วันอังคารที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2557
Irpc ยุติความขัดแย้งที่มีมา10ปีประชัย
ไออาร์พีซียุติศึกประชัย ถอนฟ้องทุกคดีรอบ10ปี :หุ้น IRPC วันนี้วิ่งคึกคัก-รับค่าเช่าคืน 470 ล้านบาท
ข่าวหน้าหนึ่ง วันพุธที่ 01 ตุลาคม 2557
ผู้เข้าชม : 16 คน
ปิดฉาก 10 ปีแห่งความขัดแย้ง “ประชัย-ไออาร์พีซี” หลัง 2 ฝ่ายลงนามยุติข้อพิพาทต่อกันทั้งหมด ส่งผลปัจจัยบวกหุ้น IRPC เบื้องต้นรับเงินค่าเช่าคืนทันที 470 ล้านบาท หลังยกเลิกค่าเช่าตึกทีพีไอล่วงหน้า และส่งผลการดำเนินงานระยะยาวราบรื่นยิ่งขึ้น วันนี้จับตานักลงทุนแห่เก็งกำไรหุ้น IRPC-TPIPL คึกคัก
นายสุกฤตย์ สุรบถโสภณ กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ไออาร์พีซี จำกัด (มหาชน) หรือ IRPC วานนี้ (30 ก.ย.) บริษัทและกลุ่มเลี่ยวไพรัตน์ ได้ลงนามบันทึกข้อตกลงเพื่อยุติข้อพิพาทที่ทั้ง 2 ฝ่ายที่มีอยู่ต่อกันทั้งหมด อาทิ คดีความเกี่ยวกับการฟ้องขอให้ศาลเพิกถอนมติที่ประชุมสามัญผู้ถือหุ้นและมติที่ประชุมวิสามัญผู้ถือหุ้นบริษัทย่อยและคดีเงินให้กู้ยืมกับบริษัทที่เกี่ยวข้อง กับกลุ่มเลี่ยวไพรัตน์ เป็นต้น อย่างไรก็ดีการพิจารณาการยุติข้อพิพาทอยู่ในดุลยพินิจของศาลที่เกี่ยวข้อง
พร้อมกันนี้บริษัทได้จำหน่ายหุ้นบริษัทที่ไม่ใช่ธุรกิจหลักและยกเลิกสัญญาเช่าอาคารทีพีไอทาวเวอร์ กล่าวคือ 1)ขายหุ้นบริษัทอุตสาหกรรมสหธัญพืช จำกัด จำนวน 992,698 หุ้น ที่ประกอบธุรกิจผลิตกระสอบ ถุง ที่ทำจากปอ กระดาษ พลาสติก สัดส่วน 18.05% ให้แก่บริษัท เลี่ยวไพรัตนวิสาหกิจ จำกัด ราคารวม 250 ล้านบาท หรือคิดเป็นราคา 251.84 บาทต่อหุ้น
โดยมีมูลค่าหุ้นตราไว้หุ้นละ 100 บาท แบ่งเป็นหุ้นบริษัท ไออาร์พีซี จำกัด (มหาชน) จำนวน 410,458 หุ้น เป็นเงิน 103.37 ล้านบาท และบริษัท อุตสาหกรรมโพลียูรีเทนไทย จำกัด จำนวน 582,240 หุ้น เป็นเงินจำนวน 146.63 ล้านบาทตามลำดับ
2)กรณีการทำสัญญาเช่าอาคารทีพีไอทาวเวอร์ เมื่อปี 2538-2542 มีพื้นที่รวม 26,653.72 ตารางเมตร โดยสัญญาเช่ามีระยะเวลา 90 ปี และจ่ายค่าเช่าล่วงหน้า 956 ล้านบาท บริษัทได้ตั้งค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญไว้ทั้งจำนวนแล้ว ปัจจุบันบริษัทและบริษัทย่อยไม่ได้ใช้ประโยชน์จากอาคารดังกล่าวแล้ว
จึงได้ยกเลิกสัญญาเช่าอาคารทีพีไอ ทาวเวอร์ ตามพื้นที่และระยะเวลาที่เหลือทั้งหมดกับบริษัท พรชัยวิสาหกิจ จำกัด โดยรับคืนเงินค่าเช่าล่วงหน้าคงเหลือตามสัญญาการเช่า 470 ล้านบาท เป็นการคืนเงินค่าเช่าล่วงหน้าของบริษัท ไออาร์พีซี จำกัด (มหาชน) หรือ IRPC จำนวน 420.14 ล้านบาท บริษัท น้ำมันไออาร์พีซี จำกัด จำนวน 37.64 ล้านบาท บริษัท ไออาร์พีซี โพลีออล จำกัด จำนวน 11.85 ล้านบาท และบริษัท ไท เอบีเอส จำกัด จำนวน 370 ล้านบาท ตามลำดับ
นางอรพิน เลี่ยวไพรัตน์ กรรมการ รองผู้จัดการใหญ่อาวุโส บริษัท ทีพีไอโพลีน จำกัด (มหาชน) หรือ TPIPL เปิดเผยว่า เมื่อวันที่ 30 กันยายน 2557 บริษัทและกลุ่มเลี่ยวไพรัตน์ (ผู้ถือหุ้นใหญ่บริษัท) ได้ลงนามบันทึกข้อตกลงยุติข้อพิพาททุกคดี ทั้งคดีแพ่ง และคดีอาญา กับบริษัท ไออาร์พีซี จำกัด (มหาชน) หรือ IRPC และบริษัทในกลุ่มในเครือ โดยคดีที่ได้ข้อยุติข้อพิพาท และการทำรายการที่เกี่ยวข้องกับการยุติข้อพิพาทของบริษัท
แหล่งข่าววงการเงิน กล่าวว่า จากกรณีการยุติข้อพิพาทของ 2 ฝ่ายดังกล่าว ถือเป็นการยุติความขัดแย้งที่มีต่อกันมายาวนานถึง 10 ปี นับตั้งแต่ทั้ง 2 ฝ่ายเริ่มมีการฟ้องร้องกันมาตั้งแต่ปี 2546 กรณีนี้นับเป็นปัจจัยเชิงบวกต่อหุ้น IRPC แม้ว่าจะไม่ได้ส่งผลต่อผลการดำเนินงานโดยตรง แต่ถือเป็นการปลดล็อกปมปัญหาความขัดแย้งทางกฎหมายและส่งผลต่อการดำเนินงานในอนาคตของ IRPC อย่างมีนัยสำคัญ พร้อมกันนี้เชื่อว่าบรรยากาศการซื้อขายหุ้น IRPC รวมถึงหุ้น TPIPL จะคึกคักเป็นพิเศษเพื่อสะท้อนข่าวดีดังกล่าว
บริษัทหลักทรัพย์คันทรี่กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) ระบุว่า บริษัทมีการปรับคำแนะนำหุ้น IRPC จาก “ถือ”เป็น “ซื้อ” โดยเรามองการสะสม เพื่อรอช่วงเวลาเริ่มต้นโครงการ UHV ช่วงกลางปีหน้า เป็นกลยุทธ์การลงทุนที่น่าสนใจ เพราะเชื่อว่าการเริ่มเดินเครื่อง UHV จะช่วยเสริมมุมมองระยาว IRPC ให้ชัดเจนขึ้น และด้วยผลประกอบการที่แข็งแกร่งปีหน้า ช่วยสร้างความเชื่อมั่นในแผนการลงทุนที่ต่อเนื่องจากแผนงาน UHV ทั้งนี้ให้ราคาเป้าหมายปี 2558 ที่ระดับ 4.33 บาท
จากการสอบถามความคืบหน้าล่าสุด บริษัทยังมีมุมมองบวกต่อกำหนดการของโครงการ UHV ว่า จะสามารถเริ่ม COD ได้ช่วงไตรมาส 3/58 ตามแผนงานเดิมมองว่าโครงการ UHV เป็นความหวังในการพลิกกลับมากำไรของ IRPC โดยบริษัทคาดว่าจะเพิ่ม GIM บริษัทได้ 2-4 ดอลลาร์ต่อบาร์เรลขึ้นกับส่วนต่างราคาโพรพิลีนและราคาน้ำมันเตา ทั้งนี้บริษัทเตรียมต่อยอดเป็น PP/PP Compounding ช่วงปี 2559
นอกจากนี้โครงการลดต้นทุนโครงการ DELTA ที่ครอบคลุมหลายด้าน(HR,Operation Plan, Commercial Plan) จะสามารถเห็นผลชัดช่วงปี 2558 เพราะบริษัทมองว่าผลของการลดต้นทุนเริ่มเห็นผลไตรมาส 4/57 ประกอบกับโครงการ UHV ช่วยเปลี่ยนน้ำมันเตาเป็นโพรพิลีน ช่วยเพิ่มกำไรให้บริษัทในปลายปี 2558 อีกทั้งเงินประกันในเหตุเพลิงไหม้ปี 2557 มีแนวโน้มบันทึกปี 2558 ด้วยเหตุผลข้างต้น จึงเชื่อว่ากำไรสุทธิปี 2558 จะออกมาโดดเด่น
บริษัทหลักทรัพย์เคทีบี (ประเทศไทย) จำกัด ระบุว่า แนวโน้มผลการดำเนินงานของ IRPC ในระยะยาว (3-5 ปีข้างหน้า) จะเริ่มค่อยๆ ฟื้นตัวขึ้นตามลำดับ โดยมีแรงหนุนสำคัญจากการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลกเป็นหลัก ผนวกกับการดำเนินกลยุทธ์เพื่อเพิ่ม Margin และลดต้นทุนผ่านโครงการ Delta ที่เริ่มต้นแล้วปี 2557 ทำให้เชื่อว่า IRPC ได้ผ่านจุดต่ำสุดของผลการดำเนินงานไปแล้วในปี 2556
ขณะที่บริษัทหลักทรัพย์เอเซีย พลัส จำกัด (มหาชน) ระบุว่า แนวโน้มกำไรงวดครึ่งหลังปี 2557 จะปรับตัวเพิ่มขึ้น จากงวดครึ่งปีแรก 2557 เนื่องจากโครงการ Delta Program เริ่มเห็นผลประโยชน์ เมื่อเทียบช่วงครึ่งปีแรก 2557 และกำไรจากการทำ Hedging รวมถึงกำไรพิเศษจากการขายที่ดินด้วย
โดยประเมินกำไรปี 2557 เติบโตราว 60% จากปี 2556 ที่ราว 826 ล้านบาท และช่วงปี 2558 มีทิศทางเติบโตโดดเด่นมากขึ้นสูงถึง 207% เมื่อเทียบรายปี หลังจากโครงการ UHV แล้วเสร็จ ช่วยเพิ่ม GIM (Gross Integrated Margin) ให้ IRPC ขั้นต่ำประมาณ 2-3 ดอลลาร์สหรัฐต่อบาร์เรล แนะนำซื้อลงทุน เป้าหมาย 4.07 บาท
IMPACT REiT ขายวันนี้
ดีเดย์IMPACT วันนี้เริ่มเทรด ประกันแห่ถือ
ข่าวหน้าหนึ่ง วันพุธที่ 01 ตุลาคม 2557
ผู้เข้าชม : 9 คน
วันนี้ “อิมแพค รีท” เริ่มเทรด เผยนักลงทุนสถาบันเข้าลงทุนเพียบ ทั้งแบงก์ออมสิน, บมจ.ไทยประกันชีวิต, อลิอันซ์ อยุธยา ประกันชีวิต และอาคเนย์ประกันชีวิต
นายชนิตร ชาญชัยณรงค์ รองผู้จัดการ ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย เปิดเผยว่า กองทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์อิมแพ็คโกรท (IMPACT) จะเข้าจดทะเบียนและเริ่มซื้อขายใน ตลท. ในหมวดกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์และกองทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ กลุ่มอสังหาริมทรัพย์และก่อสร้าง ในวันที่ 1 ตุลาคม 2557 เป็นกองทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ (REIT) กองแรกในตลาดทุนไทย
ทั้งนี้ REIT สามารถลงทุนในอสังหาริมทรัพย์หลากหลายประเภทมากกว่า Property Fund รูปแบบเดิมจึงเพิ่มทางเลือกการลงทุนให้กับผู้ลงทุน และเปิดโอกาสการระดมทุนแก่ผู้ประกอบการ
IMPACT เสนอขายหน่วยทรัสต์ต่อประชาชนทั่วไประหว่างวันที่ 8–19 กันยายน 2557 จำนวน1,482.50 ล้านหน่วย ในราคาหน่วยละ 10.60 บาท รวมมูลค่าเสนอขาย 15,714.50 ล้านบาท โดยมีบริษัท อาร์ เอ็ม ไอ จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทย่อยของบริษัท อิมแพ็ค เอ็กซิบิชั่น แมเนจเม้นท์ จำกัด เป็นผู้จัดการกองทรัสต์ และมี บลจ.กสิกรไทย เป็นทรัสตี และ บล.เมย์แบงก์ กิมเอ็ง (ประเทศไทย) เป็นที่ปรึกษาทางการเงิน และเป็นผู้จัดการการจัดจำหน่ายร่วมกับ ธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน) และ บล.กสิกรไทย
IMPACT ลงทุนในกรรมสิทธิ์ (Freehold) ของที่ดินและอาคารศูนย์แสดงสินค้าและการประชุมในโครงการอิมแพ็ค เมืองทองธานี 4 อาคาร ได้แก่ ศูนย์จัดการแสดงอิมแพ็คอารีน่า ศูนย์แสดงสินค้าและนิทรรศการนานาชาติอิมแพ็ค ศูนย์การประชุมอิมแพ็คฟอรั่ม และอาคารอิมแพ็ค ชาเลนเจอร์ รวมถึงระบบสาธารณูปโภคและอุปกรณ์ต่างๆ ภายในอาคาร รวมทั้งสิทธิในการใช้บริการพื้นที่จอดรถบางส่วน
นางสาววันเพ็ญ มุ่งเพียรสกุล กรรมการผู้จัดการ บริษัท อาร์ เอ็ม ไอ จำกัด กล่าวว่า IMPACT เข้าลงทุนในทรัพย์สินประเภทศูนย์การแสดงสินค้าและการประชุมที่เป็นที่รู้จักและมีขนาดใหญ่ที่สุดในประเทศไทยและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มีการจัดงานมากกว่า 8,000 งานที่มีความหลากหลายจากผู้จัดงานทั่วโลก ภายใต้การบริหารอสังหาริมทรัพย์
โดยบริษัท อิมแพ็ค เอ็กซิบิชั่น แมเนจเม้นท์ จำกัด ผู้มีประสบการณ์และความเชี่ยวชาญมานานกว่า 15 ปีและเป็นบริษัทย่อยของบริษัท บางกอกแลนด์ จำกัด (มหาชน) (BLAND) ซึ่งเป็นบริษัทจดทะเบียนใน ตลท. อีกทั้งโครงการอยู่ในทำเลที่ดี สะดวกในการเดินทาง จึงเชื่อว่า IMPACT จะสามารถให้ผลตอบแทนที่ดีในระยะยาวให้กับผู้ถือหน่วยทรัสต์
IMPACT มีนโยบายการจ่ายเงินปันผลไม่เกิน 4 ครั้งต่อรอบปีบัญชี ในอัตราไม่น้อยกว่า 90% ของกำไรสุทธิที่ปรับปรุงแล้วของรอบปีบัญชี โดยหลัง IPO ผู้ถือหน่วยทรัสต์รายใหญ่ของ IMPACT 3 ลำดับแรก ได้แก่ บริษัท อิมแพ็ค เอ็กซิบิชั่น แมเนจเม้นท์ จำกัด ถือหน่วยทรัสต์ 50.0% บมจ.อลิอันซ์ อยุธยา ประกันชีวิต ถือหน่วยทรัสต์ 2.2% และธนาคารออมสิน บริษัท ไทยประกันชีวิต จำกัด(มหาชน) และบริษัท อาคเนย์ประกันชีวิต จำกัด ถือหน่วยทรัสต์รายละ 1.3%
วันจันทร์ที่ 29 กันยายน พ.ศ. 2557
JASผวาหนี้เก่าตามหลอน โบรกฯมองแก้งบใหม่ฉุดปันผล แนะหลีกเลี่ยง
JASผวาหนี้เก่าตามหลอน
** โบรกฯมองแก้งบใหม่ฉุดปันผล แนะหลีกเลี่ยง
โบรกฯสั่งหลีกเลี่ยง JAS ความเสี่ยงเพียบ หลัง ก.ล.ต.แจ้งแก้ไขงบปี 56 และ 2Q57 ให้บันทึกหนี้ที่อาจจะถูกฟ้องร้องลงในงบ หลังศาลฯกลับคำพิพากษาแผนฟื้นฟูกิจการ ทำให้เจ้าหนี้มีสิทธิเรียกร้องหนี้กับบริษัทเหมือนเดิม ด้าน" เคเคเทรด" มองผลกระทบทำให้กำไรลดลง และอาจกระทบการจ่ายปันผล ฟาก "ทรีนีตี้" ชี้ หาก JAS ตั้งสำรองหนี้ทั้งจำนวนราว 1.6 พันลบ. จะกระทบต่อราคาหุ้น 3.3 บาท ขณะที่ "ธนชาต" ยังแนะถือ ให้ราคาเป้าหมาย 6.8 บาทต่อหุ้น
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า จากกรณีที่สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์(ก.ล.ต.)แจ้งให้บริษัท จัสมิน อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด (มหาชน) หรือ JAS แก้ไขงบการเงินงวด ปี 2556 และงวดไตรมาส 2/2557 หลังศาลฎีกามีคำพิพากษากลับคำพิพากษาของศาลล้มละลายกลาง โดยพิพากษาไม่เห็นชอบด้วยแผนฟื้นฟูกิจการและให้ยกเลิกคาสั่งให้ฟื้นฟูกิจการของ JAS ซึ่ง JAS เปิดเผยในหมายเหตุประกอบงบการเงินงวดไตรมาส 3/2556 ว่าคำพิพากษาดังกล่าวมีผลทำให้สิทธิเรียกร้องของเจ้าหนี้ที่มีต่อ JAS ในฐานะลูกหนี้ กลับไปเป็นเช่นเดิมดังที่เป็นอยู่ก่อนวันที่ศาลมีคำสั่งให้ฟื้นฟูกิจการ
อย่างไรก็ตาม JAS ยังไม่ได้บันทึกหนี้สินดังกล่าวเนื่องจากเห็นว่ายังมีข้อมูลไม่เพียงพอที่จะประมาณหนี้สินที่ต้องบันทึกเพิ่มเติมได้อย่างเหมาะสม การที่ JAS ยังไม่ได้บันทึกหนี้สิน ทำให้งบการเงินดังกล่าวไม่ถูกต้องตามมาตรฐานการบัญชี ก.ล.ต. จึงแจ้งให้ JAS แก้ไขงบการเงินดังกล่าว โดยให้บันทึกภาระหนี้สินจากคำพิพากษาของศาลฎีกาตามประมาณการที่ดีที่สุดของรายจ่ายที่คาดว่าจะต้องชำระภาระผูกพัน ซึ่งคำนึงถึงปัจจัยต่างๆ เช่น มูลหนี้เดิมที่เคยถูกปลดหนี้ตามแผนฟื้นฟูกิจการ สิทธิเรียกร้องในดอกเบี้ย และอายุความของคดี เป็นต้น และนำส่งงบการเงินฉบับแก้ไขที่ผ่านการตรวจสอบ/สอบทานโดยผู้สอบบัญชีแล้วต่อ ก.ล.ต. พร้อมทั้งเปิดเผยต่อสาธารณชนภายในวันที่ 27 ตุลาคม 2557
* โบรกฯแนะหลีกเลี่ยง JAS ความเสี่ยงเพียบ
บทวิเคราะห์ บล.ฟินันเซีย ไซรัส ระบุว่า หากรวมหนี้ 4 แบงก์ยื่นฟ้อง 1.64 พันล้านบาทและดอกเบี้ยสะสม 10 ปี จะทำให้อัตราส่วน D/E สิ้นงวดปี 2013 และ 2Q14 เพิ่มเป็น 1.1 เท่า จากเดิม 0.8 เท่า แต่ต้องรอดูรายละเอียดงบฯ ปรับปรุง ภายในวันที่ 27 ต.ค.นี้ อีกครั้ง เรายังคงแนะนำ หลีกเลี่ยง/ขาย นอกจากนี้ Jas ยังมีความเสี่ยงในคดีที่ TT&T ยื่นฟ้องศาลให้บ.ย่อยของ JAS ขายหุ้นที่ถืออยู่ใน TTTBB คืนแก่ผู้ถือหุ้น TT&T 70% ซึ่งขณะนี้อยู่ในระหว่างการไต่สวนของศาล ทั้งนี้ตลท.จะขึ้นเครื่องหมาย SP, NP JAS ในวันนี้ ให้ผู้ถือหุ้นศึกษาข้อมูล และเปิดให้ซื้อขายอีกครั้งในวันจันทร์
ด้านบทวิเคราะห์ บล.บัวหลวง ระบุว่า ภาระหนี้ผูกผันที่อาจเกิดขึ้น (โดยให้เวลาถึง 27 ตค.) จากการปรับโครงสร้างหนี้ที่ผ่านมาราว 1.18 หมื่นล้านบาท (ยังไม่รวมดอกเบี้ยที่อาจเกิดขึ้นราว 1 พันล้านบาท ตั้งแต่ปี 2003) แนะนำ หลีกเลี่ยง
* บล.เคเคเทรด มองอาจกระทบการจ่ายเงินปันผล
บทวิเคราะห์ บล.เคเคเทรด ระบุว่า ประเด็นลบใหม่ที่กดดันราคาหุ้น ข่าวนี้จะทำให้นักลงทุนเกิดความกังวลผลกระทบกรณีบริษัทต้องตั้งสำรองหนี้ในงบการเงิน เรามองว่ามีความเป็นไปได้ที่บริษัทจะบันทึกภาระหนี้สินเพิ่มเติม (ไม่รวมดอกเบี้ย) จำนวนไม่เกิน 1,343 ล้านบาท (คิดเป็นผลกระทบ 0.19 บาท/หุ้น) ตามที่ประเมินไว้และไม่มีการประเมินใหม่หลังมีเจ้าหนี้ 4 รายเรียกร้องให้ชำระหนี้เกินกว่าที่ประเมิน
เสี่ยงต่อกำไรสะสมติดลบ และกระทบการจ่ายเงินปันผลปีนี้ เราประเมินกรณี JAS ตั้งสำรองหนี้ 1,343 ล้านบาท ในงบการเงิน จะกระทบกำไรสุทธิปี 2556 (งบรวม) ลดลง 45% จาก 3,003 ล้านบาท เหลือ 1,660 ล้านบาท ในด้านงบดุลจะทำให้กำไรสะสมปี 2556 (งบเดี่ยว) ลดลง 58% จาก 2,319 ล้านบาท เหลือ 976 ล้านบาท และกำไรสะสมงวด มิ.ย.57 จะติดลบราว 300 ล้านบาท ซึ่งกระทบความสามารถในการจ่ายเงินปันผล อย่างไรก็ตามใน 2H57 เราคาดว่าผลประกอบการของ JAS จะมีกำไรราว 1,700 - 1,800 ล้านบาท (ดีกว่าประมาณการปัจจุบัน 5-8%) ช่วยให้กำไรสะสมงบเดี่ยวจะกลับมาเป็นบวกราว 1,400 - 1,500 ล้านบาท ทั้งนี้ฐานกำไรสะสมที่ค่อนข้างต่ำ ทำให้เราคาดว่าบริษัทจ่ายเงินปันผลได้ไม่เกินหุ้นละ 0.10 บาท (ประมาณการปีนี้คาดเงินปันผลหุ้นละ 0.28 บาท) หรือกรณีแย่สุด JAS อาจตัดสินใจงดจ่ายเงินปันผลปีนี้
ความกังวลต่อการจ่ายเงินปันผลปีนี้กดดันราคา แต่ปัจจัยพื้นฐานยังไม่เปลี่ยน เรามองว่าระยะสั้นราคาหุ้น JAS จะถูกกดดันจากประเด็นนี้ ขณะที่ผลกระทบที่เกิดขึ้นเป็นรายการทางบัญชีและไม่กระทบเงินสด ส่วนประเด็น IFF เรามองว่าการที่ ก.ล.ต. สั่งให้บริษัทแก้ไขงบการเงินจะไม่เป็นเหตุให้จัดตั้ง IFF เร็วขึ้น เนื่องจากเราเชื่อว่ายังมีอุปสรรคจากคดี TT&T ฟ้อง ACU (ถือหุ้น 99.2% ใน TTT BB) ที่อยู่ระหว่างการพิจารณาของศาล อีกทั้งสัปดาห์หน้า (3 ต.ค.) ศาลนัดไตร่สวนพยานกรณี TT&T ยื่นขอคุ้มครองประโยชน์ระหว่างพิจารณาคดีที่ฟ้อง TTT BB เมื่อ 29 พ.ย.2556 โดยประมาณการของเรายังไม่รวม IFF
*ทรีนีตี้ ชี้หาก JAS ตั้งสำรองหนี้ทั้งจำนวนราว 1.6 พันลบ. กระทบราคาหุ้น 3.3 บาท
บทวิเคราะห์ บล. ทรีนีตี้ ระบุว่า จากการที่ JAS จะต้องแก้ไขงบการเงินให้ถูกต้องนั้นจะส่งผลกระทบต่องบการเงินของบริษัทโดยตรง โดยบริษัทจะต้องมีการตั้งสำรองสำหรับหนี้ให้อนาคตที่จะเกิดขึ้นจากการกลับคำพิพากษาของศาลล้มละลายกลาง ซึ่งจากรายงานได้มีเจ้าหนี้รวมทั้งสิ้น 4 รายยื่นฟ้องได้แก่ ธนาคารเมกะสากลพาณิชย์ จำกัด, ชินฮานแบงค์, ธนาคารซูมิโตโมมิตซุย แบงกิ้งคอร์ปอเรชั่น และบริษัท บริหารสินทรัพย์ไทย (เอ) จำกัด เป็นโจทก์ฟ้องขอให้ศาลมีคำพิพากษาให้บริษัทชำระหนี้ตามสัญญาให้กู้ยืมเป็นเงินจำนวน 108 ล้านบาท, 418 ล้านบาท, 3.7 ล้านดอลลาร์สหรัฐ และ 1,211.4 ล้านเยนญี่ปุ่น, 13.2 ล้านดอลลาร์สหรัฐ และ 524.4 ล้านเยนญี่ปุ่น ตามลำดับ หรือรวมทั้งสิ้นประมาณ 1,600 ล้านบาท
ดังนั้นในกรณีที่ JAS จะต้องทำการตั้งสำรองทั้งจำนวนบริษัทจะต้องบันทึกเป็นค่าใช้จ่ายลงในงบกำไรขาดทุน ซึ่งจะทำให้กำไรต่อหุ้นหายไปประมาณ 0.22 บาทต่อหุ้น (กำไรสุทธิต่อหุ้นงวด 6 เดือน 2557 อยู่ที่ 0.24 บาทต่อหุ้น และงวดปี 2556 อยู่ที่ 0.42 บาทต่อหุ้น) ถ้าคิดถึงผลกระทบต่อราคาหุ้นอิง PE ปัจจุบันที่ 15 เท่า จะคิดเป็นผลกระทบต่อราคา 3.3 บาท ในกรณีที่บริษัทตั้งสำรองทั้งจำนวน
*โนมูระ พัฒนสิน คาดกำไรสะสมจะพลิกติดลบตั้งแต่ 311-1,943 ลบ.
บทวิเคราะห์ บล.โนมูระ พัฒนสิน ระบุว่า เรามีมุมมอง Negative ต่อการที่ก.ล.ต.สั่งให้ JAS แก้ไขงบการเงินปี 13 และ 1H14 ใหม่ เพื่อให้สะท้อนความเสียหายที่อาจจะเกิดขึ้นหลังศาลฎีกามีคำตัดสินไม่เห็นชอบการฟื้นฟูกิจการในอดีตตั้งแต่ 3Q13 โดยหากอ้างอิงจากมูลค่าหนี้ที่อาจจะเกิดขึ้นตามที่ JAS ประเมินไม่เกิน 1,343 ล้านบาท เราประเมินมูลค่าความเสียหายที่ JAS จะต้องตั้งสำรองในงบการเงินตั้งแต่ 1,343 ล้านบาทจนถึง 2,976 ล้านบาท (กรณีที่รวมอัตราดอกเบี้ย 7.5%/ปี) ทำให้เราคาดกำไรสะสมของงบเดี่ยว ณ สิ้น 1H14 หลังปรับปรุงจะพลิกติดลบตั้งแต่ -311-1,943 ล้านบาทจากปัจจุบันที่ +1,032 ล้านบาท สร้างแรงกดดันต่อเนื่องต่อความสามารถในการจ่ายปันผลปี 14 ลดลงตั้งแต่ -0.1-0.30 บาท/หุ้น (Dividend yield ~ 1.4-4.2%) จากปัจจุบันที่ 0.3 บาท/หุ้น
แม้การบันทึกตั้งสำรองหนี้ข้างต้นจะเป็นเพียงรายการทางบัญชีและยังไม่กระทบต่อกระแสเงินสดของ JAS อย่างไรก็ตาม Downside risk ในระยะยาวที่มีสูงต่อราคาเป้าหมายปี 15F ที่ 10.4 บาททั้งจากกรณีที่หากแพ้ i) คดีการขอสิทธิ์ในการซื้อหุ้น TTT BB ที่เราคาดกว่า 0.5-6.1 บาท/หุ้น และ ii) คดีเจ้าหนี้เรียกชำระหนี้จากการฟื้นฟูกิจการคืนที่เราคาดมีความเสียหายตั้งแต่ 0.2-2.6บาท/หุ้น ดังนั้น เราจึงแนะนำ ”เปลี่ยนตัวเล่น” ไปหุ้นตัวอื่นในกลุ่ม ICT ก่อนอย่าง THCOM (BUY,TP15F ที่ 52.75 บาท) ที่เราเลือกเป็น Toppick ของกลุ่ม ICT ที่ไม่ใช่มือถือ
* ธนชาต ยังแนะถือ ให้ราคาเป้าหมาย 6.8 บาทต่อหุ้น
บทวิเคราะห์ บล. ธนชาต ระบุว่า JAS จะต้องตั้งสำรองสำหรับภาระหนี้ที่อาจเกิดขึ้นที่เชื่อมโยงกับคดีในศาลเมื่อปีที่ผ่านมาซึ่งได้รับการอนุมัติจากแผนฟื้นฟูกิจการ นั่นหมายความว่าหนี้ที่ได้รับการลดหนี้ของบริษัทฯ ในช่วงแผนฟื้นฟูตลอด 10 ปีที่ผ่านมาถูกยกเลิก
นี่เป็นข่าวเชิงลบสำหรับ JAS แต่เป็นเพียงกระบวนการทางบัญชี ซึ่งกำไรของบริษัทฯ ปี 2013และ 1H14 จะต้องถูกปรับลง แต่เรามองว่า ไม่ใช่ข่าวใหญ่ เพราะตลาดรู้โอกาสที่จะเกิดภาระผูกพันจากกรณีศาลตั้งแต่ปีที่แล้ว สำหรับเรา คาดการณ์กำไรปี 2014F ของเราจะถูกปรับลง แต่ราคาเป้าหมายของเรารวมปัจจัยดังกล่าวแล้ว
แม้ JAS คาดว่าจะมีหนี้ผูกพันเพียง 1.3 พันลบ. แต่เราได้อนุรักษ์นิยมรวมปัจจัยดังกล่าวในประมาณณการของเราที่ภาระผูกพันมูลหนี้สูงสุด 7.7 พันลบ. ซึ่งอ้างอิงจากการลดมูลหนี้สูงสุดบวกค่าใช้จ่ายดอกเบี้ย หรือที่ราคาหุ้น JAS 1.1 บาท/หุ้น ซึ่งเราได้หักออกจากราคาเป้าหมาย DCF ของเราแล้ว
สำหรับผลกระทบต่อกำไร เราคาดว่าการตั้งสำรองส่วนใหญ่จะอยู่ในงบปี 2013 เพราะคดีศาลออกมาในปีที่แล้ว ในขณะที่งบ 1H14 จะเห็นผลกระทบน้อยมาก ดังนั้น เราคาดว่าจะส่งผลกระทบต่อประมาณการปี 2014F เพียงเล็กน้อย และไม่มี ผลกระทบต่อคาดการณ์ของเราในปีถัดๆไป
แม้ว่าเราคาดการณ์ที่จะเห็นการเติบโตของธุรกิจปัจจุบันของ JAS แต่ด้วยความเสี่ยงจากกรณีคดี TTTBB และภาระหนี้สินที่เพิ่มขึ้น เราจึงยังคงแนะนำ “ถือ” JAS ที่ราคาเป้าหมาย DCF 6.8 บาทต่อหุ้น
วันอังคารที่ 9 กันยายน พ.ศ. 2557
"ปตท." ลุ้นปรับโครงสร้างราคา NGV วงการเงินประเมิน เพิ่มราคาเอ็นจีวี 1 บาทต่อกิโลกรัม ลดขาดทุนปตท.กว่า 3,000 ล้านบาทต่อปี ราคาหุ้นวิ่งทะยานรับข่าวดี ทำนิวไฮรอบ 14 เดือน มาร์เก็ตแคปพุ่งวันเดียว 3.9 หมื่นล้านบาท
ข่าวหุ้น - กระบอกเสียงอิสระแห่งตลาดทุน:: PTTลุ้นขึ้นเอ็นจีวี1บาท
ลดขาดทุนปีละ3พันล้าน
ข่าวหน้าหนึ่ง วันพุธที่ 10 กันยายน 2557
ผู้เข้าชม : 5 คน
"ปตท." ลุ้นปรับโครงสร้างราคา NGV วงการเงินประเมิน เพิ่มราคาเอ็นจีวี 1 บาทต่อกิโลกรัม ลดขาดทุนปตท.กว่า 3,000 ล้านบาทต่อปี ราคาหุ้นวิ่งทะยานรับข่าวดี ทำนิวไฮรอบ 14 เดือน มาร์เก็ตแคปพุ่งวันเดียว 3.9 หมื่นล้านบาท
นักวิเคราะห์บริษัทหลักทรัพย์ ไอร่า จํากัด (มหาชน) ประเมินว่า หากภาครัฐมีการปรับราคา NGV เพิ่มขึ้นจะส่งผลให้บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) หรือ PTT มีภาระขาดทุนลดลง โดยปกติแล้วทาง PTT ต้องแบกรับขาดทุนจากธุรกิจของ NGV ตกปีละประมาณ 20,000 ล้านบาท
โดยในเบื้องต้นหากมีการปรับเพิ่มราคา NGV สูงขึ้นประมาณ 3 บาทต่อกิโลกรัม จะส่งผลให้ PTT มีผลขาดทุนลดลงประมาณ 10,000 ล้านบาทต่อปี แต่หากเพิ่มขึ้น 6 บาท จะส่งผลให้ PTT มีขาดทุนลดลง 20,000 ล้านบาทต่อปี ซึ่งเท่ากับทางปตท.จะไม่ต้องแบกรับผลขาดทุนจากธุรกิจ NGV ที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน
นอกจากนี้ ยังประเมินอีกว่า หากมีการปรับเพิ่มราคา NGV สูงขึ้น จะถือเป็นปัจจัยช่วยดึงดูดให้ PTT กลับมาขยายสถานีบริการ NGV อีกครั้ง หลังจากในปัจจุบันทางปตท.ไม่ได้ขยายสถานีบริการ เพราะจะทำให้รับภาระขาดทุนมากขึ้น ดังนั้น หากประเด็นปรับโครงสร้างราคา NGV และ LPG มีความชัดเจนออกมา ทางฝ่ายวิเคราะห์อาจจะมีการรีวิวหุ้น PTT ใหม่อีกครั้ง
สำหรับราคาหุ้น PTT ในช่วงวานนี้ (9 ก.ย.) ที่ได้รับแรงซื้อเข้ามาจนผลักดันราคาหุ้นปรับตัวเพิ่มขึ้น คาดว่า ทางนักลงทุนต่างชาติได้เข้ามาเก็บหุ้นพลังงาน หลังจากในช่วงที่ผ่านมา ราคาหุ้นกลุ่มพลังงานยังไม่มีการเคลื่อนไหวมากนัก ประกอบกับหุ้น PTT ยังมี P/E เพียงแค่ 9 เท่า
ขณะที่แหล่งข่าวจากวงการเงิน ประเมินว่า ราคาหุ้นของ PTT ที่ปรับตัวเพิ่มขึ้นแรงสวนภาวะตลาดหุ้นไทยในช่วงวานนี้ เป็นเพราะภาพรวมของตลาดมองเชิงบวกต่อกรณี คณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ได้เห็นชอบหลักการการปรับโครงสร้างราคา NGV และ LPG
โดยในเบื้องต้นประเมินว่า หากมีการปรับเพิ่มราคา NGV ขึ้นประมาณ 1 บาทต่อกิโลกรัม จะส่งผลให้ทาง PTT มีขาดทุนธุรกิจ NGV ลดลงประมาณกว่า 3,000 ล้านบาท ซึ่งหากปรับเพิ่มขึ้นประมาณ 3 บาทต่อกิโลกรัมจะช่วยให้บริษัทมีขาดทุนลดลงไปเกือบ 10,000 ล้านบาท
ดังนั้น ประเด็นเรื่องการปรับโครงสร้างราคา NGV และ LPG จึงถือเป็นเรื่องเชิงบวกของหุ้น PTT เพราะจะส่งผลบวกต่อทั้งตัวผลการดำเนินงานรายไตรมาสและภาพรวมทั้งปีจะมีทิศทางดีขึ้น เนื่องจากในแต่ละปีทางปตท.ต้องรับภาระขาดทุน NGV ปีละประมาณ 20,000 ล้านบาท หรือ เฉลี่ยออกมาตกไตรมาสละ 4,000-5,000 ล้านบาท
ด้านบริษัทหลักทรัพย์ ทรีนีตี้ จำกัด ประเมินว่า การปรับขึ้นราคา NGV และLPG เป็นไปตามที่ฝ่ายวิเคราะห์คาดไว้ เนื่องจากราคาปัจจุบันมีความเหลื่อมล้ำด้านโครงสร้างราคา และไม่สะท้อนราคาตลาดโลก ซึ่งมองว่า ถือเป็นจุดเริ่มต้นที่ดีในการปรับโครงสร้างพลังงานไทยเพื่อให้สะท้อนต้นทุนที่แท้จริง นอกจากนี้ ยังเป็นการลดภาระขาดทุนของกองทุนน้ำมันและเงินอุดหนุนจากน้ำมันเบนซินในระยะยาว
โดยมองว่า PTT จะไม่ได้รับผลกระทบ ในกรณี base case ที่กองทุนน้ำมันไม่ได้ bypass รายได้ส่วนเพิ่มไปยัง PTT เนื่องจากปัจจุบันกองทุนน้ำมันยังมีฐานะขาดทุน แต่ในกรณี Best case ที่รายได้ส่วนเพิ่มจากการปรับราคา bypass ทั้งหมดไปยัง PTT จะส่งผลให้กำไรสุทธิเพิ่มขึ้น ราว 4.4 พันล้านบาทต่อปี หรือคิดเป็น EPS 1.57 บาทต่อหุ้น
อีกทั้ง ส่งผลบวกต่อราคาเป้าหมายอีกประมาณ 10.34 บาทต่อหุ้น ภายใต้สมมติฐาน ปริมาณใช้ LPG ต่อ NGV 2.4 ล้านตัน และ 2 ล้านตันต่อปี และ WACC ที่ 12% ในระยะยาว คาดว่า PTT จะมีผลขาดทุน LPG และNGV ลดลง หากการปฏิรูปพลังงานสะท้อนราคาตลาดโลกอย่างแท้จริง และไม่มีการบิดเบือนด้านโครงสร้างราคา
ขณะที่ความเคลื่อนไหวราคาหุ้น PTT ในช่วงวานนี้ปิดการซื้อขายอยู่ที่ 348 บาท ปรับเพิ่มขึ้นไป 14 บาท หรือคิดเป็น 4.19% เมื่อเทียบกับราคาปิดก่อนหน้า นอกจากนี้ ราคาปิดที่ 348 บาท ยังถือเป็นราคาสูงสุดของวันและเป็นจุดนิวไฮในรอบ 14 เดือน และยังส่งผลให้มูลค่าหลักทรัพย์ตามราคาตลาด (มาร์เก็ตแคป) เพิ่มเป็น 9.93 แสนล้านบาท เท่ากับมาร์เก็ตแคปเพิ่มขึ้นภายในวันเดียวถึง 3.9 หมื่นล้านบาท เมื่อเทียบกับมาร์เก็ตแคปงวดวันที่ 8 ก.ย. ซึ่งอยู่ที่ระดับ 9.54 แสนล้านบาท
ลดขาดทุนปีละ3พันล้าน
ข่าวหน้าหนึ่ง วันพุธที่ 10 กันยายน 2557
ผู้เข้าชม : 5 คน
"ปตท." ลุ้นปรับโครงสร้างราคา NGV วงการเงินประเมิน เพิ่มราคาเอ็นจีวี 1 บาทต่อกิโลกรัม ลดขาดทุนปตท.กว่า 3,000 ล้านบาทต่อปี ราคาหุ้นวิ่งทะยานรับข่าวดี ทำนิวไฮรอบ 14 เดือน มาร์เก็ตแคปพุ่งวันเดียว 3.9 หมื่นล้านบาท
นักวิเคราะห์บริษัทหลักทรัพย์ ไอร่า จํากัด (มหาชน) ประเมินว่า หากภาครัฐมีการปรับราคา NGV เพิ่มขึ้นจะส่งผลให้บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) หรือ PTT มีภาระขาดทุนลดลง โดยปกติแล้วทาง PTT ต้องแบกรับขาดทุนจากธุรกิจของ NGV ตกปีละประมาณ 20,000 ล้านบาท
โดยในเบื้องต้นหากมีการปรับเพิ่มราคา NGV สูงขึ้นประมาณ 3 บาทต่อกิโลกรัม จะส่งผลให้ PTT มีผลขาดทุนลดลงประมาณ 10,000 ล้านบาทต่อปี แต่หากเพิ่มขึ้น 6 บาท จะส่งผลให้ PTT มีขาดทุนลดลง 20,000 ล้านบาทต่อปี ซึ่งเท่ากับทางปตท.จะไม่ต้องแบกรับผลขาดทุนจากธุรกิจ NGV ที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน
นอกจากนี้ ยังประเมินอีกว่า หากมีการปรับเพิ่มราคา NGV สูงขึ้น จะถือเป็นปัจจัยช่วยดึงดูดให้ PTT กลับมาขยายสถานีบริการ NGV อีกครั้ง หลังจากในปัจจุบันทางปตท.ไม่ได้ขยายสถานีบริการ เพราะจะทำให้รับภาระขาดทุนมากขึ้น ดังนั้น หากประเด็นปรับโครงสร้างราคา NGV และ LPG มีความชัดเจนออกมา ทางฝ่ายวิเคราะห์อาจจะมีการรีวิวหุ้น PTT ใหม่อีกครั้ง
สำหรับราคาหุ้น PTT ในช่วงวานนี้ (9 ก.ย.) ที่ได้รับแรงซื้อเข้ามาจนผลักดันราคาหุ้นปรับตัวเพิ่มขึ้น คาดว่า ทางนักลงทุนต่างชาติได้เข้ามาเก็บหุ้นพลังงาน หลังจากในช่วงที่ผ่านมา ราคาหุ้นกลุ่มพลังงานยังไม่มีการเคลื่อนไหวมากนัก ประกอบกับหุ้น PTT ยังมี P/E เพียงแค่ 9 เท่า
ขณะที่แหล่งข่าวจากวงการเงิน ประเมินว่า ราคาหุ้นของ PTT ที่ปรับตัวเพิ่มขึ้นแรงสวนภาวะตลาดหุ้นไทยในช่วงวานนี้ เป็นเพราะภาพรวมของตลาดมองเชิงบวกต่อกรณี คณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ได้เห็นชอบหลักการการปรับโครงสร้างราคา NGV และ LPG
โดยในเบื้องต้นประเมินว่า หากมีการปรับเพิ่มราคา NGV ขึ้นประมาณ 1 บาทต่อกิโลกรัม จะส่งผลให้ทาง PTT มีขาดทุนธุรกิจ NGV ลดลงประมาณกว่า 3,000 ล้านบาท ซึ่งหากปรับเพิ่มขึ้นประมาณ 3 บาทต่อกิโลกรัมจะช่วยให้บริษัทมีขาดทุนลดลงไปเกือบ 10,000 ล้านบาท
ดังนั้น ประเด็นเรื่องการปรับโครงสร้างราคา NGV และ LPG จึงถือเป็นเรื่องเชิงบวกของหุ้น PTT เพราะจะส่งผลบวกต่อทั้งตัวผลการดำเนินงานรายไตรมาสและภาพรวมทั้งปีจะมีทิศทางดีขึ้น เนื่องจากในแต่ละปีทางปตท.ต้องรับภาระขาดทุน NGV ปีละประมาณ 20,000 ล้านบาท หรือ เฉลี่ยออกมาตกไตรมาสละ 4,000-5,000 ล้านบาท
ด้านบริษัทหลักทรัพย์ ทรีนีตี้ จำกัด ประเมินว่า การปรับขึ้นราคา NGV และLPG เป็นไปตามที่ฝ่ายวิเคราะห์คาดไว้ เนื่องจากราคาปัจจุบันมีความเหลื่อมล้ำด้านโครงสร้างราคา และไม่สะท้อนราคาตลาดโลก ซึ่งมองว่า ถือเป็นจุดเริ่มต้นที่ดีในการปรับโครงสร้างพลังงานไทยเพื่อให้สะท้อนต้นทุนที่แท้จริง นอกจากนี้ ยังเป็นการลดภาระขาดทุนของกองทุนน้ำมันและเงินอุดหนุนจากน้ำมันเบนซินในระยะยาว
โดยมองว่า PTT จะไม่ได้รับผลกระทบ ในกรณี base case ที่กองทุนน้ำมันไม่ได้ bypass รายได้ส่วนเพิ่มไปยัง PTT เนื่องจากปัจจุบันกองทุนน้ำมันยังมีฐานะขาดทุน แต่ในกรณี Best case ที่รายได้ส่วนเพิ่มจากการปรับราคา bypass ทั้งหมดไปยัง PTT จะส่งผลให้กำไรสุทธิเพิ่มขึ้น ราว 4.4 พันล้านบาทต่อปี หรือคิดเป็น EPS 1.57 บาทต่อหุ้น
อีกทั้ง ส่งผลบวกต่อราคาเป้าหมายอีกประมาณ 10.34 บาทต่อหุ้น ภายใต้สมมติฐาน ปริมาณใช้ LPG ต่อ NGV 2.4 ล้านตัน และ 2 ล้านตันต่อปี และ WACC ที่ 12% ในระยะยาว คาดว่า PTT จะมีผลขาดทุน LPG และNGV ลดลง หากการปฏิรูปพลังงานสะท้อนราคาตลาดโลกอย่างแท้จริง และไม่มีการบิดเบือนด้านโครงสร้างราคา
ขณะที่ความเคลื่อนไหวราคาหุ้น PTT ในช่วงวานนี้ปิดการซื้อขายอยู่ที่ 348 บาท ปรับเพิ่มขึ้นไป 14 บาท หรือคิดเป็น 4.19% เมื่อเทียบกับราคาปิดก่อนหน้า นอกจากนี้ ราคาปิดที่ 348 บาท ยังถือเป็นราคาสูงสุดของวันและเป็นจุดนิวไฮในรอบ 14 เดือน และยังส่งผลให้มูลค่าหลักทรัพย์ตามราคาตลาด (มาร์เก็ตแคป) เพิ่มเป็น 9.93 แสนล้านบาท เท่ากับมาร์เก็ตแคปเพิ่มขึ้นภายในวันเดียวถึง 3.9 หมื่นล้านบาท เมื่อเทียบกับมาร์เก็ตแคปงวดวันที่ 8 ก.ย. ซึ่งอยู่ที่ระดับ 9.54 แสนล้านบาท
posted from Bloggeroid
BANPU โล่งอกศาลอุทธรณ์ยกฟ้องคดี ศิวะ งานทวี และพวกฟ้องร้อง แต่โจทก์มีสิทธิยื่นอุทธรณ์ต่อชั้นศาลฎีกาภายใน 1 เดือน โบรกฯแนะขายทำกำไร ชี้ราคาหุ้นวิ่งรับข่าวล่วงหน้าแล้ว ขณะราคาถ่านหินต่ำสุดรอบ 7 ปี
ข่าวหุ้น - กระบอกเสียงอิสระแห่งตลาดทุน:: BANPUรอดศาลยกฟ้อง
แต่ถ่านหินดิ่งถ่วงธุรกิจ
ข่าวหน้าหนึ่ง วันพุธที่ 10 กันยายน 2557
ผู้เข้าชม : 8 คน
BANPU โล่งอกศาลอุทธรณ์ยกฟ้องคดี ศิวะ งานทวี และพวกฟ้องร้อง แต่โจทก์มีสิทธิยื่นอุทธรณ์ต่อชั้นศาลฎีกาภายใน 1 เดือน โบรกฯแนะขายทำกำไร ชี้ราคาหุ้นวิ่งรับข่าวล่วงหน้าแล้ว ขณะราคาถ่านหินต่ำสุดรอบ 7 ปียังเป็นตัวถ่วงธุรกิจ
นางสมฤดี ชัยมงคล ผู้ช่วยประธานเจ้าหน้าที่บริหาร-การเงิน บริษัท บ้านปู จำกัด (มหาชน) หรือ BANPU เปิดเผยว่า จากกรณีเมื่อวันที่ 12 ธ.ค. 2555 ทาง BANPU ได้ยื่นอุทธรณ์คำพิพากษาของศาลแพ่งต่อศาลอุทธรณ์ ในคดีความแพ่งที่นายศิวะงานทวีและพวกเป็นโจทก์ฟ้องบริษัท บริษัทย่อยและผู้บริหารเป็นจำเลยโดยกล่าวหาว่าร่วมกันทำละเมิดนั้น
โดยล่าสุดในช่วงวานนี้ (9 ก.ย.) เมื่อเวลาประมาณ 10.30 น. ศาลแพ่งได้อ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ในคดีดังกล่าว โดยศาลอุทธรณ์มีคำพิพากษายกฟ้องของโจทก์โดยให้เหตุผลว่าบริษัทกระทำการโดยสุจริตทั้งก่อนและหลังการเข้าทำสัญญาร่วมพัฒนาโครงการ และบริษัทไม่ได้กระทำละเมิดต่อโจทก์แต่ฝ่ายโจทก์เป็นฝ่ายผิดสัญญา
ขณะที่รอยเตอร์ รายงานในช่วงวานนี้ว่า ศาลอุทธรณ์มีคำสั่งให้กลับคำพิพากษาของศาลแพ่ง โดย BANPU ไม่ต้องชำระค่าเสียหายให้กับกลุ่มงานทวี กรณีโครงการโรงไฟฟ้าหงสา ที่สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว
“ศาลจึงเห็นว่า คำร้องของโจทก์ (กลุ่มงานทวี) ฟังไม่ขึ้น ดังนั้นจึงไม่ จำเป็นต้องคืนข้อมูลเอกสารทั้ง 13 ฉบับ และไม่ต้องชดใช้ค่าเสียหายที่เกิดขึ้น" ผู้พิพากษาศาลแพ่งอ่านคำสั่งของศาลอุทธรณ์ดังกล่าวบนบัลลังก์ช่วงเช้าวานนี้
โดยในคำสั่งของศาลอุทธรณ์ตอนหนึ่ง ระบุว่า การใช้ข้อมูลเอกสารเป็นสิทธิของบ้านปูที่ทำได้เพื่อนำไปวิเคราะห์ ประเมินผลก่อนการตัดสินใจร่วมลงทุนในโครงการโรงไฟฟ้าหงสา ซึ่งเป็นโรงไฟฟ้าขนาดใหญ่ สำหรับค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้น ทั้งการสำรวจ การขุดเจาะ เอกสารต่างๆ เป็นภาระความรับผิดชอบร่วมกันอยู่แล้ว ไม่ใช่เป็นการผูกมัดว่าบ้านปูจะต้องรับภาระค่าใช้จ่ายดังกล่าว
ส่วนทนายความของกลุ่มงานทวี กล่าวกับผู้สื่อข่าวว่า หลังจากนี้จะหารือกับกลุ่มงานทวี ว่าจะยื่นอุทธรณ์คำสั่งของศาลไปยังศาลฎีกาหรือไม่ ซึ่งตามหลักการสามารถยื่นได้ภายใน 1 เดือนนับจากวันที่ศาลมีคำสั่ง
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ราคาถ่านหินในตลาดโลกล่าสุดเดือนนี้อยู่ที่ระดับ 67 เหรียญสหรัฐต่อตัน ซึ่งเป็นระดับต่ำที่สุดในรอบ 7 ปี ยังเป็นปัจจัยถ่วงสำหรับผู้ประกอบการธุรกิจถ่านหิน
ด้านนักวิเคราะห์ บริษัทหลักทรัพย์ เอเซีย พลัส จำกัด (มหาชน) ระบุว่า ศาลอุทธรณ์มีคำพิพากษาให้ BANPU ไม่ต้องชำระค่าความเสียหายให้กับกลุ่มงานทวีตามที่ศาลชั้นต้นตัดสินเมื่อวันที่ 20 ก.ย. 2555 ให้ BANPU ชดใช้ค่าความเสียหายตามคำพิพากษาของศาลแพ่งจำนวน 3.1 หมื่นล้านบาท ซึ่งคำตัดสินดังกล่าวถือว่าเป็นไปตามแนวโน้ม ราคาหุ้น BANPU ที่ปรับตัวขึ้นกว่า 15% ในช่วง 2-3 สัปดาห์ที่ผ่านมา
ทั้งนี้ หากเทียบกับคำตัดสินของศาลชั้นต้นในปี 2555 ขณะนั้นราคาหุ้นปรับตัวลดลงราว 20% ดังนั้น จึงคาดว่าจะเหลืออัพไซด์ไม่มากนัก เพราะฝ่ายวิจัยยังคงมูลค่าพื้นฐานที่ 32 บาทต่อหุ้น และคำแนะนำ“ถือ” ไว้เช่นเดิม เนื่องจากฝ่ายวิจัยไม่ได้ตั้งสำรองค่าความเสียหายไว้ในประมาณการอยู่แล้ว
โดยสรุปคำตัดสินดังกล่าวมีผลเป็นแค่ Sentiment เชิงบวกต่อราคาหุ้นเท่านั้น ไม่ได้มีผลต่อประมาณการ และราคาก็ได้ขึ้นตอบรับต่อข่าวดังกล่าวไปล่วงหน้ามากแล้ว ซึ่งเมื่อตลาดหลักทรัพย์ฯปลดเครื่องหมายพักการซื้อ (Halt หรือ H) ของ BANPU ออกและสามารถซื้อขายกันตามปกติได้เมื่อไหร่ อาจเกิดปฏิกิริยาSell on Fact ได้ และนักลงทุนพึงระมัดระวังในการลงทุน ทั้งนี้คาดกลุ่มงานทวีจะยื่นต่อศาลฎีกาเพื่อคัดค้านคำสั่งของศาลอุทธรณ์ต่อไป
ส่วนบริษัทหลักทรัพย์ ธนชาต จำกัด (มหาชน) ระบุว่า ศาลอุทธรณ์มีคำสั่งให้ BANPU ชนะคดี ไม่ต้องจ่ายค่าเสียหายในกรณีหงสา แต่ยังต้องระวังแรงขายลักษณะ Sell on Fact เนื่องจากคู่กรณีสามารถยื่นฟ้องฎีกาต่อ ซึ่งคาดว่าจะใช้ระยะเวลาตัดสินยาวหลายปี
นอกจากนี้ ถึงแม้ BANPU ชนะคดีนี้เป็นอัพไซด์ต่อเป้าหมายพื้นฐานประมาณ 5 บาท/หุ้น แต่ราคาถ่านหินที่อ่อนแอกว่าที่คาดการณ์ไว้เป็นดาวน์ไซด์ต่อประมาณการกำไร และเป้าหมายพื้นฐานปัจจุบันที่ 45 บาท อีกทั้ง ตลาดยังได้เก็งกำไรผลการตัดสินของศาลมาแล้วในช่วง 2 เดือนก่อนหน้า
ส่วนนักวิเคราะห์บริษัทหลักทรัพย์ กสิกรไทย จำกัด ประเมินว่า ได้มองเป็นบวกต่อราคาหุ้นของ BANPU ประมาณ 2-5 บาท ซึ่งประเมินจากวงเงินตั้งสำรองของบริษัท โดยฝ่ายวิเคราะห์ประเมินไว้ราว 2 บาท ขณะที่ตลาดประเมินไว้ 2-5 บาท อย่างไรก็ตาม ราคาหุ้นรับรู้ประเด็นดังกล่าวมาระดับหนึ่งแล้ว และอาศัยการฟื้นตัวเป็นการขายทำกำไร และต้องติดตามว่ากลุ่มงานทวีจะยื่นต่อศาลฎีกาเพื่อคัดค้านคำสั่งศาลอุทธรณ์ภายใน 1 เดือน หรือไม่ ซึ่งประเด็นนี้อาจกลับมาเพิ่มความกังวลต่อราคาหุ้นอีกครั้ง
ขณะที่ความเคลื่อนไหวหุ้น BANPU ในช่วงวานนี้ ทางตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยได้ประกาศปลด H เมื่อช่วงเวลา 13.22 น. หลังจากทาง BANPU แจ้งคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ออกมาเป็นทางการ อย่างไรก็ตาม ราคาหุ้น BANPU ในช่วงภาคบ่ายได้ทำราคาปรับตัวลดลงทันทีตั้งแต่เปิดตลาดที่ 33.75 บาท ต่ำกว่าราคาปิดก่อนหน้าที่ระดับ 34 บาท
โดยทำราคาสูงสุดของวันที่ 34 บาท ทำราคาต่ำสุดของวันที่ 32.25 บาท และทำราคาปิดที่ 32.25 บาท ปรับลดลง 1.75 บาท หรือคิดเป็น 5.15% มีมูลค่าการซื้อขายรวม 1,655 ล้านบาท อย่างไรก็ตาม ในช่วงวานนี้ถือเป็นวันแรกที่บริษัทถึงกำหนดขึ้นเครื่องหมาย XD จ่ายเงินปันผล 0.50 บาทต่อหุ้น
แต่ถ่านหินดิ่งถ่วงธุรกิจ
ข่าวหน้าหนึ่ง วันพุธที่ 10 กันยายน 2557
ผู้เข้าชม : 8 คน
BANPU โล่งอกศาลอุทธรณ์ยกฟ้องคดี ศิวะ งานทวี และพวกฟ้องร้อง แต่โจทก์มีสิทธิยื่นอุทธรณ์ต่อชั้นศาลฎีกาภายใน 1 เดือน โบรกฯแนะขายทำกำไร ชี้ราคาหุ้นวิ่งรับข่าวล่วงหน้าแล้ว ขณะราคาถ่านหินต่ำสุดรอบ 7 ปียังเป็นตัวถ่วงธุรกิจ
นางสมฤดี ชัยมงคล ผู้ช่วยประธานเจ้าหน้าที่บริหาร-การเงิน บริษัท บ้านปู จำกัด (มหาชน) หรือ BANPU เปิดเผยว่า จากกรณีเมื่อวันที่ 12 ธ.ค. 2555 ทาง BANPU ได้ยื่นอุทธรณ์คำพิพากษาของศาลแพ่งต่อศาลอุทธรณ์ ในคดีความแพ่งที่นายศิวะงานทวีและพวกเป็นโจทก์ฟ้องบริษัท บริษัทย่อยและผู้บริหารเป็นจำเลยโดยกล่าวหาว่าร่วมกันทำละเมิดนั้น
โดยล่าสุดในช่วงวานนี้ (9 ก.ย.) เมื่อเวลาประมาณ 10.30 น. ศาลแพ่งได้อ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ในคดีดังกล่าว โดยศาลอุทธรณ์มีคำพิพากษายกฟ้องของโจทก์โดยให้เหตุผลว่าบริษัทกระทำการโดยสุจริตทั้งก่อนและหลังการเข้าทำสัญญาร่วมพัฒนาโครงการ และบริษัทไม่ได้กระทำละเมิดต่อโจทก์แต่ฝ่ายโจทก์เป็นฝ่ายผิดสัญญา
ขณะที่รอยเตอร์ รายงานในช่วงวานนี้ว่า ศาลอุทธรณ์มีคำสั่งให้กลับคำพิพากษาของศาลแพ่ง โดย BANPU ไม่ต้องชำระค่าเสียหายให้กับกลุ่มงานทวี กรณีโครงการโรงไฟฟ้าหงสา ที่สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว
“ศาลจึงเห็นว่า คำร้องของโจทก์ (กลุ่มงานทวี) ฟังไม่ขึ้น ดังนั้นจึงไม่ จำเป็นต้องคืนข้อมูลเอกสารทั้ง 13 ฉบับ และไม่ต้องชดใช้ค่าเสียหายที่เกิดขึ้น" ผู้พิพากษาศาลแพ่งอ่านคำสั่งของศาลอุทธรณ์ดังกล่าวบนบัลลังก์ช่วงเช้าวานนี้
โดยในคำสั่งของศาลอุทธรณ์ตอนหนึ่ง ระบุว่า การใช้ข้อมูลเอกสารเป็นสิทธิของบ้านปูที่ทำได้เพื่อนำไปวิเคราะห์ ประเมินผลก่อนการตัดสินใจร่วมลงทุนในโครงการโรงไฟฟ้าหงสา ซึ่งเป็นโรงไฟฟ้าขนาดใหญ่ สำหรับค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้น ทั้งการสำรวจ การขุดเจาะ เอกสารต่างๆ เป็นภาระความรับผิดชอบร่วมกันอยู่แล้ว ไม่ใช่เป็นการผูกมัดว่าบ้านปูจะต้องรับภาระค่าใช้จ่ายดังกล่าว
ส่วนทนายความของกลุ่มงานทวี กล่าวกับผู้สื่อข่าวว่า หลังจากนี้จะหารือกับกลุ่มงานทวี ว่าจะยื่นอุทธรณ์คำสั่งของศาลไปยังศาลฎีกาหรือไม่ ซึ่งตามหลักการสามารถยื่นได้ภายใน 1 เดือนนับจากวันที่ศาลมีคำสั่ง
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ราคาถ่านหินในตลาดโลกล่าสุดเดือนนี้อยู่ที่ระดับ 67 เหรียญสหรัฐต่อตัน ซึ่งเป็นระดับต่ำที่สุดในรอบ 7 ปี ยังเป็นปัจจัยถ่วงสำหรับผู้ประกอบการธุรกิจถ่านหิน
ด้านนักวิเคราะห์ บริษัทหลักทรัพย์ เอเซีย พลัส จำกัด (มหาชน) ระบุว่า ศาลอุทธรณ์มีคำพิพากษาให้ BANPU ไม่ต้องชำระค่าความเสียหายให้กับกลุ่มงานทวีตามที่ศาลชั้นต้นตัดสินเมื่อวันที่ 20 ก.ย. 2555 ให้ BANPU ชดใช้ค่าความเสียหายตามคำพิพากษาของศาลแพ่งจำนวน 3.1 หมื่นล้านบาท ซึ่งคำตัดสินดังกล่าวถือว่าเป็นไปตามแนวโน้ม ราคาหุ้น BANPU ที่ปรับตัวขึ้นกว่า 15% ในช่วง 2-3 สัปดาห์ที่ผ่านมา
ทั้งนี้ หากเทียบกับคำตัดสินของศาลชั้นต้นในปี 2555 ขณะนั้นราคาหุ้นปรับตัวลดลงราว 20% ดังนั้น จึงคาดว่าจะเหลืออัพไซด์ไม่มากนัก เพราะฝ่ายวิจัยยังคงมูลค่าพื้นฐานที่ 32 บาทต่อหุ้น และคำแนะนำ“ถือ” ไว้เช่นเดิม เนื่องจากฝ่ายวิจัยไม่ได้ตั้งสำรองค่าความเสียหายไว้ในประมาณการอยู่แล้ว
โดยสรุปคำตัดสินดังกล่าวมีผลเป็นแค่ Sentiment เชิงบวกต่อราคาหุ้นเท่านั้น ไม่ได้มีผลต่อประมาณการ และราคาก็ได้ขึ้นตอบรับต่อข่าวดังกล่าวไปล่วงหน้ามากแล้ว ซึ่งเมื่อตลาดหลักทรัพย์ฯปลดเครื่องหมายพักการซื้อ (Halt หรือ H) ของ BANPU ออกและสามารถซื้อขายกันตามปกติได้เมื่อไหร่ อาจเกิดปฏิกิริยาSell on Fact ได้ และนักลงทุนพึงระมัดระวังในการลงทุน ทั้งนี้คาดกลุ่มงานทวีจะยื่นต่อศาลฎีกาเพื่อคัดค้านคำสั่งของศาลอุทธรณ์ต่อไป
ส่วนบริษัทหลักทรัพย์ ธนชาต จำกัด (มหาชน) ระบุว่า ศาลอุทธรณ์มีคำสั่งให้ BANPU ชนะคดี ไม่ต้องจ่ายค่าเสียหายในกรณีหงสา แต่ยังต้องระวังแรงขายลักษณะ Sell on Fact เนื่องจากคู่กรณีสามารถยื่นฟ้องฎีกาต่อ ซึ่งคาดว่าจะใช้ระยะเวลาตัดสินยาวหลายปี
นอกจากนี้ ถึงแม้ BANPU ชนะคดีนี้เป็นอัพไซด์ต่อเป้าหมายพื้นฐานประมาณ 5 บาท/หุ้น แต่ราคาถ่านหินที่อ่อนแอกว่าที่คาดการณ์ไว้เป็นดาวน์ไซด์ต่อประมาณการกำไร และเป้าหมายพื้นฐานปัจจุบันที่ 45 บาท อีกทั้ง ตลาดยังได้เก็งกำไรผลการตัดสินของศาลมาแล้วในช่วง 2 เดือนก่อนหน้า
ส่วนนักวิเคราะห์บริษัทหลักทรัพย์ กสิกรไทย จำกัด ประเมินว่า ได้มองเป็นบวกต่อราคาหุ้นของ BANPU ประมาณ 2-5 บาท ซึ่งประเมินจากวงเงินตั้งสำรองของบริษัท โดยฝ่ายวิเคราะห์ประเมินไว้ราว 2 บาท ขณะที่ตลาดประเมินไว้ 2-5 บาท อย่างไรก็ตาม ราคาหุ้นรับรู้ประเด็นดังกล่าวมาระดับหนึ่งแล้ว และอาศัยการฟื้นตัวเป็นการขายทำกำไร และต้องติดตามว่ากลุ่มงานทวีจะยื่นต่อศาลฎีกาเพื่อคัดค้านคำสั่งศาลอุทธรณ์ภายใน 1 เดือน หรือไม่ ซึ่งประเด็นนี้อาจกลับมาเพิ่มความกังวลต่อราคาหุ้นอีกครั้ง
ขณะที่ความเคลื่อนไหวหุ้น BANPU ในช่วงวานนี้ ทางตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยได้ประกาศปลด H เมื่อช่วงเวลา 13.22 น. หลังจากทาง BANPU แจ้งคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ออกมาเป็นทางการ อย่างไรก็ตาม ราคาหุ้น BANPU ในช่วงภาคบ่ายได้ทำราคาปรับตัวลดลงทันทีตั้งแต่เปิดตลาดที่ 33.75 บาท ต่ำกว่าราคาปิดก่อนหน้าที่ระดับ 34 บาท
โดยทำราคาสูงสุดของวันที่ 34 บาท ทำราคาต่ำสุดของวันที่ 32.25 บาท และทำราคาปิดที่ 32.25 บาท ปรับลดลง 1.75 บาท หรือคิดเป็น 5.15% มีมูลค่าการซื้อขายรวม 1,655 ล้านบาท อย่างไรก็ตาม ในช่วงวานนี้ถือเป็นวันแรกที่บริษัทถึงกำหนดขึ้นเครื่องหมาย XD จ่ายเงินปันผล 0.50 บาทต่อหุ้น
posted from Bloggeroid
"TOG" เพิ่มเป้ารายได้ปีนี้เป็น 1,900 ล้านบาท หรือโต 17% จากเป้าเดิมคาดโต 9% หลังอัตราแลกเปลี่ยนค่าเงินบาทอ่อนค่าลง การขายโปรดักต์มีมาร์จิ้นสูง ออเดอร์เพิ่มขึ้น ฟุ้งปี 2562 มีรายได้ 2,500 ล้านบาท เดินหน้าขยายตลาดเพิ่ม
ข่าวหุ้น - กระบอกเสียงอิสระแห่งตลาดทุน:: TOGเพิ่มเป้าปีนี้
รายได้โต17%
ออเดอร์ทะลัก
ข่าวหน้าหนึ่ง วันพุธที่ 10 กันยายน 2557
ผู้เข้าชม : 0 คน
"TOG" เพิ่มเป้ารายได้ปีนี้เป็น 1,900 ล้านบาท หรือโต 17% จากเป้าเดิมคาดโต 9% หลังอัตราแลกเปลี่ยนค่าเงินบาทอ่อนค่าลง การขายโปรดักต์มีมาร์จิ้นสูง ออเดอร์เพิ่มขึ้น ฟุ้งปี 2562 มีรายได้ 2,500 ล้านบาท เดินหน้าขยายตลาดเพิ่ม
นายวิรัช ประจักษ์ธรรม กรรมการผู้จัดการ บริษัท ไทยออพติคอล กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) หรือ TOG กล่าวว่า บริษัทมีการปรับเป้าหมายรายได้ปีนี้เพิ่มขึ้นเป็นประมาณ 1,900 ล้านบาท หรือเติบโตประมาณ 17% เมื่อเทียบกับปีก่อน จากเป้าหมายเดิมที่ตั้งไว้เติบโตประมาณ 9% หรือประมาณ 1,800 ล้านบาท เนื่องจากอัตราแลกเปลี่ยนค่าเงินบาทที่อ่อนค่าลง ภายใต้ประมาณการอัตราแลกเปลี่ยนที่ระดับ 31 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ จากเดิมที่ประมาณการไว้ที่ระดับ 30 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ และการขายโปรดักต์ที่มีมาร์จิ้นสูง รวมถึงมีคำสั่งซื้อ (ออเดอร์) เข้ามาเพิ่มขึ้น
“แนวโน้มผลการดำเนินงานในช่วงครึ่งปีครึ่งหลังน่าจะที่ใกล้เคียงกับช่วงครึ่งปีแรกที่มีรายได้กว่า900ล้านบาท ซึ่งอัตราแลกเปลี่ยนมีสกุลเงินดอลลาร์สหรัฐ 80% สกุลเงินยูโร 10% ที่เหลือเป็นสกุลเงินอื่นๆ โดยปัจจุบันบริษัทมีสัดส่วนการส่งออกถึง 95% ส่วนอีก 5% เป็นตลาดในประเทศไทย ทั้งนี้ในอนาคต 3-5 ปีข้างหน้า สัดส่วนการส่งออกจะปรับเป็น 94% ตลาดในประเทศก็จะปรับเพิ่มขึ้นเป็น 6% เนื่องจากบริษัทมีแผนทำการตลาดในประเทศไทยมากขึ้น”
สำหรับปีหน้า (ปี 2558) ตั้งเป้ารายได้ไว้มากกว่า 2,000 ล้านบาท หรือเติบโตประมาณ 15% และในปี 2562 จะมีรายได้ประมาณ 2,500 ล้านบาท โดยจะมีการเติบโตเฉลี่ยประมาณ 6% ต่อปี ซึ่งในปี 2562 จะมีสัดส่วนยอดขายจากตลาดยุโรป 43% ออสเตรเลียและนิวซีแลนด์ 28% เอเชีย 20% และ อเมริกา 9% จากปีนี้ที่จะมีสัดส่วนจากตลาดยุโรป 47% ออสเตรเลียและนิวซีแลนด์ 30% เอเชีย 15% และ อเมริกา 8%
ด้านงบลงทุน บริษัทตั้งไว้ปีละประมาณ 100 ล้านบาท โดยใช้ซื้อเครื่องจักรมาเสริมกำลังการผลิต รวมถึงเพิ่มเครื่องจักรในห้องแล็บ เป็นต้น แต่สำหรับปีนี้ ตั้งแต่ช่วงต้นปีใช้งบลงทุนไปแล้วประมาณ 50 ล้านบาท ซึ่งงบลงทุนทั้งปีสำหรับปีนี้คาดว่าจะไม่เกิน 100 ล้านบาท เนื่องจากยังไม่มีแผนลงทุนใหญ่ที่จะต้องใช้เงินจำนวนมาก
ส่วนธุรกิจห้องแล็บ ตอนนี้มี 3 แห่ง คือที่ประเทศสิงคโปร์ มาเลเซีย และเวียดนาม โดยที่ประเทศสิงคโปร์ และมาเลเซีย เปิดดำเนินการมาแล้ว 2-3 ปี ซึ่งดำเนินการร่วมกันพาร์ตเนอร์ต่างประเทศ ขณะนี้มีผลการดำเนินงานที่เป็นบวกแล้ว แต่สำหรับประเทศเวียดนาม ตอนนี้ผลการดำเนินงานยังติดลบ แต่ก็มีแนวโน้มที่ดีขึ้น จึงคาดว่าจะถึงจุดคุ้มทุนในปีหน้า
“ตลาดในเวียดนามเป็นตลาดที่พร้อมจะมีการเติบโตในอนาคต และมีลักษณะที่คล้ายกับประเทศไทยในอดีต นอกจากนี้ บริษัทก็ยังมีการหาลูกค้ารายใหม่ๆ ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างเจรจากับลูกค้าเยอรมัน 1 ราย นอกจากนี้ในเดือนนี้จะมีการเดินทางไปเจรจากับลูกค้าฝรั่งเศสด้วย”
ทั้งนี้ ในปีนี้บริษัทมีกำลังการผลิตเพิ่มขึ้นประมาณ 30% โดยไม่ต้องลงทุนเพิ่ม แต่มาจากการลดต้นทุนการผลิต ซึ่งสามารถลดต้นทุนการผลิตเลนส์จากห้องแล็บ ประมาณ 5% และลดต้นทุนการผลิตเลนส์มาตรฐาน ประมาณ 3-5% ขณะเดียวกันบริษัทยังคาดว่ากำไรสุทธิปีนี้จะสูงขึ้นเป็นประวัติการณ์ เนื่องจากบริษัทได้ปรับปรุงประสิทธิภาพการผลิตอย่างต่อเนื่องเพื่อลดต้นทุน ส่งผลให้อัตรากำไรสุทธิเพิ่มสูงขึ้นมาอยู่ที่ 11-12% จากปีก่อนประมาณ 9%
อย่างไรก็ตาม ด้วยมูลค่าตลาดทั่วโลกมีประชากร 7,200 ล้านคน มีความจำเป็นต้องใช้แว่นตาประมาณ 60% คิดเป็นประมาณ 4,300ล้านคน มีการเติบโตประมาณ 2% ซึ่งมีผู้สวมใส่แว่นในปัจจุบันแค่ 1,800 ล้านคน คิดเป็น 25% มีการเติบโตเฉลี่ยประมาณ 3% ส่วนที่เหลือ 2,500 ล้านคน ต้องการแก้ไขปัญหาทางสายตา หรือคิดเป็นสัดส่วน 35% ดังนั้นธุรกิจยังมีโอกาสเติบโตได้อย่างต่อเนื่อง
รายได้โต17%
ออเดอร์ทะลัก
ข่าวหน้าหนึ่ง วันพุธที่ 10 กันยายน 2557
ผู้เข้าชม : 0 คน
"TOG" เพิ่มเป้ารายได้ปีนี้เป็น 1,900 ล้านบาท หรือโต 17% จากเป้าเดิมคาดโต 9% หลังอัตราแลกเปลี่ยนค่าเงินบาทอ่อนค่าลง การขายโปรดักต์มีมาร์จิ้นสูง ออเดอร์เพิ่มขึ้น ฟุ้งปี 2562 มีรายได้ 2,500 ล้านบาท เดินหน้าขยายตลาดเพิ่ม
นายวิรัช ประจักษ์ธรรม กรรมการผู้จัดการ บริษัท ไทยออพติคอล กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) หรือ TOG กล่าวว่า บริษัทมีการปรับเป้าหมายรายได้ปีนี้เพิ่มขึ้นเป็นประมาณ 1,900 ล้านบาท หรือเติบโตประมาณ 17% เมื่อเทียบกับปีก่อน จากเป้าหมายเดิมที่ตั้งไว้เติบโตประมาณ 9% หรือประมาณ 1,800 ล้านบาท เนื่องจากอัตราแลกเปลี่ยนค่าเงินบาทที่อ่อนค่าลง ภายใต้ประมาณการอัตราแลกเปลี่ยนที่ระดับ 31 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ จากเดิมที่ประมาณการไว้ที่ระดับ 30 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ และการขายโปรดักต์ที่มีมาร์จิ้นสูง รวมถึงมีคำสั่งซื้อ (ออเดอร์) เข้ามาเพิ่มขึ้น
“แนวโน้มผลการดำเนินงานในช่วงครึ่งปีครึ่งหลังน่าจะที่ใกล้เคียงกับช่วงครึ่งปีแรกที่มีรายได้กว่า900ล้านบาท ซึ่งอัตราแลกเปลี่ยนมีสกุลเงินดอลลาร์สหรัฐ 80% สกุลเงินยูโร 10% ที่เหลือเป็นสกุลเงินอื่นๆ โดยปัจจุบันบริษัทมีสัดส่วนการส่งออกถึง 95% ส่วนอีก 5% เป็นตลาดในประเทศไทย ทั้งนี้ในอนาคต 3-5 ปีข้างหน้า สัดส่วนการส่งออกจะปรับเป็น 94% ตลาดในประเทศก็จะปรับเพิ่มขึ้นเป็น 6% เนื่องจากบริษัทมีแผนทำการตลาดในประเทศไทยมากขึ้น”
สำหรับปีหน้า (ปี 2558) ตั้งเป้ารายได้ไว้มากกว่า 2,000 ล้านบาท หรือเติบโตประมาณ 15% และในปี 2562 จะมีรายได้ประมาณ 2,500 ล้านบาท โดยจะมีการเติบโตเฉลี่ยประมาณ 6% ต่อปี ซึ่งในปี 2562 จะมีสัดส่วนยอดขายจากตลาดยุโรป 43% ออสเตรเลียและนิวซีแลนด์ 28% เอเชีย 20% และ อเมริกา 9% จากปีนี้ที่จะมีสัดส่วนจากตลาดยุโรป 47% ออสเตรเลียและนิวซีแลนด์ 30% เอเชีย 15% และ อเมริกา 8%
ด้านงบลงทุน บริษัทตั้งไว้ปีละประมาณ 100 ล้านบาท โดยใช้ซื้อเครื่องจักรมาเสริมกำลังการผลิต รวมถึงเพิ่มเครื่องจักรในห้องแล็บ เป็นต้น แต่สำหรับปีนี้ ตั้งแต่ช่วงต้นปีใช้งบลงทุนไปแล้วประมาณ 50 ล้านบาท ซึ่งงบลงทุนทั้งปีสำหรับปีนี้คาดว่าจะไม่เกิน 100 ล้านบาท เนื่องจากยังไม่มีแผนลงทุนใหญ่ที่จะต้องใช้เงินจำนวนมาก
ส่วนธุรกิจห้องแล็บ ตอนนี้มี 3 แห่ง คือที่ประเทศสิงคโปร์ มาเลเซีย และเวียดนาม โดยที่ประเทศสิงคโปร์ และมาเลเซีย เปิดดำเนินการมาแล้ว 2-3 ปี ซึ่งดำเนินการร่วมกันพาร์ตเนอร์ต่างประเทศ ขณะนี้มีผลการดำเนินงานที่เป็นบวกแล้ว แต่สำหรับประเทศเวียดนาม ตอนนี้ผลการดำเนินงานยังติดลบ แต่ก็มีแนวโน้มที่ดีขึ้น จึงคาดว่าจะถึงจุดคุ้มทุนในปีหน้า
“ตลาดในเวียดนามเป็นตลาดที่พร้อมจะมีการเติบโตในอนาคต และมีลักษณะที่คล้ายกับประเทศไทยในอดีต นอกจากนี้ บริษัทก็ยังมีการหาลูกค้ารายใหม่ๆ ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างเจรจากับลูกค้าเยอรมัน 1 ราย นอกจากนี้ในเดือนนี้จะมีการเดินทางไปเจรจากับลูกค้าฝรั่งเศสด้วย”
ทั้งนี้ ในปีนี้บริษัทมีกำลังการผลิตเพิ่มขึ้นประมาณ 30% โดยไม่ต้องลงทุนเพิ่ม แต่มาจากการลดต้นทุนการผลิต ซึ่งสามารถลดต้นทุนการผลิตเลนส์จากห้องแล็บ ประมาณ 5% และลดต้นทุนการผลิตเลนส์มาตรฐาน ประมาณ 3-5% ขณะเดียวกันบริษัทยังคาดว่ากำไรสุทธิปีนี้จะสูงขึ้นเป็นประวัติการณ์ เนื่องจากบริษัทได้ปรับปรุงประสิทธิภาพการผลิตอย่างต่อเนื่องเพื่อลดต้นทุน ส่งผลให้อัตรากำไรสุทธิเพิ่มสูงขึ้นมาอยู่ที่ 11-12% จากปีก่อนประมาณ 9%
อย่างไรก็ตาม ด้วยมูลค่าตลาดทั่วโลกมีประชากร 7,200 ล้านคน มีความจำเป็นต้องใช้แว่นตาประมาณ 60% คิดเป็นประมาณ 4,300ล้านคน มีการเติบโตประมาณ 2% ซึ่งมีผู้สวมใส่แว่นในปัจจุบันแค่ 1,800 ล้านคน คิดเป็น 25% มีการเติบโตเฉลี่ยประมาณ 3% ส่วนที่เหลือ 2,500 ล้านคน ต้องการแก้ไขปัญหาทางสายตา หรือคิดเป็นสัดส่วน 35% ดังนั้นธุรกิจยังมีโอกาสเติบโตได้อย่างต่อเนื่อง
posted from Bloggeroid
JAS ยิ้มศาลสั่งยกคำขอคุ้มครองชั่วคราวของ TT&T ชี้เห็นว่าก.ล.ต.ยังไม่อนุมัติตั้งกองทุน IFF ทำให้ไม่มีเหตุน่าเชื่อว่าจะนำเอาหุ้นของ ACU ซึ่งถืออยู่ใน TTT BB จดทะเบียนจำนำกับกองทุนฯ ลุ้นต่อก.ล.ต.จะอนุมัติตั้งกองทุนฯหรือไม่ ราคาหุ้นพุ่ง 8% วอลุ่มเทรดสนั่น 5,939.15 ล้านบาท
ลุ้นก.ล.ต.อนุมัติตั้ง IFF เทรดสนั่น 5 พันล้าน
ข่าวหน้าหนึ่ง วันพุธที่ 10 กันยายน 2557
ผู้เข้าชม : 9 คน
JAS ยิ้มศาลสั่งยกคำขอคุ้มครองชั่วคราวของ TT&T ชี้เห็นว่าก.ล.ต.ยังไม่อนุมัติตั้งกองทุน IFF ทำให้ไม่มีเหตุน่าเชื่อว่าจะนำเอาหุ้นของ ACU ซึ่งถืออยู่ใน TTT BB จดทะเบียนจำนำกับกองทุนฯ ลุ้นต่อก.ล.ต.จะอนุมัติตั้งกองทุนฯหรือไม่ ราคาหุ้นพุ่ง 8% วอลุ่มเทรดสนั่น 5,939.15 ล้านบาท
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เมื่อเวลา 13.30 น. วันที่ 9 ก.ย. 2557 ที่ผ่านมา ศาลจังหวัดนนทบุรีนัดฟังคำสั่งในคำร้องขอคุ้มครองชั่วคราว พ.882/2557 ลงวันที่ 17 มิ.ย. 2557 กรณี บริษัท ทีทีแอนด์ที จำกัด (มหาชน) หรือ TT&T ได้ยื่นคำร้องขอคุ้มครองชั่วคราวต่อศาลเพื่อขอให้ศาลมีคำสั่งห้ามไม่ให้บริษัท อคิวเมนท์ จำกัด หรือ ACU ซึ่งบริษัท จัสมิน อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด (มหาชน) หรือ JAS ถือหุ้น 100% ทำการจำหน่าย จ่าย โอน จำนำ หรือก่อให้เกิดภาระผูกพันใดๆ ในหุ้นที่ ACU ถืออยู่ใน ทริปเปิลที บรอดแบนด์ จำนวน 867,994,799 หุ้น และให้นำใบหุ้นจำนวนดังกล่าวมาวางไว้ต่อศาลระหว่างพิจารณาคดี และจนกว่าศาลจะมีคำพิพากษาถึงที่สุดและห้ามไม่ให้ ACU ลงมติใดๆ เกี่ยวกับการจำหน่าย จ่าย โอน หรือก่อให้เกิดภาระผูกพันในทรัพย์สินของบริษัท ทริปเปิลที บรอดแบนด์ จำกัด (มหาชน) หรือ TTT BB
โดยทางฝ่ายโจทก์ได้ส่งทนายเข้าร่วมรับฟังคำสั่งศาลในครั้งนี้ ขณะที่ทางฝ่ายจำเลยไม่ได้ส่งทนายเข้ามารับฟังคำสั่งดังกล่าว แต่ได้ส่งนายวัชระ สง่าศิลป์ ตัวแทนจากบริษัท วีระวงค์, ชินวัฒน์ และเพียงพนอ จำกัด ที่ปรึกษากฎหมายของบริษัท จัสมิน อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด (มหาชน) หรือ JAS เข้ามารับฟังคำสั่งของศาลแทน นอกจากนี้ยังมีนักลงทุนจำนวนประมาณ 20 คนเข้าร่วมรับฟังคำสั่งดังกล่าว
นายธนา พิทยะเวสด์สุนทร ผู้พิพากษานั่งบัลลังก์อ่านคำสั่งว่า ศาลมีคำสั่งยกคำร้องขอคุ้มครองชั่วคราวของ TT&T เนื่องจากการทำนิติกรรม การขายทรัพย์สิน การเช่าทรัพย์สิน การจำนำหุ้น จะต้องมีการอนุมัติคำขอจากสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดทรัพย์ (ก.ล.ต.) เสียก่อนในเบื้องต้น ซึ่งในการพิจารณาของ ก.ล.ต.ก็ไม่ปรากฏว่าจะมีการพิจารณานานเท่าใด แล้วเสร็จเมื่อใด และก็ยังไม่เป็นการแน่นอนว่า ก.ล.ต.จะอนุมัติคำขอให้มีการจัดตั้งกองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐาน (Infrastructure Fund) สำหรับธุรกิจบรอดแบนด์อินเตอร์เน็ตหรือไม่
ดังนั้นการนำเอาหุ้นของ ACU ซึ่งถืออยู่ใน TTT BB จดทะเบียนจำนำกับกองทุนรวมฯ ย่อยยังไม่อาจเกิดขึ้น หรือมีขึ้นได้ทันทีทันใด หรือภายในระยะเวลาอันใกล้ ประกอบกับตัวแทนฝ่ายจำเลยได้เบิกความยืนยันว่าในส่วนของการนำหุ้นของ ACU ซึ่งถืออยู่ใน TTT BB จดทะเบียนจำนำกับกองทุนรวมฯ นั้น เงื่อนไขดังกล่าวยังอยู่ในระหว่างตกลงเจรจา ซึ่งคาดว่าอาจมีการเปลี่ยนแปลงเงื่อนไขดังกล่าว ด้วยการยกเว้นในการนำหุ้นของ ACU ซึ่งถืออยู่ใน TTT BB จดทะเบียนจำนำกับกองทุนรวมฯ
ทำให้ไม่มีเหตุน่าเชื่อว่าจะนำเอาหุ้นของ ACU ซึ่งถืออยู่ใน TTT BB จดทะเบียนจำนำกับกองทุนรวมฯ อันจะก่อให้เกิดความเสียหายต่อ TT&T เมื่อ TT&T ชนะคดีตามคำพิพากษา จึงไม่มีเหตุผลสมควรให้มีคำสั่งห้ามไม่ให้ ACU ทำการจำหน่าย จ่าย โอน จำนำ หรือก่อให้เกิดภาระผูกพันใดๆ ในหุ้นที่ ACU ถืออยู่ใน ทริปเปิลที บรอดแบนด์ เพื่อคุ้มครองประโยชน์ในระหว่างพิจารณาคดีที่ TT&T ยื่นฟ้อง ACU ให้ขายหุ้น 70% ใน TTTBB ให้ผู้ถือหุ้น TT&T
นายวัชระ สง่าศิลป์ ตัวแทนจากบริษัท วีระวงค์, ชินวัฒน์ และเพียงพะนอ จำกัด ที่ปรึกษากฎหมายของ JAS กล่าวว่า ศาลมีคำสั่งยกคำร้องคุ้มครองชั่วคราวของ TT&T เนื่องจากเหตุในการอนุมัติจัดตั้งกองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐาน ยังไม่เกิดแต่อย่างใด ดังนั้นจึงยังไม่มีเหตุให้เชื่อว่าจะนำสินทรัพย์ไปทำการจำหน่าย จ่าย โอน จำนำ หรือก่อให้เกิดภาระผูกพันใดๆ ในหุ้นที่ ACU ถืออยู่ใน TTT BB ทั้งนี้จะนำคำสั่งยกคำร้องขอคุ้มครองดังกล่าวไปปรึกษากับทางบริษัทต่อไป
ด้านทนายจาก TT&T กล่าวว่า ศาลได้พิจาณายกคำร้องขอคุ้มครอง เนื่องจากกองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐานยังไม่ได้รับการอนุมัติจัดตั้ง เหตุการณ์จึงยังไม่เป็นที่แน่นอนว่าจะเกิดขึ้นหรือยังไม่เกิดขึ้นในทันที หรือในระยะเวลาอันใกล้ดังนั้นยังไม่เป็นเหตุให้ต้องคุ้มครอง
“ศาลสั่งยกคำร้องคุ้มครองชั่วคราว เนื่องจากยังไม่มีการอนุมัติตั้งกองทุนรวมฯ จาก ก.ล.ต. ซึ่งระยะเวลาไกลเกินไป ทำให้ไม่มีเหตุต้องคุ้มครองประโยชน์ แต่ถ้ามีเหตุที่ ก.ล.ต.จะอนุมัติตั้งกองทุนรวมฯ ใกล้ขึ้นมา เราก็ขอคุ้มครองชั่วคราวได้อีก ขึ้นอยู่กับผู้บริหารจะยื่นขอคุ้มครองชั่วคราวหรือไม่ ส่วนคดีที่ TT&T ยื่นฟ้อง ACU ให้ ACU ขายหุ้น 70% ใน บริษัท TTT BB ให้ผู้ถือหุ้น TT&T นั้นศาลนัดสืบพยานในเดือน มี.ค. 2558” ทนายจาก TT&T กล่าว
นางสาวมินทรา รัตยาภาส รองผู้อำนวยการฝ่ายวิเคราะห์หลักทรัพย์ บริษัทหลักทรัพย์ เคเคเทรด จำกัด กล่าวว่า ศาลสั่งไม่คุ้มครองชั่วคราว ทาง JAS ก็สามารถดำเนินการในการจัดตั้งกองทุนฯ ได้ อย่างไรก็ตามขึ้นอยู่กับคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) จะพิจารณา เนื่องจากยังคงมีความเสี่ยงในสินทรัพย์ที่ขายเข้ากองทุนฯ อยู่ ขณะเดียวกันมองว่าแม้จะ ก.ล.ต.จะอนุมัติให้จัดตั้งกองทุนโครงสร้างพื้นฐานก็จะมีปัญหาในช่วงที่ไปโรดโชว์ ซึ่ง JAS จะสามารถตอบคำถามของนักลงทุนที่ยังมีความกังวลกับคดีนี้ได้หรือไม่ ทำให้มองว่าอาจจะมีดีมานด์ไม่มากนัก
อย่างไรก็ตาม แม้ศาลจะมีคำสั่งคุ้มครองชั่วคราวหรือไม่คุ้มครองชั่วคราวในวันนี้ แต่ศาลยังมีการพิจารณาคดีที่ TT&T ยื่นฟ้อง ACU ต่อไป โดยประเมินผลกระทบกรณี TT&T ยื่นฟ้องร้อง เป็น 2 กรณี คือ 1.ผู้ถือหุ้น TT&T ได้สิทธิถือหุ้นใน TTT BB ราว 70 ล้านหุ้น หรือ 70% ของทุนจดทะเบียน 110 ล้านบาท ก่อนการเพิ่มทุนปี 2552 ทำให้ ACU จะถือหุ้นลดลงเหลือ 93.6% จากปัจจุบันถือหุ้น 99.2% ใน TTT BB รวมทั้งส่งผลกระทบต่อการดำเนินงานของ JAS โดยทำให้กำไรสุทธิลดลง 10% ตามสัดส่วนถือหุ้นที่ลดลง และกระทบมูลค่าเหมาะสม 1.00 บาท
และ 2.ผู้ถือหุ้น TT&T ได้สิทธิถือหุ้นใน TTT BB ราว 870 ล้านหุ้น หรือ 70% ของทุนจดทะเบียน 1,250 ล้านบาท เพิ่มทุนปี 2553 ทำให้ ACU จะถือหุ้นลดลงเหลือ 30% จากปัจจุบันถือหุ้น 99.2% ใน TTT BB รวมทั้งส่งผลกระทบต่อการดำเนินงานของ JAS โดยทำให้กำไรสุทธิลดลง 60% และกระทบมูลค่าเหมาะสม 6.50 บาท ทั้งนี้มองว่า กรณี 2 มีความเป็นไปได้น้อย ขณะที่ JAS ยืนยันการเพิ่มทุนของ TTT BB ดำเนินการถูกต้องตามกฎหมาย และมีหลักฐานครบถ้วนเพื่อพิสูจน์ในชั้นศาล ทั้งนี้ ยังคงประเมินผลกระทบจาก TT&T ฟ้องทั้ง 2 กรณีโดยเฉลี่ยผลกระทบกรณีละ 50% คิดเป็นมูลค่า 3.75 บาท/หุ้น จากมูลค่าเหมาะสมปี 2558 ที่ 11.90 บาท
ขณะที่ความเคลื่อนไหวราคาหุ้น JAS วานนี้ (9 ก.ย. 57) วิ่งทะยานรับข่าวศาลคำร้องคุ้มครองชั่วคราวของ TT&T โดยพุ่งขึ้น 8.21% ปิดตลาดที่ราคา 7.25 บาท หรือเพิ่มขึ้น 0.55 บาท มูลค่าการซื้อขาย 5,939.15 ล้านบาท
ข่าวหน้าหนึ่ง วันพุธที่ 10 กันยายน 2557
ผู้เข้าชม : 9 คน
JAS ยิ้มศาลสั่งยกคำขอคุ้มครองชั่วคราวของ TT&T ชี้เห็นว่าก.ล.ต.ยังไม่อนุมัติตั้งกองทุน IFF ทำให้ไม่มีเหตุน่าเชื่อว่าจะนำเอาหุ้นของ ACU ซึ่งถืออยู่ใน TTT BB จดทะเบียนจำนำกับกองทุนฯ ลุ้นต่อก.ล.ต.จะอนุมัติตั้งกองทุนฯหรือไม่ ราคาหุ้นพุ่ง 8% วอลุ่มเทรดสนั่น 5,939.15 ล้านบาท
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เมื่อเวลา 13.30 น. วันที่ 9 ก.ย. 2557 ที่ผ่านมา ศาลจังหวัดนนทบุรีนัดฟังคำสั่งในคำร้องขอคุ้มครองชั่วคราว พ.882/2557 ลงวันที่ 17 มิ.ย. 2557 กรณี บริษัท ทีทีแอนด์ที จำกัด (มหาชน) หรือ TT&T ได้ยื่นคำร้องขอคุ้มครองชั่วคราวต่อศาลเพื่อขอให้ศาลมีคำสั่งห้ามไม่ให้บริษัท อคิวเมนท์ จำกัด หรือ ACU ซึ่งบริษัท จัสมิน อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด (มหาชน) หรือ JAS ถือหุ้น 100% ทำการจำหน่าย จ่าย โอน จำนำ หรือก่อให้เกิดภาระผูกพันใดๆ ในหุ้นที่ ACU ถืออยู่ใน ทริปเปิลที บรอดแบนด์ จำนวน 867,994,799 หุ้น และให้นำใบหุ้นจำนวนดังกล่าวมาวางไว้ต่อศาลระหว่างพิจารณาคดี และจนกว่าศาลจะมีคำพิพากษาถึงที่สุดและห้ามไม่ให้ ACU ลงมติใดๆ เกี่ยวกับการจำหน่าย จ่าย โอน หรือก่อให้เกิดภาระผูกพันในทรัพย์สินของบริษัท ทริปเปิลที บรอดแบนด์ จำกัด (มหาชน) หรือ TTT BB
โดยทางฝ่ายโจทก์ได้ส่งทนายเข้าร่วมรับฟังคำสั่งศาลในครั้งนี้ ขณะที่ทางฝ่ายจำเลยไม่ได้ส่งทนายเข้ามารับฟังคำสั่งดังกล่าว แต่ได้ส่งนายวัชระ สง่าศิลป์ ตัวแทนจากบริษัท วีระวงค์, ชินวัฒน์ และเพียงพนอ จำกัด ที่ปรึกษากฎหมายของบริษัท จัสมิน อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด (มหาชน) หรือ JAS เข้ามารับฟังคำสั่งของศาลแทน นอกจากนี้ยังมีนักลงทุนจำนวนประมาณ 20 คนเข้าร่วมรับฟังคำสั่งดังกล่าว
นายธนา พิทยะเวสด์สุนทร ผู้พิพากษานั่งบัลลังก์อ่านคำสั่งว่า ศาลมีคำสั่งยกคำร้องขอคุ้มครองชั่วคราวของ TT&T เนื่องจากการทำนิติกรรม การขายทรัพย์สิน การเช่าทรัพย์สิน การจำนำหุ้น จะต้องมีการอนุมัติคำขอจากสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดทรัพย์ (ก.ล.ต.) เสียก่อนในเบื้องต้น ซึ่งในการพิจารณาของ ก.ล.ต.ก็ไม่ปรากฏว่าจะมีการพิจารณานานเท่าใด แล้วเสร็จเมื่อใด และก็ยังไม่เป็นการแน่นอนว่า ก.ล.ต.จะอนุมัติคำขอให้มีการจัดตั้งกองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐาน (Infrastructure Fund) สำหรับธุรกิจบรอดแบนด์อินเตอร์เน็ตหรือไม่
ดังนั้นการนำเอาหุ้นของ ACU ซึ่งถืออยู่ใน TTT BB จดทะเบียนจำนำกับกองทุนรวมฯ ย่อยยังไม่อาจเกิดขึ้น หรือมีขึ้นได้ทันทีทันใด หรือภายในระยะเวลาอันใกล้ ประกอบกับตัวแทนฝ่ายจำเลยได้เบิกความยืนยันว่าในส่วนของการนำหุ้นของ ACU ซึ่งถืออยู่ใน TTT BB จดทะเบียนจำนำกับกองทุนรวมฯ นั้น เงื่อนไขดังกล่าวยังอยู่ในระหว่างตกลงเจรจา ซึ่งคาดว่าอาจมีการเปลี่ยนแปลงเงื่อนไขดังกล่าว ด้วยการยกเว้นในการนำหุ้นของ ACU ซึ่งถืออยู่ใน TTT BB จดทะเบียนจำนำกับกองทุนรวมฯ
ทำให้ไม่มีเหตุน่าเชื่อว่าจะนำเอาหุ้นของ ACU ซึ่งถืออยู่ใน TTT BB จดทะเบียนจำนำกับกองทุนรวมฯ อันจะก่อให้เกิดความเสียหายต่อ TT&T เมื่อ TT&T ชนะคดีตามคำพิพากษา จึงไม่มีเหตุผลสมควรให้มีคำสั่งห้ามไม่ให้ ACU ทำการจำหน่าย จ่าย โอน จำนำ หรือก่อให้เกิดภาระผูกพันใดๆ ในหุ้นที่ ACU ถืออยู่ใน ทริปเปิลที บรอดแบนด์ เพื่อคุ้มครองประโยชน์ในระหว่างพิจารณาคดีที่ TT&T ยื่นฟ้อง ACU ให้ขายหุ้น 70% ใน TTTBB ให้ผู้ถือหุ้น TT&T
นายวัชระ สง่าศิลป์ ตัวแทนจากบริษัท วีระวงค์, ชินวัฒน์ และเพียงพะนอ จำกัด ที่ปรึกษากฎหมายของ JAS กล่าวว่า ศาลมีคำสั่งยกคำร้องคุ้มครองชั่วคราวของ TT&T เนื่องจากเหตุในการอนุมัติจัดตั้งกองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐาน ยังไม่เกิดแต่อย่างใด ดังนั้นจึงยังไม่มีเหตุให้เชื่อว่าจะนำสินทรัพย์ไปทำการจำหน่าย จ่าย โอน จำนำ หรือก่อให้เกิดภาระผูกพันใดๆ ในหุ้นที่ ACU ถืออยู่ใน TTT BB ทั้งนี้จะนำคำสั่งยกคำร้องขอคุ้มครองดังกล่าวไปปรึกษากับทางบริษัทต่อไป
ด้านทนายจาก TT&T กล่าวว่า ศาลได้พิจาณายกคำร้องขอคุ้มครอง เนื่องจากกองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐานยังไม่ได้รับการอนุมัติจัดตั้ง เหตุการณ์จึงยังไม่เป็นที่แน่นอนว่าจะเกิดขึ้นหรือยังไม่เกิดขึ้นในทันที หรือในระยะเวลาอันใกล้ดังนั้นยังไม่เป็นเหตุให้ต้องคุ้มครอง
“ศาลสั่งยกคำร้องคุ้มครองชั่วคราว เนื่องจากยังไม่มีการอนุมัติตั้งกองทุนรวมฯ จาก ก.ล.ต. ซึ่งระยะเวลาไกลเกินไป ทำให้ไม่มีเหตุต้องคุ้มครองประโยชน์ แต่ถ้ามีเหตุที่ ก.ล.ต.จะอนุมัติตั้งกองทุนรวมฯ ใกล้ขึ้นมา เราก็ขอคุ้มครองชั่วคราวได้อีก ขึ้นอยู่กับผู้บริหารจะยื่นขอคุ้มครองชั่วคราวหรือไม่ ส่วนคดีที่ TT&T ยื่นฟ้อง ACU ให้ ACU ขายหุ้น 70% ใน บริษัท TTT BB ให้ผู้ถือหุ้น TT&T นั้นศาลนัดสืบพยานในเดือน มี.ค. 2558” ทนายจาก TT&T กล่าว
นางสาวมินทรา รัตยาภาส รองผู้อำนวยการฝ่ายวิเคราะห์หลักทรัพย์ บริษัทหลักทรัพย์ เคเคเทรด จำกัด กล่าวว่า ศาลสั่งไม่คุ้มครองชั่วคราว ทาง JAS ก็สามารถดำเนินการในการจัดตั้งกองทุนฯ ได้ อย่างไรก็ตามขึ้นอยู่กับคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) จะพิจารณา เนื่องจากยังคงมีความเสี่ยงในสินทรัพย์ที่ขายเข้ากองทุนฯ อยู่ ขณะเดียวกันมองว่าแม้จะ ก.ล.ต.จะอนุมัติให้จัดตั้งกองทุนโครงสร้างพื้นฐานก็จะมีปัญหาในช่วงที่ไปโรดโชว์ ซึ่ง JAS จะสามารถตอบคำถามของนักลงทุนที่ยังมีความกังวลกับคดีนี้ได้หรือไม่ ทำให้มองว่าอาจจะมีดีมานด์ไม่มากนัก
อย่างไรก็ตาม แม้ศาลจะมีคำสั่งคุ้มครองชั่วคราวหรือไม่คุ้มครองชั่วคราวในวันนี้ แต่ศาลยังมีการพิจารณาคดีที่ TT&T ยื่นฟ้อง ACU ต่อไป โดยประเมินผลกระทบกรณี TT&T ยื่นฟ้องร้อง เป็น 2 กรณี คือ 1.ผู้ถือหุ้น TT&T ได้สิทธิถือหุ้นใน TTT BB ราว 70 ล้านหุ้น หรือ 70% ของทุนจดทะเบียน 110 ล้านบาท ก่อนการเพิ่มทุนปี 2552 ทำให้ ACU จะถือหุ้นลดลงเหลือ 93.6% จากปัจจุบันถือหุ้น 99.2% ใน TTT BB รวมทั้งส่งผลกระทบต่อการดำเนินงานของ JAS โดยทำให้กำไรสุทธิลดลง 10% ตามสัดส่วนถือหุ้นที่ลดลง และกระทบมูลค่าเหมาะสม 1.00 บาท
และ 2.ผู้ถือหุ้น TT&T ได้สิทธิถือหุ้นใน TTT BB ราว 870 ล้านหุ้น หรือ 70% ของทุนจดทะเบียน 1,250 ล้านบาท เพิ่มทุนปี 2553 ทำให้ ACU จะถือหุ้นลดลงเหลือ 30% จากปัจจุบันถือหุ้น 99.2% ใน TTT BB รวมทั้งส่งผลกระทบต่อการดำเนินงานของ JAS โดยทำให้กำไรสุทธิลดลง 60% และกระทบมูลค่าเหมาะสม 6.50 บาท ทั้งนี้มองว่า กรณี 2 มีความเป็นไปได้น้อย ขณะที่ JAS ยืนยันการเพิ่มทุนของ TTT BB ดำเนินการถูกต้องตามกฎหมาย และมีหลักฐานครบถ้วนเพื่อพิสูจน์ในชั้นศาล ทั้งนี้ ยังคงประเมินผลกระทบจาก TT&T ฟ้องทั้ง 2 กรณีโดยเฉลี่ยผลกระทบกรณีละ 50% คิดเป็นมูลค่า 3.75 บาท/หุ้น จากมูลค่าเหมาะสมปี 2558 ที่ 11.90 บาท
ขณะที่ความเคลื่อนไหวราคาหุ้น JAS วานนี้ (9 ก.ย. 57) วิ่งทะยานรับข่าวศาลคำร้องคุ้มครองชั่วคราวของ TT&T โดยพุ่งขึ้น 8.21% ปิดตลาดที่ราคา 7.25 บาท หรือเพิ่มขึ้น 0.55 บาท มูลค่าการซื้อขาย 5,939.15 ล้านบาท
posted from Bloggeroid
หุ้นเด่น หุ้นดับ เดือนสิงหาคม 2014
ข่าวหุ้น - กระบอกเสียงอิสระแห่งตลาดทุน:: หุ้นเด่น หุ้นดับ เดือนสิงหาคม
รายงานพิเศษ วันพุธที่ 10 กันยายน 2557
ผู้เข้าชม : 0 คน
สัญญาณการฟื้นตัวของภาวะเศรษฐกิจมีความชัดเจนขึ้น ผลบวกที่ตามมา คือตลาดหุ้นไทยมีความชัดเจนมากขึ้น เนื่องจากทิศทางการเคลื่อนไหวของดัชนีตลาดหุ้นเป็นขาขึ้น ดูได้จากดัชนี SET เดินหน้าขึ้นอย่างช้าๆ จากเดิมอยู่ที่ 1,502.39 จุด ปรับตัวปรับตัวมาอยู่ที่ระดับ 1,561.63 จุด เพิ่มขึ้น 59.24 จุด หรือ 3.95% อาจเป็นระดับที่ดูว่ายังน้อยอยู่ แต่ก็มีหุ้นบางตัวที่ได้รับประโยชน์มากกว่าที่เห็น และในขณะเดียวกันก็มีหุ้นที่ได้รับผลกระทบทางลบบางตัว
ในภาวการณ์เช่นนี้ จึงมีทั้งหุ้นดีหลายตัวให้เลือกลงทุน และมีหุ้นร้อนจำนวนไม่น้อยที่นักลงทุนควรจะหลีกเลี่ยงการลงทุน รวมถึงหุ้นที่ปรับตัวลดลง มาเสนอเป็น "หุ้นเด่นหุ้นดับ" เพื่อให้นักลงทุนพิจารณาหาหุ้นที่น่าลงทุนและหุ้นที่ควรหลีกเลี่ยง เพื่อให้สอดคล้องกับสภาวะการลงทุนในปัจจุบัน
สำหรับในเดือนสิงหาคม 2557 “ข่าวหุ้นธุรกิจ” ทำการรวบรวมข้อมูลหุ้นที่มีการปรับตัวขึ้น และปรับตัวลง ในกลุ่ม SET และกลุ่ม mai เพื่อประมวลภาพให้นักลงทุนรู้ว่า หุ้นตัวไหนน่าลงทุนเป็นพิเศษ และหุ้นตัวไหนต้องเพิ่มความระมัดระวังในการลงทุน ซึ่งในที่นี้ได้มีการนำเสนอหุ้นใน SET ที่ปรับตัวขึ้นมากสุด และลงมากสุด 30 ตัวแรก พร้อมกันนี้ได้นำเสนอหุ้นในตลาด mai ที่ปรับตัวขึ้นมากสุด และลงมากสุด 15 ตัวแรกควบคู่กันไปด้วย
ข้อมูลที่ปรากฏเป็นเพียงการเทียบเคียงด้านเดียวเท่านั้น ไม่ได้บ่งบอกถึงราคาหุ้น ณ ตอนนั้นว่า แพงเกินพื้นฐาน หรือถูกกว่าพื้นฐานแต่อย่างใด เพราะเป็นแค่การหยิบความเคลื่อนไหวของหุ้นมาอธิบายให้นักลงทุนได้รับทราบ
ข้อมูลในตาราง จะเห็นว่า มีหุ้นที่ปรับตัวขึ้นเกิน 50% จำนวน 6 บริษัท คือ AFC, VNG, VIH, RCL, PERM และ EPCO หุ้นดังกล่าว สอดคล้องไปกับบริษัทที่มีผลประกอบการเติบโตขึ้นอย่างต่อเนื่อง ประกอบกับบางบริษัทมีการเทิร์นอะราวด์ นอกจากนี้ นักลงทุนกลับเข้ามาไล่ซื้อหุ้นขนาดกลาง และขนาดเล็กที่ราคาต่ำ แทนหุ้นขนาดใหญ่ โดยส่วนนี้เป็นแรงกระตุ้นให้มีการเก็งกำไรกลับเข้ามาค่อนข้างสูง
เมื่อมีหุ้นที่ขึ้นแรง ก็ย่อมมีหุ้นที่ร่วงแรงแทรกอยู่ด้วยเป็นเรื่องปกติ จากตาราง จะเห็นได้ว่า หุ้นที่ปรับตัวลงแรงเกิน 10% มีอยู่ด้วยกัน 13 บริษัท คือ ABC, IEC, F&D, RPC, AS, HFT, BJC, JAS, N-PARK, AMARIN, WIN, SSI และ TPOLY หุ้นเหล่านี้ มีเหตุผลอันเหมาะสม เพราะราคาที่ลดลง สะท้อนผลประกอบการที่ย่ำแย่สอดคล้องกัน บางบริษัทแม้จะมีกำไร แต่ก็ลดลงอย่างมีนัยสำคัญ บางบริษัทเคยมีกำไรแต่กลับขาดทุน หรือ บางบริษัทขาดทุนเพิ่มขึ้น
นอกจากนี้เมื่อพิจารณาหุ้น 10 อันดับที่ปรับตัวขึ้นมากสุดในตลาด mai พบว่า นักลงทุนให้ความสนใจกับหุ้นกลุ่มนี้มากขึ้นเรื่อยๆ ซึ่งดูได้จากราคาหุ้นมีการเปลี่ยนแปลงเกิน 50% มีทั้งหมด 7 บริษัท คือ ADAM, DIMET, CHOW, AJP, AUCT, ECF และ AIRA การที่ราคาหุ้นปรับตัวขึ้นสอดคล้องกับการที่นักลงทุนสนใจเข้ามาไล่เก็บหุ้นขนาดเล็ก เนื่องจากบริษัทมีกำไรเพิ่มขึ้น ประกอบกับพลิกมามีกำไร
ส่วนหุ้นที่ปรับตัวลงมากสุด 10 อันดับในตลาด mai พบว่า อันดับที่ปรับตัวลดลงเกินกว่า 5% มีอยู่ 4 บริษัท คือ SLC, TIES, TMC, และ VTE ซึ่งส่วนใหญ่เป็นบริษัทที่ผลประกอบการขาดทุน รวมถึงบริษัทไม่มีสภาพคล่อง จึงทำให้นักลงทุนไม่ให้ความสนใจในหุ้นกลุ่มดังกล่าว
ข้อมูลที่ยกมาทั้งราคาหุ้นที่วิ่งขึ้นแรงและลงแรงจนติดอันดับนี้ น่าจะมีการเปลี่ยนแปลงไปจากเดิมในช่วงเดือนต่อไป
รายงานพิเศษ วันพุธที่ 10 กันยายน 2557
ผู้เข้าชม : 0 คน
สัญญาณการฟื้นตัวของภาวะเศรษฐกิจมีความชัดเจนขึ้น ผลบวกที่ตามมา คือตลาดหุ้นไทยมีความชัดเจนมากขึ้น เนื่องจากทิศทางการเคลื่อนไหวของดัชนีตลาดหุ้นเป็นขาขึ้น ดูได้จากดัชนี SET เดินหน้าขึ้นอย่างช้าๆ จากเดิมอยู่ที่ 1,502.39 จุด ปรับตัวปรับตัวมาอยู่ที่ระดับ 1,561.63 จุด เพิ่มขึ้น 59.24 จุด หรือ 3.95% อาจเป็นระดับที่ดูว่ายังน้อยอยู่ แต่ก็มีหุ้นบางตัวที่ได้รับประโยชน์มากกว่าที่เห็น และในขณะเดียวกันก็มีหุ้นที่ได้รับผลกระทบทางลบบางตัว
ในภาวการณ์เช่นนี้ จึงมีทั้งหุ้นดีหลายตัวให้เลือกลงทุน และมีหุ้นร้อนจำนวนไม่น้อยที่นักลงทุนควรจะหลีกเลี่ยงการลงทุน รวมถึงหุ้นที่ปรับตัวลดลง มาเสนอเป็น "หุ้นเด่นหุ้นดับ" เพื่อให้นักลงทุนพิจารณาหาหุ้นที่น่าลงทุนและหุ้นที่ควรหลีกเลี่ยง เพื่อให้สอดคล้องกับสภาวะการลงทุนในปัจจุบัน
สำหรับในเดือนสิงหาคม 2557 “ข่าวหุ้นธุรกิจ” ทำการรวบรวมข้อมูลหุ้นที่มีการปรับตัวขึ้น และปรับตัวลง ในกลุ่ม SET และกลุ่ม mai เพื่อประมวลภาพให้นักลงทุนรู้ว่า หุ้นตัวไหนน่าลงทุนเป็นพิเศษ และหุ้นตัวไหนต้องเพิ่มความระมัดระวังในการลงทุน ซึ่งในที่นี้ได้มีการนำเสนอหุ้นใน SET ที่ปรับตัวขึ้นมากสุด และลงมากสุด 30 ตัวแรก พร้อมกันนี้ได้นำเสนอหุ้นในตลาด mai ที่ปรับตัวขึ้นมากสุด และลงมากสุด 15 ตัวแรกควบคู่กันไปด้วย
ข้อมูลที่ปรากฏเป็นเพียงการเทียบเคียงด้านเดียวเท่านั้น ไม่ได้บ่งบอกถึงราคาหุ้น ณ ตอนนั้นว่า แพงเกินพื้นฐาน หรือถูกกว่าพื้นฐานแต่อย่างใด เพราะเป็นแค่การหยิบความเคลื่อนไหวของหุ้นมาอธิบายให้นักลงทุนได้รับทราบ
ข้อมูลในตาราง จะเห็นว่า มีหุ้นที่ปรับตัวขึ้นเกิน 50% จำนวน 6 บริษัท คือ AFC, VNG, VIH, RCL, PERM และ EPCO หุ้นดังกล่าว สอดคล้องไปกับบริษัทที่มีผลประกอบการเติบโตขึ้นอย่างต่อเนื่อง ประกอบกับบางบริษัทมีการเทิร์นอะราวด์ นอกจากนี้ นักลงทุนกลับเข้ามาไล่ซื้อหุ้นขนาดกลาง และขนาดเล็กที่ราคาต่ำ แทนหุ้นขนาดใหญ่ โดยส่วนนี้เป็นแรงกระตุ้นให้มีการเก็งกำไรกลับเข้ามาค่อนข้างสูง
เมื่อมีหุ้นที่ขึ้นแรง ก็ย่อมมีหุ้นที่ร่วงแรงแทรกอยู่ด้วยเป็นเรื่องปกติ จากตาราง จะเห็นได้ว่า หุ้นที่ปรับตัวลงแรงเกิน 10% มีอยู่ด้วยกัน 13 บริษัท คือ ABC, IEC, F&D, RPC, AS, HFT, BJC, JAS, N-PARK, AMARIN, WIN, SSI และ TPOLY หุ้นเหล่านี้ มีเหตุผลอันเหมาะสม เพราะราคาที่ลดลง สะท้อนผลประกอบการที่ย่ำแย่สอดคล้องกัน บางบริษัทแม้จะมีกำไร แต่ก็ลดลงอย่างมีนัยสำคัญ บางบริษัทเคยมีกำไรแต่กลับขาดทุน หรือ บางบริษัทขาดทุนเพิ่มขึ้น
นอกจากนี้เมื่อพิจารณาหุ้น 10 อันดับที่ปรับตัวขึ้นมากสุดในตลาด mai พบว่า นักลงทุนให้ความสนใจกับหุ้นกลุ่มนี้มากขึ้นเรื่อยๆ ซึ่งดูได้จากราคาหุ้นมีการเปลี่ยนแปลงเกิน 50% มีทั้งหมด 7 บริษัท คือ ADAM, DIMET, CHOW, AJP, AUCT, ECF และ AIRA การที่ราคาหุ้นปรับตัวขึ้นสอดคล้องกับการที่นักลงทุนสนใจเข้ามาไล่เก็บหุ้นขนาดเล็ก เนื่องจากบริษัทมีกำไรเพิ่มขึ้น ประกอบกับพลิกมามีกำไร
ส่วนหุ้นที่ปรับตัวลงมากสุด 10 อันดับในตลาด mai พบว่า อันดับที่ปรับตัวลดลงเกินกว่า 5% มีอยู่ 4 บริษัท คือ SLC, TIES, TMC, และ VTE ซึ่งส่วนใหญ่เป็นบริษัทที่ผลประกอบการขาดทุน รวมถึงบริษัทไม่มีสภาพคล่อง จึงทำให้นักลงทุนไม่ให้ความสนใจในหุ้นกลุ่มดังกล่าว
ข้อมูลที่ยกมาทั้งราคาหุ้นที่วิ่งขึ้นแรงและลงแรงจนติดอันดับนี้ น่าจะมีการเปลี่ยนแปลงไปจากเดิมในช่วงเดือนต่อไป
posted from Bloggeroid
วันจันทร์ที่ 8 กันยายน พ.ศ. 2557
วันนี้ JAS ลุ้นคำสั่งศาลคุ้มครองชั่วคราวหรือไม่ หลัง TT&T ร้องขอศาล หวั่นกระทบการตั้ง IFF และรายได้บริษัทหากศาลสั่งคุ้มครองไปถึงรายได้ของ TTTBB เหตุเป็นสัดส่วนถึง 80% ขณะที่ฝ่ายกฎหมาย JAS มั่นใจสู้
ข่าวหุ้น - กระบอกเสียงอิสระแห่งตลาดทุน:: JASลุ้นศาลชี้ชะตาวันนี้
มั่นใจสู้ข้อกฎหมายได้
ข่าวหน้าหนึ่ง วันอังคารที่ 09 กันยายน 2557
ผู้เข้าชม : 13 คน
วันนี้ JAS ลุ้นคำสั่งศาลคุ้มครองชั่วคราวหรือไม่ หลัง TT&T ร้องขอศาล หวั่นกระทบการตั้ง IFF และรายได้บริษัทหากศาลสั่งคุ้มครองไปถึงรายได้ของ TTTBB เหตุเป็นสัดส่วนถึง 80% ขณะที่ฝ่ายกฎหมาย JAS มั่นใจสู้ข้อกฎหมายได้
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ในวันที่ 9 กันยายน 2557 นี้ เวลา 13.30 น. ศาลจังหวัดนนทบุรีจะมีคำสั่งใน กรณีบริษัท ทีทีแอนด์ที จำกัด (มหาชน) หรือ TT&T ได้ขอให้ศาลมีคำสั่งคุ้มครองชั่วคราวเมื่อวันที่ 17 มิ.ย. 57 ในระหว่างที่คดีหมายเลขดำที่ พ.882/2557 ซึ่ง TT&T ยื่นฟ้องบริษัท อคิวเมนท์ จำกัด หรือ ACU ซึ่งเป็นบริษัทย่อยที่บริษัท จัสมิน อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด (มหาชน) หรือ JAS ถือหุ้นอยู่ 100% ให้ ACU ขายหุ้น 70% ใน บริษัท ทริปเปิลที บรอดแบนด์ จำกัด หรือ TTTBB ให้ผู้ถือหุ้น TT&T อยู่ในขั้นตอนการพิจารณาในชั้นศาล
แหล่งข่าวจาก บริษัท จัสมิน อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด (มหาชน) หรือ JAS เปิดเผยว่า บริษัทประเมินว่า หากศาลมีคำสั่งคุ้มครองชั่วคราวออกมา จุดแรก คือ กระทบต่อการจัดตั้งกองทุนโครงสร้างพื้นฐาน (Infrastructure Fund) ที่บริษัทมีแผนจะนำสินทรัพย์ของ TTTBB ขายเป็นสินทรัพย์จัดตั้งกองทุนดังกล่าว มูลค่าเบื้องต้นราว 50,000-70,000 ล้านบาท เพราะจะทำให้แผนการจัดตั้งกองทุนดังกล่าวต้องชะลอออกไปก่อน จนกว่าจะมีคำพิพากษาเป็นที่สุด
"วันนี้ก็ต้องรอคำสั่งศาลว่าจะมีคำสั่งคุ้มครองชั่วคราวหรือไม่ ซึ่งจริงๆ แล้วถ้ามีคำสั่งคุ้มครองก็จะไปกระทบกับการจัดตั้งกองทุนโครงสร้างพื้นฐานของบริษัทมากที่สุด เพราะเราต้องหยุดพักไปก่อน แต่ตัวเลขมูลค่ากองทุนฯ ยังไม่แน่นอน เพราะเรื่องอยู่ที่ ก.ล.ต. ซึ่งเรานำสินทรัพย์ของ TTTBB ไปจัดตั้ง ถ้ามีคำสั่งคุ้มครองชั่วคราวออกมาก็ยังดำเนินการใดๆ ไม่ได้" แหล่งข่าว กล่าว
นอกจากนี้ยังอาจจะกระทบในด้านของการรับรู้รายได้ของ JAS หากศาลมีคำสั่งคุ้มครองไปถึงรายได้ของ TTTBB ซึ่งมีผลต่อรายได้รวมของ JAS ค่อนข้างมาก เนื่องจากบริษัทมีสัดส่วนรายได้จาก TTTBB อยู่ที่ 80% ซึ่งเป็นสัดส่วนที่สูงมาก จึงมีผลกระทบอย่างมีนัยสำคัญ แต่หากคำสั่งของศาลยังให้บริษัทสามารถรับรู้รายได้จาก TTTBB ได้ตามปกติ ก็จะไม่กระทบเท่าใดนัก
ขณะที่อีกกรณีหนึ่งคือ หากศาลยกคำร้องขอคุ้มครองชั่วคราวของ TT&T ก็จะเป็นผลดีต่อบริษัทมากที่สุด เนื่องจากการจัดตั้งกองทุนโครงสร้างพื้นฐานยังสามารถดำเนินการต่อไปได้ตามแผนงานโดยไม่หยุดชะงัก และบริษัทก็ยังสามารถรับรู้รายได้จาก TTTBB ตามปกติ
"เรามีรายได้จาก TTTBB ในสัดส่วน 80% ถ้าไม่สามารถรับรู้รายได้จาก TTTBB ได้ ก็กระทบทั้ง 2 ด้านทั้งรายได้บริษัทและการตั้งกองทุนโครงสร้างพื้นฐาน แต่หากศาลยกคำร้องทุกอย่างก็เป็นไปตามปกติ ต้องรอดูวันนี้อีกที จริงๆ แล้วการฟ้องร้องของ TT&T เป็นการให้ ACU ขายหุ้นของ TTTBB ให้ผู้ถือหุ้นของ TT&T ซึ่งเราก็ไม่รู้ว่าเป็นใคร และสัญญาที่เคยทำไว้กับ TT&T ก็หมดอายุไปนานแล้ว ทำไมเพิ่งมายื่นฟ้อง" แหล่งข่าว กล่าว
ด้านฝ่ายกฎหมายของ JAS เปิดเผยว่า มีความเชื่อมั่นว่าจะสู้ข้อกฎหมายกับ TT&T ได้ เนื่องจากมีการบันทึกข้อตกลงในการใช้สิทธิซื้อหุ้นสามัญเพิ่มทุนวันที่ 13 ก.ย. 49 ได้สิ้นผลบังคับตั้งแต่วันที่ 19 มิ.ย. 51 ตามเงื่อนไขที่กำหนดไว้ในบันทึกข้อตกลง หลังจาก TTTBB ได้ดำเนินการยื่นคำขออนุญาตเสนอขายหุ้นแก่ประชาชนต่อ ก.ล.ต.แล้ว แต่ไม่สามารถหาข้อมูลตามที่ ก.ล.ต.ร้องขอได้ จึงทำให้ ก.ล.ต.ส่งคืนคำขออนุญาตในวันดังกล่าว จึงถือว่าบันทึกข้อตกลงสิ้นผลบังคับไปแล้ว
ประกอบกับปัจจุบันยังไม่มีผู้ถือหุ้น TT&T แม้แต่รายเดียวมาแจ้งความจำนงที่จะขอซื้อหุ้นตามสิทธิของตนกับ ACU ซึ่งหลังจากบันทึกข้อตกลงหมดอายุตั้งแต่ 12 ก.ย. 52 มาเป็นเวลาเกือบ 5 ปี ถือว่านานเกินสมควรตามกฎหมาย ดังนั้นบันทึกข้อตกลงจึงสิ้นผลบังคับไป
ขณะที่คำฟ้องระบุจำนวนหุ้นสูงเกินกว่าจำนวนในบันทึกข้อตกลง โดยบันทึกข้อตกลงที่ TT&T ใช้อ้างในการฟ้องร้องนั้นมีผลผูกพันเฉพาะส่วนของหุ้นเพิ่มทุนครั้งแรกจำนวน 99 ล้านหุ้นเท่านั้น โดยผู้ถือหุ้น TT&T สามารถใช้สิทธิ 70% ของการเพิ่มทุนครั้งแรก ดังนั้นจำนวนหุ้นที่ถูกต้อง คือ 69,999,510 หุ้น หรือคิดเป็น 5.60% ของหุ้นที่ออกจำหน่ายแล้วทั้งหมดใน TTTBB จำนวน 1,250 ล้านหุ้น
นางสาวมินทรา รัตยาภาส รองผู้อำนวยการฝ่ายวิเคราะห์หลักทรัพย์ บริษัทหลักทรัพย์ เคเคเทรด จำกัด กล่าวว่า หากศาลสั่งคุ้มครองชั่วคราว มองว่าจะกระทบต่อราคาหุ้น และกระทบต่อการจัดตั้งกองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐาน (Infrastructure Fund) สำหรับธุรกิจบรอดแบนด์อินเตอร์เน็ต แต่จะไม่ส่งผลกระทบต่อการเปลี่ยนสัดส่วนถือหุ้นใน TTTBB และผลการดำเนินงานตามปกติของ JAS ขณะที่หากศาลสั่งไม่คุ้มครองชั่วคราว ทาง JAS ก็สามารถดำเนินการในการจัดตั้งกองทุนฯ ได้ อย่างไรก็ตามขึ้นอยู่กับคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) จะพิจารณา เนื่องจากยังคงมีความเสี่ยงในสินทรัพย์ที่ขายเข้ากองทุนฯ อยู่
อย่างไรก็ตาม แม้ศาลจะมีคำสั่งคุ้มครองชั่วคราวหรือไม่คุ้มครองชั่วคราวในวันนี้ แต่ศาลยังมีการพิจารณาคดีที่ TT&T ยื่นฟ้อง ACU ต่อไป โดยประเมินผลกระทบกรณี TT&T ยื่นฟ้องร้อง เป็น 2 กรณี คือ 1.ผู้ถือหุ้น TT&T ได้สิทธิถือหุ้นใน TTTBB ราว 70 ล้านหุ้น หรือ 70% ของทุนจดทะเบียน 110 ล้านบาท ก่อนการเพิ่มทุนปี 2552 ทำให้ ACU จะถือหุ้นลดลงเหลือ 93.6% จากปัจจุบันถือหุ้น 99.2% ใน TTTBB รวมทั้งส่งผลกระทบต่อการดำเนินงานของ JAS โดยทำให้กำไรสุทธิลดลง 10% ตามสัดส่วนถือหุ้นที่ลดลง และกระทบมูลค่าเหมาะสม 1.00 บาท
และ 2.ผู้ถือหุ้น TT&T ได้สิทธิถือหุ้นใน TTTBB ราว 870 ล้านหุ้น หรือ 70% ของทุนจดทะเบียน 1,250 ล้านบาท เพิ่มทุนปี 2553 ทำให้ ACU จะถือหุ้นลดลงเหลือ 30% จากปัจจุบันถือหุ้น 99.2% ใน TTT BB รวมทั้งส่งผลกระทบต่อการดำเนินงานของ JAS โดยทำให้กำไรสุทธิลดลง 60% และกระทบมูลค่าเหมาะสม 6.50 บาท ทั้งนี้มองว่า กรณี 2 มีความเป็นไปได้น้อย ขณะที่ JAS ยืนยันการเพิ่มทุนของ TTTBB ดำเนินการถูกต้องตามกฎหมาย และมีหลักฐานครบถ้วนเพื่อพิสูจน์ในชั้นศาล ทั้งนี้ ยังคงประเมินผลกระทบจาก TT&T ฟ้องทั้ง 2 กรณีโดยเฉลี่ยผลกระทบกรณีละ 50% คิดเป็นมูลค่า 3.75 บาท/หุ้น จากมูลค่าเหมาะสมปี 2558 ที่ 11.90 บาท
มั่นใจสู้ข้อกฎหมายได้
ข่าวหน้าหนึ่ง วันอังคารที่ 09 กันยายน 2557
ผู้เข้าชม : 13 คน
วันนี้ JAS ลุ้นคำสั่งศาลคุ้มครองชั่วคราวหรือไม่ หลัง TT&T ร้องขอศาล หวั่นกระทบการตั้ง IFF และรายได้บริษัทหากศาลสั่งคุ้มครองไปถึงรายได้ของ TTTBB เหตุเป็นสัดส่วนถึง 80% ขณะที่ฝ่ายกฎหมาย JAS มั่นใจสู้ข้อกฎหมายได้
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ในวันที่ 9 กันยายน 2557 นี้ เวลา 13.30 น. ศาลจังหวัดนนทบุรีจะมีคำสั่งใน กรณีบริษัท ทีทีแอนด์ที จำกัด (มหาชน) หรือ TT&T ได้ขอให้ศาลมีคำสั่งคุ้มครองชั่วคราวเมื่อวันที่ 17 มิ.ย. 57 ในระหว่างที่คดีหมายเลขดำที่ พ.882/2557 ซึ่ง TT&T ยื่นฟ้องบริษัท อคิวเมนท์ จำกัด หรือ ACU ซึ่งเป็นบริษัทย่อยที่บริษัท จัสมิน อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด (มหาชน) หรือ JAS ถือหุ้นอยู่ 100% ให้ ACU ขายหุ้น 70% ใน บริษัท ทริปเปิลที บรอดแบนด์ จำกัด หรือ TTTBB ให้ผู้ถือหุ้น TT&T อยู่ในขั้นตอนการพิจารณาในชั้นศาล
แหล่งข่าวจาก บริษัท จัสมิน อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด (มหาชน) หรือ JAS เปิดเผยว่า บริษัทประเมินว่า หากศาลมีคำสั่งคุ้มครองชั่วคราวออกมา จุดแรก คือ กระทบต่อการจัดตั้งกองทุนโครงสร้างพื้นฐาน (Infrastructure Fund) ที่บริษัทมีแผนจะนำสินทรัพย์ของ TTTBB ขายเป็นสินทรัพย์จัดตั้งกองทุนดังกล่าว มูลค่าเบื้องต้นราว 50,000-70,000 ล้านบาท เพราะจะทำให้แผนการจัดตั้งกองทุนดังกล่าวต้องชะลอออกไปก่อน จนกว่าจะมีคำพิพากษาเป็นที่สุด
"วันนี้ก็ต้องรอคำสั่งศาลว่าจะมีคำสั่งคุ้มครองชั่วคราวหรือไม่ ซึ่งจริงๆ แล้วถ้ามีคำสั่งคุ้มครองก็จะไปกระทบกับการจัดตั้งกองทุนโครงสร้างพื้นฐานของบริษัทมากที่สุด เพราะเราต้องหยุดพักไปก่อน แต่ตัวเลขมูลค่ากองทุนฯ ยังไม่แน่นอน เพราะเรื่องอยู่ที่ ก.ล.ต. ซึ่งเรานำสินทรัพย์ของ TTTBB ไปจัดตั้ง ถ้ามีคำสั่งคุ้มครองชั่วคราวออกมาก็ยังดำเนินการใดๆ ไม่ได้" แหล่งข่าว กล่าว
นอกจากนี้ยังอาจจะกระทบในด้านของการรับรู้รายได้ของ JAS หากศาลมีคำสั่งคุ้มครองไปถึงรายได้ของ TTTBB ซึ่งมีผลต่อรายได้รวมของ JAS ค่อนข้างมาก เนื่องจากบริษัทมีสัดส่วนรายได้จาก TTTBB อยู่ที่ 80% ซึ่งเป็นสัดส่วนที่สูงมาก จึงมีผลกระทบอย่างมีนัยสำคัญ แต่หากคำสั่งของศาลยังให้บริษัทสามารถรับรู้รายได้จาก TTTBB ได้ตามปกติ ก็จะไม่กระทบเท่าใดนัก
ขณะที่อีกกรณีหนึ่งคือ หากศาลยกคำร้องขอคุ้มครองชั่วคราวของ TT&T ก็จะเป็นผลดีต่อบริษัทมากที่สุด เนื่องจากการจัดตั้งกองทุนโครงสร้างพื้นฐานยังสามารถดำเนินการต่อไปได้ตามแผนงานโดยไม่หยุดชะงัก และบริษัทก็ยังสามารถรับรู้รายได้จาก TTTBB ตามปกติ
"เรามีรายได้จาก TTTBB ในสัดส่วน 80% ถ้าไม่สามารถรับรู้รายได้จาก TTTBB ได้ ก็กระทบทั้ง 2 ด้านทั้งรายได้บริษัทและการตั้งกองทุนโครงสร้างพื้นฐาน แต่หากศาลยกคำร้องทุกอย่างก็เป็นไปตามปกติ ต้องรอดูวันนี้อีกที จริงๆ แล้วการฟ้องร้องของ TT&T เป็นการให้ ACU ขายหุ้นของ TTTBB ให้ผู้ถือหุ้นของ TT&T ซึ่งเราก็ไม่รู้ว่าเป็นใคร และสัญญาที่เคยทำไว้กับ TT&T ก็หมดอายุไปนานแล้ว ทำไมเพิ่งมายื่นฟ้อง" แหล่งข่าว กล่าว
ด้านฝ่ายกฎหมายของ JAS เปิดเผยว่า มีความเชื่อมั่นว่าจะสู้ข้อกฎหมายกับ TT&T ได้ เนื่องจากมีการบันทึกข้อตกลงในการใช้สิทธิซื้อหุ้นสามัญเพิ่มทุนวันที่ 13 ก.ย. 49 ได้สิ้นผลบังคับตั้งแต่วันที่ 19 มิ.ย. 51 ตามเงื่อนไขที่กำหนดไว้ในบันทึกข้อตกลง หลังจาก TTTBB ได้ดำเนินการยื่นคำขออนุญาตเสนอขายหุ้นแก่ประชาชนต่อ ก.ล.ต.แล้ว แต่ไม่สามารถหาข้อมูลตามที่ ก.ล.ต.ร้องขอได้ จึงทำให้ ก.ล.ต.ส่งคืนคำขออนุญาตในวันดังกล่าว จึงถือว่าบันทึกข้อตกลงสิ้นผลบังคับไปแล้ว
ประกอบกับปัจจุบันยังไม่มีผู้ถือหุ้น TT&T แม้แต่รายเดียวมาแจ้งความจำนงที่จะขอซื้อหุ้นตามสิทธิของตนกับ ACU ซึ่งหลังจากบันทึกข้อตกลงหมดอายุตั้งแต่ 12 ก.ย. 52 มาเป็นเวลาเกือบ 5 ปี ถือว่านานเกินสมควรตามกฎหมาย ดังนั้นบันทึกข้อตกลงจึงสิ้นผลบังคับไป
ขณะที่คำฟ้องระบุจำนวนหุ้นสูงเกินกว่าจำนวนในบันทึกข้อตกลง โดยบันทึกข้อตกลงที่ TT&T ใช้อ้างในการฟ้องร้องนั้นมีผลผูกพันเฉพาะส่วนของหุ้นเพิ่มทุนครั้งแรกจำนวน 99 ล้านหุ้นเท่านั้น โดยผู้ถือหุ้น TT&T สามารถใช้สิทธิ 70% ของการเพิ่มทุนครั้งแรก ดังนั้นจำนวนหุ้นที่ถูกต้อง คือ 69,999,510 หุ้น หรือคิดเป็น 5.60% ของหุ้นที่ออกจำหน่ายแล้วทั้งหมดใน TTTBB จำนวน 1,250 ล้านหุ้น
นางสาวมินทรา รัตยาภาส รองผู้อำนวยการฝ่ายวิเคราะห์หลักทรัพย์ บริษัทหลักทรัพย์ เคเคเทรด จำกัด กล่าวว่า หากศาลสั่งคุ้มครองชั่วคราว มองว่าจะกระทบต่อราคาหุ้น และกระทบต่อการจัดตั้งกองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐาน (Infrastructure Fund) สำหรับธุรกิจบรอดแบนด์อินเตอร์เน็ต แต่จะไม่ส่งผลกระทบต่อการเปลี่ยนสัดส่วนถือหุ้นใน TTTBB และผลการดำเนินงานตามปกติของ JAS ขณะที่หากศาลสั่งไม่คุ้มครองชั่วคราว ทาง JAS ก็สามารถดำเนินการในการจัดตั้งกองทุนฯ ได้ อย่างไรก็ตามขึ้นอยู่กับคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) จะพิจารณา เนื่องจากยังคงมีความเสี่ยงในสินทรัพย์ที่ขายเข้ากองทุนฯ อยู่
อย่างไรก็ตาม แม้ศาลจะมีคำสั่งคุ้มครองชั่วคราวหรือไม่คุ้มครองชั่วคราวในวันนี้ แต่ศาลยังมีการพิจารณาคดีที่ TT&T ยื่นฟ้อง ACU ต่อไป โดยประเมินผลกระทบกรณี TT&T ยื่นฟ้องร้อง เป็น 2 กรณี คือ 1.ผู้ถือหุ้น TT&T ได้สิทธิถือหุ้นใน TTTBB ราว 70 ล้านหุ้น หรือ 70% ของทุนจดทะเบียน 110 ล้านบาท ก่อนการเพิ่มทุนปี 2552 ทำให้ ACU จะถือหุ้นลดลงเหลือ 93.6% จากปัจจุบันถือหุ้น 99.2% ใน TTTBB รวมทั้งส่งผลกระทบต่อการดำเนินงานของ JAS โดยทำให้กำไรสุทธิลดลง 10% ตามสัดส่วนถือหุ้นที่ลดลง และกระทบมูลค่าเหมาะสม 1.00 บาท
และ 2.ผู้ถือหุ้น TT&T ได้สิทธิถือหุ้นใน TTTBB ราว 870 ล้านหุ้น หรือ 70% ของทุนจดทะเบียน 1,250 ล้านบาท เพิ่มทุนปี 2553 ทำให้ ACU จะถือหุ้นลดลงเหลือ 30% จากปัจจุบันถือหุ้น 99.2% ใน TTT BB รวมทั้งส่งผลกระทบต่อการดำเนินงานของ JAS โดยทำให้กำไรสุทธิลดลง 60% และกระทบมูลค่าเหมาะสม 6.50 บาท ทั้งนี้มองว่า กรณี 2 มีความเป็นไปได้น้อย ขณะที่ JAS ยืนยันการเพิ่มทุนของ TTTBB ดำเนินการถูกต้องตามกฎหมาย และมีหลักฐานครบถ้วนเพื่อพิสูจน์ในชั้นศาล ทั้งนี้ ยังคงประเมินผลกระทบจาก TT&T ฟ้องทั้ง 2 กรณีโดยเฉลี่ยผลกระทบกรณีละ 50% คิดเป็นมูลค่า 3.75 บาท/หุ้น จากมูลค่าเหมาะสมปี 2558 ที่ 11.90 บาท
posted from Bloggeroid
วันอาทิตย์ที่ 7 กันยายน พ.ศ. 2557
พรุ่งนี้ JAS ลุ้นศาลมีคำสั่งคุ้มครองชั่วคราวหรือไม่ โบรกฯชี้หากศาลสั่งคุ้มครองชั่วคราว กระทบราคาหุ้น-จัดตั้ง IFF สะดุด แต่ไม่กระทบสัดส่วนถือหุ้นใน TTTBB และผลการดำเนินงาน แต่หากศาลสั่งไม่คุ้มครอง จัดตั้ง IFF ดำเนินต่อ
ข่าวหุ้น - กระบอกเสียงอิสระแห่งตลาดทุน:: JASลุ้นพรุ่งนี้!
ศาลสั่งคุ้มครอง
หรือยกคำร้อง
ข่าวหน้าหนึ่ง วันจันทร์ที่ 08 กันยายน 2557
ผู้เข้าชม : 16 คน
พรุ่งนี้ JAS ลุ้นศาลมีคำสั่งคุ้มครองชั่วคราวหรือไม่ โบรกฯชี้หากศาลสั่งคุ้มครองชั่วคราว กระทบราคาหุ้น-จัดตั้ง IFF สะดุด แต่ไม่กระทบสัดส่วนถือหุ้นใน TTTBB และผลการดำเนินงาน แต่หากศาลสั่งไม่คุ้มครอง จัดตั้ง IFF ดำเนินต่อ
นางสาวมินทรา รัตยาภาส รองผู้อำนวยการฝ่ายวิเคราะห์หลักทรัพย์ บริษัทหลักทรัพย์ เคเคเทรด จำกัด เปิดเผยว่า กรณีบริษัท ทีทีแอนด์ที จำกัด (มหาชน) หรือ TT&T ได้ขอให้ศาลมีคำสั่งคุ้มครองชั่วคราวเมื่อวันที่ 17 มิ.ย. 2557 ระหว่างการพิจารณาคดีหมายเลขดำที่ พ.882/2557 ซึ่ง TT&T ยื่นฟ้องบริษัท อคิวเมนท์ จำกัด หรือ ACU ซึ่งเป็นบริษัทย่อยที่บริษัท จัสมิน อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด (มหาชน) หรือ JAS ถือหุ้นอยู่ 100% ให้ ACU ขายหุ้น 70% ในบริษัท ทริปเปิลที บรอดแบนด์ จำกัด หรือ TTTBB ให้ผู้ถือหุ้น TT&T นั้น คาดว่า ศาลจะมีคำสั่งออกมาประมาณวันที่ 9 ก.ย. 2557
ทั้งนี้ หากศาลสั่งคุ้มครองชั่วคราว มองว่าจะกระทบต่อราคาหุ้น และกระทบต่อการจัดตั้งกองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐาน (Infrastructure Fund) สำหรับธุรกิจบรอดแบนด์อินเตอร์เน็ต แต่จะไม่ส่งผลกระทบต่อการเปลี่ยนสัดส่วนถือหุ้นใน TTTBB และผลการดำเนินงานตามปกติของ JAS ขณะที่หากศาลสั่งไม่คุ้มครองชั่วคราว ทาง JAS ก็สามารถดำเนินการในการจัดตั้งกองทุนฯได้ อย่างไรก็ตามขึ้นอยู่กับคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) จะพิจารณา เนื่องจากยังคงมีความเสี่ยงในสินทรัพย์ที่ขายเข้ากองทุนฯอยู่
ขณะเดียวกัน แม้ศาลจะมีคำสั่งคุ้มครองชั่วคราวหรือไม่คุ้มครองชั่วคราวในวันที่ 9 ก.ย.นี้ แต่ศาลยังมีการพิจารณาคดีที่ TT&T ยื่นฟ้อง ACU ต่อไป โดยประเมินผลกระทบกรณี TT&T ยื่นฟ้องร้องเป็น 2 กรณี คือ 1.ผู้ถือหุ้น TT&T ได้สิทธิถือหุ้นใน TTTBB ราว 70 ล้านหุ้น หรือ 70% ของทุนจดทะเบียน 110 ล้านบาท ก่อนการเพิ่มทุนปี 2552 ทำให้ ACU จะถือหุ้นลดลงเหลือ 93.6% จากปัจจุบันถือหุ้น 99.2% ใน TTTBB รวมทั้งส่งผลกระทบต่อการดำเนินงานของ JAS โดยทำให้กำไรสุทธิลดลง 10% ตามสัดส่วนถือหุ้นที่ลดลง และกระทบมูลค่าเหมาะสม 1.00 บาท
และ 2.ผู้ถือหุ้น TT&T ได้สิทธิถือหุ้นใน TTTBB ราว 870 ล้านหุ้น หรือ 70% ของทุนจดทะเบียน 1,250 ล้านบาท เพิ่มทุนปี 2553 ทำให้ ACU จะถือหุ้นลดลงเหลือ 30% จากปัจจุบันถือหุ้น 99.2% ใน TTTBB รวมทั้งส่งผลกระทบต่อการดำเนินงานของ JAS โดยทำให้กำไรสุทธิลดลง 60% และกระทบมูลค่าเหมาะสม 6.50 บาท ทั้งนี้มองว่ากรณี 2 มีความเป็นไปได้น้อย ขณะที่ JAS ยืนยันการเพิ่มทุนของ TTTBB ดำเนินการถูกต้องตามกฎหมาย และมีหลักฐานครบถ้วนเพื่อพิสูจน์ในชั้นศาล ทั้งนี้ ยังคงประเมินผลกระทบจาก TT&T ฟ้องทั้ง 2 กรณีโดยเฉลี่ยผลกระทบกรณีละ 50% คิดเป็นมูลค่า 3.75 บาท/หุ้น
ก่อนหน้านี้ ตัวแทนจากบริษัท วีระวงค์, ชินวัฒน์ และเพียงพนอ จำกัด ที่ปรึกษากฎหมายของ JAS กล่าวว่า ในระหว่างที่ยังไม่มีคำพิพากษาถึงที่สุด ACU ก็ไม่ต้องโอนขายหุ้น TTTBB ที่ถืออยู่ไม่ว่าจำนวนใดๆ และยังเป็นสิทธิออกเสียงและรับเงินปันผลในหุ้นที่มีการฟ้องร้องกันเช่นเดิมทุกประการ เว้นแต่กรณีที่ศาลมีคำสั่งคุ้มครองประโยชน์ระหว่างการพิจารณาคดีจำกัดสิทธิดังกล่าวเป็นกรณีเฉพาะเจาะจง ตามคำร้องของ TT&T เมื่อวันที่ 17 มิ.ย. 2557
โดยในขณะนี้ศาลอยู่ระหว่างสืบพยานของทั้ง 2 ฝ่าย คาดว่าศาลจะมีคำสั่งประมาณต้นเดือนก.ย.นี้ ซึ่งหากศาลสั่งคุ้มครองประโยชน์ก็จะต้องมาพิจารณาว่าคำสั่งดังกล่าวมีผลกระทบต่อสิทธิในฐานะผู้ถือหุ้นใน TTTBB ของ ACU และจะมีผลกระทบต่อการจัดตั้งกองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐาน ซึ่งอยู่ระหว่างการพิจารณาของก.ล.ต.หรือไม่ อย่างไร อีกครั้งหนึ่ง
อย่างไรก็ตาม หากศาลมีคำสั่งยกคำร้องของ TT&T ก็จะทำให้การจัดตั้งกองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐานเดินหน้าต่อไปได้ และ ACU ยังเป็นผู้มีสิทธิออกเสียงและรับเงินปันผลในหุ้นที่มีการฟ้องร้องกันเช่นเดิมทุกประการ โดยไม่มีข้อจำกัดใดๆ จนกว่าจะมีคำพิพากษาถึงที่สุด ซึ่งคาดว่าจะใช้เวลาอีกไม่น้อยกว่า 7-10 ปี
ศาลสั่งคุ้มครอง
หรือยกคำร้อง
ข่าวหน้าหนึ่ง วันจันทร์ที่ 08 กันยายน 2557
ผู้เข้าชม : 16 คน
พรุ่งนี้ JAS ลุ้นศาลมีคำสั่งคุ้มครองชั่วคราวหรือไม่ โบรกฯชี้หากศาลสั่งคุ้มครองชั่วคราว กระทบราคาหุ้น-จัดตั้ง IFF สะดุด แต่ไม่กระทบสัดส่วนถือหุ้นใน TTTBB และผลการดำเนินงาน แต่หากศาลสั่งไม่คุ้มครอง จัดตั้ง IFF ดำเนินต่อ
นางสาวมินทรา รัตยาภาส รองผู้อำนวยการฝ่ายวิเคราะห์หลักทรัพย์ บริษัทหลักทรัพย์ เคเคเทรด จำกัด เปิดเผยว่า กรณีบริษัท ทีทีแอนด์ที จำกัด (มหาชน) หรือ TT&T ได้ขอให้ศาลมีคำสั่งคุ้มครองชั่วคราวเมื่อวันที่ 17 มิ.ย. 2557 ระหว่างการพิจารณาคดีหมายเลขดำที่ พ.882/2557 ซึ่ง TT&T ยื่นฟ้องบริษัท อคิวเมนท์ จำกัด หรือ ACU ซึ่งเป็นบริษัทย่อยที่บริษัท จัสมิน อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด (มหาชน) หรือ JAS ถือหุ้นอยู่ 100% ให้ ACU ขายหุ้น 70% ในบริษัท ทริปเปิลที บรอดแบนด์ จำกัด หรือ TTTBB ให้ผู้ถือหุ้น TT&T นั้น คาดว่า ศาลจะมีคำสั่งออกมาประมาณวันที่ 9 ก.ย. 2557
ทั้งนี้ หากศาลสั่งคุ้มครองชั่วคราว มองว่าจะกระทบต่อราคาหุ้น และกระทบต่อการจัดตั้งกองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐาน (Infrastructure Fund) สำหรับธุรกิจบรอดแบนด์อินเตอร์เน็ต แต่จะไม่ส่งผลกระทบต่อการเปลี่ยนสัดส่วนถือหุ้นใน TTTBB และผลการดำเนินงานตามปกติของ JAS ขณะที่หากศาลสั่งไม่คุ้มครองชั่วคราว ทาง JAS ก็สามารถดำเนินการในการจัดตั้งกองทุนฯได้ อย่างไรก็ตามขึ้นอยู่กับคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) จะพิจารณา เนื่องจากยังคงมีความเสี่ยงในสินทรัพย์ที่ขายเข้ากองทุนฯอยู่
ขณะเดียวกัน แม้ศาลจะมีคำสั่งคุ้มครองชั่วคราวหรือไม่คุ้มครองชั่วคราวในวันที่ 9 ก.ย.นี้ แต่ศาลยังมีการพิจารณาคดีที่ TT&T ยื่นฟ้อง ACU ต่อไป โดยประเมินผลกระทบกรณี TT&T ยื่นฟ้องร้องเป็น 2 กรณี คือ 1.ผู้ถือหุ้น TT&T ได้สิทธิถือหุ้นใน TTTBB ราว 70 ล้านหุ้น หรือ 70% ของทุนจดทะเบียน 110 ล้านบาท ก่อนการเพิ่มทุนปี 2552 ทำให้ ACU จะถือหุ้นลดลงเหลือ 93.6% จากปัจจุบันถือหุ้น 99.2% ใน TTTBB รวมทั้งส่งผลกระทบต่อการดำเนินงานของ JAS โดยทำให้กำไรสุทธิลดลง 10% ตามสัดส่วนถือหุ้นที่ลดลง และกระทบมูลค่าเหมาะสม 1.00 บาท
และ 2.ผู้ถือหุ้น TT&T ได้สิทธิถือหุ้นใน TTTBB ราว 870 ล้านหุ้น หรือ 70% ของทุนจดทะเบียน 1,250 ล้านบาท เพิ่มทุนปี 2553 ทำให้ ACU จะถือหุ้นลดลงเหลือ 30% จากปัจจุบันถือหุ้น 99.2% ใน TTTBB รวมทั้งส่งผลกระทบต่อการดำเนินงานของ JAS โดยทำให้กำไรสุทธิลดลง 60% และกระทบมูลค่าเหมาะสม 6.50 บาท ทั้งนี้มองว่ากรณี 2 มีความเป็นไปได้น้อย ขณะที่ JAS ยืนยันการเพิ่มทุนของ TTTBB ดำเนินการถูกต้องตามกฎหมาย และมีหลักฐานครบถ้วนเพื่อพิสูจน์ในชั้นศาล ทั้งนี้ ยังคงประเมินผลกระทบจาก TT&T ฟ้องทั้ง 2 กรณีโดยเฉลี่ยผลกระทบกรณีละ 50% คิดเป็นมูลค่า 3.75 บาท/หุ้น
ก่อนหน้านี้ ตัวแทนจากบริษัท วีระวงค์, ชินวัฒน์ และเพียงพนอ จำกัด ที่ปรึกษากฎหมายของ JAS กล่าวว่า ในระหว่างที่ยังไม่มีคำพิพากษาถึงที่สุด ACU ก็ไม่ต้องโอนขายหุ้น TTTBB ที่ถืออยู่ไม่ว่าจำนวนใดๆ และยังเป็นสิทธิออกเสียงและรับเงินปันผลในหุ้นที่มีการฟ้องร้องกันเช่นเดิมทุกประการ เว้นแต่กรณีที่ศาลมีคำสั่งคุ้มครองประโยชน์ระหว่างการพิจารณาคดีจำกัดสิทธิดังกล่าวเป็นกรณีเฉพาะเจาะจง ตามคำร้องของ TT&T เมื่อวันที่ 17 มิ.ย. 2557
โดยในขณะนี้ศาลอยู่ระหว่างสืบพยานของทั้ง 2 ฝ่าย คาดว่าศาลจะมีคำสั่งประมาณต้นเดือนก.ย.นี้ ซึ่งหากศาลสั่งคุ้มครองประโยชน์ก็จะต้องมาพิจารณาว่าคำสั่งดังกล่าวมีผลกระทบต่อสิทธิในฐานะผู้ถือหุ้นใน TTTBB ของ ACU และจะมีผลกระทบต่อการจัดตั้งกองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐาน ซึ่งอยู่ระหว่างการพิจารณาของก.ล.ต.หรือไม่ อย่างไร อีกครั้งหนึ่ง
อย่างไรก็ตาม หากศาลมีคำสั่งยกคำร้องของ TT&T ก็จะทำให้การจัดตั้งกองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐานเดินหน้าต่อไปได้ และ ACU ยังเป็นผู้มีสิทธิออกเสียงและรับเงินปันผลในหุ้นที่มีการฟ้องร้องกันเช่นเดิมทุกประการ โดยไม่มีข้อจำกัดใดๆ จนกว่าจะมีคำพิพากษาถึงที่สุด ซึ่งคาดว่าจะใช้เวลาอีกไม่น้อยกว่า 7-10 ปี
posted from Bloggeroid
วันพฤหัสบดีที่ 4 กันยายน พ.ศ. 2557
บล.เอเซีย พลัส ออกบทวิเคราะห์ให้กับกองทุนต่างประเทศ หนุนซื้อหุ้น IVL ขยับเป้าหมายเป็น 45 บาท อัพไซด์ 66% มองปิโตรเคมีผ่านจุดต่ำสุดแล้ว และธุรกรรม M&A ช่วยเสริมศักยภาพการดำเนินงาน คาดไตรมาส 3 กำไร 1.2 พันล้านบาท เติบโตทั้งปีกว่า 32% ไปถึงปี 59
ขยับเป้าIVL45บาท
จับตาปีหน้าโต32%
*คาดไตรมาส 3 กำไรสนั่น 1.2 พันล้าน
ข่าวหน้าหนึ่ง วันศุกร์ที่ 05 กันยายน 2557
ผู้เข้าชม : 12 คน
บล.เอเซีย พลัส ออกบทวิเคราะห์ให้กับกองทุนต่างประเทศ หนุนซื้อหุ้น IVL ขยับเป้าหมายเป็น 45 บาท อัพไซด์ 66% มองปิโตรเคมีผ่านจุดต่ำสุดแล้ว และธุรกรรม M&A ช่วยเสริมศักยภาพการดำเนินงาน คาดไตรมาส 3 กำไร 1.2 พันล้านบาท เติบโตทั้งปีกว่า 32% ไปถึงปี 59
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า บริษัทหลักทรัพย์เอเชีย พลัส ได้ออกบทวิเคราะห์ บริษัท อินโดรามา เวนเจอร์ส จำกัด (มหาชน) หรือ IVL เพื่อส่งให้กับกองทุนต่างประเทศ โดยรายงานระบุว่า ได้ปรับการประเมินรายได้เพิ่มขึ้นในช่วง 2 ปีต่อจากนี้ และคาดการณ์ว่าผลประกอบการจะเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ตั้งแต่ไตรมาส 3 ของปีนี้ไปจนถึงช่วงปี 2559 ส่งผลให้ราคาเป้าพื้นฐานของหุ้น IVL ถูกปรับขึ้นกว่า 67%
“สำหรับการคาดการณ์ บริษัทคาดว่ากำไรสุทธิในช่วงไตรมาส 3 ปีนี้จะอยู่ที่ระดับ 1-1.2 พันล้านบาท พร้อมกับมีความเชื่อมั่นว่าตัวเลขดังกล่าวจะมีการเติบโตขึ้นระหว่าง 32% จนกระทั่งสิ้นปี 2559”
บล.เอเซีย พลัส มองอีกว่า ผลประกอบการในช่วงไตรมาส 2 ที่ผ่านมามีส่วนช่วยในการชี้วัดว่ารายได้ของบริษัทจะเติบโตต่อ
อีกทั้งยังเชื่อว่าอุตสาหกรรมปิโตรเคมีและเคมีภัณฑ์ได้ผ่านจุดตกต่ำมากที่สุดมาแล้ว
ขณะที่ นักวิเคราะห์แนะนำว่า เป็นโอกาสดีที่สุดสำหรับนักลงทุนที่จะเข้ามาซื้อสะสมหุ้น IVL พร้อมกับปรับเป้าราคาพื้นฐานใหม่ของปี 2558 ให้อยู่ที่ระดับ 45 บาทต่อหุ้น จากปัจจุบันอยู่ที่ 27-28 บาทต่อหุ้น โดยสัดส่วนของมูลค่าที่เพิ่มขึ้นคิดเป็นกว่า 67% เพื่อสะท้อนการยกระดับรายได้ที่จะเพิ่มขึ้นในช่วง 2 ปีต่อจากนี้
เป้าราคาใหม่นี้ถูกคิดคำนวณอยู่บนรากฐานของราคาต่อมูลค่าทางบัญชีต่อหุ้น หรือ P/BV ที่ 2.8 เท่า ซึ่งเป็นอัตราที่สูงกว่าอัตราเฉลี่ยในระยะยาวที่ยืนระดับอยู่ที่ 2.5 เท่า
ทั้งนี้ การปรับตัวเพิ่มขึ้นดังกล่าวได้รับแรงสนับสนุนมาจากการขยายธุรกิจในลักษณะ M&A หรือการเข้าควบรวม หรือ เข้าครอบครองกิจการอื่นๆ ที่อินโดรามา เวนเจอร์สได้ดำเนินการมาตลอดช่วง 6 เดือนที่ผ่านมา ซึ่งส่งผลให้เกิดการพัฒนาศักยภาพในการผลิต และปรับปรุงรากฐานของอุตสาหกรรมให้ดีขึ้น ส่งผลให้ยอดขายของบริษัทถูกประเมินว่าจะปรับตัวสูงขึ้นที่ระดับ 10% ตั้งแต่ปัจจุบันไปจนถึงปี 2559
นอกจากนี้ เพื่อเป็นการรองรับแผนการขยายธุรกิจ บริษัทได้ดำเนินการออกวอร์แรนต์ จำนวน 2 ชุด ได้แก่ IVL-W1 และ IVL-W2 เมื่อวันที่ 25 ส.ค. ที่ผ่านมา โดยที่ผู้มีสิทธิสามารถใช้สิทธิดังกล่าว ที่ราคา 36 บาทต่อหุ้น สำหรับชุดแรก และ 43 บาทต่อหุ้น สำหรับชุดที่สอง ซึ่งบริษัทจะนำเงินทั้งหมดที่ได้จากการเพิ่มทุนในครั้งนี้จำนวน 3.3 หมื่นล้านบาทเข้าซื้อกิจการในประเทศสหรัฐอเมริกา ซึ่งเป็นกิจการขนาดใหญ่ 2 โครงการ และกิจการสร้างใหม่อีก 3 โครงการ
อย่างไรก็ตาม วอร์แรนต์ 2 ชุดดังกล่าวเป็นประเภทที่จะไม่ส่งผลกระทบในเชิงลบต่อราคาหุ้น (Non-Dilutive) ซึ่งนักวิเคราะห์ยังมองเชิงบวกต่อการเพิ่มทุนในครั้งนี้ว่าเป็นแนวทางการเพิ่มทุนที่มีประสิทธิภาพ เนื่องจากจะเป็นการช่วยรักษาเสถียรภาพทางการเงินของบริษัทตลอดช่วง 5 ปีข้างหน้า และยังจะเป็นการจำกัดการเพิ่มทุนในอนาคตของ IVL ไปในตัว
“ถ้าสังเกตการซื้อ-ขายหุ้นปิโตรเคมีจะเห็นได้ว่า ซื้อหุ้นในช่วงผลิตภัณฑ์ปิโตรเคมีที่มีราคาสูง และมาขาย (หุ้น) ในช่วงที่ผลิตภัณฑ์ปิโตรเคมีใกล้จะลดต่ำลง จะให้ผลกำไรมากสุด และเมื่อเทียบกับอัตราการเติบโตของกำไรสุทธิของ IVL จะเห็นได้ว่า ช่วงเวลานี้เป็นช่วงเวลาซื้อที่ดีที่สุด”
วานนี้ราคาหุ้น IVL บวก 1.25 บาท มาที่ 28.25 บาท เปลี่ยนแปลง 4.63% มูลค่าซื้อขาย 1.0 พันล้านบาท
จับตาปีหน้าโต32%
*คาดไตรมาส 3 กำไรสนั่น 1.2 พันล้าน
ข่าวหน้าหนึ่ง วันศุกร์ที่ 05 กันยายน 2557
ผู้เข้าชม : 12 คน
บล.เอเซีย พลัส ออกบทวิเคราะห์ให้กับกองทุนต่างประเทศ หนุนซื้อหุ้น IVL ขยับเป้าหมายเป็น 45 บาท อัพไซด์ 66% มองปิโตรเคมีผ่านจุดต่ำสุดแล้ว และธุรกรรม M&A ช่วยเสริมศักยภาพการดำเนินงาน คาดไตรมาส 3 กำไร 1.2 พันล้านบาท เติบโตทั้งปีกว่า 32% ไปถึงปี 59
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า บริษัทหลักทรัพย์เอเชีย พลัส ได้ออกบทวิเคราะห์ บริษัท อินโดรามา เวนเจอร์ส จำกัด (มหาชน) หรือ IVL เพื่อส่งให้กับกองทุนต่างประเทศ โดยรายงานระบุว่า ได้ปรับการประเมินรายได้เพิ่มขึ้นในช่วง 2 ปีต่อจากนี้ และคาดการณ์ว่าผลประกอบการจะเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ตั้งแต่ไตรมาส 3 ของปีนี้ไปจนถึงช่วงปี 2559 ส่งผลให้ราคาเป้าพื้นฐานของหุ้น IVL ถูกปรับขึ้นกว่า 67%
“สำหรับการคาดการณ์ บริษัทคาดว่ากำไรสุทธิในช่วงไตรมาส 3 ปีนี้จะอยู่ที่ระดับ 1-1.2 พันล้านบาท พร้อมกับมีความเชื่อมั่นว่าตัวเลขดังกล่าวจะมีการเติบโตขึ้นระหว่าง 32% จนกระทั่งสิ้นปี 2559”
บล.เอเซีย พลัส มองอีกว่า ผลประกอบการในช่วงไตรมาส 2 ที่ผ่านมามีส่วนช่วยในการชี้วัดว่ารายได้ของบริษัทจะเติบโตต่อ
อีกทั้งยังเชื่อว่าอุตสาหกรรมปิโตรเคมีและเคมีภัณฑ์ได้ผ่านจุดตกต่ำมากที่สุดมาแล้ว
ขณะที่ นักวิเคราะห์แนะนำว่า เป็นโอกาสดีที่สุดสำหรับนักลงทุนที่จะเข้ามาซื้อสะสมหุ้น IVL พร้อมกับปรับเป้าราคาพื้นฐานใหม่ของปี 2558 ให้อยู่ที่ระดับ 45 บาทต่อหุ้น จากปัจจุบันอยู่ที่ 27-28 บาทต่อหุ้น โดยสัดส่วนของมูลค่าที่เพิ่มขึ้นคิดเป็นกว่า 67% เพื่อสะท้อนการยกระดับรายได้ที่จะเพิ่มขึ้นในช่วง 2 ปีต่อจากนี้
เป้าราคาใหม่นี้ถูกคิดคำนวณอยู่บนรากฐานของราคาต่อมูลค่าทางบัญชีต่อหุ้น หรือ P/BV ที่ 2.8 เท่า ซึ่งเป็นอัตราที่สูงกว่าอัตราเฉลี่ยในระยะยาวที่ยืนระดับอยู่ที่ 2.5 เท่า
ทั้งนี้ การปรับตัวเพิ่มขึ้นดังกล่าวได้รับแรงสนับสนุนมาจากการขยายธุรกิจในลักษณะ M&A หรือการเข้าควบรวม หรือ เข้าครอบครองกิจการอื่นๆ ที่อินโดรามา เวนเจอร์สได้ดำเนินการมาตลอดช่วง 6 เดือนที่ผ่านมา ซึ่งส่งผลให้เกิดการพัฒนาศักยภาพในการผลิต และปรับปรุงรากฐานของอุตสาหกรรมให้ดีขึ้น ส่งผลให้ยอดขายของบริษัทถูกประเมินว่าจะปรับตัวสูงขึ้นที่ระดับ 10% ตั้งแต่ปัจจุบันไปจนถึงปี 2559
นอกจากนี้ เพื่อเป็นการรองรับแผนการขยายธุรกิจ บริษัทได้ดำเนินการออกวอร์แรนต์ จำนวน 2 ชุด ได้แก่ IVL-W1 และ IVL-W2 เมื่อวันที่ 25 ส.ค. ที่ผ่านมา โดยที่ผู้มีสิทธิสามารถใช้สิทธิดังกล่าว ที่ราคา 36 บาทต่อหุ้น สำหรับชุดแรก และ 43 บาทต่อหุ้น สำหรับชุดที่สอง ซึ่งบริษัทจะนำเงินทั้งหมดที่ได้จากการเพิ่มทุนในครั้งนี้จำนวน 3.3 หมื่นล้านบาทเข้าซื้อกิจการในประเทศสหรัฐอเมริกา ซึ่งเป็นกิจการขนาดใหญ่ 2 โครงการ และกิจการสร้างใหม่อีก 3 โครงการ
อย่างไรก็ตาม วอร์แรนต์ 2 ชุดดังกล่าวเป็นประเภทที่จะไม่ส่งผลกระทบในเชิงลบต่อราคาหุ้น (Non-Dilutive) ซึ่งนักวิเคราะห์ยังมองเชิงบวกต่อการเพิ่มทุนในครั้งนี้ว่าเป็นแนวทางการเพิ่มทุนที่มีประสิทธิภาพ เนื่องจากจะเป็นการช่วยรักษาเสถียรภาพทางการเงินของบริษัทตลอดช่วง 5 ปีข้างหน้า และยังจะเป็นการจำกัดการเพิ่มทุนในอนาคตของ IVL ไปในตัว
“ถ้าสังเกตการซื้อ-ขายหุ้นปิโตรเคมีจะเห็นได้ว่า ซื้อหุ้นในช่วงผลิตภัณฑ์ปิโตรเคมีที่มีราคาสูง และมาขาย (หุ้น) ในช่วงที่ผลิตภัณฑ์ปิโตรเคมีใกล้จะลดต่ำลง จะให้ผลกำไรมากสุด และเมื่อเทียบกับอัตราการเติบโตของกำไรสุทธิของ IVL จะเห็นได้ว่า ช่วงเวลานี้เป็นช่วงเวลาซื้อที่ดีที่สุด”
วานนี้ราคาหุ้น IVL บวก 1.25 บาท มาที่ 28.25 บาท เปลี่ยนแปลง 4.63% มูลค่าซื้อขาย 1.0 พันล้านบาท
posted from Bloggeroid
ผู้ถือหุ้นยิ้มแก้มปริ หลังแบงก์ประกาศจ่ายปันผลระหว่างกาลสนุกมือ เชื่อทั้งปีรับไม่อั้น แจง "กรุงเทพ" จ่ายมากสุด 6.50 บาท ตามด้วย "ไทยพาณิชย์" 5.50 บาท ส่วน "กรุงไทย-ธนชาต-เกียรตินาคิน-ทิสโก้" คิดเป็น dividend yield สูงสุดเฉลี่ย 5%
ข่าวหุ้น - กระบอกเสียงอิสระแห่งตลาดทุน:: KBANK-KTBจ่ายปันผล ให้ผลตอบแทนเกือบ4%
การเงินการคลัง วันศุกร์ที่ 05 กันยายน 2557
ผู้เข้าชม : 7 คน
ผู้ถือหุ้นยิ้มแก้มปริ หลังแบงก์ประกาศจ่ายปันผลระหว่างกาลสนุกมือ เชื่อทั้งปีรับไม่อั้น แจง "กรุงเทพ" จ่ายมากสุด 6.50 บาท ตามด้วย "ไทยพาณิชย์" 5.50 บาท ส่วน "กรุงไทย-ธนชาต-เกียรตินาคิน-ทิสโก้" คิดเป็น dividend yield สูงสุดเฉลี่ย 5%
นายธนเดช รังษีธนานนท์ ผู้อำนวยการฝ่ายวิเคราะห์ บล.กรุงศรี กล่าวว่า กลุ่มแบงก์ยังน่าสนใจ โดยคาดว่าจะจ่ายปันผลในอัตราที่ใกล้เคียงกับปีที่ผ่านมา เนื่องจากไม่ได้มีกำไรพิเศษเหมือนที่ผ่านมา ซึ่งนำโดย BBL ที่คาดว่าทั้งปีจะจ่าย 6.50 บาท จากที่ครึ่งปีจ่ายแล้ว 2 บาทคิดเป็น dividend yield ที่ 3% ส่วน SCB คาดว่าทั้งปีจะจ่าย 5.50 บาท จากที่ครึ่งปีจ่าย 1.50 บาท คิดเป็น dividend yield ที่ 2.9%
ในขณะที่ KBANK คาดว่าทั้งปีจะจ่าย 3.80% จากที่ครึ่งปีจ่ายไปแล้ว 0.50 บาท คิดเป็น dividend yield ที่ 1.7% ส่วน KTB คาดว่าจะจ่ายปันผลที่ 0.89 บาท คิดเป็น dividend yield ที่ 3.7%
ทางด้านธนาคารขนาดกลางและเล็กอย่าง TMB คาดว่าจะจ่ายปันผลที่ 0.05 บาท คิดเป็น dividend yield ที่ 1.7% ส่วน KKP คาดว่าจะจ่ายปันผลที่ 2.10 บาทจากที่ครึ่งปีจ่าย 0.50 บาทคิดเป็น dividend yield ที่ 5% ส่วน TCAP คาดว่าจะจ่ายปันผลที่ 1.60 บาทคิดเป็น dividend yield ที่ 4.50% และ TISCO คาดว่าจะจ่ายปันผลที่ 1.80 บาท คิดเป็น dividend yield ที่ 3.9%
"ถ้ามอง out look และ การจ่ายปันผลที่ดีเรายังเลือก KBANK และ KTB ด้วยกำไร ด้วยราคา ด้วยผลประกอบการยังเป็นทิศทางบวก ซึ่งจะทำให้เราปรับราคาเป้าหมาย และ กำไรปีหน้าขึ้น"
อย่างไรก็ตาม หากพิจารณาจากการจ่ายปันผลธนาคารขนาดกลางและเล็กยังให้ผลตอบแทนที่สูงกว่าธนาคารขนาดใหญ่ เนื่องจากตอนนี้ราคาหุ้นธนาคารกลุ่มนี้ถือว่าลงมาพอสมควร ซึ่งทำให้อัพไซด์ยังมีเหลือที่พอจะดึงดูดนักลงทุน โดยสินเชื่อรถยนต์จะกลับมาฟื้นตัวได้ดีขึ้นในปีหน้า แต่ต้องยอมรับว่าคงไม่เห็นการเติบโตเป็นตัวเลขสองหลักเหมือน 2 ปีที่ผ่านมา เนื่องจากหนี้ครัวเรือนที่สูงขึ้นที่มาพร้อมกับ NPL
"แบงก์เล็กมีจุดดึงดูดที่ปันผลดี และการเติบโตที่สูง แต่คงไม่ใช่ปีนี้ โดยปีหน้าจะกลับมาน่าสนใจหลังจากมองว่าเศรษฐกิจจะกลับมาฟื้นตัวได้ดีขึ้น"
ด้านบล.กรุงศรี ระบุว่า คงน้ำหนักการลงทุนกลุ่มธนาคาร “เท่ากับตลาด” จากมุมมองต่อพื้นฐานของกลุ่มฯที่แข็งแกร่ง และสภาวะแวดล้อมทางเศรษฐกิจที่จะดีขึ้นในปี 2558 โดยธนาคารขนาดใหญ่ BBL-KBANK-KTB และ SCB จะเป็นผู้นำการฟื้นตัว เพราะฐานสินเชื่อที่กระจายตัวทั้งสินเชื่อธุรกิจ และสินเชื่อรายย่อย กอปรกับควบคุมคุณภาพสินเชื่อที่ดีกว่า เลือก KBANK มูลค่าพื้นฐานปี 2557 ที่ 236 บาท และ KTB มูลค่าพื้นฐานปี 2557 ที่ 24.75 บาท เป็นหุ้นเด่นของกลุ่มฯ
การเงินการคลัง วันศุกร์ที่ 05 กันยายน 2557
ผู้เข้าชม : 7 คน
ผู้ถือหุ้นยิ้มแก้มปริ หลังแบงก์ประกาศจ่ายปันผลระหว่างกาลสนุกมือ เชื่อทั้งปีรับไม่อั้น แจง "กรุงเทพ" จ่ายมากสุด 6.50 บาท ตามด้วย "ไทยพาณิชย์" 5.50 บาท ส่วน "กรุงไทย-ธนชาต-เกียรตินาคิน-ทิสโก้" คิดเป็น dividend yield สูงสุดเฉลี่ย 5%
นายธนเดช รังษีธนานนท์ ผู้อำนวยการฝ่ายวิเคราะห์ บล.กรุงศรี กล่าวว่า กลุ่มแบงก์ยังน่าสนใจ โดยคาดว่าจะจ่ายปันผลในอัตราที่ใกล้เคียงกับปีที่ผ่านมา เนื่องจากไม่ได้มีกำไรพิเศษเหมือนที่ผ่านมา ซึ่งนำโดย BBL ที่คาดว่าทั้งปีจะจ่าย 6.50 บาท จากที่ครึ่งปีจ่ายแล้ว 2 บาทคิดเป็น dividend yield ที่ 3% ส่วน SCB คาดว่าทั้งปีจะจ่าย 5.50 บาท จากที่ครึ่งปีจ่าย 1.50 บาท คิดเป็น dividend yield ที่ 2.9%
ในขณะที่ KBANK คาดว่าทั้งปีจะจ่าย 3.80% จากที่ครึ่งปีจ่ายไปแล้ว 0.50 บาท คิดเป็น dividend yield ที่ 1.7% ส่วน KTB คาดว่าจะจ่ายปันผลที่ 0.89 บาท คิดเป็น dividend yield ที่ 3.7%
ทางด้านธนาคารขนาดกลางและเล็กอย่าง TMB คาดว่าจะจ่ายปันผลที่ 0.05 บาท คิดเป็น dividend yield ที่ 1.7% ส่วน KKP คาดว่าจะจ่ายปันผลที่ 2.10 บาทจากที่ครึ่งปีจ่าย 0.50 บาทคิดเป็น dividend yield ที่ 5% ส่วน TCAP คาดว่าจะจ่ายปันผลที่ 1.60 บาทคิดเป็น dividend yield ที่ 4.50% และ TISCO คาดว่าจะจ่ายปันผลที่ 1.80 บาท คิดเป็น dividend yield ที่ 3.9%
"ถ้ามอง out look และ การจ่ายปันผลที่ดีเรายังเลือก KBANK และ KTB ด้วยกำไร ด้วยราคา ด้วยผลประกอบการยังเป็นทิศทางบวก ซึ่งจะทำให้เราปรับราคาเป้าหมาย และ กำไรปีหน้าขึ้น"
อย่างไรก็ตาม หากพิจารณาจากการจ่ายปันผลธนาคารขนาดกลางและเล็กยังให้ผลตอบแทนที่สูงกว่าธนาคารขนาดใหญ่ เนื่องจากตอนนี้ราคาหุ้นธนาคารกลุ่มนี้ถือว่าลงมาพอสมควร ซึ่งทำให้อัพไซด์ยังมีเหลือที่พอจะดึงดูดนักลงทุน โดยสินเชื่อรถยนต์จะกลับมาฟื้นตัวได้ดีขึ้นในปีหน้า แต่ต้องยอมรับว่าคงไม่เห็นการเติบโตเป็นตัวเลขสองหลักเหมือน 2 ปีที่ผ่านมา เนื่องจากหนี้ครัวเรือนที่สูงขึ้นที่มาพร้อมกับ NPL
"แบงก์เล็กมีจุดดึงดูดที่ปันผลดี และการเติบโตที่สูง แต่คงไม่ใช่ปีนี้ โดยปีหน้าจะกลับมาน่าสนใจหลังจากมองว่าเศรษฐกิจจะกลับมาฟื้นตัวได้ดีขึ้น"
ด้านบล.กรุงศรี ระบุว่า คงน้ำหนักการลงทุนกลุ่มธนาคาร “เท่ากับตลาด” จากมุมมองต่อพื้นฐานของกลุ่มฯที่แข็งแกร่ง และสภาวะแวดล้อมทางเศรษฐกิจที่จะดีขึ้นในปี 2558 โดยธนาคารขนาดใหญ่ BBL-KBANK-KTB และ SCB จะเป็นผู้นำการฟื้นตัว เพราะฐานสินเชื่อที่กระจายตัวทั้งสินเชื่อธุรกิจ และสินเชื่อรายย่อย กอปรกับควบคุมคุณภาพสินเชื่อที่ดีกว่า เลือก KBANK มูลค่าพื้นฐานปี 2557 ที่ 236 บาท และ KTB มูลค่าพื้นฐานปี 2557 ที่ 24.75 บาท เป็นหุ้นเด่นของกลุ่มฯ
posted from Bloggeroid
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)