efinanceThai - ประเด็นร้อน!: เฉลยพันธมิตรก่อนเส้นตาย...ทางรอดสุดท้าย`จัสมินฯ`!!
เหลือเวลาไม่ถึง 7 วัน ที่บมจ.จัสมิน อินเตอร์เนชั่นแนล(JAS) จะต้องรีบหาเงินจำนวน 8,040 ล้านบาท และหนังสือค้ำประกันทางการเงินวงเงินกว่า 7 หมื่นล้านบาทจากธนาคาร(แบงก์การันตี) มาชำระค่าไลเซนส์คลื่น 900MHz ให้กับสำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ(กสทช.) ซึ่งมีกำหนดเส้นตายในวันที่ 21 มี.ค.นี้ แต่ทาง JAS ได้เข้าหารือกับ กสทช.และยืนยันว่าจะให้คำตอบเกี่ยวกับการชำระค่าไลเซนส์ดังกล่าวภายในวันที่ 18 มี.ค.นี้
ในช่วงโค้งสุดท้ายนี้หลายฝ่ายคาดการณ์ว่า JAS คงวิ่งเต้นขาขวิด เพื่อเอาตัวรอดจากสถานการณ์วิกฤติและหมิ่นเหม่ต่อการล่มสลายของกิจการ เพราะหาก JAS "เบี้ยวหนี้" ครั้งนี้ นอกจากจะถูกริบเงินประกัน 644 ล้านบาทที่วางไว้ก่อนประมูลแล้ว อาจถูกฟ้องร้องเรียกค่าเสียหายเป็นมูลค่ากว่า 7 หมื่นล้านบาท ตามราคาไลเซนส์ที่ประมูลได้ และถูกขึ้นบัญชีดำ(แบล็คลิสต์)หมดโอกาสร่วมงานโทรคมนาคมกับภาครัฐตลอดกาล รวมถึงอาจต้องปิดฉากธุรกิจอินเทอร์เน็ตบรอดแบนด์ในอีก 10 ปีข้างหน้า เมื่อใบอนุญาตหมดอายุ
ก่อนหน้านี้ประตูทางออกของ JAS มีให้เลือกหลายบาน ไม่ว่าจะเป็นการเพิ่มทุนจดทะเบียน หรือทำแผนธุรกิจให้ชัดเจน เพื่อสร้างความเชื่อมั่นให้กับธนาคารก่อนขอแบงก์การันตี แต่ดูเหมือนว่าประตูบานนี้ได้ปิดลงสนิทแล้ว เพราะกระบวนการเพิ่มทุนต้องได้รับการอนุมัติจากผู้ถือหุ้นและใช้เวลายาวนาน คงไม่ทันเส้นตายของ กสทช.แน่นอน
ดังนั้น ทางรอดเดียวของ JAS ที่เหลืออยู่ คือ การเปิดตัวพันธมิตรต่างชาติที่มีความน่าเชื่อถืออย่างยิ่งยวด และต้องเป็นพันธมิตรที่พร้อมให้การสนับสนุนด้านเงินทุนและเทคโนโลยี รวมถึงมีเครดิตเพียงพอที่จะจูงใจให้ธนาคารยอมเซ็นแบงก์การันตีมูลค่ากว่า 7 หมื่นล้านบาทได้ ซึ่งการเปิดตัวพันธมิตรถือเป็นทางเลือกที่ใช้เวลาสั้นที่สุดในขณะนี้ และน่าจะเป็นแนวทางที่ JAS เลือกเดินมาตั้งแต่ต้น เพียงแต่เมื่อเส้นตายกระชั้นเข้ามา คงถึงเวลาเสียทีที่จะเผยโฉม "พระเอกขี่ม้าขาว"...แต่ถ้าไม่ JAS ก็จะกลายเป็นผู้ร้ายเสียเอง!!
ในช่วงโค้งสุดท้ายนี้หลายฝ่ายคาดการณ์ว่า JAS คงวิ่งเต้นขาขวิด เพื่อเอาตัวรอดจากสถานการณ์วิกฤติและหมิ่นเหม่ต่อการล่มสลายของกิจการ เพราะหาก JAS "เบี้ยวหนี้" ครั้งนี้ นอกจากจะถูกริบเงินประกัน 644 ล้านบาทที่วางไว้ก่อนประมูลแล้ว อาจถูกฟ้องร้องเรียกค่าเสียหายเป็นมูลค่ากว่า 7 หมื่นล้านบาท ตามราคาไลเซนส์ที่ประมูลได้ และถูกขึ้นบัญชีดำ(แบล็คลิสต์)หมดโอกาสร่วมงานโทรคมนาคมกับภาครัฐตลอดกาล รวมถึงอาจต้องปิดฉากธุรกิจอินเทอร์เน็ตบรอดแบนด์ในอีก 10 ปีข้างหน้า เมื่อใบอนุญาตหมดอายุ
ก่อนหน้านี้ประตูทางออกของ JAS มีให้เลือกหลายบาน ไม่ว่าจะเป็นการเพิ่มทุนจดทะเบียน หรือทำแผนธุรกิจให้ชัดเจน เพื่อสร้างความเชื่อมั่นให้กับธนาคารก่อนขอแบงก์การันตี แต่ดูเหมือนว่าประตูบานนี้ได้ปิดลงสนิทแล้ว เพราะกระบวนการเพิ่มทุนต้องได้รับการอนุมัติจากผู้ถือหุ้นและใช้เวลายาวนาน คงไม่ทันเส้นตายของ กสทช.แน่นอน
ดังนั้น ทางรอดเดียวของ JAS ที่เหลืออยู่ คือ การเปิดตัวพันธมิตรต่างชาติที่มีความน่าเชื่อถืออย่างยิ่งยวด และต้องเป็นพันธมิตรที่พร้อมให้การสนับสนุนด้านเงินทุนและเทคโนโลยี รวมถึงมีเครดิตเพียงพอที่จะจูงใจให้ธนาคารยอมเซ็นแบงก์การันตีมูลค่ากว่า 7 หมื่นล้านบาทได้ ซึ่งการเปิดตัวพันธมิตรถือเป็นทางเลือกที่ใช้เวลาสั้นที่สุดในขณะนี้ และน่าจะเป็นแนวทางที่ JAS เลือกเดินมาตั้งแต่ต้น เพียงแต่เมื่อเส้นตายกระชั้นเข้ามา คงถึงเวลาเสียทีที่จะเผยโฉม "พระเอกขี่ม้าขาว"...แต่ถ้าไม่ JAS ก็จะกลายเป็นผู้ร้ายเสียเอง!!
*** ที่ปรึกษา JAS เผยเร่งดีลพันธมิตร-ขอแบงก์การันตี
"ชาญ บูลกุล" อดีตนักลงทุนรายใหญ่ ผู้บริหารด้านวาณิชธนกิจ บริษัท บรุ๊คเคอร์ กรุ๊ป ซึ่งเป็นที่ปรึกษาทางการเงินของ JAS เปิดเผยว่า ขณะนี้อยู่ระหว่างการเร่งดำเนินการเจรจากับพันธมิตรจากต่างชาติและทำเรื่องขอแบงก์การันตี โดยจะพยายามอย่างเต็มที่เพื่อให้ทันในอีก 1 สัปดาห์ที่เหลือ แต่หากไม่ทันก็ต้องยอมรับสภาพที่เกิดขึ้น
"ตอนนี้มีแค่จ่ายกับไม่จ่าย 2 ทางแค่นั้น ซึ่งเราก็พยามอย่างเต็มที่ เพราะมีความตั้งใจจะเข้าสู่ธุรกิจนี้อย่างจริงจัง โดยกำลังเร่งปิดดีลกับพาร์ทเนอร์ต่างชาติให้ได้ภายในสัปดาห์นี้ รวมถึงได้ติดต่อกับสถาบันการเงินอย่างต่อเนื่องเพื่อขอแบงก์การันตี แต่หากไม่ทันก็ต้องยอมรับตามนั้น ซึ่งก็คงโดนปรับและไม่สามารถเข้าประมูลได้อีกในส่วนของคลื่นความถี่เพื่อประกอบธุรกิจมือถือ ซึ่งผมคงพูดได้แค่นี้ อยากให้รอติดตามการแถลงในวันที่ 18 มี.ค.นี้ จากทาง JAS มากกว่าที่จะคาดเดาหรือตีความไปต่างๆ นาๆ"ชาญ กล่าว
"ชาญ บูลกุล" อดีตนักลงทุนรายใหญ่ ผู้บริหารด้านวาณิชธนกิจ บริษัท บรุ๊คเคอร์ กรุ๊ป ซึ่งเป็นที่ปรึกษาทางการเงินของ JAS เปิดเผยว่า ขณะนี้อยู่ระหว่างการเร่งดำเนินการเจรจากับพันธมิตรจากต่างชาติและทำเรื่องขอแบงก์การันตี โดยจะพยายามอย่างเต็มที่เพื่อให้ทันในอีก 1 สัปดาห์ที่เหลือ แต่หากไม่ทันก็ต้องยอมรับสภาพที่เกิดขึ้น
"ตอนนี้มีแค่จ่ายกับไม่จ่าย 2 ทางแค่นั้น ซึ่งเราก็พยามอย่างเต็มที่ เพราะมีความตั้งใจจะเข้าสู่ธุรกิจนี้อย่างจริงจัง โดยกำลังเร่งปิดดีลกับพาร์ทเนอร์ต่างชาติให้ได้ภายในสัปดาห์นี้ รวมถึงได้ติดต่อกับสถาบันการเงินอย่างต่อเนื่องเพื่อขอแบงก์การันตี แต่หากไม่ทันก็ต้องยอมรับตามนั้น ซึ่งก็คงโดนปรับและไม่สามารถเข้าประมูลได้อีกในส่วนของคลื่นความถี่เพื่อประกอบธุรกิจมือถือ ซึ่งผมคงพูดได้แค่นี้ อยากให้รอติดตามการแถลงในวันที่ 18 มี.ค.นี้ จากทาง JAS มากกว่าที่จะคาดเดาหรือตีความไปต่างๆ นาๆ"ชาญ กล่าว
*** วงการเชื่อ "พันธมิตรขี่ม้าขาว"ช่วยปิดฉากสวย
นักวิเคราะห์รายหนึ่ง เชื่อว่า สุดท้ายแล้ว JAS จะสามารถจ่ายค่าไลเซนซ์งวดแรกได้สำเร็จ ซึ่งพันธมิตรที่อยู่ระหว่างการเจรจาต้องเป็นบริษัทขนาดใหญ่และมีเครดิตเพียงพอสำหรับการขอแบงก์การันตี ส่วนการประกาศซื้อหุ้นคืนถึง 20% ต้องมีนัยสำคัญต่อการมาของพันธมิตรแน่นอน เพราะหากเป็นการซื้อหุ้นคืนตามปกติ ไม่มีความจำเป็นต้องทำในช่วงนี้ โดยลำดับเหตุการณ์ที่น่าจะเป็นไปได้คือ
-เจรจากับพันธมิตรโดยทำสัญญากู้ยืมเงินส่วนหนึ่งมาใช้เป็นหลักประกันในการขอแบงก์การันตี โดยค่อยออกหุ้นเพิ่มทุนให้หลังพ้นการติดระยะเวลาห้ามเพิ่มทุน 6 เดือนตามเกณฑ์การซื้อหุ้นคืน ซึ่งเงินกู้ยืมดังกล่าวจะเป็นส่วนหนึ่งในการซื้อหุ้นเพิ่มทุนในอนาคต
-จากกระแสข่าวล่าสุดเป็นไปได้ว่าพันธมิตรจะเป็นกลุ่มทุนขนาดใหญ่ในธุรกิจสื่อสารหรือสถาบันการเงินจากญี่ปุ่น ซึ่งด้วยระดับเครดิตที่มีนัยของพันธมิตร อาจจะเป็นผู้ประสานกับสถาบันการเงินเพื่อออกแบงก์การันตีได้ไม่ยากนัก
-ด้านความกังวลเกี่ยวกับระยะเวลาในการขอแบงก์การันตี มองว่าไม่น่าจะนานนัก เพราะคงมีการเตรียมการไปมากแล้วรอเพียงความชัดเจนของพันธมิตรเท่านั้น โดยการประทับตราเพื่อออกแบงก์การันตีสามารถทำให้แล้วเสร็จได้ภายใน 1 วัน
"ตอนนี้เป็นเรื่องของความชัดเจนด้านพันธมิตรมากกว่า ที่ JAS เงียบไปหลังจากประกาศซื้อหุ้นคืน คงอยู่ระหว่างเร่งรีบเจรจา สุดท้ายเชื่อว่าจะลุล่วงไปด้วยดี เพราะ JASมีความมุ่งมั่นต่อการเข้าสู่ธุรกิจครั้งนี้เป็นอย่างมาก มิเช่นนั้นคงไม่แข่งประมูลจนทำให้ราคาพุ่งไปสูงขนาดที่เห็น"
ด้านแหล่งข่าวระดับที่ปรึกษาการเงิน ระบุว่า ทางเดียวที่จะทำให้ JAS ผ่านช่วงเวลานี้ไปได้คือต้องมีพันธมิตรเข้ามาช่วยสถานเดียว เพราะเกี่ยวเนื่องไปถึงความน่าเชื่อถือในการขอแบงก์การันตีด้วย
"ในฐานะที่ปรึกษาทางการเงิน ต้องมีพันธมิตรต่างชาติเข้ามาเป็นพาร์ทเนอร์ และพันธมิตรที่จะเข้ามาต้องเป็นกลุ่มที่มีคอนเนกชั่นกับสถาบันการเงินทั้งในและต่างประเทศเพื่ออำนวยความสะดวกในการขอแบงก์การันตี เพราะหากผิดไปจากวิธีการนี้ โอกาสไม่ทันเส้นตายที่ กสทช.กำหนดไว้ 21 มี.ค.นี้ มีสูงมาก และนั่นจะเท่ากับตัดโอกาสทางธุรกิจมือถือของ JAS ไปโดยปริยาย" แหล่งข่าวที่ปรึกษาการเงิน กล่าว
นักวิเคราะห์รายหนึ่ง เชื่อว่า สุดท้ายแล้ว JAS จะสามารถจ่ายค่าไลเซนซ์งวดแรกได้สำเร็จ ซึ่งพันธมิตรที่อยู่ระหว่างการเจรจาต้องเป็นบริษัทขนาดใหญ่และมีเครดิตเพียงพอสำหรับการขอแบงก์การันตี ส่วนการประกาศซื้อหุ้นคืนถึง 20% ต้องมีนัยสำคัญต่อการมาของพันธมิตรแน่นอน เพราะหากเป็นการซื้อหุ้นคืนตามปกติ ไม่มีความจำเป็นต้องทำในช่วงนี้ โดยลำดับเหตุการณ์ที่น่าจะเป็นไปได้คือ
-เจรจากับพันธมิตรโดยทำสัญญากู้ยืมเงินส่วนหนึ่งมาใช้เป็นหลักประกันในการขอแบงก์การันตี โดยค่อยออกหุ้นเพิ่มทุนให้หลังพ้นการติดระยะเวลาห้ามเพิ่มทุน 6 เดือนตามเกณฑ์การซื้อหุ้นคืน ซึ่งเงินกู้ยืมดังกล่าวจะเป็นส่วนหนึ่งในการซื้อหุ้นเพิ่มทุนในอนาคต
-จากกระแสข่าวล่าสุดเป็นไปได้ว่าพันธมิตรจะเป็นกลุ่มทุนขนาดใหญ่ในธุรกิจสื่อสารหรือสถาบันการเงินจากญี่ปุ่น ซึ่งด้วยระดับเครดิตที่มีนัยของพันธมิตร อาจจะเป็นผู้ประสานกับสถาบันการเงินเพื่อออกแบงก์การันตีได้ไม่ยากนัก
-ด้านความกังวลเกี่ยวกับระยะเวลาในการขอแบงก์การันตี มองว่าไม่น่าจะนานนัก เพราะคงมีการเตรียมการไปมากแล้วรอเพียงความชัดเจนของพันธมิตรเท่านั้น โดยการประทับตราเพื่อออกแบงก์การันตีสามารถทำให้แล้วเสร็จได้ภายใน 1 วัน
"ตอนนี้เป็นเรื่องของความชัดเจนด้านพันธมิตรมากกว่า ที่ JAS เงียบไปหลังจากประกาศซื้อหุ้นคืน คงอยู่ระหว่างเร่งรีบเจรจา สุดท้ายเชื่อว่าจะลุล่วงไปด้วยดี เพราะ JASมีความมุ่งมั่นต่อการเข้าสู่ธุรกิจครั้งนี้เป็นอย่างมาก มิเช่นนั้นคงไม่แข่งประมูลจนทำให้ราคาพุ่งไปสูงขนาดที่เห็น"
ด้านแหล่งข่าวระดับที่ปรึกษาการเงิน ระบุว่า ทางเดียวที่จะทำให้ JAS ผ่านช่วงเวลานี้ไปได้คือต้องมีพันธมิตรเข้ามาช่วยสถานเดียว เพราะเกี่ยวเนื่องไปถึงความน่าเชื่อถือในการขอแบงก์การันตีด้วย
"ในฐานะที่ปรึกษาทางการเงิน ต้องมีพันธมิตรต่างชาติเข้ามาเป็นพาร์ทเนอร์ และพันธมิตรที่จะเข้ามาต้องเป็นกลุ่มที่มีคอนเนกชั่นกับสถาบันการเงินทั้งในและต่างประเทศเพื่ออำนวยความสะดวกในการขอแบงก์การันตี เพราะหากผิดไปจากวิธีการนี้ โอกาสไม่ทันเส้นตายที่ กสทช.กำหนดไว้ 21 มี.ค.นี้ มีสูงมาก และนั่นจะเท่ากับตัดโอกาสทางธุรกิจมือถือของ JAS ไปโดยปริยาย" แหล่งข่าวที่ปรึกษาการเงิน กล่าว
*** กสทช.เตรียมรื้อเกณฑ์ประมูล หวั่นผู้ชนะเบี้ยวหนี้
แหล่งข่าวกรรมการ กสทช. กล่าวว่า คณะกรรมการจะต้องหารือเพื่อปรับปรุงเกณฑ์การประมูลคลื่นความถี่อย่างแน่นอน จากกรณีที่ JAS มีความเสี่ยงที่จะไม่ชำระค่าใบอนุญาตตามกำหนด
"ไม่มีใครคาดคิดว่าจะเกิดการเบี้ยวจ่าย ทั้งๆที่ประมูลกันดุเดือด ในลักษณะที่ยังไงก็จะเอาให้ได้ ซึ่งบทลงโทษตอนนี้มีแค่ติดแบล็คลิสต์นิติบุคคลที่เข้าประมูล, ริบเงินประกันการเข้าประมูล 644 ล้านบาท และจ่ายค่าดำเนินการหากมีการประมูลครั้งใหม่ ถือว่าเป็นความเสียหายของบริษัทที่ไม่มากนัก เมื่อเทียบกับการสร้างความปั่นป่วนต่อระบบการประมูลของรัฐ ไม่ว่าการกระทำนั้นจะทำด้วยความเจตนาหรือไม่มีเจตนาก็ตาม คงต้องปรับกันใหม่ให้เข้มข้นกว่าที่เป็นอยู่ เพื่อแสดงให้เห็นว่าไม่ใช่ที่ให้เข้ามาเล่นๆ" แหล่งข่าวกล่าว
แหล่งข่าวกรรมการ กสทช. กล่าวว่า คณะกรรมการจะต้องหารือเพื่อปรับปรุงเกณฑ์การประมูลคลื่นความถี่อย่างแน่นอน จากกรณีที่ JAS มีความเสี่ยงที่จะไม่ชำระค่าใบอนุญาตตามกำหนด
"ไม่มีใครคาดคิดว่าจะเกิดการเบี้ยวจ่าย ทั้งๆที่ประมูลกันดุเดือด ในลักษณะที่ยังไงก็จะเอาให้ได้ ซึ่งบทลงโทษตอนนี้มีแค่ติดแบล็คลิสต์นิติบุคคลที่เข้าประมูล, ริบเงินประกันการเข้าประมูล 644 ล้านบาท และจ่ายค่าดำเนินการหากมีการประมูลครั้งใหม่ ถือว่าเป็นความเสียหายของบริษัทที่ไม่มากนัก เมื่อเทียบกับการสร้างความปั่นป่วนต่อระบบการประมูลของรัฐ ไม่ว่าการกระทำนั้นจะทำด้วยความเจตนาหรือไม่มีเจตนาก็ตาม คงต้องปรับกันใหม่ให้เข้มข้นกว่าที่เป็นอยู่ เพื่อแสดงให้เห็นว่าไม่ใช่ที่ให้เข้ามาเล่นๆ" แหล่งข่าวกล่าว
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น