ข่าวหุ้น - กระบอกเสียงอิสระแห่งตลาดทุน:: ฆ่าชาวนาล้มอีปู
คอลัมน์ วันศุกร์ที่ 07 กุมภาพันธ์ 2557
ผู้เข้าชม : 12 คน
สุเทพ เทือกสุบรรณ ประกาศบนเวที กปปส.อย่างดีอกดีใจ รัฐบาลกู้เงินมาจ่ายจำนำข้าวไม่ได้ มวลชนคนกรุงผู้จ่ายภาษีก็กรี๊ดสนั่น...เอ๊ย...เป่านกหวีดหูดับตับไหม้ ดีใจที่ชาวนาจะอดตาย ออกมาปิดถนนไล่ “อีปู”
แต่อีกมุมหนึ่ง อลงกรณ์ พลบุตร อดีตรองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ ผู้เรียกร้องให้ปฏิรูปพรรคจนตกเก้าอี้ โพสต์เฟซบุ๊กอย่าง “ได้ใจ” คนจำนวนมากว่า
“ความผิดพลาดโครงการจำนำข้าวของรัฐบาลจะต้องชำระสะสางประเด็นความรับผิดชอบในวันหน้า อย่าโยงเรื่องนี้เป็นประเด็นการเมือง วันนี้ต้องช่วยชาวนาก่อน"
Man มากเลยครับ อลงกรณ์ไม่ได้บอกว่าจำนำข้าวถูกต้อง มีปัญหาแน่ แต่ไม่ควรสกัดขัดขวางรัฐบาลหาเงินมาจ่ายชาวนา เอาทุกข์ของชาวนามาเป็นอาวุธทางการเมือง
โครงการจำนำข้าวถูกเล่นเล่ห์ตีความว่ารัฐบาลรักษาการไม่สามารถกู้เงินได้ ตามรัฐธรรมนูญมาตรา 181 (3) “ไม่กระทำการอันมีผลเป็นการอนุมัติงานหรือโครงการ หรือมีผลเป็นการสร้างความผูกพันต่อคณะรัฐมนตรีชุดต่อไป”
ทั้งที่ประเด็นนี้ เลขาธิการคณะกรรมการกฤษฎีกาชี้ว่าทำได้ เพราะคณะรัฐมนตรีมีมติตั้งแต่วันที่ 3 ก.ย. 2556 อนุมัติให้กระทรวงพาณิชย์รับจำนำข้าวเปลือกนาปี 16.5 ล้านตัน ภายใต้กรอบวงเงิน 2.7 แสนล้านบาท ระหว่างวันที่ 1 ต.ค. 2556 ถึง 25 ก.พ. 2557 เฉพาะภาคใต้ถึงวันที่ 31 ก.ค. 2557
มตินี้มีก่อนยุบสภา รับจำนำมา 2 เดือนก่อนยุบสภา เป็นภาระผูกพันที่เกิดขึ้นแล้ว ไม่ว่าคณะรัฐมนตรีชุดต่อไปจะเป็นใคร ไม่ว่าจะหาเงินมาด้วยวิธีการใด ก็ต้องมาตามจ่ายเงินจำนำข้าว
การที่รัฐบาลรักษาการจะกู้เงินมาจ่ายจำนำข้าวจึงไม่ขัดรัฐธรรมนูญ เป็นเรื่องที่ต้องทำอยู่แล้ว ถ้าตีความว่ากู้ไม่ได้ ก็ขายข้าวไม่ได้ เพราะขายถูกขายแพง ล้วนมีผลผูกพัน ครม.ชุดใหม่
แต่ก็ยังมีการตะแบงตีความ ข่มขู่ สกัดกั้น ม็อบนกหวีดในคราบสหภาพธนาคารต่างๆ ไม่ยอมให้แบงก์ปล่อยกู้ นักวิชาการบางกลุ่มก็จี้รัฐบาลขายข้าวให้ผู้ส่งออก ซึ่งลูบปากรอกดราคาอยู่
กดดันกันจนเข้าเป้า ชาวนาออกมาปิดถนนเต็มไปหมด น่าเห็นใจ ชาวนารู้ดีว่าถ้ารัฐบาลเพื่อไทยล้ม ก็จะไม่มีจำนำข้าวอีกต่อไป แต่ตอนนี้เข้าตาจนทำไงได้ เอาไว้พ้นวิกฤติ พวกเขาจะซึ้งใจว่าใครเจตนาฆ่าชาวนา
ท้ายที่สุด ม.ร.ว.ปรีดิยาธร เทวกุล ราชนิกุลผู้มีเมตตา ก็ฉวยทุกข์ของชาวนา มากดดันให้รัฐบาลลาออก ตั้งนายกฯ คนกลาง ตามแนวทาง “รัฐประหารเงียบ”
โอ๊ะ โอ๊ะ อย่าอ้าปากกว้างสิครับ ราชนิกุลก็มีลิ้นไก่นะ อย่าอ้างเลยว่าไม่รับตำแหน่งใดๆ ท่านรับไปแล้วตอนรัฐประหาร
พูดอย่างนี้ไม่ได้เชียร์จำนำข้าว ผู้สนับสนุนรัฐบาลจากเลือกตั้งมีเยอะไปไม่เห็นด้วยกับจำนำข้าว อย่าง ม.ล.ณัฏฐกรณ์ เทวกุล วิพากษ์จำนำข้าวมาตลอด แต่ไม่เห็นด้วยกับการเอามาเป็นเครื่องมือทางการเมือง ล้มระบอบประชาธิปไตย (ไม่ใช่แค่ล้มรัฐบาล)
จำนำข้าวเป็นนโยบายประชานิยมที่ผิดพลาดเสียหายมากที่สุด เพราะคิดเพ้อเจ้อเกินตัว คิดว่ากักตุนข้าวได้แล้วจะดันราคาตลาดโลก อันที่จริงถ้าการเมืองเดินมาในประชาธิปไตยปกติ ต่อสู้กันด้วยคะแนนนิยม ด้วยนโยบาย “ระบอบทักษิณ” ที่สร้างคะแนนนิยมจากกองทุนหมู่บ้าน 30 บาท ฯลฯ ก็น่าจะถึงจุดเสื่อมจากจำนำข้าว
ไม่ต้องดูอื่นไกล ถ้าเลือกตั้งครั้งนี้แข่งขันกันตามปกติ ถามว่าเพื่อไทยจะกล้าหาเสียงจำนำข้าวต่อไหม ในเมื่อซื้อข้าวมา 7 แสนล้าน ขายได้ 1.5 แสนล้าน ที่เหลือกองในโกดัง แต่ถ้าไม่จำนำต่อ ชาวนาก็โกรธ กลายเป็นนโยบายที่กลืนไม่เข้าคายไม่ออก
แต่เมื่อการเมืองไม่ปกติเพราะอีกฝ่ายต้องการล้มประชาธิปไตย ล้มเลือกตั้ง รัฐบาลจึงมีหลังพิงจาก 20 ล้านเสียงไงครับ
คอลัมน์ วันศุกร์ที่ 07 กุมภาพันธ์ 2557
ผู้เข้าชม : 12 คน
สุเทพ เทือกสุบรรณ ประกาศบนเวที กปปส.อย่างดีอกดีใจ รัฐบาลกู้เงินมาจ่ายจำนำข้าวไม่ได้ มวลชนคนกรุงผู้จ่ายภาษีก็กรี๊ดสนั่น...เอ๊ย...เป่านกหวีดหูดับตับไหม้ ดีใจที่ชาวนาจะอดตาย ออกมาปิดถนนไล่ “อีปู”
แต่อีกมุมหนึ่ง อลงกรณ์ พลบุตร อดีตรองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ ผู้เรียกร้องให้ปฏิรูปพรรคจนตกเก้าอี้ โพสต์เฟซบุ๊กอย่าง “ได้ใจ” คนจำนวนมากว่า
“ความผิดพลาดโครงการจำนำข้าวของรัฐบาลจะต้องชำระสะสางประเด็นความรับผิดชอบในวันหน้า อย่าโยงเรื่องนี้เป็นประเด็นการเมือง วันนี้ต้องช่วยชาวนาก่อน"
Man มากเลยครับ อลงกรณ์ไม่ได้บอกว่าจำนำข้าวถูกต้อง มีปัญหาแน่ แต่ไม่ควรสกัดขัดขวางรัฐบาลหาเงินมาจ่ายชาวนา เอาทุกข์ของชาวนามาเป็นอาวุธทางการเมือง
โครงการจำนำข้าวถูกเล่นเล่ห์ตีความว่ารัฐบาลรักษาการไม่สามารถกู้เงินได้ ตามรัฐธรรมนูญมาตรา 181 (3) “ไม่กระทำการอันมีผลเป็นการอนุมัติงานหรือโครงการ หรือมีผลเป็นการสร้างความผูกพันต่อคณะรัฐมนตรีชุดต่อไป”
ทั้งที่ประเด็นนี้ เลขาธิการคณะกรรมการกฤษฎีกาชี้ว่าทำได้ เพราะคณะรัฐมนตรีมีมติตั้งแต่วันที่ 3 ก.ย. 2556 อนุมัติให้กระทรวงพาณิชย์รับจำนำข้าวเปลือกนาปี 16.5 ล้านตัน ภายใต้กรอบวงเงิน 2.7 แสนล้านบาท ระหว่างวันที่ 1 ต.ค. 2556 ถึง 25 ก.พ. 2557 เฉพาะภาคใต้ถึงวันที่ 31 ก.ค. 2557
มตินี้มีก่อนยุบสภา รับจำนำมา 2 เดือนก่อนยุบสภา เป็นภาระผูกพันที่เกิดขึ้นแล้ว ไม่ว่าคณะรัฐมนตรีชุดต่อไปจะเป็นใคร ไม่ว่าจะหาเงินมาด้วยวิธีการใด ก็ต้องมาตามจ่ายเงินจำนำข้าว
การที่รัฐบาลรักษาการจะกู้เงินมาจ่ายจำนำข้าวจึงไม่ขัดรัฐธรรมนูญ เป็นเรื่องที่ต้องทำอยู่แล้ว ถ้าตีความว่ากู้ไม่ได้ ก็ขายข้าวไม่ได้ เพราะขายถูกขายแพง ล้วนมีผลผูกพัน ครม.ชุดใหม่
แต่ก็ยังมีการตะแบงตีความ ข่มขู่ สกัดกั้น ม็อบนกหวีดในคราบสหภาพธนาคารต่างๆ ไม่ยอมให้แบงก์ปล่อยกู้ นักวิชาการบางกลุ่มก็จี้รัฐบาลขายข้าวให้ผู้ส่งออก ซึ่งลูบปากรอกดราคาอยู่
กดดันกันจนเข้าเป้า ชาวนาออกมาปิดถนนเต็มไปหมด น่าเห็นใจ ชาวนารู้ดีว่าถ้ารัฐบาลเพื่อไทยล้ม ก็จะไม่มีจำนำข้าวอีกต่อไป แต่ตอนนี้เข้าตาจนทำไงได้ เอาไว้พ้นวิกฤติ พวกเขาจะซึ้งใจว่าใครเจตนาฆ่าชาวนา
ท้ายที่สุด ม.ร.ว.ปรีดิยาธร เทวกุล ราชนิกุลผู้มีเมตตา ก็ฉวยทุกข์ของชาวนา มากดดันให้รัฐบาลลาออก ตั้งนายกฯ คนกลาง ตามแนวทาง “รัฐประหารเงียบ”
โอ๊ะ โอ๊ะ อย่าอ้าปากกว้างสิครับ ราชนิกุลก็มีลิ้นไก่นะ อย่าอ้างเลยว่าไม่รับตำแหน่งใดๆ ท่านรับไปแล้วตอนรัฐประหาร
พูดอย่างนี้ไม่ได้เชียร์จำนำข้าว ผู้สนับสนุนรัฐบาลจากเลือกตั้งมีเยอะไปไม่เห็นด้วยกับจำนำข้าว อย่าง ม.ล.ณัฏฐกรณ์ เทวกุล วิพากษ์จำนำข้าวมาตลอด แต่ไม่เห็นด้วยกับการเอามาเป็นเครื่องมือทางการเมือง ล้มระบอบประชาธิปไตย (ไม่ใช่แค่ล้มรัฐบาล)
จำนำข้าวเป็นนโยบายประชานิยมที่ผิดพลาดเสียหายมากที่สุด เพราะคิดเพ้อเจ้อเกินตัว คิดว่ากักตุนข้าวได้แล้วจะดันราคาตลาดโลก อันที่จริงถ้าการเมืองเดินมาในประชาธิปไตยปกติ ต่อสู้กันด้วยคะแนนนิยม ด้วยนโยบาย “ระบอบทักษิณ” ที่สร้างคะแนนนิยมจากกองทุนหมู่บ้าน 30 บาท ฯลฯ ก็น่าจะถึงจุดเสื่อมจากจำนำข้าว
ไม่ต้องดูอื่นไกล ถ้าเลือกตั้งครั้งนี้แข่งขันกันตามปกติ ถามว่าเพื่อไทยจะกล้าหาเสียงจำนำข้าวต่อไหม ในเมื่อซื้อข้าวมา 7 แสนล้าน ขายได้ 1.5 แสนล้าน ที่เหลือกองในโกดัง แต่ถ้าไม่จำนำต่อ ชาวนาก็โกรธ กลายเป็นนโยบายที่กลืนไม่เข้าคายไม่ออก
แต่เมื่อการเมืองไม่ปกติเพราะอีกฝ่ายต้องการล้มประชาธิปไตย ล้มเลือกตั้ง รัฐบาลจึงมีหลังพิงจาก 20 ล้านเสียงไงครับ
posted from Bloggeroid
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น