย่างเริ่มน่าเกลียดสำหรับตลาด
ในขณะที่ผู้คุมระเบียบได้ทำงานไม่รู้จักเหน็ดเหนื่อยในช่วงไม่กี่ปีมานี้เพื่อให้ธนาคารสำรองเงินสดไว้มากๆ รายงานของกระทรวงการคลังสหรัฐได้พูดถึงความเป็นไปได้ที่ระเบียบเงินทุนเช่นนั้นอาจจำกัดความสามารถของธนาคารในการซื้อขายและการปล่อยเงินกู้   นอกจากนี้ ยังเตือนว่าสภาพคล่องที่ลดลงอาจยับยั้งกิจกรรมของกองทุนในตลาดเงินในช่วงที่เกิดความตึงเครียด ซึ่งจะทำให้กองทุนมีความเสี่ยงที่จะเจอกับแรงเทขายเมื่อนักลงทุนถูกบีบให้ขายสินทรัพย์ในราคาที่ต่ำมาก  กองทุนเหล่านี้ได้ถูกแช่แข็งในช่วงที่ตลาดพังในปี 2551 ซึ่งยิ่งทำให้ตลาดปรับตัวลงมากยิ่งขึ้น
3.การตกลงที่ไม่โปร่งใส นวัตกรรมทางเทคโนโลยีมักเป็นสิ่งที่ดี ยกเว้นเมื่อมันทำให้โลกการเงินมีความโปร่งใสน้อยลง  กระทรวงการคลังสหรัฐอ้างว่า การซื้อขายมีความรวดเร็วมากขึ้นในช่วงไม่กี่ปีมานี้  คอมพิวเตอร์ที่มีความเร็วมากเป็นพิเศษทำให้มีการซื้อขายหุ้นจำนวนมากได้ในเวลาเพียงไม่กี่วินาที  สถานที่ในการซื้อขายที่เรียกว่า ”Dark pools” ซึ่งผู้ซื้อและผู้ขายมาเจอกันโดยไม่ต้องไปตลาดหลักทรัพย์ ก็น่าเป็นห่วงเนื่องจากเอื้อให้มีการซื้อขายที่อยู่นอกสายตาของสาธารณะชน
ในขณะเดียวกัน ผู้เชี่ยวชาญที่มีชื่อเสียงหลายคนกล่าวว่า เป็นเรื่องของเวลาเท่านั้นก่อนที่ตลาดหุ้นจะปรับตัวลงประมาณ 50% หรือมากกว่านั้น
มาร์ก สปิตซ์นาเจล ผู้จัดการกองทุนบริหารความเสี่ยงที่ขึ้นชื่อว่าได้เดิมพันจนสามารถทำกำไรเป็นเงินหลายพันล้านดอลลาร์ในช่วงที่เกิดวิกฤติการเงินปี 2551 กล่าวว่า “เราไม่มีสิทธิ์ที่จะประหลาดใจต่อการพังทลายอย่างรุนแรงและอย่างกะทันหันในตลาดหุ้น  และความจริงแล้ว เราจะต้องคาดการณ์เอาไว้โดยไม่มีเงื่อนไข”
สปิตซ์นาเจลไม่ใช่คนเดียวที่คิดเช่นนี้  มาร์ก เฟเบอร์ ผู้จัดการกองทุนและที่ปรึกษาชาวสวิส ก็เตือนว่า “เราอยู่ในฟองสบู่สินทรัพย์การเงินที่ใหญ่มาก มันอาจแตกวันไหนก็ได้”
เฟเบอร์ไม่ได้ลังเลที่จะตำหนินโยบายของรัฐบาลของประธานาธิบดีโอบามา และนโยบายอัตราดอกเบี้ยต่ำที่มีความเสี่ยงของธนาคารกลางสหรัฐ  เขาบอกว่า “นโยบายเหล่านี้ลงโทษผู้ที่มีรายได้หรือผู้ฝากเงิน หรือพ่อแม่ ทำไมพ่อแม่ของคุณจึงถูกบีบให้ไปเก็งกำไรในหุ้น และในอสังหาริมทรัพย์และในทุกสิ่งที่อยู่ในโลกนี้?”
มีข่าวลือว่า วอร์เรน บัฟเฟตต์ก็เตรียมรับมือกับตลาดหุ้นพังเช่นกัน   ดัชนี “วอร์เรน บัฟเฟตต์” กำลังทะลุ “สถานะแจ้งเตือนให้ขาย” และการล่มสลายอาจจะเกิดขึ้นเมื่อไหร่ก็ได้
ในเมื่อมีเค้าว่าตลาดจะพังโดยไม่อาจหลีกเลี่ยงได้  นักลงทุนต้องทำอย่างไร?
ทางเลือกหนึ่งคือต้องขายหุ้นทั้งหมดและยัดเงินไว้ใต้ที่นอน และทางเลือกอีกอย่างหนึ่งคือต้องเสี่ยงทุกสิ่งทุกอย่างแล้วรีบหนีให้พ้นพายุ
อย่างไรก็ดี ตามความเห็นของ ฌอน ไฮแมน ผู้ก่อตั้งบริษัท แอบโซลูต โพรฟิตส์  ยังมีทางเลือกที่สาม  โดยอธิบายว่า “มีบางภาคในตลาดที่ล้วนแต่รับประกันว่าจะดีในช่วงสองสามเดือนข้างหน้า การเลิกลงทุนหุ้นในขณะนี้อาจมีราคาแพงมาก”
ไฮแมนมั่นใจเช่นนั้นเพราะเขาได้เข้าถึงปฏิทินลับของวอลล์สตรีทที่ได้ทุบตลาดโดยรวมประมาณ 250% นับตั้งแต่ปี 2511  ปฏิทินนี้ทำรายการลงทุน 19 ชนิด (โดยอิงตามภาคต่างๆ ในตลาด) และบันทึก 38 วันเพื่อซื้อและขายมัน และด้วยการทำเช่นนั้น การลงทุนหนึ่งสามารถเปลี่ยนเงิน 1,000 ดอลลาร์ไปเป็นเงินถึง 178,000 ดอลลาร์ในกรอบเวลา 20 ปี
อย่างไรก็ดี ปฏิทินนี้เป็นแค่ส่วนหนึ่งของระบบการลงทุน   ไฮแมนยังได้ออกแบบ ”ระบบเตือนตลาดพัง” เพื่อเตือนนักลงทุนก่อนที่จะมีการปรับฐานครั้งใหญ่เช่นกัน ไฮแมนอธิบายว่า หากตลาดเริ่มปรับตัวลง ระบบเตือนตลาดพังจะส่งสัญญาณขายเตือนนักลงทุนให้ถือเงินสดไว้  “คุณจะสามารถหลีกเลี่ยงวิกฤติแบบปี 2543 และ 2551 ได้หากใช้ระบบนี้ตามการทดสอบของเรา”
ไฮแมนเคยทำนายได้อย่างถูกต้องมาแล้วหลายครั้ง  เช่น เมื่อต้นปี 2556 เขาคาดการณ์ว่าตลาดจะดีดตัวทำนิวไฮที่ 15,000 จุด แม้ว่ากำลังเกิดแรงเทขายที่กำลังหลอกหลอนนักลงทุน ตลาดหุ้นฟื้นตัวเกือบจะรีบาวด์ทันทีและแตะเป้าที่ไฮแมนคาดไว้

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น