ข่าวหุ้น - กระบอกเสียงอิสระแห่งตลาดทุน:: SCC ปันผลสวยรับกำไร
รายงานพิเศษ วันศุกร์ที่ 31 มกราคม 2557
ผู้เข้าชม : 164 คน
ในที่สุด ผลประกอบการไตรมาสงวดสิ้นปี ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการเฉลิมฉลองวาระครบรอบ 100 ปีของบริษัทปูนซิเมนต์ไทย จำกัด (มหาชน) หรือ SCC ก็ออกมาดีเกินคาดหมายทั้งในแง่ของรายได้ กำไร และฐานะทางการเงินอื่นๆ
นายกานต์ ตระกูลฮุน กรรมการผู้จัดการใหญ่ SCC เปิดเผยว่า ปี 2556 เครือซิเมนต์ไทย หรือเอสซีซี มีรายได้จากการขาย 434,251 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 7% จากปีก่อนตามการเติบโตของทุกธุรกิจ โดยเอสซีซี มีกำไรสำหรับปี 2556 จำนวน 36,719 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 56% จากปีก่อน เนื่องจาก Margin ของธุรกิจเคมีภัณฑ์ที่เริ่มฟื้นตัวอย่างต่อเนื่อง และปริมาณความต้องการซีเมนต์ในประเทศที่เพิ่มสูงขึ้น
ความน่าสนใจที่โดดเด่น มากกว่ากำไรที่เติบโตอย่างมากอยู่ที่การจ่ายเงินปันผลเพราะ ล่าสุด มีการประกาศจ่ายปันผลงวดครึ่งหลังของปีถึงหุ้นละ 7 บาท ซึ่งหากรวมกับที่ประกาศมาก่อนหน้านี้ ถือเป็นปีทองของการจ่ายเงินปันผลทีเดียว
ในปี 2556 SCC ได้จ่ายเงินปันผลไปแล้ว 3 ครั้ง ครึ่งแรกของปี จ่ายหุ้นละ 5.5 บาท ตามด้วยการจ่ายปันผลพิเศษ หุ้นละ 3 บาท ฉลองครบ 100 ปีก่อตั้งบริษัท และตามด้วยจ่ายปันผลงวดสิ้นปี ล่าสุดอีก หุ้นละ 7 บาท รวมความแล้ว ปี 2556 นี้ SCC จ่ายปันผล 15.50 บาท มากที่สุดในรอบหลายปีเลยทีเดียว
หากพิจารณางบกำไรขาดทุนแล้ว จะพบว่า ปีนี้ SCC มีการจ่ายเงินปันผลมากกว่า 50% ของกำไรต่อหุ้นของบริษัท
การจ่ายเงินปันผลค่อนข้างมากเช่นนี้ ไม่ได้ส่งผลต่อแผนการขยายกิจการของบริษัทแต่อย่างใด เพราะ ฐานะทางการเงินล่าสุดของบริษัทจะเห็นได้ชัดว่า มีสินทรัพย์ต่อหนี้สินค่อนข้างมาก และมีสัดส่วนหนี้สินต่อส่วนผู้ถือหุ้น (ดี/อี) มาก ดังนั้น การสร้างโอกาสในการแข่งขันจึงไม่ได้มีปัญหาที่ต้องพะวงแต่อย่างใด
โอกาสที่เกิดขึ้นในการลงทุนปี 2537 อยู่ในต่างประเทศ โดยเฉพาะในธุรกิจวัสดุก่อสร้าง โดยผู้บริหารของ SCC ระบุว่า ความต้องการใช้ปูนซีเมนต์ในประเทศปีนี้จะเติบโตต่ำกว่าปีก่อนที่ขยายตัว 7% หลังมองโครงการลงทุนจากภาครัฐชะลอตัว โดยความต้องการใช้ปูนซีเมนต์ในช่วง 3 สัปดาห์แรกของปีนี้เติบโตเพียงเล็กน้อยที่ 1-2% และเริ่มเห็นสัญญาณการชะลอตัวในพื้นที่ต่างจังหวัด ขณะที่การใช้ซีเมนต์จากโครงการลงทุนจากภาครัฐลดลงเล็กน้อย ทั้งนี้ เนื่องจากความต้องการใช้ปูนซีเมนต์ในประเทศชะลอตัวลง ทำให้บริษัทหันมาส่งออกมากขึ้น
นอกจากนี้ บริษัทคาดว่าจะมียอดขายรวมเติบโตไม่น้อยกว่า 10% จากปีก่อน ซึ่งได้รับปัจจัยหนุนจากการเดินเครื่องผลิตของธุรกิจปิโตรเคมีเต็มที่ และบริษัทที่เข้าไปซื้อกิจการก่อนหน้านั้นทำยอดขายได้เพิ่มขึ้น ขณะที่ยังมองมาร์จิ้นของธุรกิจปิโตรเคมีที่ดีต่อเนื่องจากปีที่แล้ว ซึ่งจะช่วยหนุนผลประกอบการของบริษัทในปีนี้ด้วย
ส่วนที่น่าสนใจก็คือ แผนการลงทุนในต่างประเทศ เพราะในปีที่ผ่านมา SCC มีรายได้จากกิจการในต่างประเทศเติบโตอย่างมาก คิดเป็นรายได้สัดส่วน 9% ของรายได้รวมทั้งเครือ หรือคิดเป็นวงเงินมากถึง 38,929 ล้านบาท เพิ่มขึ้นอย่างโดดเด่นถึง 25% โดยเฉพาะการซื้อกิจการในเวียดนาม และอินโดนีเซีย
การลงทุนซื้อกิจการในเวียดนามในธุรกิจกระเบื้องเซรามิกจาก Prime Group นั้นทำให้ SCC มีกำลังการผลิตกระเบื้องเซรามิกเป็นอันดับหนึ่งของโลกในปัจจุบัน
เมื่อจำแนกสายงานธุรกิจ จะเห็นได้ว่า SCC มีกำไรเติบโตมากขึ้นจากธุรกิจผลิตภัณฑ์ก่อสร้างอย่างโดดเด่น โดยมีรายได้เติบโตมากถึง 13% และมีรายได้รวม 174,642 ล้านบาท มีกำไรเพิ่มขึ้นจากเดิม 23% แต่กำไรที่โดดเด่นกลับมาจากธุรกิจปิโตรเคมีที่ทำกำไรเพิ่มขึ้น 320% จากระยะเดียวกันปีก่อน เนื่องจากการฟื้นตัวอย่างโดดเด่นของธุรกิจ โดยเฉพาะราคาผลิตภัณฑ์
ย่างก้าวแห่งความสำเร็จทางธุรกิจในปี 2557 ของบริษัทในปีนี้ จึงมุ่งไปที่การก้าวสู่การเป็นผู้นำธุรกิจในอาเซียนเหมือนอย่างเป้าหมายเดิม ที่เป็นกลยุทธ์หลัก คือ ขยายการลงทุนในอาเซียน นับตั้งแต่โรงงานปูนซีเมนต์ในอินโดนีเซีย และเมียนมาร์ ขยายโรงงานปูนซีเมนต์ในกัมพูชา
นอกจากนั้น ยังมีการลงทุนโครงการปิโตรเคมีในเวียดนามที่มีความคืบหน้าด้วยดี ซึ่งคาดว่าจะได้ข้อสรุปในปลายปี พร้อมกับยังมีโครงการอื่นๆ ที่กำลังศึกษาอีกมาก
แผนงานดังกล่าว สะท้อนให้เห็นความมุ่งมั่นต่อยอดความสำเร็จที่ได้ทำมาแล้วอย่างดี เพราะความสำเร็จที่เกิดขึ้น สะท้อนถึงกลยุทธ์รุกเข้าไปซื้อกิจการในต่างประเทศที่บรรลุผลเป็นจริงและต่อเนื่องมากขึ้น
ใน 3 ปีนี้ SCC ได้ใช้วงเงินเพื่อเข้าซื้อกิจการในอินโดนีเซีย ประมาณ 1.1 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ โดยได้เตรียมเงินสดบางส่วนได้เตรียมเงินสดที่ได้จากการขายกิจการอื่นในไทย ในขณะที่เปิดเกมรุกในธุรกิจในประเทศทั้งในการร่วมลงทุน และขยายเครือข่ายด้วยการซื้อกิจการทั้งหมด หรือบางส่วน เช่นกรณีของการให้เงิน 1 หมื่นล้านบาทเข้าถือครองหุ้นเป็นอันดับสองรองจากกลุ่มผู้ถือหุ้นใหญ่เดิมในเครือข่ายจัดจำหน่ายวัสดุก่อสร้างแบบโมเดิร์นเทรดอย่าง บริษัท สยามโกลบอลเฮ้าส์ จำกัด (มหาชน) หรือ GLOBAL หรือการเข้าซื้อกิจการบริษัทกระดาษ ไดน่าแพคส์ หรือ บริษัทโอเรียนท์ คอนเทนเนอร์ จำกัด เป็นต้น
พร้อมกันนั้น แผนการลงทุนในอนาคตก็ถูกกำหนดเอาไว้อย่างต่อเนื่อง และรัดกุม โดยนายกานต์ ตระกูลฮุน กรรมการผู้จัดการใหญ่ SCC ระบุว่า มุ่งไปที่การลงทุนในอาเซียนเป็นสำคัญ โดยเน้นหนักที่การซื้อกิจการแบบ M&A ใน ประเทศเวียดนาม และอินโดนีเซีย โดยมีการตั้งเป้าในอีก 5 ปีข้างหน้า จะลงทุนในต่างประเทศประมาณ 2 แสนล้านบาท ซึ่งบางส่วนจะขยายออกไปซื้อกิจการในยุโรป หรือสหรัฐฯ จะเป็นการเข้าไปเพื่อประโยชน์ในด้านเทคโนโลยี องค์ความรู้ และบุคลากร
เป้าหมายดังกล่าว สะท้อนให้เห็นว่า จากนี้ไปโครงสร้างของบริษัท SCC จะไม่ใช่เป็นบริษัทอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ในประเทศเหมือนเดิมอีกต่อไปแล้ว แต่จะกลายเป็นบริษัทเครือข่ายข้ามชาติที่ยึดหัวหาดในภูมิภาคอย่างแข็งแกร่ง ในทำนองเดียวกันกับกลุ่มเจริญโภคภัณฑ์ และกลุ่มไทยเบฟฯ ดังจะเริ่มเห็นเครือข่ายดังกล่าวชัดเจนมากยิ่งขึ้น
ย่างก้าวดังกล่าว ถือเป็นยุคใหม่ของ SCC ในการเกาะกระแสทางธุรกิจที่นับวันจะยิ่งข้ามพรมแดนไปสู่กันและกันมากยิ่งขึ้น เพื่อสนองตอบเหตุผลของการลงทุนซื้อสินทรัพย์ การลงทุนเพื่อเพิ่มพลังการผลิต การลงทุนทางการเงิน และการลงทุนเชิงยุทธศาสตร์ อันเพิ่มความซับซ้อนมากขึ้นต่อเนื่อง
เหตุผลของการเข้าควบรวมกิจการของบริษัท หรือลงทุนร่วมในภูมิภาค เกิดขึ้นหลังจากพิจารณาแล้วว่า SCC ไม่มีปัญหาในเรื่องสภาพคล่อง เพราะมีเงินสดเพียงพออยู่แล้ว แต่ประเด็นสำคัญอยู่ที่สถานการณ์ของเศรษฐกิจโลก โดยเฉพาะปัญหาวิกฤติหนี้ของยุโรปที่สร้างความกังวลอย่างต่อเนื่องใน 2-3 เดือนที่ผ่านมา และเศรษฐกิจของประเทศจีนที่ยังคงชะลอตัว แต่การส่งสัญญาณลดอัตราดอกเบี้ยถือเป็นเรื่องที่ดีในการกระตุ้นเศรษฐกิจ แต่ยังคงเป็นปัจจัยหลักที่ต้องระมัดระวังเป็นพิเศษ
ข้อเท็จจริงดังกล่าว ได้สร้างโอกาสขึ้นมาว่า ปัญหาเศรษฐกิจสามารถพลิกเป็นโอกาสที่จะได้ซื้อของถูก จากภาวะเศรษฐกิจที่ด้อยลง
แนวคิดดังกล่าว มิใช่เรื่องใหม่หรือนวัตกรรม เพราะผู้บริหารบริษัทข้ามชาติทั่วโลกล้วนจำเป็นต้องมีวิสัยทัศน์เช่นนี้ เนื่องจากเงื่อนไขของการค้าและการลงทุนในปัจจุบันและอนาคตไม่สามารถกระทำในรูปแบบเดิมเช่นการส่งออกสินค้า นำเข้าเพื่อส่งออก หรือการแปลกเปลี่ยนธรรมดา แต่จะต้องกระทำในรูปของการส่งออกทุน หรือการเข้าไปร่วมลงทุนเพื่อสร้างธุรกรรมใหม่ๆ ให้เกิดประโยชน์ข้ามพรมแดนต่อกันและกัน
วิสัยทัศน์ของผู้บริหาร SCC จึงเป็นการอธิบายซ้ำเดิมเพื่อตอกย้ำถึงทิศทางที่เป็นไปได้สำหรับอนาคตให้ชัดเจนมากขึ้นเท่านั้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งในการข้ามพรมแดนเพื่อรับมือกับการลงทุนในอาเซียนเพื่อรับกับการเปิดเสรีทางด้านการลงทุนในประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนที่จะเริ่มมีผลบังคับใช้จริงจังตั้งแต่ต้นปี 2558 เป็นต้นไป
แม้จะไม่ได้เปิดเผยรายละเอียดของวิสัยทัศน์ว่า SCC จะมุ่งไปสู่ธุรกิจใดกันแน่ หรือยึดติดกับแค่ 3 ธุรกิจเสาหลักของบริษัทในปัจจุบันคือ ปิโตรเคมี กระดาษ หรือวัสดุก่อสร้าง แต่จากการลงทุนที่ผ่านมา จะเห็นได้ชัดว่า SCC ได้เดินหน้าทำตามแนวทางการลงทุนที่เน้นหนักเฉพาะใน 3 ธุรกิจดังกล่าวอย่างเหนียวแน่น ไม่ได้ออกนอกลู่นอกรอยสะเปะสะปะแต่อย่างใด
ตัวอย่างเช่นการลงทุนในอินโดนีเซีย เป็นกรณีที่ชัดเจน เพราะโครงการที่ปรากฏและเปิดเผยไปแล้ว ซึ่งได้ส่งผลให้เกิดการบันทึกรายได้และผลตอบแทนไปบ้างแล้ว ได้เน้นหนักไปทางด้านปิโตรเคมีเป็นสำคัญ ธุรกิจก่อสร้างและจัดจำหน่ายถือเป็นส่วนน้อย แต่เริ่มมีการกระจัดกระจาย
การไล่ล่าซื้อกิจการเพื่อแสวงหาโอกาสดังกล่าว ถือเป็นการกรุยทางลัดเข้าสู่ตลาดเป้าหมายที่มีความรวดเร็ว ไม่ต้องเสียเวลากับการสร้างธุรกิจใหม่ๆ ที่ต้องการลองผิดลองถูก โดยเฉพาะอย่างยิ่งอาศัยประโยชน์ที่นำร่องเอาไว้แล้วจากข้อตกลงเขตการลงทุนอาเซียน หรือ Asean Comprehensive Investment Agreement (ACIA) เมื่อหลายปีก่อน ซึ่งต้องการให้การลงทุนภายในชาติอาเซียนเพิ่มปริมาณระหว่างกันมากขึ้น หลังจากที่พบว่า เมื่อสิ้นสุด ค.ศ.2010 หรือเมื่อสองปีที่ผ่านมา ตัวเลขการลงทุนโดยตรงของธุรกิจจากชาตินอกอาเซียนมากถึง 75.8 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ในขณะที่ชาติในอาเซียนมีแค่ 12.1 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือคิดเป็นแค่ 16% เท่านั้น โดยที่ในจำนวนการลงทุนระหว่างชาติอาเซียนด้วยกันนี้ ดูเหมือนอินโดนีเซียจะเป็นแห่งที่นักลงทุนมุ่งไปมากที่สุด เพราะมียอดมากถึง 5.9 พันล้านดอลลาร์สหรัฐทีเดียว ซึ่ง SCC ก็เป็นหนึ่งในกลุ่มธุรกิจที่เดินตามเส้นทางเดียวกันอยู่
การตัดสินใจของ SCC ภายใต้กรอบ ICIA นั้น ถือว่าจะช่วยสร้างความปลอดภัยในการลงทุน เนื่องจากแม้จะมีความพยายามเปิดเสรีทางด้านการค้าและการลงทุนในเขตการค้าเสรีอาเซียนและจีนมากขึ้นในหลายปีมานี้ แต่อคติทางชาติพันธุ์และกฎหมาย โดยเฉพาะสัดส่วนการถือครองหุ้นของต่างชาติ ยังเป็นอุปสรรคสำคัญที่ทำให้การลงทุนระหว่างกันมีจำนวนค่อนข้างต่ำ
ความสำเร็จต่อเนื่องเช่นนี้ น่าจะมีส่วนทำให้โอกาสในการทำกำไรของบริษัท จะไม่ถูกกระทบจากผลของความวุ่นวายทางการเมืองในประเทศ เพราะมีการกระจายความเสี่ยงอย่างดีเอาไว้ล่วงหน้าแล้ว
นั่นหมายถึงโอกาสของผู้ถือหุ้น SCC โดยปริยายที่จะมีความเชื่อมั่นว่าการลงทุนในหุ้น จะได้รับผลตอบแทนทั้งในรูปปันผลและกำไรที่ดีเหมือนอย่างปี 2556 อีกต่อไป
รายงานพิเศษ วันศุกร์ที่ 31 มกราคม 2557
ผู้เข้าชม : 164 คน
ในที่สุด ผลประกอบการไตรมาสงวดสิ้นปี ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการเฉลิมฉลองวาระครบรอบ 100 ปีของบริษัทปูนซิเมนต์ไทย จำกัด (มหาชน) หรือ SCC ก็ออกมาดีเกินคาดหมายทั้งในแง่ของรายได้ กำไร และฐานะทางการเงินอื่นๆ
นายกานต์ ตระกูลฮุน กรรมการผู้จัดการใหญ่ SCC เปิดเผยว่า ปี 2556 เครือซิเมนต์ไทย หรือเอสซีซี มีรายได้จากการขาย 434,251 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 7% จากปีก่อนตามการเติบโตของทุกธุรกิจ โดยเอสซีซี มีกำไรสำหรับปี 2556 จำนวน 36,719 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 56% จากปีก่อน เนื่องจาก Margin ของธุรกิจเคมีภัณฑ์ที่เริ่มฟื้นตัวอย่างต่อเนื่อง และปริมาณความต้องการซีเมนต์ในประเทศที่เพิ่มสูงขึ้น
ความน่าสนใจที่โดดเด่น มากกว่ากำไรที่เติบโตอย่างมากอยู่ที่การจ่ายเงินปันผลเพราะ ล่าสุด มีการประกาศจ่ายปันผลงวดครึ่งหลังของปีถึงหุ้นละ 7 บาท ซึ่งหากรวมกับที่ประกาศมาก่อนหน้านี้ ถือเป็นปีทองของการจ่ายเงินปันผลทีเดียว
ในปี 2556 SCC ได้จ่ายเงินปันผลไปแล้ว 3 ครั้ง ครึ่งแรกของปี จ่ายหุ้นละ 5.5 บาท ตามด้วยการจ่ายปันผลพิเศษ หุ้นละ 3 บาท ฉลองครบ 100 ปีก่อตั้งบริษัท และตามด้วยจ่ายปันผลงวดสิ้นปี ล่าสุดอีก หุ้นละ 7 บาท รวมความแล้ว ปี 2556 นี้ SCC จ่ายปันผล 15.50 บาท มากที่สุดในรอบหลายปีเลยทีเดียว
หากพิจารณางบกำไรขาดทุนแล้ว จะพบว่า ปีนี้ SCC มีการจ่ายเงินปันผลมากกว่า 50% ของกำไรต่อหุ้นของบริษัท
การจ่ายเงินปันผลค่อนข้างมากเช่นนี้ ไม่ได้ส่งผลต่อแผนการขยายกิจการของบริษัทแต่อย่างใด เพราะ ฐานะทางการเงินล่าสุดของบริษัทจะเห็นได้ชัดว่า มีสินทรัพย์ต่อหนี้สินค่อนข้างมาก และมีสัดส่วนหนี้สินต่อส่วนผู้ถือหุ้น (ดี/อี) มาก ดังนั้น การสร้างโอกาสในการแข่งขันจึงไม่ได้มีปัญหาที่ต้องพะวงแต่อย่างใด
โอกาสที่เกิดขึ้นในการลงทุนปี 2537 อยู่ในต่างประเทศ โดยเฉพาะในธุรกิจวัสดุก่อสร้าง โดยผู้บริหารของ SCC ระบุว่า ความต้องการใช้ปูนซีเมนต์ในประเทศปีนี้จะเติบโตต่ำกว่าปีก่อนที่ขยายตัว 7% หลังมองโครงการลงทุนจากภาครัฐชะลอตัว โดยความต้องการใช้ปูนซีเมนต์ในช่วง 3 สัปดาห์แรกของปีนี้เติบโตเพียงเล็กน้อยที่ 1-2% และเริ่มเห็นสัญญาณการชะลอตัวในพื้นที่ต่างจังหวัด ขณะที่การใช้ซีเมนต์จากโครงการลงทุนจากภาครัฐลดลงเล็กน้อย ทั้งนี้ เนื่องจากความต้องการใช้ปูนซีเมนต์ในประเทศชะลอตัวลง ทำให้บริษัทหันมาส่งออกมากขึ้น
นอกจากนี้ บริษัทคาดว่าจะมียอดขายรวมเติบโตไม่น้อยกว่า 10% จากปีก่อน ซึ่งได้รับปัจจัยหนุนจากการเดินเครื่องผลิตของธุรกิจปิโตรเคมีเต็มที่ และบริษัทที่เข้าไปซื้อกิจการก่อนหน้านั้นทำยอดขายได้เพิ่มขึ้น ขณะที่ยังมองมาร์จิ้นของธุรกิจปิโตรเคมีที่ดีต่อเนื่องจากปีที่แล้ว ซึ่งจะช่วยหนุนผลประกอบการของบริษัทในปีนี้ด้วย
ส่วนที่น่าสนใจก็คือ แผนการลงทุนในต่างประเทศ เพราะในปีที่ผ่านมา SCC มีรายได้จากกิจการในต่างประเทศเติบโตอย่างมาก คิดเป็นรายได้สัดส่วน 9% ของรายได้รวมทั้งเครือ หรือคิดเป็นวงเงินมากถึง 38,929 ล้านบาท เพิ่มขึ้นอย่างโดดเด่นถึง 25% โดยเฉพาะการซื้อกิจการในเวียดนาม และอินโดนีเซีย
การลงทุนซื้อกิจการในเวียดนามในธุรกิจกระเบื้องเซรามิกจาก Prime Group นั้นทำให้ SCC มีกำลังการผลิตกระเบื้องเซรามิกเป็นอันดับหนึ่งของโลกในปัจจุบัน
เมื่อจำแนกสายงานธุรกิจ จะเห็นได้ว่า SCC มีกำไรเติบโตมากขึ้นจากธุรกิจผลิตภัณฑ์ก่อสร้างอย่างโดดเด่น โดยมีรายได้เติบโตมากถึง 13% และมีรายได้รวม 174,642 ล้านบาท มีกำไรเพิ่มขึ้นจากเดิม 23% แต่กำไรที่โดดเด่นกลับมาจากธุรกิจปิโตรเคมีที่ทำกำไรเพิ่มขึ้น 320% จากระยะเดียวกันปีก่อน เนื่องจากการฟื้นตัวอย่างโดดเด่นของธุรกิจ โดยเฉพาะราคาผลิตภัณฑ์
ย่างก้าวแห่งความสำเร็จทางธุรกิจในปี 2557 ของบริษัทในปีนี้ จึงมุ่งไปที่การก้าวสู่การเป็นผู้นำธุรกิจในอาเซียนเหมือนอย่างเป้าหมายเดิม ที่เป็นกลยุทธ์หลัก คือ ขยายการลงทุนในอาเซียน นับตั้งแต่โรงงานปูนซีเมนต์ในอินโดนีเซีย และเมียนมาร์ ขยายโรงงานปูนซีเมนต์ในกัมพูชา
นอกจากนั้น ยังมีการลงทุนโครงการปิโตรเคมีในเวียดนามที่มีความคืบหน้าด้วยดี ซึ่งคาดว่าจะได้ข้อสรุปในปลายปี พร้อมกับยังมีโครงการอื่นๆ ที่กำลังศึกษาอีกมาก
แผนงานดังกล่าว สะท้อนให้เห็นความมุ่งมั่นต่อยอดความสำเร็จที่ได้ทำมาแล้วอย่างดี เพราะความสำเร็จที่เกิดขึ้น สะท้อนถึงกลยุทธ์รุกเข้าไปซื้อกิจการในต่างประเทศที่บรรลุผลเป็นจริงและต่อเนื่องมากขึ้น
ใน 3 ปีนี้ SCC ได้ใช้วงเงินเพื่อเข้าซื้อกิจการในอินโดนีเซีย ประมาณ 1.1 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ โดยได้เตรียมเงินสดบางส่วนได้เตรียมเงินสดที่ได้จากการขายกิจการอื่นในไทย ในขณะที่เปิดเกมรุกในธุรกิจในประเทศทั้งในการร่วมลงทุน และขยายเครือข่ายด้วยการซื้อกิจการทั้งหมด หรือบางส่วน เช่นกรณีของการให้เงิน 1 หมื่นล้านบาทเข้าถือครองหุ้นเป็นอันดับสองรองจากกลุ่มผู้ถือหุ้นใหญ่เดิมในเครือข่ายจัดจำหน่ายวัสดุก่อสร้างแบบโมเดิร์นเทรดอย่าง บริษัท สยามโกลบอลเฮ้าส์ จำกัด (มหาชน) หรือ GLOBAL หรือการเข้าซื้อกิจการบริษัทกระดาษ ไดน่าแพคส์ หรือ บริษัทโอเรียนท์ คอนเทนเนอร์ จำกัด เป็นต้น
พร้อมกันนั้น แผนการลงทุนในอนาคตก็ถูกกำหนดเอาไว้อย่างต่อเนื่อง และรัดกุม โดยนายกานต์ ตระกูลฮุน กรรมการผู้จัดการใหญ่ SCC ระบุว่า มุ่งไปที่การลงทุนในอาเซียนเป็นสำคัญ โดยเน้นหนักที่การซื้อกิจการแบบ M&A ใน ประเทศเวียดนาม และอินโดนีเซีย โดยมีการตั้งเป้าในอีก 5 ปีข้างหน้า จะลงทุนในต่างประเทศประมาณ 2 แสนล้านบาท ซึ่งบางส่วนจะขยายออกไปซื้อกิจการในยุโรป หรือสหรัฐฯ จะเป็นการเข้าไปเพื่อประโยชน์ในด้านเทคโนโลยี องค์ความรู้ และบุคลากร
เป้าหมายดังกล่าว สะท้อนให้เห็นว่า จากนี้ไปโครงสร้างของบริษัท SCC จะไม่ใช่เป็นบริษัทอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ในประเทศเหมือนเดิมอีกต่อไปแล้ว แต่จะกลายเป็นบริษัทเครือข่ายข้ามชาติที่ยึดหัวหาดในภูมิภาคอย่างแข็งแกร่ง ในทำนองเดียวกันกับกลุ่มเจริญโภคภัณฑ์ และกลุ่มไทยเบฟฯ ดังจะเริ่มเห็นเครือข่ายดังกล่าวชัดเจนมากยิ่งขึ้น
ย่างก้าวดังกล่าว ถือเป็นยุคใหม่ของ SCC ในการเกาะกระแสทางธุรกิจที่นับวันจะยิ่งข้ามพรมแดนไปสู่กันและกันมากยิ่งขึ้น เพื่อสนองตอบเหตุผลของการลงทุนซื้อสินทรัพย์ การลงทุนเพื่อเพิ่มพลังการผลิต การลงทุนทางการเงิน และการลงทุนเชิงยุทธศาสตร์ อันเพิ่มความซับซ้อนมากขึ้นต่อเนื่อง
เหตุผลของการเข้าควบรวมกิจการของบริษัท หรือลงทุนร่วมในภูมิภาค เกิดขึ้นหลังจากพิจารณาแล้วว่า SCC ไม่มีปัญหาในเรื่องสภาพคล่อง เพราะมีเงินสดเพียงพออยู่แล้ว แต่ประเด็นสำคัญอยู่ที่สถานการณ์ของเศรษฐกิจโลก โดยเฉพาะปัญหาวิกฤติหนี้ของยุโรปที่สร้างความกังวลอย่างต่อเนื่องใน 2-3 เดือนที่ผ่านมา และเศรษฐกิจของประเทศจีนที่ยังคงชะลอตัว แต่การส่งสัญญาณลดอัตราดอกเบี้ยถือเป็นเรื่องที่ดีในการกระตุ้นเศรษฐกิจ แต่ยังคงเป็นปัจจัยหลักที่ต้องระมัดระวังเป็นพิเศษ
ข้อเท็จจริงดังกล่าว ได้สร้างโอกาสขึ้นมาว่า ปัญหาเศรษฐกิจสามารถพลิกเป็นโอกาสที่จะได้ซื้อของถูก จากภาวะเศรษฐกิจที่ด้อยลง
แนวคิดดังกล่าว มิใช่เรื่องใหม่หรือนวัตกรรม เพราะผู้บริหารบริษัทข้ามชาติทั่วโลกล้วนจำเป็นต้องมีวิสัยทัศน์เช่นนี้ เนื่องจากเงื่อนไขของการค้าและการลงทุนในปัจจุบันและอนาคตไม่สามารถกระทำในรูปแบบเดิมเช่นการส่งออกสินค้า นำเข้าเพื่อส่งออก หรือการแปลกเปลี่ยนธรรมดา แต่จะต้องกระทำในรูปของการส่งออกทุน หรือการเข้าไปร่วมลงทุนเพื่อสร้างธุรกรรมใหม่ๆ ให้เกิดประโยชน์ข้ามพรมแดนต่อกันและกัน
วิสัยทัศน์ของผู้บริหาร SCC จึงเป็นการอธิบายซ้ำเดิมเพื่อตอกย้ำถึงทิศทางที่เป็นไปได้สำหรับอนาคตให้ชัดเจนมากขึ้นเท่านั้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งในการข้ามพรมแดนเพื่อรับมือกับการลงทุนในอาเซียนเพื่อรับกับการเปิดเสรีทางด้านการลงทุนในประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนที่จะเริ่มมีผลบังคับใช้จริงจังตั้งแต่ต้นปี 2558 เป็นต้นไป
แม้จะไม่ได้เปิดเผยรายละเอียดของวิสัยทัศน์ว่า SCC จะมุ่งไปสู่ธุรกิจใดกันแน่ หรือยึดติดกับแค่ 3 ธุรกิจเสาหลักของบริษัทในปัจจุบันคือ ปิโตรเคมี กระดาษ หรือวัสดุก่อสร้าง แต่จากการลงทุนที่ผ่านมา จะเห็นได้ชัดว่า SCC ได้เดินหน้าทำตามแนวทางการลงทุนที่เน้นหนักเฉพาะใน 3 ธุรกิจดังกล่าวอย่างเหนียวแน่น ไม่ได้ออกนอกลู่นอกรอยสะเปะสะปะแต่อย่างใด
ตัวอย่างเช่นการลงทุนในอินโดนีเซีย เป็นกรณีที่ชัดเจน เพราะโครงการที่ปรากฏและเปิดเผยไปแล้ว ซึ่งได้ส่งผลให้เกิดการบันทึกรายได้และผลตอบแทนไปบ้างแล้ว ได้เน้นหนักไปทางด้านปิโตรเคมีเป็นสำคัญ ธุรกิจก่อสร้างและจัดจำหน่ายถือเป็นส่วนน้อย แต่เริ่มมีการกระจัดกระจาย
การไล่ล่าซื้อกิจการเพื่อแสวงหาโอกาสดังกล่าว ถือเป็นการกรุยทางลัดเข้าสู่ตลาดเป้าหมายที่มีความรวดเร็ว ไม่ต้องเสียเวลากับการสร้างธุรกิจใหม่ๆ ที่ต้องการลองผิดลองถูก โดยเฉพาะอย่างยิ่งอาศัยประโยชน์ที่นำร่องเอาไว้แล้วจากข้อตกลงเขตการลงทุนอาเซียน หรือ Asean Comprehensive Investment Agreement (ACIA) เมื่อหลายปีก่อน ซึ่งต้องการให้การลงทุนภายในชาติอาเซียนเพิ่มปริมาณระหว่างกันมากขึ้น หลังจากที่พบว่า เมื่อสิ้นสุด ค.ศ.2010 หรือเมื่อสองปีที่ผ่านมา ตัวเลขการลงทุนโดยตรงของธุรกิจจากชาตินอกอาเซียนมากถึง 75.8 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ในขณะที่ชาติในอาเซียนมีแค่ 12.1 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือคิดเป็นแค่ 16% เท่านั้น โดยที่ในจำนวนการลงทุนระหว่างชาติอาเซียนด้วยกันนี้ ดูเหมือนอินโดนีเซียจะเป็นแห่งที่นักลงทุนมุ่งไปมากที่สุด เพราะมียอดมากถึง 5.9 พันล้านดอลลาร์สหรัฐทีเดียว ซึ่ง SCC ก็เป็นหนึ่งในกลุ่มธุรกิจที่เดินตามเส้นทางเดียวกันอยู่
การตัดสินใจของ SCC ภายใต้กรอบ ICIA นั้น ถือว่าจะช่วยสร้างความปลอดภัยในการลงทุน เนื่องจากแม้จะมีความพยายามเปิดเสรีทางด้านการค้าและการลงทุนในเขตการค้าเสรีอาเซียนและจีนมากขึ้นในหลายปีมานี้ แต่อคติทางชาติพันธุ์และกฎหมาย โดยเฉพาะสัดส่วนการถือครองหุ้นของต่างชาติ ยังเป็นอุปสรรคสำคัญที่ทำให้การลงทุนระหว่างกันมีจำนวนค่อนข้างต่ำ
ความสำเร็จต่อเนื่องเช่นนี้ น่าจะมีส่วนทำให้โอกาสในการทำกำไรของบริษัท จะไม่ถูกกระทบจากผลของความวุ่นวายทางการเมืองในประเทศ เพราะมีการกระจายความเสี่ยงอย่างดีเอาไว้ล่วงหน้าแล้ว
นั่นหมายถึงโอกาสของผู้ถือหุ้น SCC โดยปริยายที่จะมีความเชื่อมั่นว่าการลงทุนในหุ้น จะได้รับผลตอบแทนทั้งในรูปปันผลและกำไรที่ดีเหมือนอย่างปี 2556 อีกต่อไป
posted from Bloggeroid
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น